PsTNLP
Pisit' s Thai Natural Language Processing Laboratory
This lab is formed since 26-August-1998
e-mail pisitp@yahoo.com
Back to PsTNLP home page
ส่วนที่ 4
การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบท
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง
ภูมิภาคและชนบทเป็นแหล่งที่ตั้งถิ่นฐานของประชากร แหล่งงาน
และแหล่งทรัพยากรส่วนใหญ่
ของประเทศ ความตั้งใจที่จะพัฒนาคนไทยทุกคนให้เพิ่มศักยภาพของตนเอง
มีครอบครัวที่อบอุ่น และ
พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัฒน์จึงจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญต่อคนในภูมิภาคและชนบท
อย่างทั่วถึง
ทั้งนี้เพราะในห้วงเวลาที่ผ่านมาคนในภูมิภาคและชนบทไม่เพียงแต่จะได้รับประโยชน์น้อย
ที่สุดจากการที่เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นเท่านั้น
ยังเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงจาก
สภาวะแวดล้อมทางสังคมมากที่สุด
ส่งผลให้ชนบทไทยยังคงอยู่ในสภาพล้าหลัง มีการอพยพแรงงานเพื่อ
ไปหางานทำในเมืองหลวงอย่างต่อเนื่อง
จนเกิดสภาวะวิกฤตทางครอบครัวมากขึ้นทุกขณะ นอกจากนี้ยัง
เกิดภาวะเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อันเนื่องจากการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง
ปราศจากการพัฒนาและอนุรักษ์ที่เหมาะสม
ดังนั้นการเสริมสร้างศักยภาพของการพัฒนาภูมิภาคและชนบทนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
เพื่อสร้าง
สมดุลของการพัฒนาให้สามารถรองรับคนส่วนใหญ่ของประเทศ
และลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจ
และสังคมระหว่างกรุงเทพมหานคร เมืองและชนบท
รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของคนไทย
อย่างทั่วถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาจึงต้องมีการประสานเชื่อมโยงระหว่างชนบทและเมืองให้เป็นไปในทิศ
ทางที่เสริมสร้างพลังซึ่งกันและกัน
โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมและการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน
ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่ไปพร้อม
ๆ
กับการกระจายโอกาสกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และบริการทางสังคมจากภาครัฐ
บทที่ 1
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์
การพัฒนาภูมิภาคและชนบทในช่วงต่อไป
ต้องปรับเปลี่ยนแนวความคิดและวางแนวทางเพื่อให้คน
ชนบทมีศักยภาพสามารถพึ่งตนเองได้
มีโอกาสและมีความเสมอภาคทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม มีครอบครัว
ที่อบอุ่น มีทรัพยากรธรรมชาติเป็นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน
และมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดจากมลพิษ โดยเพิ่ม
ความสามารถของคนและชุมชนในชนบทให้มีความเข้มแข็ง
เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ
สังคม
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่
ในขณะเดียวกัน ก็จำเป็น
ต้องปรับแนวทางและวิธีการการพัฒนาภูมิภาคและชนบทโดยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ครบทุกภูมิภาค
และทุกพื้นที่อย่างเต็มศักยภาพ
รวมทั้งขยายบริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมไปสู่ชนบท เพื่อให้เกิด
โอกาสที่เท่าเทียมกันในระหว่างคนทุกพื้นที่ ทุกกลุ่ม ทุกเพศ
ทุกวัยโดยได้กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ไว้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในภูมิภาคและชนบท
ให้มีความพร้อมในการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคและชนบท
ที่ยั่งยืน
1.2 เพื่อให้มีการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง
และสร้างโอกาสในการพัฒนาและการมี
งานทำให้สอดคล้องกับความพร้อมของคน ชุมชน และศักยภาพของพื้นที่
1.3 เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู
บูรณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง
แวดล้อม
ตลอดจนให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของตนเองอย่างมีความสมดุล
ประหยัด และมี
ประสิทธิภาพ และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด
1.4 เพื่อเพิ่มบทบาทขององค์กรประชาชน องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น
และราชการส่วนภูมิภาค ให้
มีขีดความสามารถในการประสานงานและการทำงานพัฒนาภูมิภาคและชนบทร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ทันต่อเหตุการณ์และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
1.5 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานพัฒนาของภาครัฐ
โดยให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัด
เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาภูมิภาคและชนบท
2. เป้าหมาย
2.1 ลดช่องว่างการกระจายรายได้ระหว่างกลุ่มผู้มีรายได้สูงสุดและต่ำสุด
โดยเน้นกลุ่มผู้มีรายได้
ปานกลางลงมาถึงผู้มีรายได้น้อยให้มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยเป็นร้อยละ
50 ของรายได้ประชาชาติ
เมื่อสิ้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
2.2 ลดสัดส่วนคนยากจนของประเทศให้เหลือร้อยละ 10
ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
2.3 กระจายการให้บริการทางเศรษฐกิจและสังคมที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาศักยภาพของคนและ
อาชีพ เพื่อให้คนในทุกชุมชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างพอเพียง
รวดเร็วและมีคุณภาพ
2.4 ขยายพื้นที่ปรับโครงสร้างการเกษตรแบบยั่งยืน
โดยให้มีพื้นที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่
เกษตรกรรมทั้งประเทศ หรือประมาณ 25 ล้านไร่
2.5 สร้างโอกาสให้กลุ่มคนยากจนจำนวน 8 ล้านคน
ในการประกอบอาชีพการเกษตรให้มีรายได้
พอเพียงและมีทางเลือกที่จะดำรงชีวิตอยู่ในชนบทได้อย่างมั่นคง
2.6 เพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรให้แก่เกษตรกรมากขึ้น
2.7 ให้ทุกชุมชนมีบทบาทมากขึ้นในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์
ฟื้นฟู บูรณะทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
2.8 ให้ทุกชุมชนมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตั้งแต่การ
วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา การแก้ไขปัญหาการจัดทำแผน
และการประสานการสนับสนุนจากหน่วยงาน
รัฐและเอกชน
3. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบท
เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนและชุมชน
รวมทั้งกระจายโอกาสการพัฒนาอาชีพ รายได้ และการมี
งานทำให้กับคนในภูมิภาคและชนบท จึงกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ 3
ยุทธศาสตร์ ดังนี้
3.1 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการพัฒนา
3.2 การเสริมสร้างโอกาสการพัฒนาเพื่อสร้างอาชีพและการมีงานทำ
3.3 การบริหารจัดการการพัฒนาภูมิภาคและชนบท
บทที่ 2
การส่งเสริมการมีส่วนร่วม และเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการพัฒนา
การมีส่วนร่วมของประชาชนในภูมิภาคและชนบทในกระบวนการพัฒนา
เป็นการเปิดโอกาสให้
ประชาชนได้พัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการปัญหาได้ด้วยตนเอง
เพื่อประโยชน์ของตนเอง ครอบครัว
และชุมชน
ตลอดจนสามารถสนองตอบต่อการกระจายการพัฒนาได้อย่างเต็มที่และทั่วถึง
ดังนั้นการพัฒนา
ในอนาคตจะเน้นที่การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในภูมิภาคและชนบท
ให้สามารถพึ่งตนเองได้ โดยมี
เศรษฐกิจชุมชนที่มั่นคงเป็นตัวนำ
และเป็นฐานในการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตในอนาคต ทั้งนี้ภาค
ธุรกิจเอกชน
องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรประชาชนจำเป็นจะต้องเข้ามาเสริมบทบาทของภาครัฐซึ่งเป็น
ผู้สนับสนุนการพัฒนาเดิม
ซึ่งเป็นการผนึกกำลังในการพัฒนาและนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน
โดยมี
แนวทางหลักดังนี้
1. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนชนบทเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม
ทรัพยากรธรรมชาติ และ
สิ่งแวดล้อม
เพื่อให้ชุมชนมีความพร้อมในเบื้องต้นในการตอบรับต่อการเข้ามาร่วมสนับสนุนการพัฒนา
ของทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน
โดยยกระดับความรู้ความสามารถในการเข้า
ร่วมกระบวนการพัฒนาของชุมชนและมีแนวทางดังนี้
1.1 การเตรียมความพร้อมของชุมชน
(1) เสริมสร้างกระบวนการพัฒนาคน
เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดการและทักษะที่หลากหลาย
พร้อมกับพัฒนาความเป็นผู้นำและความเข้มแข็งของกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน
โดยจัดการฝึกอบรมด้วยวิทยากร
ทั้งจากชาวบ้านและภายนอกให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
และมีการเรียนรู้แลกเปลี่ยนระหว่างกัน
(2) จัดสรรงบประมาณสนับสนุนองค์กรชุมชนเพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มของชุมชนทุกรูปแบบ
(3) ส่งเสริมให้องค์กรชุมชนเป็นตัวกลางในการรับการสนับสนุนและความช่วยเหลือจากรัฐ
เพื่อให้
ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ทำงาน ควบคุม และติดตามผลร่วมกัน
1.2 การเพิ่มศักยภาพขององค์กรชุมชน
(1) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยการกระจายข้อมูลข่าวสาร
และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการ
ดำเนินชีวิตของครอบครัวและชุมชน
(2) สนับสนุนชุมชนให้มีการริเริ่มทำธุรกิจที่ชุมชนเป็นเจ้าของและบริหารจัดการเอง
ภายใต้ความ
ร่วมมือของภาคธุรกิจเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชน
รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหาร
จัดการด้านธุรกิจระหว่างชุมชน
(3) ส่งเสริมบทบาทของสตรีให้มีส่วนในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชน
โดยให้มี
ส่วนร่วมในการบริหารจัดการงานพัฒนาของชุมชนในทุกด้านมากขึ้น
1.3 การสนับสนุนแหล่งเงินทุนสำหรับการพัฒนาชุมชน
(1) ขยายการดำเนินงานกองทุนพัฒนาชนบท
เพื่อสนับสนุนการออมทรัพย์ในระดับชุมชน และส่ง
เสริมกิจกรรมพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง
(2) สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนในรูปแบบต่าง ๆ
และพัฒนาเครือข่ายกองทุนในระดับชุมชน เช่น
กองทุนสวัสดิการในชุมชน กองทุนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กองทุนด้านค้นคว้าวิจัยเพื่อ
พัฒนาอาชีพเสริม เป็นต้น
โดยการให้ความรู้ด้านบริหารจัดการกองทุนและด้านอื่น ๆ
ที่จำเป็นให้มีประสิทธิ
ภาพและเสริมสร้างศักยภาพของผู้บริหารกองทุนให้มากขึ้น
1.4 การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้
และขยายเครือข่ายการเรียนรู้ของประชาชน และ ชุมชนใน
ชนบท
(1) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อมวลชน
และสร้างเครือข่ายการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสื่อสาร
เพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
(2) จัดให้มีการฝึกอบรมอาชีพด้านต่าง ๆ
ที่สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชนและท้องถิ่น โดยใช้เทค
โนโลยีที่เหมาะสม ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน
และสถาบันการศึกษาในท้อง
ถิ่น
(3) รับรองวิทยฐานะการเรียนรู้ของชุมชน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
โรงเรียนชุมชน วิทยาลัยชุมชน
มหาวิทยาลัยชาวบ้าน โดยรัฐให้การช่วยเหลือตามความเหมาะสม
(4) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในการเลือกประกอบอาชีพและการดำรงชีพผ่านสื่อต่าง
ๆ
ที่หลากหลาย เช่น ข้อมูลราคาสินค้า ข้อมูลด้านบริการทางสังคม
เป็นต้น
1.5 การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นในการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด
ล้อม
(1) สร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์
ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง
แวดล้อม รวมทั้งการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการบริหารจัดการ
(2) เผยแพร่และให้โอกาสประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ
สังคม
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นกับท้องถิ่นจากโครงการพัฒนาของรัฐ
รวมทั้งสนับสนุน
ให้มีการประชาพิจารณ์ตามควรแก่กรณี
(3) สนับสนุนให้องค์กรชุมชน เช่น กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน
มีบทบาทในการควบคุมดูแลและแก้ไข
ด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพิ่มขึ้น
1.6 การส่งเสริมบทบาทของครอบครัวและชุมชนในการจัดบริการสังคม
(1) สร้างกลไกและระบบที่จะเอื้อต่อการส่งเสริมบทบาทของชุมชนในการตรวจสอบบริการสังคม
ต่าง ๆ ที่ดำเนินการในชุมชน เช่น การรับเลี้ยงเด็กปฐมวัย
การกำจัดขยะให้ได้มาตรฐาน ฯลฯ
(2) สนับสนุนให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและชุมชน
โดยการจัดกิจกรรม เช่น
การจัดสวนสาธารณะและบริการนันทนาการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ร่วมกัน
2. การเพิ่มบทบาทของภาครัฐเพื่อสนับสนุนชุมชนให้มีส่วนร่วมและโอกาสในการ
พัฒนามากขึ้น
2.1 การส่งเสริมความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจขององค์กรชุมชน
(1) ใช้มาตรการทางการคลัง
โดยการปรับปรุงระบบภาษีให้ส่งเสริมและสนับสนุนการระดมทุนเพื่อ
การพัฒนาองค์กรชุมชน
(2) ส่งเสริมกิจการสหกรณ์ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง
รวมทั้งรับรองสถานภาพของกลุ่มต่าง ๆ ที่
ดำเนินการโดยใช้หลักสหกรณ์
เพื่อให้มีสถานภาพที่สามารถเอื้อประโยชน์ด้านภาษีต่อภาคเอกชนและ
องค์กรพัฒนาเอกชนที่ให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรม
(3) สนับสนุนมาตรการทางภาษีเพื่อจูงใจธุรกิจขนาดใหญ่ให้ทำธุรกิจกับองค์กรชุมชนในลักษณะ
ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการ การตลาด
และการแข่งขันของชุมชนให้สูงขึ้น
(4) ส่งเสริมให้สถาบันการเงินทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการพัฒนาให้แก่องค์กร
ชุมชนมากขึ้น
(5) สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันการเงินระดับชาติ
ในลักษณะธนาคารเพื่อพัฒนาองค์กรชุมชน เพื่อ
ให้การสนับสนุนทั้งด้านการพัฒนาองค์กรและด้านสินเชื่อเพื่อการพัฒนาให้แก่องค์กรชุมชน
โดยมีการร่วม
มือประสานงานกับองค์กรพัฒนาเอกชน และสถาบันการเงินอื่น ๆ
ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอื่น ๆ ที่จะร่วม
สนับสนุนการพัฒนาองค์กรชุมชน
(6) พัฒนาขีดความสามารถของสถาบันและกลุ่มเกษตรกรในรูปแบบต่าง ๆ
โดย
(6.1) สนับสนุนหลักสูตรการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบที่สอดคล้องกับศักยภาพและภูมิปัญญา
ของท้องถิ่น
รวมทั้งจัดระบบการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคนิควิชาการของสถาบันและกลุ่มเกษตรกรที่ประสบ
ความสำเร็จให้แพร่หลาย
(6.2) เพิ่มโอกาสการทำธุรกิจของสถาบันเกษตรกร
โดยจัดการฝึกอบรมด้านบริหารจัดการ สนับสนุน
ข่าวสารด้านการตลาดและเพิ่มสินเชื่อระยะยาวผ่านสถาบันเกษตรกร
(6.3) สนับสนุนความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจของสถาบันเกษตรกรโดยการแก้กฎหมายที่จำเป็น
2.2 การส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
(1) กระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตรการศึกษา
ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
และเพิ่มโอกาสในการศึกษาต่อ
แก่เด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับอย่างทั่วถึง
(2) เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับข่าวสารข้อมูลอย่างกว้างขวาง
โดยความร่วมมือในการเผยแพร่
ข้อมูลข่าวสารระหว่างองค์กรชุมชน รัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน
(3) สนับสนุนงบประมาณแก่องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชน
เพื่อดูแลกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่
รัฐดูแลไม่ทั่วถึง
(4) กระจายบริการสาธารณสุขทั้งทางด้านทรัพยากรและบุคลากร
เพื่อลดความแตกต่างทางด้านคุณ
ภาพของการให้บริการระหว่างกรุงเทพมหานครและภูมิภาค
(5) เร่งการปฏิรูประบบภาษีท้องถิ่น
เพื่อให้ท้องถิ่นและชุมชนมีรายได้เพียงพอในการจัดบริการ
ด้านสังคมอย่างทั่วถึง
3. การส่งเสริมบทบาทของภาคธุรกิจเอกชน
และองค์กรพัฒนาเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เพื่อ
เปิดโอกาสให้ชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและมีทางเลือกในการประกอบอาชีพเพิ่มมากขึ้น
รวมทั้งการเพิ่มบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนและภาคธุรกิจเอกชนให้เกื้อกูลกิจกรรมของชุมชน
3.1 การสนับสนุนธุรกิจเอกชนให้เข้าร่วมในการพัฒนาธุรกิจชุมชนตามความพร้อมความถนัดและ
ความสมัครใจของแต่ละองค์กรธุรกิจ
(1) สนับสนุนการพัฒนาธุรกิจและเศรษฐกิจในระดับหมู่บ้านโดยการสนับสนุนการร่วมทุนระหว่าง
ชุมชนและธุรกิจเอกชน และการหาตลาดสำหรับสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น
(2) ส่งเสริมชุมชนให้มีอาชีพนอกภาคเกษตรในหมู่บ้าน
โดยเฉพาะธุรกิจประเภทรับเหมาช่วงงาน
เช่น การทอผ้า การผลิตชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ
(3) ถ่ายทอดความรู้และทักษะในเชิงธุรกิจ เช่น การผลิต การตลาด
การบัญชี การเงิน และการจัดการ
ทั่วไป
เพื่อวางรากฐานความคิดเชิงธุรกิจโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง
(4) สร้างสิ่งจูงใจด้านมาตรการการเงินและการคลังให้ธุรกิจเอกชนเข้ามาช่วยฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
การผลิต การจำหน่าย และการจัดการตลาดอย่างเป็นระบบครบวงจร
โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดการ
ในทุกขั้นตอนและสามารถพัฒนาให้เป็นธุรกิจที่ชุมชนเป็นเจ้าของเองได้ในที่สุด
(5) รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการธุรกิจเอกชนในการปรับแนวคิดการบริหารธุรกิจ
จากการมุ่งเน้นกำไรไปสู่การลงทุนเพื่อพัฒนาสังคมควบคู่กันไปด้วย
3.2 การสนับสนุนองค์กรพัฒนาเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
(1) สนับสนุนบทบาทองค์กรพัฒนาเอกชนในการประสานงานการพัฒนาร่วมกับชุมชน
องค์กรท้องถิ่น
ภาครัฐ และภาคธุรกิจเอกชน โดยสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร งบประมาณ
และการอำนวยความสะดวก
(2) ส่งเสริมบทบาทองค์กรพัฒนาเอกชนในการค้นคว้าวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ความรู้ในด้าน
ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
(3) สนับสนุนทุนแก่องค์กรพัฒนาเอกชนในการพัฒนาอาชีพและรายได้ของชุมชนในชนบท
บทที่ 3
การเสริมสร้างโอกาสการพัฒนาเพื่อสร้างอาชีพและการมีงานทำ
การลดความเหลื่อมล้ำของรายได้และกระจายผลการพัฒนา
จะมุ่งให้คนไทยในทุกส่วนของประเทศ
ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนา
อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งในการเสริมสร้างโอกาส
การพัฒนาเพื่อสร้างอาชีพและการมีงานทำ
จะต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยงระหว่างคน ชุมชน พื้นที่ และศักย
ภาพของการพัฒนาที่มีอยู่ควบคู่ไปกับการกำหนดแนวทางการเสริมสร้างโอกาสการพัฒนาเพื่อสร้างอาชีพและ
การมีงานทำ
แนวทางการเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ชุมชนและกลุ่มคนในภูมิภาคและชนบทด้วยการสนับ
สนุนให้มีการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจและบริการทางสังคมและการศึกษา
รวมทั้งการพัฒนาเพื่อให้เกิด
ความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ เมือง และชุมชน
ตามศักยภาพและความเหมาะสม เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการมีงาน
ทำ และลดความเหลื่อมล้ำของรายได้
ซึ่งจะมุ่งต่อกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคและชนบท
โดยเฉพาะกลุ่มเกษตร
กรและคนจนในเมือง ประกอบด้วย แนวทางสำคัญดังต่อไปนี้
1. การกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
เพื่อสร้างโอกาสการมีงานทำ
โดยมุ่งปรับโครงสร้างการเกษตรตามแนวทางเกษตรยั่งยืน ได้แก่ เกษตร
ธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน และวนเกษตร
เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านรายได้ ลดค่าใช้จ่ายของ
เกษตรกร ตลอดจนการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อม
สนับสนุนให้มีการนำผลิตผลทางการ
เกษตรมาสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่ม โดยระบบอุตสาหกรรมการเกษตร
การสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมชนบทและ
อุตสาหกรรมชุมชนให้เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ
การกระจายฐานอุตสาหกรรมและบริการ
ทางการเงิน ดังนี้
1.1 การพัฒนาเกษตรยั่งยืนเพื่อปรับโครงสร้างการเกษตร
(1) พัฒนาศักยภาพของเกษตรกร
ในการวางแผนการผลิตและตัดสินใจในการเรียนรู้ เพื่อปรับระบบ
การเกษตรไปสู่การเกษตรที่ยั่งยืน
โดยการเรียนรู้จากประสบการณ์ของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จจาก
ระบบเกษตรยั่งยืนและจัดทำคู่มือทางเลือกการประกอบอาชีพการเกษตรให้สอดคล้องกับพื้นที่และความต้อง
การของตลาด
(2) สนับสนุนเกษตรกรในการดำเนินกิจกรรมเกษตรยั่งยืนในด้านต่าง
ๆ ดังนี้
(2.1) สนับสนุนการจัดหาแหล่งน้ำขนาดเล็กในไร่นา
การให้บริการด้านการตลาดที่จำเป็นโดยเน้น
การให้บริการเบื้องต้นในการขนส่งสินค้าเกษตรออกสู่ตลาดต่าง ๆ
การให้ข้อมูลข่าวสารการผลิตและการ
ตลาดที่ทันต่อเหตุการณ์เพื่อประกอบการตัดสินใจ
(2.2) สนับสนุนปัจจัยการผลิตที่จำเป็นในการปรับโครงสร้างการเกษตร
โดยให้ความสำคัญกับการ
ใช้พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่มีความต้านทานโรค
(2.3) ให้ความสำคัญกับการวิจัยแบบสหวิทยาที่นำไปสู่การพัฒนาระบบเกษตรที่กลมกลืนกับธรรม
ชาติโดยคำนึงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพ
การพัฒนาสารชีวภาพเพื่อลดการใช้สาร
เคมีการเกษตร
(2.4) สนับสนุนสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนระยะยาว
เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างการเกษตรอย่าง
เพียงพอ
(2.5) พัฒนาคุณภาพผลผลิต
โดยกำหนดมาตรฐานและตรวจสอบสารตะกั่วในผลผลิตเกษตรทั้งพืช
และสัตว์อย่างเข้มงวด
และจัดให้มีระบบประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(3) ปรับระบบการส่งเสริมของภาครัฐ
จากการเป็นผู้ส่งเสริมหลักมาเป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้ที่
เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุน อำนวยความสะดวก
และนำเสนอทางเลือกให้แก่เกษตรกรตามความต้องการ และ
สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ตลอดจนความเป็นไปได้ทางการตลาด
เพื่อเสริมสร้างความสามารถของเกษตรกร
ในการวางแผนการผลิตและตัดสินใจด้วยตนเอง
รวมทั้งพัฒนาบุคลากรของภาครัฐให้เข้าใจทิศทางและบท
บาทของตนเองในการสนับสนุนการปรับโครงสร้างการเกษตรและสามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
(4) เพิ่มบทบาทของภาคเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชนในการร่วมประสานกับภาครัฐในการสนับ
สนุนการปรับโครงสร้างการเกษตรโดยรัฐสนับสนุนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดหาตลาด
การพัฒนาความรู้
ในด้านการบริหารจัดการ และถ่ายทอดประสบการณ์ในเชิงธุรกิจ
เทคโนโลยีที่เหมาะสม
1.2 การพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับครัวเรือน อุตสาหกรรมชนบท
และอุตสาหกรรมชุมชน
(1) ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชน เข้ามาสนับสนุนทั้งในด้านทุน
และเทคโนโลยีแก่เกษตรกรและชุม
ชน
รวมทั้งการฝึกอบรมและให้ข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสในการลงทุนด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรอย่างง่าย
(2) สนับสนุนอุตสาหกรรมชุมชนที่ประชาชนในท้องถิ่นจัดตั้งและเป็นเจ้าของร่วมกัน
โดยรัฐให้
สิทธิประโยชน์ด้านภาษีและการลงทุน ข้อมูลข่าวสารด้านการตลาด
และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การผลิตและการตลาด
อันจะเป็นทางเลือกแก่เกษตรกรในการผลิตสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพที่จะเป็นวัตถุดิบ
ในการแปรรูป
(3) สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงการรับช่วงการผลิตระหว่างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในภูมิภาคเดียวกัน
และในภูมิภาคอื่น กับอุตสาหกรรมชนบทและอุตสาหกรรมชุมชน
เพื่อเป็นการกระจายงานจากเมืองไปสู่
พื้นที่ชนบทมากขึ้น
(4) จัดระบบรับประกันหรือกองทุนประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในการรับช่วงการผลิตของอุต
สาหกรรมชนบทและอุตสาหกรรมชุมชน
(5) เพิ่มประสิทธิภาพของรัฐในการสนับสนุนอุตสาหกรรมชนบทและอุตสาหกรรมชุมชน
โดยจัด
ทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมชนบทและอุตสาหกรรมชุมชนเฉพาะพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีศักยภาพ
ในระดับภาค อนุภาค หรือกลุ่มจังหวัด
1.3 การกระจายอุตสาหกรรมและกิจกรรมสนับสนุนไปสู่ภูมิภาค
(1) พัฒนาขีดความสามารถและขยายจำนวนผู้ประกอบการในระดับท้องถิ่น
โดยจัดหลักสูตรสัมมนา
และฝึกอบรมแก่ผู้ประกอบการท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการและเทคโนโลยีสมัยใหม่
(2) สนับสนุนการย้ายฐานอุตสาหกรรมจากเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
โดยรัฐให้การสนับ
สนุนในด้านระบบการขนส่ง สื่อสารโทรคมนาคม และแหล่งชุมชนที่เพียงพอ
และให้ค่าใช้จ่ายของอุตสาห
กรรมในด้านปัจจัยพื้นฐานอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
รวมทั้งปรับปรุงสิทธิ
ประโยชน์ด้านการลงทุน ภาษีนิติบุคคล
และจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้เกิดแรงจูงใจที่เพียงพอในการย้าย
ฐานการผลิต
(3) พัฒนาศูนย์อุตสาหกรรมระดับภาคใน 9 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน
พิษณุโลก นครสวรรค์ นครราชสีมา
ขอนแก่น สระบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา
โดยให้มีนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมครบทั้ง
9 จังหวัด
และส่งเสริมให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับฐานการผลิตและปัจจัยการผลิต
ในภาคและจังหวัดใกล้เคียง
(4) สนับสนุนศูนย์อุตสาหกรรมของกลุ่มจังหวัดในลักษณะนิคมอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาด
เล็ก
โดยยึดความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจในจังหวัดที่ใกล้เคียงกันมีการแบ่งสรรบทบาทระหว่างจังหวัด
ขนาด
การผลิตที่เหมาะสมในเชิงอุตสาหกรรม และความเป็นไปได้ในการลงทุน
(5) เพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการร่วมลงทุนกับภาครัฐในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม
เขตอุต
สาหกรรม หรืออุทยานอุตสาหกรรมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับการจัดสร้างบริการโครง
สร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
รวมทั้งจัดให้มีพื้นที่เพื่อการพัฒนาบริการทางสังคมในด้านการศึกษา
สาธารณ
สุข การฝึกอบรมแรงงาน ตลอดจนการควบคุมสิ่งแวดล้อม
(6) สร้างโอกาสใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมจากความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาค
โดยตั้งเขต
เศรษฐกิจตามแนวชายแดนและเขตปลอดภาษีศุลกากร
เพื่อเร่งการขยายตัวของการค้าและการลงทุนด้าน
อุตสาหกรรมเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน
1.4 การกระจายบริการทางการเงินสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น
(1) กำหนดเป็นนโยบายให้สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตใหม่
เปิดสำนักงานใหญ่ในภูมิภาค
(2) ส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม
เปิดสาขาหรือสาขาย่อย สำนักอำนวยสินเชื่อ
และสำนักบริการด้านหลักทรัพย์ในภูมิภาคและชนบทมากขึ้น
(3) ส่งเสริมให้บริษัทในภูมิภาคระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์
และศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาด
หลักทรัพย์
(4) ปรับปรุงและขยายสินเชื่อของสถาบันการเงินของรัฐ คือ
ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร
และสถาบันการเงินที่สนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
ให้ครอบคลุม
ลูกค้าและผู้มีรายได้หรือทุนน้อยในเมืองและชนบท
รวมทั้งเพิ่มปริมาณเงินทุนและสินเชื่อชนบท ให้สามารถ
ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชนและผู้ประกอบการรายย่อย
(5) จัดตั้งบรรษัทประกันสินเชื่อเทศบาลและส่งเสริมให้ส่วนท้องถิ่นออกพันธบัตรของตนเองเพื่อ
ระดมทุนในการพัฒนาท้องถิ่น
2. การกระจายบริการด้านสังคมและการศึกษา
2.1 การขยายบริการด้านการศึกษาและฝึกอบรม
(1) กระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงทุกระดับ ทุกพื้นที่
และทุกกลุ่มคนทั้งในระบบและนอกระบบโรง
เรียน
รวมทั้งการใช้สื่อการสอนที่ใช้เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศสมัยใหม่ในการเตรียมการสอน
พร้อม
ทั้งสนับสนุนงบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากร
และอุปกรณ์การศึกษาอย่างเพียงพอ
(2) ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมให้แก่กำลังคนที่ยังคงอยู่ในภาคการเกษตร
แต่สามารถจะประกอบ
อาชีพอื่น ๆ ในครัวเรือนเพื่อเพิ่มรายได้ เช่น
การรับเหมาช่วงงานจากโรงงานอุตสาหกรรมมาทำในครัวเรือน
หรือชุมชน
(3) ส่งเสริมให้มีการกระจายข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานอย่างทั่วถึงในภูมิภาคและท้องถิ่น
เพื่อเกื้อ
หนุนการกระจายงานจากโรงงานไปสู่ชุมชน
2.2 การกระจายบริการด้านสาธารณสุขและสวัสดิการสังคม
(1) ปรับปรุงการให้บริการสาธารณสุขของรัฐให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะการให้บริการแก่ผู้
ใช้บัตรสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย
(2) จัดสวัสดิการทางสังคมต่าง ๆ คือ สถานพยาบาล
สถานรับเลี้ยงเด็ก สวนสาธารณะอย่างทั่วถึง
และเท่าเทียมกัน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและจัดการ
และเร่งรัดให้ออกกฎหมายสวัสดิการสังคม
(3) สนับสนุนให้มีองค์กรที่มีเอกภาพระดับชาติทำหน้าที่กำหนดนโยบาย
วางแผน และกำกับดูแล
การประสานแผนการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้สอดคล้อง
กับการพัฒนาเมือง โครงสร้างพื้นฐานและบริการทางสังคม
บทที่ 4
การบริหารจัดการการพัฒนาภูมิภาคและชนบท
การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ต่าง
ๆ
นำไปสู่จุดมุ่งหมายของการลดความเหลื่อมล้ำของรายได้
และการกระจายโอกาสการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและ
ชนบท ดังนั้นในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
จึงมีการปรับปรุงระบบบริหารงานพัฒนาให้สอดคล้องกับ
แนวทางการพัฒนาประเทศที่เน้นการเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนในการกำหนดแนวทางการ
พัฒนาของตนเองมากขึ้น
ซึ่งจะต้องมีการกระจายอำนาจการบริหารงานบุคลากร และงบประมาณ
เพื่อเพิ่ม
ขีดความสามารถของระบบบริหารจัดการงานพัฒนาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ให้สามารถแก้ปัญหาและส่งเสริมการ
พัฒนาได้ทันกับขนาดและความรุนแรงของปัญหาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงของ
สภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งส่งเสริมบทบาทของทุกฝ่าย คือ ภาครัฐ
ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชา
ชนรวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชนในกระบวนการบริหารจัดการพัฒนาให้มากขึ้น
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้
ทรัพยากรในการพัฒนาของภาครัฐ และการดำเนินการพัฒนาด้านต่าง ๆ
จากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้อง
ถิ่นให้สอดคล้องกับนโยบายกระจายอำนาจและสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรท้องถิ่นระดับล่างให้สามารถ
ปฏิบัติงานตามภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีแนวทางหลักดังต่อไปนี้
1. การบริหารจัดการงานพัฒนาทั่วไป
เพื่อให้มีการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
มีหลักการสำคัญโดยให้จังหวัดและ
กลุ่มจังหวัดเป็นศูนย์กลางการพัฒนา โดยกำหนดแนวทางดังนี้
1.1 สนับสนุนให้มีการจัดทำแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับภาคและแผนพัฒนา
กลุ่มจังหวัด
เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดเพื่อการพัฒนาตามศักยภาพและ
ความต้องการในระยะยาว โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่
1.2 ปรับปรุงรูปแบบของแผนพัฒนาจังหวัด
ให้เป็นแผนที่ครอบคลุมการพัฒนาของจังหวัดในทุก
เรื่อง
มีความชัดเจนสามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่จะสนองความต้องการของพื้นที่ได้อย่างบูรณาการ
และ
สอดคล้องกับกรอบหรือแนวทางการพัฒนาในระดับภาคตลอดจนแผนกลุ่มจังหวัดที่จะมีการดำเนินการ
1.3 ปรับปรุงกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดในทุกระดับ
ให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ
กำหนดแนวทางการพัฒนา กำกับ รวมทั้งติดตามประเมินผลการพัฒนา
1.4 ปรับปรุงระบบงบประมาณและการบริหารบุคคลให้มีความคล่องตัว
สามารถนำไปดำเนินการ
ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา และสภาพพื้นที่ที่จะพัฒนา
และนโยบายการกระจายอำนาจสู่ภูมิภาค
และท้องถิ่น
1.5 ปรับปรุงระบบการติดตามประเมินผล
ให้มีการติดตามประเมินผลในทุกระดับ ทั้งในระดับชาติ
ระดับภาค และจังหวัด
เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแผนและยุทธศาสตร์การบริหารงานพัฒนา
1.6 พัฒนาและปรับปรุงระบบข้อมูลข่าวสาร
เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการงานพัฒนาใน
ทุกระดับ โดย
(1) ปรับปรุงขีดความสามารถในการพัฒนาระบบข้อมูลในระดับจังหวัดและอำเภอให้สูงขึ้น
โดยให้
สามารถจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลได้เอง โดยเฉพาะข้อมูลการพัฒนาชนบท
การป้องกันสาธารณภัย และ
การพัฒนาคุณภาพชีวิต
(2) ปรับปรุงเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจและสังคม
และคุณภาพชีวิตในชุมชนที่มีอยู่ให้เหมาะสมต่อการ
เปลี่ยนแปลงของกระบวนทัศน์การพัฒนา
(3) สนับสนุนการสร้างเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตและสังคมของชุมชนในระดับต่าง
ๆ เช่น ระดับชาติ
ระดับพื้นที่
ระดับกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตและสังคม
ในแต่ละระดับให้เหมาะสม
กับสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ
1.7 เพิ่มขีดความสามารถขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลใน
การปฏิบัติภารกิจตามนโยบายกระจายอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
(1) รัฐเป็นผู้สนับสนุนการดำเนินงานและการพัฒนาขีดความสามารถขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
เป็นหลัก
และเข้าร่วมแก้ไขปัญหาการพัฒนาเฉพาะในส่วนที่องค์กรระดับล่างมีขีดความสามารถไม่เพียงพอ
(2) จัดทำแผนแม่บทการคลังท้องถิ่นและแผนแม่บทการเงินการคลังเพื่อสังคม
เพื่อให้มีการกระจาย
ผลการพัฒนากลับสู่ท้องถิ่น และเร่งปฏิรูประบบการคลังท้องถิ่น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดเก็บภาษีจากฐาน
ที่เป็นจริง
เพื่อให้ท้องถิ่นมีรายได้ที่เพียงพอสำหรับการพัฒนาตนเองทั้งด้านเศรษฐกิจและบริการทางสังคม
(3) สนับสนุนบุคลากร งบประมาณ
และเครื่องใช้ที่จำเป็นแก่องค์การบริหารส่วนตำบลในการปฏิบัติ
ภารกิจตามนโยบายกระจายอำนาจ
1.8 กำหนดรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการบริหารงานพัฒนา
ทั้งทางด้านการจัดทำแผน การประสาน
แผน และการบริหารงบประมาณ ระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบล
และบทบาทภารกิจของราชการส่วนภูมิ
ภาคและส่วนกลาง
ที่จะลงไปดำเนินการพัฒนาในพื้นที่เพื่อให้มีความสอดคล้อง
และสนับสนุนซึ่งกันและกัน
1.9 ปรับปรุงคณะกรรมการระดับนโยบายที่รับผิดชอบการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบท
ในระดับชาติให้มีองค์ประกอบในลักษณะพหุภาคีมากขึ้น
1.10 เพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการการพัฒนา
เพื่อเสริมความมั่นคง รวมทั้งจัดระเบียบและพัฒนา
ชุมชนชายแดนและพื้นที่สูงให้เป็นถิ่นฐานถาวรและมีศักยภาพทางเศรษฐกิจ
โดยการปรับปรุงองค์กรการบริหาร
งาน การประสานงาน กระบวนการวางแผน
ระบบข้อมูลและเครื่องชี้วัดการพัฒนา ตลอดจนบุคลากรและระบบ
ติดตามประเมินผล
2. การปรับกระบวนการทำงานของภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน
และประชาชน ให้มีลักษณะพหุภาคี
เพื่อเป็นกลไกการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและความต้องการของชุมชนมากที่สุด
และ
นำไปสู่การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
โดยกระบวนการทำงานร่วมกันของพหุภาคีในจุดเริ่มต้นควรดำเนินการใน
ระดับจังหวัดก่อน ในลักษณะของประชาคมจังหวัด
ซึ่งถ้าหากได้ผลก็จะขยายลงสู่ระดับอำเภอ และตำบล รวม
ทั้งขยายขึ้นสู่ระดับภาค
เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันทั้งประเทศต่อไป
ทั้งนี้ประชาคมจังหวัดจะมีลักษณะ
เป็นรูปแบบการรวมตัวของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ
เพื่อร่วมกันคิดหาแนวทางการพัฒนาในพื้นที่โดยลักษณะการ
จัดตั้งควรให้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่มีระเบียบทางราชการรองรับ
และให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายโดยมีแนว
ทางหลักดังนี้
2.1 ภาครัฐควรกำหนดเป็นนโยบายสนับสนุนการจัดตั้งประชาคมจังหวัดตามแนวทางการพัฒนาใน
ลักษณะของพหุพาคี
2.2 สนับสนุนการดำเนินงานของประชาคมจังหวัด
ทั้งทางด้านงบประมาณและการประสานงาน
อย่างจริงจัง
CONTACT
Email me at pisitp@yahoo.com for your comment and/or discussions.
This page hosted by
Get your own Free Home Page