|
โครงการชมรมสร้างและรักษาสันติภาพไทยติมอร์ตะวันออก
หลักการและเหตุผล
จากการที่กำลังพลของกองกำลังทหารบกไทย/ติมอร์ และ กองกำลังรักษาสันติภาพ ๙๗๒ ไทย/ติมอร์ ตะวันออก
ได้เสี่ยงชีวิตและเสียสละความสุขทั้งของส่วนตัวและของครอบครัว เพื่อมาปฎิบัติภารกิจในการฟื้นฟู และรักษาสันติภาพในดินแดนติมอร์ตะวันออก
ที่มีความห่างไกลจากบ้านเกิดเมืองนอน มาเป็นระยะเวลาประมาณ ๖ ถึง ๑๐ เดือน ตลอดเวลาที่เราได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมานั้น ได้สร้างความรักใคร่
ผูกพัน ให้เกิดในหมู่คณะซึ่งยากยิ่งที่พวกเราจะได้มีโอกาสเช่นนี้อีกในชีวิต จากการที่เราจะต้องเดินทางแยกย้ายกลับไปปฏิบัติหน้าที่ของตนเองที่
ประเทศไทย หลังจากที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งแม้ว่าการจากกันนั้นคงเป็นไปตามวิถีทางชีวิตของแต่ละคน แต่สิ่งที่ยังคงอยู่คือความ
ทรงจำและสายใยของมิตรภาพที่ได้ก่อตัวขึ้นที่ติมอร์ตะวันออกนั้นจะยังคงอยู่ตลอดไป จึงได้ทำให้ก่อเกิดชมรมนี้ขึ้นมา ในการดำเนินการต่าง ๆ นั้น
จะเป็นในลักษณะที่มิได้มุ่งประโยชน์ในทางด้านการเมืองหรือเพื่อมุ่งหมายในการต่อรองทางการเมืองหรือแสวงหาผลประโยชน์ต่อปัจเจกชนหรือกลุ่ม
ใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะและการเป็นสมาชิกนั้นจะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของบุคคลนั้นเท่านั้น
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. รักษาความสัมพันธ์ในหมู่คณะที่มีอยู่ให้แน่นแฟ้นต่อไป
2. แลกเปลี่ยนข่าวสาร เพื่อทราบความเป็นไปในกลุ่ม
3. จัดงานพบปะสังสรรค์ตามโอกาสที่เหมาะสม
4. เร่งรัดติดตามสิทธิประโยชน์ ของสมาชิก ให้ครบถ้วน
5. ช่วยเหลือสมาชิกในโอกาสต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
6. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ ชื่อเสียงของชมรม
7. จัดกิจกรรม เพื่อหารายได้ ในการสนับสนุนชมรม
8. จัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
9. ให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามความเหมาะสม
10. ติดตามการทำหนังสือรุ่น และอื่น ๆ
หนทางปฏิบัติ
ความเป็นไปได้และความพร้อมของโครงการ
1. การที่มีกำลังพลที่มีขีดความสามารถ ในการประกอบกำลังของหน่วยนั้นได้ผ่านการคัดเลือกมาเป็นอย่างดีแล้วจากหน่วยและกองทัพบก ซึ่ง
คาดว่าน่าจะสามารถดำเนินการของชมรมต่อไปในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การที่สมาชิกสมัครใจ และการเก็บเงินจากสมาชิก จะเป็นการเก็บเพียงครั้งเดียว ซึ่งเปรียบเทียบจากเบี้ยเลี้ยงเป็นจำนวนเงินที่ไม่มาก จะทำ
ให้การเก็บเงินค่าบำรุงได้ไม่ยาก ซึ่งจะสามารถทำให้การดำเนินการของชมรมเป็นไปได้ด้วยดี
3. การที่สมาชิกมีความตั้งใจดีและมีสิทธิเท่าเทียมกัน น่าจะทำให้การควบคุมการ
บริหารงบประมาณและการดำเนินการเป็นไปได้อย่างดี
หนทางปฏิบัติที่อาจกระทำได้ในการทำให้โครงการประสบความสำเร็จนั้นมีด้วยกัน
3 แบบคือ
แบบที่ 1 การจัดชมรมแบบย่อย ลักษณะการรวมกลุ่มจะขึ้นอยู่กับหน่วยย่อยที่ตนเองสังกัดอยู่ หรืออาจจะแบ่งตามพื้นที่เพื่อความสะดวก
ในการติดต่อ แบบใดแบบหนึ่ง โดยจัดคณะกรรมการเองตามความเหมาะสม ซึ่งถ้าหน่วยใดสามารถทำได้สำเร็จ อาจจะรวบรวมหน่วยย่อย อื่น ๆ
มารวมกันภายหลัง
แบบที่ 2 การจัดชมรมรวมแต่แบบหลวม โดยมีการลงมติเลือกประธานตามความเหมาะสม แล้วให้ประธานเลือกคณะทำงานเอง ไม่มีการเก็บ
เงินจากสมาชิกใด ๆ ทุกคนเป็นสมาชิกโดยอัตโนมัติ กิจกรรมที่เกิดขึ้น จะทำการเก็บเงินเป็นครั้งคราวตามความสมัครใจ หรือด้วยการสนับสนุนจาก
ผู้มีจิตศรัทธา
แบบที่ 3 การจัดชมรมเป็นรูปร่างแบบกึ่งถาวร คัดเลือกกรรมการจากทุกหน่วยและทุกพื้นที่ เข้ามาทำการบริหาร มีการเก็บเงินจากสมาชิก มี
การบริหารงานและจัดทำกิจกรรม การช่วยเหลือสมาชิกซึ่งกันและกัน ตามโอกาส
ผลที่ได้รับตามข้อที่ 1 จะมีการปรับเปลี่ยนไปตามหนทางที่เลือก
ขั้นตอนการดำเนินการตามโครงการ
1. ประชาสัมพันธ์ความมุ่งหมายในการจัดตั้งชมรม โดยชี้แจงถึงการเป็นสมาชิกเป็นไปด้วยความสมัครใจ และการที่ไม่สมัครเป็นสมาชิก จะไม่มีการ
เสียสิทธิ์อันพึงมีพึงได้ใดๆ
2. จัดทำแบบสอบถามเพื่อรับทราบข้อมูลความต้องการจากกำลังพล
3. ดำเนินการต่อจากผลที่ทำการสำรวจต่อไป และทำการปรับตามความเหมาะสมเพื่อให้ได้ตามต้องการ
4. ถ้ามีสมาชิกเห็นด้วยเพียงพอจะดำเนินการในการกำหนด วันที่ระลึกต่อไป
ระยะเวลา
การประชาสัมพันธ์ ระหว่าง 1 - 5 กรกฎาคม 2543
การสำรวจความคิดเห็น ระหว่าง 6 - 10 กรกฎาคม 2543
การดำเนินการต่อไป 11 - 20 กรกฎาคม 43
ผลที่จะได้รับเมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์
สมาชิกได้พบปะและรับรู้ข่าวสารซึ่งกันและกัน
มีการช่วยเหลือในหมู่มวลสมาชิกในเรื่องต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
สร้างความภาคภูมิใจในหมู่สมาชิกและครอบครัว
|
|