Modem
( Modem คืออะไร ) ( การติดตั้ง ) ( การทำงานของ Modem ) ( ศัพท์เทคนิค )
Modem คืออะไร

Modem(Modulator Demodulator)คืออุปกรณ์ที่สามารถแปลงสัญญาณจาก Digital(สัญญาณข้อมูล) ไปเป็น Analog(สัญญาณเสียง) และจาก Analog ไปเป็น Digital เพื่อใช้ในการรับ-ส่งสัญญาณข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์
Modulation คือ เทคนิคที่ใช้ในการนำหรือส่งข้อมูลไปให้ได้ไกลมากขึ้นกว่าเดิม โดยการรวมสัญญาณเสียง(Modulating Signal) เข้ากับสัญญาณความถี่สูง(Carrier Signal) เพื่อให้เกิดกำลังในการส่งสัญญาณเสียงไปได้ไกลยิ่งขึ้นด้วยคุณสมบัติของสัญญาณความถี่สูง มักจะใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง มี 3 แบบ คือ

  • Amplitude Modulation(A.M.) สัญญาณที่ได้จะมีความถี่คงที่ แต่ขนาดจะเปลี่ยนไปตามขนาดของสัญญาณเสียง ทำให้ส่งสัญญาณได้ไกลมาก
  • Frequency Modulation(F.M.) สัญญาณที่ได้จะมีขนาดคงที่ แต่ความถี่จะเปลี่ยนไปตามความถี่ของสัญญาณเสียง ทำให้มีสัญญาณรบกวนน้อยกว่า A.M. แต่ส่งได้ไม่ไกลเท่าไหร่ บางครั้งเรียก Frequency Shift Keying
  • Phase Modulation(P.M.) สัญญาณที่ได้จะมีความถี่และขนาดคงที่ แต่เฟสจะเปลี่ยนไปโดยใช้การเปลี่ยนแปลงของเฟส ในมุมต่างๆ เช่น 2 เฟส 180 ํ , 4 เฟส 90 ํ , 8 เฟส 45ํ บางครั้งเรียก Phase Shift Keying

Modem มี 2 ชนิดคือ
1 Internal Modem เป็น Card Adapter ที่เสียบเข้าไปใน slot ของคอมพิวเตอร์ โดยมีวงจรพอร์ต อนุกรมของตัวเอง(COM3,COM4) และใช้พลังงานร่วมกับคอมพิวเตอร์
2 External Modem เป็นกล่องที่บรรจุวงจร modem มีแหล่งพลังงานของตัวเอง และจะต่อกับพอร์ต อนุกรม(COM1,COM2)ของคอมพิวเตอร์
กลับไปที่สารบัญ

การติดตั้ง Modem

Internal Modem
1 ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วเปิดฝาครอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบว่า Modem เป็นแบบ ISA หรือ PCI
2 ไขน็อตเอาเหล็กปิด slot ออก เสียบการ์ดโมเดมลงไป ไขน๊อตที่การ์ดโมเด็มให้แน่น
3 ปิดฝาครอบเครื่องคอมพิวเตอร์
4 เสียบสายโทรศัพท์ที่มาจากองค์การโทรศัพท์ที่ช่องที่เขียนว่า WALL เอาสายที่ต่อจากโทรศัพท์เดิมมาเสียบที่ช่อง PHONE
5 เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ใส่แผ่นไดรเวอร์ที่เครื่องอ่านดิสก์(ถ้าเป็น CD-ROM ใส่ที่ drive CD อาจจะขึ้น Autorun ให้เลือก Install Modem)
6 ถ้า windows ขึ้นว่าพบ hardware ใหม่ ให้เลือกที่ Modem กด OK ถ้าไม่ขึ้นให้ไปที่ Control Panel เลือกที่ Modems
7 ให้เลือก Don't detect my modem กด Next ค้นหารายชื่อและรุ่นที่ตรงกับ modem ที่จะติดตั้ง กด Next ถ้าไม่พบให้เลือก Have Disk เลือก Drive A:(หรือ Drive D: ถ้าเป็น CD-ROM) เลือกรายชื่อและรุ่นที่ตรงกัน กด Next
8 เลือก Port COM3 หรือ 4 กด Next แล้วกด Finish
9 ทดสอบการทำงานของโมเด็ม ให้เลือกที่ Diagnostics เลือก port ที่ต่อโมเด็มไว้ กด More Info ถ้าขึ้นข้อมูล OK แสดงว่าสามารถใช้งานได้

กลับไปที่สารบัญ

การทำงานของ Modem

คอมพิวเตอร์จะส่งสัญญาณ DTR(Data Terminal Ready=TR) เพื่อบอกโมเด็มว่าพร้อมที่จะส่งข้อมูลแล้ว โมเด็มก็จะส่งสัญญาณ DSR(Data Set Ready)เพื่อตอบกลับว่าพร้อมที่จะรับข้อมูลแล้ว

คอมพิวเตอร์จะส่งคำสั่ง ATDTหรือ ATDN ตามด้วยหมายเลขโทรศัพท์เพื่อสั่งให้ modem หมุนโทรศัพท์หมายเลขนั้น modem จะตอบรับ โดยส่งสัญญาณ RD(Receive Data) เมื่อ modem ปลายทางรับสัญญาณแล้ว(modem ปลายทางจะมีโทนเสียงสูงกว่า Modem ของเรา) modem ของเราจะส่งสัญญาณ CD(Carrier Detect) เพื่อบอกคอมพิวเตอร์ว่า สามารถเชื่อมต่อกับโมเด็มปลายทางได้แล้ว

แล้ว Modem จะHandshaking โดย แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อตกลงในเรื่องของความเร็วในการรับส่ง, จำนวนข้อมูลใน packet, parity bit และวิธีการทำงานว่าเป็นแบบ half-duplex หรือ full-duplex

เมื่อคอมพิวเตอร์ต้องการจะส่งข้อมูล จะส่งสัญญาณ RTS(Request To Sent)เพื่อถามโมเด็มว่าพร้อมจะรับข้อมูลเพื่อส่งออกไปหรือยัง ถ้าโมเด็มพร้อมที่จะส่งแล้ว โมเด็มจะส่งสัญญาณ CTS(Clear To Sent) เพื่อบอกคอมพิวเตอร์ให้ส่งข้อมูลมา

เมื่อโมเด็มรับข้อมูลมาจากปลายทาง แต่คอมพิวเตอร์ยังไม่พร้อมที่จะรับข้อมูล คอมพิวเตอร์ก็จะส่งสัญญาณ RTS เพื่อบอกโมเด็มให้คอยจนกว่าคอมพิวเตอร์จะทำงานเสร็จ คอมพิวเตอร์จึงหยุดส่งสัญญาณ RTS

เมื่อคอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลให้โมเด็มส่งไปปลายทาง แต่โมเด็มไม่สามารถส่งข้อมูลได้เร็วตามข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งมาให้ โมเด็มจะส่งสัญญาณ CTS เพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์หยุดส่งก่อนจนกว่าโมเด็มจะทำงานได้ทัน จึงหยุดส่งสัญญาณ CTS

เมื่อเราสั่งโปรแกรมให้วางสาย คอมพิวเตอร์จะส่งคำสั่ง ATH เพื่อสั่งให้โมเด็มวางสายโทรศัพท์ และโมเด็มก็จะหยุดส่งสัญญาณ CD ให้กับคอมพิวเตอร์

กลับไปที่สารบัญ

ศัพท์เทคนิค

AT เป็นชุดคำสั่งที่ใช้ในการสั่งงาน modem กำหนดโดยผู้ผลิตโมเด็ม Hayes ที่เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมทางการค้า

RTS/CTS คือ สัญญาณของคอมพิวเตอร์ที่บอกอุปกรณรับส่งสัญญาณให้หยุดการส่งสัญญาณข้อมูล หรือเริ่มส่งสัญญาณข้อมูลอีกครั้ง เป็นการควบคุมการไหลของข้อมูลด้วย hardware

XON/XOFF คือ รหัสควบคุม ASCII ที่ใช้บอกอุปกรณรับส่งสัญญาณให้หยุดการส่งสัญญาณข้อมูล หรือเริ่มส่งสัญญาณข้อมูลอีกครั้ง เป็นการควบคุมการไหลของข้อมูลด้วย software

Xmodem คือ โปรโตคอลของการควบคุมแก้ไขข้อผิดพลาดระดับ software ที่ใช้ในการรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างโมเด็ม

Ymodem คือ โปรโตคอลของการควบคุมแก้ไขข้อผิดพลาดระดับ software ที่ใช้ในการรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างโมเด็ม ที่พัฒนาขึ้นมาจาก Xmodem สามารถส่งแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มที่ขนาดไม่เกิน 1K ภายในการส่ง 1ครั้ง และใช้ CRC ในการแก้ไขข้อผิดพลาด

YmodemG เหมือนกับ Ymodem แต่จะเร็วกว่า และไม่มีการแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูล

Zmodem เหมือนกับ Ymodem แต่จะมีประสิทธิภาพดีขึ้น และสามารถกู้คืนการรับส่งข้อมูลที่ไม่สำเร็จ รวมถึงการรับส่งแบบ batch

Bell 103 คือ มาตรฐานเก่า ของการควบคุมสัญญาณ มีความเร็ว 300 bps ที่ 1 bit/baud

Bell212A คือ มาตรฐานเก่า ของการควบคุมสัญญาณ มีความเร็ว 1,200 bps ที่ 2 bit/baud

V.8 คือ มาตรฐานของ ITU-T ที่ครอบคลุมกระบวนการ handshaking

V.21 คือ มาตรฐานควบคุมสัญญาณ มีความเร็วที่ 300 bps

V.22 คือ มาตรฐานควบคุมสัญญาณ มีความเร็วที่ 1,200 bps
V.22bis คือ มาตรฐานควบคุมสัญญาณ มีความเร็วที่ 2,400 bps
V.32 คือ มาตรฐานควบคุมสัญญาณ มีความเร็วที่ 9,600 bps
V.32bis คือ มาตรฐานควบคุมสัญญาณ มีความเร็วที่ 14.4 Kbps
V.34 คือ มาตรฐานควบคุมสัญญาณ มีความเร็วที่ 28.8 Kbps(เดิมคือ V.32fast หรือ V.FastClass)
V.34+ คือ มาตรฐานควบคุมสัญญาณ มีความเร็วที่ 33.6 Kbps
V.90 คือ มาตรฐานควบคุมสัญญาณ มีความเร็วในการรับข้อมูลที่ 56 Kbps และมีความเร้วในการส่งข้อมูลที่ 33.6 Kbps

V.42 คือมาตรฐานสากล ที่รวมเอาโปรโตคอลแก้ไขข้อผิดพลาด บวกกับตัว MNP 2,3,4 ตัวใดตัวหนึ่ง ถ้าโปรโตคอลที่กล่าวมาไม่มีอยู่บนโมเด็มปลายทาง

V.42bis คือมาตรฐานสากลของการบีบอัดข้อมูลที่ข้อมูลจะลดขนาดเหลือ 1/3 ของขนาดเดิม

V.70 คือ โปรโตคอลมาตรฐานที่จะส่งเสียงพูดและข้อมูลพร้อมกันบนสายคู่เดียวกันโดยกำหนดให้ส่งเสียงพูดที่ความเร็ว 8 Kbps และส่วนที่เหลือสำหรับข้อมูล เป็นมาตรฐานสากลของ DSVD(Digital Simultaneous Voice and Data)

V.17 คือมาตรฐานควบคุมสัญญาณการรับส่ง FAX มีความเร็วที่ 14,400 bps,half-duplex

V.27ter คือมาตรฐานควบคุมสัญญาณการรับส่ง FAX มีความเร็วที่ 4,800 bps,half-duplex

V.29 คือมาตรฐานควบคุมสัญญาณการรับส่ง FAX มีความเร็วที่ 9,600 bps,half-duplex

MNP 2,3,4(Microcom Network Protocol) เป็นโปรโตคอล 3 ระดับของการแก้ไขข้อผิดพลาด ที่พัฒนาโดย Microcom,Inc และเผยแพร่สู่สาธารณะ
MNP 5 เป็นโปรโตคอลของการบีบอัดข้อมูลที่ข้อมูลจะลดขนาดเหลือ 2/3 ของขนาดเดิม
MNP 10,10EC เป็นโปรโตคอลแก้ไขข้อผิดพลาดสำหรับการรับส่งข้อมูลในโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์(โทรศัพท์มือถือ)

ADSL Modem(Asymmetric Digital Subscriber Line) เป็นโมเด็มระบบ digital ผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 64 Kbps-1.5 Mbps และรับข้อมูลที่ความเร็ว 1.5-9 Mbps โดยการใช้ความถี่ที่สูงกว่าธรรมดา(0-2 MHz)ในการเคลื่อนย้ายข้อมูล digitalจำนวนมากและจะมีแบนด์วิดธ์ในการรับ-ส่งข้อมูลไม่เท่ากัน มีข้อจำกัดเดียวคือ ระยะทางจากโมเด็มถึงชุมสายโทรศัพท์(สถานีสวิตชิง)ต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3.22 กิโลเมตร

G.lite(Universal ADSL) คือรูปแบบหนึ่งของมาตรฐาน ADSL ที่ลดความเร็วในการรับส่งข้อมูล และไม่ใช้ Splitter (NID)เพื่อแยกสัญญาณเสียงและข้อมูลออกจากกัน สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 386 Kbps และรับข้อมูลที่ความเร็ว 1.5 Mbps

Cable Modem เป็นโมเดมที่ทำงานผ่านสายเคเบิ้ลทีวีที่ความเร็ว 30 Mbps โดยไม่จำกัดระยะทาง แต่การใช้งานจริงจะต้องแบ่งแบนด์วิดธ์ร่วมกับเพื่อนบ้านที่อยู่ใน branch เดียวกัน ทำให้สามารถรับข้อมูลที่ความเร็ว 1.5 Mbps

ISDN Modem(Integrated Services Digital Network) เป็นโมเด็มระบบ digital ผ่านสาย ISDN สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 128 Kbps หรือมากกว่า

Satllite Modem เป็นโมเด็มระบบ digital โดยใช้สัญญาณไมโครเวฟผ่านดาวเทียม สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 32 Kbps

DSL(Digital Subscriber Line) คือ ตระกูลของเทคโนโลยีที่ใช้รับส่งข้อมูลในอัตราเร็วที่สูงมาก ผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา เช่น

HDSL(High-bit-rate DSL) เป็นการเชื่อมต่อข้อมูลในอัตราเร็วสูงมากไม่เกิน 1.5 Mbps ผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา โดยใช้สายโทรศัพท์ 2 คู่สาย มีความมั่นคงสูงและมีราคาถูก

S-HDSL(Symmetric High-bit-rate DSL)หรือ SDSL(Single-pair DSL) เป็นการเชื่อมต่อข้อมูลในอัตราเร็วที่สูงมากไม่เกิน 1 Mbps ผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา โดยใช้สายโทรศัพท์เพียงคู่สายเดียว ทำให้ติดตั้งง่าย และสามารถใช้โทรศัพท์กับคู่สายเดียวกันด้วย

RADSL(Rate Adaptive DSL) เป็นรูปแบบที่พัฒนาเพิ่มเติมจาก ADSL โดยจะมีการปรับเปลี่ยนอัตราความเร็วของการรับส่งข้อมูลทั้งสองทิศทาง ตามปริมาณของข้อมูล

VDSL(Very High-bit-rate DSL) เป็นการเชื่อมต่อข้อมูลในอัตราเร็วที่สูงมาก ผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา โดยมีความเร็วในแต่ละทิศทางไม่เท่ากัน ความเร็วสูงสุดในทิศทางหนึ่งจะเท่ากับ 52 Mbps และในอีกทิศทางหนึ่งจะเท่ากับ 2 Mbps

กลับไปที่สารบัญ

Modem ไม่วางสายขึ้นว่า No Dialtone

บอกให้เช็คสายโทรศัพท์ว่าต่อเข้าโมเด็มเรียบร้อยหรือไม่ พอลองถอดสายโทรศัพท์ออกแล้วต่อเข้าไปใหม่มันก็ต่อ Net ได้เหมือนเดิม อาการเหมือนกับว่าตอน Disconnect แล้วโมเด็มไม่ได้วางสาย

no dial tone หมายถึงไม่มีเสียงสัญญาณโทรศัพท์ เมื่อเกิดข้อความนี้ ให้ลองยกหูโทรศัพท์ฟังทันที แล้วดูว่ามีเสียงสัญญาณหรือไม่ ?

ไปที่ program->setting->control panel->modem->properties->เลือกแผ่น connection -> ->เจอหัวข้อ wait for dial tone before ....ให้เอาเครื่องหมายถูกด้านหน้าออกครับ

ใน Modem connecting Advance ใน ช่อง extra setting พิมพ์ ATX3

คุณลองจับสาย จัดให้เข้าที่ใหม่ อาจจะมีรอยพับอันเนื่องมาจากที่เราทับสายสัญญานจาก modem ไปที่ computer ก็ได้ครับ หรือ สายสัญญาณของคุณไม่ดีอาจเกิดการที่สายถูกพับบ่อยครั้ง ทำให้ลวดทองแดงข้างในสายหัก ให้ลองเอาสายสัญญาณ จากเครื่องอื่นมาเปลี่ยนดู

ตรวจสอบสายให้ดีนะครับ ว่าเสียบแน่นหรือเปล่า หรือเสียบปลั๊กรู Modem ผิดหรือเปล่า เปิด adapter Modem หรือยัง Test Modem ว่าผ่านหรือยัง ก่อนโทรออกข้างนอก เขียน 9 นำหน้าขึ้นต้นหรือเปล่า

คาดว่าน่าจะต่อสายผิดนะ หรือไม่ก็ อาจจะสายขาด หรือ โมเด็มเสีย หรือไม่ก็ ใน dial up networking ตรง account internet ยังตั้งค่าเป็น โมเด็มตัวเก่าอยู่

โทรช่วงไหนละครับ ถ้า เวลา ประมาณ 3 ทุ่ม ถึง 4 ทุ่ม ก็ลำบากหน่อย ครับ สัญญาณตอบรับ ของโทรศัพท์ไม่ค่อยมี คู่สายน้อย ครับ 3:10 เองครับ ให้หลีกเลี่ยง เป็นโทรก่อน หรือ โทรหลังช่วงเวลาดังกล่าวครับ พอจะบรรเทาได้

กลับไปที่สารบัญ

no respond from modem

set up modem internalได้แต่ ใช้ dialup ต่อไม่ได้ มันบอกว่า no respond from modem

ถ้า MODEM ไม่ตอบสนองให้ดึงออกแล้วเสียบเข้าไปใหม่ ถ้ามั่นใจว่าใส่โมเด็มไว้ในเครื่องอย่างแน่นหนาดีแล้ว ให้ลอง ไปลบโมเด็มที่ติดตั้งไว้ แล้วลองบูตเครื่องดูใหม่

กลับไปที่สารบัญ

1