( ความเป็นมา ) ( โปรโตคอล ) ( โครงสร้างการเชื่อมต่อ ) ( ลักษณะการเชื่อมต่อ ) ( การควบคุมการจราจรในเครือข่าย ) ( อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ ) ( ศัพท์เทคนิค )
LAN(Local Area Network) คือ เครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้ในสำนักงาน โดยปกติจะหมายถึง การต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย แต่ละเครื่องจะอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ กัน เช่น ใน อาคารเดียวกัน คอมพิวเตอร์เหล่านี้จะทำงานร่วมกันได้ ใช้ข้อมูลหรือโปรแกรมร่วมกันได้ ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกันได้ LAN แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้         
LAN เกิดจาก Project 802 เป็นจุดเริ่มต้นของระบบ LAN ถูกคิดโดย IEEE ได้รวมระบบการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยใช้ OSI Model(Open System Interconnecttion Model)

รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology)

Peer-to-peer คือ วิธีการจัดเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง ที่กำหนดให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทุกเครื่องเหมือนกันหรือเท่าเทียมกัน โดยใช้ในเครือข่ายขนาดเล็กที่ไม่ใช้เซิร์ฟเวอร์ ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเลือกได้ว่าจะให้ผู้อื่นใช้ทรัพยากร(เครื่องพิมพ์,แฟ้มข้อมูล)อะไรร่วมกัน

Client-Server คือ วิธีการจัดเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ให้บริการทรัพยากรต่างๆร่วมกัน โดยมีเซิร์ฟเวอร์กลางควบคุม

Star topology(เครือข่ายแบบกระจาย) คือ รูปแบบการเชื่อมต่อ ที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมต่อกับฮับด้วยสายสัญญาณของตัวเอง ดังรูป

Ring topology(เครือข่ายแบบวงแหวน) คือ รูปแบบการเชื่อมต่อแบบวงแหวน ที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมต่อกันและกันเป็นวง เช่นแบบ Token Ring ดังรูป

Bus topology(เครือข่ายแบบสายรวม) คือ รูปแบบการเชื่อมต่อ ที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมต่อกันบนสายเส้นเดียวกันไปยังฮับเดียวกัน เช่นแบบ Ethernet ดังรูป

Mesh topology(เครือข่ายแบบตาข่าย) คือ รูปแบบการเชื่อมต่อ ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเชื่อมต่อโยงถึงกันหมด ใช้ในเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในบริเวณเดียวกันใกล้กันมาก ให้ความเชื่อถือสูงสุด แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก

Hierachical topology(เครือข่ายแบบตามลำดับขั้น) คือ รูปแบบการเชื่อมต่อ ที่คอมพิวเตอร์จะต่อกันตามลำดับความสำคัญของหน้าที่การใช้งาน ใช้ในระบบเฉพาะอย่าง

กลับไปที่สารบัญ

โปรโตคอล(Protocol)คือ กฎกติกาการส่งสารระหว่างคอมพิวเตอร์ เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย เพื่อให้คอมพิวเตอร์มีมาตรฐานในการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน กำหนดขึ้นโดย ISO เป็น OSI(Open System Interconnecttion) แบ่งเป็น 7 ระดับคือ

  1. ระดับกายภาพ(Physical Layer)จะกำหนดว่าจะต่ออุปกรณ์เข้ากันได้อย่างไร โดยกำหนดให้มีมาตรฐานระดับแรงดันอันเดียวกัน มาตรฐานทางอุปกรณ์เป็นอันเดียวกัน โดยมองในระดับข้อมูลทั้งหมด เช่น Ethernet, TokenRing
  2. ระดับรูปแบบของข่าวสาร(Data Link Layer)จะกำหนดว่า ข้อมูลที่มีอยู่ ตรงไหนเป็นข่าวสาร ตรงไหนเป็นส่วนเพิ่มเติม และจัดแบ่ง Block หรือ Frame ให้กับข่าวสาร โดยกำหนดรายละเอียดต่างๆที่ FEP(Front End Programable)
  3. ระดับเครือข่าย(Network Layer)จะกำหนดเส้นทางที่ข้อมูลจะวิ่งผ่านเครือข่ายไปยังจุดหมายปลายทาง รวมทั้งวิธีการจัดส่งผ่านเครือข่าย โดยกำหนดรายละเอียดต่างๆที่ FEP เช่น IP
  4. ระดับการขนส่ง(Transport Layer)เป็นระดับสำหรับจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ปลายทาง โดยทำหน้าที่ใส่ที่อยู่ของข้อมูล เป็นส่วนของโปรแกรมติดต่อสื่อสารในคอมพิวเตอร์ เช่น TCP
  5. ระดับการโต้ตอบ(Session Layer)กำหนดการโต้ตอบติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
  6. ระดับการจัดการแสดงผล(Presentation Layer)จัดรูปแบบของการแสดงผลที่จอของผู้รับเมื่อได้รับข่าวสาร เช่น DOS,Windows NT,Unix
  7. ระดับการประยุกต์(Application Layer)เป็นระดับสำหรับการเขียนคำสั่ง เพื่อควบคุมการรับ-ส่งข่าวสาร ในโปรแกรมติดต่อสื่อสาร เช่น Netware,HTTP, POP3, STMP, FTP, Telnet

กลับไปที่สารบัญ

ลักษณะการเชื่อมต่อ (Switching)คือ เกิดจากการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบ point-to-point ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถติดต่อกันได้อย่างทั่วถึง จึงได้เกิดอุปกรณ์ Switch เป็น Network Layer มี 3 รูปแบบดังนี้

  1. Circuit Switchingใช้ในโทรศัพท์ทั่วไป มีตัวตัดต่อเชื่อมโยงสายเข้าด้วยกันเป็นวงจร โดยไม่มีการจัดการในรูปแบบใดๆกับข่าวสาร ผู้ใช้จะต้องรอจนกว่าผู้รับจะว่าง ถ้าไม่ว่างจะแจ้งกลับมาว่าไม่ว่าง เหมาะกับสัญญาณ Analog มีการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว และเป็น Full - duplex แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
    • Space - division switches เป็นการแบ่งเส้นทางออกมาโดยกั้นด้วยช่องว่าง เป็นเครือข่ายแบบ Analog แบ่งได้อีก 2 ประเภท คือ
      1.Crossbar switches จะมี Microswitches ที่ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ การเชื่อมแต่ละจุดจะมีตัวโยกที่ทำหน้าที่ในการเชื่อม
      2.Multistage switches เป็นการใช้ Switch หลายๆตัวมาประกอบกันในการส่งสามารถส่งไปทางไหนก็ได้ ซึ่งต่างจาก Crossbar ประโยชน์ ค่อนข้างจะตายตัว ข้อเสีย ต้องอาศัยCrosspoint มาก
    • Time - division switches จะมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องในการแบ่ง Time - division จะใช้ TDM กับ TSI( TSI เป็นคอมพิวเตอร์ 1 ชุดที่ประกอบด้วยหน่วยความจำและ มีตัว Control unit เป็นตัวจัดการว่าจะส่งไปสายไหน ไม่จำเป็นต้องมี Crosspoint แต่จะเกิดการเสียเวลาในช่วงเปลี่ยนการเชื่อม) เป็นตัวจัดการว่าเครื่องใดติดต่อกับเครื่องใด (TDM เข้า n ออก 1) และไม่มี Switch มาเกี่ยวข้อง แต่ใช้การเชื่อมต่อเพียงจุดเดียวเท่านั้น ถ้ามี TSI ใน Switch เมื่อข้อมูลผ่าน TSI จะมีการเรียงข้อมูลใหม่โดยเรียงตามเวลาในการส่ง
  2. Message Switchingใช้ในระบบ Telex เมื่อส่งข่าวสารจะส่งไปทันที ตัวตัดต่อจะตรวจสอบว่าผู้รับว่างหรือไม่ ถ้าว่างจะส่งต่อไปยังผู้รับทันที ถ้าไม่ว่างจะเก็บข่าวสารไว้ในฮาร์ดดิสก์ โดยจะตรวจสอบและรอจนกว่าผู้รับจะว่าง
  3. Packet Switchingข่าวสารจะถูกแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ เรียกว่า Packet แล้วเพิ่มส่วนรายละเอียด ที่จะบอกถึงลำดับที่ของส่วนย่อย และผู้รับปลายทาง แล้วส่งไปทุกเส้นทางแยกกันไป โดยมีอุปกรณ์ที่แยกและตรวจสอบว่าสายไปนว่างจึงส่งไป เมื่อส่วนย่อยของข่าวสารทั้งหมดมาถึงผู้รับ ก็จะนำมารวมกันเป็นข่าวสารชิ้นเดียว ใช้ได้ทั้ง Analog และ Digital
    ประโยชน์ สามารถใช้เชื่อมต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้รับและผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำพร้อมๆกัน การจัดลำดับของข่าวสาร เป็นแบบง่ายๆ ไม่ซ้ำซ้อน สามารถปรับเปลี่ยน Data rate ได้ แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
    • Datagram packet มีเส้นทางเป็นของตัวเอง กำหนดแน่นอนว่าจะไปทางไหน
    • Virtual circuit packet ต่างๆ จะไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้และต่อไปจะไปทางใดก็ได้ ซึ่งเส้นทางจะไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่จะทำการกำหนดเส้นทางให้

กลับไปที่สารบัญ

การควบคุมการจราจรในเครือข่าย( Media Access Control, MAC )คือ การจัดการแบ่งเวลาในการใช้ สายสัญญาณ ( Cable )เพื่อป้องกันการชนกันของข้อมูล โดยการควบคุมการรับส่งข้อมูลในระบบ LAN มีอยู่ 2 วิธีคือ

  1. CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access /Collision Detection) ลักษณะการทำงานคือ เครื่องที่จะส่งข้อมูลจะคอย ฟังสัญญาณ CD(Carrier Detection) เพื่อตรวจสอบว่าสายว่างหรือไม่ ถ้าว่างก็จะส่งข้อมูลออกไปถึงยังผู้รับ ถ้ามีการชนกันก็จะมีการส่งซ้ำอีกครั้งจนกว่าจะสำเร็จ
    ข้อดีคือ มีการทำงานที่ไม่ซับซ้อน แต่มีข้อเสียในกรณีที่มีเครื่องลูกข่ายในเครือข่ายมากขึ้นจะทำให้การส่งข้อมูลทำได้ช้าลงและโอกาสการชนกันของข้อมูลมีมากขึ้น
  2. Token-passing ลักษณะการทำงาน คือ เครื่องลูกข่ายแต่ละเครื่องจะมีโอกาสส่งผ่านรหัส Token ตามลำดับที่ได้จัดไว้ เมื่อเครื่องใดได้รับ Token มาถ้าต้องการส่งข้อมูลก็สามารถส่งต่อไปได้สิ้นสุดการส่งด้วย token ปิดท้าย หากไม่ต้องการส่งข้อมูลก็ให้ส่งผ่าน token ไปยังเครื่องลูกข่ายในลำดับถัดไป
    วิธีการนี้ทำให้การส่งผ่านข้อมูลมีความน่าเชื่อถือสูง
    คล้ายกับการแจกไพ่ ถ้าเป็นไพ่ของตัวก็เก็บไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ผ่านไป

กลับไปที่สารบัญ

การตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูล(Error Detection & Collection) ข้อมูลจะถูกปฏิบัติการบางอย่างให้อยู่ในรูปแบบที่แน่นอน เพื่อสร้างข้อมูลสำหรับการตรวจสอบข้อผิดพลาดที่เรียกว่า FCS(Frame Check Sequence) แล้ว FEP จะส่ง FCS ไปพร้อมกับข้อมูล เมื่อผู้รับ รับข้อมูลแล้ว FEP ทางด้านรับจะแยกข้อมูล และ FCS ออกมา แล้วนำข้อมูลมาปฏิบัติการแบบเดิมเพื่อให้ได้ FCS ใหม่ออกมา แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน ถ้าเหมือนกันแสดงว่า การส่งข้อมูลถูกต้อง ถ้าแตกต่างกัน แสดงว่าข้อมูล หรือ FCS เดิมอาจจะผิดพลาด FEP จะให้ส่งข้อมูลเดิมมาใหม่อีกครั้ง

  1. Parity bit เป็น การเติมบิทเข้าไปทำให้จำนวนเลข 1 ทั้งหมด เป็นเลข คู่หรือคี่ แล้วจึงส่งข้อมูล แล้วตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าว่า จำนวนเลข 1 ยังคงเป็นเลขคู่หรือคี่หรือไม่ ใช้ตรวจสอบข้อมูลในแต่ละตัวอักษร มี 3 แบบ คือ
    • ทิศทางเดียว เช่น 0011 0101[1] 1010 0111[0] มีข้อจำกัด คือ จะเกิดปัญหาเมื่อเกิดสัญญาณรบกวนบิท ให้เปลี่ยนเป็นจำนวนคู่ ซึ่งจะทำให้การตรวจสอบข้อมูลแม้จะผิดพลาด ก็จะบอกว่าถูกต้อง
    • 2 ทิศทาง จะทำ parity ในทางด้านแถว และสดมภ์ แต่ อาจเกิดสัญญาณรบกวนทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างถูกต้อง เช่น
      0011 0101[1]
      1010 0111[0]
      [01101101]
    • หลายทิศทาง ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากสัญญาณรบกวนได้ แต่จะยุ่งยากซับซ้อน
  2. CRC(Cyclic Redundancy Check) จะปฏิบัติการกับตัวอักษรหลายๆตัว โดยมองเป็น block เดียว แล้วหาค่าคงที่ ค่าหนึ่งมาหาร แล้วนำเศษที่ได้มาเป็น FCS ใช้มากในการสื่อสารข้อมูล และการบันทึกข้อมูล แต่เราจะไม่รู้ว่าตำแหน่งใดที่เกิดข้อผิดพลาด อาจแก้ไขโดยให้ส่ง block ข้อมูลเดิมมาอีกครั้ง ปกติจะใช้ค่าคงที่ที่ใช้หารจะเกิดจากสมการโพลีโนเมียล ที่ใช้กันมากได้แก่

    CRC-12 = X12 + X11 + X3 + X2 + X1 + 1

    CRC-16 = X16 + X15 + X2 + 1

    CRC-CCITT = X16 + X12 + X5 + 1

  3. Matrix Sum จะนำข้อมูลมาจัดเรียงเป็นเมตริกซ์ โดยจัดลำดับเลขประจำตำแหน่งให้ข้อมูลแต่ละตัว แล้วรวมค่าทั้งแถวและสดมภ์ จึงส่งค่าที่ได้ออกไป เมื่อรับค่าผลรวมได้ จะแปลงกลับมาเป็นข้อมูล ถ้าเกินจะนับวนกลับใหม่ มีประสิทธิภาพต่ำกว่า parity และ CRC แต่สามารถรู้ตำแหน่งที่ข้อมูลผิดพลาดได้ ทำให้สามารถแก้ไขข้อมูลผิดพลาดได้ทันที

กลับไปที่สารบัญ

IEEE 802.2 คือ โปรโตคอลมาตรฐาน ที่ทำงานในระดับ data link layer ที่ใช้กับ IEEE 802.2, 802.3, 802.4

Ethernet(IEEE 802.3) คือ รูปแบบการเชื่อมต่อแบบบัส ที่ใช้วิธีการแบบฟังก่อนส่งผ่าน (CSMA/CD) และมีลักษณะการเชื่อมต่อ(switching)แบบ datagram packet โดยถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย จะฟังว่าเครือข่ายมีการส่งข้อมูลหรือไม่(กำลังอยู่ในสถานะ Busy หรือไม่) ถ้าเครือข่ายว่าง ก็จะมีการส่งข้อมูล โดยมีอัตราการส่งผ่านข้อมูล 10 MB/s พัฒนาโดย Xerox เกิดขึ้นในช่วงปี 1965-1970 ปัจจุบันมีการพัฒนาให้มีอัตราการส่งผ่านข้อมูลที่ 100 MB/s แล้ว มีข้อเสียในกรณีที่มีเครื่องในเครือข่ายมากขึ้นจะทำให้การส่งข้อมูลทำได้ช้าลงและโอกาสการชนกันของข้อมูลมีมากขึ้น

หลักการและโครงสร้างของ Ethernet

รูปแบบของ Ethernet นั้นได้กำหนดมาตรฐานของความยาวของบัส ไว้สูงสุดที่ 2.5 กิโลเมตร สามารถเชื่อมต่อ ภายใน Segment เดียวกัน ได้ถึง 500 เมตร ด้วยอัตราการส่งข้อมูล 10 Mbps. และสามารถเชื่อมต่อ สถานี (Stations) ได้ถึง 1,024 สถานีในทฤษฎีของ CSMA/CD access สามารถที่จะใช้ broadcast multi-access channel ได้ และรวมถึง

ตัวกลาง สายเกลียวคู่, สายโคแอกเชียล , สัญญาณวิทยุ หรือแม้กระทั่งสายใยแก้วนำแสง ได้ อย่างไรก็ตาม Ethernet ได้ถูกออกแบบมาสำหรับ Baseband Transmission โดยใช้ สายโคแอกเชียล ซึ่งได้แสดงถึง รูปแบบและ การออกแบบ Ethernet ประกอบด้วยส่วนประกอบ 4 ส่วนที่สำคัญบน Ethernet ซึ่งประกอบด้วยสถานี (station), ส่วนควบคุม (controller), ส่วนรับ-ส่ง (transmission system) และส่วนที่ติดต่อระหว่างส่วนควบคุมและส่วนรับ-ส่ง ซึ่งส่วนต่าง ๆ จะมีหน้าที่แตกต่างกันดังนี้

      สถานี จะเป็นชนิดของคอมพิวเตอร์หรือเป็นกลุ่มของ terminal

      ส่วนควบคุม จะเป็นกลุ่มของ function และ algorithms ที่ต้องการ ซึ่งจะจัดการรับ network จะรวมถึงการเข้ารหัส และการถอดรหัส, การแปลงข้อมูล serial เป็น parallel, Address Detection และการบัฟเฟอร์ โดยส่วนควบคุมจะมีหน้าที่ที่สามารถรวมไปถึง Hardware, Software และ Micromode ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานีนั้น ๆ โดยส่วนมาก และ Ethernet Controllers จะถูกออกแบบมาบน Single Chip      

      ส่วนรับ-ส่ง (Transmission System) จะรวมไปถึงส่วนประกอบที่สำคัญ สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่าง ส่วนควบคุม และรวมไปถึง Transmission Medium ก็คือ Transceivers และ Repeaters ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญ ในการ ขยายระยะการติดต่อสื่อสารออกไป จะใช้สายโคแอกเชียล เป็นตัวกลาง ประกอบไปด้วยสายสัญญาณและส่วนประกอบของ Hardware ที่สำคัญ เช่น Connectors, Terminators และ Taps ซึ่งตัว Terminator จะเป็นตัวที่ป้องกันสัญญาณที่ส่งออกไปไม่ให้กลับมายัง Bus อีก โดยใช้วิธีการ Matching Impedance ของ เคเบิลตัว Transceivers จะมีหน้าที่รับและส่งสัญญาณไปยังเคเบิล และยังต้องรับรู้ถึงหน้าที่ของ CSMA/CD เอาไว้ด้วย ซึ่งตัว Transceivers จะต้องคอยตรวจจับสัญญาณบนเคเบิลก่อนที่จะส่งสัญญาณออกไป และ ในขณะที่ ส่งเองก็ต้องคอยตรวจจับสัญญาณอื่น ๆ บนสายเคเบิลด้วย ตัว Repeater จะประกอบไปด้วยตัว Transceiver 2 ตัว ซึ่งใช้เชื่อมต่อเข้ากับ Ethernet Segment ตัว Repeater จะมีหน้าที่เพียงการส่งผ่านสัญญาณไปยัง Ethernet Segment เท่านั้น โดยจะไม่มีหน้าที่ในส่วน ของการรับรู้ CSMA/CD
ส่วนที่จะติดต่อระหว่างส่วนควบคุมกับส่วนรับส่ง จะเป็นสายเคเบิลที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อตัว Transceiver เข้ากับ Controller

Token Bus(IEEE 802.4) คือ เครือข่ายที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ bus และใช้การควบคุมการส่งสัญญาณแบบ token-passing ใช้สำหรับเครือข่ายที่อุปกรณ์แต่ละอุปกรณ์มีความต้องการ data rates ที่แตกต่างกัน และมี collision-free (ไม่มีการชนกันของข้อมูล) เนื่องจาก Token Bus เป็น logical ring จึงไม่จำเป็นต้องต่อทุกเครื่อง เหมาะสำหรับใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ

Token Ring(IEEE 802.5) คือ รูปแบบการเชื่อมต่อแบบวงแหวน(ring) พัฒนาโดย IBM ในปี 1969 ใช้การควบคุมการส่งสัญญาณแบบ token-passing โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลใส่ในถาด (token) ถาดนี้จะเดินตามสายผ่านไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่โดยรอบ เมื่อเดินไปถึงเครื่องที่จะเป็นตัวรับ ก็จะรับถาดนั้นไว้เพื่อถ่ายโอนข้อมูลออก เมื่อบันทึกข้อมูลลงในเครื่องของตนแล้ว ก็จะปล่อยถาดกลับไปยังคอมพิวเตอร์ที่ส่งข้อมูลมา เมื่อคอมพิวเตอร์ที่ส่งข้อมูลตรวจดูว่า ข้อมูลถูกรับไว้เรียบร้อยแล้ว ก็จะลบข้อมูลทิ้ง โดยคอมพิวเตอร์ที่มีโทเคนเท่านั้นจึงจะสามารถส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายได้ หมายความว่า เครือข่ายจะยอมให้แต่ละเครื่องส่งข้อมูลได้เครื่องละ 1 frame เท่านั้นต่อหนึ่งรอบ โดยมีอัตราการส่งผ่านข้อมูล 4 หรือ 16 Mbps มักจะใช้ใน LAN ขององค์กรใหญ่ๆ

IEEE 802.6 คือ โปรโตคอลมาตรฐานสำหรับ Distributed Queue Dual Bus (DQDB) เพื่อใช้ในการสื่อสารของ LAN และ MAN

IEEE 802.11 คือ โปรโตคอลสำหรับเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆแบบไร้สายผ่านสัญญาณวิทยุคลื่นสั้น ความถี่ 2.4 GHz ตามมาตรฐานของ ANSI โดยมีระยะการทำงานที่ 550 เมตร(อัตราการรับส่งข้อมูล 1 MB/s) หรือ 160 เมตร(อัตราการรับส่งข้อมูล 11 MB/s)

Bluetooth คือ โปรโตคอลสำหรับเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆแบบไร้สายผ่านสัญญาณวิทยุคลื่นสั้น ความถี่ 2.4 GHzโดยมีระยะการทำงานที่ 10 เมตร และมีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลที่ 721 KB/s

Arcnet(Attached Resource Computer network)คือ รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Star โดยใช้สายโคแอกเชียล เชื่อมต่อกับ HUB แบบ Arcnet อุปกรณ์ต่างๆราคาถูกกว่าแบบ Ethernet ใช้การควบคุมการส่งสัญญาณแบบ token-passing แต่มีความเร็วที่ต่ำเพียง 2.5 Mbps จึงไม่เป็นที่นิยมใช้แล้ว

DECnet คือ LAN แบบ Ethernet ที่พัฒนาโดย Digital Equipment Corp.

AppleTalk คือ LAN ของเครื่องแมคอินทอช โดยใช้โปรโตคอล CSMA/CD พัฒนาขึ้นมาในปี 1984 โดยสนับสนุน LocalTalk, Ethernet และ TokenRing มีอัตราการส่งผ่านข้อมูล 115 Kbps เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้สูงสุด 32 ตัว นอกจากนี้ยังสนับสนุน SNMP(Simple Network Management Protocol)

LocalTalkคือ รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Serial Bus โดยใช้สาย STP สำหรับใช้ในเครื่อง Macintosh มีอัตราการส่งผ่านข้อมูล 230.4 Kbps โดยใช้รูปแบบ Frame แบบ SDLC(Synchronous Data Link Control) โดยส่งสัญญาณผ่าน port RS422 โดยเชื่อมต่อในระยะห่างไม่เกิน 304.8 เมตร


NetBIOS/NetBEUI คือ โปรโตคอลสำหรับระบบเครือข่ายขนาดเล็ก ที่พัฒนาโดยบริษัท IBM และ Sytek

IPX/SPX(Internet Packet Xchange) คือ โปรโตคอลสำหรับการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก ที่พัฒนาโดยบริษัท Novell

TCP/IP (Transmittion Control Protocol/Internet Protocol) คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต โดยจะแบ่งข้อมูลเป็นส่วนย่อยๆ เรียกว่า Packet (แพ็กเก็ต) แล้วส่งไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง ซึ่งจะมีการนำมารวมกันอีกครั้งที่ คอมพิวเตอร์ปลายทางนี้ หากมีแพ็กเก็ตที่สูญหายไป ก็จะมีการส่งแพ็กเก็ตที่หายไปมาให้ใหม่ มักจะใช้ในระบบ UNIX หรือ Intranet

SNA(System Network Architecture) คือ สถาปัตยกรรมการเชื่อมต่อข้อมูลที่ใช้ในระบบ Mainframe ของ IBM พัฒนาขึ้นมาในปี 1974 โดยใช้มาตรฐานการส่งแบบ SDLC(Synchronous Data Link Control) ผ่านโปรโตคอลแบบ APPC(Advanced Program to Program Communication,โปรโตคอลภายใน SNA ที่สร้างสภาวะให้โปรแกรมสามารถทำงานข้ามเครือข่ายได้)


MAN(Metropolitan Area Network) คือ เครือข่ายในระดับเมืองซึ่งประกอบด้วยเครือข่าย LAN ตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไป เชื่อมต่อกัน

WAN(Wide Area Network) คือ เครือข่ายระยะไกลซึ่งประกอบด้วยเครือข่าย LAN ตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไป เชื่อมต่อกัน โดยที่ เราถือว่า Internet เป็นเครือข่าย WAN ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีมาตรฐานบนเครือข่าย WAN ดังนี้

PPP (Point-to-Point Protocol) คือ โปรโตคอลสื่อสารระหว่าง 2 จุดในแบบอนุกรม(ส่วนมากใช้โมเด็มผ่านสายโทรศัพท์) พัฒนามาจาก SLIP สามารถสนับสนุนโปรโตคอลหลายแบบเช่น IPX/SPX, TCP/IP

X.25 คือ โปรโตคอลมาตรฐาน สำหรับการส่งข้อมูลแบบ packet switching โดยข้อมูลแต่ละ packet มีขนาดตั้งแต่ 128 - 4096 byte พัฒนามาจาก BSC(Binary Synchronous Communication) ทำงานในระดับ physical, data link และ network layer โดยใช้ SDLC และ HDLC เป็นโปรโตคอลในระดับ data link layer จึงต้องมีการตรวจสอบข้อผิดพลาดมาก ทำให้มีความเร็วต่ำ โดยมีรูปแบบการกำหนดข้อมูลต่างๆใน packet ดังนี้


เหมาะสมกับงานประเภทออนไลน์ที่ทำงานแบบรายการย่อย โดยใช้วงจรแบบสวิตช์สร้างวงจรเทียม ในลักษณะประมวลผลทีละรายการ

Frame Relayคือ ระบบสื่อสารระยะไกลที่มีพื้นฐานของการเชื่อมโยงที่ลดโอเวอร์เฮดของระบบลง โดยตัดการตรวจสอบข้อผิดพลาดไปให้โปรโตคอลในระดับอื่นจัดการแทน ถ้าข้อมูลผิดพลาดหรือช่องสัญญาณแออัด จะทิ้งข้อมูลไป แล้วให้ต้นทางส่งข้อมูลเดิมซ้ำกลับมาอีกครั้ง และใช้การส่งข้อมูลเป็นแบบ Frame ที่มีขนาดไม่ตายตัว คือตั้งแต่ 262 byte จนถึง 8 Kbyte มีการเชื่อมต่อ 2 แบบ คือ แบบจุดต่อจุด และแบบ packet switching มี Banwidth ตั้งแต่ 64 Kbps - 2 Mbps ทำงานในระดับ physical และ data link layer โดยมีรูปแบบการกำหนดข้อมูลต่างๆใน packet ดังนี้


เหมาะสมกับการเชื่อมต่อวง LAN หลายวงผ่านเครือข่ายระยะไกล

ISDN(Integrated Service Digital Network) คือ เครือข่ายการสื่อสารที่เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน ทำงานในระดับ physical layer โดยใช้การส่งข้อมูลแบบ Digital to Digital ส่วนมากมักจะใช้แทนสายโทรศัพท์แบบเดิม เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลและเสียงได้ในสายเดียวกัน มีช่องสัญญาณหลักๆ 3 ช่องทาง ได้แก่

มี 2 ประเภท คือ
  1. N-ISDN(Narrowband ISDN) เป็น ISDN แบบดงั้เดิม จะมีช่องสัญญาณแคบ ปัจจุบันล้าสมัยแล้ว มีใช้ในบางประเทศ ใช้โปรโตคอลแบบ LAP-B(Link Access Procedure Balanced) และ LAP-D
  2. B-ISDN(Broadband ISDN) เป็น ISDN ที่พัฒนาขึ้นมาจากแบบแรก ใช้โปรโตคอลแบบ ATM แทน LAP-B

ชนิดของ ISDN มี 3 ชนิด คือ

FDDI(Fiber Distributed Data Interface) คือ รูปแบบการเชื่อมต่อที่เร็วที่สุด โดยใช้วงแหวนสองวงส่งข้อมูลในทิศทางตรงกันข้ามในเวลาเดียวกัน ผ่านสายใยแก้วนำแสง ทำให้มีความน่าเชื่อถือสูง โดยมีอัตราการส่งผ่านข้อมูล 100 Mbps มีจำนวนรีพีทเตอร์สูงสุด 1,000 ตัว โดยเชื่อมต่อในระยะห่างไม่เกิน 2,000 เมตร

ATM Switching(Asynchronous Transfer Mode) คือ การสื่อสารข้อมูลที่ตัวรับและตัวส่งใช้สัญญาณนาฬิกาแยกจากกันไม่เกี่ยวข้องกัน และใช้วิธีตัดแบ่งข้อมูลเป็น packet ขนาด 53 byte เรียกว่า Cell โดยที่ 5 ไบต์แรกเป็นส่วนหัวที่จะบอกรายละเอียดของแอดเดรสและมีส่วนข้อมูลข่าวสารอีก 48 ไบต์ ดังนั้นทุกๆเซลจะมีแอดเดรสของตัวเอง แล้วส่งแต่ละเซลออกไปยังแอดเดรสที่กำหนดไว้ด้วยความเร็วตั้งแต่ 64 Kbps, 45 Mbps, 155 Mbps และ 622 Mbps ดังนั้น ATM จึงเป็นสวิตซ์ความเร็วสูงที่เลือกกำหนดเส้นทางให้ข้อมูลแต่ละเซล
มีข้อได้เปรียบเหนือ X.25 และ Frame relay คือ


มีข้อเสียคือ มีราคาแพง และการส่งข้อมูลเป็น packet ขนาดเล็ก จะทำให้สูญเสีย bandwidth มากกว่าโปรโตคอลอื่น
ดังนั้นจึงเหมาะสมกับงานประเภทมัลติมีเดียที่ต้องการใช้ความเร็วข้อมูลสูง เช่น การประชุมทางไกล
กลับไปที่สารบัญ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ

DTE(Data Terminal Equipment) คือ อุปกรณ์ปลายทางที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลจากตัวกลาง เพื่อแแสดงผลหรือรับข้อมูลเข้า เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์, เครื่องพิมพ์ และterminal

DCE(Data Communication Equipment) คือ อุปกรณ์ที่ใช้เป็นตัวกลางในการรับ-ส่งข้อมูลผ่านสายสัญญาณหรือตัวนำสัญญาณแบบอื่นๆ ไปยังตัวกลางอีกตัวหนึ่ง เช่น Modem, Hub

NIC(Network Interface card) คือ การ์ดแบบ ISA หรือ PCI ที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย

Hub คือ อุปกรณ์กระจายสัญญาณที่ใช้ในระบบเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วยพอร์ต RJ-45 หรือ BNC จำนวน 4-48 พอร์ต มักจะใช้ในระบบเครือข่ายแบบดาวหรือ Token Ring ระยะทางการเชื่อมต่อระหว่าง Hub กับเครื่องลูกข่ายควรยาวไม่เกิน 100 เมตร และระหว่าง Hub กับ Hub อีกตัว ไม่ควรเกิน 5 เมตร ดังนั้นจะได้ระยางทางไกลสุดคือ 205 เมตร(Hub 2 ตัว)

Switch คือ ฮับที่สามารถอ่านเลขที่อยู่ปลายทางของกลุ่มข้อมูลที่เข้ามา และส่งไปยังจุดต่อออกที่มีผู้รับที่มีการเชื่อมต่อเท่านั้น โดยการแบ่ง Segment และแบ่งว่าแต่ละ Hub สามารถรับสัญญาณได้เท่าไร

Repeater คือ อุปกรณ์ที่สามารถขยายสัญญาณที่รับเข้ามาให้แรงขึ้น เพื่อขยายระยะทางการสื่อสารระหว่างจุดให้ไกลยิ่งขึ้น ใช้สำหรับการเชื่อมต่อในระดับ Physical Layer

Router คือ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ LAN หลายๆวงเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถอ่านเลขที่อยู่ของกลุ่มข้อมูลแต่ละอันและเลือกทางเดินที่ดีที่สุด โดยใช้ Logical Address และเก็บตารางของเส้นทางเพื่อกำหนดเส้นทางของข้อมูล ใช้สำหรับการเชื่อมต่อในระดับ Network Layer

Bridge คือ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆตั้งแต่ 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ที่ใช้โปรโตคอลเดียวกัน เข้าด้วยกัน ใช้สำหรับการเชื่อมต่อในระดับ Data Link Layer

Gateway คือ อุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ ตั้งแต่ 2 เครือข่ายหรือมากกว่าที่ใช้โปรโตคอลต่างกันเข้าด้วยกัน โดยจะแปลงข้อมูลที่แตกต่างกันให้เหมือนกัน เช่นการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ IPX เข้ากับ TCP/IP

Multiplexer คือ อุปกรณ์ที่ใช้รวมสัญญาณหลายๆสัญญาณเข้าด้วยกัน โดยการให้อุปกรณ์ปลายต่อเพิ่มเข้ามา แล้วส่งสัญญาณออกไปด้วยกันหรือสลับกันส่งด้วยความเร็วสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตัวกลาง ลดค่าใช้จ่าย และลดเวลาที่สูญเปล่าในขณะป้อนข้อมูลหรือเมื่อสายมีการใช้งานน้อย

  1. Time Division Multiplexing(TDM) คือ มัลติเพล็กเซอร์ ที่แบ่งเวลาให้สัญญาณที่มาจากแต่ละแชนเนล สลับกันส่งข้อมูลเรียงกันไปผ่านสายสัญญาณด้วยความเร็วสูง โดยที่สัญญาณแต่ละสัญญาณต้องเป็นชนิดเดียวกัน ความเร็วท่ากัน และรหัสเหมือนกัน
  2. Frequency Division Multiplexing(FDM) คือ มัลติเพล็กเซอร์ ที่แบ่งความถี่แต่ละช่วงให้กับสัญญาณ โดยความถี่แต่ละช่วงจะเว้นความถี่ระหว่างกัน เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนซึ่งกันและกัน เรียกว่า Guard Band

AUI Connector (Attachment Unit Interface)คือ หัวต่อแบบ 15 pin ที่ปรากฏด้านหลังของ Ethernet card ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อสายแบบโคแอกเชียล, เส้นใยแก้วนำแสง หรือสายแบบเกลียวคู่ไขว้

BNC(Bayonet-Neill-Concelnan) คือ หัวต่อสายสัญญาณมาตรฐานสำหรับสายโคแอกเชียล โดยมีหัวต่อเป็นแบบ bayonnet locking(มีการล็อคแบบดาบปลายปืน)

RJ-11 คือ หัวต่อสายสัญญาณมาตรฐานสำหรับสายโทรศัพท์

RJ-45 คือ หัวต่อสายสัญญาณมาตรฐาน สำหรับสายUTP ใช้ในระบบเครือข่าย Ethernet

Unshielded Twisted Pair (UTP)คือ สายสัญญาณนำข้อมูลที่ไม่มีฉนวนหุ้ม ใช้ลวดคู่หนึ่งไข้วเข้าด้วยกัน มี 2 แบบ คือ
1. Voice-grade UTP มีค่าแบนด์วิธต่ำ ใช้สำหรับระบบโทรศัพท์
2. Data-grade มีค่าแบนด์วิธสูงกว่า ใช้ในระบบ LAN เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อในระยะใกล้ๆไม่เกิน 100 เมตร

Shielded Twisted Pair (STP)คือ สายสัญญาณนำข้อมูลแบบ Data-grade ที่มีฉนวนหุ้ม เพื่อป้องกันสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนจากภายนอก สามารถนำข้อมูลได้เร็วกว่า UTP

Coaxial Cable(Trunk Cable)คือ สายสัญญาณที่ใช้สายตัวนำเส้นเดียวตรงกลางล้อมรอบด้วยชั้นฉนวน และมีโลหะถักหุ้ม มี 2 แบบ คือ
1. แบบบาง (Thin Ethernet Coaxial Cable) เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระยะใกล้ๆ ไม่เกิน 300 เมตร
2. แบบหนา (Thick Coaxial Cable) เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระยะทางไกลๆ ประมาณ 500 เมตร หรือใช้เป็น backbone ในระบบ LAN

Twinaxial Cableคือ สายสัญญาณที่ใช้สายตัวนำ 2 เส้นตรงกลางล้อมรอบด้วยชั้นฉนวน และมีโลหะถักหุ้ม ใช้สำหรับการเดินสายคอมพิวเตอร์ในระบบ AS/400 ของ IBM

Fiber Optic Cable คือ สายสัญญาณที่ใช้ใยแก้วโปร่งใส โดยใช้แสงในการส่งข้อมูล มีค่าแบนด์วิธสูงสุด และปราศจากการรบกวนของสัญญาณภายนอก ทำให้มีความน่าเชื่อถือมาก และมีราคาแพงสุดด้วย

Crossover cable คือ สายสัญญาณระบบเครือข่ายที่ใช้เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยตรง และไม่ต้องใช้ฮับหรือสวิตช์

T1 คือ การเชื่อมต่อข้อมูลแบบดิจิตอล ในระบบเครือข่ายความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1.544 Mbps มักจะใช้เป็น Backbone ในระบบ Internet

E1 คือ การเชื่อมต่อข้อมูลแบบดิจิตอล ในระบบเครือข่ายความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 2.048 Mbps

T3 คือ การเชื่อมต่อข้อมูลแบบดิจิตอล ในระบบเครือข่ายความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 3 Mbps

DS-3 คือ การเชื่อมต่อข้อมูลแบบดิจิตอล ในระบบเครือข่ายความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 44.736 Mbps

OC-3 คือ การเชื่อมต่อข้อมูลแบบดิจิตอล ในระบบเครือข่ายความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 155 Mbps

OC-12 คือ การเชื่อมต่อข้อมูลแบบดิจิตอล ในระบบเครือข่ายความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 622 Mbps

OC-48 คือ การเชื่อมต่อข้อมูลแบบดิจิตอล ในระบบเครือข่ายความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 2.5 Gbps โดยใช้เป็น backbone ผ่านเส้นใยแก้วนำแสง

กลับไปที่สารบัญ

ศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับ LAN

Baseband คือ ระบบการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ที่แต่ละสายจะส่งสัญญาณครั้งละหนึ่งสัญญาณ

Broadband คือ ระบบการส่งข้อมูลแบบอนาล็อก ที่แต่ละสายจะส่งสัญญาณครั้งละหลายๆสัญญาณ เช่น CableTV

10BaseTคือ เครือข่าย Baseband ความเร็ว 10 Mbps ที่ใช้สายคู่ไขว้แบบไม่มีฉนวนหุ้ม(Unshield Twisted Pair,UTP) แบบ CAT3 โดยใช้หัวต่อแบบ RJ-45 พัฒนาขึ้นมาในปี 1990 โดยเชื่อมต่อในระยะห่างไม่เกิน 100 เมตร

10Base2คือ เครือข่าย Baseband ความเร็ว 10 Mbps ที่ใช้สายโคแอกเชียลแบบบาง โดยใช้หัวต่อแบบ BNC โดยเชื่อมต่อในระยะห่างไม่เกิน 185 เมตร

10Base-5คือ เครือข่าย Baseband ความเร็ว 10 Mbps ที่ใช้สายโคแอกเชียลแบบหนา โดยใช้หัวต่อแบบ BNC มักจะใช้เป็น Backbone ในระบบ LAN โดยเชื่อมต่อในระยะห่างไม่เกิน 500 เมตร

100BaseT(Fast Ethernet,IEEE 802.3u) คือ เครือข่าย Baseband แบบ hulf-duplex ความเร็ว 100 Mbps ใช้สาย UTP (4 pairs/ 8 wires) 2คู่รับข้อมูล 2คู่ส่งข้อมูล โดยเชื่อมต่อในระยะห่างไม่เกิน 100 เมตร

100Base-TXคือ เครือข่าย Baseband แบบ full duplex ความเร็ว 1 Gbps ที่ใช้สายคู่ไขว้แบบไม่มีฉนวนหุ้ม(Unshield Twisted Pair,UTP) แบบ CAT5 โดยใช้หัวต่อแบบ RJ-45 โดยเชื่อมต่อในระยะห่างไม่เกิน 220 เมตร

100Base-FXคือ เครือข่าย Baseband แบบ full duplex ความเร็ว 100 Mbps ที่ใช้สายใยแก้วนำแสง

X.21 คือ มาตรฐานการสื่อสารแบบ Digital ที่ทำงานในระดับ physical Layer ใช้รองรับการทำงานของโปรโตคอลแบบ X.25

X.400 คือ มาตรฐานการสื่อสารระบบกระจาย E-mail ระหว่างประเทศ ที่กำหนดโดย CCITT

X.500 คือ มาตรฐานการสื่อสารการเก็บรายชื่อเพื่อเชื่อมประสานแฟ้มข้อมูลที่กระจายในระบบที่แตกต่างกัน

SAN(System Area Network) คือ เครือข่ายที่เชื่อมต่อแถวลำดับของเซิร์ฟเวอร์เพื่อปรับแต่งคลัสเตอร์ให้มีความน่าเชื่อถือ และมีความเร็วสูงสุด แต่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์เฉพาะระบบอยู่ ยังไม่เป็นมาตรฐานเปิด

VIA(Virtual Interface Architecture)สถาปัตยกรรมส่วนเชื่อมต่อเสมือน คือ มาตรฐานส่วนเชื่อมต่อ สำหรับการสื่อสารความเร็วสูงผ่านคลัสเตอร์ของเซิร์ฟเวอร์ ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องของ SAN พัฒนาโดย Microsoft,Intel,Compaq

กลับไปที่สารบัญ

1