ani-construction.gif (470 bytes)
ลงมือขุดทาง
วางท่อ
รอเสร็จครับ

 

sign02.gif (999 bytes)
โปรดระวัง
ถนนลื่นครับ

 

ป้ายบอกทาง
บ้านนักเดินทาง

Up

 

 

ani-constructionguy.gif (13899 bytes)

 

 

คำแนะนำ ติชม
ติดต่อผมได้
ที่นี่ครับ

e-mail to Traveler
ขอบคุณครับ
ที่ร่วมเดินทาง

กลับขึ้นไปข้างบน

 

 

 

 

line3.gif (24414 bytes)

 

Up ] [ ตอม่อ Linux ] ประวัติทางด่วน Linux ] แล้วจะออกเสียงไงล่ะ ] อยากเห็นรูปนายนี่ไหม ] ทางด่วนขึ้นที่ 1 ] ห้องใต้ทางด่วน ] ห้องเย็น ]

 


ลงตอม่อทั้งทีจะแข็งแรงแค่ไหนอย่างไร ลองอ่านดูละกันครับ


สรรพคุณ ... Linux

Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกสร้างขึ้น คล้ายๆ กับระบบปฏิบัติการที่ชื่อว่า Unix ยูนิกส์อย่างที่เขียนไว้ใน
ประวัติทางด่วนนะครับ แล้วเจ้าเนี่ยสามารถใช้บนเครื่องที่ใช้ x86, Motorola 68k, Digital Alpha,
Sparc, Mips, แล้วก็ Motorola PowerPC ถ้าสนใจอยากรู้ว่าไอ้ที่เขียนมาข้างหน้ามันคืออะไรละก้อ
จ.ม. มาละกันนะครับ แล้วจะหาผู้รับเหมามาสร้างทางนี้ให้นะครับ

เจ้า Linux เนี่ยสร้างขึ้นบนแบบฟอร์มของ Posix ซึ่งเค้าว่าเป็นเวอร์ชั่นที่แท้จริงของ Unix หน่ะ
โดยปกติแล้ว Unix เนี่ยถูกแบ่งออกเป็นยี่ห้อๆ นะครับ อย่างของบริษัท Digital ก้อจะเป็น Digital Unix
ของ Sun ก้อจะเป็นอีกอันหนึ่งอะไรทำนองเนี้ย หัวใจของระบบ (Kernel) ไม่ได้ใช้โค๊ดจาก AT&T
หรือที่ใช้กันอยู่ทั่วๆ ไปเลยแต่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ภายใต้โปรเจคที่ชื่อว่า GNU ของ Free Software
Foundation

ตัว Linux เองเข้ากันได้กับ Unix หลายๆ ระบบเช่น IEEE POSIX.1, Unix System V และ Berkely
System Distribution UNIX แล้วเจ้าเนี่ยก็รองรับโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้อยู่กันอย่างแพร่หลายรวมทั้ง X
Windows ถ้านึกไม่ออกก็นึกถึง Windows ของอีตา Bill Gates เจ้าของไมโครซอฟส์นั่นแหละ Emacs
เป็นเอดิเตอร์ชั้นดีอีกตัวหนึ่ง รวมไปถึง ระบบเน็ตเวอร์ค อย่าง TCP/IP ด้วย แล้วยังรองรับระบบไฟล์ของ
MS-DOS, Windows 95 VFAT ทั้ง 16 แล้วก้อ 32-bit ด้วยครับ แต่ในเวอร์ชั่นปัจจุบันอาจจะต้องมีการ
ปรับแต่งกันเล็กน้อยก่อนที่จะใช้ระบบไฟล์ 32-bit ครับ รวมไปถึงซีดีรอมในระบบ ISO 9660 ด้วย

ส่วนหัวใจของระบบหรือที่เรียกว่า Kernel เคอร์เนล อย่างที่บอกไว้หน่ะครับ มันอยู่ใต้
GNU Public License (GPL) ถ้าใครยังไม่รู้ ถอยเลยนะครับ กลับไปดูที่ ประวัติทางด่วนล่ะกันนะ
พูดง่ายๆ ต้องเป็นของฟรีครับ ฟรีเท่านั้น ในขณะกำลังลงตอม่ออยู่ Kernel เคอร์เนล
ที่อยู่ในช่วงกำลังพัฒนาคือเวอร์ชั่น 2.1.131 แล้ว Kernel ที่อยู่ตัวหรือที่ใช้กันอยู่ก็คือ Linux เวอร์ชั่น
2.0.36 ถ้าอยากจะลองใช้ก็ไปโหลดได้ ที่นี่ เลยครับ แต่เตือนกันก่อนนะว่าต้องอ่านรายละเอียดในการลง
Kernel ให้ดีๆ นะครับ ถ้าหาไม่ได้ก้อไป ที่นี่ ได้เลยครับ

เพื่อเป็นการเพิ่มความจำของเครื่องที่ใช้ Linux คุณๆ สามารถสร้าง Swap Space (เอ ไม่รู้ว่าภาษาไทยจะ
เขียนว่าอะไร) ได้มากถึง 1 gigabyte กิกะไบต์ โดยแบ่งเป็น 8 partitions พาทิชั่น หรือพูดภาษาชาวบ้านก็
8 ส่วน ส่วนละ 128 megabytes เมคกะไบต์ เพื่อสลับสับเปลี่ยนส่วนที่โปรแกรมไม่ได้ใช้ไปสู่ดิส
ผลก็คือทำให้เราสามารถใช้โปรแกรมที่ใหญ่ขึ้น รองรับผู้ใช้มากขึ้นด้วย

โปรแกรมแทบจะทุกโปรแกรมที่มีอยู่บน Unix ธรรมดาสามารถใช้บน Linux ได้รวมทั้งคำสั่งอย่างเช่น ls,
awk, tr, sed, bc หรือ more เป็นต้น ถ้าคุณค่อนข้างที่จะคุ้นกับคำสั่งบน Unix แล้วก็ไม่น่าที่จะมีปํญหาบน
Linux เท่าไหรนักนะครับ แต่ถ้าคุณยังไม่คุ้นกับคำสั่งบน Unix ล่ะก้อขึ้น "ทางด่วนขั้นที่ 1" ไปเลยนะครับ

สรรพคุณ ... ซอฟแวร์ใน Linux

เอดิเตอร์ หรือโปรแกรมที่ใช้ขีดๆ เขียนๆ ตัวหนังสือบน Linux ก็มีอยู่หลายตัวเช่น vi, ex, pico, jove, joe,
jed หรือแม้แต่ emacs ซึ่งมีอยู่หลายค่ายมาก ก็สามารถใช้บน Linux ได้ดีทีเดียว หลายๆ คนอาจจะชอบ
ใช้เจ้าเอดิเตอร์ตัวเก่าๆ เช่น vi แต่เจ้านี่ก็มีขีดความสามารถที่จำกัดเนื่องจากความเก่าเก็บของเจ้าตัวด้วย
ตัวที่ทันสมัยขึ้นมาหน่อยก็ emacs ไงเรียกว่าเป็นเอดิเตอร์สารพัดประโยชน์เลยก้อว่าได้เพราะทำได้
หลายอย่างเหลือเกิน ตั้งแต่แค่ขีดๆ เขียนๆ ตัวหนังสือ เขียนโปรแกรมมีการตรวจสอบข้อผิดพลาดด้วย
อ่านอีเมล์ อ่านข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต ไปจนถึงเป็นเบราเซอร์ตัวโปรดได้เหมือนกัน

ส่วนใหญ่โปรแกรมใน Linux จะเป็น โปรแกรมของ GNU แล้วเจ้าโปรแกรมพวกนี้เนี่ยมีความสามารถ
ซึ่งปกติจะไม่เห็นในเวอร์ชั่นของ BSD หรือ UNIX System V หลายๆ คนก็เลยบอกว่าเจ้าโปรแกรมของ
GNU เนี่ยดีกว่าของเดิมๆ อีก

การที่ผู้ใช้จะติดต่อหรือสื่อสารกับหัวใจของระบบนั้น เราๆ จะต้องติดต่อผ่านทาง Shell ไม่ใช่น้ำมันเชลล์
หรือหอยเชลล์อะไรหรอกครับ แต่เป็นโปรแกรมที่รับและทำตามคำสั่งของผู้ใช้สั่งไป ทั้งยังจัดการ
เกี่ยวกับระบบงานไม่ให้ชน หรือซ้ำซ้อนกัน สลับสักหลีกข้อมูลที่ส่งเข้าออกอะไรประมาณนี้ครับ

คุณ Shell เนี่ยเค้าก็ไม่ได้มีแบบเดียวนะครับ มีหลายหลากมากแล้วแต่ความสะดวกของผู้ใช้ครับ
ส่วนที่สำคัญอีกส่วนนึงสำหรับคุณ Shell ก็คือภาครับคำสั่งนี่แหละครับ ก็มันจะเป็นตัวที่คุณจะต้องพิมพ์คำสั่ง
แสดงข้อมูลต่างๆ ข้อผิดพลาด และอื่นๆ อีกตั้งเยอะแหนะ จะให้ยกตัวอย่างก็ C Shell (csh) จะมีโครง
สร้างคล้ายๆ ภาษา C หรืออย่าง Bourne Shell (bsh) ซึ่งมีโครงสร้างที่แตกต่างออกไปครับ

อีกตัวหนึ่งก็ GNU Bourne Again Shell (bash) ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก Bourne Shell อีกทีนึงซึ่งมีความ
สามารถเพิ่มจากเดิม อย่างการจัดการระบบงาน มีการจดจำคำสั่งที่ใช้ไปแล้ว อันที่เป็นที่นิยมอีกอันหนึ่งก็
tcsh เป็นอีกเวอร์ชั่นของ C Shell แล้วเพิ่มสามารถเข้าไปอีกซึ่งค่อนข้างจะเหมือนกับ bash ครับ Shell
อีกตัวหนึ่งก็คือ zsh หรืออีกตัวที่ชื่อว่า Korn Shell (ksh) ซึ่งเป็นตัวที่เล็กกะทัดรัดกว่านะครับ

สรุปมันมีหลายตัวมากเลย แต่โดยปกติแล้ว ถ้าคุณชินกับ Shell ตัวไหนแล้ว จะไม่ค่อยเปลี่ยนกันหรอกครับ
เพราะมันหมายถึง คุณจะต้องแก้ไขค่าต่างๆ ที่คุณได้ตั้งไว้แล้ว อาจจะทั้งหมดหรือไม่ก็ตามแต่มันน่าเบื่อ
นะครับ นอกจากคุณจะไปเจอตัวที่เจ๋งจริงๆ หรือตัวที่พัฒนาไปจากตัวเดิม ซึ่งคุณคุ้นเคยอยู่แล้วครับ

การเขียนโปรแกรมบน Linux และโปรแกรมช่วยเหลือ

Linux ถูกสร้างมาพร้อมสำหรับการเขียนโปรแกรมในระบบ Unix ซึ่งคุณจะไม่นึกเลยว่าจะพร้อมอะไรกันขนาดนั้นเมื่อเทียบกับ Unix อื่นๆ มาตรฐานอย่าง POSIX.1 ก็ถูกนำไปรวมไว้ใน Linux ด้วย หลายๆ คนเขียนโปรแกรมต่างๆ บน Linux ที่บ้าน แล้วค่อยส่งไปยังเครื่องซึ่งเป็น Unix ระบบอื่นๆ ไม่ใช่แค่การประหยัดเวลา หรือเงินทองเท่านั้นหรอกครับ แต่มันยังทำให้พวกเราๆ เค้าๆ สามารถนอนตีพุงทำงานอยู่ในบ้านที่แสนอันอบอุ่น แต่อาจจะอบอ้าวก็ได้ถ้าไม่มีแอร์เนอะ นักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวกับคอมพ์พิวเตอร์สามารถใช้ Linux ในการเรียนรู้การเขียนโปรแกรม หรือส่วนต่างๆ ในระบบอย่าง Kernel ด้วย

ในโลกของ Unix นั้นโปรแกรมส่วนใหญ่จะถูกเขียนขึ้นด้วยภาษา C หรือ C++ เกือบทั้งสิ้น ในระบบ Linux เค้าใช้ GNU gcc ซึ่งเป็น compiler เรียกง่ายๆ ตัวแบลภาษานั่นเอง gcc ซึ่งรองรับการเขียบโปรแกรม C++ รวมถึงการเขียนโปรแกรมแบบ Object-Oriented ในภาษา C ด้วย

นอกจากภาษา C และ C++ แล้วยังมีอีกหลายภาษาที่ถูกนำไปใช้บน Linux อย่างเช่น Smalltalk, FORTRAN, Java, Pascal, LISP, Scheme, หรือ Ada หรือของโปรดของนักเจาะระบบ อย่างเช่น Perl และ Tcl/Tk ก้อมีไว้ให้เลือกใช้ครับ แถมยังมีพวกโปรแกรมตรวจสอบ หรือ debugger หรือโปรแกรมที่เก็บสถิติประสิทธิภาพของโปรแกรมที่คุณเขียนมาให้ด้วย โปรแกรมช่วยเหลืออีกอย่างคือ GNU make และ imake เค้าจะช่วยในการ compile โปรแกรมใหญ่ๆ ครับ

Linux ยังรองรับ dynamically linked, shared libraries (DLLs) ได้อีกด้วย ซึ่งจะถูกเรียกใช้ในขณะที่ใช้โปรแกรมนั้นๆ อยู่ แล้วยังอนุญาติให้คุณเขียนโปรแกรมย่อยทับของเดิมได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยากจะใช้ฟังชั่น malloc() ในแบบฉบับของคุณเองก้อสามารถจะทำได้ครับ

หน้าต่างบานนี้ชื่อ X ครับ

X Window หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า X เนี่ย ถ้าในระบบ Unix ไหนไม่มีเค้าละก้อ ... เชยครับ คุณสามารถเป็นโปรแกรมย่อยๆ หรือแม้นแต่เจ้าตัว Window เองก็เปิดซ้อนๆ กันได้หลายๆ หน้าจอ ดีกว่าของคุณ Bill Gates ละกัน

ระบบ X Window เนี่ยมีต้นกำเนิดมาจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) แถมยังฟรีอีกด้วย และหลายๆ บริษัทก็ได้ทำการปรับปรุงไปจากของเดิม แต่ใน Linux นั้นใช้ XFree86 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ X11 R6 แล้วก็ฟรีอีกตามเคยครับ ส่วนฮาร์ดแวร์ตัวไหนจะใช้ได้หรือไม่ได้ยังไง ไปดูได้ที่ "เครื่องผมจะใช้ได้ไหม" นะครับ

โปรแกรมที่มีอยู่ใน X นั้นก็มี xterm, xdm, xclock, xman, และ xmore แล้วก็มีอีกเยอะแยะเลยครับ จะนำมาใส่ไว้แถวนี้คงไม่พอครับ ที่น่าสนใจก็มีอย่าง Netsacpe Navigator หรือ Communicator หรืออย่าง บริษัท Corel ก็มีโปรแกรมที่ใช้บน X อีกเพียบเลย

พวกโปรแกรมจัดการวินโดว์ต่างๆ นั้นก็ใช้ง่ายแสนง่าย อย่างโปรแกรมจัดการวินโดว์ตัวเก๋าของ MIT หรือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายก็ fvwm ไงครับเป็นโปรแกรมจัดการตัวเล็กแต่ทรงประสิทธิภาพ หรืออย่างที่พยายามทำให้คล้าย Win 95 ก็ fvwm95-2 ไงครับ

ที่ทำให้ X Window โดดเด่นขึ้นมาก็ ฮาร์ทแวร์ ที่ต้องการไงครับ 386 4M-RAM แค่นี้ก็พอแล้วครับ ลองไปเทียบกับ Windows ของคุณ Bill Gates ดูซิครับ ต่างกันลิบเลย แล้วก็ X ที่ใช้บน Linux นั้นก้อเร็วกว่า X ที่ใช้บน Unix อื่นๆ ด้วยครับ

อยากใช้เน็ตเวอร์จัง

ตัว Linux นั้นใช้กับ network protocols อย่าง TCP/IP และ UUCP ได้อย่างสบายเลยครับ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เป็นเหมือนกับตัวกลางให้ระบบต่างๆ ติดต่อกันได้บนเน็ตเวอร์ครับ อย่าง Internet ที่คุณๆ ใช้กันอยู่ไง หรือจะใช้ อีเมล์ หรือ FTP (File Transfer Protocol) ก็ได้ครับ

เน็ตเวอร์ที่ใช้ TCP/IP ส่วนใหญ่จะใช้ Ethernet เป็นสื่อในการติดต่อกับตัวกลาง Linux ใช้ได้กับการ์ด Ethernet หลายๆ ตัวครับ รวมทั้งที่เป็นแบบ PCMCIA ด้วย

แต่ทุกเครื่องไม่ใช่ว่าจะมีเน็ตเวอร์คการ์ดใช่ไหมครับ เพราะฉะนั้น Linux ก็เลยเตรียมการติดต่อแบบ SLIP (Serial Line Intenet Protocol) และ PPP (Point-to-Point Protocol) ซึ่งใช้ในการต่อเข้า Internet ผ่านทางโมเด็ม แล้ว Linux ก็ยังสามารถทำให้เครื่องที่ใช้อยู่เป็นแม่ข่ายโดยใช้ SLIP หรือ PPP สำหรับเครื่องอื่นๆ ได้ด้วยครับ

NFS (Network File System), FTP (File Transfer Protocol), SMTP ที่ใช้สำหรับส่งอีเมล์, NNTP ที่ใช้สำหรับรับข่าวสาร สามารถใช้ได้บน Linux ทั้งนั้น

Linux ยังรองรับการติดต่อกับ Microsoft Windows โดยผ่านโปรแกรมที่ชื่อ Samba หรือติดต่อกับ Macintosh ด้วย AppleTalk หรือ LocalTalk รวมทั้งยังใช้ Novell's IPX protocol ได้

ส่วนโปรแกรมที่ใช้ในการอ่านอีเมล์ หรือข่าวสารต่างๆ บน Linux เช่น elm, pine, rn, nn หรือ tin แล้วแต่ชอบครับ

UUCP (Unix-to-Unix Copy) ซึ่งเป็นวิธีอีกวิธีนึงในการแลกแปลี่ยนไฟล์ อีเมล์ และ ข่าวสารต่างๆ บนเครื่องที่ใช้ Unix ด้วยกัน แต่อาจจะเก่าไปซักนิดครับ

ท่อง World Wide Web กัน

ที่ขาดไม่ได้ในยุคปัจจุบันก็คือโปรแกรม web server ซึ่งมีไม่แพ้ web browser เลยจริงมะ ใน Linux นั้นก็มีเจ้าตัวที่ชื่อว่า Apache ซึ่งเป็นที่แพร่หลายมากในขณะนี้ครับ ลองไปหาอ่านได้ที่  www.linuxresources.com ครับ

Web browser ที่ใช้ได้บน Linux มีหลายหลากมาก แล้วแต่จะเลือกใช้ครับ แต่รับประกันได้ ไม่มี IE แน่นอน ที่มีแน่ๆ ก็ Lynx, Mosaic, Netscape, Arena และ Amaya รวมทั้งรองรับ Java, CGI และ Perl ด้วย

หวังว่าคงจะพอหอมปากหอมคอนะครับ สำหรับสรรพคุณของ Linux ต่างๆ ถ้าอยากให้เพิ่มเติมอะไรอีเมล์มาบอกกันได้ครับ
กลับขึ้นไปข้างบน

 

line3.gif (24414 bytes)

Up ] [ ตอม่อ Linux ] ประวัติทางด่วน Linux ] แล้วจะออกเสียงไงล่ะ ] อยากเห็นรูปนายนี่ไหม ] ทางด่วนขึ้นที่ 1 ] ห้องใต้ทางด่วน ] ห้องเย็น ]

คุณคือผู้ใช้เส้นทางนี้คนที่ ตั้งแต่ 25 พฤศจิกายน 2541

 

1