หลักประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาได้ทุกโรค?

เรื่องที่ฮ็อตสุดๆ ในขณะนี้ คงไม่พ้นเรื่อง "30 บาทรักษาได้ทุกโรค" แน่หรือ เพราะหลังจากที่พรรคไทยรัก ไทยได้รับเลือกตั้งเข้ามาด้วยเสียงข้างมากอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด นโยบายที่ประกาศไว้ช่วงหาเสียง คือ "หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาได้ทุกโรค" ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นในการวิพากษ์วิจารณ์ กันมาก จริงๆ แล้ว เรื่องนี้ต้องพินิจกันให้ดี แยกเป็น 2 ประเด็น คือ เรื่อง "หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า" กับ "30 บาทรักษาได้ทุกโรค (จริงหรือ)"

"หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า" นั้น เกิดขึ้นแน่ เพราะเป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ "บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับ บริการทางสาธารณสุขที่ได้ มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่คิดมูลค่า" อันเป็นปรัชญาที่ว่าด้วยความเสมอภาคของการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ไม่นำเรื่องเงินๆ ทองๆ มาคุย ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังพยายามเขียนไว้ในแผนพัฒนา สาธารณสุข ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549)

ส่วน "30 บาทรักษาได้ทุกโรค" นั้นเป็นนโยบายทางการเมืองที่มาทีหลัง แนวคิดของพรรคไทยรักไทยในเรื่อง นี้ ตั้งอยู่บนฐานคติที่ว่า กลไกภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องระบบบริการสุขภาพที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ไม่ได้ทำให้ ประชาชนสุขภาพดีถ้วนหน้าเลย บางครั้งเจ็บป่วยถูกปฏิเสธการรักษาหรือถามหาบัตรสงเคราะห์ และยิ่งเมื่อ เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ประชาชนถูกซ้ำเติมยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เสียงส่วนใหญ่ในสังคมเห็นว่าเป็นนโยบายที่ดี แต่จะมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติมากน้อยแค่ไหน ลองมาฟังคำถามและคำตอบของผู้เสนอนโยบายนี้ดู

  1. ปัจจุบันขณะที่ไม่มีการประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นอย่างไร ไม่ดีอย่างไร
    - ปัจจุบันค่าใช้จ่ายสาธารณสุขของประเทศสูงถึงปีละ 250,000 ล้านบาท แต่มีคนถึง 18 ล้านคนที่ยังไม่ มีหลักประกันด้านสุขภาพ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ยากไร้บางส่วนไม่กล้าไปโรงพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย ขณะเดียว กันงบประมาณไม่ได้จัดสรรอย่างเป็นประโยชน์และกระจายตัวเพียงพอ มีการซึ้อเครื่องมือแพทย์ที่ทัน สมัย ซ้ำซ้อน กระจุกตัวในบางแห่ง เช่น กทม. ขณะที่ขาดแคลนเครื่องมือแพทย์จำเป็นในภูมิภาค
  2. ถ้านโยบายนี้ดีจริง ทำไมไม่มีรัฐบาลไหนทำ
    - โครงการการประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นงานระดับชาติที่รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีต้องให้ความสำคัญ ผลักดันผ่านรัฐสภา และต้องใช้เวลาในการปฏิรูปไม่น้อยกว่า 2 ปี ที่สำคัญกว่านั้นคือ การทำโครงการ ประกันสุขภาพแห่งชาตินี้ต้องพลิกระบบความคิดในการรักษาพยาบาลใหม่ จากระบบเดิมที่งบประมาณ จัดสรรตามการเสนอขอและขนาดของสถานพยาบาล ซึ่งทำให้สถานพยาบาลไม่ให้ความสำคัญในการให้ บริการคนไข้อย่างเพียงพอ และยังมีแนวโน้มในการใช้งบประมาณอย่างไม่มีประสิทธิภาพ มาเป็นระบบ ใหม่ ที่จัดสรรตามจำนวนประชาชนที่มาขึ้นทะเบียนและให้บริการสุขภาพในสถานพยาบาลนั้นๆ ซึ่งจะทำ ให้ประชาชนที่มาใช้บริการในสถานพยาบาลกลายเป็นหัวใจของการให้บริการของสถานพยาบาล แต่ละ แห่งต้องพัฒนาการให้บริการเพื่อให้ผู้ใช้บริการพึงพอใจและขึ้นทะเบียนอยู่กับสถานพยาบาลแห่งนั้นๆใน ปีต่อๆ ไป
  3. ทุกโรงพยาบาลจะเข้าร่วมโครงการประกันสุขภาพหรือไม่
    - โรงพยาบาลและสถานพยาบาลของรัฐทุกแห่งจะเข้าโครงการนี้ทันที ส่วนสถานพยาบาลเอกชนจะเข้า ร่วมหรือไม่แล้วแต่ความสมัครใจ แต่ด้วยฐานของประชาชนผู้ประกันสุขภาพ 62 ล้านคนทั่วประเทศ จะทำให้โรงพยาบาลและสถานพยาบาลต่างๆ เข้าร่วมโครงการนี้มากยิ่งขึ้น
  4. เมื่อประชาชนไปรักษาพยาบาล ต้องจ่ายเงินอีกเท่าไร ค่ายา ค่าเตียง ค่าผ่าตัด ต้องจ่ายอีกไหม
    - ต้องจ่าย 30 บาทต่อครั้ง และไม่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก ทั้งค่ายา ค่าเตียง ค่าผ่าตัด แม้ว่าจะต้องนอน พักอยู่หลายวันก็จ่ายเพียงแค่ 30 บาทเท่านั้น
    - ส่วนเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ยากไร้ จะเป็นสมาชิกกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติโดยอัตโนมัติ และ ไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล 30 บาทต่อครั้ง
  5. โรงพยาบาล แพทย์ เตียง ยา จะบริการเหมือนกันหรือไม่
    - บริการพื้นฐานจะเหมือนกันหมด แต่ถ้าต้องการบริการพิเศษเพิ่ม อาทิ ห้องพิเศษ พยาบาลพิเศษ ต้อง จ่ายเพิ่มเองต่างหาก
  6. กองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติจะหาเงินจากไหนมาทำโครงการนี้
    - เงินที่ต้องใช้เพื่อบริการสุขภาพ ประมาณ 80,000 ล้านบาทต่อปี โดยหามาจาก 4 ทาง คือ
    6.1) เงินงบประมาณ ตามปกติรัฐบาลจัดสรรเงินให้กับสถานพยาบาลทั่วประเทศปีละ 70,000 - 80,000 ล้านบาท
    6.2) การระดมทุนในชุมชน ในลักษณะเงินสมทบจากองค์กร เช่น อบต. อบจ. หรือ กองทุนชุมชนอื่นๆ
    6.3) เงิน 30 บาทต่อครั้ง คิดเป็นเงินประมาณ 1,800 ล้านบาท (60 ล้านครั้ง)
    6.4) เงินสมทบจากสำนักงานประกันสังคมที่เหมาจ่ายให้โรงพยาบาลประมาณ 7,000 ล้านบาท
  7. จะมีมาตรการอย่างไรในการควบคุมคุณภาพการรักษาพยาบาล
    - ขณะนี้มีการกำหนดมาตรฐาน คุณภาพการรักษาพยาบาล (Hospital Accreditation) ซึ่งเปรียบ เหมือน ISO ของโรงพยาบาล โดยจะปรับใช้ระบบนี้กับโรงพยาบาลที่อยู่ในเครือข่ายกองทุนประกัน สุขภาพแห่งชาติ

แล้วเพื่อนๆ ล่ะครับมีความคิดเห็นอย่างไร กับนโยบาย "30 บาทรักษาได้ทุกโรค" มีความเป็นไปได้ แค่ไหน และจะมีผลอย่างไรต่อแพทย์ พยาบาล และโรงพยาบาลบ้าง ลองแสดงความคิดเห็นกันดู ที่ หน้า New News

จาก นิตยสาร ชีวจิต ฉบับที่ 57
ที่มา : พรรคไทยรักไทย

กลับสู่หน้าเมนูหลัก

Copyright 2000-2001 Siriraj 106, All right reserved. Webmaster SI106

 

1