โรคมาลาเรีย

เนื่องจากมาลาเรียยังเป็นปัญหาสำคัญทำให้กำลังพลของกองทัพบก ที่ทำการฝึกหรือปฏิบัติในภูมิประเทศที่มีเชื้อมาลาเรียแพร่กระจายสูง ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมาลาเรียบางรายถึงกับเสียชีวิต หน่วยเวชกรรมป้องกัน กองทัพบกขอแนะนำให้ทราบ สาเหตุ อาการ รวมทั้งวิธีการป้องกัน และการควบคุมโรคมาลาเรีย ดังต่อไปนี้
สาเหตุ โรคมาลาเรียเกิดจากเชื้อมาลาเรีย Plasmodium ซึ่ง เชื้อ โปรโตซัว เชื้อมาลาเรียมีอยู่หลายชนิดแต่ที่พบมากที่สุดในประเทศไทยเรามีอยู่เพียง 2 ชนิด
1.Plasmodium Falciparum
2.Plasmodium Vivax
เชื้อมาลาเรียติดต่อกันโดย"ยุงกันปล่อง"ไปกัดผู้ที่มีเชื้อมาลาเรีย อยู่แล้ว ซึ่งเชื้อจะเจริญในยุงจนเป็นระยะติดต่อแล้วเข้าสู่ต่อมน้ำลายยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะปล่อยเชื้อเข้าสู่คน เชื้อจะเจริญเติบโตในเซลล์ตับ และเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกและจะทำให้เกิดอาการต่างๆขึ้น ระยะเวลาตั้งแต่เชื้อมาลาเรียเข้าสู่ร่างกายของคนจนเกิดอาการ (ระยะฟักตัว) ประมาณ 14 วัน อาการสั้นหรือยาวกว่าแล้วแต่ชนิดของเชื้อภูมิต้านทานของผู้ป่วยและการรับประทานยาป้องกันมาลาเรีย
พื้นที่ที่พบว่ามีเชื้อมาลาเรียระบาดสูงคือพื้นที่ที่มียุงก้นปล่องชุกชุม มักเป็นพื้นที่ป่าเขาโดยเฉพาะบริเวนชายแดนไทย - พม่า และ ไทย - กัมพูชา ที่มีแหล่งน้ำขัง จึงพบผู้ที่ป่วยเป็นมาลาเรียมากในฤดูฝน
อาการ เริ่มด้วยอาการไม่สบาย 2 - 3 วัน ต่อมามีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย คลื่นใส้ อาเจียน มักมีไข้เป็นพักๆ ถ้าเชื้อเป็นชนิด Palciparum อาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น มาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ เหลือง ซีด ปัสสาวะต่ำ ไตวาย ปอดบวมน้ำ ทำให้เสียชีวิตได้

การป้องกัน

1. การป้องกันโดยทั่วไป
การป้องกันส่วนบุคคล ชี้แจงให้กำลังพลเข้าใจเรื่องมาลาเรีย และยุงพาหะและป้องกันไม่ให้ยุงกัดเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยใช้วิธีการดังนี้.-- การควบคุมพาหะและสิ่งแวดล้อม
2. การใช้ยาป้องกัน
ไม่นิยมให้ใช้ เพราะจะทำให้เชื้อดื้อยา เกิดการแพ้ยา หรืออาการข้างเคียงของการใช้ยาได้ยกเว้นกรณีจำเป็นให้ปรึกษา กรมแพทย์ทหารบกก่อน
การรักษา
ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของกองมาลาเรีย กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข และกรมแพทย์ทหารบก ซึ่งจะมีการแก้ไขตามระบาดวิทยาของโรคและการดื้อยา ของเชื้อมาลาเรีย
ในกรณีที่ไปปฏิบัติงานในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรีย เมื่อมีอาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นมาลาเรีย และไม่สามารถเจาะเลือดเพื่อการตรวจการติดเชื้อได้ให้ รับประทานยา 2 วัน วันแรกรับประทานยา Artesunate 50 mg 6 เม็ด ร่วมกับ Mefloquine 250 mg 3 เม็ด วันที่ 2 รับประทานยา Artesunate 50 mg 6 เม็ด ร่วมกับ Mefloquine 250 mg 2 เม็ด โดยรับประทานวันละครั้งเดียวหลังอาหาร เมื่อออกจากพื้นที่หรือมีโอกาสควรได้รับการเจาะเลือดตรวจวินิจฉัย การติดเชื้อมาลาเรียโดยเร็วที่สุด


กลับสู่หน้าหลัก I การช่วยชีวิตฉุกเฉิน I ระบบทางเดินอาหาร I อุบัติเหตุ สารพิษ I ระบบทางเดินหายใจ I ดูอาการ I อุบัติเหตุ สารพิษ I การชุบมุ้ง I การปฏิบัติงานในสนาม
1