PsTNLP

Pisit' s Thai Natural Language Processing Laboratory
This lab is formed since 26-August-1998
e-mail pisitp@yahoo.com
Back to PsTNLP home page

ส่วนที่ 2
การพัฒนาศักยภาพของคนไทย

การพัฒนาประเทศไทยในระยะที่ผ่านมามุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยใช้คนเป็นเครื่องมือหรือปัจจัย ในการผลิต เพื่อสนองความต้องการการพัฒนาให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยยังไม่ได้คำนึงถึงคุณ ค่าของความเป็นมนุษย์และการพัฒนาศักยภาพของคนให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการประกอบอาชีพ และสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นแม้ว่าประเทศไทยจะประสบความ สำเร็จในการบรรลุเป้าหมายด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นอย่างดียิ่ง แต่ผลของการพัฒนาได้ก่อให้เกิด ปัญหาที่สำคัญหลายประการ โดยเฉพาะปัญหาการกระจายรายได้ ปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของ คนไทยและการพัฒนาประเทศในระยะยาว

การพัฒนาศักยภาพของคนที่พึงปรารถนา จะต้องพัฒนาให้คนทุกคนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ อย่างเต็มที่ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ปัญญาและทักษะฝีมือ เพื่อให้คนเป็นคนดี มีคุณธรรม มีสุขภาพพลานา มัยที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีจิตสำนึกและมีบทบาท ในการดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่ดีงาม ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยทำให้การพัฒนาประเทศมีความสมดุล ยั่งยืนบนพื้นฐานของความเป็นไทย

บทที่ 1
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์

การพิจารณาผลการพัฒนาที่ผ่านมาและแนวโน้มในอนาคตควบคู่กับอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์ การพัฒนาศักยภาพของคนไทยในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและยุทธศาสตร์ การพัฒนาศักยภาพของคนไทยไว้ดังต่อไปนี้

1.วัตถุประสงค์

1.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนทางด้านจิตใจให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม
1.2 เพื่อพัฒนาคนทุกคนให้สามารถคิดวิเคราะห์บนหลักของเหตุผล มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอด ชีวิต มีโลกทัศน์กว้าง รวมทั้งมีประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตสูงขึ้นสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
1.3 เพื่อส่งเสริมให้คนมีสุขภาพพลานามัยดีถ้วนหน้า มีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการ ป้องกันโรคและดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.4 เพื่อเสริมสร้างโอกาสให้ประชาชนกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทุกกลุ่มได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือ และได้ รับบริการพื้นฐานทางสังคมทุกด้านอย่างเหมาะสมทั่วถึงและเป็นธรรมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ อย่างปกติสุขและสมศักดิ์ศรี

2. เป้าหมาย

2.1 คนไทยมีขนาดครอบครัวที่เหมาะสมและมีการกระจายตัวของประชากรที่สอดคล้องกับศักยภาพ และโอกาสการพัฒนาในพื้นที่
2.2 เพิ่มคุณภาพการศึกษาทุกระดับ และจัดให้มีกลไกประกันคุณภาพการศึกษา พร้อมทั้งพัฒนาหลัก สูตรให้ได้มาตรฐานและจัดให้มีการสอบวัดผลวิชาพื้นฐานสำคัญ ๆ
2.3 เพิ่มสัดส่วนของการผลิตบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสาขาสังคมศาสตร์และมนุษย ศาสตร์จากปัจจุบัน 31 : 69 เป็นไม่ต่ำกว่า 40 : 60
2.4 ขยายการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานในสาขาช่างต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของการฝึกอาชีพระยะสั้นภายในปี 2544
2.5 ประชาชนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันโรค ดูแลสุขภาพ ของตนเองและครอบครัว ตลอดจนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
2.6 สร้างโอกาสให้สตรีและผู้ด้อยโอกาสทุกประเภทในสังคมได้รับการพัฒนาตามศักยภาพอย่างเต็มที่ และได้รับบริการต่าง ๆ ที่เหมาะสมอย่างทั่วถึง

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพของคนไทย

การที่จะพัฒนาศักยภาพของคนทุกคนให้สามารถปรับตัวและดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข และมีส่วนร่วม ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้อย่างยั่งยืนนั้น จะประกอบด้วยยุทธศาสตร์ในการพัฒนา 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

3.1 โครงสร้างและการกระจายตัวของประชากร โดยการสนับสนุนให้คนไทยมีขนาดครอบครัวที่เหมาะ สมและส่งเสริมให้มีการกระจายตัวของประชากรที่สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสการพัฒนาในพื้นที่

3.2 การพัฒนาศักยภาพของคนด้านจิตใจ โดยการพัฒนาศักยภาพด้านจิตใจของคนทุกกลุ่มให้สามารถ ปรับเอาหลักศาสนามาประพฤติและเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของตน และการพัฒนาสภาพแวดล้อม ของสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาจิตใจ รวมทั้งการบริหารจัดการเพื่อให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาจิต ใจมากขึ้น

3.3 การพัฒนาสติปัญญา ทักษะ และฝีมือแรงงาน โดยการเตรียมความพร้อมเด็กปฐมวัย การปฏิรูป กระบวนการเรียนรู้ทั้งในกระบวนการเรียนการสอนการปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครู และการนำเทค โนโลยีสมัยใหม่และระบบสารสนเทศมาใช้ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพในทุกระดับการศึกษาและเพิ่มศักย ภาพกำลังแรงงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาและฝึกอบรม

3.4 การพัฒนาสุขภาพและพลานามัยโดยการพัฒนาศักยภาพของคนในด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้อง กันโรค และดูแลรักษาเบื้องต้นทั้งของตนเอง ครอบครัวและชุมชน การเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพและการ เข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข การผลิตและกระจายบุคลากร การพัฒนาระบบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไข ปัญหาเอดส์ การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี รวมทั้งการปฏิรูประบบบริหารจัดการให้มี ประสิทธิภาพ

3.5 การพัฒนาประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาส โดยการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเด็กที่อยู่ในภาวะยาก ลำบาก เด็กและสตรีที่อยู่ในธุรกิจบริการทางเพศและถูกประทุษร้ายทารุณต่าง ๆ รวมทั้งสตรีที่ถูกเลือกปฏิบัติ และมีอคติทางเพศ คนพิการผู้สูงอายุที่ยากจนไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู คนยากจนทั้งในเมืองและชนบท ผู้ถูกคุม ประพฤติและผู้ต้องขัง และกลุ่มคนไทยต่างวัฒนธรรม ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสมศักดิ์ศรี และมีส่วน ร่วมในการพัฒนาประเทศมากขึ้น

บทที่ 2
โครงสร้างและการกระจายตัวของประชากร

การส่งเสริมให้ประเทศไทยมีจำนวนและโครงสร้างประชากรในขนาดที่เหมาะสม และมีการกระจาย ตัวของประชากรที่สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ของประเทศ เป็นการเปิดโอกาส ให้คนไทยสามารถพัฒนาศักยภาพของตนให้สูงขึ้น ทั้งในด้านการพัฒนาสุขภาพอนามัยทางร่างกายและจิต ใจให้กับเด็กปฐมวัย การให้การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นแก่เด็กที่อยู่ในวัยเรียน การฝึกอบรมทักษะฝีมือแรงงาน เพิ่มเติมให้กับแรงงาน การดูแลผู้สูงอายุให้ทั่วถึง ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ได้รับผลกระ ทบจากความแออัดของประชากรที่กระจุกตัวอยู่ในเมืองให้ดีขึ้น โดยมีแนวทางหลักดังนี้

1. การสนับสนุนให้คนไทยมีขนาดครอบครัวที่เหมาะสม โดย

1.1 ชะลอการวางแผนครอบครัวในพื้นที่ที่มีอัตราเจริญพันธุ์ของสตรีในระดับทดแทนหรือต่ำกว่า เช่น พื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร โดยยกเลิกเป้าหมายการให้บริการวางแผนครอบครัวในพื้นที่ ดังกล่าว และคิดค่าบริการวางแผนครอบครัวในราคาที่คุ้มต้นทุนมากยิ่งขึ้น สำหรับการให้บริการในแต่ละวิธี

1.2 เร่งรัดส่งเสริมการวางแผนครอบครัวในพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดสูงเช่น ในบางพื้นที่ของภาคใต้และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยให้บริการวางแผนครอบครัวแบบให้เปล่าและจัดทำโครงการรณรงค์พิเศษเฉพาะ ขึ้นให้สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีและค่านิยมเกี่ยวกับการมีบุตรในพื้นที่เหล่านี้

1.3 ปรับปรุงคุณภาพและการแบ่งเบาภาระที่เท่าเทียมระหว่างหญิงชายในการวางแผนครอบครัววิธี ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถกำหนดจำนวนบุตรหรือเว้นช่วงระยะการมีบุตรได้ตามความต้องการของประชาชนที่รับ บริการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีระบบการติดตามผู้ที่รับบริการไปแล้วให้มารับบริการอย่างต่อเนื่องและ มีการศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและผลข้างเคียงของการวางแผนครอบครัววิธีต่าง ๆ

1.4 รณรงค์เผยแพร่และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องให้ประชาชนตระหนักถึงประโยชน์ของการมี ครอบครัวขนาดที่เหมาะสม โดยใช้สื่อที่มีคุณภาพสามารถเข้าถึงประชาชน รวมทั้งการใช้ภาษาที่สอดคล้อง กับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

1.5 สนับสนุนการดำเนินงานโครงการธุรกิจเพื่อสังคมและจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อการวางแผน ครอบครัวและการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนที่มีระดับการพัฒนาต่ำ โดยภาครัฐคัดเลือกชุมชนและสนับสนุน งบประมาณในการจัดตั้งกองทุนและให้สมาชิกของชุมชนบริหารงานธุรกิจกองทุนเอง

2. การส่งเสริมการให้มีการกระจายตัวของประชากรที่สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสการพัฒนาในพื้นที่ โดย

2.1 สนับสนุนการกระจายบริการทางสังคมอย่างมีคุณภาพ ทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข และบริการ โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้ทั่วถึงแต่ละพื้นที่

2.2 ฝึกอบรมและพัฒนาทักษะให้คนในชนบทมีความสามารถในการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับ ความต้องการของตลาดแรงงานในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งสร้างปัจจัยสนับสนุนในการประกอบอาชีพส่วนตัว เช่น สินเชื่อ กองทุน เป็นต้น

2.3 พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานและตลาดผลผลิตที่ทันสมัยและกระจายถึงประชาชนอย่าง กว้างขวาง เพื่อให้ประชาชนทราบถึงแหล่งงานและสามารถหางานทำที่อยู่ใกล้บ้านตนเองในพื้นที่ชนบทได้ ตลอดจนสามารถทำการผลิตผลทางการเกษตรได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อเพิ่มรายได้ของ ตนเองให้สามารถยังชีพอยู่ในภาคเกษตรกรรมชนบทได้โดยไม่ต้องย้ายถิ่นเข้ามาหางานทำในเมือง

2.4 ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลประชากรเมืองให้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนา เมืองต่าง ๆ สำหรับรองรับการขยายตัวของ ประชากรเมืองในภูมิภาคอย่างเป็นระบบ

บทที่ 3
การพัฒนาศักยภาพของคนด้านจิตใจ

เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของคนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีระเบียบวินัย มีค่านิยมที่ดีงาม และมีจิตสำนึกที่รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม โดยมีแนวทางการพัฒนาหลักดังนี้

1. การเสริมสร้างและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และสุนทรียภาพทางจิตใจแก่คน โดย

1.1 เสริมสร้างองค์ความรู้ของบุคลากรที่ทำหน้าที่เผยแพร่ด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้สามารถเป็นผู้นำ ทางด้านการพัฒนาจิตใจอย่างแท้จริง และมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจสู่ประชาชนได้ อย่างถูกต้อง

(1) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของพระภิกษุ สามเณร นักบวช ครู อาจารย์ ฯลฯ โดยปรับปรุงหลักสูตร การศึกษาทั้งสายปริยัติธรรมและสายสามัญทุกระดับ

(2) เพิ่มเติมความรู้ด้านสื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคลากรที่ทำหน้าที่เผยแพร่ คุณธรรม จริย ธรรมเพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือดังกล่าวกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.2 พัฒนาความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรมและหลักศาสนาต่อนักเรียน นักศึกษา และสามารถนำ ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

(1) ปรับปรุงเนื้อหาสาระและกระบวนการเรียนการสอนเกี่ยวกับความรู้ด้านศาสนาและจริยธรรมใน หลักสูตรการศึกษาแต่ละระดับ

(2) เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน สถานศึกษา องค์กรศาสนา ฯลฯ ในการพัฒนา จิตใจของนักเรียน นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง

1.3 สนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ มีเหตุผลและสามารถเลือกนำเอาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในสังคมมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสุนทรียภาพทางจิตใจของตน รวมทั้งดำรงชีวิตอยู่ภายใต้วิถีประชาธิปไตย ได้อย่างเหมาะสมและกลมกลืน

(1) พัฒนารูปแบบที่หลากหลายของดนตรี กีฬาและนันทนาการต่างๆ ให้เหมาะกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

(2) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและใช้ศิลปวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการเสริม สร้างความอ่อนโยนทางจิตใจ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และกลุ่มที่สนใจในโอกาสต่าง ๆ

2. การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาจิตใจ โดย

2.1 สนับสนุนให้มีกิจกรรมและสถานที่ที่ให้สมาชิกในครอบครัวและชุมชนประกอบกิจกรรมร่วมกัน เช่น สวนสาธารณะ สนามกีฬา ห้องสมุด เป็นต้น

2.2 เสริมสร้างระบบที่จะให้รางวัลยกย่องคนดีและองค์กรที่ดี มีคุณธรรม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพและ ช่วยบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม เพื่อเป็นตัวอย่างและสร้างผู้นำทางสังคมอย่างต่อเนื่อง

2.3 พัฒนาการบริหารงานด้านศาสนาให้มีประสิทธิภาพ โดยปรับปรุงกฎหมายและระบบงานเกี่ยวกับ การปกครองคณะสงฆ์ เพื่อสนับสนุนให้พระภิกษุ สามเณรที่มีความรู้ความสามารถ ประพฤติดี ประพฤติชอบ ยังคงอยู่ในสถาบันพุทธศาสนาและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาจิตใจประชาชน

2.4 สนับสนุนให้มีการพัฒนาวัดและศาสนสถานที่สะอาด ร่มรื่น และมีบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการ ศึกษาปฏิบัติธรรมและสร้างความสงบทางจิตใจแก่ประชาชน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้บุคลากรและสถาน ที่ทางศาสนาในการช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตชองประชาชน

3. การบริหารจัดการเพื่อให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาจิตใจ โดย

3.1 สนับสนุนให้หน่วยราชการที่ทำงานด้านการพัฒนาจิตใจทำหน้าที่ประสานความร่วมมือจากทุก สถาบันในสังคมให้เกิดผลในเชิงปฏิบัติ และให้มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

3.2 สนับสนุนให้มีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาทัศนคติ จิตสำนึกและจรรยาบรรณของ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐในการให้บริการประชาชนทุกคนอย่างเหมาะสม

3.3 ส่งเสริมให้องค์กรประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาจิตใจ โดยเฉพาะองค์กรที่ดำเนินงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และการพัฒนาจิตใจ รวมทั้งสร้างมาตรการจูงใจให้ภาคธุรกิจ เอกชนที่ดำเนินการเกี่ยวกับกีฬา ดนตรี และศิลปะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก เยาวชน และประชาชน

3.4 ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและเกิดความภาคภูมิใจที่จะอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ค่านิยมที่ดีงามและภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่นและนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิด ประโยชน์อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

3.5 ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนมีความภาคภูมิใจที่จะร่วมกันอนุ รักษ์ ฟื้นฟูและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ค่านิยมอันดีงาม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

3.6 ส่งเสริมให้สื่อทุกรูปแบบเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาจิตใจโดยผลิตรายการที่มีเนื้อหาสาระ และจัดช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศาสนาและการพัฒนาจิตใจมากขึ้น รวมทั้งกระตุ้น ให้ผู้ปฏิบัติงานและองค์กรสื่อมวลชนมีจิตสำนึกต่อสังคมส่วนรวมมากขึ้น

บทที่ 4
การพัฒนาสติปัญญา ทักษะ และฝีมือแรงงาน

การพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมเด็กปฐมวัย ไปจนตลอดชีวิต ให้สามารถคิด วิเคราะห์บนหลักของเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีโลกทัศน์กว้าง สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และสามารถเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ ตลอดจนมีประสิทธิภาพ ในกระบวนการผลิตสูงขึ้น และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ นั้น มีแนวทางการพัฒนาหลักดังนี้

1. การเตรียมความพร้อมเด็กปฐมวัย โดย

1.1 สนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชน คู่สมรส พ่อและแม่ มีความรู้เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวและวิธีการ เลี้ยงลูกที่ถูกต้องเหมาะสม โดยมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน

1.2 สนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียนได้รับบริการการเตรียมความพร้อมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ศูนย์พัฒนาเด็ก สถานรับเลี้ยงเด็กในที่ทำงานและในสถานประกอบการ โดยดำเนินการร่วมกันระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และครอบครัว

1.3 สนับสนุนให้เด็กทุกคนได้รับการส่งเสริมด้านโภชนาการอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ

2. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดย

2.1 ปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้าง สรรค์ รู้จักการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมและมีการฝึกปฏิบัติจากประสบการณ์จริง พร้อมทั้งปรับปรุงเนื้อหา สาระวิชาและกระบวนการเรียนรู้ในวิชาสำคัญที่เป็นนโยบายเร่งด่วน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา และคอมพิวเตอร์ ควบคู่กับจัดให้มีสื่อและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเพียงพอ ตลอดทั้งการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม

2.2 ส่งเสริมการจัดกิจกรรมนักเรียน นักศึกษา ที่มีปฏิสัมพันธ์กับสังคมและการปรับปรุงเนื้อหาสาระ ของหลักสูตรให้มีลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับการส่งเสริมให้มีตำราและเอกสารวิชาการที่หลากหลาย

2.3 กระตุ้นและสนับสนุนการค้นคว้าหาความรู้ผ่านหนังสือและแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน ควบคู่กับ การใช้มาตรการภาษีสนับสนุนให้มีหนังสือ อุปกรณ์สร้างเสริมการเรียนรู้และอุปกรณ์กีฬาที่มีคุณภาพและ ราคาถูก

2.4 ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่ให้ทางเลือกหลากหลายตามความเหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการถ่ายโอนหน่วยกิตที่เชื่อมต่อได้ทุกระดับ และส่งเสริมการศึกษาเพื่อการอ่านออกเขียนได้ โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายสตรีที่ด้อยโอกาส

2.5 สนับสนุนการกระจายอำนาจการจัดทำหลักสูตรไปสู่ท้องถิ่นอย่างจริงจังโดยให้ครูและชุมชนมีบท บาทในการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความสมดุล และสัมพันธ์กันทั้งหลักสูตรที่เน้นความเป็นสากลบนฐานของ ความเป็นไทย หลักสูตรเลือกที่เน้นความสนใจของผู้เรียน และหลักสูตรท้องถิ่นที่เน้นภูมิปัญญาชาวบ้านและ สภาพแวดล้อมของชุมชน

2.6 สนับสนุนให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการค้นคว้า การวิจัย การสาธิต การสอน และแนะนำวิธีการปฏิบัติต่อเด็กปัญญาเลิศและเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ตลอดจนการจัดกลุ่ม โรงเรียนและกำหนดโรงเรียนที่เป็นศูนย์ประสานการส่งเสริมพัฒนาการและการให้คำปรึกษาแก่ครูและผู้ ปกครอง

2.7 ปรับปรุงระบบการวัดสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาให้สามารถสะท้อนจุดประสงค์ของหลักสูตรโดยรวม ควบคู่กับการปรับปรุงระบบการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น ให้สามารถสะท้อนความถนัดและ ความสนใจอย่างแท้จริง

2.8 ปฏิรูประบบการผลิตและการพัฒนาครูอาจารย์

(1) สร้างปัจจัยและโอกาสให้คนดีคนเก่งเข้าสู่วิชาชีพครูอาจารย์เช่น การปรับปรุงระบบการคัดเลือก ผู้รับทุน การปรับปรุงระบบตำแหน่ง การเปิดโอกาสให้แสดงความสามารถอย่างอิสระ ควบคู่กับการปรับปรุง กระบวนการเรียนการสอนและเนื้อหาสาระให้ครูอาจารย์เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้าง สรรค์ และมีการทดลองปฏิบัติจริงมากขึ้น

(2) เร่งรัดให้มีการพัฒนาครูอาจารย์ และบุคลากรด้านการฝึกอบรมทุกคนอย่างต่อเนื่อง ตลอดทั้งพัฒนา ให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพในการแบ่งเบาภาระและสนับสนุนการปฏิบัติงาน

(3) สร้างจิตสำนึกและส่งเสริมขวัญกำลังใจในการทำงานของครูอาจารย์ โดยการสร้างทางเลือกและ ความก้าวหน้าในวิชาชีพที่เปิดกว้างหลากหลายให้การยกย่องเกียรติคุณ ตลอดทั้งประเมินการสอนเพื่อนำไป ประกอบการส่งเสริมความก้าวหน้าและสวัสดิการต่าง ๆ

3. การพัฒนาคนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและการพึ่งตนเองทางเทคโนโลยีมากขึ้น ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ โดย

3.1 การพัฒนาคุณภาพและปริมาณกำลังคนระดับกลางและระดับสูงไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและ มีมาตรฐาน

(1) ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีเอกภาพในเชิงนโยบาย มีอิสระในการบริหารจัดการ มีการกำหนด มาตรฐานขั้นต่ำเพื่อเป็นแนวทางของการผลิตบัณฑิตทั้งภาครัฐและเอกชน ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบประกัน คุณภาพการศึกษาที่ชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้จากทั้งภายในและภายนอกมากขึ้น

(2) พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ

ตลอดทั้งการรวมกลุ่มคณาจารย์สาขาขาดแคลนเพื่อเป็นทรัพยากรด้านการเรียนการสอนร่วมกัน ทั้งภาครัฐ และเอกชน

(3) สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการสอนทางไกล เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนอาจารย์และสนับ สนุนการกระจายโอกาสการอุดมศึกษาไปยังภูมิภาคอย่างมีคุณภาพตามความพร้อมของแต่ละสถาบันการศึกษา

(4) เร่งรัดและขยายการผลิตวิศวกร ช่างเทคนิค ช่างฝีมือ และบุคลากรในสาขาขาดแคลนอื่น ๆ เช่น บัญชี การเงินการธนาคาร และการประกันภัยโดยเน้นการฝึกปฏิบัติมากขึ้น พร้อมทั้งใช้กลไกราคามากำหนด ต้นทุนการฝึกอบรมในสาขาที่ตลาดแรงงานมีความต้องการสูง

3.2 การเสริมสร้างศักยภาพคนด้านการวิจัยและพัฒนา

(1) สนับสนุนให้มีการสร้างองค์ความรู้และฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานอย่างกว้างขวาง

(2) สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการวิจัยและการสังเคราะห์งานวิจัยอย่างกว้างขวางทั้งการวิจัยด้าน สังคมศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่มีความสัมพันธ์กับธุรกิจอุตสาหกรรมมากขึ้น

(3) ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างทีมนักวิจัยและเครือข่ายการวิจัยที่เชื่อมโยงกับนักวิจัยต่างประเทศ

(4) พิจารณาปรับปรุงกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเข้ามาในราชอาณาจักรและการทำ งานของคนต่างประเทศในราชอาณาจักรเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ หรือการให้ชาวต่างประเทศเข้ามาช่วยเหลือการพัฒนากำลังคนสาขาขาดแคลนในประเทศไทย

3.3 การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของกำลังแรงงานให้สามารถเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ

(1) ยกระดับความรู้พื้นฐานของคนงานในสถานประกอบการทุกแห่งให้มีความรู้ขั้นต่ำอย่างน้อยระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นด้วยวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมการใช้สื่อทุกรูปแบบในการเพิ่มศักยภาพของกำลังแรง งานที่อยู่ในเขตชนบทห่างไกล

(2) สนับสนุนการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานให้มีประสิทธิภาพและสามารถชี้นำการผลิต กำลังคนได้ตามความต้องการของตลาดแรงงาน

(3) พัฒนาระบบการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกำลังแรงงานที่มีความประสงค์จะประกอบอา ชีพในภาคเกษตรกรรมและกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนอาชีพจากภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการ อื่น ๆ

(4) ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมทักษะในด้านบริหารจัดการและทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ผู้ ประกอบการ กลุ่มผู้นำทางธุรกิจในชุมชน กลุ่มสหกรณ์ กลุ่มสตรี ตลอดทั้งการเพิ่มศักยภาพในการประกอบ อาชีพอิสระและการรับช่วงเหมาแก่แรงงานที่ไม่สามารถกลับเข้าสู่ระบบการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมและ บริการสาขาต่าง ๆ

(5) สนับสนุนการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรด้านการฝึกอบ รมในสาขาต่าง ๆ ให้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์สูงขึ้น

(6) ขยายงานด้านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานสาขาต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐานสากลอย่างเพียงพอ และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

4. การปรับปรุงระบบการบริหารจัดการการศึกษาและฝึกอบรมให้มีประสิทธิภาพ โดย

4.1 สนับสนุนการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาทุกระดับให้มีความคล่องตัว และเปิดโอกาสให้ครอบ ครัว ชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการการศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรมทั้งในกระบวนความ คิดและการปฏิบัติที่ทุกฝ่ายเข้ามาเรียนรู้ร่วมกัน ทำงานด้วยกันและติดตามประเมินผลร่วมกัน พร้อม ๆ ไปกับ การผ่อนคลายกฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ

4.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการวางแผนในลักษณะแผนงานที่มีเครือข่ายการดำเนินงานที่เชื่อมโยงประ สานกันอย่างชัดเจน ให้เป็นกรอบและแนวทางในการประสานการปฏิบัติงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อลดปัญหาความซ้ำซ้อนและเป็นการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ

4.3 สนับสนุนบทบาทของภาคเอกชน และองค์กรประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และฝึกอบรมทักษะฝีมือแรงงานอย่างมีคุณภาพในปริมาณที่เพิ่มขึ้นทุกระดับ โดยทบทวนบทบาทและนโยบาย ของรัฐให้เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนอย่างเหมาะสม ควบคู่กับการเร่งรัดและประชาสัมพันธ์กองทุน เงินกู้เพื่อจัดตั้งสถาบันการศึกษาและการฝึกอบรมโดยภาคเอกชน รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบและลดขั้นตอน การดำเนินงานให้จูงใจภาคเอกชนมากขึ้น

4.4 สนับสนุนการนำกลไกตลาดมาใช้ในการผลิตกำลังคนอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการปรับปรุง ระบบการให้ทุนการศึกษาและการเร่งรัดให้เงินกู้เพื่อการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนให้กว้างขวาง ยิ่งขึ้น

4.5 ส่งเสริมและสนับสนุนการระดมพลังจากทุกส่วนในสังคมเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

(1) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของผู้ทำหน้าที่ผลิตและเผยแพร่สื่อทุกชนิด ตลอดจนการแลกเปลี่ยน ข่าวสารเพื่อการนำไปเผยแพร่อย่างถูกต้อง

(2) สนับสนุนการจัดเครือข่ายการเรียนรู้ โดยพัฒนาความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน และองค์ การบริหารส่วนท้องถิ่นในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนอย่างจริงจัง

(3) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง โดยการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศทั้งด้าน เศรษฐกิจและสังคมให้ทันสมัยและถูกต้อง สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายได้ทั้งระดับชาติ ระดับจังหวัด และ ระดับชุมชน

บทที่ 5
การพัฒนาสุขภาพและพลานามัย

การเสริมสร้างโอกาสให้คนไทยทุกคนเป็นผู้ที่มีสุขภาพพลานามัยที่ดี มีความรู้ความเข้าใจและตระ หนักถึงความสำคัญของการป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว ควรมีแนวทางการ พัฒนาที่สำคัญ ดังนี้

1. การพัฒนาศักยภาพคนด้านสุขภาพและพลานามัย โดย

1.1 สนับสนุนให้มีบริการตรวจสุขภาพแก่คู่สมรสก่อนแต่งงาน ก่อนมีบุตรและสตรีที่อยู่ในระหว่าง ตั้งครรภ์ และใช้การวางแผนครอบครัวสำหรับป้องกันและคัดกรองโรคพันธุกรรม โรคติดต่อในครรภ์และ ความพิการแต่กำเนิด เพื่อให้ได้ทารกที่สมบูรณ์และเป็นการส่งเสริมสุขภาพทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์

1.2 ส่งเสริมบริการสุขภาพอนามัยเพื่อพัฒนาการของเด็กและคุณภาพชีวิตที่ดีของแม่ เช่น การให้ภูมิ คุ้มกันโรค การอนามัยแม่และเด็ก การให้อาหารเสริมต่าง ๆ เป็นต้น

1.3 ส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้และสร้างทัศนคติที่ถูกต้องแก่ประชาชนให้รู้จักการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคทั้งของตนเอง ครอบครัว และ ชุมชน ตลอดจนการดูแลรักษาเบื้องต้นสำหรับโรคง่าย ๆ และการดูแลผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน

1.4 สนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตอย่างเป็นองค์รวม ทั้งการสร้างความเข้มแข็ง ของครอบครัว การลดปัญหาการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ การแก้ไขปัญหายาเสพติดและการพัฒนา สภาพแวดล้อมของสังคม

1.5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนมีสิทธิรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันเป็นประ โยชน์ต่อสุขภาพและสามารถเลือกบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัย

1.6 ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนงาน โดยใช้มาตรการทางกฎหมาย หรือสิ่งจูงใจต่าง ๆ ให้นาย จ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการได้มีการลงทุนในการพัฒนามาตรการป้องกันอุบัติเหตุและอุบัติภัยใน การทำงานและการจัดสถานที่สำหรับการเล่นกีฬาและการออกกำลังกายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการทำ งานที่เหมาะสมแก่คนงาน

1.7 สนับสนุนการรณรงค์ผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจและ สามารถดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ตลอดจนให้ได้รับบริการด้านฟื้นฟูสุขภาพ

1.8 ส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐ สถานประกอบการ ธุรกิจเอกชน และสถานศึกษาทุกระดับจัดกิจ กรรมการเล่นกีฬาและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอย่างกว้างขวางรวมทั้งส่งเสริมการลงทุนให้ภาคเอก ชนจัดบริการส่งเสริมสุขภาพในส่วนภูมิภาคมากยิ่งขึ้น

2. การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข โดย

2.1 การเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพ และการเข้าถึงบริการสาธารณสุข

(1) ปรับปรุงและพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขระดับล่าง ให้มีอุปกรณ์และเวชภัณฑ์เพียงพอ ตลอด ทั้งส่งเสริมให้มีการหมุนเวียนแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขไปประจำตามความเหมาะสมควบคู่กับการพัฒนา เครือข่ายและระบบการส่งต่อคนไข้กับสถานพยาบาลระดับจังหวัดมากขึ้น

(2) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาเครือข่ายการให้บริการระหว่างสถานพยาบาลของรัฐและระหว่างรัฐกับ เอกชน โดยเฉพาะการประสานการใช้ทรัพยากรร่วมกัน รวมทั้งการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนทางด้าน วิชาการ

(3) สนับสนุนให้ประชาชนมีหลักประกันด้านสุขภาพทั่วถึง โดยเน้นขยายความครอบคลุมไปสู่ประ ชาชนผู้มีรายได้น้อย ควบคู่กับการปรับปรุงและพัฒนาระบบประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ตลอดทั้งสนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อการปฏิรูประบบการประกันสุขภาพและสวัสดิการที่มีอยู่ให้เป็นเอกภาพ และเน้นความรับผิดชอบต่อประชาชนเป็นหลัก

(4) รณรงค์และกำหนดมาตรการสร้างแรงจูงใจให้สถานพยาบาลของรัฐ ปรับปรุงประสิทธิภาพและ คุณภาพของบริการ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนผู้ใช้บริการ โดยให้ได้รับความสะดวกและรวดเร็ว

(5) ส่งเสริมการลงทุน การวิจัยและพัฒนาและการปรับปรุงกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการพึ่งตนเองด้านการผลิตยา วัคซีนและสมุนไพร ตลอดจนพัฒนาเป็นสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อการส่งออก

(6) สนับสนุนการพัฒนาแพทย์แผนไทยให้สามารถผสมผสานในระบบสาธารณสุข โดยการพัฒนา องค์ความรู้และการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานของบุคลากรและสถาน บริการแพทย์แผนไทยเพื่อให้เป็นที่เชื่อถือ

2.2 การพัฒนาการผลิตและการกระจายบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

(1) ประสานการผลิตบุคลากรสาธารณสุขให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการผลิตบุคลากรสาธารณสุขให้มากขึ้น โดยมีกลไกควบคุม คุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพ

(2) พัฒนาเนื้อหาหลักสูตรการศึกษาและการอบรมบุคลากรสาธารณสุข โดยให้ความสำคัญกับการ ส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค รวมทั้งการปลูกฝังในเรื่องจรรยาบรรณและคุณธรรมสำหรับผู้ประกอบ วิชาชีพควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพและศักยภาพของบุคลากรสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้ ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม

(3) พัฒนากระบวนการฝึกอบรมบุคลากรประจำการในสาขาที่มีความขาดแคลนตามสภาพปัญหา สาธารณสุขใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ด้านอาชีวเวชศาสตร์ ด้านการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรัง ด้านเวชศาสตร์ การกีฬา เป็นต้น

(4) สนับสนุนให้มีการกระจายบุคลากรสาธารณสุขไปสู่ชนบท โดยการสร้างขวัญและกำลังใจ พร้อม ทั้งให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการแก่บุคลากรทุกระดับอย่างเหมาะสม

2.3 การพัฒนาและปรับปรุงระบบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์

(1) เสริมสร้างศักยภาพของประชากรกลุ่มทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะด้วยวิธีการต่าง ๆ ให้เหมาะ สม เพื่อให้เกิดความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงที่จะส่งผลต่อการแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์

(2) สร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมให้เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ อาทิ การ สร้างงานในชนบท การส่งเสริมให้มีการพักผ่อนหย่อนใจที่เหมาะสม การต่อต้านสื่อและการบันเทิงที่ยั่วยุทาง เพศ เป็นต้น

(3) ส่งเสริมสุขภาพและให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์อย่างทั่วถึงและเหมาะสม โดยเน้นการเสริม สร้างศักยภาพของบุคลากรในสถานพยาบาลทุกระดับ รวมทั้งสร้างศักยภาพของชุมชนและครอบครัวในการ ดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์

(4) ลดผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการติดเชื้อและป่วยด้วยโรคเอดส์ เช่น การฝึก อาชีพให้เป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับสภาพของผู้ติดเชื้อเอดส์ และการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้ป่วยโรค เอดส์และครอบครัวที่ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ เป็นต้น

2.4 การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาพและพลานามัย

(1) พัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี เช่น การสร้างสวนสาธาร ณะ การลดมลภาวะในสิ่งแวดล้อม การอาชีวอนามัย และการคมนาคมขนส่งที่ปลอดภัย เป็นต้น

(2) ปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ ที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี เช่น การควบคุม ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและรถยนต์ รวมทั้งการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เช่น การสวมหมวก กันน๊อค และการคาดเข็มขัดนิรภัย เป็นต้น

(3) ส่งเสริมการวิจัยเพื่อหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ และการสังเคราะห์งานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผลกระทบ ของสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพอนามัย ทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อใช้กำหนดแนวทางป้อง กันและแก้ไข

(4) ส่งเสริมการระดมทุนเพื่อการดูแลส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในชุมชน เช่น การจัดตั้งกองทุน ส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสภาพแวดล้อมมิให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นต้น

3.การปฏิรูประบบบริหารจัดการด้านสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพ โดย

3.1 ให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ โดยสนับสนุนด้านงบประมาณ บุคลากร และการปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานให้สอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ

3.2 ปฏิรูประบบบริหารจัดการสถานพยาบาลของรัฐให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และมีความ รับผิดชอบต่อสถานะสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น เช่น การปรับกฎระเบียบและวิธีการ งบประมาณที่เป็นอุปสรรคต่อความคล่องตัว การพัฒนาระบบบริหารแบบเอกชน การกระจายอำนาจการบริหาร จัดการและการจ้างเหมาเอกชน เป็นต้น

3.3 กำกับดูแลการใช้จ่ายด้านสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพ โดยกำหนดนโยบายด้านการเงินการคลัง เพื่อลดการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยลง โดยเฉพาะการนำเข้ายาและเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีราคาแพงเกินความจำเป็น

3.4 ส่งเสริมให้มีกลไกกำกับดูแลด้านคุณภาพและราคาของบริการสาธารณสุขทั้งของภาครัฐและเอกชน เช่น การกำหนดให้สถานพยาบาลแจ้งอัตราค่าบริการแต่ละชนิดให้ผู้ป่วยทราบล่วงหน้า และการสนับสนุนบท บาทของประชาชนหรือองค์กรอิสระในการตรวจสอบและดูแลด้านคุณภาพของบริการ และค่ารักษาพยาบาล ของสถานพยาบาล เป็นต้น

3.5 ส่งเสริมให้กระทรวงสาธารณสุขปรับบทบาทมาเป็นการพัฒนานโยบายและการกำกับดูแลให้หน่วย งานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ธุรกิจเอกชน องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์และองค์กรชุมชน มีการประ สานงานที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.6 สนับสนุนให้เกิดระบบการจัดการบริหารงานในลักษณะแผนงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานคุ้มครองผู้บริโภค งานส่งเสริมสุขภาพ งานโภชนาการ งานอาชีวอนามัยและสิ่ง แวดล้อม งานความปลอดภัยด้านเคมีวัตถุ และงานป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถดำเนินการ ไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.7 ส่งเสริมให้ประชาชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ ธุรกิจเอกชน นักวิชาการและ สื่อมวลชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาการสาธารณสุข โดยสนับสนุนให้เกิดกระบวนความคิดและการ ปฏิบัติที่ทุกฝ่ายเข้ามาเรียนรู้ร่วมกันจากการทำงานด้วยกัน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้าน สาธารณสุข และรณรงค์ในปัญหาที่มีความสำคัญอย่างกว้างขวาง

3.8 ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศ เพื่อนบ้านในเขตชายแดน รวมทั้งส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทางด้านวิชาการและบริการ เกี่ยวกับการแพทย์และสาธารณสุข

3.9 พิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์และองค์กรชุมชน เพื่อให้ สามารถดำเนินกิจกรรมด้านการพัฒนาสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้มีการประสานสอดคล้องกับ แนวนโยบายพัฒนาสาธารณสุขของชาติ

บทที่ 6 การพัฒนาประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาส


การเสริมสร้างโอกาสให้ประชาชนกลุ่มผู้ด้อยโอกาสกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ กลุ่มเด็กในภาวะยากลำบาก ซึ่งประกอบด้วย เด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ เด็กเร่ร่อนและเด็กที่ยากจนและไม่มีโอกาสศึกษาต่อ กลุ่ม เด็กและสตรีในธุรกิจบริการทางเพศและถูกประทุษร้ายทารุณต่าง ๆ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้สูงอายุที่ยากจนไม่มี ญาติหรือผู้เลี้ยงดู กลุ่มคนยากจนในเมืองและชนบท กลุ่มผู้ถูกคุมประพฤติและผู้ต้องขังและกลุ่มคนไทยต่าง วัฒนธรรม เช่น ชาวเขา ชาวเล เป็นต้น ได้รับการช่วยเหลือคุ้มครองและได้รับบริการทุกด้านอย่างทั่วถึงและ เป็นธรรม ควรมีแนวทางการพัฒนาดังนี้

1. การพัฒนากลุ่มเด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบาก โดย

1.1 เร่งรัดการกำหนดอายุขั้นต่ำของแรงงานเด็กจาก 13 ปี เป็น 15 ปี ให้มีผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว ตลอดจนให้มีการกำหนดมาตรการในการคุ้มครองและให้สวัสดิการที่เหมาะสมแก่แรงงานเด็กในภาคเกษตร กรรมและแรงงานเด็กที่อยู่นอกระบบ

1.2 ส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับแรงงานเด็กแก่ผู้นำชุมชนและผู้นำสหภาพแรงงาน เพื่อให้มีส่วน ช่วยเฝ้าระวัง ดูแลป้องกัน และรายงานการใช้แรงงานเด็กที่ผิดกฎหมายหรือละเมิดสิทธิของเด็กที่ใช้แรงงาน

1.3 สนับสนุนให้นายจ้างจัดหรือปรับปรุงสวัสดิการให้เหมาะสมแก่แรงงานเด็กอย่างต่อเนื่อง โดย เฉพาะในด้านการศึกษา การพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพ นันทนาการ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต

1.4 พัฒนาวิธีและกระบวนการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กเร่ร่อนให้มีประสิทธิภาพและเป็นระบบครบ วงจรมากขึ้น โดยระดมความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชนและสนับสนุนให้สถาบันศาสนาเข้ามามีบทบาท มากขึ้น

1.5 สนับสนุนให้มีระบบข้อมูลเกี่ยวกับเด็กในภาวะยากลำบากประเภทต่าง ๆ ที่ถูกต้อง ทันสมัย และ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง

1.6 ศึกษาแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กและให้มีมาตรการ ในการป้องกันแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเด็กอย่างครอบคลุมทุกด้าน

1.7 เสริมสร้างทัศนคติและปรับปรุงวิธีการทำงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐให้มีประสิทธิภาพและเอื้ออำนวย ประโยชน์ต่อเด็กในภาวะยากลำบากมากขึ้น เช่น การแก้ไขปัญหาด้านหลักฐานประกอบการศึกษาของเด็กเร่ร่อน รูปแบบ และวิธีการสืบสวนและตัดสินคดีที่เด็กเป็นผู้เสียหายหรือก่อให้เกิดความเสียหาย เป็นต้น

1.8 เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ชุมชนและโรงเรียนยอมรับและปฏิบัติต่อเด็กที่มาจากครอบครัวที่ มีการติดเชื้อหรือมีผู้ป่วยโรคเอดส์เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป และสนับสนุนให้ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันศาสนา และชุมชน ร่วมสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตแก่เด็กเหล่านี้ โดยไม่ต้องตรวจหาภาวะการติดเชื้อในตัวเด็ก เสียก่อน

1.9 เสริมสร้างศักยภาพของครอบครัว เครือญาติและชุมชนให้สามารถดูแลสุขภาพและรู้จักวิธีการ พยาบาลเบื้องต้นแก่เด็ก ในกรณีทราบภาวะการติดเชื้อเอดส์และมีอาการเจ็บป่วยเป็นครั้งคราว โดยเน้นการ วางแผนบริการเด็กร่วมกันระหว่างครอบครัวและสถานบริการหรือองค์กรเอกชน

1.10 พัฒนากระบวนการช่วยเหลือและส่งเสริมให้เด็กในชนบทที่ยากจนและเด็กในภาวะยากลำบาก ได้มีโอกาสศึกษาต่อหรือฝึกทักษะในการประกอบอาชีพตามความต้องการและศักยภาพของแต่ละกลุ่มเป้า หมาย รวมทั้งทรัพยากรของแต่ละท้องถิ่น

1.11 สนับสนุนการพัฒนาอาชีพแก่เยาวชนชนบทอย่างเป็นระบบ โดยจัดบริการข้อมูลเกี่ยวกับโอกาส การประกอบอาชีพ รวมทั้งการพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์และการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเลือกอาชีพได้ อย่างเหมาะสม

2. การพัฒนากลุ่มเด็กและสตรีในธุรกิจบริการทางเพศและถูกประทุษร้ายทารุณต่าง ๆ รวมทั้งสตรีที่ถูกเลือก ปฏิบัติและมีอคติทางเพศ โดย

2.1 สนับสนุนการจัดตั้งข่ายงานองค์กรประชาชนระดับต่าง ๆ โดยเฉพาะระดับหมู่บ้าน เพื่อสำรวจ เฝ้าระวัง ติดตาม ป้องกันและให้ความช่วยเหลือมิให้เด็กและสตรีถูกชักจูงหรือล่อลวงไปประกอบอาชีพธุรกิจ บริการทางเพศ

2.2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อปรับเปลี่ยนค่านิยมที่มีส่วนส่งเสริมธุรกิจบริการ ทางเพศ รวมทั้งสร้างปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีโดยผ่านระบบสื่อสารมวลชนและการสอดแทรกเรื่อง ครอบครัวศึกษาไว้ในการเรียนการสอนทุกระดับ

2.3 สนับสนุนการจัดบริการที่เป็นระบบครบวงจร เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ที่อยู่ ในธุรกิจบริการทางเพศในเรื่องผลกระทบของการประกอบอาชีพ การดูแลรักษาสุขภาพอนามัย การให้บริการ แนะแนวและฝึกอบรมอาชีพ รวมทั้งการจัดหางานและเงินทุนประกอบอาชีพสำหรับผู้ที่ต้องการจะเลิกอาชีพ ธุรกิจทางเพศ โดยใช้รูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่

2.4 สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อขจัดอคติทางเพศและการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ให้เป็นไป ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี และดำเนินการตามปฏิญญาปักกิ่งและแผน ปฏิบัติการว่าด้วยความก้าวหน้าของสตรีขององค์การสหประชาชาติ

2.5 สกัดกั้นมิให้มีการล่อลวงหรือนำเด็ก สตรีไทยและต่างชาติออกไปและเข้ามาเพื่อประกอบธุรกิจ บริการทางเพศ โดยเฉพาะเส้นทางที่เชื่อมกับพื้นที่ชายแดน

2.6 ให้ความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาธุรกิจทางเพศแก่พ่อแม่และผู้ปกครอง

3. การพัฒนากลุ่มคนพิการ โดย

3.1 ให้มีการป้องกันความพิการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ค้นหาเฝ้าระวังความพิการตั้งแต่ก่อนคลอด ระหว่างคลอด หลังคลอด ตลอดจนความพิการภายหลังและสนับสนุนงานศึกษาวิจัยถึงสาเหตุและการป้อง กันความพิการ โดยใช้หน่วยงานเดิมที่มีอยู่แล้วเป็นหลักในการประสานงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.2 ส่งเสริมให้มีการจัดฝึกอบรม เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ครอบครัว ชุมชน และผู้ที่ เกี่ยวข้อง ในเรื่องการป้องกัน ช่วยเหลือ ฟื้นฟูและพัฒนาคนพิการให้สามารถพึ่งตนเองได้ รวมทั้งรณรงค์ สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนและชุมชนให้มีทัศนคติที่ดีและการยอมรับความเท่าเทียมต่อคนพิการ พร้อมทั้งการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้คนพิการเข้าใจในสถานภาพของตนและสังคมได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง

3.3 สนับสนุนให้คนพิการได้รับบริการทางการแพทย์และการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องและกว้าง ขวาง โดยเน้นจัดบริการให้การรักษาพยาบาลแบบให้เปล่าแก่คนพิการที่ยากจน

3.4 ส่งเสริมให้คนพิการได้รับบริการการศึกษาในทุกระดับ โดยเน้นการเรียนร่วมในโรงเรียนปกติ ส่วนการศึกษาพิเศษนั้นให้มีเฉพาะเท่าที่จำเป็น

3.5 ให้มีบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการด้านอาชีพ โดยเน้นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาด แรงงานหรือประกอบอาชีพอิสระ โดยเฉพาะเด็กพิการด้อยโอกาสในชนบท

3.6 ปรับปรุง แก้ไขกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและการดำเนินงานให้เอื้อต่อการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ การสงเคราะห์ การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการจัดสวัสดิการสังคมให้ครอบคลุมคนพิการทุกประเภททั้งใน เมืองและชนบท พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ

3.7 ส่งเสริมการรวมตัวของคนพิการในทุกระดับเพื่อช่วยเหลือกันเองและสนับสนุนองค์กรที่ทำหน้า ที่พัฒนาคนพิการทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเสริมงานบริการของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้สามารถพัฒนา คนพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3.8 สนับสนุนครอบครัวที่มีคนพิการหรือเจ็บป่วยเรื้อรังให้ได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนและบริการ ของภาครัฐและเอกชนอย่างเหมาะสมทันการและทั่วถึง

3.9 จัดสวัสดิการสังคม โดยให้เบี้ยยังชีพแก่คนพิการที่มีสภาพความพิการรุนแรงจนไม่สามารถฟื้นฟู สมรรถภาพตามกระบวนการที่มีอยู่ได้

4. การพัฒนากลุ่มผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู โดย

4.1 จัดสวัสดิการสงเคราะห์โดยเพิ่มเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดูให้มากขึ้น รวม ทั้งขยายบริการรักษาพยาบาลโดยไม่คิดมูลค่า ตลอดจนลดหย่อนค่าโดยสารสำหรับพาหนะเดินทางทุกประเภท และบริการสาธารณะต่าง ๆ ให้ครอบคลุมอย่างทั่วถึงทั้งในเมืองและชนบทในรูปแบบที่เหมาะสม

4.2 ส่งเสริมให้ครอบครัวเห็นความสำคัญและเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุ ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว รวมทั้งพิจารณาให้สิ่งจูงใจแก่บุตรหรือญาติที่ดูแล ผู้สูงอายุที่ยากจน

4.3 สนับสนุนให้สถานพยาบาลเอกชน องค์กรภาคเอกชน องค์กรศาสนาและชุมชน เข้ามามีส่วนช่วย เหลือดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบต่าง ๆ พร้อมทั้งกำหนดให้มีมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริม กำกับและดู แลหน่วยงานภาคธุรกิจเอกชนที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุให้มีการดำเนินงานและจัดบริการตามมาตรฐาน ขั้นต่ำที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้ใช้บริการ

4.4 ส่งเสริมให้มีองค์กรหลักที่ทำหน้าที่รับผิดชอบงานด้านผู้สูงอายุที่เป็นเอกภาพ โดยทำหน้าที่วาง แผนรวบรวมข้อมูลและประสานการดำเนินงานอย่างเป็นเครือข่ายไปในทิศทางเดียวกัน

5. การพัฒนากลุ่มคนยากจนในเมืองและชนบท โดย

5.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กยากจนในเมืองและชนบทมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น กรณีพิเศษ โดยการจัดสรรทุนเล่าเรียน การให้เงินอุดหนุนแก่ครอบครัวเพื่อทดแทนค่าเสียโอกาสในการส่ง เด็กเข้าเรียนต่อ และการพัฒนารูปแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

5.2 ส่งเสริมการจัดตั้งและพัฒนาองค์กรประชาชนและกองทุนในท้องถิ่นชนบทในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อระดมทุนในท้องถิ่นมาช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาของคนในชุมชน

5.3 ปรับสภาพแวดล้อมในชุมชนแออัดให้เหมาะสมและขยายบริการสังคมให้เข้าถึงชุมชนอย่างกว้าง ขวาง รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคในสังคมเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคเอดส์และการป้องกันปัญหา มลพิษ

5.4 ส่งเสริมให้คนในชุมชนชนบทโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย สามารถประกอบกิจการอุตสาหกรรม ครัวเรือนและอุตสาหกรรมชุมชนขนาดเล็กและกลางได้

6. กลุ่มผู้ถูกคุมประพฤติและผู้ต้องขัง โดย

6.1 เสริมสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่องในรูปแบบที่เหมาะสมทั้งทาง ด้านการศึกษา ฝึกอาชีพ การมีงานทำและมีรายได้ในระหว่างและหลังการถูกคุมขังและถูกคุมประพฤติ รวม ทั้งมีโอกาสไปทำงานบริการชุมชนที่จะมีส่วนเสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม

6.2 สนับสนุนให้ภาคธุรกิจเอกชน องค์กรประชาชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐ ในการ พัฒนาระบบงานและดำเนินการฟื้นฟู พัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ถูกคุมประพฤติและผู้ต้องขัง ในทุกรูปแบบมากขึ้น

7. การพัฒนากลุ่มคนไทยต่างวัฒนธรรม โดย

7.1 เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้มีทักษะในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพโดยผ่านระบบการ ศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียนให้สามารถดำรงชีวิตและประกอบอาชีพในชุมชนของตนเองได้อย่าง ยั่งยืนและไม่สร้างผลกระทบทางลบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7.2 เร่งรัดพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยต่างวัฒนธรรมให้ได้รับสัญชาติ การรับรอง สิทธิทางกฎหมาย การคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานด้านการ ศึกษาสาธารณสุข และสาธารณูปโภคอย่างเพียงพอ รวมทั้งการเร่งรณรงค์ให้มีการวางแผนครอบครัวและ ป้องกันโรคเอดส์อย่างทั่วถึง

7.3 สนับสนุนการศึกษาวิจัยและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคนไทยต่างวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบและ ต่อเนื่อง รวมทั้งนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนและปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับวิถี ชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละกลุ่มอีกด้วย

CONTACT
Email me at pisitp@yahoo.com for your comment and/or discussions.

This page hosted by   Get your own Free Home Page 1