ฐานสัปดาห์วิจารณ์ ปีที่ 4 (5) ฉบับที่ 222 (287) วันที่ 25 - 31 กรกฎาคม 2541
วัฏจักรเศรษฐกิจไทย ยุคโลกาภิวัตน์ (35) 18 หลักการการประนอมหนี้
การปรับโครงสร้างหนี้หรือการประนอมหนี้เคยเขียนคร่าวๆ ไปแล้ว คราวนี้จะลงไปในรายละเอียด เพื่อเป็นแนวปฏิบัติหรือเพื่อการศึกษา
ทั้งนี้ภายหลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีประกาศเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งเรียกว่า คณะอนุกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ในชั้นต้นคณะอนุกรรมการชุดนี้มีบทบาทอย่างไรไม่เป็นที่ชัดเจน เพราะความจริงแล้วการประนอมหนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องมีตัวกลาง อาจเป็นการเจรจากัน ระหว่างเจ้าหนี้ (สถาบันการเงิน) กับลูกหนี้ก็ได้
อย่างไรก็ดีเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2541 คณะอนุกรรมการได้ออกหลักการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือการ ประนอมหนี้มา 18 หลักการ แต่ต้องเข้าใจด้วยว่าหลักการที่จะกล่าวถึงเป็นเพียงกรอบกติกาซึ่งไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่จะอำนวยให้เจ้าหนี้และลูกหนี้สามารถเจรจาตกลงกันได้รวดเร็วราบรื่นกว่า
- หลักการที่ 1 การดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กิจการทุกขั้นตอน ควรมุ่งให้มีการปรับปรุงโครงสร้างกิจการ ของลูกหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้ประสบผลสำเร็จ ทางธุรกิจและทำกำไรได้ในระยะยาวมาก กว่าหวังผลทางการเงินในระยะสั้น
- หลักการที่ 2 ให้ความสำคัญอันดับแรกแก่การปรับสภาพหนี้เพื่อให้มีสถานะเป็นหนี้ที่มีการชำระหนี้ถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบปฏิบัติของธนาคาร แห่งประเทศไทย
- หลักการที่ 3 การดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยภาคเอกชน ทุก ขั้นตอนควรจะต้องกำหนดระยะเวลาและ จะต้องร่วมมือกันดำเนินการให้ได้ภายใต้กรอบระยะเวลาดังกล่าว
- หลักการที่ 4 เมื่อฝ่ายบริหารของลูกหนี้ให้ข้อมูลที่ครบถ้วน และถูกต้องตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ รวมทั้งให้ความร่วมมือเข้าร่วมประชุมกับเจ้าหนี้ทุกครั้งด้วยดี เจ้าหนี้ควรจะตกลงร่วม กันที่จะกำหนดช่วงเวลาของการ "หยุดกระทำการ" ใดๆ ต่อลูกหนี้ เพื่อให้ทุกฝ่ายมีเวลาได้พิจารณาเรื่องต่างๆ และตัดสินใจอย่างรอบคอบ และเป็นประโยชน์ ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่น 60 วัน นับจากวันเรียกประชุมเจ้าหนี้
- หลักการที่ 5 เจ้าหนี้และลูกหนี้ ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าการปรับปรุงโครง สร้างหนี้ต้องให้เจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารของตนมีส่วนร่วมอย่างสำคัญตลอดระยะเวลาที่ทุกฝ่ายดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- หลักการที่ 6 เมื่อเริ่มปรับปรุง โครงสร้างหนี้ ในการประชุมเจ้าหนี้ควรจะมีการคัดเลือกสถาบันการเงินหนึ่งให้เป็นแกนนำในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ทำหน้าที่ในการจัดการและประสานงานระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปรับปรุง โครงสร้างหนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และตามกำหนดเวลาที่ได้กำหนดไว้
- หลักการที่ 7 ในกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้หลายราย ควรจะมีการตั้งคณะกรรมการเจ้าหนี้เพื่อทำหน้าที่ในการติดตามความคืบหน้าของการเจรจาหนี้และประสานงาน กับเจ้าหนี้ โดยมีสถาบันการเงินแกนนำเป็นประธานของคณะกรรมการเจ้าหนี้
- หลักการที่ 8 เจ้าหนี้ควรทำการตัดสินใจว่าจะให้ลูกหนี้ปรับโครงสร้าง หนี้หรือไม่ โดยอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับลูกหนี้ที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ และเป็นข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบโดยอิสระ ทั้งนี้เพื่อให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดำเนินไปอย่างโปร่งใส
- หลักการที่ 9 ในกรณีที่มีความ จำเป็นต้องแต่งตั้งผู้สอบบัญชี ทนายความ และที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งดังกล่าวควรมีความรู้ที่จำเป็นเกี่ยว กับประเทศไทย มีความชำนาญพิเศษ และมีทรัพยากรต่างๆ เพียงพอที่จะทุ่มเท ให้กับงานได้
- หลักการที่ 10 ในกรณีที่มีความ จำเป็น เจ้าหนี้ และลูกหนี้ต้องตกลงร่วม กันที่จะแต่งตั้งที่ปรึกษาด้านวิชาชีพ โดยกำหนดขอบเขตของการทำงานให้ชัดเจน และกำหนดค่าใช้จ่ายไว้แต่ต้น ซึ่งตามธรรมเนียมปฏิบัติลูกหนี้ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย แต่ถือได้ว่าเป็นความรับผิด ชอบด้านวิชาชีพที่บรรดาเจ้าหนี้ควรจะถือว่าตนมีความรับผิดชอบด้านวิชาชีพในอันที่จะควบคุมค่าใช้จ่ายดังกล่าว
- หลักการที่ 11 กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ควรได้ รับการรายงานความคืบหน้าหรือปัญหาของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (ในทุกกรณี) เพื่อประโยชน์ในการทบทวน ปรับปรุงกฎระเบียบหรือกฎหมาย เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- หลักการที่ 12 เจ้าหนี้ที่มีบุริม-สิทธิเหนือหลักประกันย่อมคงสิทธิในหลักประกันอยู่ต่อไป
- หลักการที่ 13 (กล่าวถึงบทบาทของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้)
- หลักการที่ 14 เจ้าหนี้ที่ให้
สินเชื่อเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยยอมรับความเสี่ยงซึ่งมีอยู่ ณ วันที่หยุดกระทำการ โดยมีเงื่อนไข และข้อตกลงที่เป็นธรรมเพื่อช่วยให้ลูกหนี้ดำเนินกิจการต่อไป
ได้ ควรได้รับสิทธิชำระหนี้ในลำดับก่อน เจ้าหนี้อื่น (อยู่ระหว่างเสนอแก้ไขกฎหมาย) ในกรณีการรับหลักประกันสำหรับเจ้าหนี้ที่ให้สินเชื่อเพิ่มอาจทำเป็น หลักประกันชนิดที่ให้กรรมสิทธิ์แก่เจ้าหนี้ หรือเจ้าหนี้ร่วมกันตกลงให้สินเชื่อเพิ่มนั้นมีสิทธิในลำดับก่อน โดยการตกลงเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้หรือข้อตกลง ชดใช้
- หลักการที่ 15 ในบางสถานการณ์เจ้าหนี้บางรายอาจขายหนี้ของตัวเองให้บุคคลอื่นได้ แต่ทั้งนี้เจ้าหนี้ดังกล่าวควรถือเป็นความรับผิดชอบด้านวิชาชีพที่จะดูแลมิให้เจ้าหนี้รายใหม่ที่ซื้อหนี้ไปกระทำการใดๆ ที่มีผลกระทบต่อการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- หลักการที่ 16 ความเสียหาย
ที่เกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ควร จะเฉลี่ยรับผิดชอบร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยว ข้องตามลำดับของสิทธิและความรับผิดชอบที่ตนมีอยู่
- หลักการที่ 17 เจ้าหนี้แต่ละรายยังคงสามารถบังคับใช้สิทธิของตนได้โดยอิสระบนพื้นฐานของผลประโยชน์ ได้เสียของตน แต่เจ้าหนี้ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบของการบังคับใช้สิทธิที่จะมีต่อเศรษฐกิจของประเทศ ไทยต่อเจ้าหนี้รายอื่นและลูกหนี้ที่มีศักยภาพในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- หลักการที่ 18 ในกรณีที่เจ้าหนี้ทั้งหมดที่เข้าร่วมในการปรับปรุงโครง สร้างหนี้รายหนึ่งรายใดตกลงร่วมกันที่จะให้มีการปรับใช้หลักการข้อหนึ่งข้อใดข้างต้น เพื่อให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นไปด้วยความรวดเร็วก็ให้ดำเนินการไปตามความเห็นของที่ประชุมเจ้าหนี้ได้
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าว ตีกรอบระยะเวลาไว้ประมาณ 3 เดือน สำหรับกรณีที่มีความซับซ้อนมากอาจขยายเวลาได้แต่ไม่ควรเกิน 4 เดือน
ทั้งนี้ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เจ้าหนี้จะมีส่วนสูญเสียเกิดขึ้นบางจำนวน จากการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ในทำนองเดียวกันลูกหนี้ก็จะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วย โดยในบางกรณีจะต้องลดทุนก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อตัดผลขาดทุนสะสมออก และ/หรือยินยอมให้มีการลงทุนจากบุคคลภายนอก และ/หรือร่วมบริหาร
สำหรับอุตสาหกรรมบางอุตสาห-กรรมที่เทคโนโลยีไม่มีประสิทธิภาพก็ต้อง จัดหาผู้เชี่ยวชาญหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อความอยู่รอดของ ทั้งฝ่ายเจ้าหนี้และลูกหนี้
กรณีภาษีอาจจะเป็นอุปสรรค
ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้นั้น กรม
สรรพากรได้ดำเนินการไปแล้ว โดยได้ยก ร่างพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษี มูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ผู้มีเงินได้ ผู้ประกอบการ หรือผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์จากการปลดหนี้ หรือการโอนทรัพย์สินแล้วแต่กรณี ซึ่งได้ดำเนินการไปตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยกำหนด
โดยยกประโยชน์ทางภาษีย้อนหลังให้สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตั้งแต่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2541 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2542 คือทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้จะได้รับยกเว้นภาษีทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ยังได้ยกร่างกฎกระทรวง ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูก
หนี้ เพื่อให้การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ซึ่งเกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยมีการตัดส่วนสูญเสียออกจากบัญชีลูกหนี้ทันที สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้ เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุง โครงสร้างหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ที่ได้กระทำระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2541-31 ธันวาคม 2542 เช่นกัน
มาตรการสนับสนุนทางภาษีดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2541 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ส่วนค่าธรรมเนียมการโอนทรัพย์สินต่างๆ ที่อาจเป็นภาระในการปรับโครงสร้างหนี้ เช่น ค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน ค่าธรรมเนียมการโอน
เครื่องจักร ค่าธรรมเนียมการโอนรถยนต์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกรมที่ดิน กรมการขน ส่งทางบก หรือเกี่ยวข้องกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม คณะอนุกรรมการจะเร่งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเหล่า นี้เพื่อหาทางลดภาระเหล่านี้ให้ต่อไป ส่วนหลักปฏิบัติของสถาบันการ เงินที่อยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่ง ประเทศมีอย่างไร ตรงนี้ธนาคารแห่ง ประเทศไทยได้ออกหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติไปแล้วเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2541 และเคยเขียนมาบอกกล่าวเล่าสู่กันฟังไปแล้วก่อนหน้า
อย่างไรก็ดีมีตัวเลขน่าสนใจ คือ
ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2541 คณะ
อนุกรรมการมีข้อมูลที่ได้รับแจ้งจาก
สถาบันการเงิน 47 แห่ง สรุปได้ว่าสถาบันการเงิน และภาคเอกชนที่เป็นลูกหนี้ ได้ทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กันรวม 530 ราย จำนวนเงินทั้งสิ้น 74,025.4 ล้านบาท
ในจำนวนนี้ได้ดำเนินการเสร็จแล้ว 25 ราย คิดเป็นเงิน 2,838.2 ล้านบาท แบ่งเป็นภาคอุตสาหกรรม 2,361 ล้านบาท ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 31.1 ล้าน บาท การส่งออก 60.4 ล้านบาท และอื่นๆ 385.5 ล้านบาท สำหรับอีก 505 ราย
คิดเป็นเงิน 71,187.2 ล้านบาท อยู่ระหว่างการเจรจา
อนึ่ง คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีผู้ว่าการธนา คารแห่งประเทศไทยเป็นประธาน และคณะกรรมการมีหน้าที่กำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมให้มีการเจรจาปรับปรุงโครง สร้างหนี้และการประนอมหนี้ระหว่างภาค เอกชน และสถาบันการเงินให้เกิดผล
โดยเร็ว
ส่วนคณะอนุกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (ศิวะพร ทรรทรานนท์ ปธ.) มีหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อประสานงานระหว่างเจ้าหนี้ และลูกหนี้ ให้มีการปรับและประนอมหนี้ให้เกิดผลสำเร็จ
เขียน โดย ศิวะพร ทรรทรานนท์
Copyright 1997-1998 Thansettakij Newspaper
for more information, contact
webmaster@than01.thannews.th.com