ความเป็นมาและการติดตั้งหน่วยความจำ
เมื่อหลายปีก่อนในขณะที่ CPU 386 ของ Intel ซึ่งเป็น CPU 32 บิต เป็นที่นิยมใช้กันอยู่นั้น ผู้ผลิตเมนบอร์ดก็ได้มีการค้นหาว่าเทคโนโลยีของ
หน่วยความจำแบบใดที่เหมาะสมที่จะใช้กับ CPU 386 มากที่สุด ในที่สุดเทคโนโลยี หน่วยความจำที่ถูกคิดค้นขึ้นก็คือเทคโนโลยีหน่วยความจำแบบ SIMM (Single In-line
Memory Module) ซึ่งหน่วยความจำแบบ SIMM นี้มีลักษณะเป็นแผงโมดูลที่ประกอบด้วยชิพ หลายๆตัว และต่อจากนั้นมาก็ได้มีการนำหน่วยความจำแบบ SIMM มาใช้แทนหน่วยความจำ
แบบเก่าที่ติดตั้งชิพเป็นตัวๆบนเมนบอร์ด
หน่วยความจำแบบSIMMจะมีออกมาหลายขนาดและหลายความเร็วซึ่งความเร็วของหน่วยความจำจะมีหน่วย เป็น ns หรือนาโนวินาที คุณสามารถสังเกตความเร็ว
ของหน่วยความจำได้จากชิพแต่ละตัวบนแผงโมดูลซึ่งจะมีเขียนบอกไว้ SIMM ที่นิยมใช้กันในขณะนั้นจะมีจำนวนขาอยู่ 30 พิน โดยจะมีทั้งแบบที่มีชิพบนแผง
โมดูลอยู่ 2 หรือ 3 ตัว และแบบที่มีชิพอยู่ 8 หรือ 9 ตัว ถ้ามี 8 ตัวจะเป็น Non Parity ถ้าเป็นหน่วยความจำที่มีชิพ อยู่ 3 ตัว หรือหน่วยความจำที่มีชิพอยู่ 9 ตัว จะเป็นหน่วยความจำที่มี Parity
เมื่อได้มีการพัฒนาไปใช้ CPU 486 ที่มีบัส 32 บิต และ CPU Pentiumที่มีบัส 64 บิต ถ้าจะยังใช้ SIMM RAM 30 พิน ที่มีแบนด์วิดท์เพียง 16 บิต
จะเป็นการไม่เพียงพอจึงได้มีการพัฒนา SIMM RAM 72 พินออกมาโดยมีแบนด์วิดท์เป็น 2 เท่าของแบบ 30 พิน คือมีแบนด์วิดท์เป็น 32 บิต
SIMM RAMแบบ 72 พินนี้เหมาะกับ CPU ที่เป็น 32 บิตขึ้นไป อย่าง CPU 486 , Pentium , Pentium Pro และ Pentium 2 ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนา
หน่วยความจำแบบ EDO (Extended Data Out) ออกมาซึ่งมีความเร็วมากกว่าหน่วยความจำ FPM แบบเดิม
เนื่องจาก SIMM 72 พินมีข้อจำกัดในการติดตั้งที่ต้องใส่เป็นคู่ไม่สามารถใส่แผงเดียวได้
ซึ่งทำให้การติดตั้งอาจจะกระทำได้ค่อนข้างลำบากเพราะต้อง ใส่หน่วยความจำในลักษณะเอียง 45 องศาก่อน แล้วจึงจะสามารถดันหน่วยความจำเข้าไปได้ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาหน่วยความจำแบบใหม่ที่มีความเร็วมากกว่า EDO โดยให้ชื่อหน่วยความจำ
ชนิดนี้ว่า DIMM (Dual In-line Memory Module) ลักษณะของ DIMM ก็จะเป็นไปตามชื่อ กล่าวคือจะมีพินอยู่ทั้งสองด้านของโมดูลผิดกับหน่วยความจำแบบ SIMM ที่ถึงแม้จะมีจุดสัมผัสของพินทั้งสองด้านก็ตามแต่ทั้งสองด้านจะเป็นพินเดียวกันเช่นใน DIMM ซึ่งมีพิน 168 พิน แต่ละด้านจะมีพินอยู่ 84 พิน ส่วน
SIMM ซึ่งมี 72 พินแต่ละด้านก็จะมีพินอยู่ 72 พิน
DIMM จะมีให้เลือกใช้หลายขนาดถ้าเป็น DIMM ที่ใช้กับเครื่อง Laptop จะมีจำนวนพินอยู่ 72 พินคือมีพินด้านละ 36 พิน นอกจากนี้ยังมี DIMM ที่มี
144 พิน โดยมีพินด้านละ 72 พิน และ DIMM ที่มี 168 พินซึ่งใช้กับเครื่อง Desktop ที่เรารู้จักกันดี
DIMM แบบ 168 พินจะมีขนาดความยาวกว่า SIMM 72 พินอยู่ 1 นิ้ว การติดตั้ง DIMM สามารถทำได้ง่ายและสะดวกกว่า SIMM เพราะการติกตั้ง
DIMM ไม่จำเป็นต้องเอียง 45 องศา แต่สามารถใส่ในแนวตรง 90 องศาได้เลย โดยในการใส่ต้องปลดขาล็อกทั้ง 2 ข้างออกก่อนแล้วจึงกดหน่วยความจำ
DIMM ลงไป ในซ็อกเก็ต DIMM และล็อกด้วยขาทั้ง 2 ข้าง นอกจากนี้การจะอัพเกรด DIMM ก็สามารถทำได้สะดวกเพราะสามารถใส่แผงเดียวก็ได้ไม่จำเป็นต้องใส่เป็นคู่
เหมือนใน SIMM
หน่วยความจำแบบ DIMM มีใช้เฉพาะในเมนบอร์ดที่ใช้กับ CPU Pentium, Pentium Pro และ Pentium 2 หน่วยความจำแบบ DIMM จะมีความเร็วมากกว่า
EDO อยู่เล็กน้อยเพราะหน่วยความจำแบบ DIMM มีความกว้างของทางเดินข้อมูล หรือแบนด์วิดท์ถึง 64 บิตซึ่งเท่ากับ CPU Pentium Pro และ Pentium 2
ขนาดความจุของ หน่วยความจำ
หน่วยความจำที่มีจำหน่ายจะมีทั้งแบบ Single Side และ Double Side หน่วยความจำแบบ Single Side หมายถึงหน่วยความจำที่มีชิพเพียงด้านเดียว ส่วนหน่วยความจำแบบ
Double Side เป็นหน่วยความจำที่มีชิพทั้ง 2 ด้าน
ไม่ว่าจะเป็นหน่วยความจำแบบ SIMM หรือ DIMM จะมีวิธีการดูขนาดความจุของหน่วยความจำเหมือนกัน กล่าวคือเลขตัวแรกจะเป็นจำนวน MB ส่วนเลขตัวที่ตาม
มาหลังเครื่องหมายคูณเป็นเลขจำนวนบิตที่บ่งบอกว่าเป็นหน่วยความจำประเภทใดถ้า เป็นเลข 32 จะเป็น SIMM แต่ถ้าเป็น 64 จะเป็น DIMM
ให้คุณนำเลขตัวหลัง หารด้วย 8 เพื่อทำให้เป็นไบต์ แล้วคูณกับเลขตัวแรกจะได้ขนาดความจุของ หน่วยความจำนั้นออกมา เช่น ถ้าเป็น 4 x 32 SIMM ก็จะหมายถึง 4 MB x (32/8)
บิต ซึ่งจะได้ 4 MB x 4 ไบต์ เท่ากับ 16 MB แสดงว่าเป็น SIMM ขนาด 16 MB แต่ถ้าเป็น 4 x 64 DIMM ก็จะเป็น DIMM ที่มีขนาด 4MB x 8 ไบต์ เท่ากับ 32 MB
DRAM (Dynamic Random Access Memory)
ถือเป็นหน่วยความจำชนิดแรกๆที่มีการผลิตกัน DRAM จะทำงานได้ช้าเพราะ DRAM ต้องมีการเขียนข้อมูลลงไปซ้ำหลายครั้งเพื่อรักษาข้อมูลภายในให้คงอยู่เราเรียกการเขียนข้อมูลลงไปซ้ำๆนี้ว่า การรีเฟรช(ชาร์จไฟใหม่) ข้อมูลจะต้องมีการ refresh ทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้ายกระบวนการเหล่านี้ใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที
แต่ในขณะที่เกิดขึ้นนั้นระบบปฏิบัติการจะไม่สามารถอ่านหรือเขียนข้อมูลจากหน่วยความจำได้ซึ่งเราเรียกช่วงเวลานี้ว่า wait state ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่โปรเซสเซอร์ไม่ได้ทำงานอะไร เนื่องจากต้องรอจนกว่าหน่วยความจำจะทำงานเสร็จ ถึงแม้ว่า DRAM จะเป็นหน่วยความจำที่ช้าแต่ก็มีผู้นำมาใช้เพราะมีราคาถูกถ้าเทียบกับหน่วยความจำชนิดอื่น
FPM DRAM (Fast Page Mode DRAM)
หน่วยความจำชนิดนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจาก DRAM แต่ก็ยังมีความเร็วไม่มาก เท่าใดนัก ก่อนที่ EDO DRAM จะเข้ามาหน่วยความจำชนิดนี้มีผู้นิยมใช้เป็นจำนวนมาก โดยแตกต่างจาก DRAM ที่การลดช่วงการหน่วงเวลาในขณะเข้าถึงข้อมูลลง ทำให้มัน
มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่า DRAM ปกติ โดยที่สัญญาณนาฬิกาปกติในการเข้าถึงข้อมูล
จะเป็น 6-3-3-3 (เป็นอัตรา burst rate หมายถึง จำนวนรอบการทำงานของ CPU ที่ใช้ในการอ่านข้อมูล 4 bit ด้วยเงื่อนไขการอ่านข้อมูลที่เรียกว่า four-bit burst)( Latency เริ่มต้นที่ 3 clock พร้อมด้วย 3 clock สำหรับการเข้าถึง page )
และสำหรับระบบแบบ 32 bit จะมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุด 100 MB ต่อวินาที
ส่วนระบบแบบ 64 bit จะมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดที่ 200 MB ต่อวินาที
EDO DRAM (Extended Data Output DRAM)
เป็นหน่วยความจำที่มีความเร็วในการทำงานสูงกว่า FPM DRAM 15% เพราะ EDO สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลที่เป็นคำสั่งหรือค่าต่างๆกับแคชภายใน CPU ได้ ทีละบล็อค ซึ่ง FPM DRAM จะทำได้ทีละไบต์เท่านั้น และ CPU สามารถเข้าถึงข้อมูลในขณะที่ DRAM ถูก refresh ได้ ซึ่งเท่ากับว่าไม่มี wait state ทำให้ EDO สามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลได้มากกว่า FPM ด้วยระยะเวลาที่เท่ากัน จึงทำ ให้ EDO ทำงานได้เร็วกว่า EDO สามารถทำงานกับความเร็วบัส ได้ถึง 66 MHz และ 83.3 MHz ที่ Timing 5-2-2-2 และหากว่า chip EDO นี้ มีความเร็วที่สูงมากพอ ( มากกว่า 50ns ) มันก็สามารถใช้งานได้
ณ 100 MHz ที่ Timing 6-3-3-3 EDO จะทำงานได้ดีเมื่อใช้กับแคชที่เป็นแบบ Pipeline Burst อัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดของ DRAM ชนิดนี้อยู่ที่ 264M ต่อวินาที
การทำงานของ EDO DRAM จะอ้างอิงตำแหน่งที่อ่านข้อมูลจากครั้งก่อนไว้ด้วย ปกติแล้วการดึงข้อมูลจาก RAM ณ ตำแหน่งใดๆ มักจะดึงข้อมูล ณ
ตำแหน่งที่อยู่ใกล้ๆ จากการดึงก่อนหน้านี้ เพราะงั้น ถ้ามีการอ้างอิง ณ ตำแหน่งเก่าไว้ก่อน ก็จะทำให้
เสียเวลาในการเข้าถึงตำแหน่งน้อยลง และอีกทั้งมันยังลดช่วงเวลาของ CAS(สัญญาณกำหนดตำแหน่งหลัก-Column Assign Signal) latency ลงด้วย
และด้วยความสามารถนี้ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลดีขึ้นกว่าเดิม กว่า 40% เลยทีเดียว
SDRAM (Synchronous DRAM)
สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้ทันทุกช่วงสัญญาณนาฬิกาของ CPU ซึ่งจะทำให้ CPU สามารถประมวลผลได้ทันทีโดยไม่ต้องคอยหน่วยความจำ SDRAM สนับสนุนความเร็วบัสได้ถึง 100 MHz หรือ มากกว่า และมี Access Time เพียง 10 ns
SDRAM จะใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดการทำงาน โดยจะใช้ความถี่ของสัญญาณเป็นตัวระบุ SDRAM จะทำงานตามสัญญาณนาฬิกาขาขึ้น เพื่อรอรับตำแหน่งที่ต้องการให้มันอ่าน แล้วจากนั้น มันก็จะไปค้นหาให้ และให้ผลลัพธ์ออกมา หลังจากได้รับตำแหน่งแล้ว เท่ากับ ค่า CAS เช่น CAS 2 ก็คือ หลังจากรับตำแหน่งที่จะอ่านแล้ว มันก็จะให้ผลลัพธ์ออกมา ภายใน 2 ลูกของสัญญาณนาฬิกา
SDRAM จะมี Timing เป็น 5-1-1-1 ซึ่งแน่นอน และมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 528 M ต่อวินาที โดยใช้อินเตอร์เฟสแบบ DIMM 168 pin
Full Parity RAM
เป็นหน่วยความจำที่สามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการอ่านและเขียนข้อมูล ถ้าพบว่ามีข้อมูลผิดพลาด ก็จะเกิดการหยุดทำงานของระบบ(system halt) ทำให้มีเสถียรภาพในการอ่านและเขียนข้อมูลดีที่สุด ราคาค่อนข้างสูง
โดยจะมี ชิพเพิ่มจากเดิม 1 ตัว
Error Checking and Correction (ECC)
เป็น หน่วยความจำชนิดหนึ่งราคาค่อนข้างสูง เพราะมันมีความสามารถตรวจเช็คความผิดพลาดของข้อมูลพร้อมทั้งแก้ไข bit ที่ผิดพลาดให้ด้วย
โดยไม่ทำให้ระบบหยุดทำงาน(system halt) สังเกตโดยมีชิพตัวเล็กๆที่อยู่ริมขอบด้านหนึ่งของหน่วยความจำ
RAM ได้ มักจะใช้ในเครื่องระดับ SERVER หรือเครื่อง Hi-End ต่างๆ
DDR SDRAM (SDRAM II)
เป็น SDRAM รุ่นใหม่ โดยการทำงานของ DDR SDRAM นั้นจะใช้การส่งข้อมูลผ่านสัญญาณขาขึ้น และ ขาลง ของสัญญาณนาฬิกา แทนแบบเดิมที่ส่งข้อมูลผ่านสัญญาณขาขึ้นเท่านั้น
ทำให้อัตราส่งถ่ายเพิ่มเป็น 2 เท่า คือที่มาของชื่อ DDR (Double Data Rate)
นั่นเอง คล้ายๆกับ การทำงานในโหมด 2X ของ AGP มีอัตราส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดถึง 1 G ต่อวินาที และมี Access Time เพียง 7.5 ns
ปัจจุบันมีการนำมาใช้กับ CPU Athlon,Duronของ AMD โดยมีจำหน่ายรุ่น PC1600(เทียบเท่า SDRAM PC-100) , PC2100(เทียบเท่า SDRAM PC-133) PC2400(เทียบเท่า SDRAM PC-150) และ PC2700(เทียบเท่า SDRAM PC-166) ขนาด 184 pin ทำงานที่ความถี่ 266 - 300MHz
SLDRAM
ใน SLDRAM จะใช้สถาปัตยกรรม Super Pipelined ลดไซเคิลการ
ทำงานบางอย่างที่ทำให้ความเร็วลดลงออกไปด้วยความเร็วของ
SLDRAM ทำให้สามารถทำงานได้ทันกับความเร็วบัส
อีกทั้งพลังงานต่ำและมีระบบ ประหยัดพลังงานภายในอีกด้วย
ESDRAM (Enhanced Synchronous DRAM)
ได้รับการคิดค้นโดยบริษัท EMSI โดยมีบริษัทที่เป็นสมาชิกในกลุ่มคือ
บริษัท IBM, Digital และ VLSI ซึ่งจะนำไปใช้กับเครื่อง Alpha ของ
Digital โดยประสิทธิภาพความเร็วที่ ESDRAM มีมากกว่าหน่วยความจำทั่วไป
เกิดจากการนำ Row Register Cache
เข้าไปรวมไว้ในชิพซื่งทำให้เพจข้อมูลของ ESDRAM
สามารถเปิดได้คราวละ 2 เพจ
ในขณะที่หน่วยความจำทั่วไปจะเปิดได้ครั้งละเพจเดียว เท่านั้น
RDRAM (Direct Rambus RAM)
ได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท Rambus เป็น
หน่วยความจำแบบ RIMM 184 pin(168 pin?) เป็นเทคโนโลยีหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงมาก มีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดถึง 1.6 G ต่อวินาทีต่อ 1 ช่องสัญญาณ โดยใช้ Rumble Channel ความเร็ว 533 MB/s - 2 GB/s
ที่ความถี่ 533-800 MHz และสนับสนุนความเร็วบัส 267 MHz ซึ่งทำให้ RDRAM
สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลได้เร็วทันกับซีพียูที่มีบัส 133 MHz โดยไม่ต้องเสียเวลารอแบบหน่วยความจำรุ่นเก่า ใช้กระแสไฟฟ้า 2.5 V
ปัจจุบันมีการนำมาใช้กับ CPU ของ Intel Pentium4 โดยมีจำหน่ายรุ่น PC600 และรุ่น PC800 ขนาด 184 pin
RDRAM มีความแตกต่างจาก DRAM ทั่วไป
รวมทั้ง SDRAM หลายๆด้านที่เด่นชัดที่สุด คือ RDRAM ใช้อินเตอร์เฟสระหว่างตนเองกับ Controller ขนาดเพียงแค่ 8 บิตแต่ด้วยความเร็วในระดับสูง (250MHz) ถึงแม้ว่า DRAM ส่วนใหญ่จะใช้อินเตอร์เฟสขนาด 16 หรือ 32 บิต (และรวมเอา DRAM ขนาด 16 บิต 4 ตัว หรือขนาด 32 บิต 2 ตัว
ในการสร้างเส้นทางขนาด 64 บิตไปยังโปรเซสเซอร์) แต่จะพบว่า DRAM เหล่านี้ไม่สามารถรันได้รวดเร็วเท่า RDRAM
NVRAM (Nonvolatile RAM)
คือ Ram ชนิดพิเศษที่สามารถเก็บข้อมูลเอาไว้ได้ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้ว
โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บใน EEPROM เช่น ESCD ใน mainboard
VRAM (Video RAM)
WRAM (Window RAM)
SGRAM (Synchronus Graphic RAM)
MDRAM (Multibank Dynamic RAM)
มีหลักการทำงานคือสามารถแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ ได้พร้อมๆกับการประมวลผลคำสั่งในโปรเซสเซอร์ของการ์ดแสดงผลทำให้การแสดงผลสามารถทำได้ราบรื่น
โดยการเพิ่ม serial port พิเศษขึ้นมาอีก 1 หรือ 2 port โดยที่ serial port ที่เพิ่มขึ้นมา จะใช้ในการส่งข้อมูลภาพ ออกสู่ display
ส่วน parallel port ซึ่งเป็น standard interface ของมัน จะถูกใช้ในการติดต่อกับ host processor
เพื่อสั่งการให้ทำการ refresh ภาพขึ้นมาใหม่
สามารถรับข้อมูลเข้ามาและส่งออกไปได้ในเวลาเดียวกัน สามารถรองรับ Bandwith ที่สูงกว่า อีกทั้งยังใช้ระบบ Double-Buffer ทำให้ WRAM มีความสามารถในการทำงานสูงกว่า VRAM พัฒนาโดย Matrox
มีความเร็วในการทำงานสูงพอๆกับ SDRAM แต่ SGRAM จะใช้สำหรับการ์ดแสดงผล โดยแตกต่างจาก SDRAM ที่ฟังก์ชั่นซึ่งใช้โดย Page Register ซึ่ง SGRAM สามารถทำการเขียนข้อมูลได้หลายๆตำแหน่ง ในสัญญาณนาฬิกาเดียว ทำให้มีความเร็วในการแสดงผลสูงมาก และClear หน้าจอได้เร็วมาก และ ยังสามารถเขียนเพียงแค่บาง bit ใน word ได้ ( คือไม่ต้องเขียนข้อมูลใหม่ทั้งหมด เขียนเพียงแค่ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ) โดยใช้ bit mask ในการเลือก bit ที่จะเขียนใหม่
เป็นหน่วยความจำที่ใช้กับการ์ดแสดงผลที่มีความเร็วในการทำงานสูง มาก สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้เป็นกิกะไบต์ต่อวินาที
CACHE คือ หน่วยความจำขนาดเล็กที่มีความเร็วสูงซึ่งเก็บข้อมูล หรือคำสั่งที่ถูกเรียกใช้หรือเรียกใช้บ่อยๆ ข้อมูลและคำสั่งที่เก็บอยู่ใน CACHEซึ่งทำงานโดยใช้ SRAM (STATIC RAM) ซึ่งจะต่างจาก DRAM คือ จะrefresh ก็ต่อเมื่อ เราสั่งให้มัน refresh เท่านั้น ข้อมูลที่เก็บไว้ใน CACHE จะถูกดึงไปใช้งานได้เร็วกว่าการดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก (MAIN MEMORY) ซึ่งใช้DRAM (DYNAMIC RAM )หลายเท่าตัว
เมื่อหน่วยประมวลผล(CPU)ทำการอ่านข้อมูล มันจะตรวจสอบว่าข้อมูลที่ต้องการเรียกใช้นั้นมีอยู่ใน CACHE หรือไม่ ถ้ามี ข้อมูลก็จะถูกถ่ายทอดไปยังหน่วยประมวลผลอย่างรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเรียกข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก(DRAM หรือ RAM)ซึ่งจะใช้เวลานาน แต่ถ้าตรวจสอบแล้วไม่มีข้อมูลอยู่ใน CACHE หน่วยประมวลผลจะดึงข้อมูลจาก(DRAM หรือ RAM) จากนั้นจะทำสำเนาและเก็บข้อมูลไว้ใน CACHE ด้วย ถ้ามีการเรียกใช้ข้อมูลนี้อีก ข้อมูลจะถูกดึงจาก CACHE เมื่อต้องการเรียกใช้ข้อมูลที่มีอยู่ใน CACHE จะเรียกว่า HIT ประสิทธิภาพการทำงานของ CACHE ขึ้นอยู่กับอัตราการพบข้อมูล(HIT RATE) CACHEที่ดีคือ CACHEที่จำข้อมูลที่ถูกเรียกใช้บ่อยได้ดี
บนบอร์ด 100 MHz ของ Intel ต้องใช้เวลาถึง 180 Nanosec เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ในขณะที่ใช้เพียง 45 Nanosec ในการนำข้อมูลจาก CACHE ด้วยประสิทธิภาพที่ไม่น่าเชื่อของ CACHE ทำให้น่าจะใช้ CACHE มาเป็นหน่วยความจำหลักแทน แต่หน่วยความจำของ CACHE ใช้SRAM ซึ่งมีราคาสูงกว่า DRAM ที่ใช้ในหน่วยความจำหลัก ถึงประมาณ6เท่า ฉะนั้นทำให้การใช้ CACHE แทนหน่วยความจำหลักนั้นไม่คุ้มค่าเพราะทำให้สิ้นเปลืองสูง โดยอาจจะเปรียบเทียบได้กับ การลงทุนทำร้านขายของชำเพื่อที่จะเก็บสินค้าทุกประเภท ซึ่งเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า
-Level 1 (L1 CACHE) คือ CACHEที่สร้างลงบนchipCPU หรือเรียกอีกอย่างว่าinternal CACHE มีขนาดเล็ก อย่างเช่น ขนาด 8k สำหรับ chip 486, เพนเทียมและ เพนเทียมโปรมีอยู่ 16k ส่วนเพนเทียม MMX และเพนเทียม II มี CACHE L1ขนาด 32k
-Level 2 (L2 CACHE) คือ CACHEที่อยู่ระหว่างCPU กับ DRAM หรือเรียกอีกอย่างว่า external CACHE แต่มีขนาดใหญ่กว่า CACHE ชนิด L1 มาก แต่ในปัจจุบันมี CACHE L2 ของคอมพิวเตอร์บางรุ่นอยู่บน Chip CPU เช่น Chip ของ intel Pentium IIเป็นต้น
CACHE L2 256k สามารถประหยัดเวลาในการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากในการเก็บข้อมูลที่ใช้เป็นประจำ
และการเพิ่ม CACHE L2 อีก 256k เป็น 512k จะช่วยในการเก็บข้อมูลของ CACHE L2 ได้มากขึ้น ปัจจุบันมี CACHE L2 ขนาด 1M ซึ่งใช้กับเพนเทียมโปรและในอนาคตจะมี CACHE L2 ขนาด 1Mและ 2M สำหรับเพนเทียมทู ออกมาซึ่งเป็นการพัฒนาของ CACHE L2อีกขั้นหนึ่งด้วย
สำหรับ CACHE L1 นั้น ได้มีแผนการพัฒนาโดยจะขยายขนาดขึ้น คาดว่าจะออกสู่ตลาดภายในปลายปี2541นี้ และจะมีการผลิต CACHE L3 โดยทางบริษัท AMD คาดว่าจะนำเข้าสู่ตลาดภายในปลายปี2541 หรือต้นปี2542 ซึ่งCACHE L3 จะเป็น external cache และย้าย CACHE L2 เข้าไปอยู่ใน CPU โดยจะออกมากับชิป AMD K6+ 3D หรือ AMD K7
A SRAM(Asynchronous Static RAM)
ถูกนำมาใช้เป็น cache ตั้งแต่ CPU 80386 มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลรวดเร็วกว่า DRAM และราคาแพงกว่า ที่นิยมใช้กันมีอยู่ 3 รุ่น
แบ่งตามอัตราความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล มี 20, 15, 12 นาโนวินาที(ns) แต่ไม่สามารถที่จะทำงานที่ความเร็วเท่าๆกับความเร็วของ CPU ทำให้
CPU ต้องเสียเวลาคอยข้อมูล(Wait State)จาก SRAM
S SRAM(Synchronous Burst Static RAM)
มีคุณสมบัติ Burst คือ ใช้สัญญาณนาฬิกาในการทำงานให้น้อยที่สุด โดยใช้สัญญาณนาฬิกาของตัวสแตติกหน่วยความจำเอง
ในการอ่านข้อมูลที่ต่อเนื่องกัน สามารถรองรับความเร็วของสัญญาณนาฬิกาของระบบบัส 66 MHz
ไม่ต้องเสียเวลาคอยข้อมูล(Wait State) ในท้องตลาดมีอยู่ 2 รุ่นคือ 8.5 และ 12 นาโนวินาที(ns)
เหมาะกับ เมนบอร์ดเพนเทียม
PB SRAM(Pipelined Burst Static RAM)
มีหน่วยความจำรีจิสเตอร์พิเศษอยู่ในชิปหน่วยความจำ ช่วยให้สามารถที่จะโอนข้อมูลพร้อมๆกับการระบุตำแหน่งและ
อ้างถึงข้อมูลในสแตติกหน่วยความจำตำแหน่งต่อไป สามารถรองรับความเร็วของสัญญาณนาฬิกาที่สูงสุด 133 MHz
ในท้องตลาดมีอยู่ 2 รุ่นคือ 4.5 และ 8 นาโนวินาที(ns) เหมาะกับระบบใหม่ที่มีความเร็วของสัญญาณนาฬิกา 75 - 100 MHz
ศัพท์เทคนิคเพิ่มเติมเกี่ยวกับCACHE
AsynchronousSRAM - SRAM ที่ไม่ใช้ระบบสัญญาณนาฬิกา(clock signal)ในการควบคุมสัญญาณ โดยจะมีราคาต่ำกว่าsynchronous SRAM ประมาณ30% ซึ่งรวมทั้ง ประสิทธิภาพก็จะต่ำกว่าด้วย
Burst -เป็นsynchronous cache อีกประเภทหนึ่ง มีความเร็วมากกว่า asynchronous cacheประมาณ 30-50% โดยที่ราคาจะสูงกว่า asynchronous cache ประมาณ 50%
Cache controller -เป็นวงจรที่ทำงานภายใต้การทำงานของ CPU cache และ DRAM
Cache miss --การที่ข้อมูลที่ CPUเรียกใช้หาไม่พบใน cache
CELP socket - เป็นประเภทของsocketที่นิยมใช้กับcache
COAST - ย่อมาจาก cache on a stick เป็น cache ที่นิยมใช้กัน
Direct-mapped cache - เนื้อที่ใน cache ที่จัดเก็บ ข้อมูลแต่ละข้อมูล โดยมีตำแหน่งที่แน่นอน
Full-associative cache -การที่ cache รับรู้ที่อยู่ของหน่วยความจำหลักทุกตัว
Index -เป็นส่วนหนึ่งของCPU address bitsที่ใช้เพื่อหาตำแหน่งของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ใน cache
Pipeline burst -synchronous cacheเป็น CACHE ชนิดหนึ่งมีราคาถูกกว่า burst แต่มีคุณสมบัติเหมือนกัน
Primary cache -L1 Cache อยู่ภายใน CPU
Secondary cache -L2 Cache อยู่ภายนอก CPU
Set-associativity -จำนวนของตำแหน่งที่อยู่ในหนึ่ง main memory address ที่สามารถใส่ลงไปใน cache
Synchronous SRAM - SRAM ที่ใช้ระบบสัญญาณนาฬิกา(clock signal)ในการควบคุมสัญญาณ ซึ่งทำให้หน่วยความจำของ cache สามารถทำงานกับ CPU เป็นขั้นตอนที่แน่นอน โดยอาจเป็นได้ทั้ง Burst หรือ Pipeline Burst
Tag -เป็นองค์ประกอบของ CPU address bits ซึ่งใช้สำหรับเปรียบเทียบ tag bits ของ cache directory กับ main memory address
Tag RAM -โดยปกติ cache จะแบ่งเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ Tag RAM และData RAM โดย Tag RAM จะเก็บ Tag address ของตำแหน่งของข้อมูลใน cache ซึ่งจะมีขนาดเล็กกว่า ส่วน Data RAMซึ่งใช้เก็บข้อมูลและคำสั่ง
Write Back (copy back) -การที่ CPU บันทึกข้อมูลที่ถูกเรียกใช้ ลงใน cache
Write Through -เทคนิคการเขียนข้อมูลจาก CPU ลงไปใน cache และหน่วยข้อมูลหลักพร้อมกันเพื่อความมั่นใจในความต่อเนื่องของข้อมูล
ROM(Read Only Memory)
PROM(Programable ROM) เป็น ROM ที่ยอมให้ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลได้โดยใช้วิธี burning in โดยเครื่อง PROM Programmer จะเขียนข้อมูลโดยการส่งกระแสไฟฟ้าแรงสูง มีอินพุท เพียง 8 อินพุท หรือน้อยกว่า เป็นคำตอบโลจิคแบบสากล
PROM ทางด้านอินพุท AND Array คงที่ และทางด้านเอาท์พุท สามารถโปรแกรม OR Array ได้
EPROM(Erasable PROM) เป็น PROM ที่สามารถลบได้ ผลิตจาก MOSFET ข้อมูลสามารถถูกลบได้โดยแสง UV(UltraViolet) เมื่อแสง UV กระทบ EPROM จะคายประจุทั้งหมด
Flash ROM หรือ EEPROM (Electrically Erasable Programmable ROM) เป็น EPROM ที่ลบข้อมูลได้โดยใช้กระแสไฟฟ้าธรรมดา เป็นส่วนประกอบของ BIOS ที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ มีบรรจุในตัวถัง 2 ประเภทคือ
คือหน่วยความจำที่สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ง่ายๆ ต้องใช้วิธีพิเศษที่ขึ้นอยู่กับชนิดของ ROM สามารถเก็บข้อมูลได้โดยไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยงวงจร
จะทำงานได้ช้ากว่า RAM ในการ setup BIOS จึงยังคงใช้วิธี Shadow RAM โดยจำลองข้อมูลใน ROM ไปเก็บไว้ใน RAM เพื่อเพิ่มความเร็วของระบบ
DIP(Dual In-Line Package) 32 ขา มีขาอยู่ 2ด้านของตัวถัง ตัวถังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดใหญ่ mainboard ส่วนใหญ่จะใช้แบบนี้
PLCC(Plastic Leadless Chip Carrier) 32 ขา มีขารอบตัวถัง จะมีขนาดเล็กกว่า นิยมใช้ใน mainboard ใหม่ๆเช่น Abit BH6