งูส่วนมากออกลูกเป็นไข่ แต่งูที่มีพิษทางโลหิต [Vipers] บางชนิดออกลูกเป็นตัวเช่น
งูแมว
เซา งูจะลอกคราบเป็นระยะบ่อยครั้งเมื่อยังมีอายุน้อย หลังจากลอกคราบแล้วใหม่ๆ
งูจะมี
สีสดใสและสามารถเคลื่อนที่ได้ว่องไว
งูพิษในประเทศไทย สภาพภูมิอากาศของไทยมีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของงูเป็น
อย่างมาก พบงูชนิดต่างๆในประเทศไทยถึงกว่า 180 ชนิด เป็นงูมีพิษ 46 ชนิด
แบ่งเป็น
งูพิษที่อยู่บนบก24 ชนิด และงูพิษที่อยู่ในทะเลอีก 22 ชนิด งูพิษแบ่งออกได้เป็น
2 ประ
เภทคือ พิษต่อระบบประสาทและระบบโลหิต
งูที่มีพิษต่อระบบประสาท
1. งูเห่าไทย [Cobra ] และงูเห่าพ่นพิษ [Spitting Cobra] เป็นงูพิษที่สำคัญที่สุดและคนไทย
รู้จักดีที่สุด เพราะนอกจากจะมีพิษที่ร้ายแรงแล้ว ยังมีอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศอีกด้วย
งู
เห่าเป็นงูที่สามารถแผ่แม่เบี้ยได้ มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน บนหลังหัวมีเกล็ดแผ่นใหญ่หลาย
แผ่นปกคลุมอยู่ มีลักษณะและสีสรรที่แตกต่างกันมากในงูเห่าแต่ละพันธุ์ที่ต่างกัน
เช่นสี
เหลืองสีนวล สีน้ำตาลไหม้ จนกระทั่งสีดำ พวกที่มีดอกจันกลมอยู่บนหัวจะพบเห็นได้บ่อย
ครั้ง ซึ่งเป็นพวกที่พ่นพิษไม่ได้เรียกว่า งูเห่าไทยหรืองูเห่าหม้อ ส่วนพวกที่มีดอกจันเป็นรูป
ตัว V หรือไม่มีดอกจันเลย จะเป็นพวกที่สามารถพ่นพิษได้ บางครั้งพ่นพิษได้ไกลถึง
2
เมตร งูเห่าทั้ง 2 ชนิดล้วนเป็นงูที่มีพิษร้ายแรงถึงตายได้ทั้งสิ้น ในปริมาณพิษที่เท่ากัน
งู
เห่าจะมีพิษที่ร้ายแรงกว่างูจงอาง แต่งูจงอางจะหลั่งพิษออกมาในปริมาณที่มากกว่างูเห่า
หลายเท่า จึงดูเหมือนว่า งูจงอางมีพิษที่ร้ายแรงกว่า งูเห่าทั้ง2 ชนิดออกลูกเป็นไข่
2. งูจงอาง [King Cobra]
เป็นงูพิษที่ใหญ่ที่สุดในโลก เคยพบที่ยาวที่สุดถึง 5.59 เมตร มีลักษณะคล้ายงูเห่าแต่ตัว
โตกว่ามาก รูปร่างเพรียวยาวแผ่แม่เบี้ยได้เหมือนงูเห่า แต่แม่เบี้ยงูจงอางจะเล็กกว่าของงู
เห่า เมื่อเทียบกันตามอัตราส่วน บนหลังหัวมีเกล็ดแผ่นใหญ่หลายแผ่นปกคลุม
ไม่มีดอก
จันบนหัว แต่มีเกล็ดพิเศษคู่หนึ่งเรียกว่า เกล็ดท้ายทอย ซึ่งงูเห่าไม่มี
งูจงอางเป็นงูที่ดุ
มาก พบว่ามีอยู่ตามป่าในทุกพื้นที่ของประเทศ แต่มีชุกชุมในภาคใต้ งูจงอางเป็นงูที่กินงู
เป็นอาหาร ออกลูกเป็นไข่ และเป็นงูที่หวงไข่มากที่สุด โดยจะหากินอยู่ในบริเวณที่วาง
ไข่ไว้ไม่ไกลกันมาก และจะชูคอขึ้นมาดูไข่เป็นระยะ วิธีที่จะชิงเอาไข่งูจงอางให้ได้นั้น
ต้อง ใช้ม้าเป็นพาหนะในการหนีเพราะงูจงอางเคลื่อนที่ได้เร็วมากไม่เคยมีใครวิ่งได้เร็วกว่างูจง
อาง นอกจากม้า เมื่อเอาไข่มาได้แล้ว งูจงอางจะตามทันทีและไม่เลิกจนกว่าจะโยนไข่ทิ้ง
งูจงอางเมื่อเวลาฉก จะฉกได้สูงถึงระดับคอคน ดังนั้น ในแถบภาคใต้ซึ่งมีการปลูกยางกัน
มาก และเป็นที่อยู่อาศัยของงูจงอาง เมื่อเวลาที่จะออกไปกรีดยางซึ่งเป็นเวลากลางคืน
จะ
ต้องมีเครื่องป้องกันตัวคือ สวมรองเท้ายางสูงถึงเข่า มีผ้าพันคอซึ่งอาจจะเป็นผ้าขาวม้าก็ได้
และใช้หมวกแข็งเช่นหมวกที่สานด้วยไม้ไผ่หรือหวาย โดยมี ดวงไฟหรือตะเกียงติดอยู่บน
หมวก เนื่องจากจุดที่งูจงอางมักจะฉกคือ หัว คอและหัวเข่า ทั้งนี้ ยังเป็นการป้องกันตัว
จากงูชนิดอื่นได้อีกด้วย
3. กลุ่มงูสามเหลี่ยม
บนหัวจะมีเกล็ดปกคลุมอยู่หลายแผ่น ตามแนวกลางหลังจะมีเกล็ดรูปหกเหลี่ยมต่อกัน
เป็นแนวยาวตั้งแต่คอถึงหาง ชอบกินงูเล็กเป็นอาหาร ออกลูกเป็นไข่ ในไทยพบว่ามีงูใน
กลุ่มนี้อยู่นี้อยู่ 3 ชนิดคือ
3.1 งูสามเหลี่ยม [Banded Krait] แนวกระดูกสันหลังยกเป็นสันสูง ทำให้มีลำตัวเป็นสัน
เหมือนสาม เหลี่ยม มีสีเป็นปล้องดำสลับเหลืองตลอดลำตัว ปล้องสีแต่ละปล้องมีขนาด
ใกล้เคียงกันปลายหางกุดทู่เหมือนหางกุด ชอบอยู่ในที่มีความชื้นสูงเช่น
ตามแหล่งน้ำ
ในตอนกลางวันจะมีความเฉื่อยชา แต่จะว่องไวปราดเปรียวในตอนกลางคืน พบว่ามีอยู่
ชุกชุมในทุกภาคของประเทศไทย
3.2 งูทับสมิงคลา [Malayan Krait] มีรูปร่างลักษณะคล้ายงูสามเหลี่ยมแต่ตัวเล็กกว่าและมี
ปล้องเป็นสีดำสลับขาว ปลายหางแหลมไม่ทู่ ชอบอยู่ใที่ชื้น พบอยู่ในทุกภาคของประเทศ
แต่มีน้อยในภาคเหนือ
3.3 งูสามเหลี่ยมหัวแดง [Red Headed Krait] หัวและหางมีสีแดงสด ลำตัวมีสีดำมะเมื่อม
เป็นงูที่พบน้อยมาก ส่วนมากจะพบในบริเวณภาคใต้
งูที่มีพิษต่อระบบโลหิต
1. งูแมวเซา [Russel's Viper ] มีลำตัวอ้วนสั้น หัวค่อนข้างเป็นรูปสามเหลี่ยม
บนหลังหัว
มีแต่เกล็ดเล็กๆปกคลุมอยู่ ลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีลายเป็นดวงกลมๆสีน้ำตาลเข้มตาม
ตัว นิสัยดุ เมื่อถูกรบกวนจะพ่นลมออกมาทางจมูก ทำให้เกิดเสียงดังน่ากลัว
ฉกกัดได้
รวดเร็ว ออกลูกเป็นตัว พบมากในภาคกลาง
2. งูกะปะ [Malayan Pit Viper] เป็นงูขนาดเล็ก หัวเป็นรูปสามเหลี่ยมคอดเล็ก
ลำตัวสีน้ำ
ตาล มีลายเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีน้ำตาลเข้มตามแนวข้างลำตัวทั้ง
2 ข้าง แนว
กระดูกสันหลังนูนเป็นสัน หลังหัวมีเกล็ดแผ่นใหญ่ปกคลุมอยู่หลายแผ่น มีร่องรับอุณห
ภูมิอยู่ระหว่างจมูกและตา เรียกว่า Pit Organ ใช้สำรับจับอุณหภูมิคือความร้อนของเหยื่อ
ชอบขดตัวนอนอยู่นิ่งๆใต้กองใบไม้ร่วงหรือตามพงหญ้าที่รก ตามก้อนหิน ขอนไม้
ไม่ชอบ เคลื่อนไหวแต่จะพุ่งเข้าหาศัตรูหรือเหยื่อได้อย่างรวดเร็ว พบในทุกภาคของประเทศ
แต่มี
ชุกชุมในภาคใต้
3. งูเขียวหางไหม้ [Green Pit Viper] มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน มักมีสีเขียวตามลำตัว
หาง
สีแดงจนถึงสีไหม้ แต่อาจจะมีที่สีแตกต่างกันบ้าง หรืองูชนิดอื่นก็อาจมีสีเขียวและหาง
เป็นสีแดงได้ ดังนั้นสีจึงไม่ใช่เครื่องบ่งบอกที่ตายตัว โดยปกติงูชนิดนี้
จะมีหัวโตเป็นรูป
สามเหลี่ยม คอเล็ก บนหลังหัวจะเป็นแผ่นเล็กๆ ปกคลุมอยู่ระหว่างรูจมูกกับลูกตาจะมี
ร่องลึกๆ ขนาดใหญ่อยู่ข้างละ 1 ร่อง ลำตัวมักอ้วน หางสั้น พบได้ทั้งตามพื้นดินและ
ตามต้นไม้ซึ่งมีที่สำหรับหลบซ่อนตัว ออกหากินในตอนกลางคืน ออกลูกเป็นตัว
แต่ก็มี
บ้างบางในชนิดที่ออกลูกเป็นไข่ พิษไม่รุนแรงมากนัก แต่ก็ทำให้มีอาการปวดและบวมมาก
งูที่มีพิษต่อระบบกล้ามเนื้อ เป็นกลุ่มงูพิษในทะเล มี 22 ชนิดในน่านน้ำไทย
พบทั้งทาง
อ่าวไทยและทะเลอันดามัน