ในจำนวนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่นักกีตาร์ "คาโป้" (Capo) นับได้ว่ามีประโยชน์เป็นพิเศษในการสร้างปรากฎการณ์ใหม่ ๆ ขึ้นมา ด้วยการฝึกใช้ให้ถูกต้อง นักกีตาร์สามารถจะเพิ่มขึดความสามารถของตัวเองขึ้นไปอีก "คาโป้" ในความหมายของนักกีตาร์มือใหม่ก็คือแท่งเหล็ก (หรือไม้) อันหนึ่งที่ใช้ผูกติดกับฟิงเกอร์บอร์ดตรงเฟร็ตใดก็ได้ เมื่อเลื่อนคาโป้ขึ้นไปบนคอกีตาร์ (เลื่อนเข้าหาตัว) มันจะยกระดับเสียงให้สูงขึ้น
คาดคาโป้ให้ตรงตำแหน่ง
มีเหตุผลหลายประการที่นักกีตาร์อยากใช้คาโป้เมื่อคาดกีตาร์สูงขึ้นไป จะทำให้เสียงของกีตาร์สดใสขึ้น
นอกจากนั้นยังมีความนิยมเกี่ยวกับการกลับคอร์ด เช่นเพลงที่เล่นใน "E" อาจน่าฟังกว่าเมื่อใช้เล่นในคอร์ด "D" ซึ่งความจริงก็คือคุณกำลังเล่นในคีย์ "E" นั่นเอง แบบนี้จะใช้ได้ผลดีเป็นพิเศษเมื่อนักกีตาร์ 2 คน มาเล่นด้วยกัน โดยคนหนึ่งเล่นคอร์ด E แบบมาตรฐาน และอีกคนหนึ่งเล่นคอร์ดที่ใช้คาโป้คาดออกมาเป็น "E" การใช้คอร์ดเดียวกันแต่ในรูปแบบที่ต่างกันนี้จะทำให้เสียงของกีตาร์แต่ละตัวมีจุดเด่นเป็นพิเศษ
คาโป้ช่วยคุณได้ในอีกกรณีหนึ่ง คือ ถ้าคุณจะต้องไปเล่นร่วมกับเพื่อน แต่เล่นกันคนละคีย์ หรือเล่นตามแผ่นเสียงหรือในวิทยุ ซึ่งคีย์ไม่ตรงกับที่คุณเล่นได้ เช่น คุณเล่นเพลงนี้ได้ในคีย์ E แต่เพื่อนคุณเล่นได้ในคีย์ C และคุณต้องการจะเล่นคอร์ดออกมาให้เท่ากับคอร์ด C อย่างนี้ให้จำวิธีนับเทียบ
คอร์ด |
เลื่อน |
ช่อง |
E |
0 |
E |
E |
1 |
F |
E |
2 |
F# (Gb) |
E |
3 |
G |
E |
4 |
G# (Ab) |
E |
5 |
A |
E |
6 |
A# (Bb) |
E |
7 |
B |
E |
8 |
C |
E |
9 |
C# (Db) |
E |
10 |
D |
E |
11 |
D# (Eb) |
E |
12 |
E |
จากการนับเทียบแบบง่าย ๆ ข้างบนนี้ คุณก็รู้ทันทีว่าคุณจะต้องคาดคาโป้ตรงเฟร็ตที่ 8 บนคอกีตาร์ จึงจะได้เสียงเท่ากับ C
คาโป้ยังเป็นประโยชน์เมื่อคุณใช้เล่นประกอบกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นในคีย์ที่ยุ่งยากสำหรับกีตาร์ เช่น คีย์ที่นิยมใช้เล่นกับเปียโนคือ "Eb" ซึ่งเป็นคีย์ที่ยากเย็นสำหรับนักกีตาร์มือใหม่ การใช้คาโป้เป็นวิธีง่ายที่สุด เพื่อเลือกเล่นคอร์ดสบาย ๆ ในคีย์ที่ยุ่งยากเช่นนั้น แถมยังขจัดปัญหาการเล่นดนตรีประกอบให้นักร้องคีย์อย่างเช่น Bb หลังจากที่คุณฝึกเพลงนั้นได้แล้วในคีย์ G
แต่อีกทางหนึ่ง นักกีตาร์หลายคนเปรียบคาโป้เหมือนกับไม้ยันรักแร้ของคนขาหัก สำหรับผู้ที่รู้จักคอร์ดเพียง 3 คอร์ด และอยากจะเล่นให้ได้ในทุกคีย์ ในสภาพแบบนี้จึงถูกขนานนามว่าเป็นเครื่องมือ "หลอกลวง" ซึ่งก็จริงสำหรับการใช้คาโป้ในวิธีการแบบนั้น ซึ่งกลายเป็นคำแก้ตัวต่อการไม่ยอมเรียนรู้ตำแหน่งทั้งหมดบนฟิงเกอร์บอร์ด ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม คาโป้เป็นเพียงเครื่องมือ และเช่นเดียวกับเครื่องชนิดอื่น และอาจนำไปใช้ในแบบผิด ๆ ได้เมื่อนำมาใช้อย่างถูกวิธีก็จะช่วยให้งานสำเร็จได้ด้วยดี
การเลือกซื้อคาโป้ให้ถูกแบบ
การหาซื้อคาโป้ดี ๆ ไม่ใช่เรื่องยาก ถึงแม้จะมีกลเม็ดในเรื่องนี้อยู่บ้าง คือ ถ้ากีตาร์ของคุณมีคอเป็นแบบนูนโค้ง คุณต้องไม่ลืมว่าคาโป้ที่ซื้อนั้นต้องเป็นแบบโค้งตามด้วย ไม่เช่นนั้นคุณจะต้องทนรำคาญกับเสียงแตกที่เกิดจากสายด้านนอก
ข้อแตกต่างส่วนใหญ่ระหว่างคาโป้ทั้งหลาย คือ วัสดุที่สร้างขึ้น และวิธีการที่ยึดกับคอกีตาร์คาโป้มาตรฐานที่มีขายตามร้านกีตาร์ทั่วไปมีที่รัดคอ (กีตาร์) เป็นยางยืด ซึ่งขึงโอบแท่งโลหะที่หุ้มด้วยยาง แบบที่ว่านี้ราคาถูก แต่ปัญหาจะตามมาภายหลังจากถูกใช้มากจนหย่อน และไม่สามารถให้แรงกดลงบนสายกีตาร์ได้พอเพียง มีอีกแบบหนึ่งที่ทนทานกว่า และได้รับความนิยมมากในกลุ่มนักกีตาร์โฟล์ค คือ แบบที่ชอบด้วยโครเมี่ยม (Bill Russell และ Hamilton เป็นคนคิดขึ้นมา) ทำด้วยโลหะที่กั้นก็หุ้มด้วยพลาสติคอ่อน แรงกดบนสายของคาโป้แบบนี้เกิดจากแรงกดของสปริง ดังนั้นคาโป้แบบนี้จึงไม่สึกหรอได้ง่าย ข้อเสียของคาโป้ชุบโครเมี่ยม คือ มีขนาดใหญ่ จึงไม่สะดวกที่จะนำไปเล่นยังที่ต่าง ๆ นอกจากนี้นักกีตาร์ที่ว่าหวงแหนคุณค่าของกีตาร์ยังอาจรู้สึกหวาดต่อความคิดที่เอาโลหะแข็ง ๆ ไปทาบลงบนคอไม้ของกีตาร์
คาโป้ชนิดที่ 3 ซึ่งขจัดปัญหาทั้ง 2 ประการนั้น คือ คาโป้ของจิมดันล๊อป (Jim Dunlop) แท่งโลหะของคาโป้ถูกหุ้มด้วยพลาสติกแข็ง และที่รัดก็ทำจากวัสดุไนล่อนผสมหนังยืดที่มีความทนทานเป็นเยี่ยม ซึ่งจะทำให้เกิดกำลังรัดและการจับเกาะที่เหนียวแน่นอย่างไม่มีพลาดจริง ๆ
ข้อแนะนำ
1. นักกีตาร์โฟล์คทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักปิ๊คกิ้ง จำต้องมีคาโป้ไว้เป็นเครื่องมือติดตัวอยู่เสมอ เพราะมีประโยชน์มากมายจริง ๆ อย่างน้อยเรา ๆ ท่าน ๆ สามารถร้องเพลงเสียงสูงต่ำได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นไม่ว่าจะพบคนร้องเสียงสูงมาก ๆ หรือต่ำมาก ๆ เราก็สามารถปรับเสียงกีตาร์ของเราได้เสมอ อีกอย่างมีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่สนใจแกะเพลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงปิ๊คกิ้ง
2. ในกรณีที่เห็นเพลงที่บอกให้คาดคาโป้ตรงเฟร็ตที่ 7 ปรากฎว่าเวลาเราร้องแล้วเสียงสูงเกินไป ร้องแล้วเสียงหายไปเลย หรืออาจทำให้หลอดเสียงอักเสบได้ ดังนั้น เมื่อเวลาเราเล่นด้วยร้องด้วย ต้องใช้ไหวพริบว่าอาจต้องคาดคาโป้ช่อง 6 หรือ 5 จะเหมาะมากกว่ากันหรือเปล่า บางทีพบเพลงบอกคาดคาโป้ช่องที่ 2 หรือไม่บอกเลย แต่เมื่อเราร้องคลอแล้วเสียงต่ำไป โดยเฉพาะเสียงผู้หญิงอาจไม่ถนัด จึงต้องใช้สามัญสำนึก โดยคาดคาโป้สูงขึ้นอีกหน่อย
การใช้คาโป้
1. วิธีคาดคาโป้
2. เมื่อเห็นโน๊ตเพลง (ทั้งโน๊ตสากล แทป และไดอะแกรม) ซึ่งบอกให้คาดคาโป้ช่องใดช่องหนึ่ง แล้วก็ให้ถือว่าส่วนคอกีตาร์ที่ปิดไปแล้วสาบสูญหายไป ให้ตั้งต้นเล่นใหม่ให้เหมือนเป็นสายเปิดใหม่ คือมี
สาย |
คอร์ด |
6 |
E |
5 |
A |
4 |
D |
3 |
G |
2 |
B |
1 |
E |
และคีย์ที่เล่นก็ให้ถือเป็นคีย์ใหม่หมด อย่าไปคำนึงถึง Key ที่แท้จริง