LOCATION:
[HOME]
[MY KING]
[MY FRIEND]
[MY RTAF]
[MY COUNTRY]
หญ้าแฝก
หญ้าแฝก ที่ขึ้นอยู่โดยทั่วไปของประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
หญ้าแฝกหอม พบได้โดยทั่วไปในที่ราบลุ่มและภูเขาสูง มีความสูงของกอประมาณ 1 ถึง 2 เมตร ใบแบนยาว 40 ถึง 100
เซนติเมตร ปลายในแหลม ขอบใบคม ช่อดอกเกิดจากต้นที่ขึ้นเป็นลำ ช่อดอกยาวประมาณ 20 ภึง 50 เซนติเมตร ดอกสีม่วงปน
แดง รากมีกลิ่นหอมมาก ซึ่งรากสามารสกัดเป็นน้ำมันหอมเพื่อใช้เป็นส่วนผสมของน้ำหอมได้ หญ้าแฝกหอมมีขึ้นอยู่ทั่วไปในป่า
ธรรมชาติของประเทศ
หญ้าแฝกชนิดอื่น ๆ จะพบได้โดยทั่วไปบริเวณที่ราบลุ่ม ลักษณะคล้ายกับหญ้าแฝกหอม แต่จะต่างกันตรงที่ดอกหญ้าแฝก
ชนิดอื่น ๆ จะมีขนตรงโคนฐานกลีบรองดอกและขนยาวของกลีบฐานดอกล่างจะโผล่ออกมาให้เห็น รากของหญ้าแฝกชนิดนี้จะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
โดยทั่วไปหญ้าแฝกเป็นพืชที่มีอายุยืนหลายปี เกิดและเติบโตเป็นกอหนาแน่น มีความสูงของกอประมาณ 50 ซม. ถึง 1.5
เมตร กอของหญ้าแฝกมีลักษณะเป็นทรงพุ่มใบปรกติดดิน โคนต้นมีลักษณะแบน มีใบแตกออกจากโคนกอโดย
จะเรียงซ้อนกันแน่น บริเวณโคนใบคม ส่วนปลายใบเรียวยาวค่อนข้างแข็งแรง ขยายลำต้นด้วยการแตกกอคล้ายตะไคร้
หญ้าแฝกเป็นพืชระบบรากฝอย การกระจายของรากจะหยั่งลึกลงไปทางด้านข้าง ดังนั้นรากของหญ้าแฝกจึงไม่มีผลกระทบ
ต่อพืชผลเกษตรกรรมที่ปลูกร่วมกัน หญ้าแฝกแต่ละต้นจะมีรากฝอยเป็นจำนวนมาก ซึ่งในแต่ละรากต่างสานพันกันและกันอย่าง
หนาแน่นใต้ผิวดิน ทำให้เกิดคล้ายรากแหหรือผ้าม่านที่ช่วยในการเก็บกักความชื้นไว้ให้กับดิน และช่วยยึดเนื้อดินให้มีความคงทนถาวรมากขึ้น
ตรงปลายของหญ้าแฝกทุกรากจะมีลักษณะคล้ายกับฟองน้ำห่อหุ้มอยู่ ในบางพันธุ์รากจะมีกลิ่นหอมอันเกิดจากสารอินทรย์
ที่เป็นน้ำมันหอมระเหย ทำให้ไม่มีศัตรูพืชมาทำลาย นอกจากนี้ยังสามารถนำเอารากมาสกัดทำน้ำมันเพื่อเป็นส่วนประกอบของ
น้ำหอม นอกจากนี้หญ้าแฝกยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเป็นยาประเภทสมุนไพรได้อีกด้วย คือสามารถใช้ในการ
ขับลมในลำไส้แก้ท้องอืด ท้อเฟ้อ และแก้ไข้
ในระบของธรรมชาติ หญ้าแฝกจะกระจายพันธุ์โดยการแตกหน่อจากข้อของลำต้นที่อยู่ชิดผิวดิน และใต้ดิน ตลอดจนจะ
แตกแขนงจากส่วนก้านของช่อซึ่งจะเกิดภายหลังจากที่ดอกได้ร่วงหล่นลงพื้นแล้วบริเวณที่ข้อของก้านดอกก็จะแตกแขนงเป็น
หญ้าแฝกกอใหม่ต่อไป
หญ้าแฝกเป็นพืชที่ทนต่อสภาพน้ำท่วมในหน้าฝน และไฟไหม้ในหน้าแล้งได้ ซึ่งหญ้าแฝกที่ถูกไฟไหม้ในช่วงของฤดูแล้ง
นั้น สามารถที่จะแตกลำต้นเจริญเติบโตขึ้นได้ใหม่เมื่อหน้าฝนมาถึง
ส่วนหญ้าที่มีความคล้ายคลึงกับหญ้าแฝกคือหญ้าคา ซึ่งเป็นหญ้าที่เป็นอัตรายต่อเกษตรกรมาก เนื่องจากเป็นหญ้าที่
สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ขยายพันธุ์ได้เร็ว มีส่วนของลำต้นอยู่ใต้ดินที่เรียกว่า "ไหล" ได้ถูกจัดเป็นวัชพืชร้ายแรง
เนื่องจากกำจัดยากและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว คุณประโยชน์ในทางอื่น ๆ มีน้อยมาก
พีระศิษฐ์ สมแก้ว, หญ้าแฝกกับคุญประโยชน์...มากว่าที่คิด...รอการผลิตเพื่อการตลาด, เดลินิวส์, อาทิตย์ที่ 3 ส.ค. 40, P.36
Return to the Top