แนวทางการปฏิบัติของหน่วยเพื่อการออกปฏิบัติการสนาม

ด้วยการปฏิบัติราชการนอกที่ตั้งปกติเป็นหน่วย สภาพแวดล้อมต่างๆ อาทิ ภูมิอากาศ,แหล่งน้ำพาหะนำโรค ย่อมจะเลวกว่า ที่ตั้งปกติ อีกทั้งยังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับปัจจัยด้านการยุทธและที่สำคัญ ยิ่งคือขีดจำกัดของ สป.ที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง สป.หลายๆประการล้าสมัย ปางประการต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะ ดังนั้นจึงปรากฏ อยู่เสมอว่าการปฏิบัติด้านเวชกรรมป้องกันในสนามมักมีอุปสรรค โดยที่อุปสรรคหรือปัญหาเหล่านั้นสามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ หากมีการเตรียมการเป็นอย่างดี แนวทางการปฏิบัติของหน่วยเพื่อการออกปฏิบัติการในสนามนี้จะสามารถใช้เป็นแนวทางหลักเพื่อ ประกอบการพิจารณากำหนดการปฏิบัติส่วนรายละเอียดของแต่ละหน่วยต่อ
แนวทางการปฏิบัติก่อนออกปฏิบัติการ Pre-Operation
1.จุดสำคัญที่ผู้บังคับหน่วยควรให้ความสนใจ
1.1 กำลังพลที่จะออกปฏิบัติการมีสุขภาพร่างกายเป็นอย่างไร มีใครป่วยเป็นโรคประจำตัวอะไรบ้าง มีใครป่วยด้วยโรคร้ายแรง อย่างเช่น
มาลาเรียบ้าง มีใครใช้ยารักษาโรคเป็นประจำบ้าง
1.2 กำลังพลที่จะออกปฏิบัติการโดยเฉพาะระดับผู้บังคับบัญชามีทัศนคติต่อการป้องกันโรคมากน้อยเพียงไร อันเป็นสิ่งที่แสดง ถึงความพร้อมทางจิตใจของกำลังพลในการที่จะปฏิบัติการตามมาตรการด้านเวชกรรมป้องกันต่างๆ อย่างเต็มที่โดยพิจารณาไปพร้อมๆ กับการพิจารณาด้านการยุทธ
1.3 พื้นที่ที่กำลังพลจะออกปฏิบัติการมีสภาพภูมิประเทศ/ภูมิอากาศเป็นอย่างไร มีโรคติดต่อในพื้นที่อะไรบ้าง มีสัตว์/พืชมีพิษอะไรบ้าง มีพาหะนำโรคชนิดใดบ้าง มีแหล่งน้ำที่เหมาะสมหรือไม่ มีสถานพยาบาลจำนวนเท่าไร และตั้งอยู่ที่ใดบ้างในบริเวณใกล้เคียง
1.4 จากข้อมูลที่ได้ในข้อ 1.1,1.2,1.3,ผู้บังคับหน่วยสามารถนำมาประเมินโอกาสการสูญเสียที่มิใช่สาเหตุจากการรบ(Disease and Non Battle Injuries;DNBI) โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาสุขภาพต่างๆ อาทิจากโรคประจำตัว จากการใช้ยา และจากการติดโรคติดต่อร้ายแรง เช่น โรคมาลาเรีย ว่ามีมากน้อยเพียงไร อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้หรือไม่
1.5 จากข้อมูลในข้อ 1.4 จะเป็นที่มาของมาตรการด้านเวชกรรมป้องกันที่ทุกหน่วยสามารถบังคับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์กำลังพล และสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
2. แนวทางการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุแต่ละจุดสำคัญในข้อ 1.(ก่อนการออกปฏิบัติการ)
2.1 หนทางของการได้มาซึ่งข้อมูลในข้อ 1.1 และ 1.2 สามารถปฏิบัติได้หลายหนทาง แต่วิธีการที่สะดวกและมีความถูกต้องตามหลักวิชาคือ การใช้แบบสอบถาม ซึ่งหน่วยอาจจะกำหนดขึ้นเองหรือหารือกับหน่วยงานที่มีความชำนาญในการกำหนดขึ้น หรืออาจร้องขอการสนับสนุนจากหน่วย เวชกรรมป้องกัน กองทัพบก ซึ่งเป็นหน่วยที่มีหน้าที่ให้การสนับสนุนในการบริการทางเวชกรรมป้องกัน เป็นส่วนรวมแก่หน่วยต่างๆ ทั่วกองทัพบกได้
2.2 หนทางของการได้มาซึ่งข้อมูลในข้อ 1.3,1.4 และ 1.5 นั่น ต้องดำเนินการสำรวจปัจจัยต่างๆ โดยอาจใช้เจ้าหน้าที่เสนารักษ์ดำเนินการเป็นการ ล่วงหน้าจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคาระห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ อย่างครอบคลุม อันจะได้มาซึ่งมาตรการต่างๆ อาทิมาตรการควบคุม มาตรการการสุขาภิบาล โดยอาศัยคำแนะนำของกรมแพทย์ทหารบกที่มีอยู่อย่างถูกต้องแล้วการปฏิบัติในข้อนี้หากหน่วยพิจารณาเห็นว่าเกินขีดความ สามารถ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนให้หน่วยเวชกรรมป้องกัน กองทัพบก ปฏิบัติให้ได้
2.3 การร้องขอการสนับสนุนจากหน่วยเวชกรรมป้องกัน กองทัพบก เพื่อการนี้หน่วยสามารถร้องขอมายังกรมแพทย์ทหารบก เพื่อสั่งการมายัง หน่วยเวชกรรมป้องกัน กองทัพบกได้ แต่จะเป็นการดีอย่างยิ่งหากได้ประสานให้ทราบก่อนที่จะออกปฏิบัติการเป็นระยะเวลานานพอสมควร
แนวทางปฏิบัติเมื่ออยู่ในสนาม During-Operation
หากได้มีการเตรียมการที่ดีตั้งแต่ก่อนออกปฏิบัติการแล้วจุดสำคัญขณะที่อยู่ในสนามจะมีเพียง 2 จุดคือ
  1. การกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรการ การเวชกรรมป้องกัน ทั้งนี้ต้องให้มีความสอดคล้องกับการปฏิบัติด้านยุทธการ
  2. การเฝ้าระวังการเจํบป่วยต่างๆ ซึ่งเมื่อพบว่ามีการเจ็บป่วยแล้วต้องรีบดำเนินการทันที
  3. แต่หากประสพปัญหาอุปสรรค แม้ว่าจะได้เตรียมการอย่างดีแล้วหน่วยควรรีบหาหนทางแก้ไขเมื่อหน่วยได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเกินขีดความสามารถหรือ ปัญหามีแนวโน้มจะลุกลามเป็นปัญหาสำคัญที่ยากแก่การแก้ไข หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนจากหน่วยเวชกรรมป้องกัน กองทัพบกได้เช่นกัน
แนวทางปฏิบัติเมื่อกลับเข้าสู่ที่ตั้งปกติ Post-Operation
  1. ตรวจสอบกำลังพลที่ออกปฏิบัติการว่ามีกำลังพลผู้ใดมีอาการเจ็บป่วยบ้าง ด้วยโรคอะไร และในขณะนี้โรคที่เป็นแล้วหายดีแล้ว หรือยังต้องรับ การรักษาต่อ ทั้งนี้เนื่องจากโรคบางชนิดกำลังพลอาจได้รับเชื้อโรคแล้วแต่ยังไม่มีอาการเนื่องจากอยู่ในระยะฟักตัว หรือเป็นระยะซ่อนตัวของเชื้อก็ได้ ดังเช่น โรคมาลาเรีย ดังนั้นกำลังพลทุกนายควรได้รับการตรวจแม้ว่าจะมีอาการผิดปกติหรือไม่ก็ตาม
  2. ตรวจสอบการสูญเสียกำลังพลอันมีสาเหตุที่มิใช่จากการรบ(Disease and Non Battle Injuries;DNBI) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปัญหาสุขภาพ แล้วเปรียบเทียบกับการประเมินที่ได้ดำเนินการตั้งแต่ก่อนออกปฏิบัติการตามข้อ 1.4
  3. ประเมินผลการกำหนดมาตรการด้านเวชกรรมป้องกันว่ามีการปฏิบัติที่ได้ผลมากน้อยเพียงใด มีข้อควรปรับปรุงอย่างไร และการให้ข้อแนะนำ ต่อกรมแพทย์ทหารบกก็จะส่งผลอย่างดียิ่งต่อการพัฒนางานเวชกรรมป้องกันของกองทัพบก

กลับสู่หน้าหลัก I การช่วยชีวิตฉุกเฉิน I ระบบทางเดินอาหาร I อุบัติเหตุ สารพิษ I ระบบทางเดินหายใจ I ดูอาการ I อุบัติเหตุ สารพิษ I การบริการน้ำ I แบบสำรวจ
1