ข้าวเป็นพืชในตระกูลหญ้า [Grimimeae] เช่นเดียวกับข้าวโพดและอ้อย ปัจจุบันมีข้าวอยู่
หลายพันชนิดเช่นที่ศูนย์ทดลองข้าวรังสิตเคยรวบรวมข้าวนาสวนได้กว่า 2,000
ชนิด
หรือที่ศูนย์หันตราซึ่งเคยรวบรวมข้าวขึ้นน้ำได้มากกว่า 100 ชนิด แต่ข้าวในทุกสายพันธุ์
จากทุกพื้นที่ทั่วโลก ต่างก็สืบสายพันธุ์มาจากข้าวป่า [Wild Rice] ทั้งสิ้น
ซึ่งไทยเรียกว่า
หญ้าสงวน มีความต้านทานโรคและแมลงได้ดี แต่ให้ผลผลิตต่ำ
สันนิษฐานว่าข้าวมีต้นกำเนิดอยู่ในเอเซียทางตอนใต้ของจีน แล้วแพร่หลายลงมาทางใต้
คือไทยและอินเดีย เลยเข้าไปจนถึงเมโสโปเตเมีย และเข้าไปในยุโรปเมื่อประมาณศตวรรษ
ที่ 3 โดยพระเจ้าอเลกซานเดอมหาราช
ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวสายพันธุ์ชั้นดี ซึ่งต้องการสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่พอเหมาะจริงๆ
จึงจะได้ผลดังนั้น จึงมีพื้นที่เพียงไม่กี่แห่งในโลกที่สามารถปลูกข้าวหอมมะลิได้
โดยเฉพาะ
ในประเทศไทย ซึ่งสามารถปลูกข้าวหอมมะลิได้เพียง 8 จังหวัดเท่านั้น เช่นที่จังหวัดเชียง
ราย เป็นต้น
การแบ่งข้าวตามลักษณะต่างๆ
1. แบ่งตามลักษณะทางเคมี คือข้าวจ้าวและข้าวเหนียว
2. แบ่งตามลักษณะพื้นที่ที่ปลูก คือ ข้าวไร่ ข้าวนาดำ ข้าวขึ้นน้ำ
3. แบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยว คือ ข้าวเบา และข้าวหนัก
4. แบ่งตามความไวต่อแสง เพราะแสงแดดมีผลต่อการออกดอกของข้าวบางชนิด
5. แบ่งตามฤดูเก็บเกี่ยว คือ ข้าวนาปรังและข้าวนาปี
ช่วงการเจริญเติบโตของข้าว
แบ่งได้เป็น 3 ช่วงคือ
1. ช่วงลำต้นและใบ นับแต่ตกกล้าจนถึงถอนกล้าจะใช้เวลาประมาณ 20-30 วัน
ต้นกล้า
จะสูง20-30 ซม. มีใบประมาณ 5-7 ใบ เมื่อปักดำแล้วจะใช้เวลาอีก 7-10 วันในการแตก
กอหรือ 35 - 45 วัน หลังจากเมล็ดเริ่มงอกในนาหว่าน หลังจากนั้นการเจริญเติบโตทาง
ลำต้นจะหยุดลงเพื่อเริ่มพัฒนาการทางรวงข้าว
2. ช่วงรวงข้าวและดอก ข้าวจะเริ่มออกรวง [Flag Leaeve] เมื่อได้เวลา 30-70
วันหลังการ
ปักดำแล้วแต่ ชนิดของสายพันธซึ่งมีวงจรชีวิตที่ต่างกัน จากนั้นจึงออกช่อดอก
ในช่วงนี้ น้ำ
และอาหารมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการสร้างดอก เมื่อรวงอ่อนพ้นข้อบนสุดของปล้อง
สุดท้ายแล้ว 15 - 20 วัน ที่กาบใบธงจะพองกลม ซึ่งก็คือการตั้งท้องนั่นเอง
เมื่อรวงข้าวพ้น
กาบใบธงออกมาแล้ว 25 วันดอกข้าวก็จะเริ่มบานและเริ่มการผสมเกสร อยู่ในช่วงเวลาระ
หว่าง 0800 - 1400 น. ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความชื้นและสายพันธุ์
3. ช่วงแก่และเก็บเกี่ยว หลังจากที่ข้าวมีการผสมพันธุ์กันแล้ว 7-10 วัน
ในเมล็ดจะมีน้ำ
ข้นๆ สีขาวเรียกว่า น้ำนม และจะเริ่มรวมตัวกันเป็นก้อนนิ่มๆ ใน 7-10 วัน
หลังจากนั้น
อีก 10-15 วันก็จะแข็งตัวเป็นเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์และพร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยวต่อไป
การปลูกข้าว
แบ่งได้เป็นหลายประเภทคือ
1. การปลูกข้าวไร่ หมายถึงการปลูกข้าวบนดอยหรือในที่สูง
ซึ่งไม่มีน้ำขังในพื้นที่ที่ปลูก
การปลูกแบบนี้ไม่ต้องมีการเตรียมดินเนื่องจากเป็นการปลูกโดยวิธีใช้ไม้เจาะดินให้เป็น
หลุมแล้วหยอดเมล็ดพันธุ์ลงไปในหลุม ๆ ละ 5-10 เมล็ด มีระยะห่างระหว่างหลุม
25
ซม. แล้วกลบดินปิดปากหลุมพันธุ์ที่ใช้จะเป็นพันธุ์ข้าวเบา เนื่องจาก ต้องเก็บเกี่ยวทันที
ที่หมดฝน
2. การปลูกข้าวนาดำ หมายถึงการปลูกที่ต้องใช้วิธีการปักดำ
[Indirect Seeding] แบ่ง
ออกเป็น 2 ขั้นตอนคือการตกกล้าและการปักดำ มีขั้นตอนคือ
2.1 การเตรียมดิน คือการไถดะไถแปรและคราดเพื่อกำจัดวัชพืชและกลับหน้าดิน
2.2 การตกกล้า ต้องเครียมเมล็ดพันธุ์ก่อน
โดยนำเมล็ดพันธุ์แช่ไว้ในน้ำเกลือที่มีความ
ถ่วงจำเพาะ 1.08 ใช้น้ำ 10 ลิตรผสมเกลือแกง 106.5 กรัม เมล็ดที่สมบูรณ์จะจมลงใน
น้ำ ส่วนเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์จะลอยอยู่ นำเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ใส่ถุงผ้าแช่น้ำไว้
12 - 24 ชม. แล้วนำออกมาวางบนกระดานในที่ที่มีลมถ่ายเท คลุมด้วยกระสอบเปียกอีก
36 - 48 ชม. เมื่อเมล็ดข้าวงอกแล้วก็เอาไปหว่านลงบนแปลงกล้าที่ได้เตรียมไว้แล้วโดยให้แปลงกล้าอยู่
สูงจากพื้นนาเล็กน้อยเพื่อให้พื้นแปลงกล้าอยู่ไม่ต่ำกว่าระดับน้ำมากนัก
เมล็ดข้าวจะได้ไม่
จมน้ำ ในแปลงกล้า 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 40- 50 กิโลกรัม เมื่อกล้าอายุได้
25
- 30 วันและสูงประมาณ 20 - 30 ซม. ก็ถอนกล้าไปปักดำได้
การตกกล้าในดินแห้ง ต้องเปิดร่องดินให้เป็นแถวห่างกันประมาณ 10 ซม. แล้วโรยเมล็ด
พันธุ์ที่ยังไม่งอกลงไป ใช้เมล็ดพันธุ์ 7-10 กรัมต่อความยาว 1 เมตร รดน้ำแบบราดน้ำ
ผักวันละ 2-3 เวลา
2.3 การปักดำ เมื่อกล้ามีอายุได้
25 - 30 วันก็จะถอนกล้าโดยตัดใบให้เหลือแค่โคนแล้ว
ล้างรากเอาเศษดินออก นำไปปักดำในนาที่เตรียมไว้ ให้มีน้ำขังอยู่ในนา 5-10
ซม. โดย
ปักให้มีระยะห่างระหว่างกอและแถว 25 ซม. ทั้งนี้เพราะระยะห่างระหว่างกันจะมีผลต่อ
การออกดอกและรวงข้าว รวมไปถึงผลผลิตด้วย
3. การปลูกข้าวนาหว่าน [Direct Seeding]
มีวิธีที่แตกต่างกันคือ
3.1 หว่านสำรวย ต้องเตรียมดินในเดือนเมษายน
ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้เพาะ หว่านลง
ไปโดยตรงในปริมาณ 2 ถังต่อ 1 ไร่ เป็นวิธีที่ทำเฉพาะในพื้นที่ที่มีฝนตกตามฤดูกาล
โดยเมล็ดพันธุ์จะงอกเมื่อฝนตก
3.2 หว่านคราดกลบหรือหว่านไถกลบ ถ้าเตรียมดินไม่ทันที่จะหว่านสำรวย
โดยใน
ขณะที่ดินเปียก เมื่อไถดะและไถแปรแล้ว ก็จะหว่านเมล็ดพันธุ์ทันทีแล้วใช้คราด
กลบ
เมล็ดพันธุ์จะงอกออกมาทันที เพราะในดินมีความชื้นและเปียกอยู่แล้ว
3.3 หว่านน้ำตม คือการหว่านเมล็ดลงในนาที่น้ำขัง
ประมาณ 3 - 5 ซม. โดยใช้เมล็ด
พันธุ์ที่เพาะจนงอกแล้วประมาณ 1 - 2 ถังต่อไร่
การดูแลรักษา
ในช่วงที่ต้นข้าวมีการเจริญเติบโต ต้นข้าวต้องการน้ำและอาหารมาก ต้องหมั่นออกไปดู
แลระดับน้ำและวัชพืชอยู่เสมอ ซึ่งในแต่ละพันธุ์ก็จะมีความต้องการน้ำแตกต่างกันไปเช่น
พันธุ์ กข.1 กข.2 กข.3 ซึ่งมีลำต้นสูงประมาณ 110-120 ซม. ต้องการน้ำสูงประมาณ
5-10 ซม. ส่วนพันธุ์ กข.5 มีลำต้นสูง 140 ซม. ต้องการน้ำสูง 20 - 30 ซม.
ทั้งนี้เมื่อ
ข้าวออกรวงแล้ว 2 สัปดาห์ ต้องระบายน้ำออกให้หมด
การเก็บเกี่ยว
นับตั้งแต่การตกกล้าหรือหว่านข้าวจนถึงเวลาที่จะเก็บเกี่ยวได้นั้น จะกินเวลาประมาณ
90-120 วัน แล้วแต่ชนิดและสายพันธุ์ ซึ่งโดยรวมแล้วจะเป็นเวลา 30 - 35
วันนับจาก
วันที่ออกดอก
ในภาคเหนือ อิสาน และภาคกลาง ชาวนาจะเกี่ยวข้าวด้วยเคียว ซึ่งเกี่ยวได้ทีละหลายรวง
ส่วนชาวนาในภาคใต้จะเกี่ยวด้วยแกระซึ่งเกี่ยวได้ทีละรวง ข้าวที่เกี่ยวด้วยแกระจะถูกเก็บ
เอาไว้ในยุ้งและจะนำมานวดเมื่อจะขายหรือสี ส่วนข้าวที่ใช้เกี่ยวด้วยเคียว
ชาวนาจะทิ้งเอา
ไว้บนตอซังประมาณ 3 - 5 วันแล้วจึงนำมานวดเพื่อให้ความชื้นในเมล็ดอยู่ที่
13 - 15%
จากที่มีอยู่ 20 - 25 %ในขณะเก็บเกี่ยว เมื่อนวดจนได้ข้าวเปลือกแล้ว ก็ต้องเอาออกตาก
แดดอีกก่อนที่จะเก็บเข้ายุ้งฉางหรือส่งไปโรงสีต่อไป โดยการตากข้าว ต้องเกลี่ยให้เมล็ด
ข้าวได้รับแดดโดยทั่วถึงกัน และควรตากไว้ประมาณ 3-4 แดด หรือถ้าจะใช้เครื่องอบ
ก็
ต้องใช้ความร้อนประมาณ 100-130 F จำนวน 3-4 ครั้งและในแต่ละครั้งห่างกัน
20 -
24 ชม.
อัตราเปรียบเทียบต่างๆ
1 ไร่ = 1600 ตร.เมตร 4000 ตร.เมตร = 1 เอเคอร์ ดังนั้น 1 เอเคอร์จึงเท่ากับ
2.5 ไร่
1 ไร่ ได้ข้าวเปลือก 50 ถัง 2.5 ไร่ หรือ 1 เอเคอร์ ได้ข้าวเปลือก 125
ถัง
ข้าวเปลือก 1 ถังหนัก 11.5 กก. 1 ลิตรหนัก 3.5 กรัม
ข้าวเปลือก 1 ถัง สีแล้วจะได้ข้าวสาร 45% ที่เหลือเป็นแกลบ รำ และปลายข้าว
ข้าวสาร 1 ถังมี 15 ลิตร หนัก 15 กก. สีจากข้าวเปลือก 2.3 ถัง
แปลงกล้า 1 ไร่ ใช้ข้าวเปลือกตกกล้า 1 ถัง
แปลงนาหว่าน 1 ไร่ ใช้ข้าวเปลือก 1 ถัง
แปลงนาหว่าน 2.5 ไร่หรือ 1 เอเคอร์ ใช้ข้าวเปลือก 2.5 ถัง
ข้าวเปลือกต้นทุน 2.5 ถังผลิตข้าวได้ 125 ถัง ( ใน 1 เอเคอร์ )
ข้าวเปลือกต้นทุน 1 ถังผลิตข้าวได้ 50 ถัง ( ใน 1 ไร่ )