ประเพณีและวัฒนธรรมของชนชาวเขาจะแตกต่างกันในแต่ละเผ่า แต่ในภาพรวมแล้วจะมี
ความคล้ายคลึงกันอยู่ไม่น้อย เช่นในเรื่องลัทธิความเชื่อ และการทำมาหากิน
ซึ่งชาวเขา
ส่วนมากคือกลุ่มคนเร่ร่อน หาที่ทำกินไปเรื่อยๆโดยการตัดไม้ทำลายป่า ปลุกพืชต้องห้าม
คือฝิ่น ทำไร่เลื่อนลอย เช่นข้าวโพด ข้าวไร่พอดินจืด ก็จะพากันย้ายไปหาที่ทำกินแห่งใหม่
ทำให้ต้องสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ไปเป็นจำนวนมาก
ปัจจุบันมีชาวเขาอยู่ในประเทศไทยประมาณ 400,000 คน มีกะเหรี่ยงเป็นชาวเขากลุ่ม
ใหญ่ที่สุดคือมีถึง 200,000 คน(ร้อยละ 52.80 ของประชากรชาวเขา) ชาวเขาที่อาศัย
อยู่ในประเทศไทยมี 2 พวก คือ1. พวกที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมาก่อนชนชาติไทย
2. พวกที่อพยพเข้ามาหลังชนชาติไทย
นักมนุษยวิทยา ชื่อกอร์ดอน ยัง แบ่งชาวเขาในไทยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มเอเชียตะวันออก [Austro Asiatic]
มีทิศทางการอพยพจากใต้ขึ้นเหนือ และอาศัย
อยู่ในประเทศไทยก่อนชนชาติไทยจะอพยพลงมาตั้งอาณาจักร ได้แก่ ละว้า ขมุ
ฮ่อ ถิ่น
และผีตองเหลือง
2. กลุ่มจีน - ทิเบต [Sino-Tebetan Stock]
ที่มีทิศทางการอพยพจากเหนือลงมาใต้ คือ
อพยพลงมาจากจีน พม่า ลาว เข้าสู่ประเทศไทยหลังจากที่ชนชาติไทยได้ตั้งอาณาจักร
ขึ้นมาแล้ว และกลุ่มนี้ยังแบ่งได้เป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่มคือ
2.1 กลุ่มทิเบต - พม่า [Tibeto - Berman] ได้แก่ เผ่าอีก้อ มูเซอ กะเหรี่ยง
2.2 กลุ่มจีนเดิม [Main Chinase] ได้แก่ เผ่าแม้ว และเย้า
การกระจายตัวของชาวเขา
1. ภาคเหนือตอนบน เป็นภูมิภาคที่ชาวเขาอาศัยอยู่มากที่สุด
เพราะมีสภาพภูมิอากาศ
หนาวเย็น มีเทือกเขาสลับซับซ้อนมากมาย สามารถปลูกฝิ่นได้ง่าย และสะดวกต่อการซื้อ
ขายฝิ่น ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน ลำพูน แพร่ พะเยา
และลำปาง
2. ภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ ตาก สุโขทัย
เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และกำแพงเพชร โดย 2
ใน 3 ของจำนวนชาวเขาในส่วนนี้ เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ในจังหวัดตาก
3. ภาคกลางตอนบนและภาคตะวันตก มีชาวเขาอาศัยอยู่ใน
7 จังหวัดคือ กาญจนบุรี
อุทัยธานี ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และนครสวรรค์
ร้อยละ 95 เป็น
ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง
นอกจากนี้ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือที่จังหวัดเลย เป็นจังหวัดเดียวที่มีชาวเขาอาศัย
อยู่ ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าแม้วที่อพยพหนีภัยมาจากประเทศลาว จากการกระจายตัวของชาวเขา
พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของชาวเขาในประเทศไทย เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง
ซึ่งมีประชากร
รวมประมาณ 200,000 คน จากจำนวนประชากรชาวเขาทั้งสิ้นประมาณ 400,000 คน
ทั่วประเทศ
ชาวเขาเผ่าอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ แม้ว มูเซอ เย้า อีก้อ และลีซอ โดยจะกล่าวถึงชาวเขาเผ่า
ที่สำคัญ 6 เผ่า ดังนี้
1. กะเหรี่ยง [Karen] กะเหรี่ยงเป็นชาวเขากลุ่มจีน-
ทิเบต ในสาขาทิเบต- พม่า มีถิ่น
ฐานดั้งเดิมอยู่ในประเทศพม่า แต่ได้มีการอพยพเข้ามาในประเทศไทยนับเป็นร้อยๆปีมา
แล้ว เนื่องจากเกิดมีปัญหากับทางการพม่า และถูกพม่ากดขี่ทารุณจนเกิดการสู้รบกัน
กะเหรียงสู้ไม่ได้ จึงหนีร่นออกมา กะเหรี่ยงมีจำนวนประชากรประมาณ 200,000
คน
คิดเป็นร้อยละ 52.8 ของจำนวนชาวเขาทั้งหมดทั่วประเทศ โดยกระจายกันอยู่ใน
15 จัง
หวัด 2,983 หมู่บ้าน กะเหรี่ยงจะตั้งหมู่บ้านอยู่บริเวณที่ไม่สูงนัก หรือตามพื้นราบ
หมู่
บ้านมีขนาดตั้งแต่ 20 - 30 หลังคาเรือนขึ้นไป จนถึง 100 กว่าหลังคาเรือน
หมู่บ้าน
แต่ละแห่งจะอยู่ห่างกันโดยใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 1 ชั่วโมง หมู่บ้านกะเหรี่ยงจะตั้งเป็น
หลักแหล่งยาวนานกว่าหมู่บ้านชาวเขาเผ่าอื่น ทั้งนี้ เพราะมีการทำการเกษตรที่มีการอนุ
รักษ์ดินที่ดีกว่า
ลักษณะการปกครองภายในหมู่บ้านของกะเหรี่ยง มีบุคคลสำคัญ 3 ฝ่ายคือ หัวหน้าหมู่
บ้านที่ตั้งตามประเพณี หมอผี และกลุ่มผู้อาวุโส หัวหน้าหมู่บ้านเรียกว่า
ฮีโข่ สืบทอดสาย
เลือดทางบิดา หมอผีจะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมและรักษาโรค ส่วนผู้อาวุโส
จะเป็นผู้รักษา
จารีตประเพณี
กะเหรี่ยงมีระบบเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเอง ทำการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน คือทำไร่
1 ปี
แล้วปล่อยทิ้งไว้ 3 - 5 ปีเพื่อให้ดินคืนสภาพ แล้วจึงหวนกลับมาทำซ้ำที่เดิมอีก
เช่น ปลูก
ข้าวไร่และทำนาดำแบบขั้นบันไดตามหุบเขา นอกจากทำการเกษตรแล้ว กะเหรี่ยงจะเลี้ยง
สัตว์จำพวก ไก่ หมู วัว ควาย และช้าง ซึ่งในปัจจุบัน ชาวกะเหรี่ยงยังมีอาชีพเสริมคือ
การ
จัดทัวร์โดยใช้ช้างเป็นพาหนะ
กะเหรี่ยงมีสังคมที่เรียบง่ายและสันโดษ เห็นได้จากบ้านของชาวกะเหรี่ยงจะเป็นบ้านที่มี
ขนาดเล็ก สร้างด้วยไม้ไผ่ ยกพื้นสูง หลังคามุงด้วยใบตองตึงหรือหญ้าคา
ในสังคมครอบ
ครัว ฝ่ายหญิงมีความสำคัญมากกว่าฝ่ายชาย การมีเพศสัมพันธุ์ หนุ่มสาวกะเหรี่ยงจะเริ่ม
ต้นจากการเกี่ยวพาราสีในพิธีศพ โดยจะมาร้องเพลงสวดศพให้คนตายตลอดคืน และใช้โอ
กาสนี้ในการเลือกคู่ ซึ่งการเลือกคู่นั้นฝ่ายหญิงจะเป็นผู้บอกกับฝ่ายชายก่อน
ระบบแต่ง
งานก็ยึดหลักผัวเดียวเมียเดียว หญิงที่ยังไม่แต่งงานจะสวมชุดขาวทรงกระสอบ
หญิงที่แต่ง
งานแล้วจะนุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อครึ่งท่อน
กะเหรี่ยงเป็นพวกที่นับถือผีและวิญญาณบรรพบุรุษ โดยเชื่อว่าการเจ็บป่วยหรือเหตุการณ์
ต่างๆ ไม่ว่าร้ายหรือดี เกิดจากการกระทำของผี จะต้องทำพิธีเซ่นไหว้ หมอผีจะเป็นผู้ประ
กอบพิธีกรรมโดยใช้หมู ไก่ และสุราที่ต้มเองเป็นเครื่องเซ่นไหว้ ปัจจุบัน
มีกะเหรี่ยงจำนวน
ไม่น้อยที่นับถือศาสนาพุทธ
2. แม้วหรือม้ง [Hmong] เป็นชาวเขาสาย
จีน - ทิเบต ในกลุ่มจีนเดิม เรียกตัวเองว่า ม้ง
แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ แม้วดำ แม้วน้ำเงิน และแม้วขาว จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อ
ว่า ถิ่นเดิมของแม้วอยู่บริเวณแม่น้ำเหลือง แถบมณฑลยูนาน กวางสี และกวางเจาในประ
เทศจีนกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ต่อมาถูกจีนรุกรานจึงหนีไปอยู่ในลาว เวียดนาม
พม่า และ
ได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทยประมาณปีพศ. 2393 ปัจจุบันในประเทศไทยมีชาวเขาเผ่าแม้ว
กระจายอยู่ใน 12 จังหวัด ภาคเหนือ
แม้วชอบตั้งหมู่บ้านบนพื้นที่ลาดเขาในระดับความสูงตั้งแต่ 3,000 ฟุตขึ้นไป
มีลำห้วยและ
สันขาใกล้หมู่บ้าน หมู่บ้านโดยทั่วไปมีขนาด 20-30 หลังคาเรือน ในแต่ละหมู่บ้านจะมี
หัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้นำ ซึ่งเลือกจากผู้อาวุโสสูงสุดที่มีอิทธิพลหรือสมาชิกในแซ่สกุลที่มี
มากที่สุดในหมู่บ้าน
เศรษฐกิจ
ชาวม้งทำการเกษตรแบบไร่เลื่อนลอย พืชหลักที่ปลูกคือ ข้าวและข้าวโพดนอกจากการ
เกษตรแล้ว ยังมีอุตสาหกรรมในครัวเรือนประเภทศิลปและงานฝีมือ เช่นทอผ้า
และ
การทำเครื่องเงิน
บ้านแม้วจะหันหน้าไปตามลาดเขาคร่อมบนพื้นดิน สร้างด้วยไม้จริง ส่วนมากจะมีขนาด
ใหญ่ เนื่องจากแม้วมีระบบครอบครัวแบบขยาย มีสมาชิกในครอบครัวมาก เฉลี่ย
9 คน
ต่อหนึ่งครัวเรือน ในบ้านมีห้องนอน 1-3 ห้อง ห้องเก็บพืชผล 2 ห้อง เตาไฟใหญ่เตาไฟ
เล็ก หิ้งผี มีประตูใหญ่อยู่หน้าบ้าน แต่ไม่มีหน้าต่าง แม้วนับถือระบบอาวุโสอย่างเคร่งครัด
ฝ่ายชายจะเป็นใหญ่ การสืบเชื้อสายจะต้องถือทางฝ่ายชายเป็นหลัก ประเพณีของแม้วอนุ
ญาตให้ชายและหญิงมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานได้ แต่ห้ามแต่งงานกับคนแซ่สกุลเดียวกัน
แม้วเชื่อและนับถือผีต่างๆเช่น ผีฟ้า ผีเรือน และผีทั่วๆ ไป เอกลักษณ์ของแม้วอีกอย่างหนึ่ง
คือ ดนตรี แม้วมีเครื่องดนตรีที่นิยมกัน 3 อย่าง คือ แคน ขลุ่ย และหยั่ง
3. มูเซอ [Lahu] (พรานป่า) ชาวเขาสายจีน
- ทิเบต กลุ่มทิเบต-พม่า เรียกตัวเองว่าเล่า
หู่ มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในประเทศทิเบต ต่อมาอพยพลงมาทางใต้ และกระจายตัวตั้งถิ่นฐาน
อยู่ในมณฑลยูนนาน พม่าและลาว และอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณหลังสงคราม
โลกครั้งที่ 2 แบ่งกลุ่มตามภาษาพูดและการแต่งกายเป็น 4 กลุ่มคือ มูเซอดำ
มูเซอแดง
มูเซอกุ้ย มูเซอเฌเล
ปกติมูเซอจะตั้งหมู่บ้านในระดับความสูงตั้งแต่ 4,500 ฟุตลงมา ในบริเวณพื้นที่ที่เป็น
ลาดเขาใกล้แนวป่ามีแหล่งน้ำและดินอุดมสมบูรณ์ หมู่บ้านหนึ่งๆ โดยเฉลี่ยจะมีประมาณ
15 - 20 หลังคาเรือน ภายในหมู่บ้านจะมีสถานที่สำคัญอยู่ 3 อย่างคือ ศาลผีเจ้าหรือ
แชมื่อ อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านประมาณ 20-30 เมตร ห้ามทุกคนเข้าไปยุ่งเกี่ยวนอก
จากผู้นำทางศาสนาของหมู่บ้านหรือหมอผีเท่านั้น ลานเต้นรำบวงสรวงเทพเจ้าเรียกว่า
จะคึกื่อ และบ้านของปู่จองซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนา
มูเซอจะมีผู้นำ 3 ฝ่ายคือ หัวหน้าหมู่บ้าน ฝ่ายศาสนา และกลุ่มผู้อาวุโส
หัวหน้าหมู่บ้าน
เรียกว่า คะแชป่า มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุข รักษาความสงบสุข และเป็นตัวแทนติดต่อกับทาง
ราชการ ผู้นำศาสนามี 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายพิธีกรรมทางศาสนาหรือปู่จาร จะต้องเป็นผู้มีความ
ประพฤติดีในทุกด้าน เพราะเป็นผู้ติดต่อกับเทพเจ้า อีกฝ่ายหนึ่งคือหมอผีหรือนี่ตี่ซอ
เป็น
ผู้มีคาถาอาคม สามารถติดต่อกับผีและขับไล่ภูติผีต่าง ๆ ได้ กลุ่มผู้อาวุโส
เป็นผู้มีอิทธิพล
ในหมู่บ้าน มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของหัวหน้าหมู่บ้าน
มูเซอมีอาชีพทำการเกษตรเป็นหล้กคือ ปลูกข้าว ข้าวโพด และเลี้ยงสัตว์ โดยจะเลี้ยงหมู
และไก่เอาไว้เพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนา และเลี้ยงม้าเพื่อเอาไว้ใช้เป็นพาหนะในการ
ขนพืชไร่
บ้านของมูเซอ เป็นบ้านยกพื้นสูง เสาทำด้วยไม้จริง พื้นและฝาทำด้วยไม้ไผ่สับฟาก
หลัง
คามุงด้วยหญ้าคามัดเป็นฟ่อน มีนอกชานและบันได 5 ขั้น มูเซอยึดถือการแต่งงานแบบ
ผัวเดียวเมียเดียวอย่างเคร่งครัด แต่ทุกคนมีอิสระในการเลือกคู่ครอง มูเซอจะให้ความ
สำคัญแก่หญิงมากกว่าชาย
มูเซอนับถือเทพเจ้าองค์หนึ่ง ชื่อ กื่อซา โดยเชื่อว่าเป็นผู้สร้างโลก และสร้างความดีต่างๆ
และนับถือผี ได้แก่ผีเรือน ผีประจำหมู่บ้าน ผีฟ้า ผีป่า และผีดอย
4. เย้า [Yao] ชาวเขาสายจีน-ทิเบต
ในกลุ่มจีนเดิม คนจีนเรียกว่า เมี่ยน ตามนิยายโบ
ราณเล่าว่า บรรพบุรุษเย้าเป็นสุนัขมังกรสีเหลืองชื่อว่า ฟันหู เย้าสืบเชื้อสายติดต่อกันมา
นานกว่า 2,000 ปีก่อนคริสต์กาล มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในประเทศจีนตอนใต้
แถบมณฑล
กวางสี กวางเจา และยูนนาน อพยพลงมาอยู่ในประเทศไทยเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2343
เย้าจะตั้งหมู่บ้านอยู่ในระดับความสูงตั้งแต่ 1,500 ฟุตขึ้นไป ในหมู่บ้านหนึ่งจะมีตั้งแต่
20-30 หลังคาเรือนถึง 100 หลังคาเรือนขึ้นไป โดยเฉลี่ยประมาณ 30 หลังคาเรือน
หัวหน้าหมู่บ้านเป็นตำแหน่งที่ตกทอดทางสายเลือด ถ้าหัวหน้าหมู่บ้านตาย
ลูกชายจะ
ขึ้นเป็นแทน
เย้าทำการเกษตรแบบทำไร่เลื่อนลอย ปลูกข้าวเพื่อบริโภค ปลูกข้าวโพดเพื่อการค้า
เย้า
เป็นชาวเขาที่มีความชำนาญในการปลูกฝิ่นมากที่สุด แต่ปัจจุบันเลิกปลูกแล้ว
เย้าจะสร้างบ้านคร่อมบนพื้นดิน วัสดุส่วนใหญ่เป็นไม้จริง ภายในบ้านจะมีห้องประมาณ
2-3 ห้อง มีเตาไฟอยู่ภายในบ้าน มีหิ้งผี และไม่มีหน้าต่าง ผู้ชายเย้า
เมื่อแต่งงานแล้ว จะ
นำภรรยาเข้ามาอยู่รวมกับบิดามารดาของตนเป็นเวลานานก่อนที่จะแยกไปสร้างบ้านใหม่
เย้าจะให้ความสำคัญกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง นิยมแต่งงานกับคนเผ่าเดียวกัน
ชาย สามารถมีเมียหลายคนได้ถ้ามีฐานะมั่นคง
เย้าได้รับอิทธิพลในด้านการศาสนามาจากจีน จึงนับถือและบูชาบรรพบุรุษ เชื่อว่า
การ
เจ็บป่วยต่าง ๆ เกิดจากผีเป็นผู้นำขวัญออกไปจากร่างกาย การรักษาต้องทำพิธีเซ่นไหว้
เพื่อเรียกขวัญกลับมา ผู้ทำพิธีนี้ได้แก่หมอผี แต่เย้าไม่ได้มีการกำหนดลักษณะของหมอ
ผีไว้ ใครจะเป็นก็ได้ขอให้มีความรู้ทางด้านพิธีกรรม
5. อีก้อ [Akha] เรียกตัวเองว่า อาข่า สืบเชื้อสายมาจากชนชาติโลโล
อยู่ในสายจีน-ทิเบต
กลุ่มทิเบต - พม่า แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อยคือ อีก้อโจโกวย อีก้อหม่อโป๊ะ
และอีก้อโลมีซา
(เยอตุง) ถิ่นเดิมของอีก้ออยู่บริเวณแม่น้ำไทฮั่วสุย หรือแม่น้ำดอกท้อในประเทศทิเบต
ต่อ
มาได้อพยพเข้าอยู่ในประเทศจีน แถบมณฑลยูนาน บริเวณแคว้นสิบสองปันนาและไกวเจา
เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว และเมื่อจีนเปลี่ยนการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์
อีก้อส่วน ใหญ่จึงอพยพมาอยู่ที่แคว้นเชียงตุงในพม่า แคว้นหัวโขงและพงสาลีในลาว
ส่วนอีก้อใน ประเทศไทยเป็นพวกที่อพยพมาจากพม่าและลาว เนื่องจากถูกพวกฮ่อรุกราน
โดยอพยพ
เข้ามาอยู่ครั้งแรกที่ดอยตุง จังหวัดเชียงรายเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2440
อีก้อเป็นชาวเขา ที่ยากจนที่สุดในบรรดาชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย
อีก้อจะตั้งหมู่บ้านอยู่บนดอยที่ความสูงประมาณ 3,000 - 4,000 ฟุต ส่วนใหญ่จะ
เป็น
ดอยลูกกลาง มีดอยสูงล้อมรอบ ใกล้แหล่งน้ำ และมีลานกว้างอยู่บนดอย การตั้งหมู่บ้าน
แต่ละครั้งจะให้หัวหน้าหมู่บ้าน หมอผี และผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เป็นผู้เสี่ยงทายโดยการโยน
ไข่ 3 ฟองลงบนพื้น ถ้าไข่แตกก็สามารถตั้งหมู่บ้านได้ แต่ถ้าไข่แตกไม่ครบ
3 ฟอง แสดง ว่าผีไม่อนุญาตให้ตั้งหมู่บ้านในบริเวณนี้ ปัจจุบันอีก้อยังคงรักษาประเพณีดั้งเดิมเอาไว้ได้
อย่างเหนียวแน่น โดยในแต่ละหมู่บ้านจะมีสิ่งสำคัญประจำหมู่บ้านคือ
1. ประตูหมู่บ้าน ทั้งด้านหน้าและหลังถือว่าเป็นประตูศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดจะแตะต้องไม่ได้เรียก
ว่าลกข่อ
2. ที่พักของผีป่านอกเขตหมู่บ้านเรียกว่า ศาลผีหมิชาลอเอ๊อะ
3. ชิงช้าศักดิ์สิทธิ์ สำหรับระลึกถึงเทพธิดาผู้ทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์
พิธีโล้ชิงช้าประจำ
ปีเรียกว่าโละซ่อ ประมาณเดือนสิ่งหาคม - กันยายน
4. ลานสาวกอด หรือแต๊ะข่อ เป็นสถานที่พบปะของหนุ่มสาว เนื่องจากมีประเพณีห้าม
หนุ่มสาวขอความรักต่อกันบนบ้าน นอกจากนี้ยังมีป่าช้า แหล่งน้ำ และเขตสงวนประจำ
หมู่บ้านอีกด้วย
อีก้ออยู่ในสังคมที่มีอิสระในการดำรงชีวิตภายใต้กฎและประเพณีของเผ่า ภายในหมู่บ้าน
มีหลายแซ่สกุลแต่จะมีสกุลใหญ่เพียง 1-2 สกุล ซึ่งส่วนใหญ่สกุลต่างๆ จะเป็นญาติพี่
น้องกัน บ้านอีก้อจะมีรั้วแสดงของเขตบริเวณบ้าน ส่วนตัวบ้านจะปลูกยกพื้นสูงจากพื้น
ดินประมาณ 1เมตร พื้นและฝาทำด้วยไม้ไผ่สับฟาก หลังคามุงหญ้าคา ภายในมีห้องนอน
2 ห้อง ชายอยู่ห้องหนึ่ง หญิงอยู่ห้องด้านใน ประเพณีอีก้อห้ามไม่ให้ลูกชายสมสู่บนบ้าน
ขณะที่พ่อยังมีชีวิตอยู่ ต้องมีกระต๊อบต่างหากอยู่หลังบ้าน
อีก้อนับถือผี วันสำคัญประจำปีที่จะต้องทำการเซ่นไหว้ผีมี 9 พีธีคือ พิธีขึ้นปีใหม่
พิธีทำ
ประตูบ้าน พิธีโล้ชิงช้า พิธีกินข้าวใหม่ พิธีเลี้ยงผีบ่อปลา พิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ
พิธีขับไล่
ผีหลังฤดูฝน พิธียะอุผีหรือบวงสรวงผีใหญ่ และพิธีเลี้ยงผีก่อนทำไร่
6. ลีซอ [Lisu] ชาวเขาเชื้อสายจีน
- ทิเบต กลุ่มทิเบต - พม่า เรียกตัวเองว่า ลีซู แบ่ง
เป็น 2 กลุ่มคือ ลีซอลายและลีซอดำเดิมอยู่บริเวณต้นแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำโขงทาง
ตอนเหนือของประเทศทิเบตและมณ ฑลยูนนานในประเทศจีน ต่อมาถูกชนชาติอื่นรุก
รานจึงถอยร่นลงมาทางใต้และกระจายตัวตั้งถิ่นฐานอยู่ในจีน พม่า และไทย ลีซอเข้ามา
อยู่ในไทยครั้งแรกที่ดอยช้างจังหวัดเชียงราย เมื่อประมาณพ.ศ.ปี2430
ลีซอทำเกษตรโดยปลูกข้าว ข้าวโพด และพืชผักต่างๆเพื่อการบริโภค นอกจากนี้ยังมีการ
เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะหมูและไก่เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม และมีอุตสาหกรรมในครัวเรือน
เช่น การทอและปักผ้าการทำเครื่องประดับจากเงิน และการต้มสุรา สังคม หมู่บ้านส่วน
ใหญ่จะตั้งอยู่ในระดับความสูงตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป ใกล้แหล่งน้ำ ปลูกบ้านคร่อมบน
พื้นดิน ใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุก่อสร้าง มุงหลังคาด้วยหญ้าคา ไม่มีหน้าต่าง
ลีซอไม่มีหัวหน้า
หมู่บ้าน เพราะถือว่าทุกคนเท่าเทียมกันหมด แต่จะมีสภาอาวุโส ซึ่งประกอบด้วยผู้อาวุโส
จากสกุลต่าง ๆ ในหมู่บ้านเป็นผู้ปกครองดูแลและรักษากฏต่าง ๆ ของสังคมตามประเพ
ณี ในหมู่บ้านแต่ละแห่ง จะมีครอบครัวที่มาจากแซ่สกุลต่าง ๆ ประมาณ 20
สกุล
ความรักของลีซอเริ่มจากการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว ซึ่งปกติจะเกี้ยวกันขณะเดินทาง
ไปไร่แล้วนัดพบกันในเวลากลางคืน และร้องเพลงเกี้ยวกันขณะเต้นรำในวันปีใหม่
แต่
ที่นิยมกันมากคือการเกี้ยวกันขณะที่หญิงสาวออกมาตำข้าวในตอนกลางคืน ลีซอถือว่า
การแต่งงานเป็นการค้าอย่างหนึ่งคือการซื้อหญิงสาว ซึ่งหากฝ่ายชายไม่มีเงินหรือมีเงิน
ไม่พอ ก็จะต้องไปอยู่บ้านฝ่ายหญิงเพื่อทำงานชดใช้แลกกับเงินค่าสินสอดชั่วระยะเวลา
หนึ่ง ซึ่งอาจนานเป็นปีก็ได้ก่อนแต่งงานฝ่ายชายจะให้ของกับฝ่ายหญิงเป็นการมัดจำ
หลังจากนั้นจะใช้วิธีฉุด ซึ่งแม้ว่าพ่อแม่ฝ่ายหญิงจะรู้แต่ก็จะวางเฉย
เพราะประเพณีบัง
คับ ต่อจากนั้นฝ่ายชายจึงจะส่งผู้ใหญ่ไปสู่ขอลีซอมีความเชื่อในเรื่องผี
เช่นเดียวกับชาว
เขาเผ่าอื่น ๆ