PsTNLP

Pisit' s Thai Natural Language Processing Laboratory
This lab is formed since 26-August-1998
e-mail pisitp@yahoo.com
Back to PsTNLP home page

ส่วนที่ 3
การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม ให้ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคน

การกำหนดให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา นอกจากจะให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของ คนแล้ว ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงระบบ กลไก และสภาพแวดล้อมของสังคมให้ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา คน โดยการสร้างให้คนมีโอกาสเข้าถึงศักยภาพของตนเอง และเป็นทั้งส่วนเสริมให้การพัฒนาศักยภาพของคน ดำรงอยู่ตลอดไป

การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมของสังคมที่พึงปรารถนา จะต้องส่งเสริมให้วัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาศักยภาพของคนและเป็นพลังในการพัฒนาประเทศในลักษณะบูรณาการ การเสริมสร้างความ อบอุ่นและความเข้มแข็งของชุมชน ครอบครัว การพัฒนาบริการโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมให้ ครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม การพัฒนาระบบความยุติธรรมและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ตลอดจนสร้างหลักประกันต่าง ๆ ทางสังคม เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยถ้วนหน้า

บทที่ 1
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์

ผลการพิจารณาสภาพแวดล้อมของสังคมในระยะที่ผ่านมา และแนวโน้มในอนาคตควบคู่กับผลกระทบ จากอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จึงเห็นสมควรเสริมสร้างสภาพแวดล้อมของ สังคมให้เข้มแข็งเพียงพอที่จะส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของคน โดยมีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ ที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้

1. วัตถุประสงค์

1.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของครอบครัวและชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้และให้เอื้อต่อการพัฒนาคน รวมทั้งสร้างโอกาสให้คน ครอบครัว ชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง ตลอดจนมีส่วนดูแล ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น

1.2 เพื่อพัฒนากลไก และระบบความมั่นคงทางสังคมอย่างครบวงจรเพื่อเป็นหลักประกันด้านต่าง ๆ แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

1.3 เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในระบบการอำนวยความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ ตลอดจนพัฒนาประสิทธิภาพของระบบความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่ประชาชนทุกกลุ่ม อย่างทั่วถึง

1.4 เพื่อส่งเสริมให้วัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคนและพัฒนาประเทศให้สมดุล ยั่งยืน รวมทั้งเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของคนและชุมชนในการรักษาและสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับ ชาติและระดับท้องถิ่นเพื่อให้เป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจของประชาชน

2. เป้าหมาย

2.1 ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และคู่สมรส มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตครอบครัว การ มีบทบาทเป็นพ่อแม่ที่ดีและมีคุณภาพ การแบ่งภาระรับผิดชอบในครอบครัว รวมทั้งการอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่าง อบอุ่นและใกล้ชิด

2.2 ขยายการจัดสวัสดิการสังคมและสวัสดิการแรงงานให้ครอบคลุมประชาชน และแรงงานในกลุ่ม ต่าง ๆ ให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น

2.3 ลดอัตราการประสบอันตรายจากการทำงาน และลดจำนวนการเกิดอุบัติภัยต่าง ๆ โดยเฉพาะการ จราจร การขนส่งวัตถุเคมีอันตราย และอัคคีภัยในอาคารสูง

2.4 ขยายการดำเนินงานด้านการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิประชาชน โดยเฉพาะสิทธิเด็กและสตรี

2.5 เพิ่มการผลิตและเผยแพร่สื่อสาระที่มีคุณภาพอย่างกว้างขวาง รวมทั้งควบคุมสื่อที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม

2.6 เพิ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการในสถาบันทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ เช่น พิพิธภัณฑ์สถาน โบราณสถาน หอสมุด ศูนย์วัฒนธรรม ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไม่ต่ำกว่าเท่าตัว

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม

การที่จะพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพคนและคุณภาพชีวิตของประชา ชนทุกกลุ่มนั้น ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

3.1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน โดยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และการ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของครอบครัวและชุมชนการปรับบทบาทของรัฐโดยการสนับสนุนให้ครอบครัวและ ชุมชนพัฒนาตนเอง และการสร้างหลักประกันทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะสนับสนุนให้ครอบครัวและชุม ชนเข้ามามีบทบาทในกระบวนการพัฒนามากขึ้น

3.2 การพัฒนาระบบความมั่นคงทางสังคม โดยการขยายหลักประกันทางสังคมให้ครอบคลุมประชา ชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น การปรับปรุงระบบสวัสดิการแรงงาน การคุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ และ ความปลอดภัยในการทำงานให้ได้มาตรฐานการพัฒนาระบบบริหารงานด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์ สินและกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรม จากการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

3.3 การเสริมสร้างวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา โดยการสนับสนุนเวทีวัฒนธรรมในรูปแบบหลากหลาย การเพิ่มโอกาสและทางเลือกให้ประชาชนสามารถเลือกรับวัฒนธรรมที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตของตน เอง รวมทั้งการรณรงค์ส่งเสริมให้ตระหนักถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม ตลอด จนการส่งเสริมบทบาทของสื่อมวลชน ภาคธุรกิจ และการดำเนินงานในลักษณะการมีส่วนร่วมของหลายฝ่าย

บทที่ 2
การเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน

การเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน รวมทั้งสร้างโอกาสให้คน ครอบครัวและชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีแนวทางการพัฒนาหลักดังนี้

1. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของคนในครอบครัวและชุมชน โดย

1.1 การปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน

(1) ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษาในทุกระดับมากขึ้น โดยการกระจายอำนาจทาง การศึกษาให้ชุมชนสามารถกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพความพร้อมและความ ต้องการของแต่ละท้องถิ่นภายใต้การกำหนดโครงสร้างและมาตรฐานทางคุณภาพของหน่วยงานภาครัฐอย่าง เป็นระบบ

(2) ปรับปรุงหลักสูตร ตำรา และอุปกรณ์การเรียนการสอนต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตของชุมชน ควบคู่กับการปลูกฝังให้เกิดความภาคภูมิใจและรักท้องถิ่นของตน และการเสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมสากล เช่น ความรู้ในภาษาต่างประเทศ ความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

(3) สอดแทรกความรู้เรื่องครอบครัวศึกษาและการเสริมสร้างทักษะชีวิตในหลักสูตรการเรียนการ สอนทุกระดับ โดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา รวมทั้งการพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องนี้อย่างถูกต้องและสามารถถ่ายทอดความรู้ในวงกว้างได้

(4) ส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลป วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม เพื่อสร้างศักยภาพความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน

(5) จัดเครือข่ายระดับชาติด้านวิชาการที่มีการทำงานเป็นอิสระโดยระดมความร่วมมือจากนักวิชา การและสถาบันต่าง ๆ ในการประสานแลกเปลี่ยนข้อมูล พัฒนาความรู้ และให้มีการเผยแพร่ผลงานเพื่อ นำไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจังในการกำหนดนโยบายและการปฏิบัติ

(6) ส่งเสริมให้มีการนำเอาศักยภาพของผู้สูงอายุที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว ชุมชนและสังคมส่วนรวม

1.2 การส่งเสริมการใช้สื่อสารมวลชนให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของครอบครัวและชุมชน

(1) สนับสนุนและกระตุ้นให้สื่อมวลชนเสนอสื่อที่สร้างสรรค์ชีวิตครอบครัวและชุมชน เช่น บทบาท ของการเป็นพ่อแม่ลูกที่ดี รวมถึงการแบ่งภาระรับผิดชอบในครัวเรือน ความรู้ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้มีพัฒ นาการตามวัย เป็นต้น

(2) พัฒนาและเผยแพร่สื่อที่มีคุณภาพ ถูกต้องและทันสมัยในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ ให้สามารถกระจายเข้าถึงชุมชนต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและกว้างขวาง

(3) สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนให้รู้จักเลือกรับและกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีที่ เข้ามาในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีโลกทัศน์สากลควบคู่ไปกับการรักษาคุณค่าความเป็นไทย โดยผ่านการศึกษา ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัยในรูปแบบต่าง ๆ

(4) ส่งเสริมสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการให้ความรู้เกี่ยวกับ สิทธิหน้าที่พื้นฐานของตนและสังคมในการรับบริการสังคม กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และข่าวสารต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนและสังคม

1.3 การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชนอย่างเป็นระบบ

(1) สนับสนุนการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างคนในชุมชนเดียวกันและ ระหว่างองค์กรชุมชนด้วยกันในทุกรูปแบบ โดยเน้นการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน ที่มีอยู่ และมีการรับรองวิทยฐานะของการเรียนรู้ดังกล่าว

(2) ส่งเสริมการดำเนินงานในลักษณะวิทยาลัยประชาคมที่ทำหน้าที่จัดการศึกษาและฝึกอาชีพแก่ประ ชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในชุมชนในรูปแบบที่หลากหลายตามความสนใจและความถนัดโดยไม่จำกัด พื้นฐานความรู้

(3) ส่งเสริมให้องค์กรทางสังคมทุกฝ่าย เช่น สถาบันครอบครัวสถาบันทางศาสนา สื่อมวลชน สถาบัน การศึกษาทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ฯลฯ เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งบทบาทของบ้าน วัด โรงเรียน

2. การส่งเสริมการรวมตัวของชุมชน โดย

2.1 การสนับสนุนการรวมกลุ่มของชุมชนในทุกรูปแบบ

(1) ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการรวมตัวของชุมชน ทั้งในเรื่องสิทธิ หน้าที่ บทบาทของ องค์กรชุมชน รวมทั้งทักษะในการพัฒนาองค์กรให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การบริหาร จัดการองค์กร การสร้างจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของชุมชนและการบำรุงรักษาสาธารณสมบัติและศิลปวัฒนธรรม ของชุมชน เป็นต้น

(2) สนับสนุนให้เกิดการรวมตัวของชุมชน โดยให้ความสำคัญกับการรวมตัวโดยสมัครใจในแต่ละ พื้นที่มากกว่าการชี้นำจากภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวมตัวเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมของชุมชนและการรวม ตัวของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เช่นคนพิการ ผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้สูงอายุ ฯลฯ

(3) ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษาใช้ความรู้และ ศักยภาพที่มีอยู่เพื่อพัฒนาท้องถิ่น เช่น การส่งเสริมธุรกิจชุมชน และการส่งเสริมการเกษตรด้วยเทคโนโลยี ที่เหมาะสม การฝึกอบรมผู้นำและอาสาสมัครเพื่อพัฒนาครอบครัวและชุมชน เป็นต้น

(4) สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชน ที่รัฐสมทบเงินทุนในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนมีอำนาจในการบริหารจัดการอย่างมีอิสระ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว

2.2 ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายชุมชนอย่างกว้างขวาง

(1) สนับสนุนให้องค์กรชุมชนทั้งในพื้นที่ใกล้เคียง จังหวัด ภาค และระหว่างภาค ประสานเครือข่าย การพัฒนาและแลกเปลี่ยนความรู้และร่วมมือกันทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนจัดการปัญหาของชุมชนร่วมกัน เช่น ปัญหาจราจร ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

(2) สร้างกลไกการประสานเครือข่ายการพัฒนาชุมชนระหว่างประชาชน องค์กรชุมชน หน่วยงานภาค รัฐและเอกชนทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลางอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งสร้างเครือข่ายข้อมูลระหว่างองค์กร ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารอย่างทั่วถึงและเป็นจริง

(3) สนับสนุนให้องค์กรชุมชนใช้กลไกทางสังคมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่นและเสริมสร้าง ความสามัคคีภายในชุมชน โดยให้มีการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม

3. การสร้างหลักประกันทางเศรษฐกิจแก่ครอบครัวและชุมชน โดย

3.1 การพัฒนาทักษะและโอกาสทางเศรษฐกิจของครอบครัวและชุมชน

(1) ส่งเสริมการฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่ โดย ให้โอกาสแรงงานหญิงชายอย่างเท่าเทียมกัน และปรับปรุงระบบข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน ตลาดผลผลิต และข้อมูลอื่น ๆ เช่น ข้อดีข้อเสียของอาชีพและการเดินทางไปทำงานต่างถิ่น กฎหมาย สัญญานิติกรรม เป็น ต้น ให้มีความทันสมัยและกระจายไปถึงประชาชนในทุกพื้นที่อย่างกว้างขวาง

(2) สนับสนุนอุตสาหกรรมครัวเรือนและอุตสาหกรรมชุมชนที่มีความสอดคล้องกับความพร้อมและ ความต้องการของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งส่งเสริมการประกอบอาชีพที่มีความมั่นคง มีรายได้ที่แน่นอน โดยไม่ ทำลายบทบาทและความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว

3.2 การส่งเสริมให้ธุรกิจเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและ ชีวิตครอบครัว

(1) รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ประกอบการธุรกิจภาคเอกชนในการปรับเปลี่ยนแนว คิดการบริหารธุรกิจจากการมุ่งเน้นการสร้างกำไรในระยะสั้นเป็นหลักเพียงอย่างเดียวไปสู่การลงทุนเพื่อพัฒนา สังคมควบคู่กันไป

(2) สร้างสิ่งจูงใจทางมาตรการการเงินและการคลังให้ธุรกิจเอกชนเข้ามาช่วยฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

การผลิต การจำหน่าย และการจัดการตลาดอย่างเป็นระบบครบวงจร โดยเน้นการเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามา มีส่วนร่วมจัดการในทุกขั้นตอนและสามารถพัฒนาให้เป็นธุรกิจที่ชุมชนเป็นเจ้าของเองได้ในที่สุด

(3) สนับสนุนและกระตุ้นให้สถาบันการเงินเอกชนจัดระบบสินเชื่อเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของครอบ ครัวและชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ

4. การสร้างหลักประกันความมั่นคงทางสังคมแก่ครอบครัวและชุมชน โดย

4.1 การจัดและพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมที่มีคุณภาพอย่างกว้างขวางและทั่วถึง

(1) พัฒนาระบบประสานงานการให้บริการแก่ครอบครัวในรูปแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งตอบสนองความต้อง การด้านต่าง ๆ ในแต่ละชุมชน เช่น การจัดบริการดูแลเด็กและผู้สูงอายุ การให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและการ ให้ความรู้เกี่ยวกับชีวิตการครองเรือน เป็นต้น

(2) จัดและปรับปรุงบริการพื้นฐานเพื่อสร้างหลักประกันให้แก่ประชาชนทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึง บริการอย่างเท่าเทียมกันทั้งในเมืองและชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดบริการเพื่อแก้ปัญหาชุมชนแออัด การบำบัดน้ำเสียและขยะ การแก้ปัญหาจราจร และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(3) จัดสวัสดิการสงเคราะห์และบริการฟื้นฟู บำบัด และพัฒนาแก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม เช่น ครอบครัวที่มีคนพิการ ครอบครัวที่มีผู้ป่วยเรื้อรังและทุพพลภาพ ครอบครัวมีแต่ผู้สูงอายุและเด็ก เป็นต้น โดยให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่มีหลักเกณฑ์ชัดเจน

4.2 การส่งเสริมบทบาทของครอบครัวและชุมชนในการจัดบริการสังคม

(1) ส่งเสริมบทบาทของครอบครัวและชุมชนในการจัดสวัสดิการชุมชนที่จะดูแลและเฝ้าระวังคนใน ครอบครัวและชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้เสี่ยงและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เช่น ครอบครัวที่ยากจนและไม่สามารถเข้า ถึงบริการของรัฐ ผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้สูงอายุและเด็กที่ถูกทอดทิ้ง เป็นต้น

(2) สร้างกลไกและระบบที่เอื้อต่อการส่งเสริมบทบาทของชุมชนในการตรวจสอบเพื่อพัฒนาบริการ สังคมให้ได้มาตรฐาน

(3) สนับสนุนให้ชุมชนเป็นแหล่งศูนย์กลางในการพัฒนาความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและ ชุมชน เช่น การจัดสวนสาธารณะ สนามกีฬาและบริการนันทนาการในชุมชน เพื่อให้สมาชิกมีกิจกรรมที่ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เป็นต้น

5. การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาครอบครัวและชุมชน โดย

5.1 การปรับปรุงระบบราชการให้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของสถาบันครอบครัว และชุมชน

(1) กระจายอำนาจการตัดสินใจและการบริหารงบประมาณจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น เพื่อให้ชุมชน เข้ามามีบทบาทในการวางแผนพัฒนาและบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ ได้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ศักยภาพ และความต้องการของแต่ละพื้นที่ โดยรัฐเข้าไปให้ความช่วยเหลือในกรณีที่ชุมชนยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ

(2) เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่น โดยปรับปรุงอัตราภาษีและค่าธรรมเนียมที่มุ่ง เน้นการจัดสรรให้ท้องถิ่นนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชนมากขึ้น รวมทั้งพัฒนาแหล่งสินเชื่อเพื่อการพัฒนา อื่น ๆ เช่น การจัดตั้งกองทุนพัฒนาเมือง กองทุนพัฒนาชนบท เป็นต้น

(3) กำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานพัฒนาครอบครัวและชุมชนอย่างเป็นองค์รวมร่วม กันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีหน่วยงานวิชาการให้การสนับสนุนใน เรื่องข้อมูลและความรู้ที่เป็นสหวิชาการทั้งในองค์ความรู้สากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น

(4) พัฒนาเจ้าหน้าที่ภาครัฐให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นองค์ รวม และความเข้าใจในการทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชน รวมทั้งทักษะในการนำทรัพยากรท้องถิ่นที่มี อยู่มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนามากขึ้น

(5) ศึกษาวิธีการจัดสรรงบประมาณให้เอื้ออำนวยต่อการทำงานร่วมกันของหน่วยงานต่าง ๆ โดย เฉพาะระหว่างองค์กรชุมชนกับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น รวมทั้งจัดทำโครงการนำร่องที่เน้นวิธีการจัด สรรงบประมาณในลักษณะงบอุดหนุนทั่วไปแก่หน่วยงานที่มีความพร้อมและได้รับการปรับปรุงโครงสร้าง เพื่อรองรับวิธีการดังกล่าว

(6) ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับให้เอื้อต่อการเปิดโอกาสให้ชุมชนได้ดำเนินงานตามบท บาทและสิทธิในการตัดสินใจบริหารจัดการกิจกรรมของชุมชน เช่น สิทธิในการตรวจสอบการจัดสรรที่ดิน ทำกิน รวมทั้งสนับสนุนให้มีการเปิดกว้างทางข้อมูลข่าวสารสาธารณะและสร้างวิถีประชาพิจารณ์อย่างเป็น ระบบ เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐได้ใกล้ชิดขึ้น

(7) สร้างระบบการติดตามประเมินผลด้านการพัฒนาครอบครัวและชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยที่องค์ กรชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อการวางแผนและการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่ง ขึ้น

5.2 ส่งเสริมให้องค์กรทางสังคมทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามากขึ้น

(1) กำหนดนโยบายด้านการลงทุนทางสังคมให้ชัดเจน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน ของภาคธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชนต่าง ๆ ให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มากขึ้น โดยใช้มาตรการทางด้านกฎหมาย ภาษีอากร การส่งเสริมการลงทุนทางสังคม การจัดตั้งกองทุน และอื่น ๆ

(2) พิจารณาลดหย่อนภาษีสินค้าที่มีส่วนสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต เช่น ของเด็กเล่น อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬาและสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็น เป็นต้น

(3) ประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการประสานเครือข่ายที่เป็นทางการของรัฐเข้ากับเครือข่ายการพัฒนาของชาวบ้าน

(4) ส่งเสริมให้สื่อมวลชนทำหน้าที่รณรงค์เผยแพร่ค่านิยมที่เหมาะสมต่อสังคมในวงกว้างและต่อ เนื่อง เช่น บทบาทความสัมพันธ์อันเหมาะสมระหว่างชายหญิง การขจัดอคติทางเพศและความรุนแรงใน ครอบครัว การป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำทารุณทางเพศต่อเด็ก เป็นต้น

(5) กำหนดกลไกที่จะเปิดโอกาสและให้อำนาจประชาชนและชุมชนเข้ามาตรวจสอบการทำงานของ ภาครัฐและนำข้อมูลต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ได้ด้วยตนเอง

บทที่ 3
การพัฒนาระบบความมั่นคงทางสังคม

การพัฒนาระบบความมั่นคงทางสังคมให้คนทุกคนได้รับบริการพื้นฐานทางสังคม สวัสดิการสังคม และสวัสดิการแรงงาน หลักประกันด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินและการทำงาน การพิทักษ์และ คุ้มครองสิทธิต่าง ๆ มีแนวทางการพัฒนาหลักดังนี้

1. การพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมและสวัสดิการแรงงานให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคน โดย

1.1 การปรับปรุงระบบสวัสดิการสังคมให้มีประสิทธิภาพ

(1) ส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานสวัสดิการสังคมอย่างครบวงจร โดยมีกฎหมายสวัสดิการสังคม เป็นแม่บท ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนผู้ด้อยโอกาสและผู้เดือดร้อนให้มีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตได้

(2) ปรับปรุงข่ายการประสานงานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรประชาชนทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้สามารถเชื่อมโยง กันได้อย่างเป็นระบบ

(3) สนับสนุนการรวมตัวและสร้างเครือข่ายของประชาชนและสถาบันทางสังคม เช่น วัด โรงเรียน ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลงานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ในชุมชน

(4) ส่งเสริมให้องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านสวัสดิ การสังคมและสังคมสงเคราะห์ โดยรัฐเป็นผู้อำนวยความสะดวกและให้การสนับสนุนการดำเนินงานในลักษณะ กำกับดูแลมากกว่าการควบคุมและสั่งการ

(5) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการดำเนินงานขององค์กรพัฒนา เอกชนและองค์กรประชาชน โดยเฉพาะการปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการจดทะเบียนการจัดตั้งให้มีความสะดวก ขึ้น

1.2 การเสริมสร้างระบบสวัสดิการแรงงานที่ได้มาตรฐานเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของ ผู้ใช้แรงงาน

(1) ปรับปรุงกฎระเบียบ ข้อบังคับให้เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามา มีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการแรงงานที่เหมาะสมและได้มาตรฐานให้แพร่หลายยิ่งขึ้น เช่น การจัดสถาน พยาบาลรวม โรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กที่ได้มาตรฐาน และสถานที่เล่นกีฬาและออกกำลังกายในสถานประ กอบการ เป็นต้น

(2) ส่งเสริมให้นายจ้างจัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นด้านต่าง ๆ ให้แก่ลูกจ้างในสถานประกอบ การนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด

(3) ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนเงินสะสมในสถาน ประกอบการ เพื่อเป็นสวัสดิการแก่ผู้ใช้แรงงานในระหว่างการทำงานและเมื่อออกจากงาน

1.3 การส่งเสริมและสนับสนุนการขยายระบบประกันสังคมและการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ ประกันสังคม

(1) เร่งรัดการขยายขอบข่ายการประกันสังคม เพื่อให้การคุ้มครองกรณีชราภาพและสงเคราะห์บุตร และสนับสนุนให้มีการขยายขอบเขตการคุ้มครองประกันสังคมให้ครอบคลุมสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ต่ำกว่า 10 คน รวมทั้งหาแนวทางในการขยายขอบเขตการคุ้มครองไปสู่แรงงานในสาขานอกระบบด้วย

(2) เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประกันสังคมให้มีความสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดย เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของบริการทางการแพทย์การจ่ายประโยชน์ทดแทนและเงินทดแทนให้เอื้อประโยชน์ ต่อลูกจ้างอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลทั่ว ประเทศ

(3) ปรับปรุงกฎหมายการประกันสังคม กฎหมายเงินทดแทน ตลอดจนแนวทางปฏิบัติให้ทันสมัย และเป็นสากล เพื่อความสะดวกในการบริหารงานและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ลูกจ้างผู้ประกันตน

(4) พัฒนาระบบตรวจสอบและติดตามที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สถานประกอบการและลูกจ้างที่อยู่ ในข่ายบังคับและคุ้มครองตามกฎหมายเข้าสู่ระบบประกันสังคมอย่างครบถ้วน

2.การปรับปรุงประสิทธิภาพการคุ้มครองแรงงาน ความปลอดภัยในการทำงานและระบบแรงงานสัมพันธ์ โดย

2.1 การเร่งรัดและขยายการดำเนินงานคุ้มครองแรงงาน

(1) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานให้มีขอบเขตการคุ้ม ครองที่กว้างขวางขึ้น รวมทั้งการพิจารณาขยายขอบเขตการให้การคุ้มครองในเรื่องค่าตอบแทน สภาพการจ้าง สภาพการทำงาน สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ ความปลอดภัยในการทำงานและการประกันสังคมให้ครอบคลุม ถึงแรงงานในสาขานอกระบบ โดยเฉพาะลูกจ้างภาคเกษตร ผู้รับเหมาช่วงงานและผู้รับงานไปทำที่บ้าน

(2) สร้างระบบการตรวจแรงงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการสนับสนุนบทบาทขององค์กรนายจ้างและองค์กรลูกจ้างในการช่วยสอดส่องดูแลการไม่ปฏิบัติตาม กฎหมายแรงงานในเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ สวัสดิการและความปลอดภัยในการทำงาน และการรายงานการใช้แรง งานที่ผิดกฎหมายแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบ

(3) ดำเนินมาตรการเร่งด่วนในการขจัดปัญหาการใช้แรงงานเด็กอย่างผิดกฎหมาย โดยกำหนดมาตร การบังคับใช้กฎหมายที่เคร่งครัดและมีบทลงโทษที่รุนแรง

(4) ปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดค่าจ้างขั้นต่ำให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์การ จ้างงานและเป็นธรรมทุกฝ่าย รวมทั้000งสอดส่องดูแลการบังคับใช้กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำให้มีประสิทธิภาพ โดย เน้นการตรวจตราสถานประกอบการขนาดกลางและเล็กที่ไม่มีสหภาพแรงงาน รวมทั้งการลงโทษอย่างรุนแรง แก่นายจ้างที่หลีกเลี่ยงกฎหมาย และให้ความคุ้มครองลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

(5) ปรับปรุงระบบและกลไกการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและจัดทำข้อเสนอแนะให้นายจ้างจัดทำโครง สร้างค่าจ้างในสถานประกอบการ เพื่อให้มีการปรับค่าจ้างประจำปีให้ลูกจ้างตามความสามารถและประสบ การณ์ และไม่เลือกปฏิบัติทางเพศและวัย

(6) ศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางในการกำหนดรูปแบบและโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนทั้งระบบ รวมทั้ง ความเป็นไปได้ในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างในภาคเกษตรกรรม และการกำหนดอัตราค่า จ้างขั้นต่ำรายอาชีพตามประเภทอุตสาหกรรม

(7) กำหนดมาตรฐานการจ้างแรงงานไทยไปต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายและค่าบริการให้เหมาะสมและเป็น ธรรม การป้องกันและปราบปรามการหลอกลวงและการลักลอบไปทำงานต่างประเทศโดยผิดกฎหมายอย่างเคร่ง ครัด รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิแรงงานไทยในต่างประเทศ

(8) สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มหรือมีการจัดตั้งเป็นองค์กรนิติบุคคลของผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยรัฐ ให้การสนับสนุนการพัฒนาองค์กรและเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งให้มีการจัดทำทะเบียนผู้รับงานไป ทำที่บ้านเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองดูแลจากรัฐอย่างทั่วถึง

(9) ส่งเสริมให้มีหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการให้การส่งเสริมพัฒนาและคุ้มครองผู้รับงานไป ทำที่บ้านโดยตรง รวมทั้งการสร้างเครือข่ายการประสานงานระหว่างหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการ รับงานไปทำที่บ้านให้มีการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ

2.2 การพัฒนาระบบความปลอดภัยและพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงาน

(1) ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำ งานให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี รวมทั้งทบทวนแก้ไขข้อบัญญัติของ กฎหมายฉบับต่าง ๆ ที่มีความซ้ำซ้อนและเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ ตลอดจนการปรับปรุงระบบและกลไก การประสานการตรวจสอบความปลอดภัยตามกฎหมายแรงงานหรือกฎหมายอื่นให้มีประสิทธิภาพและมี การลงโทษต่อผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง

(2) พิจารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานโดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย อาชีว อนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทั้งนี้โดยพิจารณาให้ครอบคลุมถึงแรงงานภาคเกษตร และแรงงาน นอกระบบด้วย

(3) รณรงค์ให้นายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการและผู้ที่จะเข้าสู่ระบบการจ้างงานรู้จักการ ป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติภัย และโรคสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และปฏิบัติตามระเบียบ การทำงานอย่างเคร่งครัด

(4) กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของนายจ้าง ลูกจ้าง และองค์กรที่เกี่ยวข้องในเรื่องความ ปลอดภัยที่ชัดเจนและใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน พร้อมทั้งการให้สิ่งจูงใจเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมอุบัติภัยร้ายแรงและส่งเสริมงานด้านความปลอด ภัยในการทำงาน

(5) สนับสนุนให้ลูกจ้างมีส่วนร่วมในการตรวจสอบระบบการป้องกันและรักษาความปลอดภัยใน โรงงานอุตสาหกรรมในทุกขั้นตอนของระบบการทำงานร่วมกับหน่วยงานของภาครัฐบาล

2.3 การพัฒนาระบบแรงงานสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพ

(1) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่ใช้อยู่ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพของ เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การสร้างระบบการปรึกษาหารือ การเพิ่มบทบาทขององค์กร นายจ้างและองค์กรลูกจ้างในกระบวนการระงับข้อพิพาทแรงงาน เป็นต้น

(2) ส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ในระบบทวิภาคีและไตรภาคี โดยเน้นการสนับสนุนส่งเสริมให้ นายจ้างและลูกจ้างใช้ระบบการปรึกษาหารือและร่วมมือกันในระบบทวิภาคีในระดับสถานประกอบการ มากขึ้น

(3) เสริมสร้างองค์กรลูกจ้างและองค์กรนายจ้างให้มีความเข้มแข็งและมีเอกภาพ สามารถทำหน้า ที่เป็นตัวแทนในการเจรจาต่อรองเพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในระดับสถานประกอบการได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ

(4) ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านแรงงานสัมพันธ์แก่นายจ้างและลูกจ้างในการปฏิบัติตามขั้นตอน ของกฎหมายและยุติข้อขัดแย้งโดยสันติวิธี

(5) สนับสนุนส่งเสริมให้นายจ้างปรับปรุงการจัดระเบียบองค์กรการผลิตให้มีความทันสมัยสอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ภาวะตลาดแรงงาน และทัศนคติของคนทำงานรุ่นใหม่ เช่น การสร้างระบบ การปรึกษาหารือและระบบการมีส่วนร่วมของลูกจ้างในรูปแบบคณะกรรมการลูกจ้าง การจัดทำโครงสร้างเงิน เดือนที่ชัดเจนมีมาตรฐาน และการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของลูกจ้างเป็นต้น

(6) สนับสนุนบทบาทหน้าที่และการดำเนินกิจกรรมของสหภาพแรงงาน สหพันธ์และสภาองค์กร ลูกจ้าง ที่เน้นการรักษาผลประโยชน์แก่สมาชิกควบคู่กับการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมที่มีคุณภาพ

เช่น การส่งเสริมการศึกษาฝึกอบรม การให้ความรู้ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้าง และการรณรงค์เรื่อง ความปลอดภัย สุขภาพอนามัย เป็นต้น

(7) สนับสนุนให้นายจ้างมีการเตรียมพัฒนาบุคลากรที่จะเป็นหัวหน้างานให้รู้จักการบริหารจัดการ ทางธุรกิจอุตสาหกรรมและการบริหารคนงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาการกระทบกระทั่ง ระหว่างฝ่ายบริหารกับคนงาน

3. การป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติดเพื่อเสริมสร้างความสงบสุขในสังคม โดย

3.1 ส่งเสริมงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติด โดยภาค รัฐเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองและป้องกันตนเองได้มากขึ้น

3.2 พัฒนาและปรับปรุงระบบการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการ ปลอมแปลงเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการบุกรุกที่สาธารณะ เช่น เกาะ ป่า ชายเลน เป็นต้น

3.3 พัฒนาขีดความสามารถของหน่วยปฏิบัติในด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม โดยนำ ระบบข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการปฏิบัติงาน ตลอดจนพัฒนาคุณภาพบุคลากรให้ มีความรู้ความสามารถ ระเบียบวินัย คุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน

3.4 สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรประชาชนที่ดำเนินการด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของชุมชนให้มีมาตรการ ระบบงานและวิธีการปฏิบัติในการตรวจตรา แจ้งข่าวสารระงับเหตุ ตลอดจนการเป็นพยานในคดีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง

3.5 ส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและ เยาวชนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน ตลอดจนกลุ่มผู้ใช้แรงงาน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ควบคู่กับการจับกุมและดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้กระทำผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอย่าง จริงจังและต่อเนื่อง

3.6 พัฒนาระบบการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดใน 3 ระบบคือ ระบบสมัครใจ ระบบ ต้องโทษ และระบบบังคับบำบัด อย่างมีคุณภาพ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการ ป้องกันการติดยาเสพติดซ้ำ

3.7 ใช้สื่อสาธารณะทุกรูปแบบในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในการร่วมกันป้องกัน และแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด อุบัติภัย การทารุณกรรมเด็กและสตรี และปัญหาสังคมอื่น ๆ

3.8 พิจารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ มีมาตรการที่เหมาะสมและสามารถปราบปรามการผลิตและจำหน่ายยาเสพติดให้เป็นผลอย่างจริงจัง

4. การปรับปรุงระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ อุบัติภัย และสาธารณภัย โดย

4.1 ปรับปรุงประสิทธิภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ อุบัติภัย โดยส่งเสริมการจัดทำแผน และระบบการประสานงานทั้งในด้านนโยบาย การปฏิบัติงานและการใช้ทรัพยากรของหน่วยงานและองค์กรที่ เกี่ยวข้อง การพัฒนาความรู้และขีดความสามารถของบุคลากร การสร้างระบบข้อมูลด้านอุบัติภัยและการสนับ สนุนด้านเทคนิค วิชาการและการจัดหาวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์

4.2 สนับสนุนให้ความรู้และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและระงับอุบัติภัย โดย เฉพาะผู้ใช้รถใช้ถนน ผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการและเจ้าของกิจการ กรรมกรก่อสร้าง และประชาชนใน ชุมชนหนาแน่นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ รวมทั้งการกวดขันให้มีการ ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างจริงจัง

4.3 ส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคเอกชนและองค์กรประชาชนมีบทบาทในการร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านอุบัติภัย สาธารณภัยในชุมชนและท้องถิ่น

4.4 ส่งเสริมมาตรการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แก่ การเตือนภัย การเตรียมพร้อมใน ด้านต่าง ๆ ไว้ก่อนที่ภัยจะเกิด เช่น แผนที่เสี่ยงภัย เพื่อลดผลกระทบจากสาธารณภัยให้น้อยที่สุด ตลอดจนส่ง เสริมให้มีการผนวกมาตรการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยเข้าไว้ในโครงการต่าง ๆ โดยถือเป็นเงื่อนไขสำคัญ ประการหนึ่งในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการ

4.5 ส่งเสริมบทบาทของสถาบันวิชาชีพในการวางมาตรฐานการดำเนินกิจกรรมที่จะมีผลกระทบต่อ ความปลอดภัยของชุมชนและสังคม รวมทั้งให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายหรือการ ตรวจสอบการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง

5. การพัฒนาประสิทธิภาพระบบการอำนวยความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ ของประชาชน โดย

5.1 พิจารณาจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้เป็นเอกภาพ เพื่อให้สามารถ กำหนดแนวทางการอำนวยความยุติธรรมได้อย่างสอดคล้องกันและสามารถพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.2 พัฒนาระบบงาน การบริหารจัดการ และบุคลากรของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม โดยแยก เป็นสาขากฎหมายตามความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทั้งในด้านคดีอาญา คดีแพ่ง และคดีปกครอง ตลอดจนนำสห วิทยาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการอำนวยความยุติธรรมให้ประชาชนได้รับบริการที่มีประสิทธิ ภาพ สะดวก รวดเร็ว มีความเท่าเทียมกันและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล

5.3 ศึกษาวิจัยด้านการอำนวยความยุติธรรม การขยายงานอาสาสมัครคุมประพฤติ รวมทั้งการให้ความ สำคัญกับคดีอาชญากรรมข้ามชาติและคดีเศรษฐกิจ

5.4 สนับสนุนการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล โดยการไกล่เกลี่ยหรือประนอมข้อพิพาท การส่งเสริมการ ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ การแก้ไขฟื้นฟูและสงเคราะห์เด็ก เยาวชน และผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่ เพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำรวมทั้งการหันเหคดีออกจากการลงโทษ

5.5 สนับสนุนการให้บริการช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนผู้ด้อย โอกาส เช่น การจัดทนายช่วยแก้ต่าง การสงเคราะห์จำเลยและครอบครัว การชดเชยให้ผู้ได้รับความเสียหาย จากการดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น

5.6 ส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของหน่วยงานรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชนสถาบันวิชาชีพ กลุ่มประ ชาชนในการประสานควบคุมและกำกับดูแลให้สินค้าและบริการต่าง ๆ มีความปลอดภัยและเป็นธรรม เพื่อ การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคตลอดจนดำเนินการให้มีกฎหมาย กฎระเบียบ หน่วยงานรับผิดชอบ วิธีการ ปฏิบัติที่ชัดเจนในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนและได้รับการชดเชยเมื่อถูกละเมิดสิทธิ

5.7 ให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อการแก้ไขปัญหาการละเมิดกรรมสิทธิและสิทธิส่วนบุคคล และ สาธารณสมบัติ โดยเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจและการตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ของประชาชน รวมทั้ง การกวดขันให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างจริงจังของเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย ตลอดจนการปรับปรุง ระบบและกลไกของรัฐในการคุ้มครองดูแลสาธารณสมบัติให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5.8 ส่งเสริมการให้ความรู้และการคุ้มครองสิทธิทางกฎหมายแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง รวมทั้ง ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของเด็ก และเยาวชนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงาน ทางกฎหมายทั้งของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิประโยชน์ของ เด็กและเยาวชนให้มากยิ่งขึ้น

5.9 สนับสนุนบทบาทสตรีให้มีสิทธิและโอกาสทัดเทียมกับบุรุษในด้านต่าง ๆ โดยเปิดโอกาสให้มี ส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และให้มีส่วนร่วมในทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการปกครองทุก ระดับ รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพในการรวมกลุ่มมากขึ้น ตลอดจนส่งเสริมให้สตรีได้รับการศึกษา ฝึกอบรม การฝึกทักษะทุกด้านและการมีอาชีพที่ทัดเทียมกับบุรุษ

5.10 พิจารณาปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ รวมทั้ง ดำเนินการให้หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจไม่ระบุเพศในการรับสมัครและบรรจุงาน รวมถึง การปรับเปลี่ยนค่านิยมของทั้งหญิงและชายให้เลิกการเลือกปฏิบัติและการมีอคติทางเพศ

5.11 ปรับปรุงกฎหมายระเบียบข้อบังคับ และวิธีพิจารณาความที่เกี่ยวกับการล่อลวง กักขัง หน่วง เหนี่ยว บังคับ ขู่เข็ญ พร้อมทั้งให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจังและเคร่งครัดควบคู่กับให้มีบทลงโทษ อย่างรุนแรงแก่ผู้กระทำผิดทางเพศต่อเด็กและสตรี

5.12 รณรงค์แก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและการทำร้ายทารุณทางร่างกาย จิตใจ และทาง เพศต่อเด็กและสตรี เช่น สร้างความรู้ความเข้าใจให้สังคมตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบ ขยายบริการการ ให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวที่มีปัญหาให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น เป็นต้น โดยให้ความคุ้มครองและไม่กระทำการซ้ำ เติมต่อผู้ถูกกระทำ

5.13 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาหลักกฎหมายมหาชน เพื่อเป็นกลไกในการบริหารราชการ แผ่นดิน โดย

(1) สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ พัฒนาหลักสูตรกฎหมายมหาชน เพื่อเสริมสร้าง แนวความคิดทางปรัชญากฎหมายมหาชนให้แก่นักกฎหมาย รวมทั้งประชาชนทั่วไป

(2) พัฒนาผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานภาครัฐให้มีแนวความคิดบนพื้นฐานของปรัชญากฎหมายมหาชน และใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน

(3) พัฒนากระบวนการยุติธรรมทางปกครอง โดยเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรของรัฐให้สามารถรับ เรื่องร้องทุกข์จากประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ของรัฐ และทำหน้าที่เป็นองค์กรชี้ขาดเฉพาะด้าน

บทที่ 4
การเสริมสร้างวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา

การส่งเสริมให้วัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคนและพัฒนาประเทศ เป็นเรื่องที่มีความจำ เป็น เพราะจะทำให้การพัฒนายืนอยู่บนรากฐานของตนเองและภูมิปัญญาของชุมชนและสังคม ซึ่งจะนำไปสู่ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนในระยะยาว โดยจะต้องมีการดำเนินงานในลักษณะที่เป็นองค์รวม คือการสร้าง ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน รวมทั้งสนับสนุนให้ทุกฝ่ายมีส่วน ร่วมในการทำนุบำรุงวัฒนธรรมอันดีงามทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น มีโลกทัศน์ทางวัฒนธรรมที่กว้าง ขวางและรู้จักเลือกสรรไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคม ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาหลักดังนี้

1. การเสริมสร้างวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาคนและสังคม โดย

1.1 การเสริมสร้างสมรรถภาพของชุมชนหรือสังคมให้เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองโดยตระหนักถึง สิทธิและหน้าที่ทั้งต่อตัวเองและสังคม เพื่อให้เป็นฐานของการพัฒนาชุมชนต่าง ๆ ทั้งในเมืองและชนบท

1.2 การสนับสนุนเวทีวัฒนธรรมในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การสนับสนุนกิจกรรมทางวัฒนธรรม ที่ริเริ่มโดยชุมชนท้องถิ่น การสร้างเวทีเสนอผลงานและเผยแพร่งานด้านศิลปวัฒนธรรม การพัฒนาระบบจูง ใจและกระบวนการสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรมแก่การสร้างผลงานที่มีคุณค่าต่อสังคม

1.3 การส่งเสริมการพัฒนาอย่างสมดุลระหว่างคน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

(1) สนับสนุนการวางกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลระหว่างคน ชุมชน กับทรัพยากรธรรมชาติ และระหว่างกลุ่มคนในสังคม โดยใช้หลักความร่วมมือของประชาชนเป็นแนวทางในการดูแลพฤติกรรมของ สมาชิกในชุมชน

(2) สนับสนุนการปรับปรุงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้รับผิดชอบ ต่อคน สังคม ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจนั้น ๆ

1.4 การส่งเสริมการใช้สื่อที่มีคุณภาพในการเผยแพร่คุณค่าของวัฒนธรรม

(1) ส่งเสริมให้มีสื่อคุณภาพที่น่าสนใจและมีลักษณะหลากหลายเพื่อถ่ายทอดและปลูกฝังคุณค่าที่ดี งาม และค่านิยมที่เสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย และกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจ ซาบซึ้งและนำไปปฏิบัติร่วมกันได้

(2) ส่งเสริมวัฒนธรรมการวิพากษ์วิจารณ์เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพของสื่อมวลชน และเพื่อให้ ประชาชนสามารถเลือกรับข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพ

(3) สนับสนุนให้สื่อร่วมกันตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐานของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เผยแพร่ออกสู่ ประชาชน

2. การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัฒนธรรมและนำมิติทางวัฒนธรรมมาใช้ใน การพัฒนา โดย

2.1 ปรับเนื้อหาสาระหลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม โดยการปรับกระบวนการ เรียนรู้ที่ใช้ความจริงเป็นหลักและมีการเรียนรู้จากรากฐานทางวัฒนธรรม

2.2 ส่งเสริมการวิจัย การรวบรวมข้อมูลข่าวสารความรู้ รวมทั้งการสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารและผลการ วิจัยเพื่อเสริมสร้างภูมิปัญญาให้สูงขึ้น

2.3 สนับสนุนให้มีเวทีแลกเปลี่ยนความคิดอย่างสม่ำเสมอและการสร้างสื่อสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม

2.4 ส่งเสริมวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวและการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจและสังคม

3. การพัฒนาและสร้างความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมไทย โดย

3.1 สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐและท้องถิ่นในการทำนุบำรุงสร้างสรรค์และพัฒนา โบราณสถาน พิพิธภัณฑสถาน หอสมุด ฯลฯ

3.2 เผยแพร่คุณค่า รักษา สืบทอดเอกลักษณ์ความเป็นไทยและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมสาขา ต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบันและอนาคต

4. การเสริมสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลก รวมทั้งการขยายโลก ทัศน์ทางวัฒนธรรม โดย

4.1 ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจถึงรากฐานวัฒนธรรมระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และประโยชน์ของ วัฒนธรรมที่มีต่อชุมชน และการยอมรับวิถีชีวิตที่แตกต่างหลากหลายภายในสังคม

4.2 สนับสนุนการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ สร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับวัฒนธรรม ไทยกับนานาชาติ และให้สามารถรับวัฒนธรรมต่างชาติมาประยุกต์ใช้อย่างรู้เท่าทัน

4.3 ส่งเสริมการท่องเที่ยวและการสัญจรทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกความรู้ ความเข้าใจ เกิด การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เป็นรากเหง้าของวิถีชีวิตภูมิ-ปัญญาดั้งเดิมของตนเองและผู้อื่น รวม ทั้งดูแลป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมดังกล่าว

5. การพัฒนาการบริหารจัดการด้านวัฒนธรรม โดย

5.1 สนับสนุนการจัดทำและประสานแผนปฏิบัติการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและ เอกชนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแนวทางด้านวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา

5.2 ส่งเสริมและประสานชุมชนและองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นให้มีความรู้ความเข้าใจและขีดความ สามารถในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมเพื่อท้องถิ่น

5.3 สนับสนุนการระดมทุนเพื่อเพิ่มวงเงินกองทุนวัฒนธรรมให้มีจำนวนมากเพียงพอต่อการส่ง เสริมวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา

5.4 สนับสนุนให้มีการแก้ไขกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ กฎกระทรวง และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยว ข้องกับงานด้านวัฒนธรรมให้มีความชัดเจนและมีความเป็นเอกภาพ รวมทั้งดำเนินการกระจายอำนาจ เพื่อ ช่วยให้การบริหารงานด้านวัฒนธรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

5.5 สร้างระบบฐานข้อมูลที่สมบูรณ์เกี่ยวกับทรัพยากรทางวัฒนธรรมและสร้างดัชนีชี้วัดด้านวัฒน ธรรมกับการพัฒนาเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานและการติดตามประเมินผล

5.6 ระดมสรรพกำลังในการดำเนินงานวัฒนธรรม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชน สถาบันสังคม หน่วยงานภาครัฐ ธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชนทุกแห่งเข้ามามีส่วนร่วมตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจด้วยการยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

CONTACT
Email me at pisitp@yahoo.com for your comment and/or discussions.

This page hosted by   Get your own Free Home Page 1