( การทำงานของจอภาพ ) ( จอ 14 นิ้ว ) ( จอ 19 นิ้ว ) ( จอ LCD ) ( จอแบบใหม่ ) ( จอระบบสัมผัส )

การตรวจซ่อมและแก้ไขจอภาพ
การถนอมสายตา
จอค่อยๆเห็นภาพแคบลงๆ
หน้าจอไม่แสดงผล
start เครื่องใหม่ จอจะดับ
ภาพมัวไปหมดเลย
จอภาพเบลอ
ภาพสั่น
สีเพี้ยน
จอภาพสีเลอะ
จอมีเสียงหึ่งๆ
จอภาพมีจุดๆขึ้นทั้งหน้าจอ
boot ด้วย dos mode จอจะเป็น vga mono
จอภาพ ไม่ทำงาน
ใช้ๆ อยู่จอจะดับ
วางคอมไว้ใต้แอร์ จะทำให้จอเสื่อมเร็ว
connector ของจอภาพ ขาหักไปอันนึง ไม่มีภาพเลย

การทำงานของจอภาพ

สัญญาณภาพ 3 สัญญาณจาก Card VGA จะถูกส่งมายังปืนอิเล็คตรอนสามอันที่อยู่ด้านหลังของหลอดภาพCRT(Cathod Ray Tube) ซึ่งจะยิงอิเล็คตรอนออกไปแต่ละสี ซึ่งจะมีการส่งสัญญาณจาก Card VGA มายัง Magnetic Deflection Yoke เพื่อควบคุมความเข้มและโฟกัสลำอิเล็คตรอน ซึ่งจะเป็นตัวกำหนด ความละเอียดของการแสดงผล และRefresh Rate (อัตราที่แสดงจำนวนครั้งของการสร้างภาพใน หนึ่งวินาที)

ที่ด้านหลังจอภาพ จะมี Shadow mask เป็นแผ่นโลหะที่มีรูพรุน เพื่อควบคุมให้ลำอิเล็คตรอนวิ่งผ่านไปกระทบเป้าได้อย่างแม่นยำ ค่าระยะห่างของรูเหล่านี้ คือ Dot Pitch ยิ่งรูอยู่ใกล้กันมากเท่าไหร่ ภาพที่ได้จะยิ่งคมชัดมากขึ้น

อิเล็คตรอนจะชนกับเป้าที่เป็นสารฟอสเฟอร์ 3 สีที่วางอยู่ใกล้กันซึ่งเคลือบอยู่ด้านในของจอภาพ ลำอิเล็คตรอนจะกระทบสีเพียงสีเดียว การสร้างสีขาวจึงต้องใช้อิเล็คตรอน 3 ลำไปยิงตกกระทบสารฟอสเฟอร์ทั้งสามสีที่วางอยู่ใกล้ๆกัน ซึ่งถ้าอิเล็คตรอนชนแรงขึ้นก็จะได้แสงเข้มขึ้น

Magnetic Deflection Yoke จะเปลี่ยนมุมยิงของลำอิเล็คตรอนอย่างต่อเนื่อง โดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าหักเหลำอิเล็คตรอน เพื่อให้กวาดยิงแสงไปตามแถวแนวนอนของจอภาพจากด้านบนซ้ายสุดไปยังด้านล่างขวาสุด การกวาดจนครบทั่วทั้งจอ 1 ครั้งเรียกว่า 1 field (Interlace คือการที่จอภาพแบ่งจอออกเป็น 2 field แล้วกวาดเส้นเว้นเส้นเป็น field หนึ่ง เส้นที่เหลือก็กวาดอีก field หนึ่ง ทำให้จอภาพแสดงผลได้ละเอียดขึ้นในราคาที่ไม่แพง แต่จะทำให้จอกระพริบมาก ปัจจุบันจึงมีแต่การใช้จอแบบ Non-interlaced

กลับไปที่สารบัญ

จอภาพขนาด14-15นิ้ว

ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่พบว่าจะนิยมขายจอภาพขนาด 14 นิ้วอยู่ แต่จะเอา 15 นิ้วหรือ 17 นิ้วก็ได้ แต่เป็นออปชั่นที่ต้องเพิ่มเงิน ถามว่าทำไมยังต้องมีจอขนาด 14 นิ้วอยู่ ซึ่งคำตอบก็คงจะเป็นเรื่องราคา เพราะตอนนี้ผู้ซึ้อส่วนใหญ่ มักมองที่ราคาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจซี้อ จนบางครั้งมีหลายรายที่ลืมนึกถึงความสามารถในการอัพเกรดใช้งานในอนาคตไป ซึ่งจอภาพสีขนาด 14 นิ้ว มีราคาต่ำที่สุดในบรรดาจอภาพสี ทำให้ผู้ขายกดราคาของเครื่องให้ต่ำลงไปได้อีกมาก พอมาถึงปี 2537 ถึง 2538 วินโดว์ส 3.1X เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในเมืองไทย ผู้ใช้ตามสำนักงานและตามบ้านจะมีวินโดว์สอยู่ในเครื่องมาตรฐานเลย และที่ขาดไม่ได้คือไมโครซอฟท์ออฟฟิศ ตอนนี้ผู้ใช้ก็ต้องใช้โหมดการแสดงผลความละเอียดมาตรฐานคือ VGA ที่ 640 X 480 จุด ซึ่งแสดงผลด้วยตัวอักษรที่ใหญ่โตอ่านได้ชัดเจน แต่ว่ามีพื้นที่การแสดงผลเอกสารได้น้อย หรือใช้โหมด SVGA ที่ 800 X 600 จุด ที่มีความละเอียดเพิ่มขึ้น ตัวอักษรที่ปรากฏจะมีขนาดเล็กลง แต่มีพื้นที่ในการแสดงผลเพิ่มขึ้น ( มากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ) ปัญหาการแสดงผลที่ความละเอียดสูง ๆ ทำไมขนาดตัวอักษรเล็กลงเมื่อกำหนดให้โหมดการแสดงผลมีความละเอียดมากขึ้น คำตอบคือ ขนาดตัวอักษรที่แสดงผลในวินโดว์สจะมีขนาดวัดเป็น Point เช่น 10 , 12 ที่ความละเอียดต่ำจุดแต่ละจุดที่ปรากฏบนจอภาพจะมีขนาดใหญ่ ตัวอักษรขนาด 10 Point จะมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย ยิ่งถ้าใช้โหมด XGA ที่มีความละเอียด 1024 X 768 ก็ขนาดตัวอักษรจะยิ่งเล็กลงมากขึ้น ซึ่งขนาดของภาพไม่ได้เป็นปัญหาเดียวเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาเรื่องความเร็วในการสแกนของจอภาพอีกด้วย ความเร็วตัวนี้หมายความว่า ใน 1 วินาที จอภาพจะสามารถสแกนลำอิเลกตรอนที่ใช้สร้างภาพให้วิ่งไปจนทั่วจอภาพได้กี่รอบ จอภาพที่มีความเร็วในการสแกนสูงจะมีการกระพริบของภาพต่ำทำให้ผู้ใช้สบายตา แต่ถ้ามีความเร็วในการสแกนต่ำจะทำให้การกระพริบมาก ทำให้เวลามองนาน ๆ จะปวดตา ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของภาพ ปัจจัยหนึ่งที่จะมีผลต่อคุณภาพคือ ค่าที่เรียกว่า Dot pitch ค่านี้หมายถึงระยะห่างระหว่างจุด 2 จุด ที่มีสีเดียวกันและอยู่ติดกันบนจอภาพ ยิ่งค่านี้น้อยแสดงว่าจุดอยู่ใกล้กันทำให้ภาพละเอียดขึ้นและมีคุณภาพดี จอภาพ 14 นิ้วที่มีราคาต่ำมากบางรุ่นจะมีค่าที่ทำให้ภาพหยาบ ซึ่งต้องควรที่จะเลือกจอที่มีค่า Dot pitch ขนาด 0.28 มม. หรือต่ำกว่าเพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณภาพดี ข้อเสียอีกข้อคือ จอ 14 นิ้วเกือบทั้งหมด จะเป็นจอภาพแบบโค้ง ไม่ใช่จอแบนซึ่งทำให้เกิดการบิดเบือนของภาพ โดยเฉพาะบริเวณขอบภาพ ข้อเสียนี้จะเห็นได้ชัดเมื่อดูจอ 15 นิ้วที่เป็นจอแบนแล้วมาดู 14 นิ้ว จุดด้อยของจอภาพ 14 นิ้ว จอภาพ 14 นิ้วมีจุดด้อยหลายประการที่ไม่เหมาะที่จะใช้งานในปัจจุบัน ด้วยขนาดที่เล็กทำให้เวลาแสดงผลที่ความละเอียดสูงแล้วภาพที่ปรากฎเล็กลงมาก ซึ่งจอภาพขนาด 15 นิ้วนั้นจะมีพื้นที่แสดงผลมากกว่าจอ 14 นิ้วถึง 25 เปอร์เซ็นต์ และยังได้จอภาพที่มีลักษณะแบนราบ ทำให้ลดความบิดเบือนของภาพที่ปรากฎบนจอ และลดการสะท้อนแสงจากจอภาพ ทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจน มาตรฐานต่าง ๆ จอภาพ 15 นิ้วทุกยี่ห้อในปัจจุบันจะได้มาตรฐานด้านการประหยัดพลังงาน Energy Star ซึ่งจะทำให้จอภาพลดการใช้พลังงานลงเมื่อไม่มีการใช้งานเครื่องเป็นเวลานาน ซึ่งเราเรียกว่าเป็นการเข้าสู่ Sleep mode จอที่ได้มาตรฐาน Energy Star ขนาด 15 นิ้วเมื่ออยู่ในโหมดทำงานตามปกติจะกินไฟประมาณ 65 ถึง 90 วัตต์ เมื่อเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงานจะกินไฟไม่เกิน 5 วัตต์ ซึ่งนอกจากจะประหยัดไฟแล้วยังลดการแผ่ความร้อนจำนวนมากจากจอภาพ เป็นการลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีมาตรฐาน DPMS ( Display Power Management Signaling ) ซึ่งทำให้การ์ดแสดงผลสามารถส่งสัญญาณให้จอภาพปิดไฟเข้าจอเมื่อไม่มีการใช้งานเครื่องภาพในระยะเวลาที่กำหนด ส่วนอีกเรื่องคือเรื่องรังสี จะมีมาตรฐานที่เรียกว่า MPR 2 ซึ่งเป็นมาตรฐานกำหนดปริมาณรังสีต่าง ๆ ที่จอภาพจะแผ่ออกมาได้ อีกมาตรฐานหนึ่งคือ TCO ซึ่งกำหนดระดับการแผ่รังสีไว้ต่ำกว่ามาตรฐาน MRP 2 เสียอีก แนวทางสำหรับตรวจสอบคุณภาพของจอภาพ เมื่อดูในเอกสารสเปกของจอภาพและพบว่ามันสนับสนุนความละเอียด 1600 X 1200 และให้ค่าอัตรารีเฟรชสูงถึง 120 เฮิรตซ์ นั้นไม่ได้หมายความว่าจะได้ความถี่สูงถึง 120 เฮิรตซ์ที่ความละเอียดสูงเท่านั้น หรือแม้แต่อัตรารีเฟรช 90 เฮิรตซ์ก็ตาม อัตรารีเฟรชที่จอภาพสามารถสนับสนุนได้นั้นจะมีค่าต่ำลงเมื่อความละเอียดมีค่าสูงขึ้น รายละเอียดที่คุณต้องการจริง ๆ ก็คือรายการของความละเอียดหน้าจอพร้อมกับอัตรารีเฟรชที่สูงที่สุดในแต่ละความละเอียดนั้น แต่ถึงแม้ว่าจะไม่มีรายละเอียดนี้ก็ตาม ก็ยังสามารถตรวจสอบความสามารถของจอภาพได้โดยพิจารณาจากความถี่อื่น ๆ อีก 2 ค่า ถึงแม้ว่าค่า Vertical - refresh Frequency หรือความถี่สูงสุดของการรีเฟรชในแนวดิ่ง นั้นจะบอกอะไรไม่ได้มากก็ตาม แต่ค่า Horizontal - refresh Frequency หรือความถี่ในการสแกนแนวระนาบ และค่าวีดีโอแบนด์วิดธ์ ก็เป็นเครื่องมือวัดที่เพียงพอสำหรับการวัดในระดับนี้แล้ว ค่าของความถี่สูงสุดในการสแกนแนวระนาบแสดงให้เห็นถึงความเร็วที่จอภาพ สามารถเขียนแถวของฟิกเซลไล่ลงมาจากหน้าจอได้ สำหรับวิดีโอแบนด์วิดธ์นั้น เป็นความเร็วโดยประมาณที่จอภาพสร้างฟิกเซลบนหน้าจอของมันได้เมื่อความละเอียดมีค่าสูงขึ้น จอภาพจำเป็นต้องเขียนฟิกเซลในทุก ๆ ครั้งที่สแกนในแนวดิ่งมากขึ้นยิ่งอัตราการรีเฟรชในแนวดิ่งสูงเท่าไรก็ยิ่งใช้เวลาในการเพนต์มากขึ้นเท่านั้น โดยปกติแล้วในเอกสารสเปกของจอภาพมักจะไม่แสดงรายการของโหมดวิดีโอที่มันสนับสนุน
แต่มันมักจะเตรียมค่าความถี่ของการสแกนเหล่านี้ไว้ให้ ความถี่สำหรับใช้เป็นแนวทาง สำหรับสเปกที่เหมาะสมสำหรับโหมดความละเอียดสูง 2 โหมดควรเป็นดังนี้ โหมด ความเร็วในการสแกนแนวระนาบ แบนด์วิดธ์ 1280 X 1024 ( 75 Hz ) 85 kHz 120 MHz 1600 X 1200 ( 75 Hz ) 95 kHz 200 MHz
กลับไปที่สารบัญ

จอภาพ 19 นิ้ว
มีส่วนประกอบที่สำคัญคือหลอดภาพ CRT ขนาด19 นิ้ว(ส่วนของหลอดภาพใช้ของ HITACHI เป็นมาตราฐานเนื่องจากหลอดภาพCRT เกือบทั้งหมดในตลาดเป็นของ HITACHI
ผิวหน้าจอแบ่งเป็นสองชนิดคือจอผิวโค้ง และจอจัตุรัสแบน โดยแบบผิวโค้งนั้นจะให้ภาพที่เพี้ยนบริเวณขอบจอโดยจอ จอภาพขนาด 19 นิ้วจะให้พื้นที่แสดงผล 155 ตารางนิ้ว หลอดภาพ CRT 19 นิ้วนั้นสามารถอัด TRIAD (ชุดของจุดย่อย 3 สี)ได้ประมาณกว่า1,600 ชุดสีทำให้สามารถแสดงผลที่ระดับ 1,280x1,024 จุดได้อย่างสบายและแสดงผลเต็มที่ระดับ1,600x1,200 จุด โดยหลอดภาพให้จุดสีในแนวนอน (Horizon Dot Pitch)เท่ากับ 0.22 มม. ลักษณะคอของหลอดภาพซึ่งก็คือส่วนที่ยื่นออกไปด้านหลังของจอ และเป็นตัวจับปืนยิงอนุภาคอิเล็คตรอนจะสั้นโดยมีความลึก 17.7-18.9 นิ้วเท่านั้นขึ้นกับรุ่นและยี่ห้อ แต่ละจอภาพนั้นมีระบบให้เราสามารถปรับความสว่าง ความแตกต่างของแสง และตำแหน่งและขนาดในแนวตั้งและแนวนอนของจอภาพ นอกจากนี้ยังมีปุ่มรีเซตสำหรับปรับค่าต่างๆให้เหมือนตั้งค่าออกมาจากโรงงาน ทั้งยังมีระบบควบคุมสำหรับกำจัดประจุแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำให้สีที่ผิดเพี้ยน และระบบปรับแต่งสี มีระบบควบคุมลด Moire (ยกเว้นของ KDS)ซึ่งเป็นแบบลวดลายรบกวน บางรุ่นจะมี Pincushioning Balance ทำให้ Pincushing ทั้งสองด้านของจอเท่ากัน และระบบควบคุมParallelogram สำหรับปรับพื้นที่แสดงผลหน้าจอให้กลับไปเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตารางข้างล่างนี้เป็นคะแนนการทดสอบคุณภาพเบนซ์มาร์กของจอ 19 นิ้วรุ่นที่น่าสนใจของบริษัทต่างๆ

ตารางคะแนนการทดสอบเบนซ์มาร์ก
ADI
MicroScan
6P
KDS
VS-19
Mag
DJ
800
NSA/Hitachi
SuperScan Elite 751
Opti
quest
V95
Pixie
995
Princeton
Graphics E090
Sampo
AlphaScan
810
ผลการทดสอบการวัด
ที่จุด Overall MTF
59.235.648.865.529.660.638.556.1
Overall
Misconvergence
(mm.)
0.089 0.0840.086 0.0740.1390.1290.1020.062
Max
Misconvergence
(mm.)
0.2180.2690.2190.2290.370.4140.3090.188
Overall Horizontal
Pincushion(mm.)
0.346 0.915 0.4 0.505 0.374 0.249 0.484 0.33
Max Horizontal
Pincushion(mm.)
0.536<1.2160.6270.6440.4490.2820.8290.391
Overall Vertical
Pincushion(mm.)
0.5620.71 0.761 0.6170.302 0.3980.3580.318
Max Vertical
Pincushion(mm.)
0.636 0.9831.098 0.8340.398 0.5750.481 0.412
ผลการทดสอบการวิเคราะห์สี
Color
Temperature(K)
9,0008,430 9,3009,160 9,1008,8409,4109,350
Color Tracking 95.89495.497.995.692.894.289.1
Color Uniformity 4.45.211.1511.59.211.86.4
Luminance(fl) 27.830.127.336.83934.830.827.4
Luminance
Uniformity
3.33.85.43.4 6.83.43.74
กลับไปที่สารบัญ

ความหมายของค่าต่างๆในตาราง
MTF(Modulation transfer function): เปรียบเทียบอัตราความแตกต่างของแสงระหว่าง
เส้นความหนาหนึ่งจุดสีดำ
และขาวสลับกัน ยิ่งสูงจะหมายถึงคมชัดกว่า
Misconvergence: เป็นการวัดความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งอิเล็กตรอนสีแดง
น้ำเงิน เขียว หากมีค่าสูงลายละเอียดจะดูเลอะเลือนไม่คมชัด
Pincushioning: เป็นการวัดความสามารถในการสร้างเส้นตรง ยิ่งมีค่าต่ำยิ่งดีเพราะจะมีความโค้งงอน้อยกว่า
Luminance: ระดับความสว่างสูงสุดที่จอแต่ละรุ่นจะแสดงผลได้ โดยที่ไม่ทำให้โฟกัส และความแตกต่างสูญเสียไป ค่ายิ่งสูงจะยิ่งดีเนื่องจากฟอสฟอรัส
ที่เคลือบจอจะให้แสงสว่างได้น้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป
Color temperature: เป็นเฉดของสีขาวบนจอภาพค่าสูงจะให้สีขาวออกไปโทนน้ำเงิน ค่าต่ำจะให้สีออกไปโทนแดง ในการทดสอบเราตั้งไว้ที่ 9,300 K ยิ่งวัดใกล้ค่านี้มากเท่าไหร่แสดงว่าระบบ
ตั้งค่าของจอยิ่งแม่นยำมากยิ่งขึ้น
Color tracking: แสดงถึงความแม่นยำของตำแหน่ง
อิเล็กตรอนทั้งสามในการไล่เฉดสีเทา ยิ่งค่าร้อยละสูงมากเท่าไหร่สีเทาก็จะมีสีอื่นมาปนน้อยเท่านั้น
Color Uniformity และ Luminance uniformity:เป็นการวัด
ความแตกต่างของสีและความสว่างที่ตำแหน่งต่างๆ
ทั้งหมดสิบสามตำแหน่งบนจอ ค่ายิ่งน้อยยิ่งดี

แม้ในปัจจุบันมีจอภาพ 19 นิ้วเพียงไม่กี่รุ่น เกือบทั้งหมดใช้
หลอดภาพ CRTของ HITACHIเหมือนกัน แต่คุณภาพต่างกันพอสมควรทีเดียว จอภาพ 19 นิ้วส่วนใหญ่ก็ให้ภาพที่ดีพอสำหรับงานทั่งไป และในงานที่มีรายละเอียดมากๆ จอภาพเหล่านี้
ก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในราคาที่ไม่แพงเกินไปด้วย
พื้นที่แสคงผลที่มากกว่า จอขนาด17นิ้วถึง 35% และคาดว่าจอ 19 นิ้วจะเป็นที่นิยมของผู้ใช้งานในไม่ช้า
จอภาพแบนLCD

จอภาพแบนLCD(Liquid Crystal Display)มี 2 ประเภทคือ
  1. Active matrix หรือ TFT(Thin Film Transistor) มีคุณภาพสูง ราคาแพง สามารถตอบสนองต่อสัญญาณภาพได้รวดเร็ว ไม่มีปัญหาเรื่องภาพเบลอ ใช้เทคนิค เพิ่มแผงทรานซิสเตอร์อีกชุดหนึ่งให้กับจอผลึกเหลว และใช้ทรานซิสเตอร์อีกตัวหนึ่งควบคุมการแสดงสีในจุดภาพ จึงต้องใช้ทรานซิสเตอร์ 3 ตัว
  2. Passive matrix หรือ DSTN(Dualscan Twisted Nematic) คุณภาพพอใช้ ราคาถูก ใช้เทคนิคแบ่งหน้าจอ LCD ออกเป็นสองส่วน แต่ละส่วนมีการสแกนภาพที่เป็นอสระของตนเอง ซึ่งแก้ปัญหาจากภาพเบลอได้ เป็นเทคนิคที่ใช้วิธีการป้อนแรงดันขนาดต่ำ ให้กับแผงอิเล็คโทรด ซึ่งเรียงเป็นตารางด้านหลังของแผงผลึกเหลว โดยป้อนแรงไฟฟ้าผ่านเข้าไปทีละแถว จากบนลงล่าง ถ้าต้องการให้อิเล็คโทรดจุดไหนทำงานก็ระบุตำแหน่งว่าอยู่แถวไหน คอลัมท์ที่เท่าไหร่
    LCD มีข้อดีอยู่หลายประการไม่ว่าประหยัดเนื้อที่ ประหยัดพลังงาน และให้ภาพไม่ผิดเพี้ยน แต่ยังมีภาพรบกวนในบางสภาวะการใช้งาน
    และราคายังสูง
แม้ว่าจอภาพแบนแบบLCD จะมีข้อดีหลายประการโดยเฉพาะการให้ภาพไม่ผิดเพี้ยน แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องเรื่อง Moire และเงาของCursor อยู่ และในบรรดาจอภาพแบนLCD นั้น EIZO Nanno Flexscan L34 เป็นจอที่ให้ภาพสวยคมชัดที่สุดในปัจจุบันนี้

กลับไปที่สารบัญ

จอภาพแบบใหม่
จอภาพ Plasmaใช้หลอดขนาดเล็กบรรจุก๊าซซีนอน เลียนแบบหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ เมื่อมีการปล่อยกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหลอดใด ก๊าซก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นพลาสมา แล้วปล่อยพลังงานออกมาในรูปของรังสีเหนือม่วง(ultraviolet) ซึ่งจะไปกระตุ้นสารฟอสเฟอร์ไวแสงสีต่างๆสามสีบนผิวจอให้สว่างขึ้นมา สามารถตอบสนองต่อสัญญาณภาพได้รวดเร็ว แต่ไม่สามารถแสดงผลรายละเอียดภาพได้สูงมากนัก เพราะไม่สามารถลดขนาดหลอดบรรจุก๊าซได้มากนัก

จอภาพ FEDs(Field Emission Displays) หรือ Thin CRT เป็นจอภาพที่ใช้ขั้วคาโถดขนาดเล็กๆจำนวนมากมาเรียงกัน เพื่อทำให้จอบางขึ้น ขนาดความหนาประมาณ 2.5 ม.ม. สามารถมองภาพได้ชัดเจนในมุมกว้างเกือบ 180 องศา แต่อยู่ระหว่างการพัฒนา และมีราคาแพงมาก
กลับไปที่สารบัญ

จอสัมผัส

TOUCH SCREEN ( หรือจอระบบสัมผัส ) เป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นของจอคอมพิวเตอร์ ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถสัมผัสจอ แล้วได้รับการตอบสนองจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็มีการคิดค้นเทคโนโลยีที่แตกต่างกันมากมายจากหลายๆ บริษัท เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และเพื่อที่จะใช้ TOUCH SCREEN HARDWARE ให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์จะต้องสามารถ อ่านและ run ซอฟแวร์ หรือ driver ที่รู้วิธีการตอบสนองไปยัง hardware TOUCH SCREEN เป็น INPUT DEVICE ที่มีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งแม้แต่เด็กก็ยังสามารถเรียนรู้การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ โดยการสัมผัสได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม software ต้องได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ สำหรับรับข้อมูลจาก touch screen เพื่อที่จะทำให้เกิดความสะดวกในการใช้ DEVICE DRIVER มีอยู่ทุกฐานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งรวมถึง Microsoft Windows, IBM OS/2, Apple Mac OS และระบบ UNIX โปรแกรม GUI (graphical user interface) สำหรับฐานคอมพิวเตอร์เหล่านี้ ต้องใช้เทคนิคบางอย่างเช่น เมนู pull down ซึ่งจะใช้งานได้ดีมาก เมื่อใช้ mouse การใช้นิ้วสัมผัสจะใหญ่กว่า cursor ของ mouse และต้องใช้กับ เมนู pull down เพื่อใช้กับระบบ touch screen "DOUBLE CLICKING" เป็น GUI อีกแบบซึ่งไม่ค่อยสะดวกในการใช้ถ้าเป็นระบบแบบสัมผัส ดังนั้น โปรแกรมที่จะทำเพื่อให้สะดวกในการใช้ touch screen จะต้องมีการออกแบบให้สามารถใช้ได้ตามข้อกำหนดดังกล่าว ตลาดของ touch screen จะเกี่ยวของกับ จุดของการขาย การประชาสัมพันธ์ การควบคุมระบบในอุตสาหกรรม การพนัน และ ลอตเตอรี่ การแผ่ขยายของ touch screen ไปในส่วนของการทำธุรกิจร้านอาหาร และการขาย มีแนวโน้มขยายไปอย่างรวดเร็ว

TOUCH SCREEN ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน
  1. แผ่นหน้าจอสัมผัส เป็นแผ่นกระจกหนาประมาณ 1/8 นิ้ว ซึ่งมีขนาดและความโค้งพอดีกับหน้าจอ CRT (cathode ray tube) แผ่น touch screen จะไม่สามารถมองเห็นเมื่อประกอบเข้ากับขอบพลาสติก ตัวควบคุม touch screen มีทั้งอยู่บริเวณหลังหน้าจอ หรือแบบอยู่ในตัวเครื่อง แล้วส่งข้อมูลจากการสัมผัสนี้เข้ามาในตัวคอมพิวเตอร์
  2. touch screen driver software : software จะประมวลผลข้อมูลที่ได้จากหน้าจอสัมผัส ส่วน driver จะเปลี่ยนข้อมูล (ข้อมูลตำแหน่ง X-Y ) ให้เป็นข้อมูลสำหรับเม้าส์ และนำส่งข้อมูลที่เปลี่ยนแล้วไปเป็น โค้ดสำหรับบังคับเม้าส์ ซึ่งเป็นหน่วยที่บรรจุอยู่ใน host server software ตัวบังคับเม้าส์นี้จะทำงานอยู่ใน host เราจะไม่สามารถทราบว่า ข้อมูลที่ได้รับเป็นโค้ดสำหรับเม้าส์นี้มาจากตัวเม้าส์เอง หรือมาจากหน้าจอที่ควบคุมโดยการสัมผัส ซึ่งทั้งสองวิธี เราสามารถใช้ได้พร้อมๆกัน

ชนิดของ TOUCH SCREEN

RESISTIVE
ประกอบด้วยแผ่นแก้วเคลือบที่มีขนาดและความโค้งพอดีกับหน้าจอ มีแผ่นโลหะนำไฟฟ้าใสบางเคลือบอยู่บริเวณภายนอกของแผ่นแก้ว แล้วเคลือบด้วยพลาสติกแข็งที่นำไฟฟ้าได้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งมีสารตัวนำเคลือบอยู่ข้างใต้ สารตัวนำที่เคลือบนี้จะเป็นจุดเล็กๆมากมาย แต่ละจุดขนาดเล็กกว่า 1/1000 นิ้ว กระแสไฟที่น้อยๆก็สามารถผ่านได้ เมื่อผู้ใช้สัมผัส touch screen สารตัวนำในแผ่นพลาสติก จะไปเชื่อมต่อกับสารตัวนำที่เคลือบบนผิวแก้ว ตัวควบคุมจะได้รับข้อมูลจากการสัมผัส แล้วส่งข้อมูลเป็นพิกัด X-Y



CAPACITIVE
เมื่อหน้าจอถูกสัมผัส นิ้วจะเสมือนดังเก็บประจุ ที่จะนำกระแสจากมุมทั้ง 4 ของหน้าจอ ตัววัดจะวัดค่ากระแสตกและคำนวณเป็นค่าพิกัด X-Y

SURFACE WAVE
แต่ละแกนของเคลือบผิว จะมีตัวรับคลื่นไฟฟ้าที่แปรให้เป็นพิกัดทิศทางเดียวกัน และมีแถบสะท้อนที่ทำหน้าที่นำคลื่นให้ส่งและรับคลื่นไปตามแนวขวางของแผ่นเคลือบ ตัวควบคุม touch screen ส่งความถี่ 5 MHz ไปยังตัวแปลงไฟที่ส่งสัญญาณกลับเป็นคลื่นเสียง คลื่นนี้จะแพร่ไปตามแนวขวางของแผ่นแก้วเคลือบ เมื่อนิ้วสัมผัสหน้าจอ touch screen ส่วนหนึ่งของคลื่นจะถูกดูดกลืน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ตัวควบคุมการรับสัญญาณ แล้วเปลี่ยนเป็นข้อมูลพิกัด X-Y บางทีก็พบว่ามีพิกัด Z ด้วย



INFRARED
แผ่นรับรังสีอินฟราเรดระบบสัมผัส (IR) ประกอบด้วย Light-Emitting Diodes (LEDs) และ Photo-transistors จะทำหน้าที่รับและแปลงแสงอินฟราเรดที่ตรวจจับได้ แล้วแปลงให้เป็นพิกัด X-Y

ประโยชน์ของ touch screen

เหมาะกับโปรแกรมงานที่ออกแบบมาให้เหมาะกับผู้ใช้ทุกประเภท ทั้งผู้ที่ไม่เคยใช้และไม่เคยสัมผัสคอมพิวเตอร์มาก่อน หรือสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างคล่องแคล่วก็ตาม เพื่อให้สามารถเข้าสู่การทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่ายและรวดเร็วเพียงปลายนิ้วสัมผัส เช่น โปรแกรมประเภทให้ข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว หรือข้อมูลทางด้านอื่นๆที่ต้องการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วๆไปได้รับทราบ หรือใช้บริการได้ง่าย เพียงสัมผัสที่หน้าจอ หรือ โปรแกรมข้อมูลของพนักงานทุกคนในบริษัท หรือ โปรแกรมอื่นๆที่ออกแบบมาให้สามารถเข้าสู่การทำงานได้อย่างสะดวกและง่าย ด้วยการใช้ touch screen

กลับไปที่สารบัญ

1