Update: มีนาคม-เมษายน 2541

มองโลกหุ่นยนต์

กองบรรณาธิการ


มนุษย์ มักจะสร้างสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใช้งาน ตั้งแต่ช่วยทุ่นแรง และให้ทำงานที่อันตราย ซ้ำซาก น่าเบื่อหน่ายแทน วิทยาการด้านหุ่นยนต์ก็อยู่ไม่พ้นขอบข่ายนี้ แม้ว่าภาพของหุ่นยนต์ในความเป็น จริง จะยังไม่ใกล้เคียงกับในนิยาย แต่ก็น่าจะนับว่า ชีวิตจริงกำลังเข้าใกล้นิยายไปทุกขณะแล้ว

โลกปัจจุบัน ก็เต็มไปด้วยสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ มันทวีจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่เราไม่ทันสังเกต หุ่นยนต์ เข้ามาทำงานที่น่าเบื่อหน่ายแทนมนุษย์ แขนกลของหุ่นยนต์ที่กำลังทำงาน ส่งเสียงดังหึ่ง ๆ อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม ระบบฝากถอนอัตโนมัติที่ธนาคาร สามารถเอ่ยถ้อยคำขอบคุณแก่ลูก ค้าได้อย่างสุภาพ รถไฟใต้ดินที่ควบคุมโดยพนักงานหุ่นยนต์ ผู้ไม่เคยบ่นเหนื่อย ที่อุโมงค์ใต้ดินใน เหมืองแร่ รถขุดอัตโนมัติก็กำลังทำงานอยู่ อุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ บนเกาะทรีไมล์เมื่อปี พ.ศ. 2522 ก็ใช้หุ่นยนต์ที่ออกแบบให้ทนทานต่อรังสี เข้าไปเก็บกวาดทำความสะอาด

การใช้งานหุ่นยนต์ ยิ่งก้าวล้ำไปมากกว่านี้อีก เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว คนทั่วโลกต่างก็ชื่นชมกับ ความสำเร็จของ โครงการมาร์ส แพทไฟน์เดอร์ ที่สามารถส่งยานขับเคลื่อนอัตโนมัติ โซเจอร์เนอร์ ให้เเดินไปบนพื้นผิวดาวอังคาร ขณะนี้เครื่องตัดหญ้าอัตโนมัติพลังแสงอาทิตย์ก็มีจำหน่ายแล้ว มูล ค่าทางการตลาด ของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ มีมากกว่าการผลิตหุ่นยนต์ขาย เพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรม นำไปใช้เสียอีก

ในทางการแพทย์ ขณะนี้เรามีหุ่นยนต์ช่วยงานศัลยกรรม ที่มีความละเอียดแม่นยำในการผ่าตัด สมอง และกระดูกในระดับสูง ซึ่งความแม่นยำนี้ มีมากกว่าศัลยแพทย์มือฉมัง เมื่อผนวกกับ เทคโนโลยีควบคุมระยะไกลเข้าไปด้วย ก็เท่ากับว่า ชีวิตผู้คนที่อยู่ในชนบท ห่างไกลความเจริญก็จะได้ รับความสะดวก ในการรับบริการทางการแพทย์มากขึ้น

หากหุ่นยนต์ สามารถก้าวล้ำไปถึงขั้นที่ ทำงานแทนมนุษย์ได้ ควบคุมตัวเอง และตัดสินใจได้ ระดับหนึ่ง นั่นจะเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก แม้ขณะนี้ เรายังไม่สามารถสร้างหุ่นยนต์ที่มี "คอมมอน เซนส์" แต่ก็นับว่า เราก้าวไปไกลพอสมควร

สิ่งประดิษฐ์อย่างทรานซิสเตอร์ในยุค 60 และไมโครโปรเซสเซอร์ในยุค 70 ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงต่อเราอย่างมหาศาล และนักวิจัยตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะมีสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถคิดเลียน แบบสมองมนุษย์ได้ ภายในปี ค.ศ. 2000 นี้

ในโลกตะวันตก งานวิจัยปัญญาประดิษฐ์ แห่งโครงการฮิวแมนอยด์ (Humanoid Project) ซึ่งเป็นความพยายามที่จะสร้างทักษะ และความรู้สึกนึกคิดให้แก่หุ่นยนต์ หุ่นยนต์ ค็อก (Cog) คือ ผลิตผลของโครงการนี้ (อ่านรายละเอียดใน หุ่นยนต์สมองทารก Update ฉบับที่ 108 พฤษภาคม 2538 หรือแวะไปที่ไซต์ http://web.mit.edu ค็อกรุ่นแรกมี การเคลื่อนไหวของต้นคอ และแขนขาคล้ายมนุษย์ เพียงแต่จะช้ากว่า ตาสองข้างคือกล้องขนาดเล็ก เพื่อมองมุมกว้าง และเก็บรายละเอียด มีหูสามข้าง เพื่อจำแนกเสียงได้รอบทิศทาง เมื่อสิ้นสุดโครงการ ในปี พ.ศ. 2542 ค็อกจะมีการเคลื่อนไหวที่สมบูรณ์มากขึ้น การมองเห็น และรับภาพจะชัดเจนขึ้น และจะเข้าใจภาษามนุษย์ได้มากขึ้นอีกด้วย

COG ROBOTค็อก หุ่นยนต์ฉลาดของโครงการฮิวแมนอยด์

ส่วนงานวิจัยหุ่นยนต์ในโลกตะวันออก อย่างญี่ปุ่น ให้ความสนใจในการนำหุ่นยนต์มาใช้ในบ้าน เช่น ดูแลผู้สูงอายุ มีงานวิจัยสร้างหุ่นยนต์แสดงสีหน้า เพราะการแสดงออกทางใบหน้า ถือเป็น การสื่อสารที่ดีอีกวิธีหนึ่ง หุ่นยนต์จะสังเกตความเปลี่ยนแปลง บนใบหน้าของคนที่มันมองอยู่ ดูตา จมูก คิ้ว ปาก ที่เปลี่ยนแปลงไป นำไปเทียบกับข้อมูลสีหน้าที่เป็นมาตรฐาน ประมวลผลออกมา เป็นสภาพอารมณ์ของฝ่ายตรงข้าม และแสดงสีหน้าที่เหมาะสมตอบโดยอัตโนมัติ

??????????????????หุ่นยนต์แสดงสีหน้า มีปฏิกิริยาตอบโต้กับคนได้

งานสร้างหุ่นยนต์ด้านอื่น ๆ ก็ยังมีอีก เป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่ถูกส่งออกจากฐาน เหมือน ผึ้งบินออกจากรวง หรือมดเดินออกจากรัง แต่ละตัวสามารถรับข้อมูล ประมวลผล ตัดสินใจได้ เพียงลำพัง หุ่นยนต์เหล่านี้ จะมีประโยชน์ในการตรวจอากาศ ตรวจสอบท่อ หรือทำงานใน บริเวณอันตรายที่มนุษย์ไม่สมควรเข้าไป หรือเข้าไปไม่ถึง

แม้ปัจจุบัน นักทฤษฎีบางท่านจะประกาศเปรี้ยงออกมาว่า หุ่นยนต์ในนวนิยายมิอาจมีได้ใน โลกของความเป็นจริง แต่จากการหมกมุ่นครุ่นคิดอย่างพากเพียร ของนักหุ่นยนต์วิทยาทั้งหลาย ก็ มีส่วนช่วยให้ ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ มีคุณภาพมากขึ้นด้วยอุปกรณ์ และเครื่องมือ เครื่องใช้แสน ฉลาด ที่นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เหล่านี้

และนี่คือโลกของหุ่นยนต์บางส่วน ที่นำออกมาเผยโฉมต่อสาธารณะแล้ว ในรอบปีที่ผ่านมา

หุ่นยนต์รินเหล้า

????????????????

เมื่อเข้าไปในร้านเหล้า คุณอาจจะต้องนั่งรอถึงครึ่งชั่วโมง กว่าบริกรจะยกเหล้ามาเสิร์ฟให้ แล้ว ระหว่างคุณ ชายหนุ่มผู้มีหน้าตาแสนจะธรรมดา กับสาวสวยเซ็กซี่ที่เข้ามานั่งดื่มอยู่ที่โต๊ะข้าง ๆ บริกรจะเลือกบริการใครก่อนกัน!

แต่เรื่องแบบนี้ไม่เกิดขึ้นแน่ ๆ กับหุ่นยนต์รินเหล้าของนักวิจัยชาวดัตช์ หุ่นยนต์จะให้บริการ แก่ทุกคน โดยไม่เลือกเพศ ไม่ดูมาดแมน หรือลีลาเซ็กซี่ งานนี้ใครเสียบการ์ดเข้าตัวหุ่นยนต์ก่อนก็ ได้ก่อน

เมื่อเสียบการ์ดปุ๊บ หุ่นยนต์เริ่มทำงานปั๊บ แขนหุ่นจะค่อย ๆ บรรจงหยิบแก้วขึ้นล้าง จนสะอาด แล้วรินของเหลวสีอำพันลงแก้วอย่างประณีต พร้อมเสิร์ฟได้ทันที ผลงานชิ้นนี้ เข้าตานักธุรกิจแดน ซามูไร จึงสั่งซื้อกลับบ้านไปหลายโหล นัยว่าจะนำไปประยุกต์ใช้ในบ้าน

หุ่นยนต์ทำความสะอาดปล่องไฟ

??????????????????????????

หุ่นยนต์ตัวนี้มี บริษัทอุตสาหกรรมหนัก อิชิคาวาจิมา-ฮาริมา เป็นเจ้าของ บริษัทนี้มีธุรกิจต่อเรือ ขนาดใหญ่ ผลิตเครื่องจักรกล และเครื่องมืออื่น ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหนักหลายอย่าง ตัว ปล่องควัน ของเตาเผาในโรงงานหลายแห่งของบริษัท มักจะมีคราบเขม่า และสนิมจับ ทำให้ต้องปิด ทำความสะอาดกันทุก ๆ 2-3 ปี

สนิม และเขม่าไม่เพียงแต่จะกัดกร่อนเนื้อโลหะ แต่ยังเป็นตัวการสร้างมลภาวะแก่อากาศอีกด้วย เวลาทำความสะอาด ก็ใช้คนปีนขึ้นไป หรือไม่ก็หย่อนกระเช้าใส่คนลงมาจัดการ ซึ่งการทำความ สะอาดแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 7-10 วันเลยทีเดียว แต่หุ่นยนต์ทำงานนี้ได้ภายในเวลาเพียง 5 วัน เท่านั้น!

ด้วยน้ำหนักตัว 48 กิโลกรัม สูง 1.3 เมตร มีแขนเหล็ก 2 แขน ปลายแขนแต่ละข้าง มีแปรงขัด ติดอยู่ ตัวหุ่นจะผูกอยู่กับเชือก แล้วใช้กว้านหมุนหย่อนตัวหุ่นลงมาจากด้านบน เมื่อแตะปากปล่อง หุ่นยนต์ จะยืดแขนของมัน ให้มีขนาดพอดีกับเส้นผ่านศูนย์กลางด้านในปล่อง และเริ่มหมุนแปรงที่ ปลายแขน เพื่อขัดพื้นผิวในทันที ส่วนระยะห่างระหว่างปลายแขนทั้งสองข้างนั้น ก็ปรับได้ตั้งแต่ 1,000-1,700 มิลลิเมตร มีกล้องวิดีโอติดอยู่ที่แขนแต่ละข้าง เพื่อให้ผู้ควบคุมติดตามความคืบหน้า ของงาน หรืออาจจะสั่งงานโดยใช้รีโมตคอนโทรลก็ได้

อิชิคาวาจิมาฯ ลงทุนหุ่นยนต์ไปในราคาตัวละ 131,800 เหรียญฯ แต่หุ่นยนต์ก็ช่วยประหยัดค่า ใช้จ่าย ในการทำความสะอาดปล่องไปได้ มากกว่าวิธีเดิมถึงร้อยละ 40

หุ่นยนต์นางพยาบาล

?????????????????

ที่มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์ เมืองแนชวิล ศาสตราจารย์คาสุฮิโกะ คาวามูระ ซึ่งเป็น ศาสตราจารย์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และทีมงาน ได้ทำงานวิจัยเพื่อสร้างหุ่นยนต์มาใช้ในบ้านมา เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปีแล้ว ปัจจุบันก็มีผลงานเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่ง

นางเอกของศาสตราจารย์คาวามูระ เป็นจักรกลที่มี 2 แขน รูปร่างละม้ายคล้ายคน มีนามว่า Dual- Armed Humanoid ส่วนหัวของหุ่น ประกอบด้วยกล้องถ่ายวิดีโอที่หมุนได้รอบทิศ สามารถจดจำ ท่าทางของคน และทำตามได้

ส่วนที่สำคัญคือ ความสามารถในการจับถือสิ่งของ ของหุ่นนางพยาบาล 2 แขนตัวนี้ เธอสามารถใช้ช้อน ตักซุปร้อน ๆ จากถ้วยซุป ป้อนให้แก่คนป่วยได้อย่างง่ายดาย แต่กว่าจะมาเป็น มือกลที่หยิบจับอุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร ได้อย่างเชี่ยวชาญเช่นนี้ ทีมงานของท่านศาสตราจารย์ก็ต้องไป นั่งศึกษา วิเคราะห์การจับถือสิ่งของ ทั้งของคน และของลิง แล้วนำมาพัฒนาเป็นโปรแกรมคำสั่งใส่ ให้แก่หุ่นยนต์พยาบาลตัวนี้

คุณสมบัติเช่นนี้ เหมาะที่จะนำมาใช้ดูแลคนป่วย คนพิการ หรือผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ทีมงานยังได้สร้างหุ่นยนต์ผู้ช่วยพยาบาล ขึ้นมาช่วยหุ่นยนต์นางพยาบาลอีกตัวหนึ่ง เช่น หุ่นยนต์ ผู้ช่วยจะเข้าไปในครัว หยิบนมกล่องออกมาจากตู้เย็น แล้วส่งต่อให้หุ่นยนต์นางพยาบาล หุ่นยนต์ นางพยาบาล จะจัดการเปิดกล่องนม รินใส่แก้ว แล้วนำไปป้อนให้คนที่มันดูแล สาเหตุที่ต้องสร้าง หุ่น 2 ตัว แทนที่จะสร้างตัวเดียวให้ทำงานหลายหน้าที่นั้น ศาสตราจารย์คาวามูระบอกว่า ทำแบบ นั้นทั้งแพง และทั้งยาก หากสร้างเป็นเครือข่ายหุ่นยนต์จะง่ายกว่า แต่ละตัวช่วยกันทำงาน และทำ งานเป็นอิสระจากกัน แถมยังมีข้อดีอีกคือ หากตัวใดตัวหนึ่งเกิดอาการวูบไป อีกตัวยังสามารถทำงาน หรือแจ้งข่าวแก่ผู้อื่นได้

มีการนำผลงาน ของทีมท่านศาสตราจารย์ไปทดลองใช้กับคนจริง ๆ แล้ว ซึ่งก็ใช้ได้ดี แม้ว่า ตอนแรกจะสับสนกันอยู่บ้าง แต่ก็มีเสียงจากบางคนว่า ยังไงหุ่นยนต์ก็ไม่เหมือนคนอยู่ดี เพราะ หุ่นยนต์ไม่รู้จักชวนคุยน่ะสิ

หุ่นยนต์อัศวินของลีโอนาร์โด ดา วินชี

หุ่นยนต์อัศวิน

จากผลงาน ภาพเขียนบนกระจก และจากสมุดบันทึกของ ดา วินชี เผยให้เห็นความคิดล้ำสมัย ของศิลปินแห่งโลกท่านนี้ เป็นผลงานที่ก้าวหน้า เกินกว่าคนในยุคเดียวกันจะเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นเครื่อง ร่อน เฮลิคอปเตอร์ รวมทั้งหุ่นยนต์ด้วย

หุ่นยนต์อัศวินต้นแบบ ตามแปลนของ ดา วินชี ทำจากไม้ แผ่นหนัง บรอนซ์ และทองเหลือง ใช้ระบบเชือกชัก และพูเล่ เป็นหุ่นที่สามารถนั่ง โบกมือทั้งสองข้าง ขยับหัว อ้า และหุบขากรรไกร ได้ ถ้าจัดการให้ทุกอย่างเป็นไปตามแปลนก็จะพบว่า หุ่นยนต์อัศวินของดา วินชี จะแสดงกิริยาท่า ทางไปเป็นลำดับขั้นได้โดยอาศัยพลังน้ำ

และนี่เป็นแนวทางให้ มาร์ก รอสไฮม์ ผู้อำนวยการสถาบันการออกแบบรอสไฮม์ สร้าง หุ่นยนต์ขึ้นมาตัวหนึ่งให้ชื่อว่า Robotic Surrogate ซึ่งอาจจะได้รับการคัดเลือกจากนาซา ให้ขึ้น ไปปฏิบัติภารกิจ สร้างสถานีอวกาศ หรือแคมป์บนดาวเคราะห์ที่ไหนสักแห่ง

จุดเด่นของหุ่นยนต์ตัวนี้คือ การออกแบบสร้างตามหลักวิชา กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ ซึ่งเป็น การยึดตามแนวทางของ ดา วินชี ลักษณะร่างกายจึงมีความยืดหยุ่น คล้ายคนจริง ๆ ส่วนมือก็สร้าง ตามหลักกายวิภาคเช่นกัน ข้อนิ้วโป้ง และข้อแรกของอีกสองนิ้วที่เหลือ ต่อกับข้อถัดไปด้วยลักษณะ การต่อที่เลียนแบบกระดูกนิ้วคนจริง ๆ ฝ่ามือก็สามารถพับ และรวบนิ้วเข้ามาเพื่อจับ และถือวัตถุได้

ในอนาคต Robotic Surrogate อาจขึ้นไปทำงานอยู่ในอวกาศ สำหรับบนโลก มันก็สร้างทำ งานได้หลายอย่าง เช่น จัดการขยะอันตราย ใช้ตรวจหารอยรั่วของถังน้ำมัน ฯลฯ

รถหุ่นยนต์ผู้ร่อนเร่

รถหุ่นยนต์

ขณะที่รถหุ่นยนต์โซเจอร์เนอร์ กำลังสำรวจพื้นผิวดาวอังคารอยู่ รถหุ่นยนต์อีกคันหนึ่ง ก็กำลัง ถูกทดสอบในภาคสนาม ที่ทะเลทรายในประเทศชิลี แต่ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมไปยัง ศูนย์ควบคุมที่ อยู่ห่างออกไปเป็นพันไมล์ ที่สหรัฐอเมริกา

รถหุ่นยนต์ที่หนักกว่า 700 กิโลกรัมคันนี้มีชื่อว่า นอแม็ด ต้องเดินทางรอนแรมอยู่ในทะเลทราย อะตาคามา เป็นเวลาไม่ต่ำกว่าหนึ่งเดือนครึ่ง ได้ระยะทาง 213 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุดเพียง 1.6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งนั่นไม่ใช่ประเด็นสำคัญอยู่แล้ว จุดประสงค์ของการสร้างหุ่นนอแม็ดนั้น เพื่อให้ทดสอบอุปกรณ์สำรวจดาวเคราะห์ เช่น กล้องถ่ายวิดีโอที่ถ่ายภาพได้รอบตัว แล้วส่งภาพ กลับไปยังฐาน เซนเซอร์ และอุปกรณ์ตรวจหาโลหะในก้อนอุกกาบาต รวมทั้งทดสอบระบบนำร่อง แบบใหม่ที่ชื่อ Safeguard Teleoperation

นอแม็ดจะสำรวจพื้นดินที่อยู่ข้างหน้ามัน หากพบอะไรที่แปลก หรือเป็นอันตราย ก็จะวนดูรอบ ๆ หรือหยุด เมื่ออยู่บนโลก นอแม็ดใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ถ้าขึ้นไปทำงานในอวกาศ มัน จะต้องใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์แทน

หุ่นยนต์ค้างคาว

แม้จะไม่มีเขี้ยว และปีก แต่หุ่นยนต์ 2 หูตัวนี้ ก็มีอะไรบางอย่างคล้ายค้างคาว มันสามารถเห็น วัตถุโดยอาศัยหลักการหาตำแหน่ง โดยใช้เสียงสะท้อน (echolocation) เช่นเดียวกับค้างคาว แม้ว่า หุ่นยนต์อื่น ๆ จะใช้ระบบนี้เหมือนกัน แต่หุ่นยนต์ค้างคาวบอกได้มากกว่านั้นอีก เช่น ถ้าพบเหรียญ ตกอยู่ที่พื้น มันบอกได้ด้วยว่า เหรียญนั้นหงายหัว หรือหงายก้อย

โรมัน คุค แห่งมหาวิทยาลัยเยล เป็นผู้พัฒนาหุ่นยนต์ตัวนี้ขึ้น โดยเลียนแบบจากวิธีที่ค้างคาว ใช้หูเสาะหาแมลงที่กำลังบิน ค้างคาวจะขยับหูของมันเพื่อรับเสียงสะท้อนจากส่วนต่าง ๆ ของตัว แมลง หูของหุ่นยนต์ค้างคาว ก็หมุนไปได้รอบทิศ ตัวมันก็ติดตั้งไว้บนแขนกลที่เคลื่อนไหวได้

หุ่นยนต์อื่น อาจจะกวาดจับภาพแล้วเก็บภาพทั้งหมดไว้ในหน่วยความจำ แต่หุ่นยนต์ค้างคาวจะ เลือกเก็บภาพเฉพาะบางส่วน เนื่องจากมันเปลี่ยนมุมมอง จนกว่าจะพบภาพที่คุ้นเคยได้ คุณดุค ผู้ พัฒนาหุ่นยนต์ กล่าวว่า ถ้าเอาหุ่นของเขาไปต่อกับคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ค้างคาวก็จะใช้ประโยชน์ ในการดูแลคนพิการ ผู้ป่วย หรือคนชราได้ แค่คนแสดงอาการทางสีหน้าในแบบต่าง ๆ เช่น อ้าปาก หุบปาก กะพริบตา ให้หุ่นยนต์จดจำไว้เป็นข้อมูลมาตรฐานในหน่วยความจำว่า ภาพนี้สื่อถึงอะไร หุ่นยนต์ค้างคาวก็สนองตอบได้ และให้ความช่วยเหลือตามที่ต้องการ

หุ่นยนต์น่ารัก

หุ่นยนต์น่ารัก

หุ่นยนต์รุ่นเดิม ๆ ที่ผลิตออกมารุ่นแล้วรุ่นเล่า มักจะเป็นกลไกมีสายไฟระโยงระยาง ไม่น่าดู คุณ โทโมมาสะ ซาโต วิศวกรไฟฟ้าแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว เกิดความคิดว่า ถ้าจะให้หุ่นยนต์มาเดิน เพ่นพ่านอยู่ในบ้าน ก็น่าจะสร้างให้เจ้าหุ่นมีหน้าตาน่าเอ็นดู หรือไม่ก็ สวยระดับมองแล้วสบายตา อยู่สักหน่อย แล้วก็ต้องสามารถสื่อสารโต้ตอบกับคนได้ชัดเจน และง่ายดายด้วย

ซาโต และทีมงานของเขา จึงช่วยกันสร้างหุ่นยนต์ตัวเล็กขนาดลูกสุนัขขึ้นมาตัวหนึ่ง ที่สามารถ ใช้ภาษาท่าทางได้ หุ่นยนต์นี้จะเป็นตัวเชื่อมระหว่าง กับอุปกรณ์อัตโนมัติต่าง ๆ ในบ้านอัตโนมัติ ไม่ ว่าจะเป็นระบบกล้องถ่ายภาพ ไมโครโฟน หรือเซนเซอร์ของอุปกรณ์อัตโนมัติอื่น ๆ ที่ติดตั้งไว้

ในบ้านแบบนี้ หากต้องการให้หุ่นยนต์นำหนังสือมาให้ โดยที่เราชี้ไปที่หนังสือ คอมพิว เตอร์อาจจะไม่รู้ทิศทางว่า เราชี้ไปทางไหน เจ้าหุ่นยนต์น่ารักก็จะมายืนอยู่ตรงหน้าด้วยท่าทีสุภาพ เรียบร้อย พร้อมกับแสดงภาษาท่าทางออกมาให้ทราบว่า คอมพิวเตอร์ไม่รู้ตำแหน่งที่เราชี้ ซึ่งวิธีนี้ จะเป็นธรรมชาติ มากกว่าที่เราจะสั่งคำสั่ง โดยเคาะคำสั่งลงในคีย์บอร์ด

โลกของหุ่นยนต์ในวันนี้ กำลังก้าวเข้าใกล้เป้าหมายไปทุกขณะ ในอนาคตที่ไม่ไกลนัก ผลงาน ของนักหุ่นยนต์วิทยาเหล่านี้ คงเสร็จสมบูรณ์ นำมาใช้ได้จริง และโลกของมนุษย์จะต้องมีปัญญา ประดิษฐ์ เข้ามามีบทบาทใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น จนอาจเป็นไปได้ว่า สักวันโลกของหุ่นยนต์คง จะซ้อนทับกับโลกของมนุษย์ จินตนาการในนิยายวิทยาศาสตร์ที่เคยบอกไว้ว่า สักวันหนึ่งหุ่นยนต์ จะครองโลก อาจจะเป็นจริงขึ้นมาก็ได้ใครจะรู้


[จดหมาย/คำถาม]

[กลับต้นเรื่องจากปก]

[กลับ UpDATE]

by UpDATE MagazinePrice: 60 Bth

Published bySE-EDUCATION Plc,(+662)642-9800,


GO TO Science and Technology Papers / HOME |

1