PsTNLP
Pisit' s Thai Natural Language Processing Laboratory
This lab is formed since 26-August-1998
e-mail pisitp@yahoo.com
Back to PsTNLP home page
ปฐมบท
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีเอกลักษณ์น่าภาคภูมิใจ
เป็นสังคมที่เปิดกว้างยอมรับวัฒนธรรมจากภาย
นอกและนำมาปรับใช้ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของตนเองได้อย่างเหมาะสมและกลมกลืน
เป็น
สังคมที่มีความสงบสันติ อบอุ่น และเอื้ออาทรต่อกัน
ปราศจากความขัดแย้งอย่างรุนแรง มีความยึดมั่นใน
หลักธรรมของศาสนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักเหตุผลและทางสายกลาง
มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็น
ศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน
เมื่อประเทศไทยย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 นับตั้งแต่แผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 8 นี้เป็นต้นไป กล่าวได้ว่า
เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ของประเทศไทย
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมากระแสโลกาภิวัตน์อันเกิดจากความก้าวหน้าด้านวิทยาการสื่อ
สารโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นปัจจัยผลักดันที่สำคัญทำให้โลกอยู่ในภาวะไร้พรมแดน
และนำโลกเข้าสู่ยุคแห่งการจัดระเบียบใหม่ทางเศรษฐกิจ สังคม
การเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดทั้ง
โอกาสและภัยคุกคามต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนถาวรของประเทศไทย
ในด้านเศรษฐกิจ
กระแสโลกาภิวัตน์ได้ทำให้ตลาดของโลกกว้างขวางขึ้น
มีการเคลื่อนย้ายปัจจัย
การผลิตและการลงทุนข้ามชาติทั่วโลก มีการจัดตั้งองค์กรการค้าโลก
การรวมกลุ่มการค้าทั้งในอเมริกาเหนือ
ยุโรป อาเซียนแปซิฟิก
เพื่อช่วยสร้างเสถียรภาพและความเป็นธรรมด้านเศรษฐกิจและการค้าให้แก่ทุกประ
เทศ
และช่วยเร่งกระบวนการถ่ายทอดและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว
ยิ่งขึ้นด้วย
ในขณะเดียวกันการที่ระบบเศรษฐกิจของโลกได้มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้นโดยทุก
ๆ ประเทศ
ให้ความสำคัญกับนโยบายการค้าเสรี
ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันทางการค้าอย่างรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ทางด้านสังคม
คนไทยจะมีโอกาสในการเลือกรับข่าวสารที่หลากหลายตามรสนิยมของแต่ละคน
สามารถที่จะเรียนรู้รับข้อมูลข่าวสารรอบโลกภายในบ้านของตนเอง
หรือในที่ทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิว
เตอร์และสื่อสำเร็จรูปต่าง ๆ
ในขณะเดียวกันการเติบโตของภาคธุรกิจและอำนาจของข่าวสารที่เผยแพร่เข้า
ถึงบุคคลโดยตรงทำให้หน่วยต่าง ๆ ในสังคมมีพลังในการต่อรองที่ดีขึ้น
และมีการกระจายอำนาจไปสู่ท้อง
ถิ่น เกิดแรงกดดันให้มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามในทางตรงกันข้ามกระแส
วัฒนธรรมและข้อมูลข่าวสารที่ขาดการกลั่นกรองไหลผ่านสื่อในรูปแบบต่าง
ๆ เช่น ธุรกิจบันเทิง โฆษณา
ฯลฯ ก่อให้เกิดวัตถุนิยมและบริโภคนิยมตลอดจนความฟุ้งเฟ้อต่าง ๆ
ในหมู่คนรุ่นใหม่รวมทั้งการครอบงำ
ทางวัฒนธรรม
นอกจากนี้
กระแสโลกาภิวัตน์ยังเป็นแรงผลักดันให้เกิดค่านิยมสากล เช่น
กระแสประชาธิปไตย
กระแสด้านสิทธิมนุษยชน กระแสความเท่าเทียมกันของหญิงชาย
กระแสการร่วมกันพิทักษ์รักษาสภาพ
แวดล้อม
ซึ่งทำให้เกิดการตระหนักร่วมกันอย่างกว้างขวางว่าการพัฒนาที่มุ่งเน้นไปในด้านเศรษฐกิจแต่
เพียงอย่างเดียวโดยละเลยมิติความเป็นมนุษย์ ครอบครัว ชุมชน สังคม
และสิ่งแวดล้อม จะส่งผลให้เกิด
สภาพการเสียดุลของการพัฒนาที่รุนแรงซึ่งในอนาคตหากไม่แก้ไขแล้วคนและธรรมชาติ
จะไม่สามารถ
อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืนและเกื้อกูลได้
สังคมไทยที่พึงปรารถนาในอนาคต
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกทั้งในแง่บวกและลบดังกล่าว
มาแล้วข้างต้น
การพัฒนาประเทศในระยะต่อไปจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมการจัดระเบียบทาง
เศรษฐกิจและสังคมเสียใหม่ให้เข้มแข็งพร้อมรับสถานการณ์ในอนาคต
และให้สามารถที่จะช่วงชิงโอกาส
จากการเปลี่ยนแปลงในประชาคมโลกมาใช้เป็นแรงผลักดันในการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับพื้นฐาน
ของวัฒนธรรมและตรงกับความต้องการของคนไทย
ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวไปสู่ความเป็น
ประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี พ.ศ. 2563
โดยเศรษฐกิจไทยจะมีขนาดเป็นลำดับ 8 ของโลก คนไทยมีรายได้
เฉลี่ยต่อหัวไม่ต่ำกว่า 300,000 บาทต่อปี หรือประมาณ 12,000
เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งวัด ณ ระดับราคาปี 2536
และสัดส่วนคนยากจนจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ 5
ควบคู่กันไปกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนส่วนใหญ่
ดังรายละเอียดที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันกำหนดขึ้นเป็นวิสัยทัศน์สังคมไทยที่พึงปรารถนาในอีก
25 ปี
ข้างหน้า ดังนี้
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความเป็นปึกแผ่น
มีความภูมิใจในความเป็นไทยและดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์
ทางศิลปะวัฒนธรรมของชาติ มีความมั่นคง สงบสุข
สันติกับนานาชาติเป็นที่ยกย่องและเป็นประเทศระดับ
แนวหน้าในประชาคมโลก เป็นสังคมที่คนมีความสุข
อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เป็นสังคมที่
มีสมรรถภาพ มีเสถียรภาพ มีความเสมอภาค มีความยุติธรรม
มีระเบียบวินัย มีความเมตตากรุณา เคารพใน
สิทธิมนุษยชนมีหลักธรรมของศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำรงชีวิตของคนในสังคม
คนไทยทุกคนมีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่มากขึ้น
ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
และมีส่วนร่วมอย่างเต็มภาคภูมิในกระบวนการพัฒนาประเทศ
เด็กไทยทุกคนจะได้รับการดูแลเอาใจใส่ด้าน
สุขภาพตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ได้รับสารอาหารครบถ้วนตั้งแต่ปฐมวัย
รวมทั้งได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อย่างน้อย 12 ปี
และทุกคนมีโอกาสเข้าถึงบริการพื้นฐานทางสังคมที่มีคุณภาพ
คนไทยมีขีดความสามารถพร้อมที่จะปรับตัวเพื่อรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งเกิดจากความก้าว
หน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับที่สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้
คนในวัยหนุ่มสาวได้รับการ
ศึกษาในระดับอุดมศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของคนในกลุ่มอายุ 18 -
24 ปี กลุ่มคนผู้ด้อยโอกาสในสังคม
ได้รับโอกาสทางการศึกษาและการมีงานทำอย่างทั่วถึงถ้วนหน้า
คนไทยจะมีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ
รู้จักตัวเอง รู้เท่าทันโลก
และมีศักยภาพที่จะปรับตัวเองอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่าตลอดทุกช่วงวัยของชีวิต
เศรษฐกิจตั้งอยู่บนรากฐานของความสร้างสรรค์
เป็นศูนย์กลางที่สำคัญในภูมิภาค ทั้งในด้านการผลิต
การคมนาคม การเงิน การท่องเที่ยว และบริการ
มีระบบการค้าขายแบบเสรีที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
ทันโลกทางด้านเทคโนโลยี และนำโลกในมิติที่ประเทศไทยมีความเป็นเลิศ
มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมี
เสถียรภาพ
โดยมีความสมดุลกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งเป็นฐานการจ้างงาน
และสร้างโอกาสในการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมทั่วทุกกลุ่มคนทุกพื้นที่
ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในภูมิภาคและชนบทไม่แตกต่างจากคนในเมืองหลวง
คือ จะมีโอกาส
ได้รับบริการโครงสร้างพื้นฐานและบริการพื้นฐานทางสังคมที่จำเป็นอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง
มีหลักประกัน
ด้านสุขภาพอนามัย
สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวกด้วยเครือข่ายระบบโทรคมนาคมและขนส่งที่ครอบ
คลุมทุกพื้นที่มีโอกาสและทางเลือกในการประกอบอาชีพได้อย่างเสรี
และใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการดูแลรักษาและจัดการอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิ
ภาพของคนในปัจจุบัน เพื่อเป็นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่คนรุ่นหลัง
คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีเมือง
และชุมชนที่น่าอยู่อาศัย มีความปลอดภัย
เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ
มีระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์
โดยมีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มี
ภาคราชการที่มีประสิทธิภาพ มีนักการเมืองและข้าราชการที่มีคุณธรรม
จริยธรรม มีความรู้ความสามารถสูง
และยึดผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลักเป็นที่พึ่งและสามารถตอบสนองความต้องการ
ของประชาชนได้อย่างแท้จริง
แนวคิด ทิศทางและกระบวนทรรศน์ใหม่ของ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8
การก้าวไปสู่วิสัยทัศน์สังคมไทยที่พึงปรารถนาดังกล่าว
จึงจำเป็นจะต้องทำอย่างเป็นกระบวนการ
ที่ต่อเนื่องไปในระยะยาว
โดยการสร้างโอกาสหลักประกันและสภาพแวดล้อมให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้มี
ส่วนร่วมคิด ร่วมกำหนดแผน ร่วมตัดสินใจร่วมดำเนินการ
และร่วมติดตามประเมินผล เพื่อให้การพัฒนาสัง
คมไทยในอนาคตเป็นสังคมที่มีเศรษฐกิจดี
สังคมไม่มีปัญหาและมีการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถตอบสนอง
ความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคมได้มากกว่าทศวรรษที่ผ่านมา
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
เป็นก้าวแรกของการนำวิธีการใหม่ในการพัฒนาประเทศมาใช้เพื่อจัดระเบียบ
ทางเศรษฐกิจและสังคมให้สามารถบรรลุถึงสภาวะอันพึงปรารถนาของคนไทยทั้งชาติในอนาคต
การจัดทำแผน
พัฒนาฯ
ฉบับนี้ได้เริ่มต้นจากการเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มสาขาอาชีพและภูมิภาคของประเทศเข้ามาร่วม
แสดงความคิดเห็นและกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างกว้างขวางตั้งแต่การเริ่มจัดทำแผน
แทนการกำ
หนดแผนจากภาคราชการแต่เพียงฝ่ายเดียวอย่างแต่ก่อน
ซึ่งนับได้ว่าเป็นการเปิดศักราชกระบวนการวางแผนที่
เน้นสร้างความร่วมมือร่วมใจกันผนึกกำลังอย่างสมานฉันท์ของคนในชาติ
แนวคิดของการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในอดีต
ได้ให้ความสำคัญกับการ
เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาได้มุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมและการผลิตเพื่อการ
ส่งออก
โดยอาศัยความได้เปรียบทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์มาใช้ขยายฐานการผลิตเพื่อ
สร้างรายได้และการมีงานทำ
ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและ
สังคมของประเทศในช่วงเวลานั้น
อย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตรุดหน้าทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
และความเจริญทางด้านวัตถุที่มากขึ้น
มิได้หมายความว่าคนไทยและสังคมไทยจะมีความสมบูรณ์พูลสุข มี
คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างทั่วถึง
วัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่ดีงามและเรียบง่ายของสังคมไทยเริ่มเปลี่ยนไปพร้อม
ๆ
กับความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และความไม่มั่นคงของครอบครัว
ชุมชน และสังคม
การพัฒนาที่ท้าทายต่อการอยู่รอดของระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงของสังคมไทยในอนาคต
คือ
การพัฒนาคน
ซึ่งหมายถึงการพัฒนาคุณภาพและสมรรถนะของคนไทยให้สามารถมีความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์
ที่จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน สังคม และของชาติในที่สุด
ดังนั้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จึงได้
ปรับแนวคิดการพัฒนาจากเดิมที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นจุดมุ่งเน้นหลักของการพัฒนาแต่เพียงอย่างเดียว
มาเป็นการเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
เพราะคนเป็นปัจจัยชี้ขาดความสำเร็จของการพัฒนาในทุก
เรื่อง
โดยการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เท่านั้น ไม่ใช่เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนาอีกต่อไป
รวมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการวางแผนจากการแยกส่วน
รายสาขาเศรษฐกิจหรือสังคมที่ขาดความเชื่อมโยงเกื้อกูลต่อกัน
มาเป็นการพัฒนาแบบรวมส่วนหรือบูรณาการ
เพื่อให้เป็นแผนพัฒนาฯ
ที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ให้คนไทยส่วนใหญ่ของประเทศอย่างแท้จริง
ยุทธศาสตร์ใหม่ที่เป็นหัวใจสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
มีสองประการ คือ ประการแรก การ
พยายามเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐกับประชาชนให้เกิดขึ้นมากที่สุด
โดยการใช้ระบบความ
ร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในสังคม
รวมทั้งการที่จะให้มีหลักประกันด้านสิทธิเสรีภาพ ความ
เสมอภาค และการแก้ไขความขัดแย้งในสังคมด้วยสันติวิธี ประการที่สอง
การปรับระบบการบริหารจัดการ
เพื่อให้มีการแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล
ซึ่งการปรับกระบวนการและกลไกในการบริหาร
จัดการงบประมาณและบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ
มีความคล่องตัวและสัมพันธ์สอดคล้องกัน โดยยึดหลัก
การประสานงานภายใต้ระบบการจัดการพื้นที่กับภารกิจของหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของประชาชนใน
การกำหนดแผนงาน โครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ
ควบคู่ไปกับการพัฒนา
ระบบติดตามและประเมินผลโดยการจัดทำเครื่องชี้วัดความสำเร็จของแผนในหลายมิติและหลายระดับ
รวม
ทั้งจัดให้มีระบบการติดตามประเมินผลเป็นประจำทุกปี
โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องได้มีส่วน
ร่วมในการติดตามผลการพัฒนาอย่างกว้างขวาง
เป็นที่หวังว่าการเริ่มต้นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
ในระยะเวลาเดียวกันกับที่ประเทศก้าวเข้าสู่ศักราช
ใหม่จะเป็นยุคสมัยของความเป็นปึกแผ่นและความสมานฉันท์ของคนในชาติ
ซึ่งความร่วมมือร่วมใจในรูปแบบ
ต่าง ๆ ในการแปลงแผนสู่ภาคปฏิบัติได้เริ่มเกิดขึ้นแล้ว
จึงเชื่อมั่นได้ว่าแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จะเป็นการเริ่มกระ
บวนการที่ทุกภาคส่วนของสังคมจะร่วมกันก้าวเดินไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
และรับผิดชอบร่วมกันในการตรวจ
สอบและประเมินผลการดำเนินงานเป็นประจำทุกปี และที่สำคัญที่สุดคือ
เป็นกระบวนการเรียนรู้ในอันที่จะอยู่
ร่วมกันอย่างรู้ รัก สามัคคี ร่มเย็นเป็นสุข เป็นธรรม และเป็นไท
CONTACT
Email me at pisitp@yahoo.com for your comment and/or discussions.
This page hosted by
Get your own Free Home Page