( การทำงานของโปรเซสเซอร์ ) ( ศัพท์เทคนิค ) ( การเปรียบเทียบ ) ( ชื่อรหัสโปรเซสเซอร์ ) ( 80386 ) ( 80486 )
( Pentium ) ( Pentium MMX ) ( Pentium II ) ( Celeron ) ( Pentium III ) ( Pentium VI ) ( AMD ) ( Cyrix )

การทำงานของโปรเซสเซอร์

โปรเซสเซอร์จะรับคำสั่งและข้อมูลจากหน่วยความจำ โดยส่งเข้าที่ Queue
Prefetch Unit จะตรวจสอบว่า ค่าใน Queue เป็นคำสั่งหรือไม่ ถ้าเป็นคำสั่งจะสั่งให้ Bus Interface Unit(BIU) ส่งค่าของคำสั่งไปที่ Decode Unit ถ้าเป็นค่าที่อยู่(Address)ของหน่วยความจำ จะถูกส่งไปที่ Segment and Paging Unit
Segment and Paging Unit จะแปลงที่อยู่ของหน่วยความจำ จากที่อยู่เสมือน(Virtual Address)ในรูปแบบของ segment : offset ให้กลายเป็นที่อยู่จริง(Physical Address)ที่ Bus Interface Unit เข้าใจ
หน่วยถอดรหัส(Decode Unit) จะตรวจสอบและแยกแยะคำสั่ง แล้วแปลคำสั่ง และส่งสัญญาณควบคุมไปให้ Execution Unit ทำงานตามคำสั่งนั้น
ใน Execution Unit จะประกอบด้วย

  1. Control Unit(CU)จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานภายในโปรเซสเซอร์เป็นตัวสั่งงาน Unit อื่นๆตามคำสั่งที่แปลจาก Decode Unit
  2. Protection Test Unit จะป้องกันและตรวจสอบการทำงานของส่วนต่างๆ ไม่ให้ทำผิดกฏเกณฑ์ จนเกิดข้อผิดพลาดขึ้น
  3. Register จะทำหน้าที่เก็บค่าชั่วคราวก่อนและหลังการประมวลเพื่อส่งให้ส่วนอื่นๆต่อไป เป็นเหมือนกระดาษทดชัว่คราว สำหรับ ALU
  4. Arithmetic Logic Unit(ALU) เป็นส่วนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และหาค่าตรรกะของการเปรียบเทียบ

เมื่อ ALU คำนวณหรือเปรียบเทียบค่าเรียบร้อยแล้ว จะส่งไปเก็บไว้ที่ Register แล้ว Control Unit จะสั่งให้ BIU เก็บค่าผลลัพท์ลงในหน่วยความจำ โดยแปลงที่อยู่เสมือนที่ Control Unit กำหนด ให้กลายเป็น ที่อยู่จริงของหน่วยความจำที่จะนำผลลัพท์ไปเก็บไว้
กลับไปที่สารบัญ

ศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับโปรเซสเซอร์

ประเภทของสถาปัตยกรรมการประมวลผลแบบขนาน ของโปรเซสเซอร์ นำเสนอโดย Flynn

  1. SISD(Single Instruction Single Data stream) คือ โปรเซสเซอร์ ที่ใช้การประมวลผลด้วยชุดข้อมูลเพียงชุดเดียว และ ทำงานด้วยคำสั่งเดียว ภายใน 1 สัญญาณนาฬิกา
  2. MISD(Multiple Instruction Single Data stream) คือ โปรเซสเซอร์ ที่ใช้การประมวลผลด้วยชุดข้อมูลเพียงชุดเดียว แต่ทำงานด้วยได้หลายคำสั่ง ภายใน 1 สัญญาณนาฬิกา มักจะไม่ค่อยมีใครพัฒนาโปรเซสเซอร์แบบนี้
  3. SIMD(Single Instruction Multiple Data stream)คือ โปรเซสเซอร์ที่ใช้การประมวลผลด้วยชุดข้อมูลหลายชุด แต่ทำงานด้วยคำสั่งเดียว ภายใน 1 สัญญาณนาฬิกา และได้ผลลัพท์หลายชุด ใช้ในโปรเซสเซอร์แบบ Pentium MMX
  4. MIMD(Multiple Instruction Multiple Data stream)คือ โปรเซสเซอร์ที่ใช้การประมวลผลด้วยชุดข้อมูลหลายชุด และทำงานด้วยได้หลายคำสั่ง ภายใน 1 สัญญาณนาฬิกา

RISC ( Reduced Instruction- Set Computing หรือชิปที่มีการลดทอนคำสั่ง ) คือ โปรเซสเซอร์ที่มีชุดคำสั่งที่มีรูปแบบและขนาดที่แน่นอน สามารถประมวลผลได้ภายใน 1 สัญญาณนาฬิกา การอ้างอิงหน่วยความจำจะใช้คำสั่ง Load และ Store ที่สามารถอ้างอิงหน่วยความจำได้โดยตรงเท่านั้น ใช้การอ้างตำแหน่งแบบตรงๆ ง่ายโดยมีรูปแบบจำกัดอยู่ 2 แบบ คือ

  1. แบบอ้างผ่าน Register ( Register Indirect ) Register จะเก็บค่าตำแหน่งไว้ แล้ว ทำการอ้างตำแหน่งนั้นๆผ่าน Register
  2. ในแบบ Index จะเป็นการอ้างตำแหน่งจากค่าคงที่ที่มาในคำสั่งนั้นๆเลย

CISC ( Complex Instruction- Set Computing ) คือสถาปัตยกรรมของโปรเซสเซอร์ ที่ใช้คำสั่งซับซ้อนที่มีความยาวเปลี่ยนไปตามชนิดของคำสั่ง มีคำสั่งให้ใช้งานมากมาย ทำให้เขียนโปรแกรมง่าย และโปรแกรมมีขนาดเล็ก การทำงานของคำสั่งจะใช้ Microcode โดยคงความเข้ากันได้กับโปรเซสเซอร์รุ่นเก่า ทำให้ไม่ต้องเขียนโปรแกรมใหม่

SMP(Symmetric MultiProcessing) คือสถาปัตยกรรมของการใช้โปรเซสเซอร์ หลายตัว ที่ใช้ทรัพยากรของระบบเช่น บัส หน่วยความจำ I/O ร่วมกัน ไม่สามารถแบ่งเป็น partition ย่อยๆได้ และสมรรถนะของระบบจะลดลงเมื่อใช้โปรเซสเซอร์ มากกว่า 8 ตัว ความสามารถในการขยายสเกลยังจำกัด แต่สามารถใช้โปรแกรมแบบเดิมได้ไม่ต้องเขียนขึ้นใหม่

MPP(Massively Parallel Processing) คือสถาปัตยกรรมของการใช้โปรเซสเซอร์หลายตัว โดยที่โปรเซสเซอร์แต่ละตัว จะมีทรัพยากรระบบ(I/O, หน่วยความจำ)ของตนเองเป็นหน่วยๆย่อยมีการควบคุมตนเอง การเชื่อมโยงจะใช้ hardware หรือ software ก็ได้ สามารถขยายสเกลได้ดีมาก แต่ต้องเขียนโปรแกรมใหม่ ไม่สามารถใช้ของเดิมได้

CMP(Cellular MultiProcessing) คือสถาปัตยกรรมของการใช้โปรเซสเซอร์หลายตัว ที่ผสมผสานข้อดีของ SMP และ Clustering เข้าด้วยกัน โดยแบ่งโปรเซสเซอร์ออกเป็นหน่วยเล็ก ที่เรียกว่า subpod (ประกอบด้วย โปรเซสเซอร์ 2 คู่ที่แต่ละคู่ใช้บัสแยกกัน และ cache แบบ L3 และสามารถใช้ระบบปฏิบัติการของตนเองหรือรวมกันเป็นหน่วยเดียวก็ได้) ที่ใช้ ทรัพยากรของระบบ(หน่วยความจำ, I/O)ร่วมกัน การเชื่อมโยงใช้ลักษณะการติดต่อแบบ Crossbar(เป็นการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดโดยตรง ที่สามารถกำจัดการขัดข้องที่จุดๆเดียวได้) สามารถขยายสเกลได้ดีมาก และสามารถใช้โปรแกรมแบบเดิมได้ไม่ต้องเขียนขึ้นใหม่

NUMA(Non-Uniform Memory Access) คือสถาปัตยกรรมของการใช้โปรเซสเซอร์หลายตัว ที่ผสมผสานข้อดีของ SMP และ MPP เข้าด้วยกัน โดยแบ่งเป็นหน่วยย่อยของหลายๆ โปรเซสเซอร์ ที่ใช้ทรัพยากรของระบบ(หน่วยความจำ, I/O)ร่วมกัน สามารถขยายสเกลได้ดีมาก และสามารถใช้โปรแกรมแบบเดิมได้ไม่ต้องเขียนขึ้นใหม่

Clustering คือ การเชื่อมโยงระบบเข้าด้วยกัน โดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อสร้างระบบที่ใหญ่ขึ้นและล้มเหลวยาก(ระบบจะไม่หยุดทำงานง่ายๆ)

Dynamic Execution จะทำงานโดยเข้าจัดการกับข้อมูลโดยตรง แทนที่จะทำงานตามลำดับชุดคำสั่ง โดยผสมผสานเทคนิคในการประมวลผล 3 รูปแบบคือ

  1. Multiple Branch Prediction เป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อการคาดเดารูปแบบการไหลของโปรแกรมที่จะแตกสาขาไปทำงานตามขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม
    เพื่อที่โปรเซสเซอร์จะกระโดดไปมาระหว่างชุดคำสั่งที่ทำงานอยู่ เทคนิคนี้จะใช้การคาดเดาแบบสุ่ม โดยค้นหาว่าชุดคำสั่งใดจะถูกค้นพบเป็นอันดับต่อไปในหน่วยความจำ ในขณะที่โปรเซสเซอร์ กำลังทำงานกับชุดคำสั่งปัจจุบัน ซึ่งจะมีความถูกต้องถึง 90 %หรือมากกว่า
  2. Data Flow Analysis เป็นเทคนิคที่โปรเซสเซอร์จะพิจารณาและวิเคราะห์ชุดคำสั่งของโปรแกรม และจัดเรียงชุดคำสั่งที่ใช้เพื่อการประมวลผลข้อมูล หรือชุดคำสั่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับชุดคำสั่งอื่นเลย และจัดเรียงลำดับการประมวลผลให้มีประสิทธิภาพในการทำงานของโปรเซสเซอร์มากที่สุด
  3. Speculative Execution เป็นเทคนิคที่จะมองหาชุดคำสั่งที่จะปฏิบัติงานในอนาคตเป็นขั้นๆ เพื่อรองรับการทำงานแบบ SuperScalar ของโปรเซสเซอร์ โดยคาดเดาชุดคำสั่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป และจัดเก็บให้อยู่ในรูปแบบ ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเป็นไปได้ เมื่อสถานะสุดท้ายของชุดคำสั่งถูกตรวจสอบแล้ว ชุดคำสั่งจะถูกส่งคืนไปสู่คำสั่งที่แท้จริงและประมวลผลต่อไป

Pipeline คือการแบ่งงานในการประมวลผลออกเป็นงานย่อยๆที่ไม่เกี่ยวข้องกันหรือเกี่ยวข้องกันน้อย แล้วแยกกันประมวลผลพร้อมๆกันเหมือนสายการผลิตในโรงงาน

Superscalar คือ โปรเซสเซอร์ที่มี pipeline มากกว่า 1 ชุด

Out of order Executionคือการประมวลผลคำสั่งที่มีการทำงานแบบไม่เป็นลำดับ

VLIW(Very Long Instruction Word)คือการจัดเรียงคำสั่งให้ครบ word(8 คำสั่ง)ก่อนจะนำไปประมวลผล ซึ่งทำให้คำสั่งวิ่งเข้าหน่วยประมวลผลได้ทีละมากๆและมีประสิทธิภาพดีขึ้น

กลับไปที่สารบัญ

แผนการผลิตโปรเซสเซอร์ของ INTEL
ปีที่เปิดตัว Basic PC Advance PC High-end PC
1971-1974
1974-1980
1982
4004 4 bit
8085
80188
8008 8 bit
8086 16 bit
80186
8080
8088-4.77
80286-16
1985-1989
1990-1991
1992-1993
386sx-25
486sx-25
486dx2-66
386dx-33 32 bit
486dx-33
486dx4-100
486dx-33
486dx2-66
Pentium-66
1993-1995
1996-1997
1997-1998
486dx4-100
Pentium-200
PentiumMMX-233
Pentium-66
PentiumMMX-166
Klamath (PII)-300
Pentium Pro-150
Klamath (PII)-233
Xeon-450
1998-1999
1999-2000
2000-2001
Covington(Celeron)-266
Mendocino-333
Coppermine-128(Celeron)
Deschutes(PII)-400
Coppermine(PIII)-600
Willamete-800
Katmai(PIII)-500
Cascades-600
Itanium(Merced) 64 bit

ชื่อรหัสการผลิตโปรเซสเซอร์ของ INTEL
รหัส ชื่อรุ่น
P4Intel486 DX Processor
P24IntelDX2 Processor
P24CIntelDX4 CPU (OEM version)
P24DWrite-Back enhanced IntelDX2 Processor
P24TPentiumฎ OverDriveฎ Processor
P23TIntel486 SX or DX OverDrive Processor
P23Intel486 SX Processor
P23NIntel487 SX Processor
P55V Pentiumฎ processor
P54C3.3V Pentium processor
P55CPentium w/mmx
P6Pentiumฎ Pro processor
P7Willamete - Pentium 4(32 bit) & Merced - Itanium(64 bit)
SProcessor has "SL enhanced" power management features

www.intel.com/procs/support/faqs/iarcfaq.htm#EIGHTEEN

กลับไปที่สารบัญ

ตารางเปรียบเทียบโปรเซสเซอร์ของ INTEL
CPU รุ่น ปีที่ผลิต bit ความเร็ว FSB(bus speed) Address Voltage Pin Tech.(m) L1 L2
Itanium(Merced) P7 2000 64 733-800 MHz266MHz64 TSlotM0.1832 K96 K
FosterP7 2001321.3-1.5 GHz400MHz64 T6030.13256K/256K512-1M
Willamete(P4)P7 2000321.4-1.5 GHz400MHz64 T4230.18?256
Coppermine(P!!!)P6 199932500-733 MHz100-133MHz64G,64T1.6,1.653700.1816K/16K256
Katmai(P!!!)P6 199932450,500,600 MHz100-133MHz64G,64T2Slot10.2516K/16K512
XeonP6 199832450,500,550 MHz100-133MHz64G,64T2Slot20.2516K/16K512-2M
Deschutes(PII)P6 199832350,400,450 MHz100MHz64G,64T2Slot10.2516K/16K512
Klamath (PII)P6 199732233,266,300 MHz66MHz64G,64T2Slot10.3316K/16K512
CeleronP6199832 266-500MHz66,100MHz4G,64T1.5-23700.2516K/16K0-128
Pentium MMXP5 199732166,200,233 MHz66MHz4 G,64 T2.8321 0.3516K/16K0
Pentium ProP6199532150,166,180,200 MHz50,66MHz64G,64T3.1,3.3387 0.6,0.358K/8K256-1M
PentiumP5 19933266,100,133 MHz50,66MHz4G,64T5,3.3273 0.8,0.6,0.358K/8K0
486DX,SXP4198932 25,33,66,75,100 MHz25,33MHz4G,64T5 1681,0.8 8K0
386DX,SXP3198532 16,20,25,33 MHz16,25,33MHz4G,64T51321.5,100
286P3198216 6,8,10,12 MHz6-8MHz16 M,1G5681.5
8088,186,188P21979164.77,10,12 MHz4.77MHz1 M5403
8086P21978164.77,8,10 MHz4.77MHz1 M5403
8080,8085P1197482,4.77 MHz2,4.77MHz64 K12,5406,3
8008P119728 200 KHz 200 KHz16 K121610
4004P119714 108 KHz108 KHz640121610

ตารางเปรียบเทียบโปรเซสเซอร์ของ AMD
CPU ปีที่ผลิต bit ความเร็ว FSB address Voltage Pin Tech. L1 L2
Sledgehammer K82000 64 1GHz266 MHz64 TSocketA0.13128 K512 K - 2 MB
Mustang2001 32 1 GHz266 MHz64 TSocketA0.151-2M
Thunderbird2000 32 850 MHz-1.333 GHz200,266 MHz64 T1.7VSlotA,SocketA0.18256-512 K
Duron2000 32 550-900 MHz200 MHz64 T1.6VSocketA0.18128 K
Athon K7199932500-800 MHz200 MHz64 T1.8VSlotA0.18128K512-8M
K6-III199832400-450 MHz83 MHz64 T2.4V3210.25-0.1832K/32K256
K6-2199832350-533 MHz83,100 MHz64 T2.2V3210.2532K/32K0
K6199732166-300 MHz66 MHz64 T2.9-3.2V3210.35-0.2532K/32K0
K519963275-116.66 MHz75 MHz64 T3.3V2960.35I16K/D8K0

ชนิดของ CPU  โครงสร้าง/รุ่น ข้อดี ข้อเสีย
Pentium !!!CISC G6ดี เร็ว มีปัญหาน้อยที่สุด เหมาะกับใช้เป็น Server หรืองาน Graphic หนัก ๆราคาแพง
CeleronCISC G6เหมาะกับคนชอบเกมส์  Overclock ง่าย ราคาถูก
K6-3DNowCISC G6 เร็วพอ ๆ กับ Intel ราคาถูก เหมาะกับงาน Graphic หนัก ๆ หรือ งานทั่วไปOverclock ยากหน่อย
Cyrix 6X86M2CISCเร็วใน Application ทั่วไป ราคาถูกที่สุด เหมาะกับงานทั่วไป3D ช้า Overclock ยาก ร้อน จะมี ปัญหากับเกม บางเกม
IBM 6x86mx PRCISCการใช้งานในวินโดวส์หรือทั่วๆไป
เร็วกว่าอินเทล 2 เท่าในMHZ ที่เท่ากัน ราคาถูก มาก พอ ๆ กับ Cyrix เหมาะกับงานทั่วไป
3D ช้ากว่าครึ่งนึง overclock ไม่ได้ ความร้อนสูงมาก มีความสามารถในด้านการคำนวณ
ด้อยกว่า intel
IDT WinchipRISCเร็วพอใช้ได้ ราคาถูก มาก พอ ๆ กับ Cyrix เหมาะกับงานทั่วไปอาจมีปัญหา Compatibility
กลับไปที่สารบัญ

1