ประมวล คำสั่ง คำชี้แจง ระเบียบ คำแนะนำ ข้อบังคับ และประกาศ
ว่าด้วยการเวชกรรมป้องกัน
1. ชี้แจงการปฏิบัติการสุขาภิบาลในที่ตั้งปกติ 2. ชี้แจงการปฏิบัติการสุขาภิบาลสนาม
3. การป้องกันและควบคุมโรคระบบทางเดินอาหาร 4. การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
5. การป้องกันไข้สมองอักเสบ 6. คำแนะนำการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
7. แนวทางปฏิบัติต่อกำลังพลที่ป่วยด้วยโรคเอดส์ 8. คำแนะนำการป้องกันโรคที่พบบ่อยในฤดูร้อน
9. ชี้แจงการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคที่พบเป็นกันมากในฤดูฝน 10. คำแนะนำในการป้องกันโรคที่พบบ่อยในฤดูหนาว
กลับสู่หน้าหลัก I การช่วยชีวิตฉุกเฉิน I ระบบทางเดินอาหาร I ระบบทางเดินหายใจ

(สำเนา)
คำสั่งกองทัพบก
(คำชี้แจง)
ที่ 088/18211
เรื่อง ชี้แจงการปฏิบัติการสุขาภิบาลในที่ตั้งปกติ
---------------------------

เพื่อรักษาสุขภาพและป้องกันโรคของทหาร ตลอดจนช่วยให้การสุขาภิบาลของหน่วยทหารในกองทัพดีขึ้น และเพื่อเป็นการเพิ่มเติมและขยายความในข้อบังคับกองทัพบกที่ 2/1357/2490 ว่าด้วยการจัดระเบียบการภายในกรมกองทหาร มาตรา 4 ข้อ 57 การรักษาพยาบาล การตรวจสุขภาพร่างกาย การสุขาภิบาลและอนามัยให้เป็นการแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น จึงเป็นการสมควรที่จะให้หน่วยทหาร ได้ทราบและปฏิบัติการสุขาภิบาลในที่ตั้งปกติไว้ดังต่อไปนี้

การสุขาภิบาล คือ วิธีการที่กองทัพจะผดุงรักษาไว้ซึ่งสุขภาพอันสมบูรณ์ของทหารและป้องกันการแพร่โรค ความมุ่งหมายหลักก็เพื่อให้มีกำลังพลที่เข้มแข็งทั้งทางกายและจิตใจพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่หรือทำการรบอันเป็นระเบียบได้มากที่สุด
  1. ผู้บังคับหน่วยเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในอันที่จะจัดการสุขาภิบาลในหน่วยและเขตรับผิดชอบของการสุขาภิบาลให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้โดยอาศัยความร่วมมือและการแนะนำจากเจ้าหน้าที่เหล่าทหารแพทย์
  2. ทหารทุกชั้นยศต้องได้รับการอบรมให้รู้หลักการสุขาภิบาลและมีหน้าที่ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นๆ โดยเคร่งครัด
  3. ผู้บังคับบัญชาทหารตั้งแต่ ผบ.ร้อยลงมา ต้องร่วมมือกับเจ้าหน้าที่แพทย์มีหน้าที่อบรมชี้แจงทหารในบังคับบัญชาของตนให้รู้และเข้าใจเรื่องการสุขาภิบาลและสุขศาสตร์ส่วนบุคคลพร้อมทั้งควบคุมการปฏิบัติของทหารอย่างใกล้ชิดด้วย
  4. ผบ.หน่วย สร.มีหน้าที่เสนอแผนการให้ ผบ.หน่วยให้คำแนะนำและช่วยเหลือในเรื่องที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาล ได้แก่การจัดหาน้ำ การทำน้ำบริสุทธิ์วิธีการกำจัดสิ่งปฏิกูล การป้องกันโรค การปลูกภูมิคุ้มกันโรค การอบรมสุขศาสตร์ส่วนบุคคลและการสุขาภิบาล การกำจัดหนู เรือด เหา และแมลงที่เป็นสื่อนำโรค และแนะนำในเรื่องการออกคำสั่งหรือระเบียบเกี่ยวกับการสุขาภิบาล กับต้องเป็นผู้ตรวจผลและรายงานให้ ผบ.หน่วยทราบเป็นระยะๆ และทุกครั้งที่มีข้อบกพร่องซึ่งต้องแก้ไขโดยด่วน
  5. พลาธิการ มีหน้าที่จัดอาหารและน้ำบริสุทธิ์ให้เพียงพอแก่หน่วย
  1. ที่ตั้ง
  2. โรงทหารอาคารและบ้านพัก
  3. การบริการน้ำ
  4. วันหนึ่งทหารคนหนึ่งต้องการน้ำโดยเฉลี่ยประมาณ 20 - 40 แกลลอน เพื่อใช้ ดื่ม อาบ ซักเสื้อผ้า และประกอบอาหาร น้ำสำหรับทหารเพื่อบริโภคใช้สอยควรเป็นน้ำที่สะอาดที่สุดเท่าที่จะหาได้ ไม่ควรใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลองหรือสระเป็นน้ำบริโภคเว้นแต่ได้ทำบริสุทธิ์แล้ว
    ก. น้ำฝน หน่วยที่ใช้น้ำฝนต้องควบคุมความสะอาดที่เก็บน้ำและวิธีการแจกจ่ายน้ำข. น้ำบ่อ หน่วยใดที่ใช้น้ำบ่อควร
  5. โรงเลี้ยงและโรงประกอบอาหาร
  6. ส้วม
  7. ที่ถ่ายปัสสาวะ
  8. ที่ล้างหน้าและที่อาบน้ำ
  9. ครัวและที่เก็บของ
  10. ระวังรักษาความสะอาดและจัดระเบียบให้เรียบร้อย อย่าให้เป็นที่อาศัยของหนูได้
  11. สุขศาสตร์ส่วนบุคคล
  12. การสุขาภิบาล จะดีได้ต้องอาศัยความร่วมมือปฏิบัติจากทหารทุกชั้นยศ ดังนั้นควรกวดขันทหารปฏิบัติเกี่ยวกับสุขศาสตร์ส่วนบุคคลตามหัวข้อต่อไปนี้โดยเคร่งครัด
    ก. เกี่ยวกับอาหารข.เกี่ยวกับร่างกายค. เกี่ยวกับเครื่องแต่งกายง. เกี่ยวกับการพักผ่อนรื่นรมย์จ. เกี่ยวกับนิสัย นิสัยรักษาความสะอาดและความมีระเบียบตามหัวข้อต่อไปนี้ ทหารควรปฏิบัติให้เคยชินจนติดเป็นนิสัย
สั่ง ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2493

รับคำสั่ง ผบ.ทบ.

(ลงชื่อ) พล.ต. ถ. อุปถัมภานนท์
ถนอม อุปถัมภานนท์
พญ. ทบ.


กลับสู่หน้าแรก

(สำเนา)
คำสั่งกองทัพบก
(คำชี้แจง)
ที่86/7002
เรื่อง ชี้แจงการปฏิบัติการสุขาภิบาลในสนาม
---------------------------
เนื่องจากในราชการสนาม เมื่อทหารออกไปปฏิบัติหน้าที่ในราชการสงครามหรือปฏิบัติหน้าที่นอกที่ตั้งปกติแล้ว สภาพการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ย่อมจะเลวกว่าที่ตั้งปกติ เพราะทหารต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หรือต้องเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในเขตที่มีโรคร้ายชุกชุม ฉะนั้นเพื่อเป็นการสงวนกำลังพล และให้ทหารมีสุขภาพสมบูรณ์ไม่เจ็บป่วยพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้ผลดีเต็มที่ จึงเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บังคับบัญชาทุกชั้นยศ และเจ้าหน้าที่เหล่าทหารแพทย์ของหน่วยนั้นๆ ต้องยึดถือปฏิบัติการสุขาภิบาลในที่ตั้งปกติ ตามคำสั่ง ทบ.(คำชี้แจง) ที่ 189/18211 เรื่อง ชี้แจงการปฏิบัติการสุขาภิบาลในที่ตั้งปกติ ลง 30 ส.ค.97 เป็นแนวทางปฏิบัติ และให้ใช้แนวทางปฏิบัติการสุขาภิบาลในสนามมาประกอบเพิ่มเติมให้สมบูรณ์
ก. การเลือกที่ตั้ง
  1. ผู้บังคับหน่วย มีหน้าที่รับผิดชอบในการเลือกที่ตั้ง โดยจัดส่วนล่วงหน้าซึ่งมีแพทย์เป็นเจ้าหน้าที่ร่วมการพิจารณาด้วย
  2. หลักในการเลือกที่ตั้ง ต้องให้ได้ผลดีทั้งในทางยุทธวิธี และการสุขาภิบาลควรพยายามเลือกให้เป็นไปตามหลักสุขาภิบาลให้มากที่สุดเท่าที่สภาพการณ์ทหารจะอำนวยให้เมื่อไม่ขัดต่อหลักยุทธวิธีควรเลือกที่ตั้งตามลักษณะต่อไปนี้.-
  3. ลักษณะที่ตั้งที่พึงปรารถนา
  4. ลักษณะที่ตั้งที่ไม่พึงปรารถนา
ข. การเข้าที่พัก
  1. จัดที่พักหรือกระโจมให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้ดี ไม่อับและแออัด
  2. มีร่องระบายน้ำรอบทุกกระโจม และที่พัก
  3. ในเวลากลางวัน ให้ม้วนผ้าข้างกระโจมหรือเปิดที่พักให้แสงแดดส่องถึง
  4. มีภาชนะหรือหลุมทิ้งขยะหรือหลุมทิ้งขยะในบริเวณที่พัก และจัดการฝังหรือเผาทุกวัน
  5. ทำเครื่องหมายที่ตั้งส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะและน้ำดื่ม ให้ทหารทราบ และกวดขันการปฏิบัติให้ถูกต้อง
  6. ตรวจร่างกายเมื่อมีผู้ใดเจ็บป่วยส่งให้แพทย์รักษา
  7. ผู้บังคับหน่วยต้องออกคำสั่งหรือระเบียบปฏิบัติประจำในเรื่องการสุขาภิบาลเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยของตน
ค. การบริการน้ำ
  1. ความต้องการน้ำ วันหนึ่งทหารคนหนึ่งต้องการน้ำเฉลี่ยแล้วดังนี้
  2. วินัยการใช้น้ำ
  3. แหล่งน้ำ
ง. ส้วม
  1. หลักปฏิบัติในการสร้างส้วม เนื่องจากส้วมอาจเป็นเหตุให้เกิดโรคติดต่ออย่างร้ายแรงได้
  2. ชนิดส้วมที่ใช้ในโอกาสต่างๆ กัน
จ. ที่ถ่ายปัสสาวะ
  1. ในการพักประจำ ชม.และ พักนาน กำหนดที่ให้ทหารถ่ายปัสสาวะ อย่าปล่อยให้ทหารถ่ายปัสสาวะตามใจชอบ
  2. ในการพักแรม ไม่เกิน 3 วัน ให้ขุดร่องปัสสาวะยาว 10 ฟุต กว้าง 3 ฟุต ลึก 6 นิ้ว พรวนดินร่องให้หลวมๆ ลึกลงไปอีก 6 นิ้ว กองดินที่ขุดไว้รอบปากร่อง ทั้งเพื่อใช้กลบ เมื่อจะเคลื่อนย้ายต่อไป ร่องแบบนี้ใช้ได้สำหรับทหาร 200 คน
  3. ในการพักแรม เกิน 3 วัน ให้ใช้ที่ถ่ายปัสสาวะซึมโดยขุดหลุมขนาด 4" x 4" x 4" แล้วใช้กรวด อิฐ หรือ หินย่อยใส่ให้เต็มหลุม ใช้กระบอกไม้ไผ่หรือกรวยโลหะฝังตามมุมทั้ง 4 ของหลุม ที่ถ่ายปัสสาวะแบบนี้ใช้ได้สำหรับทหาร 200 คน
ฉ. ที่ล้างหน้าและที่อาบน้ำ
  1. ที่ล้างหน้าและที่อาบน้ำ ควรอยู่ระหว่างที่พักกับส้วม
  2. สร้างที่ล้างหน้ายาว 10 ฟุต สำหรับทหาร 100 คน
  3. สร้างที่อาบน้ำอย่างน้อย 3 ที่ สำหรับทหาร 100 คน
ช. โรงเลี้ยงและโรงประกอบอาหาร
  1. ให้ตั้งอยู่ตรงข้ามกับส้วม ห่างกันอย่างน้อย 300 ฟุต
  2. ขุดหลุมทิ้งเศษอาหาร 1 หลุมต่อทหาร 200 คน ขนาดกว้างด้านละ 4 ฟุต ลึก 4 ฟุต ใช้ดินกลบหนาอย่างน้อย 2 นิ้ว ทุกวัน
  3. สร้างหลุมซึมสำหรับกำจัดน้ำล้างผัก อาหารและภาชนะเครื่องใช้
  4. กลบหลุมทิ้งสิ่งปฏิกูลให้เรียบร้อยก่อนเคลื่อนย้ายทุกครั้ง
ซ. สุขศาสตร์ส่วนบุคคล
  1. ให้ยึดถือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับสุขศาสตร์ส่วนบุคคลตามคำสั่ง ทบ.(คำชี้แจง) ที่ 188/18211 ลง 30 ส.ค.97
  2. ให้กวดขันการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขศาสตร์ส่วนบุคคลของหน่วยทหารอย่างเคร่งครัด
ฌ. การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
  1. ให้ผู้บังคับหน่วย เอาใจใส่และกวดขันการปฏิบัติการสุขาภิบาลในหน่วยและเขตรับผิดชอบของตนเองโดยเคร่งครัด ทั้งนี้โดยอาศัยความร่วมมือและคำแนะนะจากเจ้าหน้าที่เหล่าแพทย์
  2. ทหารทุกคนก่อนออกเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในสนาม ต้องได้รับการปลูกภูมิคุ้มกันโรคโดยครบถ้วนและถูกต้องตามคำสั่ง ทบ.(คำชี้แจง) ที่ 1/9384 เรื่องการปลูกภูมิคุ้มกันโรค ลง 27 ส.ค.97
  3. ผู้บังคับหน่วยเสนารักษ์มีหน้าที่พิจารณาเสนอแผนการและให้คำแนะนำแก่ ผบ.หน่วยในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เพื่อให้ผู้บังคับหน่วยออกเป็นคำสั่งหรือคำแนะนำการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อสำหรับหน่วยนั้นๆ
ญ. การเคลื่อนย้าย
  1. ต้องตรวจการสุขาภิบาลในบริเวณที่พักให้เรียบร้อยก่อนที่จะเคลื่อนย้ายกลบส้วมหลุมทิ้งสิ่งปฏิกูลให้เรียบร้อย เขียนป้ายบอกไว้ให้ชัดเจน
  2. การเคลื่อนย้ายไม่ว่าด้วยการเดินเท้าหรือด้วยยานพาหนะก็ตาม ให้ถือหลักต่อไปนี้
สั่ง ณ วันที่ 10 เมษายน 2499
รับคำสั่ง ผบ.ทบ.
(ลงชื่อ) พล.ต. ถ. อุปถัมภานนท์
พญ.ทบ.

กลับสู่หน้าแรก

(สำเนา)
คำสั่งกองทัพบก
(คำชี้แจง)
ที่ 17/2558
เรื่อง การป้องกันและควบคุมโรคระบบทางเดินอาหาร
---------------------------
เนื่องด้วยโรคระบบทางเดินอาหารเป็นโรคที่พบเสมอ และบางครั้งยังระบาดแพร่หลายอีกด้วย จึงเป็นการสมควรที่ผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารจะได้เอาใจใส่และชี้แจงต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทราบถึงวิธีป้องกัน ควบคุม และการปฏิบัติตนมิให้เกิดโรคต่อไปนี้ได้ เช่น อุจจาระร่วง , อหิวาตกโรค และตับอักเสบจากเชื้อไวรัส
สาเหตุ
  1. โรคเหล่านี้เกิดขึ้นด้วยการบริโภคอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อโรคเจือปน เนื่องจากความบกพร่องไม่ระมัดระวังหรือความมีวินัยสกปรกของเจ้าหน้าที่ประกอบอาหารหรือเนื่องจากแมลงวันเป็นสื่อนำมาสู่อาหารหรือมือของผู้บริโภคเองสกปรก
  2. ฤดูกาลจะช่วยสนับสนุนให้เกิดโรคระบาดทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้น เนื่องจากโรคนี้มักเกิดในฤดูร้อน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกวดขันในเรื่องสุขาภิบาลให้รัดกุมยิ่งขึ้นเป็นพิเศษ
การป้องกันและควบคุม
  1. เมื่อหน่วยใดที่ทหารป่วยเป็นโรคระบบทางเดินอาหารอย่างผิดปกติต้องรีบสอบสวนสาเหตุว่าเป็นผลเนื่องมาจากสาเหตุใด และรีบดำเนินการแก้ไขทันที
  2. ให้กวดขันการสุขาภิบาลอาหารของหน่วยตามคำสั่ง ทบ.(คำชี้แจง) ที่ 188/18211 เรื่อง ชี้แจงการปฏิบัติการสุขาภิบาลในที่ตั้งปกติ ลง 30 ส.ค.97
  3. ให้ทหารทุกคนรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ และอหิวาต์ตกโรค ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่ สร.แจ้งให้ฉีด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะโรค
  4. การสุขาภิบาลโรงเลี้ยง การกวดขันเกี่ยวกับ
สั่ง ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2504
รับคำสั่ง ผบ.ทบ.
(ลงชื่อ) พล.ต. ป. กาญจนาคม
(ประภาคาร กาญจนาคม)
พญ.ทบ.

กลับสู่หน้าแรก

(สำเนา)
คำสั่งกองทัพบก
ที่ 267/2509
เรื่อง การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
---------------------------
เนื่องจากปรากฏว่ามีโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นกับครอบครัวของทหารในหน่วยต่างๆอยู่เสมอ กองทัพบกมีความห่วงใยในสวัสดิภาพของครอบครัวทหารดังกล่าวแล้วอย่างยิ่งแต่ทั้งนี้เนื่องด้วยโรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่ไม่สามารถจะป้องกันด้วยวิธีปลูกภูมิคุ้มกันได้นอกจากการป้องกันระวังตนเอง และด้วยวิธีการร่วมมือของหน่วย ฉะนั้นกองทัพบกจึงขอชี้แจงวิธีป้องกันและควบคุมโรคนี้ เพื่อให้หน่วยทราบแนวทางปฏิบัติไว้พอเป็นสังเขป โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส โดยมียุงลาย(Aedes)เป็นตัวนำเชื้อจากเลือดของผู้ป่วยไปสู่คนอื่นๆได้ โรคนี้เกิดขึ้นในเด็กตั้งแต่อายุ 5 เดือน จนถึง 17 ปี แต่ส่วนมากมักเกิดจากเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง มีเลือดออกตามผิวหนัง หรืออวัยวะภายใน ในรายที่รุนแรงจะมีอาการช็อคถึงแก่ชีวิตได้ ยุงลายเป็นยุงที่พบอยู่ตามบ้านทั่วไป ภายในรัศมีห่างจากบ้านไม่เกิน 10 - 200 เมตร ชอบไข่ในน้ำใส และนิ่ง เช่น ในตุ่มน้ำ แจกัน กระป๋อง กะลาและที่ขังน้ำต่างๆโดยปกติแล้วยุงชนิดนี้มักชอบกัดในเวลากลางวัน ภายหลังที่ยุงนี้ได้กัดผู้ป่วยและรับเชื้อมาแล้ว 7 - 10 วัน ยุงจะสามารถถ่ายทอดเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
    การกำจัดยุงลาย
  1. พ่นยาฆ่าแมลง โดยใช้เครื่องพ่นซึ่งมีใช้อยู่ตามบ้าน
  2. ป้องกันที่เก็บน้ำไม่ให้ยุงมาไข่ เช่น ทำฝาปิดตุ่มน้ำ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงโดยคว่ำกะลา กระป๋อง หรือทำลายทิ้งเสียเพื่อมิให้เป็นที่ขังน้ำ
  3. ภาชนะที่ใส่น้ำซึ่งปิดฝาไม่ได้ เช่น แจกัน ชามรองขาโต๊ะ และตู้ ฯลฯ ต้องถ่ายน้ำใหม่ทุก 7 วัน
  4. แนะนำและอบรมให้ครอบครัวทหารได้ทราบถึงลักษณะการระบาดและการป้องกันโรคนี้ เช่น ให้นอนกางมุ้ง ใช้มุ้งลวดกันยุง ุ ถ้าสามารถจะทำได้ใช้ยาทากันยุงเมื่ออยู่นอกมุ้ง
  5. เมื่อหน่วยได้พยายามปฏิบัติในการกำจัดยุงอย่างดีแล้ว หากเกิดโรคนี้ขึ้นภายในหน่วยให้รีบรายงาน พบ.โดยด่วน พบ.จะได้หาวิธีปรับปรุงการควบคุมยุง ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
    การควบคุมการระบาดของโรค หน่วยใดที่ปรากฏว่ามีผู้ป่วยหรือสงสัยว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้ดำเนินการดังนี้
  1. ในเมื่อเด็กเป็นไข้ในระยะเวลาที่มีไข้เลือดออกระบาด ให้เป็นหน้าที่ของแพทย์ทำการรักษา อย่าให้ยาลดไข้โดยพลการ
  2. รีบนำผู้ป่วยไปให้แพทย์ตรวจ หรือส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
  3. หน่วยใดที่รับผู้ป่วยไว้รักษา ต้องแยกผู้ป่วยไว้ในห้องซึ่งมีมุ้งลวดหรือให้นอนในมุ้ง
  4. รายงานด่วนให้ พบ.ทราบ
  5. เจ้าหน้าที่แพทย์ต้องให้คำแนะนำและอบรมครอบครัวให้เข้าใจถึงการป้องกันโรคข้อสำคัญที่สุดคือพยายามป้องกันอย่าให้ยุงกัด แม้เด็กนอนกลางวันก็ต้องให้นอนในมุ้ง
  6. ในกรณีจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้โรคนี้ระบาดได้เร็ว พบ.อาจนำวิธีการอื่นที่เห็นว่าเหมาะสมมาใช้ โดยอาศัยความร่วมมือภายในหน่วยนั้นๆ ต่อไป
ทั้งนี้ให้ยกเลิกคำสังกองทัพบก(คำชี้แจง) ที่ 18/11488 ลง 4 ก.ย.06 และให้ใช้คำสั่งนี้แทน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2509
รับคำสั่ง ผบ.ทบ.
(ลงชื่อ) พล.ต. ป. กาญจนาคม
(ประภาคาร กาญจนาคม)
พญ.ทบ.

กลับสู่หน้าแรก

(สำเนา)
คำแนะนำกรมแพทย์ทหารบก
ที่ 267/2509
เรื่อง การป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ
---------------------------
เนื่องจากปรากฏว่ามีโรคไข้สมองอักเสบเกิดขึ้นประปรายทั้งปีในทุกภาคของประเทศไทย และมักพบว่าผู้ป่วยจากโรคนี้ในฤดูฝนมากกว่าฤดูอื่นๆ โรคนี้ถ้าเกิดกับเด็กจะมีอาการรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจถึงแก่กรรมหรือเกิดความพิการไปตลอดชีวิตได้ ดังนั้น พบ.จึงขอชี้แจงให้เจ้าหน้าที่แพทย์ทหารได้ทราบถึงลักษณะของโรค วิธีการติดต่อ และวิธีการป้องกันโรคนี้ไว้ เพื่อแนะนำแนวทางการปฏิบัติแก่ทหารและครอบครัวดังนี้
โรคไข้สมองอักเสบ(Encephalitis) เกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิดที่สำคัญในประเทศไทยคือ Japanese B encephalitis ซึ่งมียุงรำคาญ (Culex) หลายจำพวกเป็นแมลงนำโรค (Vector)
แหล่งของโรค คือผู้ป่วยและสัตว์อีกหลายประเภท ซึ่งอาจไม่แสดงอาการของโรคให้ปรากฏ เมื่อยุงไปกัดผู้ป่วยหรือสัตว์เหล่านี้ จะได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายเชื้อโรคใช้เวลาเติบโตในตัวอยู่ระยะหนึ่งจึงจะเป็นระยะติดต่อ เมื่อยุงกัดคนดีก็ปล่อยเชื้อโรคมาสู่คนนั้น
อาการของโรค ที่สำคัญคือผู้ป่วยหลังจากถูกยุงที่มีเชื้อโรคกัด จะมีไข้ ซึม อาเจียน และมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วยการเปลี่ยนแปลงในความรู้สึกของคนไข้ เช่น มีอาการงง หรือชักกระตุกของกล้ามเนื้อที่มือ กล้ามเนื้อตาหรือมีอัมพาตของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าหรือแขนขา ข้างใดข้างหนึ่งด้วย สำหรับผู้ที่มีอาการน้อย อาจมีเพียงไข้ต่ำๆ และการเปลี่ยนแปลงในบุคคลิกลักษณะของผู้นั้นโดยมีความประพฤติหรือแสดงท่าทางผิดแผกไปจากที่เคยเป็นไปตามปกติ
การป้องกันโรคนี้ คือป้องกันมิให้ยุงกัด โดยเฉพาะสำหรับเด็กให้นอนกางมุ้งทั้งกลางวันและกลางคืน ใช้สารเคมีฆ่ากำจัดและช่วยกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงที่มีอยู่ เด็กที่สงสัยว่าป่วยด้วยโรคนี้ให้รีบนำไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน

(ลงชื่อ) พล.ท. ประณต โพธิทัต
( ประณต โพธิทัต )
จก.พบ.
14 ส.ค. 17

กลับสู่หน้าแรก

(สำเนา)
ประกาศกรมแพทย์ทหารบก
เรื่อง คำแนะนำการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
---------------------------
เนื่องจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งเดิมเรียกว่า กามโรค เป็นโรคที่มีอุบัติการสูงในทหารทั้งหน่วยปกติและหน่วยที่ปฏิบัติการในสนาม และทำให้เกิดผลเสียหายหลายอย่าง เช่น ทำให้กำลังพลเสื่อมลง แสดงถึงการหย่อนวินัย โรคกลุ่มนี้ยังแพร่ไปสู่คู่สมรส และบางโรคอาจแพร่ไปสู่บุตรได้ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้มากมาย ทำให้เสียเวลาและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาของทั้งผู้ป่วยเอง ของกองทัพบก และของชาติ บางโรคเช่น โรคเอดส์ยังไม่มีวิธีรักษา และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนจนถึงตายได้ในที่สุด ดังนั้นหน่วยทหารและหน่วยรักษาพยาบาลของกองทัพบกทุกหน่วย ควรดำเนินการป้องกัน และควบคุมโรคกลุ่มนี้อย่างจริงจังตามแนวทางต่อไปนี้
  1. อบรมให้ทหารทุกคนทราบถึงลักษณะอาการและผลร้ายของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกชนิด และหลีกเลี่ยงการสำส่อนทางเพศ
  2. แนะนำให้ทหารรู้จักวิธีป้องกันโรค โดยวิธีต่อไปนี้
  3. แนะนำให้ทหารรีบไปพบเจ้าหน้าที่แพทย์ทันทีหากมีอาการสงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่าซื้อยารักษาเอง เพราะนอกจากโรคจะไม่หายแล้ว ยังอาจแพ้ยาและทำให้เชื้อโรคดื้อยาได้
  4. แนะนำให้ทหารที่ชอบเที่ยวโสเภณีไปเจาะเลือดเพื่อตรวจโรคซิฟิลิสทุก 3 เดือน และก่อนแต่งงาน
  5. แนะนำให้ทหารเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พาคู่นอนไปพบแพทย์เพื่อรักษาด้วย เป็นการป้องกันโอกาสที่จะแพร่เชื้ออีก
  6. หมั่นกวดขันวินัยทหาร เช่น งดการลาที่ไม่จำเป็น ห้ามออกนอกบริเวณเมื่อไม่มีหน้าที่ โดยเฉพาะหน่วยที่ปฏิบัติการสนาม จัดให้เข้าเวรยามหรือเพิ่มงานให้มากขึ้น และให้เล่นกีฬามากขึ้น
  7. หมั่นดูแลอย่างใกล้ชิด หากสงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ให้ส่งไปพบเจ้าหน้าที่แพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที
  8. สำหรับเจ้าหน้าที่แพทย์ผู้ให้การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรมีส่วนช่วยในการควบคุมโรคดังต่อไปนี้
  9. ผบ.หน่วยรักษาพยาบาล ควรติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะหน่วยหรือศูนย์กามโรคของกระทรวงสาธารณสุขที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อร่วมกันควบคุมแหล่งแพร่โรคต่างๆ ที่ทหารชอบไปเที่ยว
ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2530
(ลงชื่อ) พลโท สิงหา เสาวภาพ
( สิงหา เสาวภาพ )
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก

กลับสู่หน้าแรก

บันทึกข้อความ

ที่ กห 04401/1494

วันที่ 17 มิ.ย. 34

เรื่อง แนวทางปฏิบัติต่อกำลังพลที่ป่วยด้วยโรคเอดส์

เรียน ผบ.ทบ.

อ้างถึง

  1. หนังสือ กพ.ทบ.ที่ กห 0401/2085 ลง 1 พ.ค.34 เรื่อง รายงานผลการประชุมเรื่องโรคเอดส์
  2. หนังสือ กพ.ทบ.ด่วนมาก ที่ กห 0401/579 ลง 5 ม.ค.34 เรื่อง ขออนุมัติหลักการและงบประมาณการตรวจโรคเอดส์ขั้นต้น ต่อทหารกองเกินที่ ทบ.จะรับเข้าเป็นทหารกองประจำการ ประจำปี 33
  3. หนังสือ กพ.ทบ.ต่อที่ กห 0401/2911 ลง 21 มิ.ย.เรื่อง หารือแนวทางปฏิบัติผู้ป่วยโรคเอดส์
  4. หนังสือ พบ.ที่ กห 0446/305 ลง 5 ก.ค.33 เรื่อง แนวทางปฏิบัติต่อข้าราชการที่ติดเชื้อโรคเอดส์
  1. เนื่องด้วยขณะนี้ นขต.ทบ.ยังมีความสับสนเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกำลังพลที่ป่วยด้วยโรคเอดส์ เพื่อมิให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติแก่หน่วยที่มีกำลังพลที่ป่วยด้วยโรคดังกล่าว และเพื่อเป็นการป้องกันมิให้โรคเอดส์แพร่ระบาดออกไป จนเกิดความเสียหายแก่หน่วยต่างๆ ใน ทบ.ได้ จึงเห็นสมควรที่จะได้กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อผู้ป่วยด้วยโรคเอดส์ให้มีความชัดเจน ง่ายต่อการปฏิบัติขึ้นไว้
  2. ผบ.ทบ.ได้เคยอนุมัติแนวทางปฏิบัติในชั้นต้นต่อกำลังพลที่ป่วยด้วยโรคเอดส์ไว้ครั้งหนึ่งแล้ว ตามอ้างถึง 1 สรุปได้ดังนี้.-
  3. ตามอ้างถึง 3 กพ.ทบ.ได้หารือ พบ.เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติต่อผู้ป่วยด้วยโรคเอดส์และ พบ.ได้ให้แนวทางปฏิบัติต่อข้าราชการที่ติดเชื้อโรคเอดส์(ตามอ้างถึง 4)ทางด้านแพทย์ รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์สรุปได้ดังนี้.-
  4. กพ.ทบ.พิจารณาเห็นว่า ปัจจุบันกำลังพลที่ป่วยด้วยโรคเอดส์ได้ทวีจำนวนมากขึ้น และได้แพร่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติต่อผู้ป่วยด้วยโรคเอดส์ไว้อย่างชัดเจนไม่สับสน ง่ายต่อการปฏิบัติจึงเห็นสมควรยกเลิกแนวทางปฏิบัติต่อผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม ตามอ้างถึง 1 ข้อ 2.4 และกำหนดแนวทางปฏิบัติใหม่ ดังนี้.-

  5. ผู้ป่วยในระยะแรกผู้ป่วยในระยะที่ 2 โดยทั่วไปให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ป่วยในระยะแรก ยกเว้นเมื่อมีอาการของโรคบางชนิด ให้เข้ารับการรักษาใน รพ.ทบ.เป็นครั้งคราวตามความเห็นของแพทย์
    ผู้ป่วยในระยะที่ 3 ผู้ป่วยด้วยโรคเอดส์ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะเป็นโรคเอดส์เต็มขั้นเป็นระยะที่ไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรค มีโอกาสเกิดโรคติดเชื้อได้ง่าย อาจจำเป็นต้องรับไว้ใน รพ.ทบ.ที่กำหนดไว้ทั้ง 5 แห่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเห็นของแพทย์
  6. ข้อเสนอ เห็นควรดำเนินการดังนี้.-
จีงเรียนมาเพื่อกรุณาพิจารณา หากเห็นเป็นการสมควร กรุณาอนุมัติตามที่เสนอในข้อ 5 เพื่อดำเนินการต่อไป
เรียน ผบ.ทบ.
เห็นควรอนุมัติตามที่ กพ.ทบ.เสนอในข้อ 5
(ลงชื่อ) พล.ท. ชัยวุฒิ ศรีมาศ
ผช.เสธ.ทบ.ฝกพ.
20 มิ.ย.34

(ลงชื่อ) พล.ต. ปรีชา อุเทนสุต
( ปรีชา อุเทนสุต )
จก.กพ.ทบ.
(ลงชื่อ) พล.ท.เชิดชาย ธีรัทธานนท์
รอง เสธ.ทบ.(2)
(ลงชื่อ) พล.ท. ประมณฑ์ ผลาสินธุ์
รอง เสธ.ทบ.(1) ทำการแทน 21 มิ.ย.34
อนุมัติตามเสนอข้อ 5
(ลงชื่อ) พล.อ. สุจินดา คราประยูร
ผบ.ทบ.
25 มิ.ย. 34
(ลงชื่อ) พล.อ.วิมล วงศ์วานิช
ผช.ผบ.ทบ.(1)
24 มิ.ย.34

กลับสู่หน้าแรก

(สำเนา)
ประกาศกรมแพทย์ทหารบก
เรื่อง คำแนะนำการป้องกันโรคที่พบบ่อยในฤดูร้อน

เนื่องจากในช่วงฤดูร้อนของทุกปีพบว่ามีโรคหลายชนิดที่พบบ่อยกว่าฤดูอื่น กรมแพทย์ทหารบกมีความห่วงใยทหารและครอบครัว ด้วยเกรงว่าจะเกิดการเจ็บป่วยขึ้น จึงขอแนะนำให้ทราบถึงโรคที่พบบ่อยในฤดูร้อน รวมทั้งอาการสำคัญการป้องกัน และการรักษาเบื้องต้นมาให้ทราบ ดังนี้
1. โรคติดต่อระบบทางเดินอาหาร
สาเหตุ เกิดจากเชื้อโรคหลายชนิดต่างกันแล้วแต่โรค
การติดต่อ เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายได้ด้วยการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคเข้าไปเช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม เป็นต้น ผู้ป่วยโรคกลุ่มนี้จะแพร่เชื้อทางอุจจาระ
อาการ โรคติดต่อระบบทางเดินอาหารที่ควรทราบมีอาการดังนี้

  1. โรคอุจจาระร่วงหรือท้องเดินหรือท้องเสีย เป็นอาการรวมของโรค ซึ่งเกิดจากเชื้อหลายชนิด เช่น โปรโตซัว แบคทีเรีย ไวรัสต่างๆ อาการสำคัญ คือ ถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้ง หรือเป็นน้ำ 1 ครั้งขึ้นไปหรือมีมูกปนเลือดภายใน 24 ชั่วโมง อาจมีอาเจียนร่วมด้วย อาการอาจมีเล็กน้อยจนกระทั่งรุนแรงมากจนถึงเสียชีวิตได้ โรคที่สำคัญได้แก่
การป้องกัน ควรปฏิบัติดังนี้
  1. จัดเจ้าหน้าที่เวรตรวจอาหารของทหาร ทั้งจากแหล่งขาย ก่อนปรุงอาหารและเมื่อปรุงเสร็จแล้วเพื่อความปลอดภัยและน่าบริโภคทุกมื้อ เก็บอาหารก่อนและปรุงให้มิดชิดพอที่จะไม่มีเชื้อโรคจากฝุ่นละอองแมลงหรือสัตว์อื่นๆ ลงไปปนได้
  2. อบรมเจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องอาหารให้ทราบถึงความจำเป็นของการรักษาความสะอาดของร่างกายและเครื่องแต่งกาย
  3. ให้ความรู้แก่ทหารเรื่องสุขศาสตร์ส่วนบุคคล ได้แก่
  4. กวดขันการสุขาภิบาลของหน่วย โดยเฉพาะการบริการน้ำ การกำจัดสิ่งปฏิกูล การกำจัดแมลงและหนู
  5. ตรวจสุขภาพเจ้าหน้าที่โรงเลี้ยงและโรงประกอบอาหารทุกคนอย่างน้อยทุก 6 เดือน
  6. เมื่อเริ่มมีอาการอุจจาระร่วง ให้รับประทานผงน้ำตาลเกลือแร่ (ORS) ผสมน้ำสะอาด ถ้าไม่มีผงน้ำตาลเกลือแร่ ให้ใช้น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 750 ซี.ซี.ผสมน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ และเกลือป่นครึ่งช้อน(ใช้รับประทานได้ภายใน 24 ชั่วโมง) แล้วให้ไปรับการรักษาที่หน่วยรักษาพยาบาล
  7. เมื่อเกิดการระบาดของโรคติดต่อระบบทางเดินนอาหาร ให้เจ้าหน้าที่แพทย์ของหน่วยเก็บอาหารมื้อนั้นที่เหลืออยู่แยกเป็นพวกๆ ส่งตรวจยังห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและสืบสวนหาสาเหตุเพื่อดำเนินการควบคุมโรคโดยทันที
2. การป่วยเนื่องจากความร้อน
สาเหตุ เมื่อร่างกายได้รับความร้อน จะมีการปรับตัวโดยกลไกควบคุมความร้อนซึ่งมีศูนย์กลางในสมอง เพื่อให้มีการระบายความร้อนด้วยวิธีต่างๆ ส่วนใหญ่ระบายออกทางผิวหนังโดยการพาความร้อนการแผ่รังสีความร้อน และการระเหยของเหงื่อ หากร่างกายได้รับความร้อนเกินขีดจำกัด จะเกิดการป่วยเนื่องจากความร้อนขึ้น ถ้าไม่รีบรักษาอาการจะรุนแรงขึ้นจนเกิดความล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายและเสียชีวิตได้
อาการ แบ่งตามความรุนแรงจากน้อยไปหามากเป็น 3 ประเภท ดังนี้.-
  1. ตะคริวจากความร้อน (Heat Cramps) เกิดจากร่างกายสูญเสียเกลือแร่มากโดยการหลั่งเหงื่อในการระบายความร้อน มีอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ(ตะคริว) ซึ่งมักเป็นที่แขน ขา และท้องปวดกล้ามเนื้อบริเวณที่หดเกร็ง ไม่มีไข้
  2. เพลียแพ้ร้อน (Heat Exhaustion) เกิดจากการผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือดเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากทางเหงื่อในการระบายความร้อน มีอาการปวดกล้ามเนื้อ หน้ามืด เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ไม่มีไข้ หากไม่รีบรักษาจะเปลี่ยนเป็นลมแพ้ร้อน
  3. ลมแพ้ร้อน (Heat Stroke) เกิดจากความล้มเหลวของกลไกควบคุมความร้อนของร่างกาย ทำให้มีไข้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ จนเกิดการสูญเสียหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ และทำให้เสียชีวิตได้ มีอาการของความผิดปกติในระบบต่างๆ ทั่งร่างกายตามลำดับ ดังนี้
    ระยะแรก ปวดศีรษะ วิงเวียนหน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน ซึมลง วุ่นวาย พูดไม่ชัด เดินผิดปกติ เช่น ทหารเดินออกนอกแถว
    ระยะหลัง ไข้สูง 38.4 องศาเซลเซียส หายใจเร็ว ชีพจรเบาเร็ว ผิวหนังร้อนและแห้ง ไม่มีเหงื่อ ซึมลง ไม่รู้สึกตัว ชัก การหายใจล้มเหลว หัวใจวาย ไตวาย และมีเลือดออกจากอวัยวะต่างๆ ผู้ป่วยจะถึงแก่กรรมหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
    การปฐมพยาบาล ให้ความเย็นแก่ผู้ป่วยโดยเร็ว โดยนำเข้าที่ร่ม ถอดเสื้อผ้า จุ่มตัวลงในน้ำเย็นหรือราดน้ำเย็นลงบนตัวผู้ป่วย แล้วพัดให้น้ำระเหย เช็ดตัวด้วยน้ำเย็นหรือแอลกอฮอล์ ถอดรองเท้า และยกขาผู้ป่วยขึ้น ถ้ารู้สึกตัวให้ดื่มน้ำเย็นเติมเกลือช้าๆ โดยใช้เกลือแดง 1/44 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ลิตร หากเป็นตะคริวจากความร้อน ให้ใช้มือนวดบริเวณที่ปวด ถ้าอาการไม่ดีขึ้น มีอาการเพลียแพ้ร้อนหรือลมแพ้ร้อนให้รีบนำส่งหน่วยรักษาพยาบาลโดยเร็ว โดยให้ความเย็นแก่ผู้ป่วยไปตลอดทาง ห้ามให้ยาแอสไพรินเพราะจะกดกลไกการแข็งตัวของเลือด
    การป้องกัน ผู้ที่ฝึกหรือออกกำลังกายขณะอาการร้อน ควรหลีกเลี่ยงจากปัจจัยทีส่งเสริมให้เกิดการป่วยจากความร้อน โดยปฏิบัติดังนี้.-
    • การฝึกหรือออกกำลังกายควรเริ่มจากน้อยไปหามาก เพื่อทำให้ร่างกายเกิดความเคยชินและระหว่างฝึกควรมีการพักบ้างเป็นระยะๆ การฝึกทหารใหม่ในระยะแรกต้องระมัดระวังให้มาก
    • หลีกเลี่ยงการฝึกหรือออกกำลังกายอย่างหักโหมในขณะที่มีอาการร้อนจัด ควรฝึกเฉพาะช่วงเช้า เย็น หรือ กลางคืน
    • ใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี ไม่ใส่เสื้อผ้าหนาหรือปกปิดร่างกายมิดชิดเกินไป
    • ดื่มน้ำให้เพียงพอทั้งก่อนออกกำลัง ระหว่างออกกำลัง และหลังการออกกำลัง ถ้าออกกำลังนานกว่า 1 ชั่วโมง ควรดื่มน้ำผลไม้ที่ผสมให้จางกว่าปกติ 2 - 3 เท่า และเติมเกลือแกงเล็กน้อยเพื่อทดแทนเกลือแร่ที่เสียไปทางเหงื่อ
    • ถ้าเจ็บป่วยหรือเป็นไข้ให้งดออกกำลังกาย
    • ลดความอ้วน
    • งดดื่มสุราและงดรับประทานอาหารมากเกินไปก่อนออกกำลัง
    • เลือกวิธีออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย
    • ขณะฝึกหรือออกกำลังกาย ถ้าเริ่มมีอาการป่วยจากความร้อน ควรหยุดพักทันที ผู้ควบคุมการฝึกต้องหมั่นสังเกตผู้รับการฝึก หากมีอาการป่วยจากความร้อน ให้รีบทำการปฐมพยาบาลก่อนที่อาการจะรุนแรง
    • หลังการฝึกหรือออกกำลังกาย ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
3. โรคพิษสุนัขบ้า
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies Virus) ซึ่งอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า เช่น สุนัข , แมว , หนู , กระรอก เป็นต้น โดยไวรัสนี้จะทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อเป็นโรคนี้แล้วต้องตายทุกคนไม่มีวิธีรักษาให้หายได้
การติดต่อ คนไข้ได้รับเชื้อโรคโดยถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด หรือ เลียบริเวณที่ผิวหนังมีบาดแผล เชื้อโรคนี้ซึ่งอยู่ในน้ำลายสัตว์จะเข้าสู่ร่างกายได้
อาการในคน จะเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อ ประมาณ 1 สัปดาห์ ถึง 1 ปี เริ่มจากมีไข้ต่ำๆ เจ็บคอ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ระยะต่อไปจะมีอาการทางระบบประสาท คือ ตื่นเต้นง่ายไวต่อการกระตุ้น กระสับกระส่าย กลืนลำบาก บ้วนน้ำลายตลอดเวลา แต่ยังมีสติดี ต่อไปอาจมีอาการชักเป็นอัมพาต หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด ภายใน 2 - 5 วันหลังจากเริ่มมีอาการ
อาการในสัตว์ สัตว์ที่เป็นโรคนี้มักมีอาการคลุ้มคลั่ง บางตัวอาจซึม ขอบนอนในที่ชื้นแฉะ และมืดไม่ชอบน้ำและแสงสว่าง ตัวสั่น เห่า และกัดคนและสัตว์อื่นที่ผ่านหน้ามัน สุดท้ายจะเป็นอัมพาตของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อคาง ทำให้น้ำลายไหลยืด หางตก เห่าไม่มีเสียง กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตเดินไม่ได้ และตายในที่สุด นับเวลาตั้งแต่มีอาการคลุ้มคลั้งจนตาย ประมาณ 4 - 15 วัน
การป้องกัน เมื่อถูกสัตว์กัด ให้ปฏิบัติดังนี้.
1. การปฏิบัติต่อบาดแผล
  1. ล้างแผลด้วยน้ำสบู่หลายๆ ครั้งทันที
  2. ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดแผล เช่น โพวีดีน , แอลกอฮอล์ 70 % , ทิงเจอร์ไอโอดีน
  3. ไม่ควรเย็บแผลทันที ถ้าจำเป็นต้องเย็บแผล เช่น มีเลือดออกมาก แผลใหญ่หรือเพื่อความสวยงาม ควรเย็บหลวมๆ และใส่ท่อระบายไว้
  4. ให้การป้องกันโรคบาดทะยัก และให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้ออื่นๆ
2. การปฏิบัติต่อสัตว์ที่กัด
  1. ถ้าเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีลักษณะปกติ ควรกักขังเพื่อดูอาการเป็นเวลา 16 วัน โดยให้อาหารและน้ำตามปกติ ถ้าครบ 16 วันแล้วยังปกติ ถือว่าไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า แต่ถ้าตายเอง ถูกตีตาย หรือมีอาการผิดปกติ ควรฆ่า และตัดหัวใส่ถุงพลาสติกผูกให้แน่น แช่น้ำแข็ง แล้วส่งตรวจพิสูจน์ว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่
  2. ถ้าเป็นสัตว์ป่าหรือสัตว์ไม่มีเจ้าของควรฆ่าทันที แล้วตัดหัวส่งตรวจโดยปฏิบัติตามข้อ 2
3. ไปพบแพทย์ เพื่อพิจารณาว่าควรฉีดวัคซีนและซีรั่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ ในปัจจุบันแพทย์จะสั่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนับบ้าให้ทันที เมื่อถูกสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดและหยุดฉีดเมื่อพิสูจน์ว่าสัตว์นั้นไม่บ้า เพราะหากรอผลการพิสูจน์อาจป้องกันโรคไม่ทัน
การควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า มีแนวทางปฏิบัติดังนี้.-
  1. เผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ให้ทราบอันตรายของโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อขอความร่วมมือในการควบคุมและกำจัดโรค
  2. นำสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสุนัขและแมว ที่มีอายุ 2 1/2 - 3 เดือน ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และฉีดกระตุ้นเมื่ออายุ 1 ปี หลังจากนั้นให้ฉีดทุกปี
  3. ช่วยกันกำจัดสุนัขและแมวที่ไม่มีเจ้าของให้หมดไป โดยการคุมกำเนิด ทำลายหรือจัดหาสถานที่เลี้ยงดู
  4. ถ้าสงสัยว่าสุนัขมีอาการของโรคพิษสุนัขบ้า อย่านำไปปล่อย เพราะอาจจะเป็นภัยต่อคนและสัตว์อื่นต่อไป ให้กักขังไว้รอดูอาการหรือส่งให้แพทย์ตรวจ

    ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยต่างๆ ในกองทัพบกได้ใช้เป็นแนวทางในการให้คำแนะนำแก่กำลังพลและครอบครัวต่อไป

ประกาศ ณ วันที่ 10 มีนาคม 2537

(ลงชื่อ) พลโท คำรบ สายสุวรรณ
( คำรบ สายสุวรรณ )
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก


กลับสู่หน้าแรก

(สำเนา)
ประกาศกรมแพทย์ทหารบก
เรื่อง ชี้แจงการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคที่พบเป็นกันมากในฤดูฝน

เนื่องด้วยปรากฏว่าโรคที่พบเป็นกันมากในฤดูฝน คือ โรคทางระบบหายใจโรคที่มีแมลงเป็นตัวนำ เช่น ยุงนำเชื้อบางชนิด และโรคที่สามารถแพร่กระจายได้ทางน้ำ เนื้องจากภาวะน้ำท่วมขัง พบ.มีความห่วงใยในสวัสดิภาพของทหารและครอบครัวจึงขอชี้แจงการปฏิบัติตนในการป้องกันและควบคุมโรคเหล่านี้ เพื่อให้หน่วยได้ทราบ
ไข้หวัด เป็นโรคติดต่อชนิดรวดเร็ว เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อทางเดินหายใจส่วนบน มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอและจาม ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีไข้หรือไม่มีไข้ จะเป็นอยู่ประมาณ 2 - 3 วัน โรคแทรกที่สำคัญคือ หลอดลมอักเสบ
ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลียมาก มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ ตาแดง ปกติจะหายได้เองภายใน 2 - 3 วัน โรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ปอดอักเสบ
การป้องกันและปฏิบัติตน

  1. ทำให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการตากฝน ขณะนอนให้สวมเสื้อผ้าหรือมีผ้าปิดอก
  2. หลีกเลี่ยงจากเหตุบั่นทอนสุขภาพ เช่น นอนดึก เสพสิ่งมึนเมา
  3. อย่าเข้าไปคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  4. ควรเพลาการออกกำลังกายและการฝึกลงบ้าง อย่าให้เหน็ดเหนื่อยเกินไปจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียเป็นโอกาสที่จะติดโรคได้ง่าย
  5. เมื่อรู้สึกว่ามีอาการป่วยเล็กน้อย เช่น ปวดศีรษะ ตัวร้อน เจ็บคอ ควรได้รับการตรวจจากแพทย์ทันที เพื่อแยกบำบัด เป็นการป้องกันการแพร่กระจายโรคและเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
  6. เมื่อมีการระบาด ควรงดการฝึกชั่วคราวและไม่ควรเข้าไปในที่ชุมชนแออัด เช่น โรงมหรสพ ไม่ควรใช้เสื้อผ้า และของใช้ร่วมกับผู้อื่น
ไข้มาลาเรีย เป็นโรคติดต่อ นำโดยยุงกันปล่อง คนติดโรคโดยถูกยุงที่มีเชื้อไข้มาลาเรียกัดแล้วประมาณ 10 ถึง 30 วัน จะมีอาการไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะ หายจากไข้แล้วจะมีเหงื่อออก กระหายน้ำไข้จับเป็นเวลา อาจจะจับไข้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือทุก 7 วัน เพื่อมิให้เป็นการสูญเสียกำลังพลเนื่องจากการเจ็บป่วยด้วยไข้มาลาเรีย ขอให้ ผบ.หน่วยควบคุมดูแลการปฏิบัติตนของกำลังพลของหน่วย ดังนี้.-
  1. กวดขันวินัยการป้องกันไข้มาลาเรีย
  2. การควบคุมยุงและภาวะสิ่งแวดล้อม
  3. การใช้ยาป้องกันไข้มาลาเรีย สำหรับท้องถิ่นที่มีไข้มาลาเรีย ให้ทหารทุกคนรับประทานยาเม็ดแฟนซิดาร์ครั้งละ 2 เม็ดทุก 14 วัน ควบกับคลอโรควินครั้งละ 2 เม็ด (300 มิลลิกรัมเบส) ทุก 7 วัน ตลอดเวลาที่ปฏิบัติภารกิจในภูมิประเทศนั้นทั้งนี้ให้อยู่ ในความควบคุมอย่างใกล้ชิดของ ผบ.หน่วย หรือผู้แทน ว่าทหารทุกคนได้กลืนยาผ่านลำคอไปแล้วจริง
ไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่ไม่สามารถป้องกันได้โดยการปลูกภูมิคุ้มกัน นอกจากระวังป้องกันตนเอง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมียุงลายเป็นตัวนำเชื้อจากเลือดของผู้ป่วยไปสู่คนอื่นๆ ได้โรคนี้โดยมากเกิดขึ้นในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี แต่อายุมากก็เป็นได้ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงทันที ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ตาแดง เลือดกำเดาไหลและปวดท้อง พร้อมกับมีผื่นจุดเลือดออกตามแขนขา อาจมีจ้ำเลือดออกแล้วกลายเป็นรอยเขียวคล้ำส่วนใหญ่ของผู้ป่วยจะผ่านระยะนี้ไปได้โดยปลอดภัยและเข้าระยะพักฟื้น แต่บางรายอาจมีอาการรุนแรง ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย อาจมีถ่ายหรืออาเจียนออกมาเป็นสีดำหรอไอเป็นเลือด ผู้ป่วยระยะนี้มีอันตราการตาย 10 - 15 % ยุงลายเป็นยุงที่พบอยู่ตามบ้านทั่วไป ภายในระยะ 10 - 200 เมตร ชอบไข่ในน้ำใสและนิ่ง เช่น ในตุ่มน้ำ แจกัน กระป๋อง ชามรองขาตู้ โต๊ะและที่ขังน้ำต่างๆ โดยปกติแล้วยุงชนิดนี้มักชอบกัดคนในเวลากลางวัน ภายหลังที่ยุงได้กัดผู้ป่วยและรับเชื้อมาแล้ว 7 - 10 วัน ยุงจะสามารถถ่ายทอดเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
การกำจัดยุงลาย
  1. พ่นยาฆ่าแมลง โดยใช้เครื่องพ่นซึ่งมีขายอยู่ตามท้องตลาด
  2. ป้องกันที่เก็บน้ำไม่ให้ยุงมาไข่ เช่น ทำฝาปิดตุ่มน้ำ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงโดยคว่ำกะลา กระป๋อง หรือทำลายทิ้งเสีย เพื่อมิให้เป็นที่ขังน้ำ
  3. ภาชนะที่ใส่น้ำซึ่งปิดฝาไม่ได้ เช่น แจกัน ชามรองขาตู้ โต๊ะ ฯลฯ ต้องถ่ายน้ำใหม่ทุก 7 วัน
  4. แนะนำสมาชิกในครอบครัวให้ทราบถึงการป้องกันโรคนี้ เช่น ให้นอนกางมุ้ง หรือใช้มุ้งลวดกันยุง ถ้าสามารถทำได้ ให้ใช้ยาทากันยุงเมื่ออยู่นอกมุ้ง
  5. เมื่อเด็กเป็นไข้ในระยะที่มีไข้เลือดออกระบาด ให้รีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่าให้ยาลดไข้โดยพลการ
โรคไวล์ (Weils diseaes) เป็นโรคติดต่อเชื้อโรคติดต่อ เชื้อโรคชนิดนี้มีอยู่ในอุจจาระและปัสสาวะของสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร สุนัข และหนู เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้โดยทางแผล และรอยถลอกหรือรับประทานเข้าไป คนติดโรคนี้โดยรับประทานหรือสัมผัสจากน้ำจากท่อระบายน้ำเสีย หรือจากแหล่งน้ำสกปรกที่มีปัสสาวะและอุจจาระของสัตว์เหล่านี้ปนเปื้อนอยู่ ผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากได้รับเชื้อโรคแล้ว 5 - 13 วัน โดยมีไข้ ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อน่องจะปวดมาก บางรายอาจมีตาเหลือง มีเลือดออกจากเส้นโลหิตฝอย และตามผิวหนังผู้ป่วยที่มีอาการหนักจะถึงแก่กรรมด้วยอาการแทรกซ้อนทางสมองและไต โรคนี้ติดต่อได้ง่าย วิธีป้องกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำที่มาจากท่อระบายน้ำเสีย น้ำจากแหล่งน้ำสกปรกที่ปนเปื้อนปัสสาวะอุจจาระของ โค กระบือ หนู สุนัข และสุกร รวมทั้งช่วยกันกำจัดหนูตามอาคารและบริเวณที่พักอาศัยด้วย
การป้องกันเท้าเปื่อยระหว่างน้ำท่วม ในระหว่างฤดูฝนย่อมมีแหล่งน้ำขัง บางแห่งน้ำท่วมเป็นเวลานาน ทำให้มีความจำเป็นต้องย่ำน้ำไปประกอบอาชีพ เกิดเท้าเปื่อยเป็นจำนวนมาก มีอาการคัน เจ็บที่ง่ามเท้า และบางรายมีอักเสบ หรือแผลอีกด้วย ทำให้เจ็บปวดเวลาสวมรองเท้า
วิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันเท้าเปื่อย
  1. อย่าลงน้ำโดยไม่จำเป็นหรือยืนแช่น้ำนานๆ
  2. เมื่อถูกน้ำสกปรกแล้ว ต้องล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดหรือฟอกสบู่แล้วรีบเช็ดให้แห้ง โรยแป้งโรยเท้า
  3. ควรเปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน รองเท้าและถุงเท้าที่ใช้ต้องไม่เปียก
  4. ถ้าเท้าเริ่มแตกเป็นแผล หรือเป็นแผลคันตามง่ามเท้า และเกิดอักเสบให้ปรึกษาแพทย์
ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฏาคม 2528

(ลงชื่อ) พลโท อัศวิน เทพาคำ
( อัศวิน เทพาคำ )
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก


กลับสู่หน้าแรก

(สำเนา)
ประกาศกรมแพทย์ทหารบก
เรื่อง คำแนะนำการป้องกันโรคที่พบบ่อยในฤดูหนาว

ฤดูหนาวมีโรคหลายชนิดที่พบบ่อยกว่าฤดูอื่น กรมแพทย์ทหารบกมีความห่วงใยทหารและครอบครัว เกรงว่าจะเกิดการเจ็บป่วยขึ้น จึงขอแนะนำให้ทราบถึงโรคที่พบบ่อยในฤดูหนาวและการป้องกัน ดังนี้
1. โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อยในฤดูฝนและฤดูหนาว
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย
การติดต่อ เชื้อโรคเหล่านี้จะแพร่ออกมาพร้อมกับลมหายใจ น้ำมูก น้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยหรือพาหะ การไอจามหรือพูดจะทำให้เชื้อออกมากขึ้น ดังนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดจึงติดต่อได้ง่ายโดยหายใจเอาเชื้อโรคเข้าไป หรือเชื้อโรคอาจติดตามภาชนะผ้าเช็ดตัวหรือมือทำให้แพร่โรคต่อไปได้
อาการ อาการของโรคกลุ่มนี้มีแตกต่างกันแล้วแต่เชื้อโรค อวัยวะที่ติดเชื้อและเวลาที่เป็นโรค อาการเหล่านี้ ได้แก่ ไข้ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอ เจ็บหน้าอก หอบ ปวดเมื่อย โรคแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคกลุ่มนี้คือปอดอักเสบ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจตายได้
การป้องกันและควบคุม

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ที่แออัด การจัดที่พักทหารต้องมีอากาศถ่ายเทได้ดี
  2. กวดขันการสุขาภิบาลโรงเลี้ยง กาชนะเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับการประกอบอาหารและการบริโภคเองรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้าเจ้าหน้าที่ประกอบอาหารหรือเจ้าหน้าที่โรงเลี้ยงป่วยด้วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ต้องให้พักงานชั่วคราวจนกว่าจะหายเป็นปกติ
  3. ปฏิบัติตามหลักสุขศาสตร์ส่วนบุคคล โดยการไม่ใช้ภาชนะสำหรับใส่อาหาร ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้าร่วมด้วย เวลาไอจามต้องปิดปากและจมูก ไม่ถ่มน้ำลายและเสมหะลงตามพื้น
  4. รักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอเพื่อให้มีความต้านทานโรคที่สูงพอโดยออกกำลังกายพอควร ไม่ตรากตรำเกินไป และพักผ่อนให้พอเพียง หลีกเลี่ยงจากเหตุบั่นทอนสุขภาพ เช่น นอนดึก เสพของมึนเมา เป็นต้น บริโภคอาหารที่มีคุณค่าและเพียงพอ และรักษาร่างกายให้อบอุ่นโดยสวมเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ
  5. เมื่อมีผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจต้องรีบแยกไว้รักษาต่างหาก ทั้งนี้แล้วแต่เจ้าหน้าที่แพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆไป
2. โรคเยื่อตาอักเสบหรือโรคตาแดง พบว่าเคยระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส
การติดต่อ เชื้อโรคออกมากับขี้ตาของผู้ป่วย แล้วแพร่ไปสู่ผู้อื่นทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่น การใช้ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า หรือเครื่องใช้ร่วมกัน โรคนี้จะระบาดได้ง่ายในทหารที่พักอยู่รวมกัน หากมีคนใดคนหนึ่งเป็นโรคนี้ เชื้อโรคอาจติดมากับมือที่ใช้จับต้องของใช้ร่วมกับผู้ป่วยแล้วนำมาสัมผัสตา ทำให้เกิดการติดเชื้อได้อาจแพร่โดยแมลงหวี่ที่ชอบตอมตาหรือาจเกี่ยวกับการอาบน้ำในแหล่งน้ำที่มีผู้ใช้น้ำร่วมกันมากๆ
อาการ มีอาการอักเสบของเยื่อบุตาอย่างรุนแรง และมักมีเลือดออกใต้เยื่อบุตา ทำให้เคืองตามาก ตาพร่ามัว และมีน้ำตาไหลมาก หนังตาบวม อาจมีอาการตาแดงข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
การป้องกันและควบคุม
  1. เมื่อพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ต้องรีบแยกผู้ป่วยทันที และให้ส่งสถานพยาบาลใกล้เคียง
  2. ปฏิบัติตามสุขศาสตร์ส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องการไม่ใช้สิ่งของและภาชนะร่วมกัน ขณะเกิดการระบาดของโรคให้ระมัดระวังการติดเชื้อบริเวณห้องส้วม ห้องน้ำ และห้องอาหาร
  3. แนะนำให้ทหารทราบถึงอาการของโรคนี้ เมื่อปรากฏอาการที่น่าสงสัย ให้รีบปรึกษาเจ้าหน้าที่แพทย์ทันที
  4. เมื่อมีอาการตาแดงหรืออาการที่สงสัยว่าเป็นโรคนี้ไม่ควรล้างตาเพราะในน้ำตามีภูมิต้านทาน การล้างตาเท่ากับการล้างเอาภูมิต้านทานทิ้งไป และอาจทำให้เกิดการติดเชื้อลามจากตาข้างหนึ่งไปสู่ตาอีกข้างหนึ่งได้
  5. ถ้าทหารป่วยด้วยโรคนี้เกิน 5 % ให้รายงาน พบ.โดยด่วน
3. โรคภูมิแพ้ โรคกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนอุณหภูมิของอากาศ ได้แก่ โรคหืดหลอดลม และโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าโรคแพ้อากาศ
สาเหตุ เกิดจากปฏิกิริยาภูมิไวเกิน (ภูมิแพ้) ของร่างกายคนบางคนที่มีต่อสารหรือสิ่งแวดล้อมบางอย่าง สภาพอากาศที่เย็นหรือสภาวะที่เปลี่ยนอุณหภูมิก็เป็นสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยอย่างหนึ่งที่จะกระตุ้นผู้ป่วยให้มีอาการต่างๆ แล้วแต่ชนิดของโรคภูมิแพ้ ตัวอย่างสารที่ผู้ป่วยแพ้ ได้แก่ ฝุ่น เชื้อรา ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ เป็นต้น
การติดต่อ โรคกลุ่มนี้เป็นโรคไม่ติดต่อ แต่พบว่ามีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมคือถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานได้
อาการ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการไดๆ เลย ถ้าไม่ได้สัมผัสกับสารหรือสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยแพ้ แต่ถ้าสัมผัสกับสิ่งที่แพ้ ผู้ป่วที่เป็นโรคหืดหลอดลม จะมีการหอบแน่นหน้าอก ไอ หายใจลำบาก โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้จะมีอาการจาม มีน้ำมูกใสไหล คันจมูก อาการเหล่านี้จะเป็นๆ หายๆ แล้วแต่ว่าผู้ป่วยได้สัมผัสกับสิ่งที่เขาแพ้หรือไม่ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดได้ง่ายในฤดูหนาว ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะกระตุ้นให้ผู้ที่เป็นโรคหืดหลอดลม และโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ มีอาการได้ง่ายหรือมีอาการมากขึ้น
การป้องกัน
  1. หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้ เป็นวิธีที่ดีที่สุด ถ้าทราบว่าแพ้สารใด
  2. หลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสริมต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการขึ้น เช่น โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงหรือความเครียด
  3. หลีกเลี่ยงจากการกระทบกับความเย็น โดยสวมเสื้อผ้าให้อบอุ่น ดื่มน้ำอุ่น ไม่อยุ่ในที่มีอุณหภูมิเย็นจัดหรือร้อนจัด
  4. รักษาร่างกายให้แข็งแรง โดยออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ
  5. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษา
ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2530
(ลงชื่อ) พลโท สิงหา เสาวภาพ
( สิงหา เสาวภาพ )
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก

กลับสู่หน้าแรก
กลับสู่หน้าหลัก I การช่วยชีวิตฉุกเฉิน I ระบบทางเดินอาหาร I อุบัติเหตุ สารพิษ I ระบบทางเดินหายใจ I ดูอาการ I
1