แต่หลังจากที่มีการต่อสู้กันไปได้เพียง 22 วัน ญี่ปุ่นก็เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย
ใน
ที่สุด ไทยและฝรั่งเศษก็ได้ลงนาม ที่กรุงโตเกียวซึ่งเรียกกันว่า "อนุสัญญาสันติภาพโต
เกียว" [Tokyu Convention] เมื่อวันที่ 9 พค. 2484(1941) โดยไทยได้ดินแดนทางฝั่ง
ขวาแม่น้ำโขงที่เสียไปในเหตุการณ์รศ.112 (2436) รวมทั้งดินแดนเขมรส่วนในคือพระ
ตะบองและเสียมราฐที่เสียไปเมื่อพศ. 2449 กลับคืนมา การตั้งตนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยกรณี
พิพาทของญี่ปุ่นในครั้งนี้ ทำให้คนไทยมีความนิยมญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งทำให้ญี่ปุ่น
มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในประเทศแถบเอเซียอาคเนย์
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง รัฐบาลไทยจึงได้สร้าง "อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ"
ขึ้นเพื่อ
ระลึกถึงการสงครามกับฝรั่งเศสคราวนั้น และเป็นที่เก็บอัฐิของบรรดาทหารหาญที่ได้เสีย
สละชีวิตในครั้งนั้นด้วย
ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2
เมื่อญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ล ฮาเบอร์ ของสหรัฐในหมู่เกาะฮาวาย เมื่อวันที่
7 ธค. 2484
(1941) และในเวลาไล่เลี่ยกันก็ได้เปิดแนวรบทางด้านเอเซียอาคเนย์ โดยบุกยกพลขึ้นบก
ที่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 ธค. 2484 และได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากทางฝ่ายไทย
จุด
ที่มีการสู้รบกันมีหลายแห่งเช่น สงขลา ปัตตานี ประจวบฯ นครฯ สุราษฎร์ธานี
และที่บาง
ปู จังหวัด สมุทรปราการ ทางญี่ปุ่นเสนอให้ไทยระงับการต่อสู้ และยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่น
เดินทางผ่านประเทศไทยเพื่อทำการรบในดินแดนที่อยู่ลึกเข้าไปในทวีป และเป็นเขตยึด
ครองของอังกฤษ ทางฝ่ายไทยได้พิจารณาเห็นว่า คงเป็นการสุดวิสัยที่จะต้านทาน
กอง
ทัพญี่ปุ่นเอาไว้ได้ จึงต้องยอมลงนามใน "กติกาสัญญาพันธะไมตรีไทย - ญี่ปุ่น"
เมื่อวัน
ที่ 21ธันวาคม 2484 และในปีถัด มา ไทยก็ประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกาเมื่อ
วันที่ 25 มค. 2485 และได้เข้าร่วมในสงครามเป็นฝ่ายอักษะอย่างเต็มตัว
ตั้งแต่นั้นเป็น
ต้นมา ในการเข้าร่วมรบกับญี่ปุ่นในครั้งนี้ ญี่ปุ่นได้โอนดินแดนบางแห่งที่ยึดมาได้จากอัง
กฤษคือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปลิส เชียงตุงและเมืองพานในรัฐฉาน มอบให้ไทยเป็น
ผู้ดูแลตั้งแต่ปีพศ. 2486
ตลอดเวลาที่ญี่ปุ่นเข้ามาใช้ดินแดนในประเทศไทยนั้น ไทยยังคงมีอำนาจเต็มในการจัด
การบริหารบ้านเมืองและดูแลความสงบเรียบร้อยภายใน ญี่ปุ่นเพียงควบคุมสายการบิน
ทางหลวง และทางรถไฟเพื่อประโยชน์ทางการทหาร รวมทั้งสร้างทางรถไฟสายยุทธ
ศาสตร์จากชุมทางหนองปลาดุกจังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นเส้นทางสู่ประเทศพม่าและ
เข้าไปสู่ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทัพอังกฤษ และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแคว
ที่จังหวัดกาญจนบุรี ตรงตำบลที่เรียกว่า ท่ามะขาม (เพี้ยนมาจาก ท่าม้าข้าม)
ใช้เวลา
ในการก่อสร้างเพียงหนึ่งปี คือในปีคศ.1944 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของสงครามโลกและใช้
แรงงานทั้งจากเชลยศึกจากสิงคโปร์ และแรงงานรับจ้างชาวอินเดียที่อยู่ในสิงคโปร์
การก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์หรือที่เรียกกันว่า ทางรถไฟสายมรณะ และสะพาน
ข้ามแม่น้ำแควนั้น มีผู้เสียชีวิตประมาณ 16,000 คน ความยาวของทางรถไฟประมาณ
400
กม. จากชุมทางหนองปลาดุกถึงสถานีปลายทางที่พม่า เป็นทางที่อยู่ในประ เทศไทยประ
มาณ 300 กม.อยู่ในพม่า 100 กม.
หลังจากสงครามสงบลงแล้ว ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้มอบทางรถไฟดังกล่าวให้รัฐบาลไทยดู
แล และรื้อรางรถไฟที่อยู่ในป่าออกมา เนื่องจากไม่มีการเดินรถในช่วงทางดังกล่าว
และ
เปิดการเดินรถเป็นประจำทุกวันจากสถานีบางกอกน้อยถึงสถานีน้ำตกเท่านั้น
รวมระยะ
ทางประมาณ 200 กม. และจากหนองปลาดุกถึงสถานีน้ำตกรวมระยะทางประมาณ
100 กม.ปัจจุบันสะพานเก่าจมอยู่ใต้น้ำ ห่างจากสะพานที่เห็นในปัจจุบันประมาณ
100
เมตรทางตะวันออกของสะพานใหม่ ซึ่งรัฐบาลไทยได้สร้างขึ้นมา ใหม่โดยให้มีลักษณะ
เหมือนของเดิมทุกประการ และทางจังหวัดกาญจนบุรีได้จัดให้มีการแสดงแสง
สี เสียง
เป็นประจำทุกปี ในเดือนพฤษจิกายน
นับแต่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในพศ. 2481 ท่านมีนโย
บายในการสร้างชาติทางเศรษฐกิจ ซึ่งมี แนวโน้มในการส่งเสริมลัทธิชาตินิยมมีการออก
กฎหมายคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ และปลูกฝังให้ประชาชนหันมานิยมใช้สิน
ค้าไทย จนมีคำขวัญว่า "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ" แต่นโยบายบางอย่างไม่มีการวางแผน
ที่ดี ทำให้เกิดมีปัญหาในทางปฏิบัติการส่งเสริมให้คนไทยหันมานิยมใช้ของไทยและการ
สงวนอาชีพบางอย่างไว้สำหรับคนไทยไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่
พร้อมสำหรับนโยบายดังกล่าว นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาภาวะเงินเฟ้อในระหว่างสงคราม
ซึ่งมีสาเหตุใหญ่ๆเช่น การลดค่าเงินบาท ปัญหางบประมาณขาดดุลย์ และปัญหาค่าใช้
จ่ายของทหารญี่ปุ่น
รัฐบาลจอมพล ป. ได้เปลี่ยนแปลงประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับ
การปกครองระบอบใหม่ และเพื่อให้เป็นไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในสมัยนั้น
เช่น ให้ข้าราชการเลิกนุ่งผ้าม่วง เลิกสวมเสื้อราชปะแตน ให้นุ่งกางเกงขายาวแทน
ยกเลิก
บรรดาศักด์และยศข้าราชการพลเรือน เปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย"
ในวันที่
24 มิถุนายน 2482 และเปลี่ยนวันขึ้น ปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่
1 มกรา
คม โดยเริ่มเปลี่ยนในปีพศ.2484 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามแบบสากล และมีการสร้างชาติ
ทางวัฒนธรรม โดยการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อพศ. 2485 และพยายามจัดระ
เบียบการดำเนินชีวิตของคนไทยให้เป็นแบบอารยประเทศด้วยประกาศรัฐนิยมฉบับต่างๆ
และสั่งห้ามประชาชนเลิกกินหมากโดยเด็จขาด ให้ผู้หญิงเลิกนุ่งผ้า โจงกระเบนเปลี่ยนมา
นุ่งผ้าถุงแทนสวมหมวก สวมรองเท้า วางระเบียบการใช้คำแทนชื่อ เช่น ฉัน
ท่าน เรา และ
มีคำสั่งให้ข้าราช การทุกคนกล่าวคำว่า "สวัสดี" ในโอกาสแรกที่พบกันด้วย
ขบวนการเสรีไทย
รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในวันที่ 25 มค 2485 มีคนไทยจำนวน
มากทั้งในและนอกประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยมีม.ร.ว.
เสนีย์
ปราโมช ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำคนไทยประกาศตั้ง"ขบวน
การเสรีไทย" และรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น และช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตร
รัฐบาลสหรัฐอเมริการับรองการกระทำของเสรีไทยในปีพศ. 2486 โดยความช่วยเหลือ
ของหน่วยหน่วย O.S.S. [Office of Strategic Services] และได้ส่งเสรีไทยกลุ่มหนึ่งมา
ยังภาคใต้ของจีน เพื่อเตรียมที่จะปฏิบัติการแทรกซึมในประเทศไทยซึ่งมีกองทหารญี่ปุ่น
ยึดครองตามจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่าง ๆ และในเวลาเดียวกัน ม.จ. ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท
สวัสดิ์วัตน์ ก็ได้จัดตั้งองค์การเสรีไทยขึ้นที่อังกฤษ ขึ้นอยู่กับหน่วย136
ส่วนในประเทศ
ไทย ก็มีนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นหัวหน้าหน่วยเสรีไทย
ติดต่อประ
สานงานกับหน่วย โอ.เอส.เอส.ของสหรัฐอเมริกาและหน่วย136 ของอังกฤษ ก่อนที่สง
ครามโลกครั้งที่สองจะยุติลง รัฐบาลจอมพล ป.ได้ลาออกเมื่อปลายเดือนกรกฏาคม
2487
เนื่องจากแพ้คะแนนเสียงในสภา นายควง อภัยวงศ์ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อมา
เมื่อญี่ปุ่นยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรแล้ว นายควง อภัยวงศ์ได้ลาออก นายทวี
บุณย
เกตุ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประมาณ 17 วันก่อนที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
จะเดิน
ทางกลับจากสหรัฐอเมริกา และรับตำแหน่งสืบต่อมา
ในวันที่ 16 สิงหาคม 2478 ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ออกประกาศว่า การประกาศ
สงครามของรัฐบาลไทยต่ออังกฤษและ สหรัฐเเมริกานั้นเป็นโมฆะ ผิดต่อเจตจำนงของประ
ชาชนชาวไทย จึงเสนอที่จะจัดตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นทำหน้าที่พิจารณาอาชญากรสงคราม
เอง และพร้อมที่จะคืนดินแดนที่ญี่ปุ่นมอบให้ในระหว่างสงครามแก่ประเทศที่มีอำนาจอยู่
เหนือดินแดนเหล่านั้นเดิม
การเลิกสถานะคู่สงคราม
สหรัฐอเมริกาได้ประกาศรับรองในทันทีว่า คำประกาศสงครามของไทยเมื่อ พศ.
2485
เป็นโมฆะ และได้แสดงน้ำใจไม่เรียกร้องให้ ชดใช้ค่าเสียหายแต่อย่างใด แต่อังกฤษมีท่า
ทีแตกต่างไป เพราะรัฐบาลอังกฤษได้ประกาศสงครามตอบไทยด้วย อังกฤษยื่นข้อเสนอ
ให้ไทยปฏิบัติมากมาย เพื่อยกเลิกสถานะคู่สงคราม อเมริกาได้เข้ามาเป็นผู้ช่วยเจรจาต่อ
รอง ในที่สุดอังกฤษและไทยก็ได้ลงนามใน "ความตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อยุติภาวะสงคราม
ระหว่างไทยกับบริเตนใหญ่และอินเดีย" ที่สงคโปร์เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2489
มีใจความ
สำคัญคือ ไทยจะต้องคืนดินแดนในมาลายูและรัฐฉานที่ได้มาระหร่างสงคราม ต้องชดใช้
ค่าเสียหายแก่ทรัพย์สินของอังกฤษที่ถูกไทยยึดครองระหว่างสงคราม และต้องชดใช้เป็น
ข้าวสารจำนวน 1.5 ล้านตันแก่อังกฤษ ซึ่งนับว่าไทยได้รับการผ่อนผันมากพอสมควรเมื่อ
เปรียบเทียบกับบรรดาประเทศฝ่ายอักษะด้วยกัน เพราะไทยไม่ต้องถูกยึดครอง
และไม่มีข้อ ผูกมัดทางการเมืองและการทหารใดๆ ที่ทำให้ไทยต้องสูญเสียเอกราชและอธิปไตย
นอก
จากนั้นไทยยังต้องทำการตกลงกับฝรั่งเศษในการที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติด้วย
การคืนดินแดนที่ได้มาจากกรณีพิพาทอินโดจีนเมื่อปีพศ. 2483 ให้แก่ฝรั่งเศส
แต่ฝรั่งเศส เรียกร้องที่จะให้ไทยมอบพระแก้วมรกตให้แก่ฝรั่งเศษ ซึ่งฝรั่งเศษอ้างว่า
พระแก้วมรกตเคย
อยู่ในลาวมาก่อนถึง 200 กว่าปี ก่อนที่จะมาอยู่ที่กรุงเทพฯ และเมื่อลาวเป็นดินแดนในอา
ณัติของฝรั่งเศษแล้ว ไทยจึงควรจะต้องคืนพระแก้วมรกตให้แก่ลาวด้วย แต่ไทยก็อ้างว่า
การค้นพบพระแก้วมรกตครั้งแรกนั้น เป็นการค้นพบในประเทศไทย และการที่พระแก้ว
มรกตต้องอยู่ในประเทศ ลาวถึง 200 กว่าปีนั้น เป็นเพราะว่า พระไชยเชษฐาได้นำพระ
แก้วมรกตจากเมืองเชียงใหม่ไปไว้ในเมืองหลวงพระบาง และเมือง เวียงจันทน์ในที่สุด
ดัง
นั้น การที่สมเด็จ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้อันเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ยังกรงธนบุรีและ
กรุงเทพฯ ตามลำดับนั้น เป็นการนำกลับคืนมาสู่สถานที่เดิม ข้อเรียกร้องของฝรั่งเศษข้อ
นี้จึงตกไป นอกจากนั้นไทยยังได้เปิดสัมพันธ์ทางการฑูตกับสหภาพโซเวียด
และทำสนธิ
สัญญาทางไมตรีกับจีน เพื่อมิให้คัดค้านการเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติของไทย
ซึ่งไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2489
นับเป็นสมา
ชิกอันดับที่ 55