ยางมีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่างที่มีความสำคัญต่อมนุษย์คือ มีความยืดหยุ่น
[Elastic] กัน
น้ำได้ เป็นฉนวนกันไฟได้ เก็บและพองลมได้ดี เป็นต้น ดังนั้นมนุษย์จึงยังจะต้องพึ่งยางต่อ
ไปอีกนาน แม้ในปัจจุบัน มนุษย์สามารถผลิตยางเทียมได้แล้วก็ตาม แต่คุณสมบัติบางอย่าง
ของยางเทียมก็สู้ยางธรรมชาติไม่ได้ ในโลกนี้ยังมีพืชอีกมากมายหลายชนิดที่ให้น้ำยาง
[Rubber Bearing Plant] ซึ่งอาจจะมีเป็นพันๆ ชนิดในทวีปต่างๆ ทั่วโลก
แต่น้ำยางที่ได้จาก
ต้นยางแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป บางชนิดก็ใช้ทำอะไรไม่ได้เลย
แต่ยาง
บางชนิดเช่น ยางกัตตาเปอร์ชาที่ได้จากต้นกัตตา [Guttar Tree] ใช้ทำยางสำเร็จรูปเช่น
ยางรถยนต์ หรือรองเท้า ไม่ได้แต่ใช้ทำสายไฟได้ หรือยางเยลูตง และยางบาลาตา
ที่ได้
จากต้นยางชื่อเดียวกัน ถึงแม้จะมีความเหนียวของยาง
[Natural Isomer
of Rubber] อยู่
บ้าง แต่ก็มีเพียงสูตรอณู [Melecular Formula] เท่านั้นที่เหมือนกัน แต่โดยที่มี
HighRasin
Content จึงเหมาะที่จะใช้ทำหมากฝรั่งมากกว่า ยางที่ได้จากต้น Achas
Sapota ในอเมริกา
กลาง ซึ่งมีความเหนียวกว่ายางกัตตาเปอร์ชาและยางบาลาตามาก คนพื้นเมืองเรียกยางนี้
ว่า
ชิเคิ้ล [Chicle]
ดังนั้น บริษัท ผู้ผลิตหมากฝรั่งที่ทำมาจากยางชนิดนี้จึงตั้งชื่อหมากฝรั่ง
นั้นว่า Chiclets
วิวัฒนาการของยาง
โลกเพิ่งจะมีโอกาศรู้จักและใช้ประโยชน์จากยางเมื่อประมาณปลายคริสตศตวรรษที่
15 นี้
เอง ในขณะที่ คริสโตเฟอ โคลัมบัส ผู้ค้นพบโลกใหม่เดินทางไปอเมริกาในครั้งที่
2 ในปี
พศ. 2036 (1493) ก็ได้พบว่า มีชาวพื้นเมืองบางเผ่าทั้งในอเมริกากลางและอเมริกาใต้
ได้รู้จักและใช้ประโยชน์จากยางกันบ้างแล้ว เช่น ชาวพื้นเมืองในอเมริกากลางที่ทำรองเท้า
จากยางโดยการใช้มีดฟันต้นยาง แล้วรองน้ำยางใส่ภาชนะ หลังจากนั้น จึงเอาเท้าจุ่มลง
ไปในน้ำยางนั้น หรือเอาเท้าวางไว้บนภาชนะแล้วเทน้ำยางราดลงบนเท้า ก็จะได้รองเท้า
ที่เข้ากับเท้าพอดี หรือบางเผ่าในอเมริกาใต้ทำเสื้อกันฝนและผ้ากันน้ำจากยาง
หรือเผ่ามา
ยันในอเมริกาใต้ ที่ทำลูกบอลด้วยยาง แล้วนำมาเล่นโดยการให้กระเด้งขึ้นลงเพื่อเป็นการ
สักการะเทพเจ้า จึงทำให้โคลัมบัสและคณะมีความแปลกใจเป็นอันมาก และคิดกันไปว่า
ในลูกกลมๆที่เด้งได้นั้น ต้องมีตัวอะไรอยู่ข้างในเป็นแน่ หลังจากนั้นเมื่อโคลัมบัสเดินทาง
กลับยุโรป ก็ได้นำวัตถุประหลาดนั้นกลับไปด้วย โคลัมบัสจึงเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ได้มีโอ
กาศสัมผัสยาง และนำยางเข้าไปเผยแพร่ในยุโรป
การส่งยางเข้ามาในยุโรปในระยะแรกนั้นต้องใช้เวลานานมาก กว่าที่ยางจะเดินทางจาก
แหล่งกำเนิดจนมาถึงยุโรป ยางก็จะจับตัวกันเป็นก้อนเสียก่อน ดังนั้น ยางที่เข้ามาในยุ
โรปสมัยแรกๆ นั้น จึงเป็นยางที่ผลิตเป็นสินค้าแล้วเนื่องจากมนุษย์ยังไม่รู้จักวิธีที่จะทำ
ให้ยางที่จับตัวกันเป็นก้อน ให้ละลายและทำเป็นรูปทรงที่ต้องการได้อย่างไร
การผลิต ยางจึงต้องทำทันทีหลังจากได้น้ำยางมาก่อนที่ยางจะจับตัวกันเป็นก้อน
ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้เช่น ในประเทศเม็กซิโก ก็มีหลักฐานว่าได้มีการใช้ประ
โยชน์จากยางกันบ้างแล้ว แต่เป็นการผลิตอย่างง่ายๆเช่น ทำผ้า ยางกันน้ำ
ลูกบอล และ
เสื้อกันฝน เป็นต้น
- พศ.2143(1600) ก็ยังไม่มีความพยายามที่จะนำกรรมวิธีทำยางเข้ามาในยุโรป
- พศ. 2279(1736) ชาลส์ มารี เดอลา คองดามี ได้ส่งตัวอย่างยางจากลุ่มน้ำอเมซอน
กลับมาที่ฝรั่งเศษ และสรุปว่า ไม่สามารถนำน้ำยางกลับไปยุโรปเพื่อการผลิตได้
เพราะ
ยางจะแข็งตัวเสียก่อนที่จะถึงยุโรป
- พศ. 2313 เฮอริสแซน พบว่า น้ำมันสน [Terpentine] สามารถละลายยางที่จับตัวกัน
เป็นก้อนได้ และยังพบต่อไปอีกว่า Ether เป็นตัวละลายยางได้ดีกว่าน้ำมันสน
- พศ. 2313 (1770) โจเซฟ พริสลี่ (คนเดียวกับที่ค้นพบอ๊อกซิเจน) ค้นพบว่า
ยางใช้
ลบรอยดำของดินสอได้ จึงเรียกยางว่ายางลบ [Rubber] ตั้งแต่นั้น
- พศ. 2334 (1791) โฟร์ ครอย ค้นพบการป้องกันไม่ให้ยางจับตัวกันเป็นก้อนโดยการ
เติมด่างที่มีชื่อว่า Alkali ลงไปในน้ำยาง แต่การค้นพบนี้ก็ต้องเป็นหมันอยู่ถึง
125 ปี
เพราะไม่มีใครสนใจ
- พศ. 2363 (1820) โธมัส แฮนคอก (อังกฤษ) ประดิษฐ์เครื่องฉีกยางได้สำเร็จ
แต่ก็
ปกปิดไว้ โดยบอกคนที่ถามว่าเป็นเครื่องดองยาง [Pickle] และยังพบด้วยว่า
ความร้อนทำ
ให้ยางอ่อนตัวลงได้ และจะปั้นใหม่ให้เป็นรูปอะไรก็ได้ ตามต้องการ
- พศ. 2375 (1832) แฮนคอกได้ปรับปรุงเครื่องฉีกยางของเขาให้ดีขึ้น และเรียกเครื่อง
ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ว่าดังกล่าวว่า เครื่อง Masticator ซึ่งเป็นเครื่องต้นแบบของเครื่องฉีกยาง
ที่ใช้กันถึงทุกวันนี้ โธมัส แฮนคอก จึงได้รับเลือกให้เป็น "บิดาแห่งอุตสาหกรรมการยาง"
- พศ. 2380 (1837) แฮนคอกประดิษฐ์เครื่องรีดยางได้เป็นผลสำเร็จ [Spreading]
- พศ. 2379 (1836) ทางอเมริกาก็ประดิษฐ์เครื่องบดยางได้สำเร็จเหมือนกัน
- พศ. 2386 (1843) ชาลส์ กูดเยียร์ (อเมริกา) ค้นพบกรรมวิธีในการทำให้ยางคงรูป
โดยการ "อบความร้อน" [Vulcanisasion] และยางที่ผสมกำมะถันและตะกั่วขาว
เมื่อย่างไฟ
แล้ว แม้จะกระทบร้อนหรือเย็นจัด ยางจะเปลี่ยนรูปไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
สิ่งที่ชาลส์ค้น
พบนี้ แฮนคอกก็ค้นพบในอีก 2 ปีต่อมา และนำผลงานไปจดทะเบียน [Patent] ทันที
แต่
ชาลส์ไปจดทะเบียนหลังแฮนคอก 2 - 3 สัปคาห์ แต่โลกก็ยังให้เกียรติแก่ ชาลส์
กูดเยีย
ว่าเป็นผู้ที่คิดกรรมวิธีนี้ได้ก่อน
- พศ. 2389 (1846) โธมัส แฮนคอก ประดิษฐ์ยางตันสำหรับรถม้าทรงของพระนาง
เจ้าวิคตอเรีย
- พศ.2413 (1870) จอน ดันลอป ผลิตยางอัดลมสำหรับจักรยานได้สำเร็จ
- พศ. 2438 (1895) มีผู้ประดิษฐ์ยางอัดลมสำหรับรถยนต์ได้สำเร็จ
การค้นพบกรรมวิธีในการทำให้ยางคงรูปได้นั้น นับได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก
สำ
หรับวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งในช่วงเวลานั้น มีการค้นพบและมีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ
ทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นมากมายเช่น เจมส์ วัตต์ สร้างเครื่องจักรไอน้ำ
โรเบิร์ต ฟูลตัน
สร้างเครื่องจักรเรือไอน้ำ จอร์จ สตีเวนสัน สร้างหัวรถจักรไอน้ำ ไมเคิล
ฟาราเด สร้าง
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอส สร้างเครื่องส่งโทรเลข เป็นต้น แต่ความสำเร็จต่างๆ
เหล่านั้น คงจะขาดความสมบูรณ์ไปมากถ้ายังขาดความรู้เรื่องการทำยางให้คงรูป
เพราะยางที่คง
รูปแล้ว [Vulcanised Rubber] จะช่วยเติมความไม่สมบูรณ์เหล่านั้นให้เต็มเช่น
เป็นตัวห้าม
ล้อรถไฟ หรือทำสายไฟ และสายเคเบิ้ลใตน้ำ เป็นต้น
การสร้างสวนยางในเอเซีย
การผลิตยางในโลกสมัยก่อนปีพศ. 2443 (1900) นั้น ส่วนมากจะเป็นยางที่ปลูกในประ
เทศแถบอเมริกาใต้คือ บราซิล โคลัมเบีย และปานามาเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นยังมียาง
ที่ได้จากรัสเซีย และอัฟริกาเป็นบางส่วน และในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น ยางเริ่มมีความสำคัญ
ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้นแล้ว โลกจึงมีความต้องการใช้ยางเป็นจำนวนมาก
โธมัส
แฮนคอก จึงมีความคิดว่า ถ้าโลก (หมายถึงยุโรป) ยังคงต้องพึ่งยางที่มาจากแหล่งต่างๆ
เหล่านั้นเพียงอย่างเดียว ในอนาคตอาจจะเกิดความขาดแคลนยางขึ้นได้ จึงน่าที่จะหาที่
ใหม่ๆในส่วนอื่นๆของโลกเพื่อปลูกยางเอาไว้บ้าง ในปีพศ. 2398 (1855) จึงนำความคิด
นี้ไปปรึกษาเซอร์โจเซฟ ฮุกเกอร์ แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรชาวยุโรปในยุคนั้น
ยังไม่มี
ใครรู้จักยางกันมากนักว่า ยางมีหน้าตาเป็นอย่างไร หรือแม้กระทั่งได้ยางมาอย่างไรจากต้น
อะไร จนกระทั่งในปีพศ.2414(1871) จึงมีผู้นำภาพวาดต้นยางมาให้เซอร์โจเซฟ
ฮุกเกอร์
ดู ท่านจึงมีความสนใจในการปลูกยางมากขึ้น จึงได้ปรึกษากับเซอร์คลีเมนส์
มาร์คแฮม ผู้
ช่วยเลขาธิการประจำทำเนียบ ผู้ว่าการประจำอินเดีย ความพยายามที่จะนำยางมาปลูกใน
เอเซียจึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น สถานะการณ์ยางในประเทศแถบอเม
ริกาใต้ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากในสภาวะที่โลกมีความต้องการยางสูงมาก ชาวสวนยางในโค
ลัมเบียและปานามาจึงโหมกรีดยางกันอย่างหนัก จนในที่สุด ต้นยางในประเทศนั้นจึงได้
รับความบอบช้ำมาก และตายหมดจนไม่มีต้นยางเหลืออยู่ในแถบนั้นอีกเลย เซอร์คลีเมนส์
จึงนำพันธุ์ยางมาทดลองปลูกในอินเดียเป็นครั้งแรก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงได้ทดลอง
ปลูกยางในดินแดนต่างๆ ที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ในที่สุดจึงพบว่า ในดินแดนแหลม
มลายูเป็นที่ที่ยางจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุด และยังพบว่า พันธุ์ยางที่ดีที่สุดคือยางพันธุ์
Hevea Brasiliensis หรือยางพารา ดังนั้น ตั้งแต่ปีพศ. 2425 (1882) ยางพาราจึงเป็นที่
นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในแหลมมลายูในระยะแรกเริ่ม ยางพาราจะปลูกกันมากใน
ดินแดนอาณานิคมของอังกฤษและฮอลแลนด์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้น เยอรมันก็ปลูก
ยางไว้ที่อัฟริกาบ้าง และบางส่วนเป็นยางในรัสเซีย เหตุที่ยางพาราเป็นที่นิยมปลูกกันมาก
ในเอเซีย อาจเนื่องมาจาก ในเอเซียมีองค์ประกอบต่างๆที่เหมาะสมในการปลูก
ทั้งสภาพ
ดินฟ้าอากาศ ภูมิประเทศ สภาพดิน และปริมาณฝน รวมทั้งแรงงานที่หาได้ง่าย
ประกอบ
กับคุณสมบัติทางการเกษตรและการพานิชน์ของยางเองเช่น
- พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นควนเขา ไม่สามารถปลูกพืชอื่นได้ แต่ปลูกยางได้
- ยางเป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามากนัก โรคและศัตรูพืชน้อย
- ไม่ต้องมีการเฝ้ารักษา เพราะผลผลิตของยางไม่สามารถขโมยกันได้
- ผลผลิตยางสามารถขายได้ทุกคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นยางคุณภาพเลวเพียงใดก็ขายได้
เป็นยางปนกรวด ปนดิน ปนทราย ก็ขายได้ แม้แต่ขี้ของขี้ของขี้ของยาง ก็ขายได้
- ไม่ต้องง้อคนซื้อ เพราะผลผลิตไม่เน่าเสีย (ในอดีต)
- เป็นสินค้าที่ขายได้คล่อง และขายได้จนหมด ไม่มีเหลือ (ในอดีต)
- ให้ผลผลิตที่ยาวนาน และแน่นอน
ยางพาราในประเทศไทย
ในราวปีพศ. 2442 - 2444 (1899 - 1901) พระยารัษฎานุประดิษฐ์ เจ้าเมืองตรัง
ได้ไปเห็นการทำสวนยางในมาเลเซีย และประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจเป็นอย่างมาก
จึงมีความคิดที่จะนำยางมาปลูกในไทยบ้าง ท่านจึงนำต้นยางพารามาปลูกไว้ที่หน้าบ้าน
ของท่านเป็นคนแรก แล้วจึงแจกจ่ายไปยังประชาชนทั่วไป จนได้รับความนิยมปลูกกัน
เป็นที่แพร่หลายในภาคใต้ทุกจังหวัด และหลวงราชไมตรีได้นำพันธุ์ยางไปปลูกที่จันท
บุรีในปีพศ. 2453
พศ.2513 ไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่ง และยางพาราเป็นอันดับสอง ปัจจุบัน
ไทยมี
พื้นที่ปลูกยางประมาณ 12 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 1.7 ล้านตัน มูลค่าส่งออกประมาณ
4
หมื่นล้านบาทเศษ
ต้นยาง
ต้นยางจัดอยู่ในประเภทไม้เนื้ออ่อน ลำต้นประกอบด้วย
-เนื้อไม้แข็ง [Central axis]
-เนื้อไม้ [Wood หรือ Xylem]
-เยื่อเจริญ [Cambium]
-เปลือกอ่อน [Soft bark]
-ท่อน้ำยาง [Latex vessel]
-เปลือกแข็ง [Hard Bark]
-เยื่อเปลือก [Cork Cambium]
-เปลือกแห้ง [Cork]
ส่วนที่ให้น้ำยางของต้นยางคือ ท่อยาง อยู่ตรงบริเวณด้านในสุดของเปลือกแข็งต่อกับ
เปลือกอ่อน ท่อน้ำยางมีลักษณะวนจากล่างขี้นบนโดยเวียนขึ้นทางขวา ไม่ใช่เป็นเส้นตรง
ดิ่ง การกรีดยางจึงต้องเปิดแผลจากด้านซ้ายลงมาทางขวา เพราะจะทำให้ตัดท่อน้ำยาง
ได้มากกว่า ลำต้นของต้นยางเมื่อไม่ได้ใช้เพื่อการกรีดยางแล้ว ยังสามารถนำไปทำเยื่อ
กระดาษได้ ใช้ทำเสาเรือนขนาดเล็กหรือเสาเข็มได้ ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และทำฟืนได้
ใน
ปัจจุบัน ต้นยางที่หมดอายุแล้วจะมีราคาประมาณ 4,000 บาทต่อไร่
การปลูกยาง
ต้นยางพาราชอบดินร่วน การระบายน้ำใต้ดินดี ไม่ขังแช่ [Water lock] ดินที่ดีที่สุดที่ใช้
ปลูกยางควรมีความเป็นกรด [pH] ประมาณ 4-5.5 ปริมาณฝนประมาณ 2,000 - 2,200
มม.ต่อปี อุณหภูมิ 75 - 80 องศา F ไม่ควรปลูกในที่สูงเกินกว่า 1,000 ฟุตเหนือระดับ
น้ำทะเล สามารถปลูกได้ทั้งการติดและถุงเพาะชำ
หลุมที่เตรียมไว้ควรมีขนาด 50 x 50 x 50 ซม. ใช้ต้นอ่อนที่มียอดฉัตร 1
- 2 ยอด หลัง
จากที่ปลูกยางจนมีอายุได้ 6 - 7.5 ปี หรือเมื่อลำต้น ยางมีขนาดเส้นรอบวง
50 ซม.แล้ว
จึงจะสามารถกรีดยางได้ และจะสามารถกรีดยางไปได้ถึง 30 - 40 ปี ขึ้นอยู่กับกรรมวิธี
ในการกรีดในขณะที่ยางยังเป็นต้นอ่อนอยู่นั้น ควรจะต้องปลูกพืชคลุมไว้เพื่อเพิ่มธาตุอา
หารและรักษาความชื้นในดิน ป้องกันการชะล้างหน้าดิน และช่วยทำให้ต้นยางโตเร็วขึ้น
การกรีดยาง [Tapping]
ในราวปีพศ. 2429 (1876) เมื่อต้นยางเริ่มเจริญงอกงามดีแล้วในแถบเอเซีย
ชาวสวน
ยางต่างก็ต้องประสบกับปัญหาใหม่คือ ไม่รู้ว่าจะเอาน้ำยางออกมาให้มากที่สุดได้อย่างไร
และต่างก็ยังคงใช้วิธีโบราณคือ ใช้มีดหรือของมีคมเช่นขวาน ฟ้นลงไปลงบนเปลือกยาง
ซึ่งก็ได้น้ำยางไม่มากเท่าที่ควร ผู้ที่ปลูกยางอยู่ในมาเลเซียจึงต่างพากันสิ้นหวังกับยาง
พันธุ์ Hevea และนึกว่าการทดลองปลูกคงไม่ได้ผล จนถึงปีพศ. 2432 จึงได้มีการทำ
ลายต้นยางที่มีอยู่ตายไปเกือบหมด
ในปีเดียวกันนั้น ริดเลย์ นักพฤษศาสตร์ชาวอังกฤษ ยังคงมีความพยายามอย่างต่อเนื่อง
ที่จะเอาน้ำยางออกมาให้ได้ และได้ทำการทดลองหาวิธีใหม่ๆอยู่หลายวิธี เพราะรู้ว่าวิธี
เก่าคือการสับลงบนเปลือกนั้น [Incision Method] น้ำยางจะออกมาแห้งกรัง
และปิดทาง
ไหลของน้ำยางเสียหมด ริดเลย์ จึงทดลองโดยเอาเปลือกออกก่อน [Excision Method]
โดยใช้มีดแบบสิ่วและฆ้อนอันเล็กๆค่อยๆเซาะเอาเปลือกออกอย่างที่ทำกันอยู่ในทุกวันนี้
และทุกครั้งที่กรีดออกเพียงเบาๆ น้ำยางก็จะไหลออกมาอีกเพราะไม่มีอะไรไปอุดรูอยู่
การกรีดยางแบบนี้ ริดเลย์เป็นผู้ค้นพบในปีพศ.2433(1891) หลังจากนั้นจึงแพร่หลาย
ไปสู่คนทั่วไป มีดที่ใช้กรีดยางในสมัยแรกๆ เป็นมีดที่ใช้กันทั่วไป ยังไม่มีมีดสำหรับกรีด
ยางโดยเฉพาะ ต่อมาบริษัทแห่งหนึ่งมาเลเซีย ชื่อ เจบอง [Jebong Estate]
ได้พยายามคิด
ค้นมีดสำหรับกรีดยาง และประสบความสำเร็จในปีพศ. 2447 (1904) เรียกว่า
Jebong
Knife และต่อมาก็เรียกมีดที่ใช้กรีดยางว่า เจ๊ะบง ตามชื่อของบริษัทที่คิดขึ้นมาได้
ซึ่งยัง
คงใช้และเรียกกันต่อมาจนถึงทุกวันนี้การกรีดยางที่ดีต้องยึดหลักได้น้ำยางมากที่สุด
กรีดได้นานที่สุด ต้นยางบอบช้ำน้อยที่สุด และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
น้ำยางจะ
ออกมากที่สุดในสภาพอากาศเย็น ดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะในการ กรีดยางคือตอนเช้ามืด
เวลาประมาณ 04.00 นาฬิกา และจะย้อนกลับมาเก็บน้ำยาง หลังจากเวลาผ่านไปประ
มาณ 3 ชั่วโมง ในสมัยก่อนที่จะมีการพัฒนาและใช้ยางพันธุ์ที่ดีขึ้นนั้น
ชาวสวนยางยัง
คงใช้ยางพันธ์ "ดีกดำบรรพด์" ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองอยู่ การกรีดยางต้องเริ่มกรีดในช่วง
เวลาประมาณ 1 นาฬิกา ก่อนจะเริ่มทำการกรีดยางนั้น จำเป็นจะต้องมีการวางแผนเสีย
ก่อนว่า จะกรีดแบบเว้นวัน วันเว้น 2 วันหรือวันเว้น 3 วัน เนื่องจากต้องคำนึงถึงพันธุ์
ของยางด้วย และระบบที่ต่างกันก็จะมีผลต่อระยะการกรีดและอายุของยางด้วย
เมื่อวาง
แผนได้แล้ว ก็จะเริ่มเปิดกรีดที่ระดับความสูงประมาณ 150 ,100 และ 75 ซม.
เปิด
กรีดเป็นเส้นทะแยงทำมุม 30 องศา จากซ้ายลงไปทางขวา แผลกรีดกินระยะครึ่งรอบ
วงของลำต้น มีดที่ใช้กรีดนั้นจำเป็นต้องให้มีความคมมากอยู่เสมอ เนื่องจากมีดที่ไม่
คมจะไปทำลายเยื่อเจริญ และต้องไม่กรีดให้ถึงเยื่อเจริญ เนื่องจากเยื่อเจริญจะเป็นตัว
สร้างเปลือกขึ้นมาใหม่ ถ้าถูกทำลายไปแล้วก็จะไม่มีการสร้างเปลือกขึ้นมาอีกและอาจ
จะทำให้เกิดโรคเปลือกเน่าได้ การเปิดกรีดควรเปิดจากซ้ายวนลงมาทางขวาเพราะจะ
ทำให้ตัดท่อน้ำยางได้มากกว่า คนงานหนึ่ง คนควรกรีดยางไม่เกินวันละ 400
- 500
ต้น เพราะถ้าเกินจากนั้น อาจไม่มีความละเอียดในการกรีดและทำลายเยื่อเจริญได้
ควรติดรางรองน้ำยางให้ต่ำกว่ารอยเปิดประมาณ 25-30 ซม. และติดถ้วยรองน้ำยาง
ให้ต่ำลงมาอีก 10 ซม.
การแปรรูปผลผลิต
ขั้นตอนในการแปรรูปยางหลังจากที่ได้น้ำยางมาแล้ว มีดังนี้
- กรองน้ำยางด้วยเครื่องกรองลวดเบอร์ 40 และ 60 ให้เบอร์ 40 วางซ้อนอยู่ข้างบน
- เติมน้ำยางที่กรองแล้วใส่ในตะกง ๆ ละ 3 ลิตร
- เติมน้ำสะอาด 2 ลิตร จะได้น้ำยางเจือจางในอัตราส่วน 3 : 2
- กวนน้ำยางให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำกรดเจือจาง (กรดฟอมิค 85 - 95 % ปริมาณ
10 cc.
ผสมน้ำ 600 cc.จะได้กรดเจือจางในอัตราส่วน 60 : 1) ประมาณ 2 กระป๋องนม
เทให้ทั่ว
แล้วคนให้เข้ากัน
- กวาดฟองที่เกิดจากการกวนให้หมด แล้วเก็บไว้ขายได้ เป็นเศษยางชั้นดี
ถ้าไม่กวาด
ฟองออก เมื่อนำไปรมควันจะเห็นเป็นฟองอากาศในแผ่นยาง ทำให้ยางมีคุณภาพต่ำ
กว่าที่ควร
- ทิ้งน้ำยางไว้ 30 - 45 นาทีหาสิ่งปกปิดตะกงไว้เพื่อกันสิ่งสกปรกตกลงไปในตะกง
ในขณะที่น้ำยางกำลังจับตัวกัน
- เมื่อน้ำยางจับตัวกันแล้ว ควรเทน้ำหล่อไว้ เพื่อความสะดวกในการเทยางออกมาจาก
ตะกง
- นวดก้อนยางบนโต๊ะจนได้ก้อนยางหนาประมาณ 1 ซม.แล้วนำไปเข้าเครื่องรีดลื่น
3 - 4 ครั้ง จนได้แผ่นยาง หนาประมาณ 3 - 4 มม. จึงนำไปเข้าเครื่องรีดดอก
1 ครั้ง
- ยางที่ผ่านเครื่องรีดดอกแล้วควรล้างน้ำให้สะอาดเพื่อล้างเอาคราบกรดออกให้หมด
แล้วนำไปผึ่งไว้ในที่ร่มที่ไม่มีฝุ่นประมาณ 6 ชั่วโมง
ปัจจุบันเกษตรกรสามารถขายผลผลิตในรูปน้ำยางแก่โรงงานได้โดยตรงโดยไม่ต้อง
ผ่านกระบวนการแปรรูปด้วยตนเอง