PsTNLP
Pisit' s Thai Natural Language Processing Laboratory
This lab is formed since 26-August-1998
e-mail pisitp@yahoo.com
Back to PsTNLP home page
ส่วนที่ 5
การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ
เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต
การพัฒนาสังคมไทยที่พึงปรารถนา
โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาคนไทยทุกคนให้เต็มศักยภาพ และ
มีการพัฒนาสภาวะแวดล้อมทางสังคมที่เกื้อหนุน
ตลอดจนการเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและ
ชนบทด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและดูแลรักษาสภาวะแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพนั้น
จำเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องมีการเสริมสร้างสมรรถนะทางเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง
และมีขีดความสามารถแข่งขันภาย
ใต้กระแสโลกาภิวัตน์อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว
การพัฒนาเศรษฐกิจที่จะสนับสนุนการพัฒนาประเทศในทิศทางใหม่ดังกล่าวข้างต้น
จะต้องเป็นการ
พัฒนาที่ไม่ยึดถือคนเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการผลิตเช่นในอดีตที่ผ่านมา
แต่จะต้องเป็นการพัฒนาที่ให้ประ
โยชน์ที่ยั่งยืนแก่คนไทย เป็นระบบเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างมีคุณภาพ
โดยมีพื้นฐานการขยายตัวจากการมี
ส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาของคนทุกคนในสังคม
มีการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่ที่มีการ
พัฒนาอยู่แล้วให้เป็นฐานเศรษฐกิจที่สมบูรณ์ มั่นคง
และการสร้างโอกาสในการพัฒนาฐานเศรษฐกิจใหม่
ของประเทศเพิ่มขึ้น
โดยให้คนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมและได้รับโอกาสในการพัฒนาอย่างทั่วถึง
มีการเพิ่ม
พูนทักษะและความรู้ความสามารถของคนด้วยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการสร้างรากฐาน
การผลิตที่เข้มแข็ง มีความสมดุลระหว่างภาคการผลิต
ควบคู่ไปกับพัฒนาเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ
และการแข่งขัน
อย่างเสรี
บทที่ 1
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์
เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
สามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนและ
สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นการวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน
และให้ประเทศสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกได้
กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจไว้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้มีการกระจายตัวไปในระดับพื้นที่
ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพให้คนทุก
กลุ่มได้มีโอกาสพัฒนาตนเองจากการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาและได้รับประโยชน์จากการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างทั่วถึง
1.2 เพื่อเสริมสร้างรากฐานการผลิตที่เข้มแข็ง
เกิดความสมดุลระหว่างภาคการผลิตและสร้างโอกาส
การมีงานทำและเพิ่มรายได้โดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งของคนในสังคม
1.3 เพื่อเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศให้มีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ
มีความมั่นคง
และมีประสิทธิภาพ
1.4 เพื่อให้การบริหารจัดการเศรษฐกิจ
สามารถปรับตัวได้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงสภาพแวด
ล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกประเทศ
2. เป้าหมาย
2.1 เป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่
เพื่อสร้างโอกาสใหม่ทางเศรษฐ
กิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
(1) พัฒนากลุ่มจังหวัดในภูมิภาคและพื้นที่ชายแดนในประเทศ
รวมทั้งกลุ่มจังหวัด และพื้นที่ชายแดน
ที่จะสามารถเชื่อมเข้ากับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน
(2) พัฒนากลุ่มพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ได้แก่
พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็นฐานเศรษฐกิจสมบูรณ์
ของประเทศนอกเหนือจากกรุงเทพมหานคร
และพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ให้เป็นฐานเศรษฐกิจใหม่ในระยะยาว
(3) พัฒนากลุ่มพื้นที่ภาคมหานครที่จะเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ชายฝั่งทะเลตะวันออก
อนุภาคกลางตอนบนและอนุภาคตะวันตก
2.2 เป้าหมายการสร้างรากฐานการผลิต
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มโอกาสการมีงานทำ
(1) พัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมชุมชนให้เป็นแหล่งรองรับและเชื่อมโยงการผลิต
โดยให้อุตสาหกรรมการเกษตรและแปรรูปสินค้าเกษตรมีบทบาทต่อการผลิตรวมของประเทศเพิ่มขึ้น
นำไป
สู่การเพิ่มรายได้และการมีงานทำของเกษตรกร
(2) จัดหาบริการพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิตของเกษตรกรทั้งที่เป็นแหล่งน้ำ
และ
ตลาดกลางสินค้าเกษตรระดับต่าง ๆ ในพื้นที่ที่เหมาะสม
(3) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่สำคัญในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
มีจำนวนนัก
ท่องเที่ยวต่างประเทศขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7 ต่อปี
และมีการขยายตัวของรายได้เงินตราต่างประเทศไม่น้อย
กว่าร้อยละ 15 ต่อปี
รวมทั้งสนับสนุนให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ
3
ต่อปี
(4) เพิ่มการสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาให้ได้ร้อยละ
0.75 ของผลผลิตรวมในประเทศ
โดยเพิ่มงบประมาณอุดหนุนการวิจัยของรัฐให้เป็นร้อยละ 2
ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
(5) ขยายปริมาณและเพิ่มคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการขยายฐานการผลิตและเสริมสร้าง
คุณภาพชีวิตที่ดี
(6) จัดหาพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการและยกระดับคุณภาพการบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน
การผลิตและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
2.3 เป้าหมายการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย
(1) รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้มีความมั่นคง โดย
(1.1) รักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเฉลี่ยร้อยละ
4.5 ต่อปี
(1.2) ลดการขาดดุลการค้าและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดให้เหลือร้อยละ
3.9 และร้อยละ 3.4 ของผล
ผลิตรวมในประเทศตามลำดับในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
(1.3) รักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับเฉลี่ยร้อยละ
8 ต่อปี เพื่อรองรับการจ้างงานของ
ประชาชนที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 34 ล้านคนในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 8
(2) เร่งระดมและสร้างโอกาสการออมของครัวเรือนเพื่อให้ประชาชนสามารถออมเงินได้เพิ่มขึ้นเป็น
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของผลผลิตรวมในประเทศในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 8
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ
จึงกำหนดยุทธศาสตร์การ
พัฒนาไว้ 3 ประการ ได้แก่
3.1 การพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่
3.2 การสร้างฐานการผลิตให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก
3.3 การเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจให้เข้มแข็งและมีเสถียรภาพ
บทที่ 2
การพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่
การที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้กระจายตัวไปในระดับพื้นที่ได้อย่างมั่นคงนั้น
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
เสริมสร้างศักยภาพของคนและชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ให้สามารถปรับตัวตามกระแสการเปลี่ยนแปลงทาง
เศรษฐกิจและสังคม
ด้วยการสร้างประสิทธิภาพให้แก่ฐานการผลิตที่มีอยู่แล้วและที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต
ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างโอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำ
ให้สอดคล้องกับศักยภาพ
ของแต่ละพื้นที่
ควบคู่ไปกับการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
การพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่
นอกจากจะต้องใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบของสภาพภูมิ
เศรษฐกิจของพื้นที่แล้วยังต้องมีการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ที่เป็นเอกภาพและครบวงจรควบคู่ไปกับการพัฒนา
กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สนับสนุนการพัฒนาคนและการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
รวมทั้งการดูแลกลุ่มคน
จนที่อาศัยอยู่ในเมืองและชุมชนแออัดให้สามารถพัฒนาตัวเองได้ในระยะยาวซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนาศักยภาพ
ทางเศรษฐกิจของพื้นที่และคนที่อาศัยในพื้นที่สามารถเกื้อหนุนซึ่งกันและกันได้อย่างต่อเนื่อง
1. การบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ
1.1 พัฒนากลุ่มจังหวัดที่มีศักยภาพทางภูมิเศรษฐกิจร่วมกันทั้งทางด้านทรัพยากร
และโครงสร้างการ
ผลิต
โดยเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนและจัดการตั้งแต่ต้น
1.2 สนับสนุนบทบาทภาคเอกชนในการพัฒนาพื้นที่ภูมิภาคและชนบทโดยปรับนโยบายส่งเสริมการ
ลงทุนให้ยึดปัจจัยเชิงพื้นที่เป็นเกณฑ์หลักในการส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้องกับนโยบายการจัดการเชิง
พื้นที่
1.3 กระจายบริการโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม
โดยเฉพาะการศึกษาที่ได้มาตรฐานทัดเทียมกับการให้
บริการในเขตกรุงเทพมหานครไปสู่พื้นที่ในภูมิภาคและชนบท
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคน และหยุดยั้ง
การอพยพเข้าเมืองใหญ่
ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสูงกระจายออกไปตั้งถิ่น
ฐานตามพื้นที่ต่าง ๆ ได้
1.4 พัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางบก ทางน้ำ
และทางอากาศ ให้ประสานเป็นโครงข่ายที่
สนับสนุนการพัฒนาชุมชนเมืองและชนบทอย่างเป็นระบบ
1.5 เสริมสร้างฐานชุมชนเมืองที่มีอยู่ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
รวมทั้งกลุ่มเมืองใหม่ที่จะเกิดขึ้น ทั้งในภาค
มหานคร กลุ่มจังหวัด
ศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคและบริเวณเมืองชายแดน
พื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่ และ
พื้นที่ชุมชุมเมืองใหม่
1.6 จัดให้มีระบบการวางแผนและประสานงานการพัฒนาแบบบูรณาการ โดย
(1) สนับสนุนให้เมืองที่เป็นชุมชนศูนย์กลางของพื้นที่
สามารถทำหน้าที่เป็นฐานรองรับและกระจาย
การพัฒนาไปสู่ชุมชนโดยรอบ มีการจัดระเบียบเมืองและชุมชนที่ดี
โดยมีการวางผังเมือง ระบบสาธารณูปโภค
ป้องกันและควบคุมปัญหาสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งการสนับสนุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและบริการ
ทางสังคม
เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ของชุมชนศูนย์กลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีโครงข่ายโครงสร้างพื้น
ฐานที่เชื่อมโยงกับชุมชนโดยรอบ และเมืองอื่น ๆ
ในพื้นที่เพื่อการเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
(2) ยึดแนวทางการประสานแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มจังหวัดที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา
พื้นที่เฉพาะเป็นหลักในการจัดสรรทรัพยากรในการพัฒนาของภาครัฐ
และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาค
เอกชน
องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) เพิ่มขีดความสามารถขององค์กรท้องถิ่นในทุกระดับในการวางแผนการจัดการและงบประมาณ
เพื่อการประสานความร่วมมือและผนึกกำลังกับภาคเอกชน
องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชนทั้งภายใน
และภายนอกในการพัฒนา
2. การพัฒนาพื้นที่และชุมชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจและการสร้างรายได้
2.1 การพัฒนาพื้นที่อนุภาคและพื้นที่ชายแดน
เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งและโอกาสทางเศรษฐกิจของพื้นที่
เมือง ชุมชน และคนในพื้นที่
โดยสร้างความเข้มแข็งให้แก่เมืองที่เป็นชุมชนศูนย์กลางของอนุภาคและเมืองชาย
แดน
ซึ่งมีศักยภาพที่จะเป็นประตูการค้าติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติให้สามารถเชื่อมโยงกับชุมชน
ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ
และเปิดติดต่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอินโดจีน
กลุ่ม
ประเทศอาเซียน และนานาชาติได้มากขึ้น
อันจะเป็นการพัฒนาฐานการผลิตใหม่ของประเทศในระยะยาวต่อไป
(1) พื้นที่ภายใต้ความร่วมมือเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย
อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการ
พัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ เมือง และชุมชน
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่งผลเชื่อมโยงถึงพื้นที่
ภาคใต้ตอนบนภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
โดยอาศัยความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศ
เพื่อนบ้าน ในด้านการค้า การลงทุน พลังงาน
และโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐาน
(2) พื้นที่ภายใต้ความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ
(กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทย เวียด
นาม และจีน (มณฑลยูนาน))
เพื่อสนับสนุนการสร้างอาชีพและการมีงานทำของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกของประเทศ
เป็นการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของ
อนุภาคและกลุ่มจังหวัดต่าง ๆ
เพื่อกระจายความเจริญไปยังเมืองศูนย์กลางและเมืองชายแดน
ซึ่งจะเป็นตัวกลาง
ในการถ่ายทอดผลการพัฒนาไปยังพื้นที่โดยรอบ
รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงในการติดต่อและร่วมมือ
ทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านในด้านการลงทุน การค้า การท่องเที่ยว
และโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐาน
(3) พื้นที่ภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุทวีป (ไทย
อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ และเมียน
มาร์) ซึ่งจะพัฒนาความร่วมมือด้านการค้า อุตสาหกรรม พลังงาน การบิน
และโครงข่ายการเดินเรือ โดยอาศัย
โครงสร้างพื้นฐานที่จะพัฒนาขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน
เป็นฐานเศรษฐกิจที่จะส่งผลถึงพื้นที่ภาคใต้และ
ด้านตะวันตกของประเทศ
2.2 การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก
ให้สมบูรณ์
และพร้อมที่จะรองรับการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเคลื่อนย้ายประชากร
โดยเฉพาะ
จากกรุงเทพมหานครและปริมณฑลไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่นี้ได้เพิ่มขึ้น
ควบคู่ไปกับการยกระดับให้เป็นประตู
เศรษฐกิจของประเทศที่สามารถเชื่อมโยงทางอากาศกับนานาชาติ
นอกเหนือจากทางทะเล โดย
(1) พัฒนาโครงข่ายระบบการขนส่งต่อเนื่องจากที่มีอยู่แล้ว
ดังนี้
(1.1) พัฒนาโครงข่ายถนนสายใหม่เชื่อมโยงพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนล่าง และกลุ่มประเทศอินโดจีน และก่อสร้างถนนสายรอง
เพื่อเปิดพื้นที่ใหม่ที่มีศักยภาพและพัฒนาเป็น
เขตอุตสาหกรรมและชุมชนเชื่อมโยงกับท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุด
(1.2) ลงทุนระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีในการเดินทางของประชาชนเชื่อมโยงกรุง
เทพมหานครกับท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2
และแหล่งชุมชนชายฝั่งทะเลตะวันออก
(2) สนับสนุนให้มีการจัดตั้งนิคม/เขตอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กในพื้นที่ตอนในที่มีศักย
ภาพ เพื่อส่งเสริมการลงทุนและจ้างงาน
(3) พัฒนาท่าเรือพาณิชย์ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็นท่าเรือหลักของประเทศแทนท่าเรือ
คลองเตยภายในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
และพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 และ 4 ให้แล้วเสร็จในช่วง
5 ปีต่อไป
เพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจหลักที่จะรองรับการจ้างงานของประชากรในพื้นที่
ควบคู่ไปกับการดูแลรักษา
สภาวะแวดล้อมที่ดีให้คงไว้
(4) พัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ให้มากขึ้น
และสนับสนุนภาคเอกชนให้
เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาการผลิตทางอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับการขนส่งทางอากาศ
และความก้าว
หน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อกระตุ้นให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบิน
(5) พัฒนาแหล่งน้ำ ระบบผลิตและจำหน่ายน้ำ
ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพให้เพียงพอและทั่วถึง
สำหรับชุมชนและแหล่งอุตสาหกรรม
โดยสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
(6) จัดให้มีพื้นที่เพื่อการพัฒนาบริการโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมด้านการศึกษา
สาธารณสุข การ
ฝึกอบรมควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ
เพื่อรองรับประชาชนที่อพยพเคลื่อนย้าย
จากที่ต่าง ๆ
เข้ามาทำงานและอยู่อาศัยอย่างถาวรและให้ประชาชนได้รับผลจากการพัฒนาอย่างสมบูรณ์
(7) จัดระบบกลไกการบริหารจัดการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เกิดความคล่องตัวและมีประ
สิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
และนำไปสู่การมีองค์กรถาวรที่มีเอกภาพทำหน้าที่กำกับดูแลการวางแผน
การพัฒนาและ
การบริหารจัดการภายในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
(8) พัฒนาระบบกลไกเพื่อสร้างกระบวนการให้ประชาชนและชุมชนในระดับพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วม
ในการจัดทำแผนงานการพัฒนาของรัฐและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่าง
ๆ อย่างต่อเนื่อง
2.3 การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
เพื่อเพิ่มสมรรถนะการขนส่งทางทะเลของประเทศไทย โดย
อาศัยศักยภาพด้านภูมิเศรษฐกิจตอนใต้ในการพัฒนา สะพานเศรษฐกิจ
ด้วยระบบคมนาคมขนส่งสมัยใหม่ที่
มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงทะเลอันดามันกับอ่าวไทย
อันจะเป็นการเปิดประตูเศรษฐกิจใหม่ของประเทศออกสู่
ทะเลด้านมหาสมุทรอินเดีย
และช่วยส่งเสริมโอกาสของประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงเศรษฐกิจ
กลุ่มเอเซียตะวันออกและกลุ่มเอเซียใต้ ดังนี้
(1) พัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานหลัก นิคมอุตสาหกรรม
ท่าเรือ และเขตชุมชน เพื่อสนับสนุน
การลงทุนทางด้านอุตสาหกรรม
ควบคู่ไปกับการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การบริหารจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(1.1) ริเริ่มการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกชายฝั่งทะเล
ทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกของภาคใต้ในพื้นที่ที่
เหมาะสม
และจัดระบบคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงทะเลอันดามันกับอ่าวไทยเพื่อการขนส่งสินค้าและกระจาย
ความเจริญไปสู่ภาคใต้
(1.2) พัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่ง ทั้งทางถนน รถไฟ และท่อน้ำมัน
และถนนเชื่อมทะเลอันดา
มันกับอ่าวไทย พร้อมทั้งโครงข่ายถนนรองรับให้สอดคล้องกับผังเมือง
(2) สนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนในการลงทุนในอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมัน
อุตสาหกรรมปิโตร
เลียม อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
รวมทั้งการพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ
(3) ประสานความร่วมมือกับประชาชนในพื้นที่ในการจัดหาที่ดิน
และการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อรองรับ
การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ในระยะเริ่มแรกและระยะยาว
(4) วางระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยกำหนดมาตรการที่เข้มงวดเพื่อ
สนับสนุนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
โดยเฉพาะการฟื้นฟูบูรณะแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อ่าวกระบี่ พังงา
ภูเก็ต และทะเลโดยรอบเกาะสมุย
(5) จัดให้มีกลไกการบริหารและจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
โดยมีองค์กรที่มีเอกภาพ เพื่อทำหน้า
ที่พัฒนา บริหาร
และประสานการปฏิบัติการตามแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้อย่างเป็นระบบ
โดยให้
ประชาชนและชุมชนในระดับพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงานการพัฒนาของรัฐและการติดตาม
ความก้าวหน้าของโครงการอย่างต่อเนื่อง
(6) จัดให้มีพื้นที่เพื่อการพัฒนาบริการโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม
ด้านการศึกษา สาธารณสุข การฝึก
อบรมควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ
เพื่อให้ประชาชนได้รับผลจากการพัฒนาอย่าง
สมบูรณ์
2.4 การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก
เพื่อให้เป็นศูนย์กลางรองรับการกระจายความเจริญออกจาก
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ไปสู่ภูมิภาคอีกพื้นที่หนึ่งนับตั้งแต่ช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
(2540-2544)
เป็นต้นไป
ด้วยการริเริ่มพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งสู่ฝั่งทะเลอันดามันในเมียนมาร์
และพัฒนาอุตสาหกรรม
ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติจากเมียนมาร์เป็นเชื้อเพลิงในบริเวณตอนบนของพื้นที่ควบคู่ไปกับการเร่งให้การสนับสนุน
ภาคเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กสมบูรณ์แบบและท่าเรือน้ำลึกในบริเวณตอนใต้ของพื้นที่
โดย
(1) จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก
เน้นการใช้ประโยชน์ที่ดิน การบริหารและ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับบทบาททางเศรษฐกิจในแต่ละกลุ่มพื้นที่
(2) เร่งจัดทำแผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานหลัก เช่น น้ำ ถนน
ไฟฟ้า และท่าเรือ เพื่อสนับสนุน
การลงทุนที่สนองตอบนโยบายกระจายอุตสาหกรรมไปในพื้นที่
(3) ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่เชื่อมโยงไทย-เมียนมาร์
บริเวณที่เป็น
ประตูออกสู่ทะเลอันดามัน
(4) วางระบบบริหารและการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก
โดยมีองค์กรทำหน้าที่ในการประสาน
และผลักดันให้มีการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
2.5 การพัฒนาพื้นที่ภาคมหานคร
ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ชุมชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ชุมชน
ชายฝั่งทะเลตะวันออก ชุมชนอนุภาคกลางตอนบน และชุมชนอนุภาคตะวันตก
เพื่อให้เป็นฐานเศรษฐกิจที่
เกื้อหนุนซึ่งกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีการกำหนดแนวทางการขยายตัวของกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล
ตลอดจนมีการประสานการจัดการใช้ประโยชน์ที่ดินและการลงทุนโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่
สอดคล้องกัน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของฐานการผลิตหลักของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนใน
ภาคมหานคร ดังนี้
(1) จัดระเบียบการขยายตัวของชุมชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เพื่อพัฒนาให้คนเป็นศูนย์
ธุรกิจ การเงิน การค้า และศูนย์ข่าวสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
ประกอบด้วย
(1.1) ชุมชนใจกลางเมืองมหานคร
โดยพัฒนาฟื้นฟูเกาะรัตนโกสินทร์ตามแผนแม่บท ได้แก่ การฟื้น
ฟูชุมชนเมืองเดิมที่เสื่อมสภาพ
การจัดระเบียบการก่อสร้างและขยายตัวของย่านธุรกิจการค้าและที่อยู่อาศัยที่
เป็นอาคารสูง โดยยังรักษาสภาพแวดล้อมชุมชนที่ดีให้คงไว้
(1.2) ชุมชนชานมหานคร
โดยวางแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพเชื่อมโยงชุมชน
ชานมหานครกับพื้นที่ชุมชนใจกลางมหานคร
พร้อมทั้งจัดโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐานสำหรับ
การพัฒนาที่อยู่อาศัย ศูนย์ราชการ
ตลอดจนจัดระเบียบศูนย์ธุรกิจการค้าที่จะช่วยรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ของชุมชนชานมหานคร เพื่อบรรเทาความแออัดของใจกลางเมืองมหานครได้
(1.3) ชุมชนเมืองใหม่ในพื้นที่รอบนอกกรุงเทพมหานคร
โดยเป็นชุมชนเมืองใหม่ที่มีศักยภาพ เป็น
แหล่งสร้างงาน
และสามารถรองรับการกระจายกิจกรรมและการลงทุนจากกรุงเทพมหานคร
โดยมีการจัดโครง
ข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐานสากล
พร้อมทั้งดำเนินการเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีควบคู่
กันไป
(2) พัฒนาชุมชนพื้นที่ตอนในชายฝั่งทะเลตะวันออก
โดยเฉพาะบริเวณจุดตัดถนนทางหลวงกับสถานี
รถไฟ โดยการพัฒนาชุมชนเมืองที่เป็นระบบทั้งด้านการใช้ที่ดิน
โครงข่ายระบบโครงสร้างพื้นฐาน และระบบ
โครงสร้างพื้นฐานทางสังคมเพื่อบริการชุมชนเมืองต่าง ๆ
เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง
(3) พัฒนาชุมชนอนุภาคกลางตอนบนและชุมชนอนุภาคตะวันตก
โดยแบ่งเขตการใช้ที่ดินเพื่อที่อยู่
อาศัย พาณิชยกรรม อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
โดยครอบคลุมถึงพื้นที่ระดับจังหวัด เพื่อให้การดำเนินงาน
เป็นระบบและไม่เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะจากโรงงานอุตสาหกรรม
(4) แก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
ทุกกลุ่มและสังคมให้ดีขึ้น โดยมีแนวทางดังนี้
(4.1) ให้ความสำคัญลำดับแรกต่อระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ
รวมทั้งเตรียมการ
ขยายโครงข่ายออกไปยังชุมชนชานเมืองรอบกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้ความสะดวกในการเดินทางของประ
ชาชนและช่วยลดการใช้รถส่วนบุคคลในการเดินทางเข้าออกในเขตกรุงเทพมหานคร
(4.2) ใช้ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและระบบรถไฟฟ้าเป็นปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาชุมชนชาน
มหานคร ชุมชนเมืองใหม่ และศูนย์ธุรกิจให้กระจายออกไปอย่างเป็นระบบ
เพื่อลดความแออัดภายในเมือง
และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน
(4.3) จัดให้มีสถานีกลางระบบขนส่งในย่านใจกลางกรุงเทพมหานคร
เพื่อเชื่อมโยงระบบรถไฟฟ้า
ขนส่งมวลชนและระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ
ในการอำนวยความสะดวกและให้บริการที่ดีแก่ประชาชน ทั้งนี้
รวมถึงการจัดระบบอำนวยความสะดวกในการใช้บริการทั้งในเขตย่านสถานีและการเข้าถึงย่านสถานี
(4.4) สนับสนุนให้หน่วยงานของภาครัฐและเอกชนย้ายแหล่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่
ซึ่ง
ก่อให้เกิดการขนส่งเป็นจำนวนมากในพื้นที่ย่านธุรกิจชั้นในที่แออัดคับคั่ง
รวมทั้งหน่วยงานราชการให้กระจาย
ออกไปอยู่พื้นที่ที่จัดเตรียมไว้นอกกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
และส่งเสริมให้มีการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจ
พร้อมกับแหล่งที่อยู่อาศัย
เพื่อให้การพัฒนาพึ่งพาตนเองได้อย่างสมบูรณ์
(4.5) จัดระบบการจราจร
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้รถและใช้ถนนให้มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะ
ในย่านธุรกิจและเขตชานเมือง รวมทั้งนำเทคโนโลยีสมัยใหม่
โดยเฉพาะการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโน
โลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการจัดระบบจราจรให้มากขึ้น
ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างเข้ม
งวด และการร่วมมือกันระหว่างรัฐกับประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน
ในการรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ผู้ขับรถมี
วินัยการจราจรอย่างเคร่งครัด
(4.6) จัดให้มีโครงข่ายถนนเลี่ยงเมืองรอบเขตกรุงเทพมหานครให้เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายเข้ากับถนน
วงแหวน เพื่อช่วยลดความแออัดของการจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร
(5) กำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดประสิทธิภาพ โดย
(5.1) กำหนดพื้นที่เพื่อใช้ในการระบายน้ำในฤดูน้ำหลาก
เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณด้าน
ตะวันออกและด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ตั้งแต่จังหวัดอ่างทองจนถึงสมุทรปราการ
(5.2) กำหนดพื้นที่รอยต่อระหว่างชุมชนเมืองให้มีความหนาแน่นน้อย
และในระยะยาวรักษาไว้เป็น
พื้นที่น้ำหลากเพื่อป้องกันน้ำท่วมในเขตเมือง
(5.3) กำหนดให้มีพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์และพื้นที่สีเขียว
เพื่อพัฒนาแหล่งอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์
และวัฒนธรรม และเพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะขนาดต่าง ๆ
(5.4) รัฐเป็นแกนนำในการปรับปรุงพื้นฟูเมือง
โดยนำเอาที่ดินของส่วนราชการที่ยังใช้ประโยชน์ไม่
เต็มที่มาพัฒนาเป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชน
และถนนเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาจราจร
(6) ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและประชาชนในการจัดการด้านผังเมืองอย่างเป็นระบบและ
เกิดประสิทธิผลในทางปฏิบัติ
ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีบทบาทหลักในการพัฒนาและการจัดทำ
งบประมาณอย่างมีขั้นตอน
3. การจัดให้มีองค์ประกอบของชุมชนที่สมบูรณ์
โดยรัฐสนับสนุนให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วมในกระบวน
การวางแผนและจัดการกันเอง
3.1 สนับสนุนให้มีกลไกและองค์กรระดับท้องถิ่นเพื่อเป็นแกนกลางในการจัดทำผังเมืองรวม
ผังเมือง
เฉพาะของชุมชนและแผนแม่บทการพัฒนาชุมชนชายแดน
3.2 สนับสนุนให้มีระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงกันระหว่างชุมชนศูนย์กลางต่าง
ๆ และ
ชนบท
3.3 นำที่ดินของรัฐในเมือง
โดยเฉพาะที่ดินที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์มาพัฒนาให้เกิดการใช้ประโยชน์
อย่างสมดุลระหว่างกิจกรรมทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของชุมชน
4. การรักษาสภาพแวดล้อมและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเมือง
4.1 จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองและแผนปฏิบัติการ
เพื่อจัดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวด
ล้อมเมืองตามลำดับความสำคัญของปัญหา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ตลอดจนจัดทำแผนการลงทุนเพื่อ
ให้สามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนพัฒนาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเมืองมากขึ้น
ด้วยการนำมาตรการส่งเสริมการลงทุนมาใช้กับกิจการด้านการควบคุม
ป้องกันและแก้ไขมลพิษที่ภาคเอกชน
เป็นผู้ดำเนินการ
รวมทั้งพิจารณาสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อลดภาระการลงทุนของ
ภาคเอกชน
4.3 พิจารณาให้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ก่อนประกาศเขตอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
และการ
ดำเนินโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐที่จะมีผลต่อสาธารณชนทั้งทางตรงและทางอ้อม
เพื่อสร้างความเข้าใจ
และให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรวมตลอดทั้งให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการมากขึ้น
4.4 เตรียมการป้องกันและควบคุมปัญหาสิ่งแวดล้อม
อันเนื่องมาจากการขยายตัวของชุมชนเมืองใน
เมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคและเมืองชายแดน
โดยให้มีแนวทางควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่าง
มีประสิทธิภาพ ตลอดจนใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อการควบคุมมลพิษ
การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย และ
การรักษาสภาพแวดล้อม
4.5 ปรับสภาพแวดล้อมในชุมชนแออัดให้เหมาะสมและขยายบริการสังคมให้เข้าถึงชุมชนอย่าง
กว้างขวาง รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคสังคมเมืองต่าง ๆ
โดยเฉพาะโรคเอดส์และการป้องกัน
ปัญหามลภาวะพิษ
5. การแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนจนในเมือง
การสร้างโอกาสให้แก่ชุมชน
และคนจนในเมือง
เพื่อแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วที่ผ่าน
มา
จำเป็นต้องยกระดับคุณภาพชีวิตของคนจนที่อยู่ในเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ
โดยการพัฒนาที่อยู่อาศัย
อาชีพ รายได้ บริการสังคม และสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้ชุมชนและคนจนในเมืองสามารถก่อร่างสร้าง
ตัวและช่วยเหลือตนเองต่อไปได้อย่างถาวร โดยมีแนวทางพัฒนาดังนี้
5.1 ให้มีคณะกรรมการประสานการพัฒนาชุมชนเมืองระดับชาติ
เพื่อกำหนดนโยบาย ประสานและ
กำกับดูแลการดำเนินงานและงบประมาณในการพัฒนาชุมชนแออัด
และคนจนในเมืองอย่างเป็นเอกภาพ โดย
มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีรองรับและมีผู้แทนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งการประสานกับคณะกรรมการ
ในระดับท้องถิ่นต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด
5.2 การเพิ่มบทบาทของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดและคนจนในเมือง
(1) จัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนเมือง
โดยสนับสนุนด้านสินเชื่อและอื่น ๆ สำหรับการแก้ปัญหาด้าน
ที่อยู่อาศัย อาชีพ สภาพแวดล้อม สุขภาพอนามัย และการรื้อย้ายชุมชน
เพื่อให้การแก้ไขปัญหาและปรับปรุง
พัฒนาชุมชนแออัดและคนจนในเมือง สามารถดำเนินการได้อย่างกว้างขวาง
ครบวงจร และต่อเนื่อง
(2) สนับสนุนให้มีการพิจารณาจัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับชุมชนแออัด
รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาชุมชนแออัดและคนจนในเมือง
ตลอดจนปรับวิธีการจัดสรรงบประมาณให้
ลงสู่ชุมชนอย่างแท้จริง
(3) จัดทำแผนการพัฒนาและจัดหาที่อยู่ที่เหมาะสมของชุมชนแออัด
แรงงานอุตสาหกรรมและคนจน
ในเมือง รวมทั้งแผนป้องกันการเกิดชุมชนแออัด
โดยให้ชาวชุมชนมีบทบาทสำคัญในการจัดเตรียมแผนไว้ล่วง
หน้าร่วมกับเจ้าของที่ดินและหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
โดยมีหน่วยงานภายนอกอื่น ๆ ร่วมให้การสนับสนุน
รวมทั้งการพิจารณานำที่ดินของรัฐที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่มาใช้ประโยชน์ให้เกิดความสมดุลทั้งในเชิงเศรษฐ
กิจและการพัฒนาที่อยู่อาศัยของคนจนในเมือง
(4) ใช้มาตรการภาษีส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย
เช่น เพิ่มค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคล
ธรรมดาในส่วนค่าดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อย
เป็นต้น
5.3 พัฒนาขีดความสามารถของชุมชนแออัดเพื่อเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
(1) ส่งเสริมความรู้ทักษะในการจัดการทางการเงินของชาวชุมชนและกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชนให้เข้ม
แข็ง และสามารถสร้างโอกาสการระดมเงินทั้งจากแหล่งงบประมาณของรัฐ
ภาคเอกชนและแหล่งเงินกู้ในระบบ
เพื่อการพัฒนาชุมชน อาชีพ
และที่อยู่อาศัยได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว
(2) ส่งเสริมพัฒนาชุมชนในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
โดยพัฒนาฝึกอบรมผู้นำชุมชนและผู้นำกลุ่ม
เยาวชนให้ตระหนักถึงการปรับปรุงพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
และระดมความร่วมมือจากผู้อยู่อาศัย
ในชุมชนให้ดำเนินการพัฒนาร่วมกันกับหน่วยงานส่วนท้องถิ่น
5.4 จัดระบบองค์กรและหน่วยงานที่สามารถเอื้ออำนวยในการเจรจาตกลงเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง
ระหว่างเจ้าของที่ดินและชาวชุมชนให้สิ้นสุด
และเป็นไปโดยราบรื่นสันติ ตลอดจนจัดให้มีการประมวลความ
อบรมและเพิ่มพูนความชำนาญเกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขความขัดแย้งดังกล่าว
บทที่ 3
การสร้างฐานการผลิตให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก
การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
การค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการเปิด
เสรีทางการค้าและบริการ รวมทั้งกฎเกณฑ์ทางการค้าระหว่างประเทศใหม่ ๆ
จะมีผลทำให้รูปแบบการผลิตและ
การค้าของประเทศต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ทั้งนี้ในการสร้างรากฐานการผลิตที่เข้ม
แข็งในระยะยาวจำเป็นต้องรักษาภาคเกษตรให้ยังคงเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศ
เพื่อเสริมสร้างศักย
ภาพของประเทศไทยในการเป็นแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงประชากรภายในประเทศและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรราย
สำคัญของตลาดโลก มีการเชื่อมโยงกิจกรรมระหว่างภาคเกษตร อุตสาหกรรม
บริการ โดยการพัฒนาวิทยา
ศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
แทนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย
ตลอดทั้งการพัฒนาบริการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิ
ภาพการผลิต และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกระดับให้ดีขึ้น
1. การปรับโครงสร้างการผลิตให้เข้มแข็งเพื่อให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก
1.1 การสร้างรากฐานการผลิตที่มั่นคง
(1) การปรับโครงสร้างการผลิตการเกษตร และการแปรรูปการเกษตร
โดย
(1.1) ปรับโครงสร้างการใช้ที่ดินการเกษตรไปสู่การกระจายการผลิตมากขึ้น
มีการกระจายพื้นที่ทำนา
ไปยังพืชอื่น ๆ
โดยให้มีแหล่งน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กเพียงพอกับความต้องการในแต่ละพื้นที่
(1.2) สนับสนุนภาคเอกชนและชุมชนในการปลูกสวนป่าเพื่อสนองความต้องการใช้ไม้ในประเทศ
รวมทั้งในอุตสาหกรรมแปรรูปจากไม้
และอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกับการใช้ไม้เป็นวัตถุดิบ
(1.3) สนับสนุนอุตสาหกรรมการเกษตรและการแปรรูปสินค้าเกษตร
โดยจัดตั้งเขตการผลิตสินค้า
เกษตรเพื่อเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรม โดยคำนึงถึงศักยภาพของพื้นที่
และให้สิ่งจูงใจเป็นพิเศษด้านภาษี
และเงินทุนดอกเบี้ยเงื่อนไขผ่อนปรนสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรที่จัดตั้งในแหล่งวัตถุดิบ
(2) ปรับโครงสร้างการผลิตด้านอุตสาหกรรมและบริการ
(2.1) เพิ่มรากฐานโครงสร้างอุตสาหกรรมให้มั่นคงโดยการพัฒนาและส่งเสริมการลงทุนในอุตสาห
กรรมสนับสนุน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องไฟฟ้า
อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
และอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม
รวมทั้งจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมเฉพาะด้านสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรม
สนับสนุน
อุตสาหกรรมประกอบกิจกรรมบริการและการค้าในลักษณะของเขตปลอดภาษีศุลกากรไว้ในเขต
เดียวกัน
(2.2) เพิ่มขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
โดยการเพิ่มประสิทธิภาพ
การจัดหาและปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต
การส่งเสริมการลงทุนและการใช้มาตรการจูงใจด้านการเงินการคลัง
สำหรับกิจกรรมการพัฒนาและการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต
การจัดสร้างระบบข้อมูลและเผยแพร่ความก้าว
หน้าในเทคโนโลยีการผลิตระหว่างกลุ่มผู้ผลิต
รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่อุตสาหกรรมขนาดกลางและ
ขนาดเล็ก
(2.3) พัฒนาการให้บริการและระบบการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อสร้างความมั่นใจ
ให้แก่เจ้าของสิทธิและเป็นการกระตุ้นการคิดค้นเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศและสนับสนุนการขยาย
การส่งออกในตลาดใหม่ ๆ รวมทั้งเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดดั้งเดิม
(3) การปรับประสิทธิภาพแรงงานและจัดระบบแรงงาน
(3.1) เพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรและผู้ประกอบการในภาคเกษตร
อุตสาหกรรม และการ
บริการให้สามารถรับและทำงานร่วมกับเทคโนโลยีการผลิตใหม่โดยการเพิ่มการฝึกอบรม
การให้สินเชื่อเพื่อ
การฝึกอบรม
และการใช้มาตรการด้านภาษีเพื่อสนับสนุนภาคเอกชนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน
รวมทั้งการ
จัดตั้งสถาบันอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานเฉพาะประเภทอุตสาหกรรม
(3.2) จัดระบบบริหารจัดการแรงงานต่างชาติที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมาย
โดยมิให้เกิดผลกระทบต่อ
โอกาสในการมีงานทำ และรายได้ของแรงงานไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม
และความมั่นคงของประเทศ
(3.3) เพิ่มบทบาทและการมีส่วนร่วมของลูกจ้าง นายจ้าง
และองค์กรต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบแรง
งานสัมพันธ์ สวัสดิการ และการคุ้มครองแรงงาน
การกำหนดค่าจ้างและผลตอบแทน การประกันสังคม ตลอด
จนความปลอดภัยในการทำงาน
(3.4) สนับสนุนการพัฒนาทักษะฝีมือ วิชาชีพ การตลาด
การบริหารจัดการ ข้อมูลข่าวสารและเงินทุน
ให้แก่กลุ่มผู้ที่ทำงานในสาขาการจ้างงานนอกระบบ
โดยเฉพาะผู้รับเหมาช่วงการผลิต ผู้รับงานไปทำที่บ้านให้มี
ความสามารถในการพัฒนาธุรกิจให้เป็นระบบและสามารถแข่งขันในตลาดได้
รวมทั้งการสนับสนุนการรวมกลุ่ม
จัดตั้งองค์กรและสร้างเครือข่ายการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการส่งเสริมพัฒนาและคุ้มครอง
ดูแลอย่างเป็นระบบ
(4) สนับสนุนองค์กรชุมชนให้มีบทบาทในการปรับโครงสร้างการผลิตและสร้างรากฐานการผลิตที่
มั่นคงของประเทศ
โดยการปรับปรุงกฎหมายให้สามารถส่งเสริมอำนวยความสะดวก
และรับรองสิทธิของชุม
ชน ใช้มาตรการด้านการคลังและภาษีเพื่อกระตุ้นการสร้างองค์กรชุมชน
สนับสนุนข้อมูลข่าวสาร การฝึกอบรม
และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
1.2 การสร้างความสมดุลของการผลิตกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(1) สนับสนุนเกษตรกรในการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรภายใต้แนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน
สอด
คล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งจะช่วยลดอุปสรรคของการส่ง
ออกสินค้าเกษตรของไทยในระยะยาว
โดยเฉพาะสินค้าเกษตรแปรรูปประเภทอาหารและเครื่องอุปโภคบริโภค
ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ยาแผนโบราณ และอาหารปลอดสารพิษ เป็นต้น
(2) ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมในระดับต่ำ
โดยให้การสนับสนุนเป็น
พิเศษสำหรับอุตสาหกรรมที่นำเอาการลด-การใช้ใหม่-การแปรรูปกลับมาใช้ใหม่
เข้ามาใช้
(3) ส่งเสริมให้มีการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
โดยการรับรอง
ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ไอ เอส โอ 14000)
(4) ส่งเสริมให้มีการติดฉลากเพื่อแสดงถึงการอนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
เช่น ฉลากสีเขียว เพื่อ
รณรงค์ให้มีการผลิตสินค้าที่ไม่ก่อปัญหามลพิษ
(5) รณรงค์และส่งเสริมการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เช่น พืชผักอนามัย
(6) ให้มีการกำหนดและจัดเก็บค่าบำบัดและกำจัดมลพิษจากอุตสาหกรรมและชุมชนที่สะท้อนถึงต้น
ทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย
รวมทั้งพิจารณาการใช้มาตรการภาษีสิ่งแวดล้อมที่เก็บ
จากผู้ก่อให้เกิดมลพิษ
ตลอดจนมาตรการให้สิ่งจูงใจในด้านภาษีแก่ผู้ที่รักษาสิ่งแวดล้อม
(7) ให้มีการควบคุมมลพิษจากอุตสาหกรรม
โดยใช้ระบบตรวจสอบและบันทึกผล เพื่อให้สามารถ
ควบคุมและป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(8) จัดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม
โดยให้สิทธิพิเศษเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งโรงงาน
กำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมและออกกฎระเบียบบังคับการบำบัดกากของเสีย
(9) บังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
โดยการตรวจสอบ ลงโทษ
และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลอุตสาหกรรม
(10) ปรับปรุงกฎหมายเพื่อกำหนดให้โครงการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและบริการที่มีปัญหามลพิษ
สูง และมีผลกระทบต่อคุณภาพชุมชนโดยตรง เช่น โรงงานอุตสาหกรรมเคมี
จะต้องจัดให้มีการจัดทำประชา
พิจารณ์หลังจากการจัดทำผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ
และกำหนดเป็นขั้นตอนสำคัญใน
การพิจารณาอนุมัติโครงการด้วย
1.3 การเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก
(1) การพัฒนาด้านมาตรฐานและคุณภาพสินค้า
(1.1) พัฒนามาตรฐานสินค้า องค์กร และกลไกการตรวจสอบ
ให้เข้าสู่ระดับสากลเป็นที่ยอมรับของ
ต่างประเทศ โดย
ก. รัฐจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
มาตรฐานและกฎระเบียบทางวิชาการสุขอนามัยของ
ผลิตภัณฑ์เกษตร
เพื่อให้ภาคเอกชนรับทราบและนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานระหว่าง
ประเทศ
ข. รับรององค์กรทั้งในและต่างประเทศที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการรับรองผลิตภัณฑ์และการ
รับรองระบบคุณภาพ (ไอ เอส โอ 9000)
เพื่อให้การขยายงานดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
ค. พัฒนากลไกตรวจสอบของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ
เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศและลดภาระ
ของผู้ส่งออก
รวมทั้งสนับสนุนภาคเอกชนในการจัดตั้งองค์กรหรือสถาบันที่ได้มาตรฐานเพื่อตรวจสอบคุณ
ภาพสินค้าส่งออก
(1.2) กำหนดท่าทีจุดยืนของประเทศให้ชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ใหม่
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่าง
ประเทศ โดยการศึกษากฎหมาย
กฎระเบียบในประเทศที่เกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และมาตรการสุขอนามัย
ต่าง ๆ และปรับปรุงให้สอดคล้องกับกฎระเบียบและมาตรฐานระหว่างประเทศ
เพื่อประโยชน์ในการเจรจาการ
ค้าระหว่างประเทศ
(2) การปรับตัวด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และการบริการ
(2.1)
ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้า
ร่วมกัน
(2.2) จัดทำแผนปรับตัวด้านการเกษตรเพื่อให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดการค้าสินค้าเกษตร
โดย
ก. พัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าและการบรรจุหีบห่อสำหรับกลุ่มสินค้าเกษตรส่งออกที่ประเทศไทย
มีโอกาสขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้นจากการเปิดเสรีทางการค้าในภูมิภาคต่าง
ๆ ของโลก โดยสนับสนุนด้าน
เทคโนโลยีและปัจจัยการผลิต
ซึ่งจำเป็นต่อการขยายฐานการผลิตและการแข่งขัน
โดยไม่ขัดต่อข้อตกลงการค้า
ระหว่างประเทศ
ข. จัดทำแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสำหรับกลุ่มสินค้าเกษตรที่ขาดความได้เปรียบหรืออนา
คตเชิงธุรกิจ
แต่มีโอกาสที่จะพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถยกระดับการผลิตให้ใกล้เคียงกับประเทศ
คู่แข่งขัน โดยให้มีการคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมตามสภาพภูมิประเทศ
ค. เตรียมแผนการปรับตัวรองรับเพื่อปรับเปลี่ยนปริมาณการผลิตสำหรับสินค้าเกษตรประเภทที่ไม่
สามารถแข่งขันในตลาดโลกไปสู่การผลิตสินค้าอื่นที่มีศักยภาพในการแข่งขันในอนาคต
รวมทั้งจัดทำแผน
การผลิตและแผนการตลาดรองรับ
(2.3) ลดการคุ้มครองภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นขั้นตอนตามข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษี
ศุลกากรและการค้ารอบอุรุกวัย และข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน
และจัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวของสา
ขาอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะสาขาที่จะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า
(2.4) ขยายความร่วมมือด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญากับประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มแม่น้ำ
โขงภูมิภาคอาเซียน และภูมิภาคอื่น ๆ
เพื่อขยายความคุ้มครองและปกป้องผลประโยชน์ของไทยให้มากขึ้น
รวมทั้งเพื่อเตรียมการให้ไทยเป็นศูนย์กลางทรัพย์สินทางปัญญาในภูมิภาค
(3) การเพิ่มขีดความสามารถในสาขาบริการ
(3.1) พัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว
โดยการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน ให้คง
ไว้ซึ่งความมีเอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ ความเป็นธรรมชาติ ความสะอาด
ความปลอดภัย ตลอดจนพัฒ
นาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทางด้านการท่องเที่ยวให้มีเพียงพอ
(3.2) ส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพจากต่างประเทศให้มีช่วงพำนักในประ
เทศไทยนานขึ้น
และให้มีบริการด้านแหล่งจับจ่ายใช้สอยสำหรับนักท่องเที่ยว
รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว
ในประเทศและปลูกฝังจิตสำนึกในการเป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ
มีความรักและหวงแหนในทรัพยากร
แหล่งท่องเที่ยวให้กับคนไทย
(3.3) ร่วมมือกับกลุ่มประเทศอาเซียนและอินโดจีนเพื่อพัฒนาวงจรการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน
และอินโดจีน โดยใช้กลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกัน
(3.4) พัฒนาโครงข่ายการคมนาคมและโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานระหว่างเมืองศูนย์กลางการท่อง
เที่ยวในแต่ละภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับเมืองอื่น ๆ
ในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน
(3.5) พัฒนาธุรกิจประกันภัยให้พร้อมรับการเปิดเสรีด้านบริการประกันภัย
สามารถเป็นแหล่งระดม
เงินออมของประชาชนและสนับสนุนการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุน โดย
ก. จูงใจให้ธุรกิจประกันภัยเพิ่มทุนเพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 4 ของเงินสำรองประกันชีวิต
และธุรกิจประกันวินาศภัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันภัย
รับสุทธิในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
ข. พัฒนาคุณภาพการบริการของธุรกิจประกันภัยให้ได้มาตรฐานสากล
และคุ้มครองผู้บริโภค
ค. ส่งเสริมให้ธุรกิจประกันภัยมีการควบคุมดูแลกันเองมากขึ้น
ควบคู่ไปกับการผ่อนคลายการควบ
คุมของภาครัฐที่ไม่จำเป็นลง
(3.6) ให้สถาบันการเงินของรัฐจัดหาแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมเพื่อช่วยลดต้นทุนของ
ผู้รับเหมาไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดต่างประเทศ
2. การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน
เพื่อใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือของการพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณ
ภาพและยั่งยืน
การสนับสนุนให้มีการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ
และช่วยเพิ่มทักษะและ
ความรู้ความสามารถของคน
รวมทั้งรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาวะที่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตของคน
ประกอบด้วยแนวทางหลัก ดังนี้
2.1 การเพิ่มขีดความสามารถในการถ่ายทอดเทคโนโลยี
(1) ส่งเสริมความร่วมมือทางเทคโนโลยีกับต่างประเทศ
รวมทั้งส่งเสริมให้บริษัทข้ามชาติมาลงทุน
ด้านการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง การวิจัยและพัฒนา
และการจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมเทคโนโลยีที่เป็นความ
ต้องการของประเทศ เพื่อให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่คนไทย
(2) สนับสนุนให้มีการนำองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีเข้ามาพร้อมกับการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ที่
เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศ
รวมทั้งส่งเสริมให้โครงการขนาด
ใหญ่ของรัฐ หรือที่รัฐให้สัมปทาน มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับคนไทย
(3) สนับสนุนการนำผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศและชาวไทยในต่างประเทศเข้ามา
ทำงานด้านวิชาการ
โดยปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าเมืองและการทำงานทั้งในภาค
รัฐและเอกชน
(4) พัฒนาความสามารถและสร้างโอกาสให้กับบริษัทที่ปรึกษาไทย
โดยสนับสนุนให้ร่วมงานที่
สำคัญ ๆ ของรัฐที่มีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศ
(5) สร้างเครือข่ายข้อมูลเชื่อมโยงแหล่งเทคโนโลยีทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
และ
ให้สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และสมาคมนักวิชาชีพไทยในต่างประเทศเป็นสื่อ
กลางในการติดต่อกับแหล่งเทคโนโลยีในต่างประเทศ
(6) สนับสนุนให้สถาบันทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และสถาบันการศึกษาในส่วนกลางและ
ภูมิภาคเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาเทคโนโลยี
รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่
ประยุกต์แล้วเพื่อให้เป็นประโยชน์อย่างทั่วถึง
2.2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(1) พัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเพียงพอโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
วิศวกร นัก
วิทยาศาสตร์ ช่างเทคนิค และนักวิจัยเพื่อสนับสนุนการสร้างฐาน
และการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศ
(2) พัฒนาฐานข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและสร้างระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศทางวิทยา
ศาสตร์และเทคโนโลยีให้เชื่อมโยงถึงภูมิภาคและท้องถิ่น
โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อข้อมูลการวิจัย สิทธิ
บัตร และบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(3) ปรับปรุงบริการของรัฐด้านการวิเคราะห์ ทดสอบ
และรับรองคุณภาพ รวมทั้งสอบเทียบเครื่อง
มือวัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
และส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนในด้านนี้
เพื่อกระจายงานบริการและให้เกิด
การแข่งขันมากขึ้น
รวมทั้งฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรับรองระบบคุณภาพ (ไอ
เอส โอ 9000)
และการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ไอ เอส โอ 14000)
(4) ให้มีองค์กรระดับชาติในด้านมาตรวิทยา
เพื่อรับผิดชอบและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยว
ข้องในการจัดหา ดูแลรักษาและพัฒนามาตรฐานการวัดทางวิทยาศาสตร์
รวมทั้งสร้างเครือข่ายการสอบเทียบ
ให้ย้อนกลับได้ถึงมาตรฐานแห่งชาติและมาตรฐานสากล
(5) พัฒนาสมาคมวิชาการและวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เข้มแข็ง
เพื่อให้สามารถมี
บทบาทในการเผยแพร่ความรู้ให้ความคิดเห็นทางวิชาการ
รวมถึงการติดตามตรวจสอบคุณภาพ การให้ข้อ
เสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพและค่าตอบแทนของบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี
(6) จัดให้มีกลไกเพื่อรับผิดชอบการประสานงาน การจัดหา การใช้
รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเทค
โนโลยีที่มีระดับสูง มีราคาแพง
และมีแนวโน้มการนำประโยชน์มาใช้เพิ่มมากขึ้น เช่น ด้านอวกาศ
ให้สามารถ
พึ่งตนเองได้อย่างเป็นขั้นตอน
2.3 การเพิ่มประสิทธิภาพการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
(1) สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทาง
เศรษฐกิจ
(1.1) พัฒนาพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่มีความต้านทานและให้ผลผลิตสูง
การพัฒนาชีวภัณฑ์ทางการ
เกษตรและการแพทย์ การควบคุมคุณภาพผลิตผล การบรรจุหีบห่อ
เพื่อเพิ่มสมรรถนะการผลิตสินค้าเกษตร
และอุตสาหกรรมการเกษตร
(1.2) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน
การใช้เทคโนโลยี
สะอาด รวมทั้งการพัฒนาการออกแบบชิ้น ส่วนและผลิตภัณฑ์
เพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
ของอุตสาหกรรม
(1.3) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างกว้างขวาง
เชื่อมโยงทั้งระหว่างหน่วย
งานภาครัฐและเอกชน
รวมทั้งพัฒนาแหล่งข้อมูลและสื่อให้เหมาะสมต่อผู้ใช้
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ
บริหารและการบริการของรัฐและให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารได้อย่างทั่วถึง
(1.4) พัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานและพลังงานทดแทน
ระบบกำจัดของเสีย
ระบบการหมุนเวียนใช้ประโยชน์ของเสีย เพื่ออนุรักษ์สภาวะแวดล้อม
(2) สนับสนุนการวิจัยของภาคเอกชน
โดยใช้มาตรการจูงใจทางภาษีและการสนับสนุนทางการเงิน
รวมทั้งปรับปรุงการบริหารกองทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้เป็นไปในเชิงรุกมากขึ้น
(3) ปรับระบบการวิจัยและพัฒนาของรัฐให้เอื้อต่อการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มสมรรถนะทาง
เศรษฐกิจและสนับสนุนภาคเอกชน โดย
(3.1) จัดทำแผนงานการวิจัยและพัฒนาที่ครบวงจรเพื่อแก้ปัญหาและยกระดับความรู้ความสามารถ
ทางเทคโนโลยีเป้าหมาย
โดยเริ่มต้นจากความต้องการของผู้ใช้หรือผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายเป็นหลัก
สร้างเครือ
ข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งภาคเอกชน
และสร้างกลไกการนำผลสู่การใช้ประโยชน์
อย่างชัดเจน
(3.2) พัฒนาสถาบันวิจัยของรัฐให้เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่
เป็นความต้องการของประเทศ
ให้บริการวิจัยและปรึกษาทางเทคโนโลยีแก่ภาคเอกชนมีบทบาทในการสร้าง
นักวิจัยคุณภาพรุ่นใหม่
รวมทั้งร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดตั้งสถาบันวิจัยเฉพาะทางที่จำเป็น
(3.3) ส่งเสริมสถาบันการศึกษาระดับสูงของท้องถิ่นให้เป็นแหล่งรวบรวมและศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญ
ญา และความต้องการเทคโนโลยีของท้องถิ่น
รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยร่วมมือกับสถาบันการ
ศึกษาและสถาบันวิจัยในภูมิภาคและในส่วนกลาง
2.4 การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยให้มีการจัดทำแผนวิทยา
ศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีเอกภาพ
และมีกลไกประสานการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ชัด
เจน
เป็นที่ยอมรับแก่ทุกหน่วยงานเพื่อให้สามารถนำแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง
3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
ตลอดจนสนับสนุนการเพิ่ม
ประสิทธิภาพการผลิต โดย
3.1 พัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง
ในภูมิภาคนี้
(1) ดำเนินนโยบายเปิดเสรีในการพัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศของ
ประเทศไทยให้สอดคล้องกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโน-โลยีเพื่อให้มีการบริการทั้งใน
ด้านปริมาณและคุณภาพอย่างเพียงพอและทั่วถึง
ตลอดจนมีอัตราค่าบริการที่สามารถแข่งขันได้ และมีความ
เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
(2) พัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศในพื้นที่เขตเศรษฐกิจสำคัญและ
เมืองศูนย์กลางให้ต่อเชื่อมเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมทั่วประเทศสอดคล้องกับนโยบายการสร้างงานและ
การกระจายรายได้
เพื่อเปิดโอกาสใหม่และสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาและเสริมสร้างสมรรถนะกระ
บวนการสื่อสารสาธารณะที่เปิดกว้างและเสมอภาค
(3) ให้การพัฒนากิจการและระบบสื่อสารโทรคมนาคมมีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาระบบการศึก
ษาและระบบสาธารณสุข
ตลอดจนการให้บริการของภาครัฐเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
(4) ปรับปรุงคุณภาพบริการไปรษณีย์ให้มีความรวดเร็วเชื่อถือได้
และขยายการลงทุนปรับปรุงเทคโน
โลยีไปรษณีย์ให้ทันสมัย
รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการและกำหนดอัตราค่าบริการให้เหมาะสม
ในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้กิจการไปรษณีย์สามารถเลี้ยงตนเองได้
(5) ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม
โดยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา และการผลิตบุคลากรด้านสื่อสารโทรคมนาคม
ทั้งปริมาณและคุณภาพให้สอด
คล้องกับความต้องการของประเทศ
ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาทักษะบุคลากรเทคโนโลยีสารสนเทศทุก
ระดับ
(6) จัดให้มีกลไกระดับชาติที่เป็นกลาง
มีความคล่องตัวเพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานกิจการสื่อสาร
โทรคมนาคมให้มีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพบริการที่ดี
ได้มาตรฐานสอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทค
โนโลยี
รวมทั้งกำหนดอัตราค่าบริการที่เป็นธรรมต่อผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ
โดยยึดหลักการเปิดโอกาส
ให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการลงทุนพัฒนากิจกรรมด้านนี้อย่างเต็มศักยภาพ
ควบคู่ไปกับการเพิ่มโอกาสให้
ประชาชนในภูมิภาคได้ใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่เช่นเดียวกับประชาชนในเมืองด้วย
(7) แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการสื่อสารโทรคมนาคม
เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วม
ลงทุนและแข่งขันการให้บริการได้อย่างเสรี
โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ด้านคุณภาพและราคาค่าบริการที่เหมาะ
สมต่อผู้ใช้บริการเป็นหลักแทนผลประโยชน์ตอบแทนที่เอกชนจะให้แก่รัฐ
ควบคู่ไปกับการจัดให้มีกฎหมายที่
เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
3.2 พัฒนาการขนส่งทางอากาศ
ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาค
(1) ก่อสร้างท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่สองให้เปิดบริการได้ภายในช่วงของแผนพัฒนาฯ
ฉบับ
ที่ 8 ตลอดจนพัฒนาระบบเชื่อมโยงการขนส่งต่าง ๆ
ระหว่างเมืองกับสนามบินให้มีความสะดวกเพื่อให้สนาม
บินแห่งใหม่เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาคที่สมบูรณ์
(2) ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ของ
สนามบินอู่ตะเภา
(3) ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการจัดตั้งสายการบินแห่งชาติเพิ่มขึ้น
เพื่อเพิ่มประสิทธิ
ภาพการให้บริการแก่ประชาชน
ตลอดจนวางแผนและส่งเสริมการเปิดเส้นทางการบินใหม่ทั้งของภาครัฐและ
เอกชนที่มีความเป็นไปได้ให้เชื่อมเมืองสำคัญของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
(4) พัฒนาสนามบินภายในประเทศแห่งใหม่เพิ่มขึ้นตามความจำเป็นและเหมาะสม
พร้อมไปกับ
การพัฒนาระบบโครงข่ายขนส่งทางบกเชื่อมโยงสนามบินใหม่กับชุมชนขนาดใหญ่โดยรอบเพื่อให้สนามบิน
สามารถบริการประชาชนได้เป็นกลุ่มจังหวัด
(5) เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการต่าง ๆ
แก่ผู้โดยสารในการเดินทางเข้าออกจากท่าอากาศยาน ให้
เกิดความสะดวกต่อประชาชนและได้มาตรฐานสากล
(6) ประสานความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น
ๆ เพื่อสนับ
สนุนการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาค ได้แก่
กิจกรรมการท่องเที่ยว การจัด
ประชุมนานาชาติ และกิจกรรมการกีฬาระหว่างประเทศ
3.3 พัฒนาระบบการขนส่งทางบกให้เชื่อมโยงการขนส่งระบบอื่น
และเป็นฐานรองรับกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจในพื้นที่ต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้
(1) พัฒนาระบบทางด่วนระหว่างเมืองและทางหลวงพิเศษที่ควบคุมทางเข้า-ออกสมบูรณ์
เป็นโครง
ข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ตามแผนงานระยะยาว 20 ปี
และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการใช้ทางดังกล่าว
อย่างเป็นระบบ เพื่อนำรายได้กลับคืนมาใช้ลงทุนขยายโครงข่ายต่อไป
โดยให้เอกชนเข้ามีส่วนร่วมลงทุนพัฒนา
รวมทั้งพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อพัฒนาเป็นการเฉพาะ
(2) พัฒนาเส้นทางแนวตะวันออก-ตะวันตกของประเทศเพื่อเชื่อมโยงศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญ
เข้าด้วยกัน
รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของพื้นที่ในแนวตัดผ่านจากการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศ
เพื่อนบ้านทั้งสองฝั่ง
(3) สนับสนุนการวางแผนพัฒนาระบบการขนส่งทางถนนและรถไฟให้เชื่อมต่อกับการขนส่งที่
สนามบินและท่าเรือเป็นแผนรวมเบ็ดเสร็จ
เพื่อให้การขนส่งสินค้าและผู้โดยสารในระบบต่าง ๆ บริเวณสถานี
รถไฟ สนามบิน ท่าเรือ และสถานีขนถ่ายสินค้า
สามารถเชื่อมโยงประสานกันได้สะดวก รวดเร็ว และมีประ สิทธิภาพ
(4) ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาสมรรถนะการขนส่งทางรถไฟให้
เป็นระบบขนส่งหลักระบบหนึ่งของประเทศ
ตลอดจนให้ระบบรถไฟสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เฉพาะ พื้นที่
เมือง และชุมชนเมือง
รวมทั้งวางแผนงานต่อขยายเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟกับประเทศเพื่อนบ้านให้เกิดประ
โยชน์ร่วมกัน
3.4 พัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำภายในและระหว่างประเทศให้เต็มศักยภาพ
โดยการประสาน
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ตามแนวทางดังต่อไปนี้
(1) พัฒนาท่าเรือชายฝั่งในพื้นที่ที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างโครงข่ายการขนส่งเชื่อมโยงระหว่าง
ทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ
โดยเฉพาะเครือข่ายการขนส่งสินค้าทางน้ำกับท่าเรือหลักของประเทศบริเวณ
พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก
(2) พัฒนากิจการพาณิชยนาวี โดย
(2.1) เพิ่มสมรรถนะการขนส่งทางทะเลให้มีขีดความสามารถในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
เพิ่มมากขึ้น
โดยส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการลงทุนและดำเนินงานกิจการท่าเรือ
ตลอดจนพัฒนา
ระบบโครงข่ายการขนส่งทางถนนและรถไฟเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือกับพื้นที่หลังท่าให้เกิดความสะดวกรวด
เร็ว และมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งเชื่อมโยงโครงข่ายกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน
(2.2) พัฒนากองเรือพาณิชย์ไทย
ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย รวม
ทั้งให้มีปริมาณมากขึ้น
เพื่อเพิ่มบทบาทในการขนส่งสินค้าเข้า-ออกให้มากขึ้น
และลดการพึ่งพาเรือต่างชาติ
โดยสนับสนุนการร่วมทุนระหว่างเอกชนไทยกับต่างประเทศ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการตลาดให้กว้าง
ขวางขึ้น
(2.3) ส่งเสริมภาคเอกชนให้มีการพัฒนาธุรกิจพาณิชยนาวีในด้านธุรกิจการบริการบนฝั่ง
การประกัน
ภัยทางทะเล อุตสาหกรรมต่อและซ่อมเรือ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
โดยปรับปรุงกลไกทั้งด้านกฎหมาย และ
การสนับสนุนทางการเงินการคลัง
เพื่อลดต้นทุนอันจะช่วยให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้
(2.4) พัฒนาบุคลากรด้านพาณิชยนาวีทั้งด้านปริมาณและคุณภาพให้มีทักษะความรู้ความสามารถได้
มาตรฐานสากลเพียงพอต่อความต้องการและสอดคล้องกับการพัฒนา
3.5 พัฒนาและจัดหาแหล่งพลังงานให้เพียงพอ
และมีความมั่นคงควบคู่ไปกับการใช้พลังงานอย่าง
มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการผลิตสินค้าและบริการของประเทศ โดย
(1) จัดหาแหล่งพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการมีคุณภาพ
มีความมั่นคง และในระดับราคาที่
เหมาะสม
(1.1) สำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมทั้งจากแหล่งในประเทศและภายใต้องค์กรความร่วมมือกับประเทศ
เพื่อนบ้าน
(1.2) สำรวจและพัฒนาถ่านหินโดยปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรค
และสนับสนุนบทบาทเอกชน
เพื่อให้การพัฒนาถ่านหินดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ
และเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
ที่สุด
(1.3) ให้มีการเจรจาและพัฒนาพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้าน
โดยเฉพาะในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่
น้ำโขง 6 ประเทศ
ตลอดจนสนับสนุนให้ธุรกิจทางด้านพลังงานของไทยไปร่วมลงทุนและพัฒนาพลังงาน
ในต่างประเทศ
(1.4) ศึกษาความเหมาะสมและกำหนดรูปแบบการกำกับดูแลการใช้พลังงานปรมาณูในการผลิตไฟ
ฟ้า รวมทั้งจัดหาพลังงานจากแหล่งนอกประเทศ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติเหลว
น้ำมันดิน และถ่านหิน
(1.5) ลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง
และปรับปรุงระบบส่งและจำหน่ายไฟฟ้าเพื่อเพิ่มความ
มั่นคงของระบบไฟฟ้า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอุตสาหกรรมและพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่ในภูมิภาคต่าง
ๆ
รวมทั้งการนำสายไฟฟ้าลงดินในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่
(2) ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด
เพื่อลดภาระการลงทุนในการจัด
หาพลังงาน
โดยใช้มาตรการทางด้านราคาเป็นมาตรการสำคัญที่จะสร้างแรงจูงใจให้มีการใช้พลังงานอย่างมี
ประสิทธิภาพ รวมทั้งการใช้มาตรการบังคับ
การให้สิ่งจูงใจเพิ่มเติมและการสร้างจิตสำนึก
(2.1) รักษาโครงสร้างและระดับราคาพลังงานให้สะท้อนถึงต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์และเป็นไปตาม
กลไกตลาด
แต่ในขณะเดียวกันให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ใช้พลังงานในกรณีที่มีการผูกขาด
(2.2) ส่งเสริมการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าและการอนุรักษ์พลังงานตามพระราชบัญญัติการส่งเสริม
การอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535
เพื่อให้มีการนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
ตลอดจนรณรงค์เพื่อสร้าง
จิตสำนึกในด้านการอนุรักษ์พลังงานให้กับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
(2.3) กำหนดมาตรฐานการทดสอบและมาตรฐานระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานขั้นต่ำของเครื่อง
มืออุปกรณ์ต่าง ๆ การติดฉลากแสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
รวมทั้งส่งเสริมให้มีการผลิตเครื่องมืออุป
กรณ์ที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูง
และการผลิตอุปกรณ์หรือวัสดุที่ช่วยให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน
(3) ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงานและบทบาทของภาคเอกชน
เพื่อนำไปสู่การใช้ การจัดหา
และการจำหน่ายพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนลดภาระการลงทุนของรัฐ
และให้ประชาชนมีส่วน
ร่วมพัฒนาพลังงาน
(4) ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาและการใช้พลังงาน
รวมทั้งปรับปรุงให้กิจการ
พลังงานดำเนินการอย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
(5) พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการพลังงานและกลไกการบริหารงานด้านพลังงาน
เพื่อให้การ
ดำเนินงานของรัฐสอดคล้องกับสภาวะด้านพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยมีการคุ้มครองผู้บริโภคและให้มี
ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
3.6 พัฒนาและจัดหาน้ำ เพื่อสนับสนุนการเกษตร อุตสาหกรรม
การคมนาคม และการอุปโภคบริโภค
ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพให้ได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง โดย
(1) พัฒนาให้มีแหล่งน้ำดิบขนาดต่าง ๆ
ให้สอดคล้องกับศักยภาพของลุ่มน้ำและระบบนิเวศน์ของ
แต่ละพื้นที่
(2) ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการบริหารจัดการและดูแลบำรุงรักษาแหล่ง
น้ำที่มีอยู่แล้วให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
โดยเฉพาะกิจกรรมต่อเนื่องทางด้านการเกษตร
(3) สนับสนุนบทบาทภาคเอกชนในการลงทุน
ขยายการผลิตและการบริการน้ำประปาในเขตเมือง
ในภูมิภาค
(4) เพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการ
เพื่อลดปริมาณน้ำสูญเสียของน้ำประปาทั่วประเทศให้อยู่
ในระดับเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 25 ภายในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
(5) จัดให้มีการปรับโครงสร้างอัตราค่าน้ำให้สอดคล้องกับต้นทุนค่าใช้จ่าย
โดยยึดหลักการจัดเก็บค่า
น้ำในอัตราที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ตามต้นทุนการผลิตในพื้นที่นั้น
ๆ และตามประเภทของกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจ
(6) ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการรณรงค์
จัดการด้านการใช้น้ำ โดยใช้มาตร
การสิ่งจูงใจและมาตรการด้านราคา
รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำ
ตลอดจนสร้างนิสัยให้ประชาชนช่วยกันประหยัดการใช้น้ำ
(7) จัดให้มีองค์กรกลางเพื่อการพัฒนาทรัพยากรน้ำให้ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย
ประสานแผนปฏิบัติ
และบริหารจัดการทั้งในกรณีการขาดแคลนน้ำ
การป้องกันอุทกภัยและการรักษาคุณภาพน้ำ
4. การเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการสร้างรากฐานการผลิตที่เข้มแข็งและเพิ่ม
ขีดความสามารถในการแข่งขัน โดย
4.1 ลดบทบาทของภาครัฐจากการเป็นผู้กำกับดูแลและดำเนินการด้านการผลิต
การค้า และการบริการ
มาเป็นผู้ประสานงาน
โดยให้ธุรกิจเอกชนและองค์กรชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนามากขึ้น
4.2 ปรับระบบการจัดสรรงบประมาณ
เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตร อุตสาหกรรม
และบริการ จากที่มีลักษณะเป็นรายโครงการระดับกรม
มาเป็นการกำหนดสัดส่วนงบประมาณของหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องในลักษณะแผนงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และแนวทางทางที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 8
4.3 เพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
เพื่อนำไปสู่การเพิ่มอำนาจ
การต่อรองในการเจรจาการค้าทุกระดับ โดย
(1) ปรับโครงสร้างองค์กรการเจรจาการค้าให้เป็นเอกภาพในการกำหนดนโยบายการเจรจาการค้า
ระหว่างประเทศ
การศึกษาผลกระทบและมาตรการในการรองรับและตอบโต้ทางการค้า
รวมทั้งการประสาน
ท่าทีของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
(2) จัดตั้งระบบสนับสนุนให้กับงานเจรจาการค้าระหว่างหน่วยงานภาครัฐ
โดยพัฒนาบุคลากรใน
องค์กรการเจรจาการค้าให้มีทักษะในการเจรจาต่อรอง
พัฒนาระบบข้อมูลทางการค้าระหว่างประเทศ และ
ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ทันต่อเหตุการณ์
รวมทั้งสนับ-สนุนให้ภาคเอกชนและนักวิชาการมีส่วนร่วมใน
การกำหนดแนวทางการเจรจาการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น
4.4 เพิ่มประสิทธิภาพความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาประเทศ
โดยมีกลไกรอง
รับระบบการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนให้มีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่อง
ให้มีการจัดตั้งสำนัก
งานประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
เพื่อเป็นองค์กรกลางทำหน้าที่ประสานนโยบาย และ
แผนพัฒนาความร่วมมือในระดับชาติ ระดับภาค และระดับจังหวัด
โดยออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อรองรับระบบความร่วมมือเป็นทางการอย่างถาวร
ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรภาคเอก
ชน
โดยสนับสนุนให้มีการรวมตัวเป็นองค์กรเดียวกันเพื่อประสานงานกับภาครัฐเป็นไปอย่างมีเอกภาพและ
มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4.5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
โดยให้มีระบบและกลไก
การประสานนโยบาย แผนงาน และโครงการ
รวมทั้งบทบาทและแนวทางการร่วมมือกับองค์กรความช่วยเหลือ
ต่างประเทศ
เพื่อให้การบริหารทรัพยากรความช่วยเหลือจากต่างประเทศสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้า
หมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
4.6 ให้มีคณะกรรมการระดับนโยบายที่มีเอกภาพเป็นการถาวรรับผิดชอบการพัฒนาอุตสาหกรรมแปร
รูปสินค้าการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมชุมชน
เพื่อทำหน้าที่กำกับ ประสานนโยบาย
แผนงาน และการจัดสรรทรัพยากรสนับสนุนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4.7 ให้มีคณะกรรมการระดับนโยบายรับผิดชอบการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นการเฉพาะ
เพื่อ
ทำหน้าที่กำหนดนโยบายส่งเสริมและการประสานการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเพิ่มขีดความ
สามารถในการแข่งขันของธุรกิจก่อสร้างของคนไทย
4.8 ปรับบทบาทของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวใน
ประเทศ
ตลอดจนเป็นแกนกลางในการแก้ไขปัญหาของธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ
และให้หน่วยงาน
ในท้องถิ่นสร้างกลไกการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสถานที่ท่องเที่ยวในระดับพื้นที่เพื่อระดม
ความร่วมมือจากประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยว
4.9 ให้มีกฎหมายการป้องกันการผูกขาด
เพื่อสนับสนุนระบบการแข่งขันเสรี โดยกำหนดกติกาที่ชัด
เจนเพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่อย่างเป็นธรรม
รวมทั้งพัฒนาระบบการคุ้มครอง
ผู้บริโภค
โดยมีระบบเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและตัวสินค้าที่ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ตลอด
เวลา
5. พัฒนารัฐวิสาหกิจ
เพื่อลดบทบาทของรัฐในการเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนิน
งานของรัฐวิสาหกิจ โดย
5.1 เพิ่มบทบาทภาคเอกชน
เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจที่เข้ม
แข็ง
โดยให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนงานและเป้าหมายในการลดบทบาทการเป็น
เจ้าของรัฐวิสาหกิจ
5.2 สนับสนุนรัฐวิสาหกิจให้มีสถานะเป็นบริษัทมหาชน
และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อ
ให้สามารถระดมทุนจากประชาชนได้อย่างกว้างขวาง
5.3 จัดตั้งองค์กรกลางเป็นการถาวร
เพื่อบริหารนโยบายการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน และประสาน
การปฏิบัติกับรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งองค์กรกำกับรายสาขารัฐวิสาหกิจที่มีการเพิ่มบทบาท
ภาคเอกชนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งแก่ภาครัฐและเอกชน
รวมทั้งการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านราคา
ปริมาณ และคุณภาพการบริการ
5.4 นำระบบประเมินผลการดำเนินงานมาใช้แทนการกำกับดูแลในรายละเอียด
เพื่อให้รัฐวิสาหกิจ
ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและคล่องตัว
บทที่ 4
การเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจให้เข้มแข็งและมีเสถียรภาพ
การที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้สามารถสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของคน
เพื่อยกระดับรายได้และ
ความเป็นอยู่ของประชาชนทุกกลุ่มให้ดีขึ้น
จำเป็นต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวใน
ระดับที่เหมาะสมและต่อเนื่อง
มีการจ้างงานเต็มที่และมีรายได้พอที่จะใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน
ไทยในระยะยาว เป็นเศรษฐกิจที่มั่นคง
สนับสนุนการดำเนินธุรกิจและการดำรงชีวิตของประชาชน ตลอดจน
มีการใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้
1. การเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1.1 รักษาเสถียรภาพของระดับราคาผู้บริโภค
โดยดำเนินนโยบายการเงินการคลัง โดยเฉพาะนโยบาย
ภาษีและขนาดของงบประมาณรายจ่ายให้เหมาะสมและไม่สร้างแรงกดดันต่อระดับราคาที่ก่อให้เกิดความเดือด
ร้อนต่อประชาชน
1.2 เพิ่มระดับเงินออมของประเทศ โดย
(1) ดำเนินมาตรการการเงินการคลังเพื่อลดพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยของประชาชนควบคู่ไป
กับการปลูกฝังและรณรงค์ให้เกิดค่านิยมการออมในหมู่ประชาชนทั่วไป
(2) ใช้มาตรการภาษีส่งเสริมให้มีการออมมากขึ้นโดยเฉพาะในภาคครัวเรือน
และพัฒนาเครื่องมือ
และกลไกการออมในลักษณะผูกพันบังคับในรูปแบบต่าง ๆ
รวมทั้งพัฒนาตลาดตราสารทางการเงินระยะยาว
โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ
และการขยายสาขาของสถาบันการเงินไปสู่ภูมิภาคให้มากขึ้น
(3) พัฒนาตลาดตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้ประชาชนและธุรกิจมีทางเลือกในการออม
และการระดมทุนมากขึ้น
1.3 ลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดย
(1) ลดการขาดดุลการค้า
โดยลดการพึ่งพาการนำเข้าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการ
ผลิตสินค้าขั้นกลางและสินค้าทุนในประเทศให้มากขึ้น
(2) เพิ่มความสามารถในการสร้างรายได้ภาคบริการ
เพื่อชดเชยการขาดดุลการค้า โดย
(2.1) ส่งเสริมและรณรงค์ให้คนไทยใช้สินค้าไทยและท่องเที่ยวภายในประเทศให้มากขึ้น
(2.2) เพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพิ่มขึ้น
เพื่อจูงใจให้เอกชนลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาเทค
โนโลยีภายในประเทศ
(2.3) ให้สิทธิประโยชน์ด้านต่าง ๆ และใช้มาตรการด้านการเงิน
เพื่อสนับสนุนการพัฒนากองเรือ
พาณิชยนาวีไทยและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
(2.4) พัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจภาคบริการ
โดยเฉพาะธุรกิจประกัน
ภัย ธุรกิจการก่อสร้าง
และธุรกิจการเงินให้ขยายการลงทุนไปในต่างประเทศมากขึ้น
2. การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ
โดยการพัฒนาระบบการเงินและตลาดทุน เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อ
การประกอบธุรกิจทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ
ให้มีความแข็งแกร่งสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
ดังนี้
2.1 เพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มบทบาทของระบบการเงิน โดย
(1) ใช้เครื่องมือนโยบายการเงิน การคลัง และตลาดทุน
เพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรการเงินไป
สู่ภาคการผลิตที่มีผลิตภาพสูงและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ
เสริมสร้างศักยภาพการผลิต โดยการเพิ่มผลิต
ภาพของแรงงานและประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร
(2) เพิ่มจำนวนสถาบันการเงินทั้งในประเทศและสถาบันการเงินต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินธุรกิจ
ในประเทศเพื่อลดการผูกขาดและส่งเสริมการแข่งขันในระบบการเงิน
รวมทั้งเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ
ไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคด้วย
(3) ขยายขอบเขตการดำเนินงานของสถาบันการเงิน
โดยให้สถาบันการเงินเอกชนมีการดำเนิน
ธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
(4) สนับสนุนให้สถาบันการเงินและระบบการเงินมีบทบาทสนับสนุนนโยบายกระจายความเจริญ
สู่ภูมิภาค
(5) ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทางการเงินของภาคเอกชน
โดยสนับสนุนให้มีการดำเนินการฝึกอบ
รมและพัฒนาบุคลากรในด้านนี้ให้มากขึ้น
2.2 เสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบการเงินไทย
(1) แก้ไขข้อจำกัดและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน
โดยพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ไทยให้เป็น
ตลาดสำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และพัฒนาตลาดเงินตราต่างประเทศให้มีประสิทธิ
ภาพและเสถียรภาพ ตลอดจนการพัฒนาองค์กรทางการเงินใหม่ ๆ
เพื่อเพิ่มทางเลือกการออม และการระดม
เงินทุนให้กับประชาชน
(2) พัฒนาระบบชำระเงิน
โดยเพิ่มความคล่องตัวในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการชำระเงิน
การขยายขอบเขตการใช้งานของระบบการโอนเงินรายใหญ่และรายย่อย
2.3 ปรับปรุงประสิทธิภาพการกำกับดูแลสถาบันการเงินและระบบการเงิน
โดย
(1) แก้ไขกฎหมายการเงินให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
และพิจารณาออกกฎหมาย
สำหรับธุรกิจการเงินใหม่ ๆ รองรับการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงิน
(2) ปรับปรุงประสิทธิภาพการกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
และสถาบันที่มีกฎหมาย
เฉพาะจัดตั้งขึ้นให้สอดคล้องกับระบบการเงินและเป็นไปตามมาตรฐานสากล
เช่น แยกการควบคุมรัฐวิสาห
กิจประเภทสถาบันการเงินออกจากระเบียบการกำกับและควบคุมรัฐวิสาหกิจทั่วไป
2.4 พัฒนาบุคลากรด้านการกำกับ
ดูแลสถาบันการเงินและการเสริมสร้างจรรยาบรรณ ในการประ
กอบธุรกิจการเงิน
(1) ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและพัฒนาบุคลากรภาครัฐในการติดตามพัฒนาการของสถาบันการ
เงิน โดยเฉพาะบุคลากรด้านการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(2) สนับสนุนการสร้างจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจทางการเงิน
โดยให้สมาคมสถาบันการ
เงินต่าง ๆ
จัดทำมาตรฐานและจรรยาบรรณการปฏิบัติงานและดูแลให้เป็นไปตามจรรยาบรรณดังกล่าว
3. การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินและตลาดทุนเพื่อเป็นแหล่งระดมเงินทุนและเงินออม
โดย
3.1 สนับสนุนกิจการวิเทศธนกิจ
โดยปรับปรุงสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและขยายขอบเขตการประกอบ
ธุรกิจของกิจการวิเทศธนกิจ
3.2 ผ่อนคลายปริวรรตเงินตราด้านการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ
เพื่อสนับสนุนการระดม
ทุนจากตลาดทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศของบริษัทต่างประเทศที่เป็นกิจการของคนไทย
หรือกิจการ
ที่คนไทยร่วมทุน
3.3 ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
โดยสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนรวมสำหรับนักลงทุนชาวต่าง
ประเทศ การจัดตั้งกองทุนรวมประเภทใหม่ ๆ
เพื่อเป็นทางเลือกแก่นักลงทุน
3.4 พัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการเงินกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค
โดยจัดระบบการให้
ความช่วยเหลือทางการเงิน
และการให้กู้ยืมหรือร่วมลงทุนในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยและ
ประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค
3.5 สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกิจกรรมทางการเงินและลดต้นทุนเพื่อเพิ่มสมรรถนะ
ในการแข่งขันกับต่างประเทศ
และเพื่อขยายบทบาทในการให้บริการการเงินแก่ประเทศอื่น ๆ
ในภูมิภาคอย่าง
มีประสิทธิภาพ
CONTACT
Email me at pisitp@yahoo.com for your comment and/or discussions.
This page hosted by
Get your own Free Home Page