เอลนิโน (ปรากฏการณ์ ENSO=Elnino Southern Oscillation) คือปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ กระแสน้ำเย็นเปรูเปลี่ยนเป็นกระแสน้ำอุ่น
ไหลผ่านชายฝั่งเปรูทุกๆ 4 ปีหรือราวๆนั้น ในภาษาสเปน หมายถึง บุตรพระเจ้า, เด็กชายตัวน้อย(กระแสน้ำอุ่นไหลมาในเทศกาลคริสมาสต์)
เพราะลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้อ่อนกำลัง หรือพัดกลับทิศทาง น้ำทะเลที่อุ่นจึงไหลมาแทนที่กระแสน้ำเย็น
ความแปรปรวนเช่นนี้ทำให้ ทวีปอเมริกาใต้มีพายุฝนพัดกระหน่ำ, ฝนตกหนักและน้ำท่วม
ขณะที่เอเซียอาคเนย์, อินเดีย และแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ เกิดแห้งแล้ง, เกิดไฟป่า และผลิตผลการเกษตรเสียหาย แต่ช่วยลดการเกิดพายุไต้ฝุ่น ที่เกิดในทะเลจีนใต้
ลานินญา (ในภาษาสเปน หมายถึง เด็กหญิงตัวน้อย)คือปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นตรงกันข้ามกับเอลนิโน เป็นการสะท้อนกลับแบบบวก(Positive Feedback)
กระแสน้ำเย็นเปรู จะไหลกลับมาในทิศทางเดิม เพราะลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลมาทางเอเซียอาคเนย์
ทำให้เอเซียอาคเนย์ มีพายุรุนแรงมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอุทกภัย และทำให้ทวีปอเมริกาเหนือฝั่งตะวันตกมีฝนตกชุก แต่จะช่วยยับยั้งการเกิดพายุในทวีปอเมริกาใต้
ธรรมชาติพยากรณ์
เมื่อเกิดทรงกลด ฝนหรือหิมะ จะเกิดภายใน 2 วัน
หากแมลงปอบินต่ำ, มดขนไข่, กบร้อง, นกกระจาบฝนร้อง ฝนจะตก
หากนกบินต่ำ จะเกิดพายุ
หากท้องฟ้าโปร่งแต่ลมอับ จะเกิดพายุ
ฟ้าแดงตอนโพล้เพล้ อากาศจะดี แต่ถ้าตอนเช้าหรือค่ำ พายุจะมา
ถ้ามีหมอก อากาศจะอุ่นขึ้น
ถ้าคืนใดจันทร์แจ่มกระจ่าง จะเกิดน้ำค้างแข็งหรือแม่คะนิ้ง เย็นยะเยือกในไม่ช้า
ปีไหนน้ำมาก ปีต่อไปอากาศจะหนาว
ถ้ามีใยฟ้าลอยมา ปีถัดไปจะแล้งเข็ญ
ลม(Wind) คือ อากาศที่เคลื่อนไหว เกิดจากอากาศถูกความร้อน จะลอยสูงขึ้นและอากาศบริเวณรอบข้างที่เย็นกว่าจะเข้ามาแทนที่
ลมประจำถิ่น
อุตรา ลมต้นฤดูร้อน พัดจากอีสานไปทิศตะวันตกเฉียงใต้
ตะเภา ลมกลางฤดูร้อนราวๆเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน พัดจากใต้ไปทิศเหนือ บางทีเรียก ลมว่าว ลมร้อน
พัทธยา ลมต้นฤดูฝน พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปอีสาน
ตะโก้ ลมทะเลปลายฤดูฝน พัดจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปตะวันออกเฉียงใต้ บางทีเรียกว่า ลมพัดหลวง
สลาตัน(Selatan) ลมปลายฤดูฝน พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ลมว่าว ลมต้นฤดูหนาว พัดจากเหนือไปทิศใต้ ก.ย.-พ.ย. บางทีเรียก ลมข้าวเบา
ลมชนิดต่างๆที่น่าสนใจ
-ลมล่อง คือ ลมที่พัดมาตามลำน้ำ
-ลมบก คือ ลมที่พัดจากฝั่งไปสู่ทะเลในตอนกลางคืน เนื่องจาก ในตอนกลางคืน อุณหภูมิของน้ำทะเลอุ่นกว่า บนฝั่ง อากาศเย็นบนฝั่งจึงพัดเข้าแทนที่
-ลมทะเล คือ ลมที่พัดจากทะเลไปสู่ฝั่งในตอนกลางวัน เนื่องจาก ในตอนกลางวัน อุณหภูมิของน้ำทะเลเย็นกว่า บนฝั่ง อากาศเย็นในทะเลจึงพัดเข้าแทนที่
-ลมสินค้า(Trade Wind)ลมประจำปี พัดจากบริเวณความกดอากาศสูงใกล้เขตร้อน ระหว่างเส้นรุ้ง(Latitude)ที่ 39 ํ เหนือ - 30 ํ ใต้ ไปยังเส้นศูนย์สูตร เช่น ลมมรสุม(Monsoon) ในซีกโลกเหนือ พัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ในซีกโลกใต้ พัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้
-ลมทวนลมค้า(Antitrade Wind)ลมชั้นบน ที่อยู่เหนือลมสินค้า และพัดสวนทางกับลมสินค้า
-กระแสลมกรด(Jet Stream)กระแสลมที่พัดหมุนวนรอบโลกที่ความสูง 9-15 กม. มีความเร็วประมาณ 160 - 320 กม./ชม.
-พายุดีเปรสชั่น(Depression Storm, D)มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 61 กม./ชม.
-พายุโซนร้อน(Tropical Storm, S)มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางประมาณ 61-119 กม./ชม.
-พายุไต้ฝุ่น(Typhoon Storm, )มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางประมาณ 119-290 กม./ชม. เกิดบริเวณทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิค
แต่ถ้าเกิดแถวทะเลแคลิบเบียน, อ่าวเม็กซิโก มหาสมุทรแอตแลนติค เรียกว่า พายุเฮอริเคน(Hurricane) ถ้าเกิดในอ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดีย เรียกว่า พายุไซโคลน(Cyclone)
-พายุทอร์นาโด,ลมงวง(Tornado,Twister)มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางประมาณ 500-800 กม./ชม. เกิดในบริเวณที่ราบภาคกลางของอเมริกา
มีขนาด 275-365 เมตร และมักจะเคลื่อนที่เป็นระยะทางประมาณ 3 - 80 กม. ก่อนจะสลายตัวไป เป็นพายุที่เกิดบนบก
Breeze ลมอ่อนๆ ลมบก ลมหุบเขา
Gust,Blast ลมจัด
Gale ลมแรง พายุ
Sirocco ลมร้อนในอิตาลี พัดเอาฝุ่นทรายมาจากทะเลทรายซาฮาร่า ถ้าพัดในแถบทะเลทรายอาหรับและแอฟริกา เรียก simoom,simoon บางถิ่นเรียก ghibi,levecha,chamsin
Blizzard พายุหิมะ บางทีเรียก purga,buran
Mistral พายุลมหนาวทางตอนใต้ของฝรั่งเศส พัดมาจากภาคเหนือ
Bora ลมหนาว ลมตกเขา พัดบริเวณเทือกเขาฝั่งทะเลอีเจียน ทะเลดำ
Fohn ลมอุ่นแห้ง พัดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน
Dust whirl ลมบ้าหมู
Hail storm พายุลูกเห็บ
เมฆ(Cloud) คือละอองไอน้ำในอากาศที่จับกลุ่มกัน โดยจะก่อตัวที่ความสูง~ 800-11,000 ม. เหนือระดับน้ำทะเล
หากอยู่ในระดับต่ำกว่านี้เรียกว่า หมอก(Fog)
Smog คือ หมอกที่ผสมกับควันที่เป็นมลภาวะ ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือท่อไอเสียรถยนตร์
1. เมฆ Noctilucent อยู่ในระดับ 30-50 ไมล์, 45-70 กม.จากพื้นดิน อยู่ในชั้นเมโสเฟียร์ ซึ่งมีกาซโอโชนอยู่
2. เมฆ Nacreous อยู่ในระดับ 12-18 ไมล์, 20-32 กม.จากพื้นดิน เป็นเมฆที่รวมตัวกันค่อนข้างบาง มีสีสันสวยงาม
เห็นตอนก่อนพระอาทิตย์ขึ้นหรือตกไปแล้ว อยู่ในชั้นสตราโตสเฟียร์ ซึ่งมีอากาศแจ่มใส
3. เมฆ Cirrus () อยู่ในระดับ~ 5 ไมล์, 16 กม. หรือ 6,500 ม.ขึ้นไปจากพื้นดิน บางครั้งเรียก เมฆหางม้า
เกิดจากการรวมตัวของหยดน้ำที่เย็นจนเป็นน้ำแข็ง มีรูปร่างเหมือนเส้นผมสยาย หรือปีกนก อยู่ในชั้นสตราโตสเฟียร์
ไม่มีสิ่งใดตกมาจากเมฆนี้ ถ้ามีไม่มากนัก อากาศจะแจ่มใส ถ้ามีมาก จะเกิดพายุ บ่อยครั้งจะก่อตัวก่อนมีลมฟ้าอากาศไม่ดี
4. เมฆ Cirrocumulus (CC, )
เกิดจากการรวมตัวของหยดน้ำที่เย็นจนเป็นน้ำแข็ง มีรูปร่างกลมๆเล็กๆ เห็นเป็นปุยในท้องฟ้า
ไม่มีสิ่งใดตกมาจากเมฆนี้ ถ้าเรียงตัวเป็นแถวคล้ายเกร็ดปลาอินทรี(Makerel sky) จะมีฝนตก
5. เมฆ Cirrostratus (CS, ) เป็นเมฆที่ไอน้ำเกาะตัวบางๆ เหมือนผืนผ้าสีขาว
ไม่มีสิ่งใดตกมาจากเมฆนี้ ทำให้เกิดทรงกลด ถ้ามีมาก เป็นสัญญาณว่าจะมีฝนตก
6. เมฆ Altocumulus (AC, )
เกิดจากการรวมตัวของหยดน้ำเล็กๆ แตกตัวเป็นกลุ่มๆสม่ำเสมอ มีฝนเบาหรือหิมะ ทำให้เกิดทรงกลด เป็นลักษณะของลมฟ้าอากาศดี
7. เมฆ Altostratus (AS, ) อยู่ในระดับ~ 2-4 ไมล์ หรือ 2,500-6,500 ม. จากพื้นดิน
มองดูเรียบเป็นปุยหรือฝอยละเอียด มักจะปกคลุมท้องฟ้าเป็นสีเทาเข้ม มีฝนหรือหิมะตกสม่ำเสมอ ทำให้เกิดทรงกลด
8. เมฆ Stratus (ST,) อยู่ต่ำกว่า 2,500 ม. จากพื้นดิน เป็นเมฆบางรูปร่างไม่แน่นอนเหมือนหมอก
มักปรากฎตอนเช้ามืดหรือสาย เป็นชั้นหนาสม่ำเสมอ บางชั้นอาจบางมาก ลอยอยู่เหนือกระแสลมสงบและเคลื่อนไหวช้าๆ ปกคลุมตามไหล่เขา
จะมีละอองฝนหรือหิมะผงตก
9. เมฆ Stratocumulus (SC, ) อยู่สูง~ 1 ไมล์ จากพื้นดิน เป็นก้อนสีเทา มีขนาดใหญ่และหนาแน่นเป็นนูนเป็นสัน มีเงาดำ
พบในบริเวณอากาศร้อน ทำให้อากาศดี แต่บางทีมีละอองฝนหรือหิมะผงตก
10. เมฆ Nimbostratus (NS, ) อยู่สูง~610 ม. จากพื้นดิน เป็นแผ่นหมอกหนาๆมืดดำ มีรูปร่างคล้ายผ้าขี้ริ้ว แผ่กระจายเต็มท้องฟ้า
เกิดเมื่ออากาศมีความชื้นมากๆ ทำให้เกิดฝนตกสม่ำเสมอหรือหิมะตก
11. เมฆ Cumulus () อยู่สูง~1,600 ม. จากพื้นดิน เป็นเมฆที่ก่อตัวในแนวดิ่ง มองดูเหมือนปุยฝ้าย, ดอกกะหล่ำ เป็นปุยฐานแผ่กว้างแบน
ยอดกลมมน เกิดในฤดูร้อนที่มีท้องฟ้าโปร่ง มักจะก่อตัวเหนือกระแสลมอุ่นอย่างรวดเร็ว และเกาะตัวเป็นกลุ่มๆละ 4-5 ก้อน
ถ้ามีมากกว่านี้เป็นสัญญาณแสดงว่าฝนจะตก ส่วนมากไม่มีสิ่งใดตกมาจากเมฆนี้ เป็นลักษณะของอากาศดี
12. เมฆ Cumulonimbus (CN, ) อยู่สูง 500-20,000 ม. จากพื้นดิน บางครั้งเรียกเมฆดอกเห็ด ฐานอยู่ระดับต่ำ แต่ยอดเมฆแผ่เหมือนทั่ง
ซึ่งจะทำให้ไอน้ำกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง เมฆนี้จะทำให้เกิดฟ้าร้อง, ฟ้าแลบ, ฝนตกหนัก, ลูกเห็บ และหิมะตก
ฝน(Rain) ทางอุตุนิยมวิทยา เรียกว่า หยาดน้ำฟ้า
ฝนเกิดจากเมฆที่ถูกลมพัดไปปะทะความเย็นจัดในที่สูง จนรวมตัวเป็นหยดน้ำ แล้วตกลงมาเป็นฝน
ฝนตกลงมาด้วยความเร็ว 25 ก.ม./ช.ม. หรือ 7 เมตรต่อวินาที ทำให้เรามองเห็นฝนตกลงมาเป็นเส้นๆ
หยดฝนจะมีรูปร่างป้อมๆ ค่อนข้างกลม ปริมาณน้ำฝนจะวัดเป็น มิลลิเมตร
ฝนที่ตกในเมืองไทย ส่วนใหญ่เกิดจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่หอบเอาความชื้นจากมหาสมุทรอินเดีย มาตกในแผ่นดิน
แต่ในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม จะมาจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นและพายุใต้ฝุ่น จากทะเลจีนใต้
แต่สมัยก่อนคนไทยเชื่อว่า ฝนเกิดจาก พญานาคให้น้ำ แต่ถ้ามีพญานาคหลายตัว จะเกี่ยงงานกัน ทำให้มีฝนตกน้อย
ดังนั้น ถ้ามีนาคให้น้ำจำนวนน้อย จะทำให้ฝนตกได้มากกว่านาคหลายตัว โดยการทำนายว่าในปีนี้ นาคให้น้ำกี่ตัว จากที่พระยาแรกนาเสี่ยงทายผ้าสำหรับนุ่งไปประกอบพิธีที่มีความยาวต่างกันในพิธีแรกนาขวัญ วันพืชมงคล
ฝนตกทั่วไป คือ ฝนที่ตกเกินร้อยละ 80 ของพื้นที่
ฝนตกเกือบกระจาย คือ ฝนที่ตกมากกว่าร้อยละ 60 แต่ไม่เกินร้อยละ 80
ฝนตกกระจาย คือ ฝนที่ตกมากกว่าร้อยละ 40 แต่ไม่เกินร้อยละ 60
ฝนตกเป็นแห่งๆ คือ ฝนที่ตกมากกว่าร้อยละ 20 แต่ไม่เกินร้อยละ 40
ฝนตกบางแห่ง คือ ฝนที่ตกไม่เกินร้อยละ 20
ฝนพรำ คือ ฝนตกที่ค่อยๆตก ตกไม่มากนัก แต่ตกไปเรื่อยๆ เหมือนว่าจะไม่รู้จักหยุด
ฝนปรอยๆ (drizzle)คือ ฝนตกเป็นเม็ดเล็กๆ เป็นฝอยๆ ตกไม่มากนัก แต่ไม่ได้ตกห่างๆกัน
ฝนหยิมๆ (showery rain)คือ ฝนตกเป็นเม็ดเล็กๆ เป็นฝอยๆ ตกไม่มากนัก และตกเม็ดห่างๆกัน
ฝนไล่ช้าง(squall) คือ ฝนที่ตกเพียงครู่ใหญ่ ครู่เดียวแล้วหยุด บางทีเรียก ฝนซู่
ห่าฝน (rain cats and dogs,downpour)คือ ฝนตกหนักมาก
ฝนขาดเม็ด คือ ฝนที่กำลังจะหยุดตก
ฝนชุก คือ สภาวะอากาศที่ฝนตกมากกว่าปกติ
ฝนแล้ง คือ สภาวะอากาศที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือ ตกน้อยกว่าปกติ
ฝนทิ้งช่วง คือ สภาวะอากาศที่ฝนตกในช่วงต้นฤดูฝน แล้วหยุดตกไปสองสามเดือน
ฝนสั่งฟ้า คือ ฝนที่ตกหนักตอนปลายฤดูฝน
ฝนชะช่อมะม่วง คือ ฝนที่ตกเล็กน้อยประปรายในราวๆเดือนมกราคม - มีนาคม บางทีเรียก ฝนชะลาน
ฝนเทียม คือ ฝน ที่เกิดจากการใช้เครื่องบินโปรย เกลือ,น้ำแข็งแห้ง และปูนขาว ลงบนเมฆ ที่มีขนาดใหญ่พอที่จะทำให้เกิดฝนตก
ฝนกรด(Acid rain) คือ ฝนที่ตกในเขตอุตสาหกรรม ที่มีมลภาวะจากการปล่อยก๊าซไข่เน่า(ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ SO2) สู่บรรยากาศ
ฝนห่าแก้ว คือ ฝนลูกเห็บขนาดเล็ก มักเรียกในภาคใต้
ฝนโบกขรพรรษ คือ ฝนวิเศษในตำนานพุทธศาสนา มีสีแดง ตกเนื่องในโอกาสพิเศษ
ใครอยากให้เปียกจะเปียก ใครไม่อยากเปียกจะไม่เปียก เหมือนน้ำตกลงบนใบบัว
ฝนเหลือง คือ สารเคมีที่มีความเป็นพิษต่อคน สัตว์พืช และสิ่งแวดล้อม ที่สหรัฐอเมริกา ใช้ในสงครามเวียดนาม ปัจจุบันก่อให้เกิดมลภาวะอย่างร้ายแรงในเวียดนาม และที่สนามบิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ ในประเทศไทย
ฝนตกไม่ทั่วฟ้า เป็นคำพังเพย ที่หมายความถึง การให้ที่ไม่ทั่วถึง ให้แต่พวกพ้องตนเอง
ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง เป็นคำพังเพย ที่หมายความถึง การสั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย
ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน เป็น คำพังเพย ที่หมายความถึง คนไม่ดีย่อมรวมกลุ่มกับคนไม่ดีเสมอ และมักจะพากันเหลวไหลไปด้วยกัน
ฟ้าหลังฝน เป็นคำพังเพย ที่หมายความถึง สิ่งดีจะเกิดขึ้นหลังจากอุปสรรค หรือปัญหาผ่านพ้นไปแล้ว
ฝนตกไม่มีเค้า เป็นคำพังเพย ที่หมายความถึง เรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่มีวี่แวว หรือ คาดหวังไว้ก่อน
ฝนตกอย่าเชื่อดาว มีเมียสาวอย่าเชื่อแม่ยาย เป็นคำพังเพย ที่หมายความถึง อย่าไว้ใจอะไรจนเกินไป
ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า เป็นคำพังเพย ที่หมายความถึง ทำอะไรก็ไม่ถูกใจไปทุกคน
ฝนแสนห่า คือ ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่งคล้ายไฟพะเนียง แต่มีประกายไฟหมุนรอบตัว
ฝนทอง คือ เครื่องหมายขีดเดียวที่อยู่บนสระ
โลกของคุณมีท้องฟ้า ท้องฟ้าสูงประมาณ 900 - 1,600 กิโลเมตร
ท้องฟ้าประกอบด้วยเมฆ ไนโตรเจน อ๊อกซิเจน คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และโอโซน
ท้องฟ้าที่มีชีวิตคือท้องฟ้าที่มีอากาศสดชื่น และนก ท้องฟ้ากำลังจะตาย
ท้องฟ้าถูกทำลายโดย ไอเสียจากการเผาไหม้ ในโรงงานอุตสาหกรรม
|