ทำอย่างไรเมื่อน้ำเย็นเข้าเครื่องส่งลมเย็นน้อยเกินไป
- หนึ่งในสองปัญหาสำคัญที่เป็นสาเหตุของแอร์ไม่เย็นคือ
อุณหภูมิลมจ่ายสูงเกินไป
สำหรับระบบน้ำเย็น
สาเหตุที่พบเป็นประจำที่ทำให้อุณหภูมิลมจ่ายสูงกว่าที่ออกแบบ
คือ
อัตราไหลน้ำเย็นเข้าเครื่องส่งลมเย็นมีน้อยกว่าที่ออกแบบ
การตรวจสอบอัตราไหลของน้ำเย็นผ่านคอยล์ทำความเย็นสามารถทำได้
โดยวัดอัตราไหลที่วาล์วปรับสมดุล
ซึ่งสามารถวัดได้ 2 วิธี
1.
วัดด้วยเครื่องวัดอัตราไหลของผู้ผลิตวาล์วปรับสมดุล
ซึ่งสามารถแสดงอัตราไหลเป็นตัวเลขได้ทันที
2.
วัดความดันคร่อมวาล์วปรับสมดุลด้วยมาโนมิเตอร์
หรือเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล
แล้วนำค่าความดันที่วัดได้ไปเปิดหาอัตราไหลจากกราฟของวาล์วรุ่นนั้นๆ
เมื่อวัดอัตราไหลได้แล้ว
ให้นำไปเทียบกับแบบพิมพ์เขียว
หรือเทียบกับการประมาณจากอัตราไหลน้ำเย็นที่ต้องการเท่ากับ
2.4 GPM ต่อตัน
(สำหรับอุณหภูมิน้ำเย็น 45/55 F)
ถ้าพบว่ามีอัตราไหลน้อยกว่าที่ควรจะเป็นขอให้เริ่มตรวจสอบดังนี้
ตรวจสอบความดันคร่อมท่อน้ำจ่าย
และท่อน้ำกลับก่อนเข้าเครื่องส่งลมเย็น
- สามารถตรวจสอบได้โดย
ปิดวาล์วปรับสมดุลให้สุด
(ก่อนปรับวาล์วให้จดจำนวนรอบเดิมไว้ก่อนเพื่อปรับคืนตำแหน่งเดิมได้)
แล้ววัดความดันคร่อมวาล์วโดยใช้เครื่องวัดความดัน
หรืออ่านความดันจากเครื่องวัดอัตราไหลก็ได้
(สามารถเลือกอ่านได้ทั้งความดันและอัตราไหล)
โดยทั่วไปควรมีความดันคร่อมท่อน้ำจ่ายและท่อน้ำกลับนี้ไม่น้อยกว่า
20 ฟุตน้ำ
ถ้ามีความดันคร่อมท่อน้ำจ่ายและท่อน้ำกลับต่ำกว่า
20 ฟุตน้ำ
แสดงว่าปัญหาน้ำเข้าเครื่องส่งลมเย็นน้อยเป็นปัญหาที่เกิดภายนอกเครื่องส่งลมเย็น
ขอให้ลองตรวจสอบตามรายการด้านล่าง
แต่ถ้ามีความดันคร่อมสูง
แต่น้ำเย็นก็ยังเข้าเครื่องส่งลมเย็นน้อย
แสดงว่าเป็นปัญหาภายในเครื่องส่งลมเย็น
ขอให้ดูที่ข้อถัดไป
รายการตรวจสอบเมื่อพบว่ามีความดันคร่อมท่อน้ำจ่ายและท่อน้ำกลับต่ำ
ตรวจสอบว่าเปิดเครื่องสูบน้ำน้อยกว่าที่กำหนดหรือไม่
ตรวจสอบว่าเครื่องสูบน้ำจ่ายน้ำออกมากน้อยกว่าที่กำหนดหรือไม่
ตรวจสอบว่าน้ำเย็นไหลไปที่เครื่องส่งลมเย็นอื่นๆมากเกินไปหรือไม่
ตรวจสอบว่าวาล์วบายพาสที่ท่อประธานเปิดค้างหรือไม่
ตรวจความสกปรกของ
Strainer
- ให้ลองถอดตะแกรงกรองความสกปรกภายใน
Strainer ออกมาทำความสะอาด
แล้วใส่กลับเข้าไปเหมือนเดิม
(ถ้าไม่มีตะแกรงกรองความสกปรก
ความสกปรกจะเข้าไปอุดตันในคอยล์ได้
ซึ่งจะทำความสะอาดยากกว่ากันมาก)
ตรวจการทำงานของวาล์วควบคุม
(Control Valve)
- บางครั้งวาล์วควบคุมอาจปิดค้างไว้ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งได้
ขอให้ลองปรับเทอร์โมสตัทให้สูงขึ้นเพื่อดูว่าวาล์วปิดได้สุดหรือไม่
และลองปรับเทอร์โมสตัทให้ต่ำลงเพื่อดูว่าวาล์วเปิดลงได้สุดหรือไม่
ถ้าหากวาล์วควบคุมเสีย
ให้ถอดมอเตอร์ขับวาล์วออกแล้วกดก้านวาล์วลงเพื่อเปิดวาล์วให้สุด
(วาล์วบางรุ่นอาจต้องดึงขึ้นเพื่อเปิดวาล์วให้สุด)
แล้วลองตรวจสอบอัตราไหลของน้ำเย็นดูว่าเพิ่มมากขึ้นหรือไม่
ตรวจสอบความดันคร่อมคอยล์
- ตรวจสอบความดันคร่อมคอยล์เพื่อดูว่าคอยล์อุดตันหรือไม่
ทำโดยวัดความดันคร่อมเฉพาะคอยล์
(ต้องไม่คร่อมอุปกรณ์อื่นๆ เช่น
วาล์วควบคุม วาล์วปรับสุมดุล
หรือวาล์วเปิด-ปิด)
ตามปรกติจะมีจุดความความดันที่ท่อเข้าและท่อออกจากคอยล์
แล้วนำค่าความดันไปตรวจสอบกับแคตตาล็อกของผู้ผลิตคอยล์
แต่ถ้าไม่มีให้พิจารณาว่าโดยทั่วไปความดันคร่อมคอยล์ไม่ควรเกิน
15 ฟุตน
-
ถ้าไม่สามารถวัดความดันคร่อมคอยล์ได้
หรือพบว่ามีความดันคร่อมคอยล์เกิน
15 ฟุตน้ำ ให้ทำการล้างภายในคอยล์
โดยการปิดวาล์วน้ำเย็นด้านเข้าเครื่องส่งลมเย็น
แล้วเปิดวาล์วระบายน้ำ (Drain Valve)
ที่ด้านใต้ของคอยล์
แรงดันของน้ำจะดันน้ำย้อนภายในคอยล์ให้ไหลออกมาทางวาล์วระบายน้ำ
การตรวจสอบตามรายการข้างต้น
เป็นการตรวจสอบในเบื้องต้นเพื่อที่จะแยกปัญหาพื้นฐานที่พบบ่อยๆออกจากปัญหาที่ซับซ้อน
หากทำการตรวจสอบตามรายการข้างต้นแล้วไม่พบความผิดปรกติ
แสดงว่าปัญหาในระบบเป็นปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อนและเฉพาะเจาะจง
ซึ่งจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปตรวจสอบเป็นกรณีๆไป.