1. ช้างพันธุ์อาฟริกา [Loxodonta] มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอาฟริกา
ความสูงโดยเฉลี่ยวัด
จากปลายขาหน้าถึงหัวไหล่ประมาณ 3.5 เมตร หัวมีขนาดเล็กกว่าช้างเอเซีย
มีลอนที่
โหนกหัวลอนเดียว ใบหูใหญ่ ขอบหูจะอยู่สูงกว่าระดับหัว ปลายงวงมี 2 จะงอย
เท้าหน้า
มีเล็บข้างละ 5 เล็บ เท้าหลังข้างละ 3 เล็บ มีนิสัยดุร้าย ไม่ฉลาด และไม่สามารถนำมา
ฝึกให้ทำงานได้ มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย
มีช้างสายพันธุ์อาฟริกาอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ช้างแคระ [Pugmy Elephen]
สูงราว 2 เมตร
พบอยู่ตามลุ่มแม่น้ำคองโก ปัจจุบันนี้มีเหลืออยู่น้อยมาก เพราะชาวคองโกมักล่าเอาเนื้อ
ไปทำอาหาร เคยพบช้างแคระนี้ในประเทศไทยแถบทะเลสาปสงขลา แต่ปัจจุบันนี้ได้สูญ
พันธุ์ไปหมดแล้ว
2. ช้างพันธุ์เอเซีย [Elephen Maximas] มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเซีย
ความสูงโดยเฉลี่ย
3 เมตร หูเล็ก ขอบหูจะอยู่ระดับเดียวกับขอบหัว กะโหลกใหญ่ โหนกหัวมีลอน
2 ลอน
ปลายงวงมีจะงอยเดียว หลังโค้ง เท้าหน้ามีเล็บข้างละ 5 เล็บ เท้าหลังข้างละ
4 เล็บ ตัว
ผู้มีงา ตัวเมียไม่มีงา ถ้าตัวผู้ไม่มีงาจะเรียกช้างนั้นว่า สีดอเป็นช้างที่มีพละกำลังมหาศาล
มากกว่าช้างธรรมดาทั่วไปถ้าตัวเมียมีงางอกออกมาสั้นๆที่มุมปากเรียกว่า ขนาย
วิธีวัดความสูงของช้างทำได้ด้วยการวัดวงรอบเท้าแล้วทำเป็น 2 ทบ ก็จะได้ความสูงของ
ช้างโดยประมาณช้างไทยจัดอยู่ในประเภทช้างเอเซีย ชอบอากาศเย็น มักอาศัยอยู่ตาม
หนองน้ำและลำห้วย สามารถลอยคออยู่ในน้ำได้นาน ๆ และว่ายน้ำได้ดี ถ้าร้อนมาก
จะ
เอางวงล้วงเข้าไปในกระเพาะเพื่อดูดเอาน้ำออกมาพ่นตามลำตัว น้ำที่ช้างดูดออกมาไม่มี
กลิ่นเหม็น เพราะในกระเพาะอาหารของช้างจะสะอาด ช้างจะดื่มน้ำถึงประมาณวันละ
80 ลิตร และกินพืชเป็นอาหารประมาณวันละ 150 - 200 กก.
ช้างจะเริ่มตกมันเพื่อการผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 16-25 ปี โดยต่อมที่ขมับจะบวม
พองขึ้น ขนาดเท่าลูกมะนาว และขับเมือกออกมาส่งกลิ่นเหม็น แต่เป็นผลดีในการกระ
ตุ้นความรู้สึกทางเพศ ช้างตกมันจะมีความจำถดถอย อารมณ์เสียและอันตรายมาก
ช้างเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เลี้ยงลูกด้วยนม พื้นเท้าอ่อนนุ่ม
เวลาเดินจึงไม่มีเสียง
ดัง นอนโดยการตะแคงตัวลงกับพื้น มีการหาวนอนและกรนในบางครั้ง ใช้เวลานอนวัน
ละประมาณ 3 - 4 ชม. ในช่วงเวลา 23.00 - 03.00 น. ช้างจะไม่นอนกลางวัน
ยกเว้น
เวลาไม่สบาย
อวัยวะและหน้าที่
งวง คือจมูกช้าง มีความยาวถึงพื้น
ใช้หายใจและหยิบจับสิ่งของแทนมือ งวงช้างไม้มีกระ
ดูก ช้างจึงเคลื่อนไหวงวงได้อย่างคล่องแคล่ว
งาช้าง คือฟันหน้าหรือเขี้ยว เริ่มงอกเมื่ออายุประมาณ
2-5 ปี งามี 2 ชนิดคือ งาปลี สีจะ
ไม่ขาวมาก วงรอบประมาณ 15 นิ้ว และ งาเครือ หรือ งาหวาย
มีลักษณะยาวรี วัดวง
รอบไม่เกิน 14 นิ้ว
ตาช้าง ช้างมีนัยตาค่อนข้างเล็ก
แต่ก็สามารถมองเห็นได้แม้ในระยะไกล
หู ช้างมีใบหูที่ใหญ่ เมื่อกางเต็มที่
จะช่วยให้ได้ยินได้ดีขึ้น
หาง ยาวถึงเข่า ขนหางยาว 4 - 6 นิ้วเรียงเป็นทางยาว
2 แถว ตั้งแต่ปลายขึ้นมาประ
มาณ 6 - 7 นิ้ว
ปัจจุบันยังมีช้างป่าในประเทศไทยเหลืออยู่ในทุกภูมิภาคที่มีป่า มักอยู่กันเป็นโขลงๆละ
ประมาณ 10-20 และ 30-50 ตัว แล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ช้างที่แยกอยู่ตาม
ลำพังเรียกว่า ช้างโทน มักมีนิสัยดุร้าย ช้างป่ายังคงเรียกว่า ตัว ส่วนช้างที่นำมาและฝึก
จนเชื่องจึงจะเรียกว่า เชือก
ระบบการสืบพันธุ์
ช่วงอายุของช้างที่สามารถตกลูกได้คือประมาณ 12-50 ปี ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ
21-
22 ปี เมื่อตกลูกแล้วต้องใช้เวลาอีกกว่า 3 ปี จีงจะสามารถผสมพันธุ์ได้ใหม่
เมื่อรวมระยะ
การตกลูกในแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า 5 ปี ดังนั้นในช่วงชีวิตหนึ่งของแม่ช้าง
จะตกลูกได้เพียง
5-10 ตัวเท่านั้น ในจำนวนช้าง 100 ตัว จะ มีช้างพร้อมตกลูกประมาณ 20-25
ตัว และ
มีตัวผู้ที่พร้อมจะเป็นพ่อพันธ์เพียง 5-10 ตัวเท่านั้น เมื่อช้างจับคู่กันได้แล้ว
ตัวผู้ก็จะขึ้นขี่
ทางด้านหลังโดยจะใช้เวลาเร็วมาก เนื่องจากช้างมีน้ำหนักตัวมากถึง 3-4
ตัน ทำให้ตัว
เมียไม่อาจรับน้ำหนักที่มากขนาดนั้นเป็นเวลานานๆได้ หลังจากนั้น ช้างจะใช้เวลาในการ
ตั้งท้องประมาณ 21-22 เดือน และจะหยุดหรือปฏิเสธการทำงานหนัก เมื่อใกล้เวลาที่จะ
คลอด ช้างจะหาตัวเมียไว้คอยช่วยเหลือ เปรียบเสมือนเป็นพี่เลี้ยงและแม่เลี้ยงสำหรับช้าง
ที่เพิ่งเกิดใหม่ เรียกว่า "แม่รับ" การให้กำเนิดลูกช้างเรียกว่า "ตกลูก"
เมื่อถึงเวลาตกลูก
แม่รับจะคอยช่วยเหลืออยู่ใกล้ๆ และจะเป็นผู้ฉีกถุงเยื่อให้ลูกช้าง และคอยกันลูกช้างให้อยู่
ห่างจากตัวแม่ประมาณ 2-3 ชม. เพราะตัวแม่อาจจะทำร้ายลูกของตัวเองได้ เนื่องจาก
หงุดหงิดและอารมณ์เสียอันเนื่องมาจากอาการบาดเจ็บขณะตกลูก
ลูกช้างสามารถลุกขึ้นยืนเองได้หลังจากคลอดแล้วประมาณ 20 นาที และจะใช้ปากดูด
นมแม่โดยพับงวงไว้ข้างบน ลูกช้างจะอาศัยดูดนมแม่ประมาณ 3 - 4 ปี จากนั้นตัวผู้ก็
จะมีงางอกออกมา
ช้างกับระบบนิเวศน์วิทยา
ช้างเอเซียเป็นสัตว์ฉลาด ความจำดี อดทน และจำกลิ่นได้ จำได้แม้ฤดูและระยะสุกของ
ผลไม้ที่สุกตามฤดูและจะย้อนกลับมากินเมื่อถึงเวลาที่ผลไม้นั้นสุกได้ที่
วิธีกินของช้างคือ
การ "เดินกิน"ด้วยอุปนิสัยเดินกินของช้างนี้เอง ได้ทำให้เกิดผลทางระบบนิเวศตามมาอีก
มากมาย กล่าวคือ มูลที่ช้างถ่ายก็ได้นำเอาเมล็ดของผลไม้แพร่ออกไปยังที่ต่างๆด้วย
และ มูลช้างก็ยังเป็นปุ๋ยชั้นดีให้กับธรรมชาติ นอกจากนั้นยอดไม้สูงๆเช่น ยอดไผ่
ที่ช้างใช้งวง
ดึงลงมากินนั้น ช้างจะไม่กินทั้งหมด โดยจะเหลือบางส่วนไว้และสัตว์อื่นที่มีความสูงไม่
มากก็จะกินยอดไม้นั้น และเมื่อช้างดึงยอดไม้นั้นลงมา ก็เป็นการเปิดทางให้แสงแดดส่อง
ลงมายังผิวดิน ทางเดินของช้างก็ใช้เป็นทางเดินป่าของคนและสัตว์ป่า จะเห็นได้ว่า
ช้าง
คือสัตว์ที่คอยปรับความลมดุลย์ทางธรรมชาติในระบบนิเวศอย่างแท้จริง
ช้างมีอายุเฉลี่นประมาณ 70 - 90 ปี และเป็นสัตวที่รู้มรณะ เมื่อช้างตาย
มันก็จะช่วยกัน
นำซากไปเก็บซ่อนไว้ ณ สถานที่ที่เรียกว่า "ป่าช้าช้าง" ซึ่งจนบัดนี้ ก็ยังไม่มีไครเคยเห็น
ป่าช้าช้างมาก่อน
ปัจจุบัน ประชากรช้างได้ลดจำนวนลงอย่างน่ากลัว อันเนื่องมาจากปัญหาป่าไม้
ที่มีพื้นที่
ลดลงอย่างรวดเร็วและพื้นที่ป่าที่ไม่ต่อเนื่องไม่ติดต่อถึงกัน ทำให้ช้างมีปัญหาในการหาอา
หาร ต้องเคลื่อนไหวอยู่ในวงแคบและต้องผสมพันธุ์ในหมู่ญาติวงศ์เดียวกัน
ทำให้ลูกช้าง
ที่ตกออกมาไม่แข็งแรง ปัจจุบันมีช้างป่าเหลืออยู่ในประเทศไทยประมาณ 1300-1700
ตัว กระจายอยู่ตามพื้นที่ป่าต่างๆทั่วประเทศดังนี้ คือ
บริเวณป่า | พื้นที่ | ปริมาณ |
ศูนย์รักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว | 1,560....ตร.กม | 100 ตัว |
แม่ตื่น - อมก๋อย | 2,97 ตร.กม. | 125 - 175 ตัว |
ภูหลวง | 848 ตร.กม | 125 - 175 ตัว |
ห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร | 5,775 ตร.กม. | 250 - 300 ตัว |
อุทธยานแห่งชาติน้ำหนาว | 962 ตร.กม. | 100 ตัว |
แก่งกระจาน | 2,478 ตร.กม. | 100 - 150 ตัว |
เขาใหญ่ | 2,168 ตร.กม | 250 ตัว |
/ | / | 600 -1,250 ตัว |
การจับช้าง
ในสมัยโบราณมีวิธีการจับช้าง 2 วิธีคือ
1. การโพนช้าง เป็นการจับช้างป่าในสมัยโบราณ นิยมกันมากในจังหวัดทางภาคอิสานใช้
ช้างสีดอเป็นช้างล่อ เนื่องจากเป็นช้างที่มีกำลังมาก เพราะต้องใช้ช้างล่อไปยื้อกับช้างป่าการ
โพนช้างเป็นงานที่อันตรายมาก เพราะต้องขี่ช้างเข้าไปล่อและวิ่งไล่จับช้างกันในป่า
จับกัน
สดๆ ต้องมีวิธีการ เครื่องมือ และเคล็ดลับมากมายเช่น ต้องมี "หมอเฒ่า"
ผู้มีวิชาอาคมเป็น
ผู้นำ ต้องพูดกันด้วยภาษา "โพน" หรือ "ปะลำ" เท่านั้น บรรดาหมอช้างที่ร่วมอยู่ในขบวน
การโพนช้าง และเมียของทุกคนที่อยู่ทางบ้านต้องถือเคล็ดด้วยการไม่ตัดผม
ไม่ตัดเล็บ ไม่
ใส่น้ำมันผม ไม่แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าใหม่ เป็นต้น เรียกว่าการ "เข้าคะลำ"
การโพนช้างจะสามารถทำได้ปีละ 3 ครั้งเท่านั้นคือ ในเดือนพฤษภาคม หรือในช่วงต้นฤดู
ฝนถึงปลายฤดูฝน จะไม่โพนช้างในฤดูร้อนเพราะจะทำให้อิดโรยมาก ส่วนฤดูหนาวจะเป็น
ช่วงเวลาที่ช้างกำลังตกมันทำให้มีอันตรายมาก ปัจจุบันไม่มีการโพนช้างอีกแล้วเนื่องจาก
ขาดผู้รู้ทางพิธีกรรมและการลดลงของประชากรช้าง
2. เพนียด คือกับดักขนาดใหญ่ที่สร้างเอาไว้สำหรับจับช้าง ลักษณะเป็นกำแพงสี่เหลี่ยม
กว้างยาวด้านละประมาณ 300-400 เมตร ตัวกำแพงกว้างประมาณ 2-2.50 เมตร ด้าน
ในเพนียดจะปักเสาตลุงไว้โดยรอบ โดยมีระยะห่างจากแนวกำแพงประมาณ 5 - 6
เมตร
ตลอดแนวกำแพงด้านใน เสาตลุง คือเสาซุงทั้งต้นที่ปักลงไปในดินอย่างแน่น
แล้วยึดติด กันไว้ให้แน่นด้วยไม้หน้าแปดตรงส่วนบนของเสา ตรงกลางเพนียดจะมีปะรำสำหรับพิธี
บวงสรวงด้านนอกเพนียดด้านที่ติดกับป่า จะมีประตูที่ต่อกับปากเพนียด ซึ่งก็คือเสาตลุง
ที่ปักเรียงออกไปจากประตู โดยปักเป็น 2 แนวให้บานออกไปหาแนวป่าคล้ายกับดัก
มีประ
ตูสำหรับระบายช้างอยู่ด้านข้าง การล่อช้างต้องใช้ช้างพลายรุ่นสาวให้ออกไปล่อช้างในป่า
ให้เดินมาเข้าเพนียด บางครั้งต้องใช้เวลาถึง 1-2 สัปดาห์ เมื่อช้างเข้ามาในเพนียดแล้ว
ก็
จะถูกล่อให้เดินเข้าไปในคอกเล็กซึ่งช้างจะขยับตัวไม่ได้ แล้วควาญก็จะคล้องบ่วงที่ขาและ
ที่คอ แล้วขนาบด้วยช้างสีดอ 2 เชือกซ้ายขวาเพื่อนำช้างไปเก็บไว้ในโรง
และเจ้าหน้าที่จะ
เริ่มให้ช้างอดอาหารโดยให้อาหารแต่เพียงน้อยพอประทังชีวิต เพื่อให้ช้างอ่อนแรงลง
และ
ง่ายต่อการฝึก โดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จึงจะเริ่มให้อาหารตามปกติและเริ่มฝึกได้
เพนียดที่จังหวัดอยุธยาอยู่ห่างจากกำแพงเมืองไปทางตะวันตกประมาณ 7 กม สร้างใน
สมัยอยุธยา มีอายุประมาณ 300 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 5 เคยจัดพิธีคล้องช้างเป็นประเพณี
ประจำปี แต่ในระยะหลังต้องเลิกไป เพราะพระองค์ทรงติดภาระกิจ ต้องเดินทางไปต่าง
ประเทศบ่อยครั้งครั้งสุดท้ายที่มีการคล้องช้างกันที่นี่คือในปีพศ. 2446 (1903)
เพื่อ
แสดงถวายแด่องค์รัชทายาทแห่งรัสเซีย
ช้างเผือกหรือช้างสำคัญ
ลักษณะสำคัญตามตำราคชลักษณ์มีทั้งหมด 11 ประการ ถ้าตรวจพบช้างใดมีลักษณะ
เช่นนั้นเกินครึ่งจึงจะถือว่าช้างนั้นเป็นช้างเผือกหรือช้างสำคัญ คชลักษณ์ทั้ง
11 ประ
การได้แก่
1. ตาขาว
2. เพดานขาว
3. เล็บขาว (เป็นเสี้ยน หรือเป็นฝาหอย)
4. ขนหูขาว
5. ขนโตนดขาว
6. ขนบรรทัดหลังขาว ( สีขนที่ดีต้องใส โปร่ง รองลงมาจะเป็นสีน้ำผึ้งใส
)
7. ขนหางขาว ถ้าหางไม่มีขนถือว่าเป็นช้างไม่ดี
8. หูไม่ฉีกไม่แหว่ง
9. ร่องตะเคียว ( รักแร้ , จั๊กแร้ , เต่า ) ขาว
10. อัณฑโกศ ( ลูกกระโปก ) ขาว หรือสีหม้อใหม่
11. พื้นหนังขาว หรือสีหม้อใหม่
ช้างสีประหลาด คือช้างที่มีลักษณะเป็นมงคลอย่างใดอย่างหนี่งในคชลักษณ์ของช้างสำคัญ
ช้างเนียม มีลักษณะ 3 ประการคือ พื้นหนังดำ งาปลี เล็บดำ
มาตรา 32 ของพระราซบัญญัติระบุว่า ผู้ใดพบหรือมีช้างสำคัญหรือช้างสีประหลาด
หรือช้าง
เนียมในครอบครอง ต้องนำขึ้นทูลเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น
เมื่อ
นำขึ้นทูลเกล้าถวายแล้ว จะทรงโปรดให้ผู้เชี่ยวชาญจากกองคชลักษณ์ไปตรวจชันสูตร
นอก
จากการชันสูตรคชลักษณ์แล้ว ยังจะต้องคำนีงถีงลักษณะอันเป็นมงคลอื่นๆ ด้วยเช่น
เวลา
หลับ ถ้าช้างกรนคล้ายเสียงร้องไห้ ถือว่าเป็นอัปมงคล จะไม่นำขึ้นระวางสมโภช
ถ้าเสียง กรนเหมือนเสียงดนตรีจึงจะขึ้นระวางสมโภชน์ ซึ่งจะมีการขึ้นระวางและสมโภชน์เฉพาะช้าง
สำคัญเท่านั้น
พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ
ปัจจุบันจะใช้เวลา 2 วันในการทำพระราชพิธี หลังจากนั้นช้างสำคัญจะมีฐานะศักดิ์เทียบ
ชั้นเจ้าฟ้า แล้วมายืนโรงที่โรงช้างต้น ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
ช้างเผือก แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ
ชั้นเอก ลักษณะสีขาวทั้งตัว เรียกว่า เศวตพระพร
สำหรับเป็นราชพาหนะ
ชั้นโท สีบัวโรย ( ขาวเจือแดง ) ตาสีขาว
เรียกว่า ประทุมหัตถี ปราบศึกแข็งแรง
ชั้นตรี สีตองตากแห้ง ตาสีขาว เรียกว่า
เศวตคชราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น
ผู้กำหนดชั้นด้วยพระองค์เอง ในรัชกาลปัจจุบันมีช้างเผือก 10 เชือก และที่ยังไม่ได้ทำพระ
ราชพิธีสมโภชขึ้นระวางอีก 6 เชือก ( ข้อมูลปี พ.ศ. 2530 )
เมื่อช้างเผือกล้ม จะใช้ผ้าขาวคลุมไว้ แล้วนิมนต์พระ 10 รูปมาสดับปกรณ์
(สวด) แล้วนำ
ช้างนั้นใส่ตะเข้ซึ่งเข็นไปไว้ที่ท่าช้าง ทิ้งไว้ในแอ่งที่ขุดไว้ริมแม่น้ำจนซากเน่า
แล้วจึงเก็บงา
และกระดูกส่งมายังสำนักพระราชวัง
เกร็ดเกี่ยวกับช้างเผือก
- ช้างเผือกเป็นเครื่องหมาย ของพระเจ้าจักรพรรดิ
- สัตว์ที่เลี้ยงเป็นคู่บุญกับช้างเผือก ได้แก่ ลิงเผือก และ กาเผือก
สามารถป้อง กันสิ่งอัป
มงคลที่จะมีมาสู่ช้างเผือกได้ กล่าวกันว่า ถ้ามีผู้พบลิงเผือก หรือ กาเผือก
อีกไม่นานก็จะ
มีผู้พบช้างเผือกขนช้างเผือก ถือเป็นเครื่องรางชนิดหนึ่ง
- ช้างเผือกไม่ยอมกินน้ำและอาบน้ำ ร่วมกับช้างสามํญ
- เมื่อมีเหตุเกิดแก่ช้างเผือก ถือว่าเป็นลางร้าย
- การให้อาหารช้างสำคัญในขณะพระราชพิธี ต้องนำพานทอง มาใส่อาหาร ต่อเมื่อเสร็จ
พระราชพิธี แล้วจึงจะให้อาหารด้วยภาชนะปกติ