Robot Contest
การแข่งขัน Robot contest ซึ่งจัดโดยสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น) หรือสสท. โดยได้จัดการแข่งขันต่อเนื่องกันมาเป็นประจำ ทุกปี 
กติกาการแข่งขันก็จะ ถูกกำหนดโดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันจาก ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะไม่ซ้ำกันในแต่ละปีและความยากง่ายในการสร้างหุ่น ก็จะต่างกันไปตามกติกา
                หุ่นยนต์ที่แข่งขันกันนี้ไม่ได้มีขาเดินได้อย่างที่คิดกันแต่การเคลื่อนที่เป็นแบบใช้ลูกล้อคล้ายรถเข็นหรืออาจใช้วิธีการอื่นใดก็ได้และหุ่นจะต้องมีความสามารถที่
จะบรรลุวัตถุประสงค์ของกติกาในปีนั้นๆ อย่างเช่นการแข่งขันใน
สองปีแรก(ปี 93-94) เป็นการแข่งขันหุ่นยนต์เตะบอลให้เข้าโกล
ปีที่ 3 (ปี 95) แข่ง หุ่นยนต์รักบี้
ปีที่ 4 (ปี 96) แข่งหุ่นยนต์เล่นวอลเล่ย์บอล
ปีที่ 5 (ปี 97) แข่งหุนยนต์เรียงกล่อง มีตัวทำงานแบบอัตโนมัติเพื่อเจาะลูกโป่งสีแดง
ปีที่ 6 (ปี 98) แข่งขันหุ่นยนต์ยิงลูกฟุตปอล
ปีที่ 7 (ปี 99) แข่งขันหุ่นยนต์ยิงลูกเบสบอล
วัตถุประสงค์
                การแข่งขันในทุกๆ ครั้งนั้นได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น (ผ่านทาง สสท.) โดยมีวัตถุ ประสงค์หลักของการแข่งขันคือเพื่อสนับสนุนให้เยาวชนไทย
ได้มีการตื่นตัวและมีความสนใจในด้านการ ประดิษฐ์ คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีมากขึ้น ส่วนวัตถุประสงค์รองคือสนับสนุนให้มีการใช้เวลา
ว่างให้เป็นประโยชน์ให้รู้จักการทำงานเป็น หมู่คณะสนับสนุนให้มีกิจกรรมในสถาบันการศึกษาต่างๆ

การเข้าร่วมการแข่งขัน Robot Contest ของ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

รางวัลที่ได้รับ

ปีที่ 2 ทีม Vanblasten ได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์
ปีที่ 5 ทีม Maximum high ได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์
ปีที่ 6 ทีม Atlantic giant ได้รับรางวัลความคิดสร้าสรรค์

ติดตาม และให้กำลังใจกันต่อไปครับ ดูซิว่าน้อง INTANIA รุ่นไหนจะสามารถพิชิตชัยชนะได้

รายละเอียดเพิ่มเติมหาอ่านได้ที่ สสท.TPA Robot Contest

1