ENTREPRENEURSHIP DEVELOPMENT

 

By Hathaithep Wongsuvan

ผู้ประกอบอาชีพอิสระ คือ ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือ ธุรกิจขนาดย่อม โดยยอมรับความเสี่ยงภัย เพื่อผลกำไร ในการที่จะเป็นผู้ประกอบการที่ดีนั้น จำเป็นต้องพัฒนาทักษะที่สำคัญ 3 ด้าน คือด้านเทคนิค ,ด้านความรู้ทางธุรกิจ และอุปนิสัยของการเป็นผู้ประกอบการ (มีคนกล่าวว่า ทักษะ 2 ข้อแรก ฝึกฝนได้ แต่ทักษะข้อที่3 ขึ้นกับอุปนิสัยส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่) คุณลักษณะ 19 ประการของผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ มีดังนี้

กลุ่มเชื่อมั่นในตนเอง

กลุ่มมองคนเป็นหลัก

กลุ่มมองอนาคตเป็นหลัก

กลุ่มการเสี่ยง

กลุ่มต้นแบบ

กลุ่มมองงานเป็นหลัก

มีการวางแผนงานอย่างมีระบบ

 

ทักษะทางธุรกิจ สิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อยควรรู้ มีดังต่อไปนี้

    1. เข้าใจข้อคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักเศรษฐศาสตร์
    2. รู้บทบาทของธุรกิจขนาดย่อมในระบบเศรษฐกิจของประเทศ
    3. วิเคราะห์องค์ประกอบที่มีส่วนช่วยให้ธุรกิจขนาดย่อยประสบความสำเร็จ
    4. ประเมินศักยภาพของตนสำหรับการเริ่มประกอบกิจการ
    5. รู้ความสำคัญของการวางแผนทางธุรกิจอย่างดี
    6. หาประเภทความช่วยเหลือประเภทต่างๆในด้านเทคนิคที่ธุรกิจใหม่ต้องการ
    7. วิเคราะห์องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเลือกชนิดของธุรกิจ
    8. ให้นิยามองค์ประกอบและวัตถุประสงค์ของแผนการตลาด ,ระบุความต้องการของตลาด
    9. กำหนดและเลือกสถานที่ตั้งธุรกิจที่ถูกต้อง
    10. หาข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการเพื่อหาแหล่งเงินทุนจากแหล่งต่างๆ
    11. ให้นิยามประเด็นกฎหมายที่ผู้ประกอบอาชีพอิสระอาจพบได้
    12. ระบุเทคนิคที่จำเป็นในการจัดการกับลูกจ้าง
    13. วิเคราะห์ยุทธศาสตร์การขายที่เหมาะสมกับชนิดของธุรกิจ

 

10 ขั้นตอนของ การก่อตั้งธุรกิจ

  1. ตั้งเป้าหมาย

เพื่อให้เป้าหมายของท่านชัดเจนขึ้น ควรปฏิบัติดังนี้ เขียนรายการทักษะที่ท่านมีออกมา 10 อย่าง ต่อจากนั้นเขียนคำตอบต่อคำถามที่ว่า "ถ้าท่านมีโอกาสจะเลือกทำงานแบบใด ทำงานอะไร" ขั้นตอนต่อไปเขียนภาพในอนาคตของท่าน ในแบบที่ต้องการ สุดท้ายนำกระดาษอีกแผ่น แบ่งเป็น 3 Column โดย Column 1 เขียนงานที่ทำเสร็จ Column 2 เขียนงานที่ต้องการทำให้เสร็จ Column เขียน ขั้นตอนเพื่อทำColumn 2 ให้ระบุวันกำหนดเสร็จด้วย

ต้องพิจรณาก่วนว่าการก่อตั้งธุรกิจช่วยตอบสนองความต้องการส่วนบุคคลหรือไม่ ถ้าไม่ก็จงหยุด แต่ถ้าใช่ก็ให้ทำคล้ายกับเป้าหมายส่วนบุคคล คือทำทักษะของบริษัททั้งปัจจุบันและอนาคต อนาคตของบริษัทที่ท่านอยากให้เป็น จงทำ 3 columnแบบเดิมอีกครั้ง แล้วจงรวบรวมเป้าหมายเหล่านี้ไว้ เพื่อนำไปสร้างแผนทางธุรกิจต่อไป

  1. หาช่องว่างในตลาดให้พบ

การวิเคราะห์หาช่องว่างทางการตลาด มี 7 ขั้นตอนด้วยกัน

    1. กำหนดวัตถุประสงค์สำหรับบริษัทของท่าน
    2. แบ่งตลาดออกเป็นส่วน
    3. พิจารณาแล้วตัดส่วนแบ่งตลาดที่ไม่เหมาะสมออกไป
    4. สร้างแผนภาพแสดงปัญหาที่มีอยู่ในแต่ละส่วนแบ่งตลาด
    5. พิจารณาตัดปัญหาที่ไม่เหมาะสมออกไป
    6. นำปัญหาที่คัดเอาไว้มาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ท่านตั้งเอาไว้
    7. ทำให้เรียบร้อย เลือกทางแก้ที่ดีที่สุดออกมา

จับตลาดมาวิเคราะห์ ดำเนินการทดสอบตลาดเสียก่อนจะช่วยลดความเสี่ยง ต่อไปนี้เป็นวิธีการทดสอบ ตลาดที่ยอดเยี่ยม 2 วิธี

  1. วางแผนการตลาด
  2. เริ่มต้นด้วยทำความเข้าใจกับลูกค้าก่อน โดยใช้คำถามเหล่านี้ เช่นในตลาดที่ท่านเลือก มีลูกค้ากี่ประเภท มีปริมาณมากน้อยเพียงใด ราคาสูงสุดที่ท่านสามารถตั้งได้สำหรับแต่ละส่วนของตลาด คู่แข่งคนสำคัญคือใคร ช่องทางจำหน่ายทางใดที่ดีที่สุด อะไรเป็นสื่อที่เหมาะที่สุด ท่านจะหลบเลี่ยงคู่แข่งอย่างไร ทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆเหล่านี้มากลั่นกรองลงเป็นบทวิเคราะห์หนึ่งหน้ากระดาษ

    แผนการตลาด ประกอบด้วย 4 หัวข้อดังนี้ บทนำ ,วัตถุประสงค์ ,กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ

  3. แผนเบื้องต้นสำหรับธุรกิจ และความต้องการทางการเงิน

รูปแบบของแผน ควรจะครอบคลุมหัวข้อต่อไปนี้

  1. ความต้องการทางการเงินของท่าน
  2. ต้องมีความรู้เบื้องต้นทางการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง ในเรื่อง งบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด

  3. ฟอร์มทีมของท่าน
  4. เรื่องนี้เป็นที่ทราบในหมู่นักลงทุน คือทีมผู้บริหารของท่านมีความสำคัญกว่าธุรกิจที่ท่านเลือกถึง เท่า และสำคัญกว่าตัวสินค้าของท่าน 3 เท่าที่เดียว ท่านจะต้องจ้างเฉพาะสุดยอดฝีมือเท่านั้น

    การหาคนมาทำงานไม่ยากอย่างที่คิด มีคนมากมายมองหาความก้าวหน้าทั้งนั้น และท่านอาจเพิ่มสีสัน ด้วยการใช้ตำแหน่ง "รองประธานกรรมการด้านการตลาด" แทน "ผู้จัดการตลาด"

  5. แหล่งเงินทุนสำหรับท่าน และ แผนธุรกิจเต็มรูปแบบ

เนื่องจากการขอเพิ่มเงินยากกว่าการขอครั้งแรก ดังนั้นควรเสนอขอเงินให้มากเป็นสองเท่าที่คำนวณได้ มีแหล่งเงินทุนหลายแบบดังนี้ เงินทุนจากแหล่งเงินกู้ ,เงินทุนที่ได้จากการออกหุ้น

แผนที่ดีจะมีส่วนประกอบ ดังต่อไปนี้

8., 9. การขายแผนให้กับผู้ที่จะเข้ามาลงทุน

นักลงทุนต้องการทราบว่าอะไรคือสิ่งดลใจท่าน ท่านมีความซื่อสัตย์เพียงใด และท่าจะอุทิศตนให้กับแผนของท่านขนาดไหน ตัวท่านเองต้องเสนอสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 3 ข้อ ให้ได้ คือ ข้อเสนอของท่าน บริษัทของท่าน และ ตัวท่านเอง

  1. บริหารธุรกิจ

เมื่อท่านได้เงินมาแล้ว อย่าตื่นเต้น หนทางยังอีกยาวไกล ท่านตองหมั่นทบทวนกลยุทธ์ทางการตลาด และเทคนิคการจัดการอย่างสม่ำเสมอตลอดไปเลยที่เดียว

 


GO TO Finance and Market News / HOME |

1