การชุบสารเคมีเพื่อควบคุมไข้มาลาเรียตามเขตชายแดน
ประสิทธิภาพของเพอร์เมทริน(Permethrin) และเดลต้าเมทริน(Deltamethrin) ในการป้องกันไข้มาลาเรีย
ไข้มาลาเรียเป็นปัญหาสำคัญสำหรับทหารที่ออกปฏบัติงานในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา และชายแดนไทย - พม่า ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเชื้อมาลาเรีย
สายพันธ์ที่ดื้อต่อยาป้องกันและยารักษาทำให้มีการสูญเสียกำลังพลที่ออกปฏิบัติงานโดยไม่จำเป็น ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยอาจทำ
ได้ทั้งการทายากันยุง การนอนกางมุ้ง และการใช้สารเคมี ในประเทศไทยได้เน้นหนักการควบคุมโดยการใช้สารเคมีควบคุมยุงพาหะเป็นเวาลากว่า 40 ปี
จากการศึกษาพบว่า สารไพรีทรอยด์มีการใช้มานานกว่าครึ่งศตวรรษ เพอร์เมทรินและเดลต้าเมทรินเป็นสารสังเคราะห์ จากไพรีทรอยด์ตัวหนึ่งที่ผ่านการ
ทดสอบว่าเป็นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพดี ในกาควบคุมแมลงโดยเฉพาะ ในทางสาธารณสุขสารนี้มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้อยมากแต่มีพิษต่อแมลงสูง
สามารถนำมาควรคุมยุงที่มีเชื้อไข้มาลาเรียได้ดี คุณสมบัติอย่างหนึ่งของเพอร์เมทริน คือมีฤทธิ์ไล่ยุง(Repellent) สำหรับเดลต้าเมทริน ค้นพบโดย Dr.Ellioett
ในปี 1974 ให้ผลดีในการฆ่าแมลงมากกว่า DDT 100 เท่า มีพิษตกค้างทรนานแต่ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เมื่อใช้ในขนาดที่เหมาะสม ในปี พ.ศ.2528 องค์
การอนามัยโลกได้รับรองให้นำมาใช้ในการควบคุมยุงพาหะมาลาเรียได้ เพราะมีความปลอดภัยสูงและให้ผลดีในการควบคุมโรค
ตารางการใช้สารเคมีในการชุขสารเคมีป้องกันไข้มาลาเรีย
ชนิด
|
พื้นที่/หน่วย |
อัตราการดูดซับน้ำ/หน่วย |
อัตราการผสมใช้/ชุด(สารเคมี+น้ำ) |
สารเคมีที่ใช้ |
ปริมาณสารออกฤทธิ์(มิลลิกรัม/ตารางเมตร) |
มุ้ง |
8.5 ตร.ม |
1,120 CC |
17 cc + 1,130 cc |
Deltamethrin 1% sc |
20 mg/m |
เสื้อ-กางเกง |
4.5 ตร.ม |
1,460 CC |
22.5 cc + 1,437 cc |
Deltamethrin 10% ec |
500 mg/m |
เปล |
10 ตร.ม |
700 CC |
20 cc + 680 cc |
Deltamethrin 1% sc |
20 mg/m |
ตัวอย่างการคำนวนชุบเปล
ข้อสำคัญคือต้องทราบว่ามุ้งหรือเสื้อผ้าที่จะชุบสารเคมีนั้นมีขนาด(ตารางเมตร)เท่าไร
ต้องใช้น้ำเท่าไร ต้องการตัวเนื้อสารเคมีเท่าไร แล้วจึงคำนวณหาปริมาณน้ำยาที่จะต้องใช้ดังตัวอย่างข้างล่างนี้
สารเดลตาเมทรินความเข้มข้น 1% นั่นคือถ้าต้องการปริมาณสารออกฤทธิ์ 1 กรัม ต้องใช้น้ำยา 100 cc
หากต้องการสาร 200 มิลลิกรัม(0.2 กรัม) จึงต้องใช้น้ำยา (100/1)*0.2 =20 cc
จากนั้นให้มาดูต่อว่าต้องการน้ำสำหรับดูดซับเป็นปริมาณเท่าไร
ก็ให้ใส่เพิ่มโดยต้องไม่ลืมหักปริมาณน้ำยาออกไปเสียก่อนด้วย มิฉะนั้นท่านจะใส่น้ำจำนวนมากเกินไป
วิธีการชุบมุ้ง เครื่องแบบชุดฝึก และเปลสนาม
1. ทำความสะอาดมุ้งก่อนที่จะทำการชุบสารเคมี
2. พับมุ้งที่จะชุบให้เรียบร้อยโดยการพับแบบสลับฟันปลาเพื่อให้น้ำยาแทรกซึมเข้าไปในเนื้อวัสดุที่ใช้ทำมุ้งได้อย่างทั่วถึง
3. เตรียมน้ำยาโดยตวงน้ำยาตามขนาดและจำนวนที่กำหนดไว้ในตาราง
4. เทน้ำในปริมาณที่กำหนดไว้ใส่ในภาชนะที่ใช้ในการชุบมุ้งจากนั้นคนให้น้ำและน้ำยาเข้ากัน
5. เทน้ำยาที่เตรียมไว้ใส่ลงในภาชนะที่มีน้ำยาเตรียมไว้
6. น้ำมุ้งที่เตรียมไว้ใส่ลงใปภาชนะที่มีน้ำยาเตรียมไว้
7. ทำการคลุกเคล้าให้น้ำยาเปียกมุ้งทั่วถึงกัน
8. จากนั้นนำมุ้งที่ชุบน้ำยาเรียบร้อยไปตาก โดยให้ตากมุ้งแบบแผ่บนพี้นราบในที่ร่ม ควรระวังอย่าให้มุ้งซ้อนทับกันเป็นปึก
9. เมื่อตากมุ้งแห้งดีแล้วจึงนำไปใช้งานได้
หมายเหตุ
- สำหรับเครื่องแบบและเปลให้ปฏิบัติตามกรรมวิธีเดียวกัน
- สำหรับเครื่องแบบ เมื่อทำการชุบสารเคมีแล้วจะอยู่ได้นานประมาณ 2 เดือน
- สำหรับเปลและมุ้ง เมื่อทำการชุบสารเคมีแล้วจะอยู่ได้นานประมาณ 6 เดือน
- สำหรับเครื่องแบบ เปล และมุ้ง เมื่อนำไปซักก่อนกำหนดจะทำให้ปริมาณสารออกฤทธิ์จะหายไปประมาณ 50 %
ข้อแนะนำ
1. ควรเขย่าขวดสารเคมีก่อนการผสมและควรคนสารเคมีที่ผสมแล้วให้ทั่วถึงก่อนการชุบทุกครั้ง
2. หลังชุบมุ้ง เครื่องแบบ และเปลเสร็จแล้วห้ามบิดผ้า
ปล่อยให้น้ำสารเคมีหยดลงเองจนหยุดหยดแล้วจึงนำเอาผ้าไปผึ่งลมในที่ร่มให้แห้ง
3. ผ้าที่นำมาชุบควรซักให้สะอาดเสียก่อนแล้วจึงนำมาชุบ จะให้ผลในการควบคุมแมลงได้ดียิ่งขึ้น
4. หลังจากจับมุ้งที่ยังเปียกน้ำยาอยู่ เพื่อตากหรือพลิกมุ้งทุกครั้งนั้น ต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งควรถือปฏิบัติเช่นนี้ทุกครั้งจนกว่ามุ้งจะแห้ง
5. มุ้งที่ตากแห้งใหม่ๆ เมื่อนำมากางนอนบางคนอาจจะแพ้น้ำยา เกิดอาการจาม น้ำมูกไหล เวลาเข้านอนในมุ้ง หากมีอาการมากจนนอนไม่หลับ
ให้ตลบมุ้งขึ้นพาดไว้บนหลังคามุ้งจะช่วยลดอาการลงและสามารถไล่ยุงได้พอสมควร หลังจากตื่นนอนตอนเช้าแล้วให้กางมุ้งลงไว้ตลอดวัน ทำเช่นนี้
ไว้จนกว่าอาการจะหายไป
6. หลังจากชุบมุ้งแล้วไม่ควรซักมุ้งจนกว่าจะถึงกำหนดขุบมุ้งอีกครั้ง
สรุป
ฉะนั้นการใช้สารเพอร์มิทริน และเดลต้าเมทริน เพื่อป้องกันมาลาเรียนั้น ปัจจัยสำคัญที่จะใช้ได้ผลคือจะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และจากข้อจำกัด
ที่ระบุไว้ในเรื่องการแต่งกายของกำลังพลคือตามปกติจะมีการเปลี่ยนเครื่องแบบเป็นชุดวอร์ม หรือกางเกงขาสั้นในช่วงบ่ายถึงค่ำ เพื่อพัฒนาหน่วยหรือ
ออกกำลังกายหลังจากอาบน้ำตอนเย็นกำลังพลก็มิได้แต่งเครื่องแบบ นอกจากในรายที่อยู่เวรหรือออกลาดตระเวณ ฉะนั้นการป้องกันไข้มาลาเรียโดยใช้
สารเคมีชุบเครื่องแบบ เปล และมุ้ง จะช่วยลดอัตราความชุกของไข้มาลาเรียลงได้มาก แต่ถ้าจะให้ได้ผลดีมากควรใช้ร่วมกับมาตรการอื่น เช่น
การใช้ยาทาป้องกันยุงในช่วงที่ไม่ได้แต่งเครื่องแบบ
กลับสู่หน้าหลัก I
การช่วยชีวิตฉุกเฉิน I
ระบบทางเดินอาหาร I
อุบัติเหตุ สารพิษ I
ระบบทางเดินหายใจ I
ดูอาการ I
อุบัติเหตุ สารพิษ I
การบริการน้ำ I
การปฏิบัติงานในสนาม