(CD-ROM คืออะไร ? ) ( ความเป็นมา ) ( การทำงาน ) ( CD-R ) ( CD-RW ) ( DVD ) ( ศัพท์เทคนิค )

การตรวจซ่อมและแก้ไขเครื่องอ่าน CD-ROM
ขั้นตอนการทำงานของ หัวอ่าน
เล่นแผ่นซีดีแล้ว HANG
CD-ROM อ่านแผ่นทอง(CD-R)ไม่ได้
การถอด cd-rom drive
การสันนิษฐาน ว่าหัวเสีย
CD เล่นเพลงระยะหนึ่ง ติดขัด
CD อ่านบ้างไม่อ่านบ้าง
CD อ่านแผ่นไม่ได้ทุกแผ่น
การแก้ไขไม่ให้ภาพ VCD กระตุก
CD-ROM จะเก็บค่าของแผ่นที่ใส่ครั้งก่อนเอาไว้
การสร้าง แผ่น CD ROM ที่สามารถบูทได้



Optic Data Storage
   CD-ROM อาจสามารถเปรียบเทียบได้กับ floppy drive ในแง่ ที่ตัว  disks นั้นถูกเคลื่อนย้ายได้ หรืออาจจะ เปรียบเทียบ มันเข้า กับ  harddisk เนื่องจากความจุข้อมูล ที่ใกล้เคียงกัน (แต่ที่จริงแล้ว แผ่นซีดีรอม สามารถจุข้อมูลได้ถึง 680 เมกกะไบต์ซึ่งเทียบเท่ากับ floppy disks ถึง 470 แผ่น )  อย่างไรก็ตาม CD ROM ไม่ใช่ทั้ง 2 อย่างที่กล่าวมา            ขณะที่แผ่น  floppy  และhard disks  เป็นสื่อแม่เหล็ก CD ROM เป็นตัวเก็บข้อมูล แบบออปติคอล  (optical  storage)  ซึ่งใช้ แสงเลเซอร์ ในการอ่านข้อมูล แผ่น CD ROM ซึ่ง ทำ มาจาก แผ่น พลาสติกเคลือบ ด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ ที่ยิงมาให ้ สะท้อนกลับไปที่ตัวอ่านข้อมูลซึ่งเรียก   PHOTO  DETECTOR ตัวอ่านข้อมูล ก็จะอ่านข้อมูล ที่ได้รับว่าเป็นอะไรและจะส่งค่า  0 และ 1   ที่ได้ผ่านไปยัง CPU เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป 

CD ROM ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในโลกของ PC มันสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 650 เมกกะไบต์ และมีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างถูก  ในปัจจุบันมี CD drives อยู่ 4 แบบด้วยกันนั่นคือ 
1.CD-ROM(Compact Disk Read Only Memory)ซึ่งสามารถอ่านได้ทั้ง CD ROM และ CD-R 
2.CD-ROM multiread ซึ่งจะอ่านได้ทั้ง CD ROM CD-R และCD-E 
3.CD-R (Compact Disk Recordable) สามารถอ่าน CD-ROM และCD-R สามารถเขียนได้ 1 ครั้งบน CD-R 
4.CD-E หรือ CD-RW จะอ่าน CD-ROM และ CD-R สามารถเขียนและเขียนทับได้บน CD-E 

กลับไปที่สารบัญ


CD-ROM (Read Only Memory)

   CD ROMเริ่มมีการใช้มาตั้งแต่ปี 2527 โดยเริ่มมีการพัฒนามาจาก  CD โดยหลักการแล้ว    ทั้งตัว media และตัว drives จะเหมือนกัน ความแตกต่างจะอยู่ที่การเก็บข้อมูล ใน CD-ROM ข้อมูล จะถูก เก็บเป็น sectors ซึ่งจะสามารถอ่านแยกกันได้เหมือนกับใน hard disk 
ข้อดีของ CD ROM ที่เห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อ MAGNETIC (hard disk, floppy disks และ เทป)ก็คือ ความหนาแน่นของข้อมูลและอายุของข้อมูล เราสามารถบรรจุข้อมูลบนซีดีรอม ได้หนาแน่น  กว่าบนสื่อแม่เหล็กมาก และแทนที่จะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มที่ ประมาณ 5 ปี   เหมือน สื่อแม่เหล็กเราจะสามารถ เก็บข้อมูล บนซีดีรอมได้เป็นสิบๆปี

กลับไปที่สารบัญ


การอ่านข้อมูลจาก CD-ROM 

เครื่องอ่าน CD จะหมุนแผ่น CD โดยมี Detector เป็นตัวตรวจจับ และควบคุมอัตราความเร็วของการหมุนให้มีความเร็วสม่ำเสมอ แล้วหัวอ่านจะเริ่มทำงานส่งแสงเลเซอร์จากเลเซอร์ไดโอด โดยมีขดลวดโฟกัสทำหน้าที่โฟกัสลำแสงเลเซอร์ให้มีขนาดเล็กลง แสงจะไปกระทบแผ่น CD โดยทะลุผ่านชั้นพลาสติกไปกระทบชั้นสะท้อนแสง ซึ่งที่พื้นผิวของชั้นนี้จะมีลักษณะนูนและเรียบสลับกัน ส่วนที่นูนเรียกว่า Pit ส่วนที่เรียบเรียกว่า Land ซึ่งจะแทนค่าเป็น 1 และ 0 ตามลำดับ แสงที่ตกกระทบ pit จะแตกกระจาย แสงที่ตกกระทบ land จะสะท้อนกลับเข้าสู่ Detector แล้วไปกระทบกับอุปกรณ์ตรวจจับแสง(Light-Sensing Diode) ที่ประสานจังหวะเดียวกันกับสัญญาณนาฬิกาของระบบ เกิดเป็นสัญญาณไฟฟ้า 0 และ 1 วิ่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อทำงานตามข้อมูลที่อ่านได้ต่อไป
ส่วนมากข้อมูลจะถูกอ่านจาก ซีดีรอมด้วยความเร็วที่คงที่   หลักการนี้มีชื่อเรียกว่า   CLV   (Constant Linear
Velocity)  เราอาจคาดได้จากชื่อของหลักการนี้ว่า   ข้อมูลจะผ่านหัวอ่านไปด้วยอัตราเร็วที่เท่ากันเสมอ   ไม่ว่าจะเป็นส่วนในหรือส่วนนอกของ track  ซึ่ง    หลักการทำงานนี้สามารถเกิดขึ้นได้โดยการปรับอัตราเร็วในการหมุนของ แผ่นซีดี โดยเทียบจากตำแหน่งของหัวอ่าน เมื่อหัวอ่านเคลื่อนที่จากขอบในไปยังขอบนอกของแผ่นซีดี ไดรว์จะมีความเร็วในการหมุนลดลง
นอกจากนี้ยังมีไดรว์ที่ใช้หลักการ CAV(Constant Angular Velocity) ไดรว์แบบนี้จะมีความเร็วในการหมุนสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่นทำให้ อัตราการรับส่งข้อมูลที่รอบนอกจะสูงกว่าบริเวณด้านใน
และบางไดรว์ก็ใช้เทคโนโลยีแบบ P-CAV คือ ไดรว์ที่ใช้การอ่านแบบ CLV เมื่อ่านข้อมูลด้านในของแผ่นซีดี และจะเปลี่ยนเป็นแบบ CAV เมื่อหัวอ่านเคลื่อนที่ไปยังขอบนอกของแผ่นซีดี และเทคโนโลยีแบบ Z-CLV คือไดรว์ที่ได้รับการออกแบบให้หมุนช้าลง เมื่ออยู่ในเขตใดเขตหนึ่งที่กำหนดไว้บนแผ่นซีดี แทนที่จะลดความเร็วเมื่ออยู่ในขอบนอกเท่านั้น
การอ่านข้อมูลใน CD เพลงนั้นข้อมูลจะถูกอ่านไปตามลำดับดังนั้นจะไม่มีปัญหาในการปรับอัตราเร็วในการหมุน
เหมือนในCD-ROM ซึ่งข้อมูลมีการจัดเก็บในลักษณะที่กระจัดกระจาย  จึงทำให้ต้องมีการปรับอัตราเร็วในการหมุนอยู่เสมอ ทำให้เกิดการชะงักเป็นบางช่วงเวลา  ในการอ่านข้อมูล   และในรุ่นที่เร็วมากๆก็จะมีเสียงออกมาด้วย นี่เป็นข้อเสียของ สื่อ CD-ROM



อัตราเร็วในการหมุนและการส่งผ่านข้อมูล
CD-ROM drivesมีรุ่นต่างๆกันมากมายในที่นี้ จะแสดงข้อมูลเป็นบางส่วน 
ชนิดของ CD-ROM  อัตราการส่งผ่านข้อมูล อัตราการหมุนต่อนาที 
1X150 KB/SEC200-530
2X300 KB/SEC400-1060
4X600 KB/SEC800-2120
8X1.2MB/SEC1600-4240
12-24X1.8-3.6 MB/SEC2400-6360

กลับไปที่สารบัญ


CD-R (Compact Disk Recordable) 

ในปี  2533  เทคนิคในด้านซีดีรอม ได้ขยายไปครอบคลุมถึง  home burning  หรือ  การอัดบันทึกข้อมูลลงในแผ่น  CD  ได้ที่บ้าน   ในการบันทึกข้อมูล เราจะสามารถเขียนข้อมูล  ลงไปได้เพียง  1 ครั้ง เท่านั้น   เพราะฉะนั้น CD-R จึงมีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า WORM (Write Once Read Many)
แทนที่จะใช้ pit ในการบันทึกข้อมูล แผ่น  CD-R จะใช้สีที่ไวต่ออุณหภูมิฉาบเอาไว้ 
เมื่อหัวเลเซอร์ถูกยิงลงบนพื้นผิวนั้น จุดก็จะเปลี่ยนสี
ดังนั้นจากคุณสมบัติในการสะท้อนกลับของเลเซอร์จะทำให้ ไดรว์  CD-ROM   สามารถพบความแตกต่างนี้  (แผ่น  CD-R  จะมีสีเขียว-ทอง เป็นผลมาจาก ชั้นของสีซึ่งไวต่อความร้อนและชั้นที่สะท้อนแสงเลเซอร์ซึ่งมีสีทอง) 


CD-RW (Compact Disk Rewritable)  

CD-RW  (หรือCD-Erasable)  สามารถใช้ในการบันทึก   ข้อมูล  ลงในแผ่นได้หลายครั้งลงบน พื้นผิวของแผ่น disk เดิม    แต่ยังมีข้อจำกัดอยู่ที่การอ่านข้อมูล   ต้องใช้  drive    ที่เรียกว่า   multi read   สามารถปรับลำแสงเลเซอร์  ให้เข้ากับพื้นผิวชนิดนี้ได้ 

กลับไปที่สารบัญ


DVD 

DVD   ซึ่งย่อมาจาก  Digital Versatile Disk   เป็น   Optic Drives   ที่เราจะพบ เห็นมากในอีก 2-3 ปีข้างหน้า     ซึ่งได้รับการคาดการณ์ว่าจะ   มาแทนที่  CD-ROM ,   Laser discs  และจะแทนที่   VHS เทป ในอนาคต                  การเก็บข้อมูลบน CD-ROM  จะเป็นการอ่านข้อมูลบน  track  ที่มีข้อมูลเพียง    track  เดียว   ส่วนการเก็บข้อมูลของ  DVD    จะเป็นการเก็บข้อมูล  2  ชนิด  ชนิดแรก  คือ   การเก็บข้อมูลที่เป็น  Navigational  คือ จะเป็นข้อมูลที่จะชี้ไปยังข้อมูลที่มีอยู่    และอีกชนิดคือ   Content  คือ   ข้อมูลที่เป็นเนื้อหานอกจากนั้นการเก็บข้อมูลบน   DVD   จะมีทั้งการเก็บข้อมูลเพียง ด้านเดียว (single sided)  แบบ 2ด้าน (double sided )  แบบชั้นเดียว  (single layer ) และแบบ 2 ชั้น  (double layers) 



ความจุของ DVD 
DVD มีความจุตั้งแต่ 4.7 กิกะไบต์ ถึง 17 GB ดังนี้   
ชนิดของ ดิสก์  ความจุ (GB) ความยาว(ในการเล่นภาพยนต์ ) 
Single sided ,single layer4.7มากกว่า 2 ชั่วโมง
Single sided ,double layers8.5ประมาณ 4 ชั่วโมง
Double sided, single layer9.4ประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่ง 
Double sided ,double layers17มากกว่า 8 ชั่วโมง


ขนาดของ pitch และ DVD เลเซอร์  

    นอกจากจะพัฒนาการเก็บข้อมูลให้ได้หลายด้านและหลายชั้นแล้ว   ยังมีการลดขนาดของหลุม   หรือ  pitch  ลงไปครึ่งหนึ่งของบน CD- ROM   ซึ่งทำให้ความหนาแน่นของ  DVD  เพิ่มขึ้น   ทำให้บันทึกข้อมูลลงไปได้มากกว่าเดิม   ลำแสงเลเซอร์ที่เป็นตัวอ่านข้อมูลของ  DVD   จะเป็นเลเซอร์ที่ใช้ลำแสงสีแดงเหมือนใน CD-ROM   แต่จะใช้ความยาวคลื่นที่สั้นกว่าเพื่อให้อ่านข้อมูลได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น   ความจุที่มากขึ้น                ความจุของ DVD ไม่ใช่ข้อจำกัดอีกต่อไป เพราะแผ่นข้อมูล 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 4.7 GB และในอนาคตก็จะได้เห็นแผ่น DVD    ที่มีความจุถึง  18.8 GB  สามารถเก็บข้อมูลของภาพยนต์ 1 เรื่องใน DVD เพียงแผ่นเดียว   และยังใส่ลูกเล่นและเทคนิคต่างๆลงไป  ได้อีกมาก    เช่น    การเล่นภาพที่มีความละเอียดถึง  30  เฟรมต่อวินาที   การเข้ารหัส  mpeg 2  ซึ่งจะทำให้   DVD   มีความละเอียดมากกว่า  laser disk และคุณสมบัติอื่นๆ อีกมากมาย  

กลับไปที่สารบัญ

ศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับ CD

Blue Book คือ มาตรฐานล่าสุดสำหรับ CD-Plus หรือ CD-Extra ใช้ในการเก็บข้อมูลและเสียงโดยแยกส่วนจากกันเพื่อป้องกันเครื่องเสียงชำรุดจากการเล่นข้อมูล แทนที่จะเป็นเพลง โดยเก็บเสียงก่อนข้อมูล

White Book คือ มาตรฐานสำหรับ Video CD ใช้บันทึกภาพเคลื่อนไหวและเพลง ซึ่งถูกบีบอัดด้วยมาตรฐาน MPEG-1 สามารถเก็บภาพยนตร์ได้นาน 70 นาที เริ่มมีกำหนดใช้ในปี 1993

Green Book คือ มาตรฐานสำหรับการกำหนดคุณสมบัติสำหรับ CD-I(Compact Disc Interactive) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้เก็บข้อมูล, รูป, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว และเพลง ปัจจุบันมีใช้น้อยมาก พัฒนาขึ้นโดย philip

Yellow Book Mode 1 คือ มาตรฐานสำหรับการบันทึกข้อมูลอย่างเดียว โดยไม่มีข้อมูลมัลติมีเดียอื่นๆ

Yellow Book Mode 2 คือ มาตรฐานสำหรับ PhotoCD(พัฒนาขึ้นโดย Kodak) และ CD-ROM XA เป็นส่วนขยายจาก Mode 1 สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น

Orange Book Part 1 คือ มาตรฐานสำหรับ CD-MO(Compact Disc Magneto Optical) สามารถเขียน และลบได้

Orange Book Part 2 คือ มาตรฐานสำหรับ CD-R สามารถเขียนได้ แต่ลบไม่ได้

Red Book คือ มาตรฐานสำหรับ CD เพลง(CD Digital Audio) สามารถเก็บเสียงดนตรีได้ 74 นาที และเก็บข้อมูลอื่นๆ ไว้ใน track อีกส่วนได้ด้วย

ISO 9660 คือ มาตรฐานสากลที่อธิบาย โครงสร้างแฟ้มข้อมูลบน CD เป็นมาตรฐานร่วมสำหรับเครื่องในทุกๆ platform ทำให้อ่าน CD ได้โดย PC, Macintosh และ Unix

Joliet File System คือ มาตรฐานที่ Microsoft กำหนดเพื่อใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลบน CD โดยมีชื่อแฟ้มข้อมูลแบบยาวที่ compatible กับ Windows 95

HFS(Hierarchical File System) คือ มาตรฐานแฟ้มข้อมูลบนเครื่อง Macintosh

Hybrid คือ มาตรฐานแฟ้มข้อมูลที่สามารถใช้ได้บนเครื่อง PC และ Macintosh

Session คือ เครื่องหมายระบุจุดสิ้นสุดของข้อมูลใน CD

Pits and land คือ หลุมและช่องว่างบนพื้นผิวของ CD ที่เมื่อแสงเลเวอร์จากหัวอ่านมากระทบจะสะท้อนกลับและสามารถอ่านข้อมูลได้

Mixed mode คือ CD ที่บันทึกแบบผสมข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เก็บไว้ใน track 1 และเก็บเสียงเพลงใน track อื่นๆที่เหลือ

Mutisession mode คือ CD ที่สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำลงไปในที่ว่างที่เหลือจากการบันทึกข้อมูลครั้งก่อนหน้า

กลับไปที่สารบัญ

ขั้นตอนการทำงานของ หัวอ่าน

เมื่อใส่แผ่นไปแล้ว หัวอ่านขยับขึ้นลง ประมาณ 5 รอบ (ผมเข้าใจว่า เป็นการปรับมุมหัวอ่านให้อ่านได้ชัดเจนที่สุด อ่านตรงๆ เอียงซ้าย เอียงขวา เอียงด้านบน เอียงด้านล่าง ทั้งหมด 5 รอบ ผมถามจากผู้รู้เขาว่างั้น) ไม่ต้องขยับจนครบก็ได้ถ้าอ่านเจอครั้งแรกๆ เมื่ออ่านได้แล้วมอเตอร์จึงค่อยหมุน(หมุนค้างตลอด นะครับ) รุ่นใหม่ๆ จะขยับขึ้นลง ไปด้วย หมุนไปด้วย แต่เมื่ออ่านได้แล้วมอเตอร์จะต้องหมุนค้างตลอด เช่นกัน ถ้ามันไม่หมุนค้างตลอด หลังใส่แผ่นแสดงว่าอ่านข้อมูลไม่เจอ จึงต้องปรับหัว

กลับไปที่สารบัญ

เล่นแผ่นซีดีแล้ว HANG

-แผ่นมีปัญหา ลองเปลี่ยนแผ่นดูหลายๆแผ่น

-ไดร์มีปัญหา ลองล้างหัวอ่านดู

-สายแพร์ IDE มีปัญหาลองเปลี่ยนใหม่

-ไดร์เวอร์มีปัญหา ลบไดร์เวอร์แล้วใส่ใหม่

-มีเพิ่มเติมการ์ดอะไรลงไปใหม่ลองถอดออก แล้วลองดูใหม่

-ซีดีใช้เป็น Primary หรือไม่ลองย้ายมาเป็น Primary

กลับไปที่สารบัญ

CD-ROM อ่านแผ่นทอง(CD-R)ไม่ได้

-เอา MSCDEX.EXE ออก แล้วใช้ driver ของ cdrom แทน

-ถ้าคุณอ่านแผ่นทองได้บางแผ่นแล้วละก็ ไม่ได้ผิดปกติที่ CD แต่ CD ไม่สามารถอ่าน Format นั้นๆได้ การแก้ปัญหานั้นไม่มี แต่ cd รุ่นใหม่สามารถอ่านได้หลายๆ format มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า อ่านได้ทุก Format แต่ถ้าคุณเคยอ่านแผ่นทองได้มาก่อน ปัจจุบันไม่ได้เลยซักแผ่น ครับอย่างนี้หัวอ่านเสื่อมสภาพ จะต้องปรับหัวอ่าน

-ตรวจดูให้ดีว่าที่มันไม่อ่านน่ะ เป็นเพราะแผ่น หรือเปล่า หรือว่าหัวอ่านสกปรก ให้แก้ปัญหาที่ง่าย ๆ ดูก่อน ถ้ายังไม่ดีขึ้น ถึงจะต้องปรับจูน

-ต้องจูนเครื่อง CD โดยการถอดอย่างระมัดระวัง ตัวจูนจะอยู่ใกล้กับ หัวฉายแสง เป็นรูป คล้าย ๆ เกือกม้าเล็ก ๆ ไม่ใช่ตัวสกูรนะครับ ใช้ไขควงเล็ก ๆ หมุนตามเข็มนาฬิกาทีละ 15 องศาดู จนกว่าจะใช้ได้ ย้ำต้องระมัดระวังอย่าหมุนทีเดียวมาก ๆ

-หลักการจูนอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ต่าง ๆ ในกรณีที่ไม่มีเครื่องวัด ให้ Mark ตำแหน่งเดิมไว้ ก่อน โดยการใช้ปากกา Marker ขีดทำเครื่องหมายไว้ หลังจากนั้นก็ใช้ตัวปรับ (แนะนำให้ ใช้ชนิดที่เป็นฉนวน ถ้าไม่มีก็ตะเกียบนี่แหละเหลาเอาหน่อย เพราะพวกโลหะจะเป็นสื่อ ทำให้เกิดความเพี้ยนได้ โดยเฉพาะงานเกี่ยวกับคลื่นความถี่) หลักการปรับ ให้หมุนไปด้าน ใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว อย่าหมุนซ้ายที ขวาที หมุนปรับทีละนิด ปรับทีก็ทดสอบดูทีจนกว่า จะได้ที่ แต่ถ้าหมุนไปถึงครึ่งรอบแล้ว ยังไม่ได้ผล คือไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น มีแต่จะ ยิ่งแย่ลง (แบบตัวอย่างข้างบน) ก็ให้ปรับหมุนกลับมาอีกด้าน ที่สำคัญคือต้องใจเย็นครับ และมือไม้ ต้องเบา ถ้ามือหนักไปกดหัวอ่านเข้า จะทำให้ตำแหน่ง Focus เปลี่ยนไป

1. แกะทุกส่วนของ CD Drive ออกมา
2. แยกส่วนหัวอ่านออกมาซ่อม (ฐานสีดำ)
3. มองหาดูจะเห็นตัว VR ขนาดประมาณ 1 มิลครึ่ง มองจากด้านหลัง cd (ด้านสายไฟ) จะเห็นหัวเลนส์ ที่เป็น แก้วใสๆ ลองสังเกตให้ดี ก่อนเห็นหัวเลนส์ จะเห็นตำแหน่งปรับความต้านทาน มันหันมาทางเราพอดี เป็นน็อตแปะอยู่บนเหล็กเล็กๆ 2 อัน แบบนี้ |@| ขนาดสัก 2 x 2 มม. ไขควงจะต้องดีไม่ทำให้ตำแหน่งปรับความต้านทานเสียหาย (VR หรือ Variable Resistor ตัวต้านทานปรับค่าได้มีลักษณะเป็น วงกลม , เกือกม้า)
4.ให้บิด VR ตามเข็มนาฬิกา ประมาณ 15-20 องศา อย่างระวัง หมุนค่อยๆเบามือไปทางขวา ราวๆ 5 องศา ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 20 องศา
5. บิดแล้วประกอบสายไฟเข้าที่อย่าเพิ่งประกอบทุกส่วน
6.ลองเอา CD rom แผ่นทองมาใส่ดูแล้วดูว่าอ่านได้มั้ย
7. ถ้าอ่านยังไม่ได้ แกะเอาตัวหัวอ่านออกมาอีก แล้วบิดต่อตามเข็มนาฬิกาอีกประมาณ 10 องศา
8.ถ้าบิดอย่างนี้แล้วไม่ได้อีกควรลองบิดต่อทีละนิด และอย่าบิดแบบครบรอบ
9.ถ้าปรับ VR ผิดด้าน ลองทำดูใหม่ให้ปรับไปยังตำแหน่งที่มีสีแต้มไว้ครับ

กลับไปที่สารบัญ

การถอด cd-rom drive

เพื่อทำการปรับแต่งให้อ่านแผ่นทองได้ เครื่องของผมยี่ห้อ LG 16X ซื้อแผ่นทองมาใส่อ่านไม่ได้ แต่เอาไปเล่นกับเครื่องอื่นเล่นได้ ปกติ ผมทดลองถอดแล้ว แต่ยังติดหน้ากาก ,และตัว Case ด้านบน เห็นมีรูเล็กบนแผ่นปริ้นมีรูป คล้าย สกูร อยู่ด้านข้าง ข้างละรู รูนี้เล็กมาก

1.หน้ากาก มันจะเกี่ยวติดกับกล่องด้านบน จริงๆถอดที่หลังก็ได้ ถ้าไม่เกะกะ ส่วนใหญ่จะมีเขี้ยวขบอยู่ด้านบน กับด้านข้าง ลองขยับข้างล่าง ขึ้นลง-ขึ้นลง จะขยับไปมาได้เล็กน้อย ลองใช้ไขควงดันข้างๆออกไปที่ละนิด ซ้าย-ขวา-ซ้ายขวา จากนั้นใช้มือค่อยๆงัดขึ้นช้าๆก็จะออก
2.กล่องเหล็กด้านบน น็อตที่เห็นมันจะยึดระหว่างกล่อง กับ Board ไขได้ครับไม่ต้องกลัว จากนั้นค่อยๆถอด ฝาออก
3.จากนั้นจะเหลือ board กับ ฐานของหัวCD และฝาปิดเพื่อยึด cd ให้อยู่กับที่ ทีนี้ก็ถอดฝา แต่ผมไม่รู้ว่าฝามันเป็นอย่างไรลองบรรยายมาให้ผมหน่อย ถ้าเป็นรูปเหมือนคนกางมือ ให้ถอดสปริงออก อันนี้ต้องค่อยๆเบามือ ฝาก็จะยกได้อย่างอิสระ ลองเลื่อนฝาไปทางซ้ายก็จะหลุดออกจากแง่งได้

-โดยทั่วๆไปกล่องมี 2 ส่วน 1.ส่วนบน จะคลุม และยึดส่วนล่างไว้ 2.ส่วนล่าง เป็นฐานรองบอร์ด

สำหรับ Infra ของ creative มี 3 ส่วน
1.ส่วนบน 2.ส่วนกลาง รองรับส่วนภายใน คือลอยอยู่ระหว่างส่วนบนกับส่วนล่าง
3.ส่วนล่าง ภายในมี 2 ส่วน
3.1 ลิ้นชัก+หัวอ่าน วางอยู่บนบอร์ด ส่วนลิ้นชักสามารถใช้มือ ค่อยๆดึงออกครับ หรือใช้เข็มแทงรูหน้า cd ก็ได้ ก็จะเห็น หัวอ่าน
3.2บอร์ด

อย่ากลัวการถอดกล่องครับ มันไม่ยากครับ ขอแค่อย่าลืมวิธีประกอบคืนเท่านั้น

กลับไปที่สารบัญ

การสันนิษฐาน ว่าหัวเสียใช้งานไม่ได้

ถ้าคุณมี cd ที่ไม่เคยปรับหัวมาก่อนเลย ลองก้มลงมองแสงของหัวอ่าน (กดปุ่มปิด/เปิดของหัวอ่าน หัวอ่านจะทำงาน ขยับขึ้นลง) (มองผ่านขวดกระทิงแดง นะครับ แสงนี้เป็นอันตรายครับ อย่ามองต่อเนื่อง พักสายตาแล้วค่อยมองต่อ) ความสว่างยิ่งมากยิ่งดีครับ ประมาณ1-2 มิลลิเมตร ถ้าแสงมีความสว่างน้อย มีความกว้างพอๆกับเข็มเย็บผ้า (เมื่อเอาเข็มจิ้มกระดาษ รูเล็กแบบนี้แหละ) กรณีนี้ อาจฟังเพลงได้อย่างเดียว อย่าซ่อมครับส่วนใหญ่ ภายใน 1-2 เดือนก็เสียครับ

กลับไปที่สารบัญ

CD ช่วงแรกๆเล่นเพลงได้ พอระยะหนึ่ง จะติดๆขัด

CD ROM DRIVE 12 X ของผมแบบว่าช่วงแรกๆเล่นเพลงได้(เพลงที่ 1- 9) พอระยะหนึ่ง จะติดๆขัด เอาแผ่นใหม่ก็เป็นเหมือนกัน (แรกๆเลยครับ)

อันนี้ เป็นที่ระบบไฟ ลองเช็คข้อต่อ สายไฟ แผงส่งข้อมูล ลองเอาออกแล้วเสียบใหม่ดู

กลับไปที่สารบัญ

CD อ่านบ้างไม่อ่านบ้าง

CD ROM ทำความสะอาดแล้ว ล้างหัวอ่านก็แล้ว แต่ก็เจอปัญหาอ่านบ้างไม่อ่านบ้าง

-อ่านได้ตลอดจนปิดเครื่อง แต่พอเปิดใหม่ไม่อ่าน อันนี้ เป็นที่ระบบไฟ ลองเช็คข้อต่อ สายไฟ แผงส่งข้อมูล ลองเอาออกแล้วเสียบใหม่ดู

-ขณะใช้อยู่เดียวอ่าน เดียวไม่อ่าน อันนี้เป็นอาการ หัวอ่านเสื่อม ต้องปรับ นิดเดียวก็หาย ต้องนิดเดียวจริงๆนะครับ

กลับไปที่สารบัญ

CD อ่านแผ่นไม่ได้ทุกแผ่น

แผ่นเงินที่สมบูรณ์จะต้องเล่นได้ครับ ถ้าเล่นแผ่นเงินได้บางแผ่น ลองเอาแผ่นนั้นไปลองกับเครื่องเพื่อน ถ้าเพื่อนใช้ได้ อย่างนี้หัวอ่านเสื่อมสภาพ จะต้องปรับหัวอ่าน

ลองฟังเสียงดู ว่ามีการขยับขึ้นลงบ้างไหม คิดว่าอาการท่าทางจะหนัก ลองปรับหัวอ่านครับ(ไม่อยากแนะนำเท่าไร) ต้องค่อยๆและระมัดระวังนะครับ

กลับไปที่สารบัญ

การแก้ไขไม่ให้ภาพ VCD กระตุก

1. ใช้ CD-ROM drive > 4x
2. แยกสาย IDE ของ CD-ROM ไว้ที่ secondary slave
3. ใช้ video card ที่มีหน่วยความจำ> 2 MB, ลง Driver ให้ใหม่ล่าสุด
4. ลองลดจำนวนสี Windows ลงเหลือ 256 สี, ปรับความละเอียดให้ต่ำลง, ปรับอัตรา Refresh ให้สูงขึ้น
5. ใช้ Xing เล่น VCD, ลง direct x
6. ถ้าอาการภาพกระตุกขณะที่ cdrom อ่านตลอด ให้ไปที่control panel/system/file system/cdrom แล้วไปลด cache ให้น้อยที่สุด เกิดจากภาพจะหยุด ตอนที่เครื่องมันอ่านข้อมูลลง cache แล้วจะ playback จาก cacheพอ cache เต็มก็จะอ่านใหม่ ทำให้transfer rate ไม่คงที่ หนังที่มี frame rate ไม่คงที่ จะกระตุก

กลับไปที่สารบัญ

CD-ROM มักจะหยุดหมุนแล้วจึงหมุนใหม่

เวลาเล่นเกมส์หรือดูวีดีโอ เครื่องจะหยุดเพื่ออ่าน CD บ่อยมาก

ปัญหาเกิดขึ้นที่ drive CD-ROM หมุนช้าลงเพื่อประหยัดพลังงาน แล้วเมื่อมีการใช้แฟ้มข้อมูลใน CD ทำให้ต้องรอ drive CD เร่งความเร็วขึ้นมาเท่าเดิมและค้นหาข้อมูลใหม่
ถ้าใช้ CD-ROM drive ของ toshiba ให้ไปตั้งที่ control panel ของ toshiba โดยปรับเวลาที่จะต้องลดความเร็วให้นานขึ้นอีก โดย download ได้ที่ ftp://195.4.1.23/ftp/dpd/coolLittleTool.exe
ถ้าใช้CD-ROM drive ของ plextor ให้ใช้ plextor manager 96 ปรับเวลาที่จะต้องชะลอความเร็วให้นานขึ้นอีก
ถ้าใช้CD-ROM drive ยี่ห้ออื่นๆ ให้ไป download โปรแกรม spindown ที่ http://www.ncf.carleton.ca/~aa571/Software.htm

กลับไปที่สารบัญ

CD-ROM จะเก็บค่าของแผ่นที่ใส่ครั้งก่อนเอาไว้

เปิดwindows explorer พอกด F5 แล้วมันอ่านแผ่นใหม่ให้หรือเปล่า ถ้าได้ลองไปที่ control panel/system/hardware profile เลือก cdrom/properties แล้ว check ที่ synchronized กับ autoinsert notification
ถ้ายังเป็นอีกก็เป็นที่ ระบบ cacheของ cdrom drive เสีย ต้องซื้อใหม่ หรือส่งซ่อม

กลับไปที่สารบัญ

การสร้าง แผ่น CD ROM ที่สามารถบูทได้

เตรียมแผ่นเปล่าๆใส่ไว้ในไดร์ว A: คลิ๊กขวาที่ไอคอนไดร์ว A: ใน My Computer เลือก Format โดยเลือก Copy System Files ด้วย จากนั้นกอปปี้ไฟล์ที่ต้อง(หรืออาจจะ)ใช้ในการเซทระบบใหม่ เช่น FORMAT.COM, FDISK.EXE, EDIT.*, DELTREE.EXE, MSCDEX.EXE, SYS.COM, XCOPY.EXE เป็นต้น(จากโฟล์เดอร์ windows\command\) และ HIMEM.SYS, EMM386.EXE และSMARTDRV.EXE(จากโฟล์เดอร์ windows\) รวมทั้งไดร์เวอร์ CD-ROM ลงในแผ่นดิสค์(ไม่เกิน 1.44mb) จากนั้น สร้างไฟล์ autoexec.bat และ config.sys set comspec ด้วย ทดลองบูทจากแผ่นที่สร้างขึ้น ดูว่ามีการโหลด himem.sys,emm386.exe และไดร์เวอร์ CD-ROM ติดตั้งถูกต้องเรียบร้อย ถ้าใช้ได้ก็เริ่มขั้นตอนการสร้าง BootableCD ได้

เมื่อเปิด Easy CD Creator ขึ้นมาให้เลือกที่เมนู File -> CD Layout Properties... แล้วเลือกแท็บ Data Settings File System ให้เลือกเป็น ISO9660 และเลือก Bootable แล้ว Easy CD Creator ก็จะบอกให้ใส่แผ่นดิสค์ 3.5" บูทได้ที่ได้เตรียมไว้แล้ว ในไดร์ว A: ใช้เวลาอ่านสักครู่แล้วจะสร้างไฟล์   BOOTCAT.BIN และ BOOTimg border=0.BIN ในรายชื่อไฟล์ที่จะเขียนลง CD-R จากนั้นให้ลากไฟล์ที่ต้องการเขียนลง CD-R มาใส่ที่เดียวกันตามขั้นตอนการเขียนปกติ เนื่องจากระบบไฟล์ที่ใช้เป็น ISO9660 ซึ่งไม่สนับสนุน
long filename ดังนั้นหากไฟล์ที่จะเขียนลงเป็นชื่อที่ยาวเกินกว่า DOS FORMAT (8.3) กลายเป็น xxxxxx~1.xxx ซึ่งอาจสับสนได้ จึงควรเปลี่ยนชื่อให้เป็นฟอร์แมท 8.3 ด้วย เริ่มการเขียน CD-R ตามปกติ เมื่อการเขียนเสร็จลงโดยไม่มีความผิดพลาดใดๆ คุณก็จะได้ CD-R ที่สามารถบูทได้

หมายเหตุ เมื่อตั้ง BIOS ให้บูทจาก CD-ROM เป็นลำดับแรกแล้ว เมื่อบูทขึ้นมาไฟล์ BOOTCAT.BIN และ BOOTimg border=0.BIN ซึ่งเป็น image ของแผ่นบูทที่เราสร้างขึ้น จะกลายเป็นไดร์ว A: ที่มีไฟล์เหมือนกับในแผ่นบูทต้นฉบับทุกประการ แต่จะไม่สามารถเขียนข้อมูลลงได้ ส่วน floppy drive ที่มีอยู่จะเลื่อนไปกลายเป็นไดร์ว B:

กลับไปที่สารบัญ

1