การทำงานกับไฟฟ้าแรงสูง
โดย กมล ตันพิพัฒน์ บริษัท อีอีซี คอนสครัคชั่น แมนเนจเม้นท์ จำกัด ที่มา : 1. เอกสารเผยแพร่เรื่อง อันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง, การไฟฟ้านครหลวง 2. ป้องกันภัยขณะก่อสร้างใกล้สายไฟ, ไฟฟ้า & อุตสาหกรรม, พฤษภาคม 2542
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงจะสามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปได้ในระยะทางที่ไกลและมีการสูญเสียทางไฟฟ้าต่ำกว่าระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าต่ำ ดังนั้นระบบส่งจ่ายไฟฟ้าในระยะทางไกลหรือที่มีโหลดไฟฟ้าขนาดใหญ่ของการไฟฟ้าฯ จึงต้องส่งด้วยแรงดันสูงแทบทั้งสิ้น ระบบส่งจ่ายไฟฟ้าที่การไฟฟ้าฯ ใช้มีทั้งระบบสายใต้ดินและระบบสายไฟฟ้าเดินลอยบนเสาไฟฟ้า สำหรับระบบสายไฟฟ้าแรงสูงเดินลอยบนเสาไฟฟ้านี้ แรงดันสูงที่ใช้ในการส่งไฟฟ้าสามารถที่จะทำให้เกิดการกระโดดข้ามอากาศหรือฉนวนไฟฟ้าเข้าหาวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตได้โดยไม่ต้องสัมผัสหรือแตะสายไฟ หากวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตนั้นอยู่ภายในระยะอันตรายที่ไฟฟ้าแรงสูงสามารถกระโดดข้ามได้ ระยะอันตรายนี้ขึ้นอยู่กับระดับแรงดันไฟฟ้าแรงสูงที่ใช้โดยแรงดันยิ่งสูงระยะที่ไฟฟ้าสามารถกระโดดข้ามได้ก็จะไกลขึ้น ในการทำงานในบริเวณที่มีสายไฟฟ้าแรงสูงเดินลอยบนเสาไฟฟ้าพาดผ่าน จึงจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างสูง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและเพิ่มความมั่นใจในการทำงาน เราจึงควรทำความเข้าใจถึงระยะห่างที่ปลอดภัยในการทำงานสำหรับไฟฟ้าแรงดันสูงระดับต่าง ๆ ไว้พอสังเขป
รู้ระดับแรงดันของสายไฟฟ้าแรงสูงเดินลอยบนเสาไฟฟ้าได้โดยการสังเกต
ไฟฟ้าแรงดันสูงที่มีใช้งานจะมีระดับแรงดันที่แตกต่างกันไปสำหรับการไฟฟ้าฯ ต่าง ๆ ดังนี้
การไฟฟ้านครหลวง
ใช้ระดับแรงดัน 12,000 , 24,000 , 69,000 และ 115,000 โวลต์ เป็นส่วนใหญ่และมีใช้ระดับแรงดัน 230,000 โวลต์ อยู่บ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
โดยทั่วไปใช้ระดับแรงดัน 22,000 , 33,000 และ 115,000 โวลต์ถ้าสังเกตสายไฟฟ้าแรงสูงเดินลอยบนเสาไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่ทั่วไป จะพบเห็นการจับยึดสายโดยมีฉนวนไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้เนื่องจากสายไฟฟ้าแรงสูงเดินลอยบนเสาไฟฟ้ามีระยะอันตรายที่จะเกิดการกระโดดข้ามของกระแสไฟฟ้าจากสายไฟฟ้าได้ ดังนั้นจึงต้องมีการจับยึดสายไฟฟ้าด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าในจำนวนที่พอเหมาะกับระดับแรงดันไฟฟ้าแรงสูงนั้น ฉนวนไฟฟ้าที่ใช้กันส่วนใหญ่จะทำด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นชิ้น ๆ มีรูปร่างเหมือนชามคว่ำที่เรียกว่าลูกถ้วย ดังนั้นเราจึงสามารถสังเกตุว่าเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงระดับแรงดันเท่าใดได้จากการยึดสายไฟฟ้าด้วยลูกถ้วยเป็นชั้น ๆ ซึ่งจำนวนชั้นของลูกถ้วยจะบอกถึงระดับแรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้าแรงสูงนั้นๆ ได้ วิธีสังเกตง่าย ๆ เพื่อให้ทราบถึงระดับแรงดันไฟฟ้าสามารถสังเกตได้ดังนี้
จำนวนชั้นของลูกถ้วยคว่ำ |
ระดับแรงดันไฟฟ้า (โวลต์) |
2-3 |
12,000 24,000 |
4 |
69,000 |
7 |
115,000 |
ระดับความสูงของสายไฟฟ้า |
ระดับแรงดันไฟฟ้า (โวล์ต์) |
อาคารชั้นที่ 2 - 3 |
12,000 24,000 |
อาคารชั้นที่ 4 ขึ้นไป |
69,000 115,000 |
ทั้งนี้ระดับความสูงของสายไฟฟ้าแรงสูงเดินลอยบนเสาไฟฟ้ามักจะอยู่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 6 เมตรขึ้นไป โดยเสาไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปกำหนดความสูงไว้ตั้งแต่ 6 เมตร จนถึง 22 เมตร ตามระดับของแรงดันไฟฟ้า
ระยะห่างที่ปลอดภัยจากไฟฟ้าแรงสูง
สายไฟฟ้าแรงสูงเดินลอยบนเสาไฟฟ้าที่ใช้ส่งกระแสไฟฟ้าไปตามท้องถนนหรือทุ่งนานั้นส่วนใหญ่จะไม่มีฉนวนหุ้ม หรือหากมีฉนวนหุ้มก็จะหุ้มบาง ๆ ไว้เท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่ปลอดภัยที่จะสัมผัสหรือแตะต้อง การหุ้มฉนวนที่ปลอดภัยนั้นจะต้องมีฉนวนที่หนาเพียงพอ ซึ่งจะทำให้สายไฟฟ้ามีน้ำหนักมากไม่สามารถพาดไปบนเสาไฟฟ้าธรรมดาได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้ไฟฟ้าและเพื่อเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวงจึงได้กำหนดมาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยจากไฟฟ้าแรงสูงไว้ โดยกำหนดทั้งระยะห่างต่ำสุดตามแนวดิ่งและแนวระดับสำหรับบริเวณต่าง ๆ ไว้ ซึ่งรายละเอียดระยะห่างต่ำสุดนี้มีระบุไว้ในกฎการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง หรือมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยของ วสท. ทั้งนี้มาตรฐานบางส่วนของระยะห่างต่ำสุดที่ปลอดภัยสำหรับสายไฟฟ้าแรงสูงกับอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง และกับผู้ปฏิบัติงานมีดังนี้
อาคาร / สิ่งปลูกสร้าง
มาตรฐานระยะห่างในแนวระดับที่ปลอดภัยระหว่างอาคาร/สิ่งปลูกสร้างหรือป้ายโฆษณากับสายไฟฟ้าแรงสูงเดินลอยบนเสาไฟฟ้า
ระดับแรงดันไฟฟ้า (โวลต์) |
ระยะห่างจากสายไฟในแนวระดับไม่น้อยกว่า (เมตร) |
|
อาคาร / ระเบียง |
ป้ายโฆษนา |
|
12,000 24,000 |
1.80 |
1.80 |
69,000 |
2.13 |
1.80 |
115,000 |
2.30 |
2.30 |
หมายเหตุ ระยะดังกล่าวไม่ครอบคลุมการทำงานนอกตัวอาคาร หรือบนระเบียงเปิดที่อาจมีการยื่นวัตถุออกนอกตัวอาคารซึ่งจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยสำหรับการทำงาน หรือจะต้องมีการหุ้มหรือคลุมสายเพื่อความปลอดภัย
ผู้ปฏิบัติงาน / การทำงาน
มาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยของการทำงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงเดินลอยบนเสาไฟฟ้าสำหรับบุคคลหรือผู้ที่ปฏิบัติงานรวมถึงอุปกรณ์เครื่องมือกลทุกชนิดเช่นปั้นจั่น รถเครน หรือวัตถุที่ถืออยู่ในมือจะต้องอยู่ห่างจากส่วนที่มีไฟฟ้าแรงสูงไม่น้อยกว่าระยะดังต่อไปนี้
ระดับแรงดันไฟฟ้า (โวล์ต์) |
ระยะห่างที่ปลอดภัย (เมตร) |
12,000 69,000 |
3.05 |
115,000 |
3.20 |
หมายเหตุ หากบริเวณที่ต้องการปฏิบัติงานมีระยะห่างที่ต่ำกว่ามาตรฐาน จะต้องแจ้งให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการหุ้มหรือคลุมสายก่อนลงมือทำงาน
ทั้งนี้ในกรณีที่มีการหุ้มหรือคลุมสายไฟฟ้าแรงสูงเดินลอยบนเสาไฟฟ้าด้วยฉนวนไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวงแล้วนั้น จะเป็นการช่วยให้สามารถทำงานในระยะที่ใกล้มากขึ้นเท่านั้น มิได้หมายความว่ามีความปลอดภัยเพียงพอที่จะสัมผัสได้ ผู้ปฏิบัติงานยังคงต้องใช้ความระมัดระวังในการทำงานเช่นเดิม
สำหรับนั่งร้านและปั่นจั่นชนิดติดกับตัวรถมีระยะห่างที่ปลอดภัยดังนี้
นั่งร้าน
ระดับแรงดันไฟฟ้า (โวลต์) |
ระยะห่างที่ปลอดภัย (เมตร) |
ไม่เกิน 12,000 |
2.40 |
24,000 |
3.00 |
69,000 |
3.30 |
115,000 |
3.90 |
230,000 |
5.30 |
ปั่นจั่นชนิดติดกับตัวรถ ( ใช้บังคับกรณีของเครื่องตอกเสาเข็มด้วย )
ระดับแรงดันไฟฟ้า (โวลต์) |
ระยะห่างที่ปลอดภัย (เมตร) |
ไม่เกิน 24,000 |
3.05 |
69,000 |
3.20 |
115,000 |
3.65 |
230,000 |
4.80 |
ข้อควรระวังในการทำงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงเดินลอยบนเสาไฟฟ้า