ท้าวศรีสุดาจันทร์ ในความรับรู้ของชาวไทยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์หน้านี้ที่กล่าวถึงท้าวศรีสุดาจันทร์ นั้น ไม่อยจะสู้ดีนัก เมื่อเอ่ยชื่อนี้ทีไร ก็จะนึกถึงหญิงที่ฆ่าสามี ฆ่าลูกในไส้ และ ยกเอาชายชู้ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยอาศัยอำนาจที่ตัวเองมีอยู่ในกำมือ ประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงท้าวศรีสุดาจันทร์นั้น กลายเป็น Axiom (ความจริงที่มิต้อง พิสูจน์ใดใด) ไปเสียแล้ว จากกระบวนการต่างๆของสังคมในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ที่มักจะละเลยที่จะศึกษาและวิเคราะห์รายละเอียดให้รอบคอบ นามท้าวศรีสุดาจันทร์ จึงเป็นไปอย่างที่ปรากฎอยู่ในสังคมจนถึงทุกวันนี้ ในบทความต่อไปนี้ เราจะมาทำการวิเคราะห์ถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ก่อนที่ เราจะทำการวิเคราะห์กันต่อไป เราน่าจะมาทำความรู้จักกับตัวละครต่างๆที่มีความ เกี่ยวข้องอยู่ในเรื่อง ดังนี้ครับ 1. พระชัยราชาธิราช กษัตริย์ในราชวงศ์สุวรรณภูมิ ผู้มีพระปรีชาสามารถมาก ถึง ขนาดยกกองทัพไปตีกัมพูชาได้ และขับเคี่ยวกับหัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่เป็นเวลานาน สันนิษฐานว่า น่าจะไม่มีมเหสี หรือมีก็ไม่น่าจะมีโอรสที่เกิดกับมเหสี แต่มีนางสนม เอกประดับบารมี 4 คน หนึ่งในนั้นคือ ท้าวศรีสุดาจันทร์ มีโอรสอันเกิดกับนาง 2 องค์ คือ พระยอดฟ้า และพระศรีสิน 2. ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท่าทางคงจะไม่ใช่บุคคลธรรมดาสามัญ เพราะตรวจค้นจาก ทำเนียบชื่อแล้ว ได้ความว่า น่าจะเป็นสนม 1 ใน 4 ที่มาจากเมืองออกทั้ง 4 ทิศ และ นางเองก็เป็นสนมที่มาจากเมืองละโว้ ซึ่งมีความสำคัญไม่ใช่น้อย เพราะราชวงศ์ ละโว้ - อโยธยา หรือวงศ์อู่ทองก็เคยเป็นกษัตริย์ปกครองอยุธยามาก่อน แลัวจึงถูก วงศ์สุวรรณภูมิของพระชัยราขาเข้ามายึดครอง นาม ท้าวศรีสุดาจันทร์มีสร้อยต่อท้ายว่า แม่หยัวเมือง คนรุ่รหลังที่ไม่เข้าใจคำนี้มาก นักจึงให้ความหมายว่า เป็นผู้หญิงแพศยา เป็นนางยั่ว ต่างๆนาๆ แต่คำว่า แม่หยัวเมืองนั้น หมายถึง แม่อยู่หัวเมือง มีความสำคัญรองลงมาจากพระ มเหสีเลยทีเดียว เมื่อเข้าใจว่า แม่หยังเมืองเป็นแม่ยั่งเมืองเสียแล้ว จึงได้มีความ พยายามโยงคำนี้ให้คล้องกับเรื่องที่พระนางคบชู้และความไม่ดีทั้งหลายที่ปรากฎ ตามออกมา 3. ขุนวรวงศาธิราช สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเครือญาติกับท้าวซรีสุดาจันทร์ มีขุมกำลัง อยู่ที่บ้านมหาโลก ในเขตสระบุรีปัจจุบัน ซึ่งในตอนนั้นขึ้นอยู่กับเมืองละโว้ ต่อมาเมื่อมี อำนาจแล้ว ก็พาสมัครพรรคพวกเข้ามาตั้งรกรากในอยุธยา จึงเกิดมีวัดและหมู่บ้าน มหาโลกอยู่ในอยุธยาเช่นกัน ขุนวรวงศาเดิมชื่อ พันบุตรศรีเทพ เป็นตำแหน่งคนเฝ้าหอพระ มีหลักฐานทำเนียบชื่อ ตำแหน่งขุนนางกล่าวว่า ศรีเทพ หรือ สีเทพ มีตั้งแต่พัน ขุน หลวง เป็นตำแหน่งหมอ ช้างหรือหมอปะคำ เป็นผู้มีวิชาอาคม รู้หนังสือและอักษรศาสตร์ ประกอบกับเป็นคนเฝ้า พอพระ จึงอาจจะได้รับความรู้เพิ่มเติมจากเอกสารต่างๆที่เก็บรักษาไว้ในหอพระนั้น และผู้ที่จะมีความรู้ทางอักษรศาสตร์ถึงขนาดอ่านออกเขียนได้ และเป็นถึงหมอช้าง รวมทั้งได้เป็นผู้อ่านนิทานตำราและสิ่งน่ารู้ต่างๆให้พระเจ้าแผ่นดินฟังนั้น คงไม่ใช่ บุคคลธรรมดาสามัญเป็นแน่ น่าที่จะมีความสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่งในสังคมเวลานั้น จึงมีโอกาสเรียนรู้ทางด้านอักษรศาสตร์ดังกล่าว พันบุตรศรีเทพ ผู้รักษาหอพระหน้า ต่อมาท้าวศรีสุดาจันทร์ได้เอาตัวไปไว้ที่หอพระใน โดยสลับตำแหน่งกับขุนชินราชให้ไปเป็นผู้รักษาหอพระหน้าและรั้งตำแหน่งพันบุตร ศรีเทพแทน พันบุตรศรีเทพจึงมีตำแหน่งใหม่เป็น ขุนชินราช ในเวลาต่อมาเมื่อได้ ครองบัลลังค์แล้วจึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ขุนวรวงศาธิราช 4. พระเทียรราชา เสด็จออกบวชหลังการสิ้นพระชนม์ของพระชัยราชา เป็นพระอนุชา ต่างพระมารดากับพระชัยราชา เมื่อกำจัดท้าวศรีสุดาจันทร์ได้แล้ว ก็ขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าจักรพรรดิ์ เป็นกษัตริย์อีกองค์หนึ่งที่มีความสามารถมาก ถึงกับยกทัพไปรบ กับเขมรอยู่บ่อยครั้ง 5. ขุนพิเรนทรเทพ เป็นขุนนาง 1 ใน 4 คนที่เป็นต้นคิดในการกำจัดท้าวศรีสุดาจันทร์ เป็นขุนนางที่ถูกเอาตัวมารับราชการหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นแบบรวม ศูนย์อยู่ที่อยุธยาโดยพระบรมไตรโลกนารถ ตัวละครที่กล่าวมาทั้ง 5 คนนั้น เป็นผู่ที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประวัติศาสตร์หน้านี้ ซึ่งทั้งหมดมีความเกี่ยวพันกันพอสมควร และต่อไปนี้จะได้เรียงลำดับเหตุการณ์ที่เราได้ รับรู้กันมาแต่ก่อน เมื่อครั้งที่พระชัยราชาธิราชยกทัพไปตีลำพูนนั้น เมื่อกลับมาถึงอยุธยาแล้ว ท้าวศรีสุดา จันทร์ก็ได้ถวายนมผสมยาพิษให้ดื่ม และพระชัยราชาก็สิ้นพระชนม์ในอีก 5 วันต่อมา จากนั้น พระยอดฟ้าจึงขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยมีพระมารดาคือท้าวศรีสุดาจันทร์เป็น ผู้ "ประคอง" การว่าราชการทั้งปวง ทุกอย่างก็ทำท่าจะไปได้ด้วยดี ต่อมา ท้าวศรีสุดา จันทร์ก็พบรักกับพันบุตรศรีเทพ และสนับสนุนให้เข้ามารักษาหอพระใน เป็นที่ ขุนชิน ราช และครองบัลลังค์ในนาม ขุนวรวงศาธิราชในที่สุด โดยกำจัดพระยอดฟ้าออกไป หลังจากนั้น ขุนพิเรนทรเทพก็ได้กำจัดท้าวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศาธิราชเป็นผล สำเร็จ จึงได้อัญเชิญพระเทียรราชาขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนาม สมเด็จพระเจ้าจักร พรรดิ และขุนพิเรนทรเทพก็ขึ้นไปกินเมืองพิษณุโลก เป็น พระมหาธรรมราชา เหตุการณ์ดังกล่าว ปรากฎอยู่ในเอกสารปินโต ซึ่งได้รับการบันทึกหลังจากเหตุการณ์ สงบลงแล้ว ถือได้ว่า เป็นเอกสารร่วมสมัยกับเหตุการณ์เลยทีเดียว แต่ยังมีเอกสารชื่อ จดหมายเหตุฉบับวันวลิต ซึ่งถูกเขียนในสมัยพระนารายณ์เมื่อคราว ที่มีการชำระประวัติศาสตร์ รวมทั้งคำให้การกรุงเก่าที่มีข้อความเป็นอย่างอื่น กล่าวคือ ระหว่างทางที่พระชัยราชาเสด็จกลับอยุธยานั้น ก็ได้สิ้นพระชนม์ในระหว่างทางนั้นเอง ก็หมายความว่า ไม่ได้สิ้นพระชนม์จากน้ำมือของท้าวศรีสุดาจันทร์ วิเคราะห์........ ถึงแม้เอกสารปินโตจะเป็นเอกสารร่วมสมัยกับเหตุการณ์ก็จริงอยู่ แต่ประวัติศาสตร์ ตอนนี้ รวมทั้งเรื่องราวต่างๆที่ได้รับการบันทึกนั้น เป็นการบันทึกจากคำบอกเล่าของ ฝ่ายชนะ ข้อความต่างๆจึงเป็นไปตามที่ผู้ชนะต้องการให้เขียน เป็นไปได้มากว่า อาจ จะมีการหาความชอบธรรมในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามก็ได้ จากการวิเคราะห์ของหลายท่าน เห็นว่า พระชัยราชาไม่น่าจะพลาดท่าท้าวศรีสุดาจันทร์ ง่ายๆ (ถ้าท้าวศรีสุดาจันทร์มีแผนจะทำจริง) แต่น่าจะเป็นการสิ้นพระชนม์ด้วยเหตุ อย่างอื่นมากกว่า จากนั้น ท้าวศรีสุดาจันทร์ ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะมีอำนาจมากพอสม ควรอยู่ในอยุธยาเวลานั้น จึงได้จัดการให้พระโอรสคือ พระยอดฟ้าขึ้นครองราชย์ โดย างซึ่งเป็นแม่ก็ได้ช่วยบริหารราชการแผ่นดินเป็นอันดี เท่ากับนางก็ได้สานต่อเจตนา รมย์ของพระชัยราชาธิราชในการดูแลบ้านเมืองอย่างได้ผล ตัวท้าวศรีสุดาจันทร์เอง เป็นบุคคลที่มาจากกลุ่มอำนาจเก่าคือ กลุ่มทราชวงศ์ละโว้ หรือ วงศ์อู่ทองเดิม แล้วถูกวงศ์สุวรรณภูมิชิงอำนาจไปได้ โดยการลิดรอนอำนาจ ของกลุ่มอำนาจจากทางเหนือ คือกลุ่มราชวงศ์สุโขทัย ซึ่งในกลุ่มนี้มีขุนพิเรนทรเทพ รวมอยู่ด้วย เมื่อสิ้นพระชัยราชาธิราชแล้ว ก็น่าจะเป็นโอกาสให้กลุ่มต่างๆถือโอกาส ที่จะกอบกู้อำนาจกลับคืน แต่โอกาสนั้น เป็นของท้าวศรีสุดาจันทร์มากกว่า เนื่องจาก เป็นพระสนมเอก จึงมีความชอบธรรมมากกว่าที่จะรวบอำนาจไว้ ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพ จึงเสียโอกาสดังกล่าวไป อย่างน้อย ก็ยังไม่มีข้ออ้างอะไรที่จะกลับมามีอำนาจได้อีก นอก จากการใช้กำลัง แต่ก็ไม่มีกำลังมากเท่ากับท้าวศรีสุดาจันทร์ ความขัดแย้งดังกล่าวดูท่าว่าจะเริ่มส่อเค้าให้เห็นได้ ท้าวศรีสุดาจันทร์ก็คงจะรู้ตัว จึง พยายามหาทางเสริมสร้างขุมกำลังให้แข็งแรงขึ้น ประกอบกับตอนหลัง พระนางได้ สามีใหม่คือ ขุนชินราช พระนางจึงจัดให้ขุนชินราชเป็นหัวหน้าผู้ควบคุมกองทหาร พิเศษที่จัดหามา ทำให้ขุมกำลังของพระนางมีความเข้มแข็งมากขึ้น ฝ่ายขุนพิเรน ทรเทพจึงยังทำอะไรไม่ได้ถนัด และน่าจะมีการปล่อยข่าวกันมาก่อนแล้วว่า ท้าวศรี สุดาจันทร์เป็นผู้ปลงพระชนม์พระชัยราชาธิราช เพื่อลดความชอบธรรมของพระนาง ในการครองอำนาจ และเป็นได้ว่า ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพได้มีการติดต่อกับพระยอดฟ้า อย่างลับๆ เพื่อหาทางกำจัดขุนชินราช ฝ่ายขุนชินราชและท้าวศรีสุดาจันทร์คงรู้เรื่อง จึงต้องกำจัดพระยอดฟ้าไปอีกคนหนึ่ง เรื่องการกำจัดพระยอดฟ้านี้ คงตีความไปเป็น อื่นไม่ได้ จากนั้น ขุนชินราชจึงขึ้นครองบัลลังค์เป็น ขุนวรวงศาธิราช การขึ้นสู่อำนาจของขุนวรวงศานั้น มีความต่อเนื่องกับที่ท้าวศรีสุดาจันทร์เกิดตั้งครรภ์ ขึ้นมา จึงต้องดันให้สามีใหม่ให้มีอำนาจโดยเบ็ดเสร็จเพื่อลบคำครหา พระยอดฟ้าครองราชย์อยู่เป็นเวลา 2 ปี ขุนวรวงศาจึงขึ้นสู่อำนาจ และนั่งอยู่บนบัลลังค์ เป็นเวลา 42 วัน จึงถูกขุนพิเรนทรเทพกับพวกกำจัดเป็นผลสำเร็จ และกลุ่มสุวรรณภูมิ ก็กลับมามีอำนาจอีกครั้ง โดยกลุ่มสุโขทัยก็กลับไปมีอำนาจยังบ้านเมืองของตนตามเดิม เช่นกัน ส่วนกลุ่มละโว้เก่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาก็มีอันต้องสูญสิ้นอำนาจลง อย่างสิ้นเชิง สรุป...... จะเห็นได้ว่า ท้าวศรีสุดาจันทร์ซึ่งมาจากกลุ่มละโว้นั้น มีความพยายามที่จะฟื้นฟูอำนาจที่ เคยมีเหนือราชสำนักอยุธยามาก่อน และมีความชอบธรรมพอสมควรในการที่จะทำเช่น นั้น โดยพยายามเสริมเขี้ยวเล็บโดยดึงเอากลุ่มมหาโลกซึ่งอยู่ในอานัติของกลุ่มละโว้มา เป็นกำลังสนับสนุน ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพก็พยายามหาทางลดความชอบธรรมนั้นด้วยการ ปล่อยข่าวว่า ท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นผู้ลงมือสังหารพระสวามี การปล่อยข่าวเช่นนั้น จะเห็นได้ว่า เป็นเครื่องมือและอาวุธที่ใช้ได้ผลเสมอ ซึ่งใครๆ ก็สามารถจะพูดได้ เพราะไม่มีหลักฐานอะไรมาหักล้าง โดยเฉพาะเมื่อฝ่ายตนเป็น ฝ่ายชนะ จึงสามารถที่จะพูดอะไรก็ได้ เพื่อสรัางความชอบธรรมให้ฝ่ายตน เหตุที่ต้อง ทำเช่นนั้น เนื่องจากว่า ท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นผู้มีอำนาจและสานต่อเจตนารมณ์ของพระ ชัยราชาธิราช จึงอาจมีผู้ที่เป็นพวกอยู่มากเหมือนกัน เพราะพระชัยราชาเป็นกษัตริย์ที่ ทำนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความเจริญเป็นอย่างมาก เมื่อท้าวศรีสุดาจันทร์มาทำงานตรง นี้ต่อ จึงน่าจะมีผู้สนับสนุนพอควร ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพจึงต้องหาความชอบธรรมใน การกำจัดท้าวศรีสุดาจันทร์ดังกล่าว เพราะถ้าฝ่ายตนไม่มีความชอบธรรมพอแล้ว อาจ จะไม่ได้รับการยอมรับจากบรรดาผู้ที่ยังมีอำนาจอยู่ในเวลานั้นก็เป็นได้ ในเอกสารวันวฃิตที่มีข้อความไม่เหมือนกับเอกสารปินโตนั้น เป็นไปได้ว่า อาจจะมีหลัก ฐานอะไรบางอย่างหลงเหลืออยู่ ทำให้พระนารายณ์ทรงเขียนประวัติศาสตร์ให้แตกต่าง ไปจากเรื่องราวที่เขียนกันมาจากเดิม และไปปรากฎอยู่ในเอกสารวันวลิตอย่างที่ได้ เห็นกัน อีกข้อหาหนึ่งคือ ท้าวศรีสุดาจันทร์มีชู้ และยกชู้ขึ้นครองเมือง ในข้อนี้ เป็นเรื่องที่ ปรากฎอยู่ในเอกสารปินโตเช่นกัน แต่ในเอกสารวันวชืตกลับบอกว่า เมื่อพระยอดฟ้า ได้ครองราชย์แล้ว ท้าวศรีสุดาจันทร์จึงได้พบกับพันบุตรศรีเทพ และย้ายมาเป็น ผู้รักษาหอพระใน ก็อาจเป็นไปได้ว่า ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพสร้างเรื่องขึ้นมา ให้ท้าว ศรีสุดาจันทร์ได้เสียกับขุนชินราชเสียก่อนที่พระชัยราชาจะเสด็จสวรรคตเพื่อหาความ ชอบธรรมดังกล่าว เหตุการณ์เรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ที่เราได้รับรู้กันมานั้น เป็นเรื่องที่ได้รับการบันทึก จากฝ่ายของผู้ที่มีชัยชนะ ในทางตรงข้าม ถ้าฝ่ายขุนพิเรนทรเทพเป็นฝ่ายแพ้ เรื่อง ที่ท้าวศรีสุดาจันทร์วางยาพิษพระชัยราชาและการคบชู้อาจจะไม่มีปรากฎอยู่เลยก็ได้