>
ข้าฯ คือบัณฑิต
หนังสือเรื่อง ข้าฯคือบัณฑิต : หลอมแนวคิดคนรุ่นใหม่สู่สภาวะปัญญาชนแห่งยุค
เป็นหนึ่งในหนังสือชุด เปิดโลกความคิด
หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมบทความบางชิ้นที่ได้เขียนขึ้นและลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับ
วัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นบทบาทพลังวัยรุ่นหนุ่มสาวนับแสนคนในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่ว
ประเทศให้มีโอกาสเห็นคุณค่าตนเอง เห็นศักยภาพของตนเองที่จะนำออกมาใช้เพื่อจรรโลงสังคมไทย
โดยตระหนักว่าสังคมไทยกำลังบาดเจ็บและกำลังก้าวสู่ภาวะเสื่อมถอยลงอย่างรวดเร็ว สิ่งที่ต้องการ
คือการเยียวยาจากคนทุกกลุ่มในสังคมอย่างเร่งด่วน และพลังที่ได้รับจากวัยรุ่นหนุ่มสาวก็จะเป็นพลังมหาศาล
ประดุจคลื่นลูกใหญ่ที่จะซัดสาดปัญหาและจรรโลงสังคมให้ไปในทิศที่ดีขึ้นกว่านี้ได้ซึ่ง Professor Sidney
Hook ศาสตราจารย์ทางปรัชญามหาวิทยาลัยNew York ได้กล่าวถึงปรัชญาของตัวท่านว่า การศึกษาควร
พัฒนาคนทั้งด้านความรู้ความเข้าใจและความกล้าหาญในสิ่งที่ถูกต้องไปพร้อมๆกันการมีความรู้เป็นสิ่งที่ดี
แต่คนที่รู้ว่าจะใช้ความรู้ที่มีนั้นทำสิ่งใดก็ยิ่งดีมากกว่า
บัณฑิต มีความหมาย ผู้ทรงความรู้ มีปัญญา นักปราชญ์ ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีส่วนคำว่า
bandit
มีความหมายคือสมาชิกของกลุ่มโจรที่มีอาวุธโจร สามารถนำมารวมกันได้เรียกว่าbandit-บัณฑิตมีความหมายว่า โจรบัณฑิตที่อาวุธของเขาคือความรู้ที่เขาได้ศึกษาร่ำเรียน ภาวะอันตรายของโจรบัณฑิต ที่ร้ายยิ่งกว่าโจรทั่วๆไปนั่นคือความรุนแรงของอาวุธที่เป็น หลักวิชาการ สติปัญญา และเล่ห์เหลี่ยม อันเหนือชั้นกว่าในทางอาชญาวิทยาเรียกคนกลุ่มนี้ว่า White-collar criminal (อาชญากรคอปกขาว) หมายถึง อาชญากรผู้ละเมิดกฎหมายจากการปฏิบัติภารกิจในงานอาชีพของตนที่ไม่ได้ใช้แรงกายแต่สิ่งที่กั้นกลางระหว่างบัณฑิตแท้และโจรบัณฑิตนั่นคือ เส้นจิตสำนึกชอบ ช่วยให้เราตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตตนเองและสังคมส่วนรวมได้เสมอในหัวใจของบัณฑิตแท้ควรประกอบไปด้วยเส้นจิตสำนึกชอบเล็กๆหลายเส้นที่ถักทอประสานกันอย่างเป็นระเบียบได้แก่ จิตสำนึกแห่งความกตัญญู จิตสำนึกในจรรยาวิชาชีพ จิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบ จิตสำนึกแห่งความเสียสละ คนที่ได้ชื่อว่าเป็นปริญญาชน
เมื่อจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้วจะได้รับใบปริญญาบัตรเป็นใบเบิกทางแห่งความน่าเชื่อถือในการเข้าทำงานตามสาขาวิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาและมีโอกาสการทำงานที่ดีกว่าคนอื่นในสังคม ปัญญาชน
บุคคลที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตโดยมีปัญญาเป็นผู้ชี้ทิศแห่งความถูกต้องปัญญาจะพาก้าวข้ามบทเรียนความผิดพลาด เป็นผู้นำในการใช้เหตุผลและเรียนรู้ที่จะเป็นเจ้านายเหนืออารมณ์ความรู้สึกนั้นจะต้องเป็นคนที่มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการได้แก่
ประการที่ 1 ปัญญาชนคือคนที่รักการ เรียนรู้และประยุกต์ความรู้ คือคนที่รักการแสวงหาความรู้และสนใจการเรียนรู้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นจากการอ่าน ฟัง พูด และการศึกษาประสบการณ์จากชีวิตของตนเองและของผู้อื่น
ประการที่ 2 ปัญญาชนคือคนที่ใช้เหตุผลในการคิด คือคนที่สามารถสะกดอารมณ์ให้อยู่ใต้เหตุผลได้จากอารมณ์ที่นำไปสู่การทำร้าย ให้เป็นอารมณ์ที่สร้างสรรค์เพื่อผลที่ดีผ่านการคิดและใช้เหตุผลจากสิ่งที่เกิดขึ้น
ประการที่ 3 ปัญญาชนคือคนที่ดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย เพื่อใช้ความรู้ความสามารถ ศักยภาพและสติปัญญาทั้งหมดที่มีเอื้อประโยชน์แก่สังคมและมนุษยชาติด้วยปัญญาชนจะเป็นคนที่เมื่อสิ้นชีวิตจากโลกนี้ไปเขาก็จะทิ้งสิ่งดีๆ ไว้เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
ประการที่ 4 ปัญญาชนคือคนที่มีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต เพราะคุณธรรมจะทำให้ชีวิตของเรากลายเป็นคนที่มีปัญญาอย่างแท้จริง
หากเลือกที่จะเป็นปริญญาชนจงเป็นคนหนึ่งที่ทำประโยชน์ให้กับตนเองได้ถึงระดับหนึ่งแต่จะไม่ได้ยกให้แผ่นดินสูงขึ้นอย่างที่น่าจะเป็นแต่หาก
ยกระดับตนเองจากการนิยมปริญญมาเป็นการนิยมปัญญายกระดับตนเองจากปริญญาชนมาเป็นปัญญาชนด้วยเป้าประสงค์ของชีวิตที่ไกลกว่าการก่อประโยชน์สุขเพื่อตนเอง
โซตัส ประเพณีนิยมมหาวิทยาลัยยุค ไร้เหตุผล
SOTUS มาจากคำย่อ 5 คำS-Seniorityหมายถึง ความอาวุโส
O-Order หมายถึง คำสั่ง ระเบียบวินัย
T-Tradition หมายถึง ประเพณีทีปฏิบัติสืบต่อกันมา
U-Unity หมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
S-Spirit หมายถึง ความมีน้ำใจไมตรีต่อกัน
สรุปได้ว่า โซตัส คือ ระบบที่รุ่นน้องต้องให้ความเคารพและเชื่อฟังทุกอย่างที่รุ่นพี่สั่ง วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความผูกพันมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องแต่ถ้าหากเราทำการยึดรูปแบบประเพณีอย่างขาดความเข้าใจเบื้องหลังนั้นจะก่อผลเสียมากกว่าก่อประโยชน์ให้เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นนับเป็นภาวะอันตรายที่เหมือนกับการย้อนกลับไปสู่ยุคที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการใช้เหตุผลที่ได้จากการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์ดำเนินชีวิตอยู่บนรากฐานของขนบธรรมเนียมประเพณีโดยยอมรับว่าสิ่งที่ดีคือสิ่งที่ได้มีการปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นเวลานานภาพที่
ปรากฎในปัจจุบันเห็นแล้วก็รู้สึกสะท้อนใจว่า มหาวิทยาลัย อยู่ในสภาพที่ไม่แตกต่างจากเรือนจำทางปัญญาหรือคุกที่จองจำเสรีภาพของคนมากยิ่งขึ้นทุกทีบัดนี้ถึงเวลาแห่งการฉุกคิดแล้วว่าการที่คนในสังคมยอมรับในสิ่งใดควรให้เขายอมรับบนพื้นฐานของเหตุและผลอย่างแท้จริง มิใช่การยอมรับบนพื้นฐานความกลัว แรงกดดันบีบคั้นจากสังคมแต่ต้องสอนให้คนในสังคมคิดเป็น ทำเป็น ประยุกต์ใช้เป็นในทุกๆสิ่งที่เขาได้เรียนรู้และมีความปรารถนาจะยกระดับปัญญาของตนเองตลอดชีวิตโดยไม่ขึ้นอยู่กับประเพณีใดๆอย่างไร้ซึ่งความเข้าใจ
บทบาทวัยรุ่นหนุ่มสาวไทยกับความหวังเพื่อสังคม ในปัจจุบันถือได้ว่าความอ่อนแอของวัยรุ่นยุคนี้ขาดแบบอย่างและไร้อุดมการณ์ที่ดี คือปัจจุบันกลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวใช้ชีวิตในลักษณะของปัจเจกชน ใช้ชีวิตอยู่เพื่อแสวงหาความสุขให้ตนเอง ขาดอุดมการณ์และเป้าหมายในการดำเนินชีวิต ไม่เห็นคุณค่าของความเสียสละหรือใช้ชีวิตของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น สาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นเช่นนี้ได้แก่
สภาพแวดล้อมทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเรานำพลังวัยรุ่นไปเปรียบเทียบกับสมัย 14 ตุลาฯ 2516 หรือ 6 ตุลาฯ 2519 คงเทียบกันไม่ได้เพราะว่าสภาพทางการเมืองแตกต่างกันในยุคนั้นการปกครองขาดความเป็นประชาธิปไตยซึ่งเปรียบได้กับลูกโป่งเมื่อถูกบีบก็จะมีแรงดันสูงมากกว่า จนในที่สุดระเบิดออกมา แต่ลูกโป่งสมัยนี้ไม่ได้รับแรงกดดันมากนักเพราะสังคมปัจจุบันค่อนข้างเรียกได้ว่าให้สิทธิเสรีภาพประชาชนสูง เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยากที่เราจะเห็นพลังขบวนนักศึกษาเหมือนเช่นเดิมได้
สภาพแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยที่สภาพสังคมเป็นสังคมวัตถุนิยมและสังคมบริโภคนิยมสูงมากต่างคนต่างมุ่งแสวงหาทรัพย์สิน แสวงหาความสุขเพื่อตนเองในปัจจุบันวัยรุ่นเลียนแบบพฤติกรรมจากดารา และนักร้องที่ชื่นชอบมากเกินไปเพียงเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของตนเองและสาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้ขบวนการวัยรุ่นขาดพลัง เนื่องมาจากการขาดผู้นำแกนหลักของกลุ่มวัยรุ่นที่มีอุดมการณ์เพื่อช่วยเหลือสังคม ทำให้ขาดการหล่อหลอมทางความคิดค่านิยมและอุดมการณ์ในการดำเนินชีวิตอย่างมีพลังเพื่อผู้อื่น
รื้อฟื้นพลังหนุ่มสาวหลังยุคตุลาฯสู่การมีส่วนร่วมสร้างสรรค์สังคม
วัยรุ่นมีพลังศักยภาพอันยิ่งใหญ่ที่ซ่อนอยู่ในตัวของเขาแต่ละคน ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์หรือเป็นโทษก็ได้ จากตัวอย่างในอดีตเราเห็นถึงพลังวัยรุ่นที่มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นไปในทางที่ดีหรือเป็นไปในทางร้ายก็ได้ แต่บทเรียนหนึ่งที่ชัดเจนมากก็คือการสะท้อนให้เราเห็นถึง พลัง อันยิ่งใหญ่ของคนกลุ่มนี้ พลังนี้เองหากเรารู้จักนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางที่ดีแก่สังคมก็จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์อย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติปัจจัยด้านศักยภาพของคนรุ่นหนุ่มสาวที่แตกต่างจากคนรุ่นอื่นๆในสังคมแและเป็นเหตุให้เขาสามารถกระทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้นั้นคือ
วัยรุ่นเป็นผู้ที่สามารถรับการปลูกฝัง และยึดมั่นในอุดมการณ์ออย่างเหนียวแน่นหากเราปลูกฝังอุดมการณ์ที่ดีให้กับคนวัยนี้เขาก็จะยึดมั่นในอุดมการณ์นั้นได้อย่างมั่นคง วัยรุ่นรวมกลุ่มกันดำเนินชีวิตตามอุดมการณ์ได้ง่ายเพราะยังไม่มีภาระทางสังคม
หนุ่มสาวต้องการแบบอย่างที่ดีเพื่อให้เขาสามารถก้าวตามได้ ถ้ามีคนที่เป็นแบบอย่าง เป็นคนที่สามารถชักจูง กระตุ้นเร้าเขาได้ด้วยวิธีการและสื่อที่เหมาะสมและด้วยเนื้อหาที่เหมาะสมกับในยุคปัจจะบันก็จะสามารถเรียกร้องพลังของคนกลุ่มนี้กลับมาได้ และคนกลุ่มนี้เองก็จะรวมกันเป็นพลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้เป็นสังคมที่ดีงามยินดีเสียสละตัวเองเพื่อผู้อื่น เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้แก่สังคมเท่าที่เขาทำได้ ทั้งด้านทรัพย์สิน สติปัญญา ความรู้ ความสามารถเพื่อสร้างสรรค์สังคมต่อไป
สมดุลแห่งชาติ
บัณฑิตที่พึงประสงค์
บัณฑิตแต่ละคนต่างมีความฝันใฝ่ต่ออนาคตที่แตกต่างกันไป สิ่งหนึ่งทีเหมือนกันคือทุกคนต่างปรารถนาประสบความสำเร็จในชีวิต และที่เหมือนกันอีกประการหนึ่งก็คือไม่ใช่ทุกคนสามารถประสบความสำเร็จดังใจปรารถนาได้ หากบุคคลนั้นไม่ได้เตรียมชีวิตในช่วงวัยเรียนอย่าง ดีเลิศและการเรียนเพื่อมุ่งหมายเพียงให้จบการศึกษาไม่ใช่เรื่องยาก เพราะบัณฑิตจำนวนไม่น้อยภูมิใจที่จบการศึกษาได้
ด้วยความช่วยเหลือของท่านอาจารย์ XEROXหรือเลคเชอร์ที่เพื่อนให้ยืมถ่ายเอกสาร หรือออกจากมหาวิทยาลัยด้วยสมองที่ปลอดโปร่ง คือปลอดจากความรู้และปัญญา ไม่ได้เรียนรู้สาระที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้เลย หรือเป็นผู้ที่ตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมไม่เคยติดตามข่าวสารความรู้รอบตัว ไม่รู้เรื่องอื่นนอกเหนือสาขาวิชาที่ตนเรียน เมื่อจบออกมาจึงมีความรู้ ความคิดความเข้าใจที่คับแคบไม่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ หรือจบการศึกษาด้วยผลการเรียนที่ดีอาจได้ถึงระดับเกียรตินิยม แต่ความสามารถในการเรียนอาจไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้นจะทำงานอย่างมีคุณค่าแท้จริงเมื่อจบการศึกษาไปแล้ว หรือขาดความสามารถในการพัฒนาทักษะ ทั้งทักษะเฉพาะสาขาไม่ว่าจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์และสื่อมัลติมีเดีย ทักษะด้านการสื่อสารตั้งแต่การคิด ฟัง พูด อ่าน และเขียนรวมทั้งทักษะทางสุนทรียะหรือไม่ก็จบการศึกษาพร้อมกับความบกพร่องทางจิตสำนึกเชิงคุณธรรม แต่อย่างไรก็ตามไม่ม่ประโยชน์ที่เราจะมัวนั่งเสียใจที่ระบบการศึกษาไม่ได้ป้อนให้แก่เราในเรื่องเหล่านี้เนื่องจากองค์ประกอบแห่งชีวิตที่สมบูรณ์เป็นสิ่งที่เราต้อง เรียนรู้และแสวงหา ด้วยตนเองด้วยและไม่มีใครช่วยเราได้และไม่มีใครบังคับจิตใจของเราได้ เพราะเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่เราจะเลือกทำหรือเลือกไม่ทำด้วยตัวเราเอง การตัดสินใจเลือกของเราคือการกำหนดอนาคตให้กับตนเอง เราจึงเป็นผู้กุมชะตาชีวิตของเราด้วยทัศนคติของเราในวันนี้โดยนักศึกษาควรเริ่มต้นด้วยความเข้าใจใจสิ่งที่เรียกว่าองค์ประกอบของชีวิตในช่วงวัยของตนทั้ง 6 ด้านได้แก่
1.การเรียน ในช่วงวัยแห่งการเรียน หากเราไม่ได้ตักตวงวิชาความรู้อย่างเต็มที่ก็เท้ากับเอาเวลา เงินทองและสติปัญญาทิ้งขว้างไปอย่างสูญเปล่าและไร้ค่า เราจะกลายเป็นคนโง่เขลาที่นอนกอดปริญญาบัตรอย่างชื่นชมแต่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ใดๆ ได้เพราะไม่มีความรู้อย่างแท้จริง เราต้องมีทัศนะต่อการเรียนอย่างถูกต้องคือเราต้องเรียนอย่างมีเป้าหมาย เรียนตรงตามศักยภาพ เรียนให้รู้ลึกซึ้ง เรียนอย่างทุ่มเท และเรียนเพื่อที่ต้องการช่วยเหลือสังคม
2.การเรียนรู้ การเรียนรู้นั้นคือการที่เราสามารถได้รับความรู้จากบริบททุกอย่างที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา ประสบการณ์จากการเรียนรู้ทำให้เราพลวัตตนเองหรือปรับตัวเข้ากับสิ่งต่างๆได้ สามารถทันโลกทันเหตุการณ์ การเรียนรู้ที่จำเป็นต่ออนาคตได้แก่ การเรียนรู้จักตนเอง รู้จักผู้อื่น รู้จักสังคม รู้จักสังคมและรู้จักโลก
3.การพัฒนาทักษะ ทักษะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญไม่แพ้ความรู้ เพราะทักษะเป็นสิ่งที่ผู้ที่จบการศึกษาจะต้องนำไปใช้โดยตรงเพื่อเข้าไปทำงานนักศึกษาต้องพัฒนาทักษะในอย่างน้อย 3 ด้านด้วยกันคือทักษะทางวิชาชีพ ทางด้านการสื่อสาร และทางด้านสุนทรียะ
4.การเข้าร่วมกิจกรรมสังคม
5.การคบเพื่อน เพื่อนเป็นของขวัญล้ำค่าที่ไม่สามารถทดแทนด้วยสิ่งมีค่าใด ๆ ได้เลยดังนั้นการคบเพื่อนจึงถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะว่าการคบเพื่อนในวัยนี้เป็นเหมือนกับดาบสองคม คือ มีทั้งด้านดีและด้านเสีย
6.ครอบครัว เราควรพัฒนาชีวิตในเรื่อง ความรับผิดชอบ ความกตัญญู การใช้เวลาให้มีความสมดุลในครอบครัวด้วย
การสร้างคุณค่าให้กับตนเอง เราจะต้องไม่วัดคุณค่าของความเป็นคนจากค่านิยมของสังคมหรือการยอมรับจากผู้อื่นตามวัตถุภายนอกเพราะคุณค่าที่แท้จริงของเรานั้นไม่ได้อยู่ที่สิ่งเหล่านี้เราต้องให้คุณค่าสูงสุดทางจิตใจ เพื่อนำไปสู่การรวมพลังสร้างสรรค์ถนอมรักษาสังคมเพราะเราทุกคนสามารถสำแดงความเป็นเกลือแห่งสังคมได้แทนการใช้ชีวิตแบบที่มีตนเองเป็นศูนย์กลางด้วยการทำงานหาเลี้ยงชีพในชีวิตประจำวันเพราะเกลือนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะคือความเค็มที่สามารถรักษาเนื้อและอาหารไม่ให้เน่าเปื่อยหรือเสียไปได้ผู้ที่รักษาสังคมจึงเปรียบเสมือนเป็นเกลือแห่งสังคมที่คอยรักษาสังคมไม่ให้เน่าเปื่อยไป
ปัญญาชนกับการสร้างคุณภาพอนาคตเด็กไทย ผู้เขียนได้ฝากถึงปัญญาชนในสังคมไทยทุกคนว่าอย่าถามว่าประเทศชาติจะให้อะไรแก่ท่านบ้าง แต่ถามว่าท่านจะให้อะไรแก่ประเทศชาติได้บ้างเพราะในเวลานี้ถึงเวลาแล้วที่ปัญญาชนในประเทศจะต้องร่วมใจกันกระทำสิ่งดีแก่สังคมแทนการแสวงหาเพียงความอยู่รอดของชีวิต แสวงหาความมั่งคั่งและความสุขสบายส่วนตัว หรือเพียงแต่วิพากษ์วิจารณ์ความล้มเหลวของรัฐบาลโดยมิได้ถลกแขนเสื้อ พับขากางเกง ใช้ปัญญาความรู้ความสามารถก้าวลงมาช่วยเหลือสังคมอย่างจริงจัง
ปลดปล่อยคนท้องถิ่นด้วยความร่วมมือจากปัญญาชน การที่ประชาชนในท้องถิ่นชนบทจะได้รับการยกระดับขึ้นมาได้ ในเรื่องความรู้ ความคิด อุดมการณ์ทางการเมือง กลุ่มชนชั้นกลางและปัญญาชนของประเทศเป็นหัวใจสำคัญที่สุด เราควรจะรวมตัวกันช่วยกันลดสิ่งที่ไม่ถูกต้องในสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรมโดยไม่เพียงแต่วิพากษ์วิจารณ์คณะผู้บริหารประเทศ นักการเมือง หรือระบบราชการเท่านั้น แต่เราสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาแก้ไขได้โดยเข้าไปมีบทบาทในทางอ้อม เช่น การมีส่วนร่วมส่งเสริมบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชน ( Non Government Organization : NGO ) ทีมีการจัดตั้งกลุ่มดูแลผลประโยชน์ต่าง ๆ ขึ้นในท้องถิ่น สนับสนุนผู้นำของกลุ่มให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น สนับสนุนทางด้านการเงิน กำลังสมอง เป็นแนวร่วมในการผลักดันการเผยแพร่ข่าวสาร การแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและการวางรากฐานการเมืองของประเทศในวันข้างหน้านั้น แท้จริงแล้วอยู่ในกำมือของพวกเราทุกคนในวันนี้ ดังนั้นอนาคตจะเป็นเช่นไรเป็นความรับผิดชอบของทุกคนที่จะต้องมีส่วนร่วมกันสร้างค่านิยมที่ถูกต้องเพื่อสร้างชาติ สร้างอนาคตให้กับลูกหลานของเราต่อไป
หนังสือ ข้าฯ คือบัณฑิต: หลอมแนวคิดคนรุ่นใหม่สู่สภาวะปัญญาชนแห่งยุค ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา ( ไอ เอฟ ดี )