สัตว์พาหะนำโรคที่สำคัญทางการแพทย์
ยุง [Mosquito]
ยุงจัดอยู่ในสัตว์จำพวกแมลง มี 6 ขา ลำตัวเป็นปล้อง มีปีก 1 คู่ อีก 1 คู่หดหายไปหรืออาจเหลือเป็นปุ่มอยู่ติดหลังปีก ใช้เป็นประโยชน์
ในการทรงตัวหรือบิน ยุงมีระยะการเจริญเติบโต แบ่งเป็น 4 ระยะ เริ่มจาก ระยะ ไข่ - ลูกน้ำ - ตัวโม่ง - ตัวเต็มวัย
นิสัยของยุง ยุงตัวผู้และยุงตัวเมียจะมีจำนวนเท่าๆ กันตัวผู้จะออก
จากลูกน้ำก่อนหลังจากตัวเมียออกจากลูกน้ำไม่นานก็จะผสมพันธุ์กันได้ ยุงตัวเมียเท่านั้นที่ดูดกินเลือด ตัวเมียจะบินได้ไกลและมีชีวิตยาวกว่า
ตัวผู้ การบินของยุงมีลักษณะเฉพาะของยุงแต่ละชนิด เช่นยุงลายจะไม่บินไกล อาศัยอยู่ตามบ้านเรือน ส่วนยุงก้นปล่อง และยุงรำคาญ จะบิน
ได้ไกล ยุงก้นปล่องบางชนิดบินได้ไกลถึง 16 กม. ยังมีบางชนิดบินไกลถึง 32 กม. หรือกว่านั้นการกินเลือดของยุงแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะ
เช่น บางชนิดกินเลือดวัว ควาย ม้า และสัตว์เลี้ยงต่างๆ บางชนิดกินเลือดคน เวลาที่ออกหากินก็ไม่เหมือนกัน ชวิตของยุงมีระยะเวลาประมาณ
1 - 2 เดือน แต่บางขณะสภาพภูมิอากาศไม่อำนวยชีวิตยุงก็จะสั้นเข้ามาอีก
ยุงและการนำโรค
ยุงลาย ยุงลายเป็นตัวการสำคัญในการนำโรคไข้เลือดออกใน
ประเทศไทย ชอบอาศัยอยู่ตามบ้านเรือน คือบริเวณรอบๆ บ้าน หรือในบ้าน แหล่งเพาะพันธุ์ได้แก่ ภาชนะที่มีน้ำขังค่อนข้างสะอาด เช่น ตุ่มน้ำ
ถังซีเมนต์ใส่น้ำอาบ น้ำรองขาตู้กับข้าว ยางรถยนต์เก่าๆ กระป๋อง เป็นต้น ช่วงเวลาที่ชอบออกหากินที่สุดคือเวลา 0900 - 1100 และ 1400 - 1600
ยุงรำคาญ เป็นตัวการนำโรคไข้สมองอักเสบ บางชนิดเป็นตัวการ
นำโรคไข้เหลือง และโรคเท้าช้าง และบางชนิดไม่นำโรคอะไรเลยนอกจากทำความรำคาญเนื่องจากการกัด ทำให้คัน ในบางคนอาจมีอาการแพ้เกิด
เป็นแผลพุพองได้ แหล่งเพาะพันธุ์ได้แก่ ตามแหล่งน้ำเน่า ตามท้องทุ่งนา หรือทุ่งหญ้าที่มีน้ำขัง ช่วงเวลาที่ชอบออกหากินที่สุดคือ เวลากลางคืน
ตั้งแต่พลบค่ำจนประมาณ 0200 แล้วจะค่อยๆ ลดจำนวนลงเมื่อเริ่มสว่าง
ยุงก้นปล่อง เป็นตัวการนำไข้มาลาเรีย มี 4 ชนิดแต่ละชนิดมี
มีแหล่งเพาะพันธุ์ที่แตกต่างกันดังนี้.-
ชนิดที่ 1 เพาะพันธุ์ตามลำธารที่มีน้ำใสสะอาดเอื่อยๆ มีหญ้าขึ้นตามขอบและมีแสงแดดส่องถึงจะไม่เพาะพันธ์ในแหล่งน้ำนิ่ง
หรือไหลแรงๆ ชอบอยู่ตามเชิงเขา ในตอนกลางวันจะบินมาเกาะพักตามบ้านเรือนบริเวณมือๆ ชอบดูดกินเลือดคน
ชนิดที่ 2 เพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำตื้น มีร่มเงา เช่นปลักตมของสัตว์ รองเท้าส้ตว์ และแหล่งน้ำชั่วคราวที่มีน้ำใส มีใบไม้แห้ง
ขอบอยู่ตามเขา และป่าเชิงเขา กัดคนตอนกลางคืนตั้งแต่ประมาณ 2200 และมากที่สุดหลังเที่ยงคืน
ชนิดที่ 3 เพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำกร่อยที่รับแสงแดดมาก ๆ และมีสาหร่ายทะเล
ชนิดที่ 4 เพาะพันธุ์ตามน้ำพุ น้ำซึม น้ำซับ และลำธารเล็กๆ ที่มีแสงแดดส่องถึงบ้าง และเกาะพักตามพุ่มไม้เตี้ยๆ
ยุงเสือ เป็นตัวการนำโรคเท้าช้าง จะไข่ในแหล่งน้ำที่มีพืชลอยอยู่ ได้แก่
พวกจอก จอกหูหนู ผักตบชวา รวมทั้งแหล่งนำที่มีหญ้าบางชนิดขึ้นอยู่ พบมากทางจังหวัดในภาคใต้ เช่น จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง
ปัตตานี นราธิวาส และจังหวัดที่อยู่ตามแนวชายแดนไทย - พม่า เช่น แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี เพชรบุรี และระนอง
ผู้ป่วยโรคเท้าช้างที่เกิดจากพยาธิ |
ชนิด วูคเคอเรีย แบนครอฟไต (Wuchereria bancrofi) |
วิธีการป้องกันและการกำจัดยุง
1.การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ควรทำความสะอาดและทำลายเศษภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กระป๋อง
ขวด กะลา หรือภาชนะอื่นไดที่สามารถกักเก็บน้ำได้ ตุ่มน้ำควรมีฝาปิด ถมพื้นดินที่เป็นหลุมเป็นบ่อให้หมด ทำทางระบายน้ำให้สามารถระบายน้ำได้
ที่ลุ่มชายทะเลจัดให้มีคูคลองเป็นตาข่ายเพื่อให้น้ำทะเลขึ้นถึงจะได้ชะล้างแหล่งเพาะพันธุ์ยุง หรือเพื่อให้ปลาชนิดกินลูกน้ำเข้ามาถึงได้ กำจัดหญ้าที่ปกคลุม
ขอบทางระบายน้ำเพราะเป็นแหล่งหลบซ่อนของลูกน้ำ ควรใช้คราดหรือจอบชักลากเอาจอกแหน และผักตบชวาทิ้งให้หมด ควรจัดโครงการเก็บทำลาย
สิ่งปฏิกูลต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำเน่า ควรติดมุ้งลวดตามบ้านเรือน อาคารโรงนอน เพื่อป้องกันยุง
2.การใช้สารเคมีในการป้องกัน และการกำจัด
2.1 ใส่ทรายอะเบตในถังคอนกรีต , ตุ่มเก็บน้ำอาบ หรือใต้ถุนอาคารสถานที่ทำงาน และบ้านพักที่มีแหล่งน้ำขังและไม่สามารถระบายน้ำ หรือถมได้
2.2 ภายในอาคารสถานที่ทำงาน หรือภายในบ้านพัก สามารถใช้เคมีชนิดฉีดพ่นกำจัดแมลงที่มีขายอยู่ทั่วไปฉีดพ่นกำจัดได้ ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
2.3 ในหน่วยทหาร หรือบ้านพักที่มีบริเวณกว้างๆ ผบ.หน่วยสามารถขอรับการสนับสนุน จนท.เวชกรรมป้องกัน จาก รพ.ค่าย, รพ.ทภ.หรือ บชร.
เพื่อทำการฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุง และโรยสารเคมีกำจัดลูกน้ำได้ หากเกินขีดความสามารถของหน่วยหรือกรณีเร่งด่วน อาจของรับการสนับสนุนโดยตรง
มายัง พบ.ได้
2.4 หน่วยที่ออกปฏิบัติราชการสนาม หากเกินขีดความสามารถของหน่วย อาจขอรับการสนับสนุนการฉีดพ่นเคมีสารกำจัดแมลง จากศูนย์มาลาเรีย
หน่วยมาลาเรีย หรือส่วนมาลาเรีย ของสาธารณสุขในพื้นที่
แมลงสาบ
แมลงสาบเป็นสัตว์ที่มีอยู่ทั่วโลก ในเมืองร้อนจะมีมากกว่าทุกแห่ง รูปร่างแบนมีสีต่างๆ กันแล้วแต่ชนิดของมัน แมลงสาบไม่เพียงแต่จะทำให้อาหารมี
กลิ่นเหม็น ชวนคลื่นไส้เท่านั้น มันยังสมารถน้ำเชื้อโรคหลายชนิดมาสู่คนได้ เช่น ท้องเดิน บิด ไทฟอยด์ อหิวาต์ อาหารเป็นพิษ โรคผิวหนัง บางชนิดทำให้เกิด
อาการแพ้ของระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดปัญหาการควบคุมอาหารในณงประกอบอาหารของหน่วยอยู่เสมอๆ
การควบคุม แมลงสาบมีนิสัยชอบอยู่ในที่มืดๆ และเงียบ เช่น ในห้อง
เก็บของ รางหรือท่อระบายน้ำ ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ใต้ถุนบ้านพัก และสถานที่ทำการของหน่วย ดังนั้น ผบ.หน่วยควรพิจารณาดำเนินการเพื่อป้องกันและ
กำจัดดังนี้
1. การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ผบ.หน่วยต้องกำกับดูแลในเรื่องการสุขาภิบาลอย่างเข้มงวด อาคารที่ทำการของหน่วยและบ้านพัก ต้องไม่รกรุงรัง รักษา
ความสะอาดและความเป็นระเบียบ ควรจัดเจ้าหน้าที่ตรวจตรา และคอยกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และเศษอาหารเพื่อมิให้เป็นอาหารของแมลงสาบ
2. การใช้เคมีสารกำจัดและทำลาย
2.1 ใช้เคมีสารชนิดกระป๋องฉีดพี่นเมื่อเห็นตัว หรือพบรัง , ที่ซ่อนของมัน
2.2 ใช้เคมีสารชนิดผงโรยตามทางเดินของแมลงสาบ หรือตรงรูที่แมลงสาบเข้าออกเสมอหรือบริเวณที่สงสัยว่าเป็นที่หลบซ่อน
2.3 ใช้เหยื่อสำหรับเบื่อแมลงสาบ
2.4 หากเกินขีดความสามารถของหน่วย ขอรับการสนันสนุน จนท.เวชกรรมป้องกันเช่นเดียวกับการกำจัดยุง
เรือด
เรือดเป็นแมลงอีกชนิดหนึ่งที่พบว่าเป็นปัญหาของหน่วยต่างๆ อยู่เสมอมา นอกจากจะก่อความรำคาญจากการกัดทหารที่นอนหลับพักผ่อน ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ
ร่างกายทรุดโทรมแล้ว ยังทำให้ผิวหนังบริเวณที่ถูกกัดเกิดการอักเสบบวมได้ เรือดที่มีขนาดตัวเต็มวัยจะใช้เวลาดูดกินเลือดประมาณ 10 - 15 นาที แล้วเรือดจะออกจาก
เหยื่อหลบซ่อนตามร่องรอยแตกของไม้กระดานเตียง ตะเข็บที่นอน พื้นห้อง เรือดอาจมีชีวิตอยู่หลายเดือนโดยไม่ต้องกินอาหาร
การควบคุมและป้องกัน ใช้สารเคมีฆ่าแมลงฉีดพ่นตามกระดานเตียง และชุบเช็ดตามที่นอน และถูพื้นห้อง พื้นอาคารด้วยสารเคมีฆ่าแมลง
แมลงวัน
แมลงวันมีนิสัยชอบไต่ตอมสิ่งปฏิกูลต่างๆ พบมากมายตามกองขยะ แมลงวันตัวเมียจะวางไข่ครังละ 75 - 150 ใบ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส - 35 องศาเซลเซียส
ไข่จะฟักตัวภายใน 8 - 12 ชม. แมลงวันเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญมากมายอาทิเช่น อหิวาต์ ไทฟอยด์ พาราไทฟอยด์ แอนแทรกซ์ เป็นต้น
การควบคุม พยามป้องกันไม่ให้แมลงวันมาตอมอาหาร ควรใช้ฝาชีคลุมอาหาร พร้อมทั้งกำจัดสิ่งปฏิกูลซึ่งเป็นอาหารของแมลงวัน
ให้หมดสิ้น ถังขยะตามกองร้อย และบ้านพัก ต้องมีฝาปิดมิดชิด มื่อพบแหล่งเพาะพันธ์ให้เผาทำลายเสีย หรือใช้สารเคมีฆ่าแมลงฉีดพ่นเพื่อทำลายตัวอ่อน และตัวแก่
ผบ.หน่วยต้องวางแผนจัดระบบสุขาภิบาลให้ดี และกวดขันกำลังพลให้ปฏิบัติตามนโยบาย หรือคำสั่งสุขาภิบาลของหน่วยอย่างเคร่งครัด หากแมลงวันมีจำนวนมาก
และมีการแพร่ระบาดของโรคที่นำโดยแมลงวัน ผบ.หน่วยร้องขอรับการสนับสนุน จนท.เวชกรรมป้องกัน จากหน่วยเหนือได้
หมัด
หมัดเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อคนมาก มันสามารถนำโรคร้ายมาสู่คน หมัดที่กัดคนนั้นตอนแรกมันจะอาศัยอยู่กับแมว สุนัขและหนู เมื่อคนไปใกล้ชิดกับสัตว์ดังกล่าว
ก็อาจมีโอกาศติดโรคได้ง่าย ในค่ายทหาร บ้านพัก หรือพื้นที่ใดก็ตามที่มีสุนัข หรือหนูชุกชุม ก็พึงเข้าใจว่าอาจมีภัยจากโรคร้ายได้
หมัดจะกัดเฉพาะสัตว์เลือดอุ่น ตัวเมียจะกินเลือดก่อนที่มันจะไข่ ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 2 -- 3 วัน หรืออาจถึง 1 สัปดาห์ ตัวอ่อนจะเจริญมีเกราะแข็ง
กลายเป็นดักแด้ ในที่สุดจะโผล่ออกจากเปลือกกลายเป็นตัวแก่ อาจใช้เวลาทั้งหมดเพียง 3 สัปดาห์ ในการเจริญเติบโต หรือในบางโอกาสใช้เวลาหลายๆ เดือน
ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม
การนำโรคของหมัด
การกัดของหมัดจะทำให้เกิดอาการแพ้ผิวหนังอักเสบ หมัดสามารถนำเชื้อโรคได้หลายชนิดเช่น แบคทีเรีย ไวรัส และริเคตเชีย โรคที่สำคัญที่พบว่ามีหมัดเป็นพาหะ
ได้แก่ กาฬโรค
ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ ตัวแก่ ของหมัด
การควบคุม
1.การควบคุมหมัดให้ได้ผลจำเป็นต้องรู้แหล่งที่มันอยู่อาศัย การทำลายตัวหมัดที่ยังอ่อนอยู่ ในสัตว์เลี้ยงเช่น แมว หรือสุนัข ควรสวมปลอกคอกันหมัด(Flea collar)
ใช้เคมีสารในการฉีดพ่นกำจัด หรือใช้ผงโรยตามพื้น หรือที่ที่หมัดอยู่อาศัยอยู่ในที่พักทหารควรพ่นตามเตียงและที่นอนด้วย
2.การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม พื้นดินที่มีหมัดอาศัยอยู่ให้ทำการเก็บกวาดขยะให้สะอาดแล้วรวมเผาเสีย ฉีดพ่นด้วยเคมี หรือน้ำมันก๊าด
3.หากเกินขีดความสามารถของหน่วย ขอรับการสนับสนุน จนท.เวชกรรมป้องกันได้ตามที่ได้กล่าวแล้วในเรื่องของยุงข้อ 2.4
เหา - โลน
เหาที่สำคัญทางการแพทย์มิใช่แต่จะรบกวนในการทำให้คันเท่านั้น เหาสามารถนำเชื้อโรคร้ายมาสู่คนได้เช่น ริคเกตเชีย(Rickettsia fever) ของโรคไทฟัส(Trench fever)
เหาของคนมีลักษณะแบน ไม่มีปีกได้แก่
1. เหาบนศีรษะคน (Pediculus humanus) จะพบบนหนังศีรษะ และรากผม
2. โลน (Phthirus pubis) โลนมีลักษณะหน้าอกและท้องกว้าง ชอบไข่อยู่ตามขนหยาบๆ บนร่างกาย ไม่แต่เฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ และทวารเท่านั้น
ตามขนหน้าแข้ง หน้าท้อง หน้าอก ขนคิ้ว หนวด และรักแร้ก็มีได้ เหาตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่(เฉลี่ยได้ 9 วัน) มันจะต้องกินเลือดภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อยังชีวิต
เจริญเติบโตเร็วมากลอกคราบเพียง 3 ครั้ง ใน 2 สัปดาห์แล้วเป็นตัวแก่
การควบคุม ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้รับผิดชอบโดยครงเกี่ยวกับสุขภาพของทหาร จึงต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่อง
ความสะอาดของทหารและที่พัก ตลอดทั้งดำเนินงานกำจัดเหาด้วย ผบ.หน่วยสายแพทย์ จะต้องรับผิดชอบในการตรวจและอบรมสุขศาสตร์ส่วนบุคคลตลอดจน
การควบคุมโรค ฝ่ายพลาธิการจะต้องเป็นผู้ทำลายเชื้อตามเสื้อผ้าและเครื่องใช้ต่างๆ ของทหารด้วยเครื่องไอน้ำ หรือด้วยการพ่นยาฆ่าแมลงในเวลาทหารผลัด
เปลี่ยนเสื้อผ้า
หนู
หนูเป็นสัตว์ที่เป็นศัตรูตัวสำคัญของมนุษย์ หน่วยทหารต่างๆ ที่การสุขาภิบาลไม่ดี มักพบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการรบกวน กัดทำลายเอกสาร ทรัพย์สินให้เสียหาย
อยู่เสมอ นอกจากนี้หนูยังเป็นตัวการสำคัญนำโรคหลายโรคมาสู่มนุษย์ เช่น กาฬโรค อหิวาต์ ไข้รากสาดใหญ่ ดีซ่าน โรคตัวจี๊ด โรคบิด เป็นต้น
หนูที่พบตามหน่วยทหาร และบ้านพักอาศัยได้แก่ หนูนอร์เวย์ หรือหนูท่อ หนูขยะ หนูขี้เรื้อน หรือหนูเลา โดยมากพบตามกองขยะหรือจะขุดรูอยู่ ตามหน่วยทหาร
มักพบอาศัยอยู่บนเพดาน ไต้ถุนอาคาร ท่อระบายน้ำ หรือที่รกร้างใกล้ๆ อาคาร มักออกหากินในเวลากลางคืน
วิธีป้องกันและกำจัด
1. ปรับปรุงสภาพแวดล้อม ผบ.หน่วยจำเป็นต้องเข้มงวดกวดขันในเรื่องการสุขาภิบาลของหน่วย เช่น อาคารสถานที่ทำงาน กองร้อย โรงประกอบอาหาร
โรงเลี้ยง ร้านค้า และบริเวณบ้านพัก โดยยึดหลักการสุขาภิบาลในที่ตั้งปกติ เน้นการจัดสถานที่ดังกล่าวมิให้รกรุงรัง กำจัดเศษขยะ เศษอาหารทุกวัน ปรับถากถาง
พื้นที่รกร้างที่อาจเป็นที่อยู่อาศัยของหนู ถังขยะต่างๆ ต้องปิดฝาปิดมิดชิด โดยการออกมาตรการ หรือคำสั่งการสุขาภิบาลของหน่วยให้หน่วยรองนำไปปฏิบัติ
และติดตามผลการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
2. ใช้สารเคมี และเครื่องมือดักจับ ผบ.หน่วยอาจให้ จนท.สายแพทย์ของหน่วยออกให้คำแนะนำแก่หน่วยรอง ในเรื่องการป้องกัน และวิธีการใช้สารเคมี เช่น
การใช้กาวดักหนู เหยื่อพิษ หรือการใช้กับดักหนู เป็นต้น
กลับสู่หน้าหลัก I
การช่วยชีวิตฉุกเฉิน I
ระบบทางเดินอาหาร I
อุบัติเหตุ สารพิษ I
ระบบทางเดินหายใจ I
ดูอาการ I
อุบัติเหตุ สารพิษ I
(มาลาเรีย) I
(การปฏิบัติงานในสนาม)
คำแนะนำเกี่ยวกับงูพิษ
กลุ่มมีพิษร้ายแรง
งูเห่า (Cobra) พบได้ทั่วไป ชอบอาศัยตาที่ชุ่มชื้น นอนตามรูโพรง ชอบหากินเวลาพลบค่ำ
มีพิษต่อระบบประสาท ทำให้หยุดหายใจ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวด และบวมบริเวณที่ถูกกัด ถ้าได้รับพิษงูมาก จะมีอาการง่วงนอนลืมตาไม่ขึ้น การทรงตัวเสียไป ลิ้นแข็ง
ขากรรไกรแข็ง หายใจลำบากและถึงแก่กรรมได้
งูจงอาง (King cobra) นิสัยดุ สู้คน พบทุกภาคของประเทศไทยที่ไม่ใช่ย่านตัวเมือง ขอบ
อาศัยอยู่ตามป่า ป่าชายเลน ชอบหากินตามที่ร่มในเวลากลางวันจนถึงพลบค่ำ มิพิษต่อระบบประสาท อาการของผู้ป่วยจะเหมือนงูเห่า แต่รุนแรงกว่า เนื่องจากปริมาณ
น้ำพิษมากกว่า
งูสามเหลี่ยม (kesit) พบได้ทุกภาคของประเทศไทย แต่ชุกชุมตามทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ออกหากินในเวลากลางคืน ชอบที่ชื้นแฉะมักอาศัยพักนอนในโพรงดินไต้กอหญ้าทึบ ใต้โพรงโคนไม่ใหญ่ และในกอไผ่ที่มีความเย็นชื้น มีพิษต่อระบบประสาท บริเวณแผลที่ถูกกัด
ไม่คอยบวม ผู้ป่วยจะมีอาการตาพร่า คลื่นใส้อาเจียน ง่วงนอน อ้าปากไม่คอยได้ หายใจขัดถึงแก่กรรมได้
งูแมวเซา (Russell viper) พบชุกชุมมากภาคกลางเช่น นครนายก ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท
นครราชสีมา อยุธยา ปราจีนบุรี ชอบนอนตามซอกหิน ตามกอหญ้าใหญ่ๆ ชอบอาศัยตามที่ดอนแห้ง มีพิษต่อระบบโลหิต ผู้ป่วยจะมีอาการ อาเจียนเป็นเลือด และเลือด
ออกในอวัยวะสำคัญใน่างกาย เช่น ในสมอง หัวใจ เป็นต้น และถึงแก่กรรมได้
งูกะปะ (Malayan pit viper) พบมากตามจังหวัดชายทะเล นอกจากนี้ยังพบได้ตามจังหวัดต่างๆ
เช่น กาญจนบุรี ลพบุรี หนองคาย เชียงใหม่ ชอบขดตัวนอนใต้ใบไม้แห้ง ใต้ดิน และขอนไม้ มีพิษต่อระบบโลลหิต เช่นเดียวกับงูแมวเซา
งูทะเล (Sea snake) เป็นงูอยู่ในน้ำทะเล พบชุกชุมบริเวณทะเลโคลนชายฝั่ง โดยเฉพาะทะเลที่มี
ปะการัง มีพิษต่อกล้ามเนื้อและระบบประสาท ผู้ป่วยจะเจ็บเล็กน้อยบริเวณที่ถูกกัด ปวดกล้ามเนื้อทั่วไป และตามข้อ คอแข็ง อ้าปากไม่ได้ อัมพาต จนกระทั่งหยุดหายใจ
งูเขียวหางไหม้ (Trimeresurus) มี 2 ชนิดคือ
1. งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง มีสีเขียวสด หรือเขียวเหลืองตลอดทั้งลำตัว หางสีแดงสด หรือชมพูมีนิสัยดุ พบมากในภาคกลาง
เช่น กรุงเทพฯ อยุธยา นครปฐม ขอบขดนอนตามพุ่มไม้ หากินเวลากลางคืน
2. งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว ตลอดทั้งตัวมีสีเขียวแก่ หางสีแดงคล้ำ ชอบอาศัยตามพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ หากินเวลากลางคืน
ชุกชุมในภาคกลาง เช่น กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครชัยศรี มีพิษรุนแรงน้อยกว่างูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง
งูเขียวหางไหม้มีพิษต่อระบบแข็งตัวของเลือด แผลที่ถูกกัดจะปวดมาก บวมอย่างรวดเร็วภายใน 5 นาที อาเจียนเป็นเลือด ภายปัสสาวะเป็นเลือด มีเลือดออกในอวัยวะ
สำคัญของร่างกาย
ข้อควรรู้
เมื่อพบงู ถ้าหนีทันควรหนี โดยเฉพาะงูเห่าพ่นพิษต้องหนีให้ไกลกว่า 3 เมตร ถ้าหนีไม่ทันควรอยู่นิ่งๆ ให้งูเลื้อยผ่านไป โดยทั่วไปงูจะฉกกัดได้ไกลประมาณครึ่งของความยาว
ของลำตัวงูหรือมากกว่านั้นเล็กน้อย และงูจะฉกไปข้างหน้า ยกเว้นงูแมวเซา งูกะปะ ฉกได้ทุกทิศทาง
- ถ้าท่านไม่ใช่ผู้ชำนาญเรื่องงู อย่าพยายามฆ่าหรือแหย่ให้งูโกรธ
- อย่าใช้มือจับงูที่เพิ่งตาย งูอาจยังไม่ตายจริง จะฉกกัดได้
- เมื่อจับใส่ถุงหรือกระสอบอย่าวางไว้บนตัก หรือกอดถุงไว้ งูอาจจะกัดได้
การปฐมพยาบาลเมื่อถูกงูกัด
- ไม่ต้องกรีดแผล คว้านแผล ดูดแผล จี้แผล
- รัดเชือกให้เหนือแผล รัดแน่นพอทนได้ หรือพอให้นิ้วนางสอดเข้าไปได้
- ไม่ดื่มสุรา หรือทายาโปะยาที่ผสมสุรา
- พักนิ่งๆ นอนนิ่งระหว่างไปพบแพทย์
- เล่าประวัติการถูกกัด ประวัติการแพ้ยาต่างๆ อาการทั่วไปของตนเองให้คนที่อยู่ใกล้ชิดที่สุดฟัง ถ้ามีสมุนไพร เช่น เสลดพังพอน ว่านงู จะตำผสมข้าวหรือน้ำดื่มทาแผลก็ได้
แต่ไม่ควรผสมสุรา
- ถ้าทราบว่าถูกงูกัด อย่าเสียเวลาหางูเป็นเวลานาน ยกเว้นจะกระทำได้ในเวลาอันรวดเร็ว
- รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่มีเซรุ่มแก้พิษงู ระหว่างการเดินทางให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหมั่นสังเกตอาการของผู้ป่วย พูดให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยสงบ
กลับสู่หน้าหลัก I
การช่วยชีวิตฉุกเฉิน I
ระบบทางเดินอาหาร I
อุบัติเหตุ สารพิษ I
ระบบทางเดินหายใจ I
ดูอาการ I
อุบัติเหตุ สารพิษ I
(มาลาเรีย) I
(การปฏิบัติงานในสนาม)