PsTNLP

Pisit' s Thai Natural Language Processing Laboratory
This lab is formed since 26-August-1998
e-mail pisitp@yahoo.com
Back to PsTNLP home page

ส่วนที่ 1
สรุปสาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544)

1. สถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมไทยในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา

1.1 สังคมไทยได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการพัฒนาเศรษฐกิจ ดังจะเห็นได้จากอัตราการขยาย ตัวอยู่ในระดับสูงโดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 7.8 ต่อปี รายได้ต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้นจาก 2,100 บาท ในปี 2504 เป็น 68,000 บาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้น 32 เท่าตัว สัดส่วนคนยากจนของประเทศลดลงเหลือเพียงร้อยละ 13.7 ใน ปี 2535 เปรียบเทียบกับเป้าหมายร้อยละ 20 ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ฐานะการเงินการคลังของประเทศมีความมั่นคงและได้รับการยอมรับโดยทั่วไปจากนานาประเทศ ส่วนการลง ทุนของภาครัฐในด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการพื้นฐานทางสังคมโดยต่อเนื่องนั้น ได้ทำให้คนไทยมีรายได้ ฐานะความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาโดยตลอด

1.2 ถึงแม้ว่าการพัฒนาประเทศจะบรรลุเป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็ตามแต่กิจกรรมและ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจก็ยังกระจุกตัวอยู่ในภาคมหานครและปริมณฑล รายได้ต่อหัวของคนไทยในกรุงเทพ มหานคร และปริมณฑลยังสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศมาก โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีราย ได้ต่อหัวต่ำที่สุดประมาณ 12 เท่า กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด 20 เปอร์เซนต์แรกมีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 54 ในปี 2531 เป็นร้อยละ 59 ในปี 2535 ในขณะที่กลุ่มที่มีรายได้ 20 เปอร์เซนต์ต่ำสุดมีสัดส่วนรายได้ ลดลงจากร้อยละ 4.6 ในปี 2531 เหลือเพียงร้อยละ 3.9 ในปี 2535 ช่องว่างระหว่างรายได้และโอกาสที่ได้รับจาก ผลของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่และการพัฒนา ประเทศในระยะยาว

1.3 ผลของการพัฒนาที่ผ่านมา ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ได้รับบริการโครงสร้างพื้นฐานและบริการพื้น ฐานทางสังคมมากขึ้นในระดับที่น่าพอใจ กล่าวคือ ในปี 2537 ในหมู่บ้านชนบทมีไฟฟ้าใช้แล้วร้อยละ 97.7 มีน้ำสะอาดดื่มกินในระบบประปา สำหรับเขตเมืองในภูมิภาคมากกว่าร้อยละ 75 และร้อยละ 32 ในหมู่บ้าน ชนบท ในด้านคมนาคมขนส่งได้มีถนนเชื่อมต่อระหว่างจังหวัด อำเภอและตำบล คิดเป็นระยะทางรวมทั้งสิ้น 210,025 กิโลเมตร ซึ่งเป็นถนนในหมู่บ้านประมาณ 123,400 กิโลเมตร ในด้านการศึกษานั้นคนไทยในชนบท มีการศึกษาสูงขึ้น โดยมีอัตราเข้าเรียนในภาคบังคับถึงร้อยละ 97.7 ความสำเร็จของการพัฒนาด้านสาธารณสุข ได้ทำให้อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยในปี 2537 เพิ่มขึ้นเป็น 67.6 ปี เปรียบเทียบกับปี 2533 ซึ่งคนไทยมีอายุขัย เฉลี่ยเพียง 63 ปีเท่านั้น

1.4 การมุ่งเน้นการแข่งขันเพื่อสร้างความมั่งคั่งในด้านรายได้ ทำให้คนไทยและสังคมไทยมีความเป็น วัตถุนิยมมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมของคนในสังคม คือการย่อหย่อนในศีลธรรม จริยธรรม ขาด ระเบียบวินัย การเอารัดเอาเปรียบ ส่งผลให้วิถีชีวิตและค่านิยมดั้งเดิมที่ดีงามของไทยเริ่มจางหายไปพร้อม ๆ กับ การล่มสลายของสถาบันครอบครัว ชุมชน และวัฒนธรรมของท้องถิ่น นอกจากนี้สภาพบีบคั้นทางจิตใจของ คนในสังคมเกิดจากความแออัดของชุมชนเมือง สภาวะแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลงซึ่งมากับกระบวนการพัฒนา เศรษฐกิจนั้น ได้ส่งผลให้ภาวะการเจ็บป่วยของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่โรคสมัยใหม่ เช่น โรคมะเร็ง โรค หัวใจ โรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งการบาดเจ็บล้มตายจากอุบัติเหตุและอุบัติภัยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและรายได้ที่สูงขึ้น

1.5 การเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อม โทรมลงเป็นลำดับ ในช่วง 2 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ป่าไม้ยังคงถูกทำลายลงถึงปีละ 1 ล้านไร่ ที่ดิน ทำกินถูกชะล้างพังทลาย คุณภาพของแม่น้ำ ลำคลอง เปลี่ยนแปลงจนไม่สามารถจะนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก ต่อไป สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลงทั้งในด้านคุณภาพของอากาศ ปริมาณฝุ่นละออง รวมทั้งเสียงในเขตกรุงเทพ มหานครและเมืองหลักในภูมิภาคนั้น ได้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยโดยทั่วไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้การพัฒนาที่ไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนและการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมองข้ามการพัฒนา คุณค่าของความเป็นคน ละเลยภูมิปัญญา และวิถีชีวิตความเป็นอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไทย จะส่งผลต่อ การพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต

2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8

เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในสังคม ช่วยแก้ปัญหาการพัฒนาที่ขาดความสมดุลคือ เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน และเพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์การพัฒนาที่พึงปรารถนาในระยะ ยาว การพัฒนาในระยะ 5 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของการ พัฒนาไว้ดังนี้

2.1 วัตถุประสงค์

(1) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนทุกคนทั้งในด้านร่างกายจิตใจและสติปัญญา ให้มีสุขภาพพลานา มัยแข็งแรง มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ และสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการ เปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง

(2) เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้มีความมั่นคง และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว และชุมชน ให้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคน รวมทั้งให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ประเทศมากยิ่งขึ้น

(3) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ มั่นคง และสมดุล เสริมสร้าง โอกาสการพัฒนาศักยภาพของคนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาและได้รับผลจากการพัฒนาที่เป็น ธรรม

(4) เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์ สามารถสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน

(5) เพื่อปรับระบบบริหารจัดการ เปิดโอกาสให้องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศมากขึ้น

2.2 เป้าหมาย

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การพัฒนาข้างต้น เห็นสมควรกำหนดเป้าหมายซึ่งจะเป็นเครื่องชี้วัดผลการ พัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์หลักในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ไว้ ดังนี้

(1) เพิ่มปริมาณการเตรียมความพร้อมทุกด้านของเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) อย่างมีคุณภาพ

(2) เพิ่มคุณภาพการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะการขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 ปีแก่เด็กในวัย เรียนทุกคน และการเตรียมการขยายการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น 12 ปี รวมทั้งให้มีการฝึกอบรม ครู อาจารย์ ทุกคนอย่างต่อเนื่อง

(3) ยกระดับทักษะฝีมือและความรู้พื้นฐานให้แก่แรงงานในสถานประกอบการ โดยให้ความสำคัญเป็น ลำดับแรกต่อกลุ่มแรงงานอายุ 25-45 ปี

(4) ให้ผู้ด้อยโอกาสทุกประเภทได้รับโอกาสการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ และได้รับบริการพื้นฐานทาง สังคมอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง

(5) ลดอัตราการประสบอันตรายจากการทำงาน และลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ โดยเฉพาะการ จราจร การขนส่งวัตถุเคมีอันตราย และอัคคีภัยในอาคารสูง

(6) รักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย โดยลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดให้อยู่ในระดับร้อยละ 3.4 ของผลผลิตรวมในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เฉลี่ยร้อยละ 4.5 ต่อปี

(7) ระดมการออมของภาคครัวเรือนให้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อยร้อยละ 10 ของผลผลิตรวมในปีสุดท้าย ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8

(8) ขยายปริมาณและเพิ่มคุณภาพของบริการโครงสร้างพื้นฐานสู่ภูมิภาคและชนบท

(9) ลดสัดส่วนคนยากจนของประเทศให้น้อยกว่าร้อยละ 10 ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8

(10) อนุรักษ์และฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ไว้ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ของ ประเทศ รวมทั้งรักษาพื้นที่ป่าชายเลนให้คงไว้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านไร่ในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8

(11) สร้างโอกาสและเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพเกษตรในรูปแบบของเกษตรธรรมชาติ เกษตร อินทรีย์ เกษตรผสมผสาน และวนเกษตร

(12) เพิ่มการลงทุนในการควบคุมและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนใน เมือง ภูมิภาค และชนบท

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาดังกล่าว เห็นควรกำหนดยุทธศาสตร์การ พัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่สำคัญ ดังนี้

3.1 การพัฒนาศักยภาพของคน ประกอบด้วยกาารส่งเสริมให้ประเทศมีโครงสร้างประชากรที่เหมาะ สม และมีการกระจายตัวของประชากรที่สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ของประเทศ การปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ด้านการพัฒนาจิตใจให้เกิดผลในทางปฏิบัติ การพัฒนาสติปัญญาและทักษะฝีมือ แรงงานให้คนไทยทุกคนมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้นในกระบวนการผลิตและสามารถปรับตัวได้กับการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการพัฒนาสุขภาพและพลานามัยที่มุ่งเสริมสร้างโอกาสให้คนไทย ทุกคนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าและมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรค

3.2 การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคน ประกอบด้วยแนวทางการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของครอบครัวของชุมชน การสร้างโอกาสให้คน ครอบครัว ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้อง ถิ่นของตนเองและสังคม การพัฒนาระบบความมั่นคงทางสังคมเพื่อสร้างหลักประกันด้านต่าง ๆ แก่ประชา ชนอย่างทั่วถึง การเสริมสร้างขีดความสามารถในระบบอำนวยความยุติธรรมและระบบความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินให้แก่ประชาชน และการส่งเสริมให้วัฒนธรรมมีบทบาทในการพัฒนาคนและประเทศให้สม ดุลและยั่งยืน

3.3 การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบทเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่างทั่วถึง ประกอบด้วยแนวทางการกระจายโอกาสและความเจริญด้วยการพัฒนาพื้นที่ในภูมิภาค การพัฒนา การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและการกระจายการพัฒนาด้วยการเพิ่มศักยภาพขององค์กรชุมชน การสนับสนุน กระบวนการเรียนรู้และขยายเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน การเสริมสร้างโอกาสการพัฒนาเพื่อสร้างอาชีพ และการมีงานทำด้วยการส่งเสริมบทบาทของภาคธุรกิจเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชน การกระจายกิจกรรม ทางเศรษฐกิจและบริการทางสังคม การแก้ไขปัญหาและรักษาสภาพแวดล้อมเมือง การบริหารจัดการงานพัฒนา ในลักษณะพหุภาคี ทั้งในงานพัฒนาทั่วไปและในระดับพื้นที่

3.4 การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต ประกอบด้วย แนวทางการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจให้เข้มแข็งและเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ การปรับโครงสร้างการ ผลิตให้เข้มแข็งเพื่อให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลกและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย การ พัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อเป็นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่ ชุมชน และบริการ โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับคุณภาพชีวิต

3.5 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยแนวทางการบริหาร จัดการเพื่ออนุ รักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้มีความสมบูรณ์ เกิดความสมดุลต่อระบบนิเวศวิทยา รวมทั้งการดูแลรักษา สภาวะแวดล้อมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนและเป็นฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาว การ จัดระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดการใช้ประโยชน์และควบคุมดูแลอย่างมีประ สิทธิภาพ มีการจัดสรรอย่างเป็นธรรม เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนอย่างแท้จริง รวมทั้งการบริหารจัด การเพื่อป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากธรรมชาติ

3.6 การพัฒนาประชารัฐ เป็นการพัฒนาภาครัฐให้มีสมรรถนะและพันธกิจหลักในการเสริมสร้างศักย ภาพและสมรรถนะของคน ทำให้คนในสังคมเป็นพันธมิตรกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมีส่วนร่วมในการพัฒนา ประเทศซึ่งประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างหลักนิติธรรมในการบริหารรัฐกิจ การจัดการแก้ไข ความขัดแย้งในสังคมด้วยสันติวิธี สนับสนุนให้ประชาชนทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในกิจกรรม สาธารณะของภาครัฐ เพิ่มพูนประสิทธิผลและประสิทธิภาพภาครัฐด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ ราชการ ตลอดจนการสร้างความต่อเนื่องในงานบริหารรัฐกิจ โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านนโยบาย สาธารณะและการกำหนดระเบียบวาระแห่งชาติ

3.7 การบริหารจัดการเพื่อให้มีการนำแผนพัฒนาฯ ไปดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ประกอบด้วย แนวทางการแปลงแผนสู่การปฏิบัติด้วยระบบการจัดการในระดับพื้นที่ตามภารกิจของหน่วยราชการและการมี ส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในสังคม การพัฒนากลไกของรัฐในการปฏิบัติงาน การเร่งรัดพัฒนาระบบกฎหมายให้เป็น ไปในแนวทางของระบบกฎหมายมหาชน เพื่อเอื้ออำนวยต่อการจัดให้มีกฎหมายรองรับแผนพัฒนาฯ ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ การปรับบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคีเพื่อการพัฒนา การเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงาน กลางในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ การพัฒนาสมรรถนะกลไกนอกภาครัฐ และการติดตามและประเมินผล โดยมีการจัดทำดัชนีชี้วัดผลของการพัฒนาแบบองค์รวม

4. ลักษณะและการใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8

4.1 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นแผนชี้ทิศทางการพัฒนาประเทศทั้งในทศวรรษหน้าและในช่วง พ.ศ. 2540-2544 ซึ่งเน้นการพัฒนาในลักษณะที่เป็นกระบวนการเพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาแบบแยกส่วน หรือตามรายสาขาเศรษฐกิจและสังคมมาเป็นแบบองค์รวม คือ การพัฒนาแบบรวมส่วนหรือบูรณาการที่มี ความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ อันจะทำให้การพัฒนามีประสิทธิภาพมีความยั่งยืน และคนไทยทั้งหมดได้รับประโยชน์จากการพัฒนามากกว่าที่ผ่านมา

4.2 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาซึ่งกำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นการชี้ทิศทางการ พัฒนาตามวัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาประเทศในระยะยาว โดยไม่เน้นรายละเอียดของแนวทางการ พัฒนาตามสาขาเศรษฐกิจและสังคม และมาตรการระยะสั้นซึ่งหน่วยงานปฏิบัติต้องดำเนินการตามปกติอยู่ แล้ว ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องจะต้องนำยุทธศาสตร์และแนวทางทั้งหมดไปใช้เป็นกรอบกำหนดแผนงาน โครงการ และมาตรการ เพื่อให้มีการดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ รวมถึงการกำหนดให้มีเป้าหมายและโครงการ ที่จะทำให้เกิดผลต่อประชาชน มิใช่องค์กรของรัฐ หรือเป็นโครงการพัฒนาที่ประชาชนตัดสินใจหรือมีส่วน ร่วมในการตัดสินใจและขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ

4.3 การจัดทำแผนงานและโครงการพัฒนาตามยุทธศาสตร์นั้น ควรจะต้องดำเนินการแบบองค์รวม คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกองค์กรจะต้องร่วมกันคิด ร่วมกันทำ มีการประสานการวิเคราะห์ โดยยึดหลักพื้นที่ และภารกิจ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้รับผิดชอบเป็นกรอบในการจัดทำแผนงานและโครงการ แผนเงินและ แผนคน โดยใช้ยุทธศาสตร์และแนวทางของแผนควบคู่ไปกับพื้นที่ เป็นเครื่องมือในการขอรับสนับสนุนด้าน งบประมาณ ตลอดจนการติดตามประเมินผลประจำปี

4.4 การติดตามประเมินผลความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้า หมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จะต้องมีการสร้างดัชนีชี้วัดทั้งในระดับภาพรวมและแผนงานโครงการใน 5 ระดับคือ

(1) ดัชนีชี้วัดผลกระทบขั้นสุดท้ายของการพัฒนา สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องชี้วัดผลความก้าวหน้าที่แท้จริง ของการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวมในทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านการพัฒนาคน สังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อมว่าสามารถดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาประเทศที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของ การพัฒนาได้มากน้อยแค่ไหนเพียงใด

(2) ดัชนีชี้วัดประสิทธิผลของการพัฒนาเฉพาะด้าน สร้างขึ้นเพื่อติดตามประเมินผลการพัฒนาในแต่ละ ด้านที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงความสำเร็จและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา ในลักษณะผสมผสานระหว่างภารกิจกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายเพื่อจะนำไปใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์และ แผนงานโครงการในแต่ละสาขาให้มีประสิทธิภาพ

(3) ดัชนีชี้วัดประสิทธิผลของยุทธศาสตร์การพัฒนา สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามประเมิน ผลความสำเร็จหรือความล้มเหลวของยุทธศาสตร์การพัฒนาที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8

(4) ดัชนีชี้วัดประสิทธิผลขององค์กรที่ดำเนินงานพัฒนา สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องชี้วัดขีดความสามารถ ขององค์กรที่รับผิดชอบในการดำเนินงานแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติในทุกระดับตามแนวทางการประสานแผน งาน แผนเงิน และแผนคน ที่เน้นการกระจายอำนาจสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น และการประสานความร่วมมือกับทุก ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพและผลงานขององค์กร ทั้งในด้านการเสริมสร้างกระบวน การเรียนรู้ให้กับคนในองค์กร การเพิ่มพูนประสิทธิภาพ การดำเนินงาน การสร้างระบบการติดตามประเมินผล เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานขององค์กรต่อไป

(5) ดัชนีชี้วัดสถานการณ์ที่เป็นจริงในด้านต่าง ๆ เป็นการรวบรวมข้อมูลเชิงสถิติหรือข้อมูลพื้นฐาน ของการพัฒนาด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือประสิทธิผลของการพัฒนาใน ระดับต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น

CONTACT
Email me at pisitp@yahoo.com for your comment and/or discussions.

This page hosted by   Get your own Free Home Page 1