ราวปีพศ.2500 (1957) มีราษฎรขุดพบภาชนะดินเผาในทุกครั้งที่มีการขุดดิน
ซึ่งไม่มี
ใครจะได้รู้คุณค่าที่แท้จริง แต่ก็ได้มีการจัดแสดงไว้ให้ประชาชนได้ชมในวาระต่างๆ
ปีพศ.
2503(1960) กรมศิลปากรได้เข้ามาทำการสำรวจและได้เก็บตัวอย่างโบราณวัตถุบาง
ส่วนกลับไป แต่ก็ยังไม่มีการสำรวจทางโบราณคดีที่จริงจังเท่าใดนัก พศ.
2509(1966)
Mr.Stephen Young บุตรชายของเอกอัคราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้เข้า
มาศึกษาเรื่องราวของบ้านเชียง จึงได้พบว่ามีเศษภาชนะที่เป็นโบราณวัตถุกระจายอยู่ตาม
ผิวดินทั่วไปภายในบริเวณหมู่บ้าน จึงส่งตัวอย่างไปทำการตรวจพิสูจน์ และได้ผลออกมา
ว่าสิ่งที่พบในบ้านเชียงนั้น เป็นโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโลหะ
มีอายุกว่า
5000 ปี
ปีพศ. 2510 (1967) กรมศิลปากรเข้าไปดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีเป็นครั้งแรก
และพบหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ หลายประเภท ทั้งที่เป็นโครงกระดูกและภาชนะที่
เขียนลวดลายต่างๆ ด้วยสีแดง รวมทั้งวัตถุที่ทำด้วยหิน สำริด และเหล็ก
โดยเฉพาะภาช
นะดินเผาลายเขียนสี เป็นโบราณวัตถุที่เด่นมาก
เนื่องจากเป็นการค้นพบครั้งแรกในประเทศไทย กรมศิลปากรจึงส่งตัวอย่าง 3
ชิ้นไปยัง
มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียเพื่อทำการตรวจหาอายุด้วยวิธี เทอร์โมมิเนสเซนต์
และมีราย
งานว่า เศษภาชนะที่พบนั้น มีอายุอยู่ในราว 7,000 - 5,000 ปี แต่การค้นคว้าในเวลา
ต่อมาทำให้ทราบว่า ผลการตรวจในครั้งนั้นยังไม่ถูกต้อง โดยภาชนะที่พบนั้นมีอายุราว
2,200 - 1,800 ปีเท่านั้น
จากการค้นพบในครั้งนั้น ทำให้เกิดความตื่นตัวในการเสาะหาแหล่งโบราณคดีอื่นๆ
และ
ทำให้เกิดมีการลักลอบขุดเพื่อการค้ากันมากขึ้นในช่วงระหว่างปีพศ. 2512
- 2515 ทำ
ให้คณะปฏิวัติในสมัยนั้น ได้ออกประกาศเพื่อห้ามการลักลอบขุดในเขต 8 ตำบลของ
2
จังหวัด คือ ตำบลบ้านเชียง บ้านธาตุ ศรีสุทโธชัย อ้อมกอ จังหวัดอุดรธานี
และตำบล
ม่วงไข่ แวง พันนา จังหวัดสกลนคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่พร้อม ด้วยสมเด็จพระบรม
ราชินีนารถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงทอดพระเนตรการขุดค้นเมื่อวันที่
20 มีนาคม
พศ.2515 (1972) และทางกรมศิลปากรได้เปิดหลุมขุดค้นที่บริเวณวัดโพธิศรีใน
ต่อมา
ภายหลังจึงได้ปรับปรุงแล้วเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมจนถึง
ปัจจุบัน
พศ. 2517 - 2518 กรมศิลปากรได้รับความร่วมมือจากพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยแห่งมหา
วิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ในการจัดทำโครงการวิจัยทางโบราณคดีเรียกว่า โครงการวิจัยภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ทำการสำรวจแหล่งโบราณคดีบ้านต้อง และบ้านผักตบ จังหวัดอุดร
ธานี และตอนกลางในจังหวัดขอนแก่น ดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา
2 ปี การ
ขุดค้นครั้งนี้เรียกว่า สหวิทยาการ [Multidis Ciplinary Researching]
โดยมีนักวิชาการจาก
หลายสาขามาร่วมกันสำรวจเช่น นักธรณีวิทยา นักโบราณคดี เป็นต้น ผลของการศึกษา
ทำให้ทราบว่า ประเทศไทยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้น เคยมีคนอาศัยอยู่ตั้งแต่เมื่อ
2,000,000 - 1,500 ปีมาแล้ว
วัฒนธรรมบ้านเชียงได้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ตามความแตกต่างของการฝังศพและภาชนะ
ดินเผาที่ฝังลงไปพร้อมกับศพเพื่อการเซ่นไหว้ ดังนี้คือ
1. ระยะต้น [Early Period ] มีอายุระหว่าง 5,600 - 3,000 ปี เริ่มมีสภาพเป็นหมู่บ้านทำ
เกษตรกรรม หาเลี้ยงชีพด้วยการทำการเกษตร ปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์คือ วัวและหมู
ประ
เพณีการฝังศพมี 3 แบบคือ
- วางศพในลักษณะนอนเข่า
- วางศพในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว
- บรรจุศพในภาชนะดินเผาขนาดใหญ่แล้วนำไปฝังซึ่งพบในศพที่เป็นเด็กเท่านั้น
วัฒนธรรมการฝังศพยุคก่อนประวัติศาสตร์รุ่นแรกที่พบในบ้านเชียงนั้น มักมีการบรรจุ
ภาชนะดินเผาลงไปกับศพและประดับศพด้วยเครื่องประดับต่างๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง
ตามยุดสมัยที่แบ่งได้อีกดังนี้
1.1 ระยะที่ 1 ราว 5,600 - 4,500 ปี ภาชนะดินเผาที่เด่นคือ สีดำ - เทาเข้ม
มีเชิงหรือ
จานเตี้ยๆส่วนบนของภาชนะมักขีดเป็นลายเส้นโค้งแล้วกดประทับด้วยลายจุดหรือเป็นเส้น
สั้นๆเติมลงในพื้นที่ระหว่างลายเส้นโค้งนั้น ครึ่งล่างแต่งด้วยลายเชือกทาบ
คือการทำลวด
ลายด้วยการใช้เชือกมากดประทับ
1.2 ระยะที่ 2 ราว 4,500 - 4,000 ปี เริ่มปรากฎมีการทำภาชนะดินเผาขนาดใหญ่เพื่อ
บรรจุศพเด็กก่อนนำไปฝัง ลวดลายที่ปรากฎบนภาชนะเป็นลายขีดโค้งบนพื้นที่ส่วนใหญ่
ทำให้ดูเหมือนว่า ลวดลายในสมัยนี้จะเป็นลายที่หนาแน่นกว่าที่พบในสมัยแรก
1.3 ระยะที่ 3 ราว 4,000 - 3,500 ปี เริ่มปรากฎภาชนะที่มีผนังด้านข้าง
มีลักษณะตรง
ถึงเกือบตรงทำให้ภาชนะมีรูปร่างเป็นรูปทรงกระบอก [Beaker] และพบภาชนะประเภท
หม้อก้นกลม คอสั้น ปากตั้งตรงแต่งลายด้วยการใช้เชือกทาบตลอดทั้งใบ
1.4 ระยะที่ 4 ราว 3,500 - 3,000 ปี เริ่มปรากฎภาชนะก้นกลม แต่งไหล่ด้วยลายขีด
ผสมกับการระบายสีแดง ช่วงใต้ไหล่จะเป็นลายเชือกทาบ ภาชนะในยุคนี้เรียกว่าภาชนะ
แบบบ้านอ้อยแก้ว
บ้านเชียงในยุคต้นคงจะยังไม่มีการใช้โลหะ ของมีคมส่วนใหญ่จะเป็นขวานหินขัดเครื่อง
ประดับร่างกายก็จะเป็นหินและเปลือกหอยทะเล จนถึงช่วงที่ 3 ของระยะต้น
ราว 4,000
- 3,500 ปี จึงเริ่มมีการใช้โลหะสำริดบ้าง โดยใช้เป็นทั้งเครื่องประดับและเครื่องมือ
2. ระยะกลาง [ Middle Period ] ราว 3,000 - 2,300 ปี โลหะสำริด ซึ่งเป็นองค์ประกอบ
ของทองแดงและดีบุกเป็นหลัก ได้เริ่มมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ในช่วงต้นๆยังไม่มีการ
ใช้เหล็กจนถึงช่วงกลางของระยะนี้จึงเริ่มมีการใช้เหล็ก ในราว 2,700 - 2,500
ปี
วัฒนธรรมการฝังศพของยุคนี้ จะจัดวางศพให้นอนหงายเหยียดยาว ในบางรายจะพบว่ามี
การทุบภาชนะดินเผาให้แตกแล้วโรยทับบนศพ ภาชนะที่พบในหลุมศพในยุคนี้ มีลักษณะ
ผิวนอกสีขาว ส่วนไหล่เป็นมุมหรือโค้งมากจนเกือบเป็นมุมค่อนข้างชัด มีทั้งที่เป็นแบบก้น
กลมและก้นแหลม บางใบแต่งเป็นลายขีดผสมกับลายเขียนสี และเริ่มมีการตบแต่งปาก
ภาชนะด้วยการทาสีแดง
3. ระยะปลาย [ Late Period ] ราว 2,300 - 1,800 ปี จัดเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ตอนปลายซึ่งเป็นระยะที่มีการใช้เหล็กกันแพร่หลายแล้ววัฒนธรรมการฝังศพของยุคนี้
เป็นแบบวางศพให้นอนหงายเหยียดยาว แล้ววางภาชนะดินเผาลงไปทับบนศพ ภาชนะที่
พบในหลุมฝังศพในช่วงต้นของระยะปลายคือภาชนะที่เขียนลายสีแดงบนพื้นสีขาวนวล
ในช่วงกลางเริ่มมีการเขียนลายสีแดงบนพื้นสีแดง และในช่วงสุดท้ายของระยะปลาย
จึง
เริ่มมีการฉาบภาชนะด้วยน้ำดินสีแดง และขัดมัน [Red Slipped And Burnished
Potery ]
จากการขุดค้นทางโบราณคดี ได้ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์จำนวน
มากกว่า 130 โครง ซึ่งได้มีการวิเคราะห์และได้ข้อสรุปว่า ผู้ชายมีความสูงเฉลี่ย
164 -
175 ซม. ผู้หญิงมีความสูงโดยเฉลี่ย 150 - 157 ซม. เป็นคนที่มีรูปร่างล่ำสันแข็งแรง
ช่วงขายาว ใบหน้าใหญ่ หน้าผากกว้าง สันคิ้วหนาใหญ่ กระบอกตาเล็ก โหนกแก้มสูง
และยังพบว่า คนในสมัยแรกๆมีอายุเฉลี่ยประมาณ 27 ปี และในสมัยหลังมีอายุเฉลี่ย
ประมาณ 34 ปีโครงกระดูกที่พบส่วนใหญ่ไม่มีร่องรอยของการถูกทำร้ายและการต่อสู้
จึงสันนิษฐานได้ว่า สภาพชีวิตความเป็นอยู่และสังคมของชุมชนแห่งนี้ในสมัยก่อนประ
วัติศาสตร์คงจะมีความสงบสุขพอควร
ด้านเทคโนโลยีทางโลหะกรรมของบ้านเชียงในสมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้นเริ่มด้วยการใช้
โลหะประเภทสำริดเมื่อราว 4,000 ปีมาแล้ว หลังจากนั้นจึงเริ่มมีการใช้เหล็กเมื่อประมาณ
2,700 - 2,500 ปี ในทางโลหะวิทยานั้น สำริด [Bronze] หมายถึงโลหะที่มีส่วนผสมของ
ทองแดงเป็นหลัก และมีดีบุกผสมอยู่ตั้งแต่ 1 % ขึ้นไป แต่สำริดที่มีความเหมาะสมในการ
นำมาใช้เป็นเครื่องมือ จะมีดีบุกผสมอยู่ประมาณ10-15 % วัตถุสำริดที่ขุดพบที่บ้านเชียง
ได้แก่ ใบหอก หัวขวาน หัวธนู กำไล และเบ็ดตกปลา ชิ้นที่เก่าที่สุดคือ
ใบหอกมีอายุราว
4,000 ปี
เชสเตอร์ กอร์แมน และอาจารย์พิสิฐ เจริญวงศ์ นักโบราณคดีคนสำคัญได้ตั้งทฤษฎีเกี่ยว
กับสำริดที่พบที่บ้านเชียงว่า สำริดคือการรวมตัวกันของทองแดงและดีบุก
ซึ่งในพื้นที่และ
บริเวณใกล้เคียงบ้านเชียงนี้มีแร่ทั้ง 2 อยู่อย่างเหลือเฟือ และในครั้งแรกที่แร่ทั้ง
2 จะมา
รวมตัวกันได้นั้น จะต้องเป็นการรวมตัวกันโดยบังเอิญแน่นอน คงไม่มีใครตั้งใจที่จะนำ
แร่ทั้ง 2 มาหลอมรวมกัน และเมื่อเป็นการบังเอิญแร่ทั้ง 2 ชนิดจะต้องมีอยู่ในบริเวณใกล้
เคียงกันอย่างแน่นอน ซึ่งถ้าแร่ทั้ง 2 อยู่ในที่ห่างไกลกันแล้ว ความบังเอิญดังกล่าวคงจะ
ไม่เกิดขึ้นได้เป็นแน่ และคนในสมัยนั้นก็มีความสามารถเป็นกรณีพิเศษอยู่แล้ว
ในการใช้
ไฟเผาภาชนะต่างๆ และบันทึกที่เก่าที่สุดที่แสดงได้ว่า มนุษย์มีการวางแผนในการหลอม
รวมโลหะเข้าด้วยกัน คือบันทึกของชาวเพอนีเชี่ยนที่เดินทางจากทะเลเมดิเตอริเนียน
ดิน
แดนที่อุดมไปด้วยแร่ทองแดงแล้วเข้าไปยังเกาะอังกฤษ เพื่อนำทองแดงของตัวเองไปผสม
กับดีบุกเพื่อทำให้เป็นสำริดที่นั่น คำว่าทองแดง [Copper] มาจากคำว่า
Cuprus ในภาษา
ลาติน ต่อมากลายเป็นชื่อเกาะ Cyprus
เมื่อมีการขุดพบสำริดในดินแดนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอเซียไมเนอร์ ทะเลเมดิเตอเรเนียน
ลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งดินแดนเหล่านั้นก็มีทองแดงอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีดีบุกอยู่เลย
จึง
เป็นไปได้ว่าดินแดนเหล่านั้นคงจะนำเอาดีบุกจากดินแดนอื่น ซึ่งรู้วิธีการทำสำริดมาก่อน
ซึ่งก็คือที่บ้านเชียงนี้เองดังนั้นจึงพอสันนิษฐานได้ว่า สำริดที่บ้านเชียงน่าจะมีอายุเก่ากว่า
สำริดที่พบในดินแดนส่วนอื่นของโลกทั้งหมด
อารยธรรมที่พบในดินแดนต่างๆที่ว่ากันว่าเก่าแก่แล้วนั้น เมื่อมีการค้นพบบ้านเชียงแล้ว
อารยธรรมในดินแดนเหล่านั้นจึงล้วนมีอายุน้อยกว่าอารยธรรมที่บ้านเชียงทั้งสิ้น
เพราะ
ได้ค้นพบว่าที่บ้านเชียงนี้เริ่มมีการเพาะปลูกพืชเมื่อประมาณ 9,700 ปีก่อนคศ.มาแล้ว
และพบวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาแบบคาดเชือกเมื่อ 6,800 ปีก่อนคศ. ในญี่ปุ่นมีวัฒน
ธรรมศิลปะคาดเชือกหรือโจดองเมื่อ 8,000 ปีก่อนคศ. (โจดอง แปลว่า ศิลปแบบคาด
เชือก )
วัตถุโบราณบางชิ้นของบ้านเชียงพบว่า มีสัญลักษณะรูปกบประดับอยู่ ซึ่งเหมือนกับวัฒน
ธรรมดองซอนของเวียตนามซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีอายุไล่เลี่ยกันคือ 4 - 5,000
ปี และอารย
ธรรมทั้ง 2 น่าจะมีการติดต่อกันมาก่อน ซึ่งสัญลักษณ์รูปกบนั้นหมายถึงความ
อุดม
สมบูรณ์ เพราะกบเป็นสัตว์ที่มักจะมากับสายฝน แม้แต่ในบางพื้นที่ของประเทศจีนใน
ปัจจุบันก็ยังมีพิธีที่เกี่ยวกับการบูชากบอยู่หรือแม้ตามแหล่งที่เป็นภาพเขียนสีโบราณตาม
ผนังถ้ำ หรือตามหน้าผา ก็พบว่ามีการเขียนเป็นรูปกบ แสดงว่ากบมีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์
ในสมัยโบราณไม่น้อย
การแบ่งยุคบ้านเชียงตามยุคที่ใช้วัสดุและเทคนิคการทำเครื่องใช้ได้แก่
1. ยุคหิน [Stone Age] แบ่งย่อยได้อีกเป็น
1.1 ยุคหินเก่า [Old Stone Age หรือ Palaeolithic Period ] 5-1แสนปี
1.2 ยุคหินกลาง[Middle Stone Age หรือ Mesolithic Period] 10,000 - 6,000
ปี
1.3 ยุคหินใหม่ [New Stone Age หรือ Neolithic Period ] 6,000 - 4,000
ปี
2. ยุคสำริด [Bronze Age] 4,000 - 2,500 ปี
3. ยุคเหล็ก [Iron Age] 2,500 - 1,500 ปี
เป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว ที่นักโบราณคดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ให้ความสำ
คัญและยอมรับว่า บ้านเชียงเป็นร่องรอยอารยธรรมในอดีตที่ม๊ความสำคัญและให้ความ
รู้ถึงเรื่องราวในอดีตของผู้คน ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งที่บ้านเชียงเอง
หรือตามแหล่ง
อารยธรรมอื่นที่อาจมีความ เกี่ยวข้องกัน องค์การยูเนสโกจึงขึ้นบัญชีไว้ให้เป็นหนึ่งใน
"มรดกโลก" ทางวัฒนธรรม