การปรับแต่ง Computer
TuneUp System
Tuneup BIOS
Tuneup DOS
Tuneup windows
Tune registry
Upgrade BIOS
Set bus speed
Over Clock
Up TAG RAMupgrade ของ us robotics 33.6
การประกอบเครื่องคอมฯเอง
การแบ่ง Partition และลง OS
POST Beeps
ไม่ขึ้นภาพ แต่มีเสียง beep 3 ครั้ง
มีเสียง ตี๊ด นาน 2-3 วิแล้วหยุดแล้วดังใหม่เหมือนเดิม
เครื่องเสีย เปิดไม่ติดเลย
เปิดเครื่องนับram ครบแต่ hang
boot ขึ้น Initial Plug and Play แล้ว hang
เปิดเครื่องแล้วไม่มีการโต้ตอบใดๆ
ไม่เคยใช้ผ้าคลุมเครื่องเลย
speaker no sound
ลำโพงเสียงแตก
การรักษาแผ่นดิสก์
floppy disk fail : 40
FDD เสียอ่านไม่ได้
บางครั้ง drive a: อ่านแผ่นdisk ได้บางแผ่น
Drive A ความจำค้าง
KB/Interface Error, KB I/O Error
Keyboard Hang
mouse เลื่อนไม่ค่อยไป
upgrade bios แล้ว boot ไม่ขึ้น
การ Clear CMOS
CMOS checksum error
เวลาเสียบปลั๊กเครื่องทำงานเลย
Controller ของ MainBoard เสีย
Unknown Flash Type
Reboot ตัวเอง เมื่อเล่นเกมบน dos
test ram เสีย
com มีอาการ restart เองบ่อยครั้ง
Unable to control A20 line

TuneUp System

ปรับให้Root มี Directory มาก และ มี File น้อยๆ เท่าที่จำเป็น

หมั่น Scandisk และ Defrag ทุก 2 - 4 อาทิตย์

เพิ่ม RAM และ Harddisk(ถ้าคุณมี RAM น้อยกว่า 32 MB และ Harddisk น้อยกว่า 2 GB)

กลับไปที่สารบัญ

Setup BIOS

ก่อนดีเทคพยายามอ่านที่เขาเขียนมากับตัวh/dว่าเท่าไหร่ อ่านแล้วจดไว้ก้อได้ครับว่า cylinder=? sec=? head=? แล้วพอdetect ออกมาลองดูว่าตรงหรือไม่ พอ detect จะให้เลือก 3 ข้อ คือ 1.normal 2.LBA 3.LARGE ก็ให้ดูว่าตัวเลือกไหนที่ได้ cylinder,sector,head ตรงกันเสร็จแล้วก็ให้ออกมาเข้าที่ standard ที่มีให้ เซ็ท drive เซ็ทวันที่น่ะครับ เสร็จแล้วให้ตรงดิ่งไปหา typeของh/d ที่เราdetect มาเมื่อกี้ ให้มองก่อนนะครับไม่ว่าเราจะเลือกเป็น normal lba large ก็ตาม ให้เอา cursor ที่เป็นแถบ แล้วลองกด Page up/Page Down เลือกเป็น Auto

AT Bus Clock Selection, Bus Clock, ISA CLK Speed ค่าเป็น SYSCLK/4 หรือ CLKI/3 ลดค่าตัวหารเพื่อเพิ่มความเร็ว

Exta AT Cycle Wait State, AT Cycle Between I/O Cycle ตั้งค่าเป็น 0 หรือ Disable เพื่อให้ไม่มี Wait State DRAM

Cache Write Wait State ตั้งค่าเป็น 0 หรือ Disable เพื่อให้ไม่มี Wait State

DRAM Burst Cycle, Memory Read Wait State จะมีค่า 3-2-2-2 ค่าที่น้อยคือค่าที่ทำให้เร็วขึ้น ถ้าปรับแล้ว คอมรวนหรือไม่ทำงาน ให้ปรับค่ากลับไปที่ค่าเดิม

สำหรับ RAM PC-100 ไปที่ Chipset feature setup แล้วตั้งค่า SDRAM CAS Latency เป็น CAS2 ได้ ถ้าใช้บัสที่ต่ำกว่า133MHz ( CAS3-PC100 )

1. AUTO CONFIGURTION เป็น disable
2. DRAM TIMING เป็น 60ns แต่จะหายไปเมื่อเลือก AUTO CONFIGURTION เป็น Disable
3. DRAM LOADOFF TIMING เป็น 10/6/3
4. DRAM READ BURST (EDO/FP) เป็น x222/x333
5. DRAM Write Burst Timing เป็น x222
6. Fast EDO Lead OFF เป็น disable
7. Refresh RAS# Assertion เป็น 5
8. Fast RAS to CAS Delay เป็น 2
9. Dram Page IDLE timer เป็น 2
10. Dram Enhanced Paging มี enabled,disable ลองดู ถ้าใช้แล้วไม่มีปัญหาก็เลือกไว้
11. Fast MA to RAS# Delay เป็น 1
12. Sdram (CAS Lat/RAS-to-CAS) เป็น 2/2 เมื่อตั้ง Bus Speed เท่ากับ 66 MHz หรือต่ำกว่า ถ้าใช้ Bus Speed ที่ 66 -83 MHz จะใช้ 3/3
13. Sdram Speculative Read เป็น enabled
14. System BIOS Cacheable เป็น enabled
15. Video RAM Cacheable เป็น enabled
16. 8-bit I/O recovery time: 1
17. 16-bit I/O recovery time: 1
18. Memory Hole At 15M-16M เป็น disable
19. PCI 2.1 Compliance เป็น enabled
20. set ให้การตรวจสอบ ram เป็นแบบ quick
21. เอาจัมเปอร์ไปเสียบให้เปิดสวิทซ์ Turbo
22. ปรับลด L2 latency เพื่อให้การทำงานเร็วขึ้น ส่วนการเพิ่ม latency เพื่อเพิ่มโอกาสในการ O/C คล้ายๆกับเป็นการหน่วงการทำงานของ L2 cache นะครับ เพราะเวลาเรา o/c แบบเพิ่ม fsb แล้ว ถ้า cache มันเอาไม่อยู่ที่ fsb ใหม่ ก็ต้องหน่วงการรับ-ส่งข้อมูลให้มันนิดนึงจะได้ทำงานได้อย่างไม่ผิดพลาด โดยมีค่ามาตราฐานอยู่ที่ 8

กลับไปที่สารบัญ

Tuneup DOS

1. set ใน config.sys ให้ file = 60 หรือมากกว่า และ buffer = 50 หรือมากกว่า
2. set ใน config.sys ให้ verify = off และ break = off และใช้ fastopen ถ้ายังใช้ Dos และ Windows รุ่นเก่าอยู่

กลับไปที่สารบัญ

Tuneup windows

1. เพิ่มขนาด Virtual Memory 2.5 - 3 เท่าของ Memory ที่มีหรือเท่ากับ 128 - your memory MB
2. set Virtual Memory เป็น Permanant swap file บน harddisk ที่เร็วและมีที่ว่างมากกว่า
3. ใช้ 32 Bit-DiskAccess ถ้ามี Driver Harddisk
4. ใช้ความละเอียดของจอต่ำสุดเท่าที่คุณพอใจ(ปกติคือ 640x480 256 สี ถ้าใช้จอ 15 นิ้วขึ้นไป ใช้ 800x600)
5. ย้าย font ที่ไม่ได้ใช้ไปไว้ที่ Dirctory อื่น ให้เหลือ 50 - 100 fonts
6. ลบ file ที่ลงท้ายด้วย *.tmp, *.log, *.bak, *.old,*.chk, *.ms,*.001
7. ลบ file ใน temp, recycle bin, history, cache ของ browser อย่างน้อยเดือนละครั้ง
8. ยกเลิก FindFast Index ใน StartUp และให้เหลือโปรแกรมใน StartUp เท่าที่จำเป็น
9. ลดขนาด recycle bin เหลือ 1 - 3 % ของขนาด Harddisk
10. ยกเลิก microsoft shortcut bar ใน startup ให้ทำ file,program ที่ใช้บ่อยๆ เป็น shortcut บน desktop
11. พยายาม Update driver ให้เป็นรุ่นล่าสุด หรือ Update Patch มาแก้ bug ของprogram
12. เข้า Control Panel => System => Performance => File System => Harddisk ตั้งค่าเป็น Network Server และ Read-ahead Optimization = full
13. ใช้ regclean,cleansweep,norton windoctor หรือ clean system directory ที่ download จาก http://www.ozemail.com.au/~ksolway/
เพื่อทำความสะอาดให้ registry และ system file ที่ไม่ได้ใช้งาน
14. ใช้ program set MTUspeed เช่น tweakDUN เพื่อเพิ่มความเร็วให้ Modem

กลับไปที่สารบัญ

Tune registry

1. hkey_current_user\Control Panel\desktop\WindowMetrics เพิ่มค่า MinAnimate เป็น String Value 0

2. hkey_current_user\Control Panel\desktop เพิ่มค่า MenuShowDelay เป็น String Value 100 หรือน้อยกว่า

กลับไปที่สารบัญ

Upgrade BIOS


1.download data ของ BIOS และ utility ที่ใช้เขียน Flash เช่น awdflash.exe,pflash.exe
2.save ข้อมูลเก่าเก็บไว้
กลับไปที่สารบัญ

Set bus speed

- บัสมันคือเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าข้อมูลส่งผ่านได้เร็ว ความเร็วก็จะสูงขึ้นด้วย
สำหรับsocket7นั้นจะมีแคชระดับสองที่ทำงานที่ความเร็วบัส ดังนั้นการเพิ่มความเร็วบัสจะให้ผลที่ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจนมาก เร็วกว่าเพิ่มตัวคูณ
ส่วนแบบSlot1ที่L2 Cacheอยู่กับCPUการเพิ่มความเร็วบัส ถึงแม้จะไปเพิ่มความเร็ว ในการส่งถ่ายข้อมูลกับส่วนต่างๆ แต่ผลที่ได้อาจจะไม่ค่อยเด่นชัดเท่าไหร่

-การ set Pentium II หรือ Celeron ให้สามารถ Overclock โดย set Bus Speed เป็น 100 โดยปิดขาที่ B21 เนื่องจากตัว m/b มันจะ check จาก B21 ว่าค่ากระแสไฟเป็นเช่นไรถ้ามีค่ามากเป็น high มันจะ set ไปที่ 100 MHZ ถ้าค่าน้อยเป็น low มันจะ set ไปที่ 66 MHZ

กลับไปที่สารบัญ

Over Clock

***ข้อควรระวัง*** การ overclock อาจก่อปัญหาให้เกิดกับหน่วยความจำและแหล่งจ่ายไฟ(Power supply)ได้
จึงควรเปลี่ยนหน่วยความจำให้มีคุณภาพดีขึ้นและจ่ายไฟได้มากขึ้น เพราะหน่วยความจำอาจไม่รองรับ bus speed ที่สูงขึ้นและเมื่อ CPU ทำงานเร็วขึ้น จะกินไฟมากขึ้น

-บอร์ด Pentium socket 7 มากกว่า 95% สามารถตั้งตัวคูณได้ และตั้ง bus speed เป็น 50,60 และ 66 Mhz ได้ แต่หลายๆคน คงยังไม่ทราบว่าบอร์ดทุกบอร์ดนั้น สามารถรองรับ CPU ที่ต้องตั้งตัวคูณแบบต่างๆกันได้ทุกรูปแบบอยู่แล้ว นั่น หมายความว่า ไม่ว่าในคู่มือบอร์ดคุณจะว่าอย่างไรก็ตาม แต่ผมกำลัง จะ บอกว่า บอร์ด socket 7 ทุกบอร์ด สามารถตั้งตัวคูณและ bus speed ให้กับ CPU ได้ทุกรุ่น ตั้งแต่ Pentium 75 ขึ้นไปถึง Pentium 233MMX แต่ช้าก่อน! คน ที่มีบอร์ดเก่าอย่าเพิ่งดีใจรีบวิ่งออกไปซื้อ Pentium 233MMX มาใส่เชียวนะครับ เพร าะบอร์ดเก่ายังติดปัญหาที่การจ่ายไฟที่ไม่สามารถจ่ายไฟ dual voltage ได้ ทำให้ไม่สามารถใช้ CPU ที่ใหม่กว่า Pentium MMX ได้ ยกเว้น IDT winchip C6

หากคุณลองสังเกตในคู่มือของบอร์ดให้ดี จะเห็นว่า มี jumper หรือ dipswitch สำหรับตั้งตัวคูณเพียงสองตำแหน่งเท่านั้น ทำให้มันไปไปได้แค่สี่รูปแบบ คือ off-off, off-on, on-off, และ on-on เท่านั้น ซึ่ง jumper เหล่านี้จะไปเชื่อมต่อ เข้ากับขา BF0 และ BF1 ของ CPU ซึ่งเป็นตัวกำหนดให้ CPU ทำงานที่ความ เร็ว กี่เท่า ของ bus clock ที่ป้อนเข้ามาให้ CPU และเนื่องจากการตั้งตัวคูณนี้ สามารถตั้งได้แค่สี่แบบเท่านั้น แต่ CPU ใน ปัจ จุบัน มันมีตัวคูณมากกว่าสี่แบบนี่นา (1.5X, 2X, 2.5X, 3X, 3.5X, 4X ก็มี) แล้ว เขาตั้งอย่างไร?

คำตอบง่ายนิดเดียวครับ ก็ตั้งให้เหมือนกันกับแบบเก่า จะเป็นไรไป

ก่อนที่คุณจะงงมากไปกว่านี้ ผมอยากจะขอยกตัวอย่าง การตั้งตัวคูณของ CPU Pentium มาให้ดูก่อนเลยครับ งัดเอาจากคู่มือของบอร์ด Gigabyte ที่ผม มีแล้วกัน หากต้องการตัวคูณ 1.5X (P75,90,100) ก็ต้องตั้ง dipswitch เป็น off-off หากต้องการตัวคูณ 2.0X (P120,133) ก็ต้องตั้ง dipswitch เป็น on-off หากต้องการตัวคูณ 2.5X (P150,166 และ MMX) ก็ต้องตั้ง dipswitch เป็น on-on หากต้องการตัวคูณ 3.0X (P200 และ MMX) ก็ต้องตั้ง dipswitch เป็น on-off หมดแล้วนะครับ ทั้งสี่ความเป็นไปได้ แล้ว CPU ที่เร็วกว่า 3.0X ล่ะเขาทำ ยังไง? ง่ายนิดเดียว ก็ตั้งเหมือน CPU เก่าซักตัวนึงไงล่ะ ซึ่งสำหรับ clock 3.5X ของ Pentium 233 MMX นั้น ทาง Intel เลือกให้ตั้งเหมือน 1.5X ซึ่งก็คือตั้ง เหมือน Pentium 75,90,100 นั่นเอง ดังนั้น จึงตั้งเป็น off-off ครับ ดังนั้น จึงเกิดทฤษฎีในการเลือก CPU เพื่อมาลงบอร์ดของคุณดังนี้

1. บอร์ดรุ่นเก่าๆหลายตัว โดยเฉพาะสมัย chipset 430FX มักจะบอกว่าใช้ได้ ถึง Pentium 166 เท่านั้น แต่เชื่อได้ว่า น่าจะตั้งให้ใช้ได้ถึง Pentium 200 ดังนั้น ผมอยากจะบอกว่า บอร์ด Pentium socket 7 ทุกรุ่น ที่ใช้ Pentium 166 ได้ ก็สามารถใช้ CPU ได้สูงสุดอย่างน้อยๆถึง Pentium 200 และถ้าอยากได้ เร็วกว่านี้และต้องการ MMX ด้วย คุณมีทางเลือกอีกทางคือ IDT Winchip C6 ซึ่งใช้ไฟ 3.3V ธรรมดา ตอนนี้มีแต่รุ่น 200 Mhz ซึ่งเร็วพอๆกับ Pentium 200 ถึงจะไม่เร็วมากมายนักแต่ก็แต่ราคาถูกมาก หากต้องการเร็วกว่านี้ ก็ยังมีรุ่น 225 Mhz (75x3) และ 240 Mhz (60x4 ซึ่งตั้ง multiplier ที่ 1.5X) กำลังจะออกมา

2. หากบอร์ดคุณ support การจ่ายไฟสองชุดหรือ dual voltage 2.8/3.3 V และ/หรือ ใช้ CPU Pentium 166MMX ได้ คุณสามารถใช้ CPU ได้ทุกรุ่นจนถึง Pentium 233MMX, AMD K6-200 และ Cyrix M2 PR233 ได้ (ซึ่งตัวนี้ทำงานที่ 200 Mhz)

ส่วน AMD K6-233 นั้น ต้องการไฟ dual voltage แต่ Vcore ต้องใช้ถึง 3.2 V และ รุ่นหลังมาต้องการที่ 2.5 V ดังนั้นเมนบอร์ดต้องสามารถตั้งไฟได้หลายระดับ จึงจะสามารถใช้ AMD K6 233 และ K6-2 ได้ ก็ อย่างไรก็ตาม เคยมีคนใช้ K6- 233 รุ่นที่ใช้ VCore 3.2 V โดยใช้ไฟที่ 2.8 V ก็ใช้ได้ แต่ไม่แนะนำนะครับ เพราะอาจจะไม่เสถียร

การ set ให้ X4.0 นั้น เช่น mainboard ผมได้ที่ สูงสุด 200MHZ ธรรมดา แล้วผมจะไปซื้อ IDT 240MHZ มาใช้ ก็ set BUS 60 แล้วคูณ 4.0 โดยการ set ให้คูณ อยู่ที่ 1.5

pentium 223mmx ถ้าบอร์ดคุณใส่ CPU MMX ได้อยู่แล้ว วิธีตั้ง ก็แค่ตั้งให้เหมือน 166MMX แต่ตั้งตัวคูณเหมือน pentium 100

บอร์ด socket 5 ต้องซื้อ adapter มาลงครับ ราคาแพงอยู่ อาจจะไม่คุ้มหากเป็นเครื่อง no brand แต่ถ้าเป็นเครื่อง brandname ที่เปลี่ยนบอร์ดไม่ได้ ก็อาจจะเป็นหนทางเดียวที่ upgrade ได้

-อย่าไปยุ่งกะแรงดัน(voltage)เชียว ถ้า oc มากๆ การเพิ่มแรงดันจะช่วยให้ เสถียรขึ้น แต่ก็จะร้อนขึ้นมากๆด้วย (เตรียมอุปกรณ์ ระบายความร้อนให้ดี)

-การOCมีผลให้อายุCPUสั้นลงก็จริงครับ แต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่เรายอมรับกันได้ เพราะเราต้องเปลี่ยนCPUใหม่กันประมาณ2-3ปีต่อครั้งอยู่แล้ว (บางคนเปลี่ยนทุกปี) จริงหรือไม่คุณคิดเอาเองนะ และผมก็คิดว่ามันเป็นการใช้ทรัพยากรณ์อย่างคุ้มค่าทางหนึ่งด้วย ดีกว่าที่เราจะปล่อยให้มันกลายเป็นของเก่าไปเฉยๆ เพราะCPU Clock มันวิ่งไปเร็วเกินกว่าที่ เราจะใช้มันคุ้ม

กลับไปที่สารบัญ

Up TAG RAM

บอร์ด HX เข้าบอกว่าให้ใส่ TAG RAM เข้าไปจะใช้ limit cache ได้มากกว่า 64 mb ถ้ามี RAM มากกว่า 64 MB

-SRAM standard 5Volt จะใช้ 16K8 หรือ 32K8 chip ก็ได้ หรือใช้ tag ram จาก board 486 ใช้เบอร์ W24257AK-15 กับแรม 128 เป็นของ Winbond หรือเปล่าไม่แน่ใจ ใช้กับ m/b ที่มี cache on board ที่มี cache 256 หรือไม่มีเลย แล้วจะเพิ่ม cache ทีหลัง cache module ถ้ามี extended tag อยู่แล้วก็ไม่ต้องใช้ TAG SRAM อีก

อย่าลืมดูที่ cache module ก่อนว่ามี Tag แล้วหรือยัง (มันจะมี chip ตัวที่สามเพิ่มขึ้นมาอีกตัวนึง) ถ้ามีแล้วก็เลิกหาได้ ถ้าเป็น 512kb onboard จะเติม cache ไม่ได้

กลับไปที่สารบัญ

upgrade ของ us robotics 33.6 ไปเป็น x2 56K

ก่อนอื่น คุณต้องทราบก่อนว่าโมเด็มของคุณเป็นรุ่นที่ upgrade ได้หรือเปล่า ข้อมูลที่ ผมได้มา เขา upgrade รุ่น US Robotics Sportster 33600 Voice Internal ดังนั้นหากของคุณไม่ใช่รุ่นนี้แต่จะลองดูก็ขอให้ชั่งใจเสี่ยงกันเอาเองนะครับ แต่ผมเชื่อว่ารุ่น external ของรุ่นนี้น่าจะทำได้เหมือนกัน เจ้าของวิธีเขาบอกว่า การ upgrade นี้ใช้ได้กับโมเด็มที่มี id หมายเลข 00117102 เท่านั้น ทีนี้ เราจะทราบได้อย่างไรว่าโมเด็มของเรา id อะไร ใน text file ก็ไม่ได้บอกไว้ เหมือนกัน แต่ผมเข้าใจว่าสามารถใช้คำสั่ง ATI อันใดอันหนึ่งให้รายงานออกมาได้ ใน windows 95 ให้เข้าไปที่ใน property ของ modem แล้วจะมีอยู่ที่หนึ่งที่มันจะให้คลิ กเพื่อทดสอบและรายงานโมเด็มออกมา ตรงนี้ มันจะไปสั่งคำสั่ง ATI ทั้งหลายแล้ว โมเด็มก็จะรายงานตัวเองออกมาทางหน้าจอ ซึ่งหนึ่งในนั้น ก็น่าจะมี โมเด็ม id นี้ด้วย ลองตรวจดูนะครับ เขายังบอกด้วยว่า โมเด็มของคุณจะ upgrade ได้ ต้องมี flash ROM ด้วย ให้ตรวจโดยการดูผลการรายงานจากคำสั่ง ATI7 ซึ่งมันจะบอกถึง Flash date และ Flash Rev ถ้าไม่มีแสดงว่าโมเด็มของคุณ upgrade ไม่ได้ครับ
ถ้าทุกอย่างผ่านหมด คุณเหลืออีกนิดเดียวเท่านั้น ให้ไปดึงไฟล์ .dmf ที่จริงๆแล้วคุณ ต้องเสียเงินแต่ผมจะให้ฟรี ได้ที่ http://www.warezslutz.com/crkspage/2data/download.pl-X2_V451.ZIP เมื่อเอามาแล้ว unzip ออก จะมี file .dmf อยู่และมี text file ที่เป็นที่มาของข้อมูลที่ผมกำลังเขียนอยู่นี้แหละ เสร็จแล้วไปดึงโปรแกรม upgrade flash ROM ได้ที่ site ของ US Robotics ที่ http://www.usr.com/home/online/muw/windows/setup.exe ไฟล์นี้มีขนาดใหญ่มาก ประมาณเกือบ 1300K เมื่อเอามาแล้ว ให้รันโปรแกรมนี้ มันจะ ถามว่าจะ upgrade แบบไหน ก็ตอบว่า have disk แล้วก็ใส่ชื่อไฟล์ X2_V451.DMF ที่ คุณเพิ่งได้มาฟรีๆเนี่ย ลงไป มันก็จะไปจัดการ upgrade โมเด็มของคุณให้เรียบร้อย

หากใช้ได้ดีและ upgrade ได้จริง ก็ขอให้ email ไปขอบคุณเจ้าของข้อมูลนี้ด้วยที่ creof@usa.net เพราะผมไม่ได้เป็นคนคิดเอง

กลับไปที่สารบัญ

การประกอบเครื่องคอมฯเอง

ในคอมพ์นั้นมันจะมีช่องเฉพาะของมันเอง อุปกรณ์อี่นเข้าไม่ได้ ( แต่ไม่ทุก อย่างนะ ) เทคนิคเล็กน้อยที่พอจะบอกได้ก็คือ สายแพตรงที่มีเสันสีแดง จะอยู่ติดกับสายเพาเวอร์เสมอ และมันก็จะเป็นเส้น 1 ด้วย ในสายHDD ต้องลองดูที่ main board มันจะมี Screen บอกเอา ไว้เช่นสาย Hdd ก็จะมีตำแหน่ง pin ที่ 1 บอกจุดเริ่มต้นเราก็ เอาสายแพด้านสีแดงเสียบลงไป ส่วนทางด้าน ram ก็จะมี socket ที่พอดีของมันกลับด้านก็ใส่ไม่ ได้ที่สำคัญอย่าลืมดูชนิดของแรมที่ซื้อมาด้วยล่ะว่ามันใช้กับ เมนบอร์ดของเราได้หรือเปล่า สายเพาเวอร์ก็จะมี socket ที่พอดีกับ drive C ,drive A ลองดูเอาเอง VGA จะเป็นชนิดใดก็ดูเอา เป็น pci หรือ agp มันก็จะมีช่อง ที่พอดีกันเหมือนกัน ในช่อง pci นั้นใส่ช่องไหนก็ได้ที่ว่างแต่ แนะนำให้ใช้ช่องที่ห่างจาก isa มากที่สุดเพราะส่วนใหญ่ช่องที่ติดกับ isa มักจะเป็นการแชร์กับ isa sound ก็ใส่ตามช่องเหมือนกัน เป็นแบบ pci หรือ isa ก็ใส่ลงไป เอาเป็นว่าดูจากเครื่องเดิมเป็นหลักก็แล้วกันนะครับ รองได้ว่าไม่เหมือนก็ใหล้เคียงแหละ อย่าลืมคู่มือสำคัญมาก คู่มือของ mainboard ควรศึกษาให้ละเอียดก่อน โดยเฉพาะเรื่องการ set jumper ต่าง ๆ

ก่อนการทำอะไรกับ HDD ควรจดค่าCylinder/Sector/ Head เอาไว้เสมอเพื่อให้ CMOS detect ให้ครบความจุ แล้วเลือก Autodetect Harddisk แล้วแบ่ง Partition และลง OS

กลับไปที่สารบัญ

การแบ่ง Partition และ ลง OS

1. ให้หาแผ่น Start up disk ของ Win95/98 มาก่อน คิดว่าเครื่องเดิมคุณคงลง 95 ให้ไปสร้างจาก control panel-->Add/Remove Program-->Start up Disk-->create หรือทำแผ่น Boot ใช้คำสั่ง format a: /s แล้ว copy fdisk จาก dos ไปที่แผ่น Boot หรือ copy c:\windows\command\fdisk.com a:
2. Boot เครื่องใหม่ด้วยแผ่นนี้
3. จาก A:\> พิมพ์ fdisk
4. ถ้าโปรแกรมถามอะไรเกี่ยวกับ Maximum Capacity ให้ตอบ Y
5. จะมี Menu ให้เลือก 1-4 ให้เลือก 1 Create Dos Partition
6. ให้เลือก 1 อีกที Create Primary Dos Partition ตอบ Y ถ้าเลือก 2 จะ Create Extended Dos Partition
7. ถ้าคุณใช้ DOS,Windows95 (FAT) จำนวนความจุมากที่สุดต่อ 1 Drive จะได้ 2 Gbyte เพราะฉะนั้นคุณต้องแบ่ง Partition ให้ C: = 2Gbyte ,แล้วต้องแบ่งที่เหลือเป็นแบบ Extension Drive แล้วก็ assign Drive ซึ่งจะเรียกว่า Logical Drive ก็จะสามารถใช้ได้ทั้งหมด
ถ้าเป็น Windows95 OSR2.1, Windows 98 (FAT 32) จำนวนความจุมากที่สุดต่อ 1 Drive จะได้มากกว่า 2 Gbyte อาจใช้เพียง Partition เดียวก็ได้
ถ้าคุณใช้ Windows NT ถ้าเป็นชุดแผ่นเต็ม (Boot ได้) ก็ให้ Boot จาก CD แล้วทำตามขั้นตอนก็จะสามารถแบ่งเป็น Partition เดียวทั้ง 5 Gbyte ได้ (NTFS) แต่ถ้าเป็นแผ่น NT ที่ไม่เต็ม ยังไงต้อง Create Partition (FAT) เพื่อ copy file NT Setup ลงไปอยู่ดี * หมายเหตุ FAT ถึงแม้ว่าจะแบ่งใช้ HardDisk หมดก็ตามยังจะมีส่วนที่ใช้ไม่ได้อยู่ประมาณ 20% ถ้าแบ่ง 1Gbyte ก็จะใช้ได้จริงๆเพียง 800 MByte ที่เหลือจะเป็นส่วนที่ใช้ไม่ได้
8. กด esc เมื่อแบ่ง partition เสร็จ
9. Boot ใหม่ แล้วพิมพ์ format c: /s ที่ A:\> ที่สำคัญที่สุดควรDownload พวก Disk Manager จากWebของผู้ผลิตเช่น Maxtor, Quantum etc. เพื่อ format ให้ได้ความจุสูงสุด
10. Boot ใหม่ แล้วหาแผ่น driver ของ CD-ROM ใน Dos มาลง เพื่อให้เห็น CD-ROM แล้ว เปลี่ยน drive เป็น D:\> (ถ้าคุณมี Hdd. ตัวเดียว) แล้ว setup Window95 จากแผ่น CD

กลับไปที่สารบัญ

POST Beeps

รหัสของเสียงสัญญาณบี๊บเวลา Error ตอนบู๊ตเครื่อง

Award BIOS

symbol: (o) for short beep (=) for long beep or lack of them
BeepsDisplayProblem Area
None NonePower
None Cursor onlyPower
None DOS promptSpeaker
oDOS promptNormal
o BASIC screenDisk
o=NoneMonitor
ooNoneMonitor
ooError code Otherusually memory
Several o305 error codeKeyboard
Several oAnything elsePower
Continuous beep Anything elsePower
=oAnything elseSystem board
=ooAnything elseMonitor
=oooAnything elseMonitor


AMI BIOS
1 beep Refresh failure
2 beeps Parity error
3 beeps Base 64K memory failure
4 beeps Timer not operational
5 beeps Processor error
6 beeps 8042 - gate A20 failure
7 beeps Processor exception interrupt error
8 beeps Display memory read/write failure
9 beeps ROM checksum error
10 beeps CMOS shutdown register read/write error
11 beeps Cache memory bad

For 1 beep, 2 beeps, or 3 beeps try reseating the memory first. If the error still occurs, replace the memory with known good chips.

For 4 beeps, 5 beeps, 7 beeps, or 10 beeps the system board must be sent in for repair.

For 6 beeps try reseating the keyboard controller chip. If the error still occurs, replace the keyboard chip. If the error persists, check parts of the system relating to the keyboard, e.g. try another keyboard, check to see if the system has a keyboard fuse.

8 beeps indicates a memory error on the video adapter. Replace the video card or the memory on the video card.

9 beeps indicates faulty BIOS chip(s). It is not likely that this error can be corrected by reseating the chips. Consult the motherboard supplier or an AMI product distributor for replacement part(s).

If no beeps are heard and no display is on the screen, The first thing to check is the power supply. Connect a LED to the POWER LED connection on the motherboard. If this LED lights and the drive(s) spin up then the power supply will usually be good.

Next, inspect the motherboard for loose components. A loose or missing CPU, BIOS chip, Crystal Oscillator, or Chipset chip will cause the motherboard not to function.

Next, eliminate the possibility of interference by a bad or improperly set up I/O card by removing all card except the video adapter. The system should at least power up and wait for a drive time-out. Insert the cards back into the system one at a time until the problem happens again. When the system does nothing, the problem will be with the last expansion card that was put in.

If the above suggestions fail to cause any change in the disfunction of the system, the motherboard must be returned for repair.


Phoenix
1-2-x, 1-3-x, 2-x-y หมายถึง หน่วยความจำพื้นฐาน 64 k แรกผิดพลาด
(x,y เป็นค่าแอดเดรสของหน่วยความจำที่ขัดข้อง)
3-4-1 หมายถึง video initialization failure
3-4-2 หมายถึง การทำงานของโปรแกรม video หรือ ROM scan ผิดพลาด
4-4-1 หมายถึง serial port write/read-back test failure
4-4-2 หมายถึง parallel port write/read-back test failure

This POST/BEEP code list is applicable only to PhoenixBIOS 4.x. For Phoenix ROM BIOS PLUS or PhoenixBIOS 1.xx, see BEEP3.TXT.


Beep POST code code Description/test point
1-1-1-3 02 Verify Real Mode 1-1-2-1 04 Get CPU type 1-1-2-3 06 Initialize system hardware 1-1-3-1 08 Initialize chipset registers with initial POST values 1-1-3-2 09 Set in POST flag 1-1-3-3 0A Initialize CPU registers 1-1-4-1 0C Initialize cache to initial POST values 1-1-4-3 0E Initialize I/O 1-2-1-1 10 Initialize Power Management 1-2-1-2 11 Load alternate registers with initial POST values 1-2-1-3 12 Jump to UserPatch0 1-2-2-1 14 Initialize keyboard controller 1-2-2-3 16 BIOS ROM checksum 1-2-3-1 18 8254 timer initialization 1-2-3-3 1A 8237 DMA controller initialization 1-2-4-1 1C Reset Programmable Interrupt Controller 1-3-1-1 20 Test DRAM refresh 1-3-1-3 22 Test 8742 Keyboard Controller 1-3-2-1 24 Set ES segment to register to 4 GB 1-3-3-1 28 Autosize DRAM 1-3-3-3 2A Clear 512K base RAM 1-3-4-1 2C Test 512 base address lines 1-3-4-3 2E Test 512K base memory 1-4-1-3 32 Test CPU bus-clock frequency 1-4-2-1 34 CMOS RAM read/write failure (this commonly indicates a
problem on the ISA bus such as a card not seated
correctly) 1-4-2-4 37 Reinitialize the chipset 1-4-3-1 38 Shadow system BIOS ROM 1-4-3-2 39 Reinitialize the cache 1-4-3-3 3A Autosize cache 1-4-4-1 3C Configure advanced chipset registers 1-4-4-2 3D Load alternate registers with CMOS values 2-1-1-1 40 Set Initial CPU speed 2-1-1-3 42 Initialize interrupt vectors 2-1-2-1 44 Initialize BIOS interrupts 2-1-2-3 46 Check ROM copyright notice 2-1-2-4 47 Initialize manager for PCI Options ROMs 2-1-3-1 48 Check video configuration against CMOS 2-1-3-2 49 Initialize PCI bus and devices 2-1-3-3 4A Initialize all video adapters in system 2-1-4-1 4C Shadow video BIOS ROM 2-1-4-3 4E Display copyright notice 2-2-1-1 50 Display CPU type and speed 2-2-1-3 52 Test keyboard 2-2-2-1 54 Set key click if enabled 2-2-2-3 56 Enable keyboard 2-2-3-1 58 Test for unexpected interrupts 2-2-3-3 5A Display prompt "Press F2 to enter SETUP" 2-2-4-1 5C Test RAM between 512 and 640k 2-3-1-1 60 Test expanded memory 2-3-1-3 62 Test extended memory address lines 2-3-2-1 64 Jump to UserPatch1 2-3-2-3 66 Configure advanced cache registers 2-3-3-1 68 Enable external and CPU caches 2-3-3-2 69 Initialize SMI handler 2-3-3-3 6A Display external cache size 2-3-4-1 6C Display shadow message 2-3-4-3 6E Display non-disposable segments 2-4-1-1 70 Display error messages 2-4-1-3 72 Check for configuration errors 2-4-2-1 74 Test real-time clock 2-4-2-3 76 Check for keyboard errors 2-4-4-1 7C Set up hardware interrupts vectors 2-4-4-3 7E Test coprocessor if present 3-1-1-1 80 Disable onboard I/O ports 3-1-1-3 82 Detect and install external RS232 ports 3-1-2-1 84 Detect and install external parallel ports 3-1-2-3 86 Re-initialize onboard I/O ports 3-1-3-1 88 Initialize BIOS Data Area 3-1-3-3 8A Initialize Extended BIOS Data Area 3-1-4-1 8C Initialize floppy controller 3-2-1-1 90 Initialize hard-disk controller 3-2-1-2 91 Initialize local-bus hard-disk controller 3-2-1-3 92 Jump to UserPatch2 3-2-2-1 94 Disable A20 address line 3-2-2-3 96 Clear huge ES segment register 3-2-3-1 98 Search for option ROMs 3-2-3-3 9A Shadow option ROMs 3-2-4-1 9C Set up Power Management 3-2-4-3 9E Enable hardware interrupts 3-3-1-1 A0 Set time of day 3-3-1-3 A2 Check key lock 3-3-3-1 A8 Erase F2 prompt 3-3-3-3 AA Scan for F2 key stroke 3-3-4-1 AC Enter SETUP 3-3-4-3 AE Clear in-POST flag 3-4-1-1 B0 Check for errors 3-4-1-3 B2 POST done--prepare to boot operating system 3-4-2-1 B4 One beep 3-4-2-3 B6 Check password (optional) 3-4-3-1 B8 Clear global descriptor table 3-4-4-1 BC Clear parity checkers 3-4-4-3 BE Clear screen (optional) 3-4-4-4 BF Check virus and backup reminders 4-1-1-1 C0 Try to boot with INT 19 4-2-1-1 D0 Interrupt handler error 4-2-1-3 D2 Unknown interrupt error 4-2-2-1 D4 Pending interrupt error 4-2-2-3 D6 Initialize option ROM error 4-2-3-1 D8 Shutdown error 4-2-3-3 DA Extended Block Move 4-2-4-1 DC Shutdown 10 error 4-2-4-3 DE Keyboard Controller Failure (most likely problem is
with RAM or cache unless no video is present) 4-3-1-3 E2 Initialize the chipset 4-3-1-4 E3 Initialize refresh counter 4-3-2-1 E4 Check for Forced Flash 4-3-2-2 E5 Check HW status of ROM 4-3-2-3 E6 BIOS ROM is OK 4-3-2-4 E7 Do a complete RAM test 4-3-3-1 E8 Do OEM initialization 4-3-3-2 E9 Initialize interrupt controller 4-3-3-3 EA Read in bootstrap code 4-3-3-4 EB Initialize all vectors 4-3-4-1 EC Boot the Flash program 4-3-4-2 ED Initialize the boot device 4-3-4-3 EE Boot code was read OK

Compaq
oo หมายถึง port COM1 หรือ COM2 เกิดการผิดพลาดในการตั้งค่า config
=oo หมายถึง video controller error

IBM
=oo หมายถึง video subsystem error

กลับไปที่สารบัญ

1