PsTNLP

Pisit' s Thai Natural Language Processing Laboratory
This lab is formed since 26-August-1998
e-mail pisitp@yahoo.com
Back to PsTNLP home page

ส่วนที่ 6
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาประเทศในระยะที่ผ่านมาได้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ในการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ ประชาชาติและยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน โดยขาดการบริหารจัดการที่เหมาะสม ซึ่งแนวทาง การพัฒนาดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดีการใช้ทรัพยากรธรรม ชาติอย่างไม่จำกัด ทำให้ทรัพยากรธรรม-ชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์ร่อยหรอและเสื่อมโทรมลง มีผลต่อความมั่น คงทางเศรษฐกิจ สร้างปัญหาความขัดแย้งในสังคมอันเกิดจากการแย่งใช้ประโยชน์ทรัพยากร และเกิดภัยธรรม ชาติที่รุนแรงติดตามมา ในขณะเดียวกันการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและชุมชนเมืองโดยปราศจาก การดูแลรักษาสภาวะแวดล้อมเท่าที่ควร ได้ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่าง ๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของ ประชาชนเนื่องจากสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดต่อคนและชุมชนมากที่สุด

เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาประ เทศที่ยั่งยืนต่อไป การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จำเป็นต้องเร่ง ฟื้นฟูพร้อมทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป้องกันสภาวะสิ่งแวดล้อมในชนบทและในเมือง ด้วยการสนับ สนุนให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการมากขึ้น ควบคู่ไปกับการนำเครื่อง มือทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการควบคุมดูแลการใช้และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การ สร้างเสริมวินัยและประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการผลิตให้เป็นไปอย่างประหยัด ได้ประโยชน์ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสูงสุดและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ตลอดจนเพิ่มบทบาทของประเทศไทย ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

บทที่ 1
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์

1. วัตถุประสงค์

เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนการดำรงชีวิตและการพัฒนาประเทศ ได้อย่างต่อเนื่อง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จึงมีวัตถุ ประสงค์ ดังนี้

1.1 เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติควบคู่ไปกับการฟื้นฟูบูรณะให้ทรัพยากรธรรมชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งควบคุมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้สามารถสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและ คุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน

1.2 เพื่อให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความสม ดุลทั้งในด้านระบบนิเวศน์และสภาพแวดล้อม โดยใช้การร่วมมือหลายฝ่าย เพื่อให้ประชาชนและชุมชนใน ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและดูแลรักษาสภาวะแวดล้อมในท้องถิ่นของตน เอง ด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐ นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรธุรกิจ

2. เป้าหมาย

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ในช่วงแผน พัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จึงเห็นควรกำหนดเป้าหมายที่สำคัญ ดังนี้

2.1 เป้าหมายเพื่อสนับสนุนคุณภาพชีวิตที่ดีของคนและชุมชน

(1) ฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ให้ได้ร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ และจัดทำเครื่องหมาย แนวเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้แล้วเสร็จในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8

(2) รักษาพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อรักษาความสมดุลของสภาวะแวดล้อมและความหลากหลายทางชีว ภาพให้คงไว้ ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านไร่ ในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8

(3) ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบของป่าชุมชนเพื่อการอนุรักษ์พัฒนาสภาวะ แวดล้อมและคุณภาพชีวิตของชุมชน

(4) รักษาระดับคุณภาพน้ำในแม่น้ำ น้ำทะเล ชายฝั่งทะเลและแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเฉพาะในแม่ น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้ำท่าจีน เขตควบคุมมลพิษและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ไม่ให้เสื่อมโทรมลงต่ำกว่า ระดับคุณภาพน้ำในปี 2539 ให้สิ่งมีชีวิตในน้ำสามารถอาศัยอยู่ได้ตลอดปี และสามารถเอื้ออำนวยประโยชน์ ต่อการพัฒนาได้

(5) ควบคุมดูแลคุณภาพอากาศในเขตเมืองและเขตควบคุมมลพิษให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของ ประเทศไทย รวมทั้งระดับเสียงในชุมชนให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อการได้ยิน

(6) เพิ่มขีดความสามารถในการเก็บขยะมูลฝอยของเทศบาลและสุขาภิบาล รวมทั้งให้มีกำจัดของ เสียอันตรายจากชุมชน อย่างถูกสุขลักษณะ

(7) ส่งเสริมให้สถานพยาบาลของรัฐและเอกชนมีการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออย่างถูกวิธีและครบวงจร

2.2 เป้าหมายเพื่อเป็นฐานการผลิตทางเศรษฐกิจ

(1) ลดปัญหาการชะล้างพังทลายของดินให้ได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านไร่ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8

(2) ให้มีการจัดการฟื้นฟูที่ดินเพื่อการดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตรที่มีปัญหาทั้งที่เป็นดินเค็ม ดิน เปรี้ยว และดินขาดอินทรีย์วัตถุให้ได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านไร่ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8

(3) จัดทำแผนฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของทะเลไทย ทั้งในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูและการใช้ประ โยชน์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเล ให้ครอบคลุมคุณภาพน้ำ สัตว์น้ำ แนวปะการัง หญ้าทะเล และ ชายฝั่งทะเล

3. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายดังกล่าว เห็นควรกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ 3 ประการ ได้แก่

3.1 การฟื้นฟูบูรณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.2 การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน
3.3 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

บทที่ 2
การฟื้นฟูบูรณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เพื่อปรับปรุงและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความเสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่ สภาพที่เอื้ออำนวยต่อความสมดุลของระบบนิเวศน์วิทยา ยกระดับคุณภาพชีวิตและสนับสนุนการพัฒนา เศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องแล้ว แนวทางการดำเนินการประกอบด้วย

1. จัดการฟื้นฟูทรัพยากรดินที่ผ่านการใช้ประโยชน์และขาดการดูแลรักษา เพื่อเพิ่มผลผลิตในกิจกรรมการ เกษตรอย่างต่อเนื่องและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้ว พื้นที่นา กุ้งทิ้งร้าง รวมทั้งพื้นที่ที่มีปัญหาต่อการเกษตรและดินที่ถูกใช้โดยไม่เหมาะสม เช่น พื้นที่ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินชายทะเล โดย

1.1 ส่งเสริมการอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมทั้งการปรับปรุงบำรุงดินด้วยวิธีการธรรมชาติ วิธีการที่เกษตร กรยอมรับและสามารถถ่ายทอดนำไปปฏิบัติได้ เช่น ส่งเสริมการปลูกพืชแบบผสมผสานแทนการปลูกพืชเชิง เดี่ยว ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี และปลูกพืชตามแนวระดับในพื้นที่ลาดชัน เป็นต้น

1.2 ส่งเสริมการนำระบบเกษตรทางเลือกในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ในเขตปฏิรูปที่ดิน พื้นที่นากุ้งทิ้ง ร้าง และพื้นที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้ว โดยการให้ความรู้ ฝึกอบรม และสนับสนุนด้านเงินทุน ตลอดจนเทค โนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้ราษฎรมีรายได้เพียงพอกับการยังชีพอย่างต่อเนื่อง เป็นการลดปัญหาการละทิ้งที่ ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อวัตถุประสงค์นอกภาคเกษตรกรรม ตลอดจนเพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่ดินที่เสื่อม โทรมให้กลับสมบูรณ์

2. ลดปริมาณมลพิษและการแพร่กระจายมลพิษในสภาพแวดล้อม ได้แก่ น้ำทิ้งชุมชนและอุตสาหกรรม มลพิษทางอากาศ กากของเสีย สารอันตราย โดยให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย และความ เป็นอยู่ของคน

2.1 ลดและควบคุมมลพิษทางน้ำอันเนื่องมาจากกิจกรรมของชุมชน เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

(1) จัดทำแผนปฏิบัติการควบคุมมลพิษของชุมชนใน 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ

(2) จัดทำแนวทางและแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน เพื่อป้องกันและแก้ไขอันตรายจากการแพร่กระจาย ของมลพิษและสภาวะแวดล้อมที่เป็นพิษซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำทะเลและแหล่งน้ำ

2.2 ลดปริมาณมลพิษทางอากาศในเขตอุตสาหกรรมและพื้นที่การจราจรหนาแน่น โดยเฉพาะก๊าซ ซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์ ฝุ่นละอองและควันดำในบรรยากาศ

(1) ควบคุมมาตรฐานยานพาหนะและปรับปรุงคุณสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น ลดความถ่วงจำ เพาะ ปรับปรุงซัลเฟอร์ในน้ำมันดีเซลและให้มีการศึกษาวิธีการปรับปรุงมาตรฐานยานพาหนะและคุณภาพ น้ำมันที่คุ้มค่าเหมาะสมเพื่อลดปริมาณมลพิษ

(2) กำหนดประเภทของแหล่งกำเนิดมลพิษที่ต้องควบคุมการระบายอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และมาตรฐานการควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดให้ครบถ้วน

2.3 กำจัดกากของเสียและลดปริมาณมูลฝอย

(1) สนับสนุนให้จังหวัดจัดเตรียมที่ดินที่เหมาะสมสำหรับใช้กำจัดขยะในระยะยาว รวมทั้งการ กำหนดพื้นที่สงวนไว้เพื่อการกำจัดมูลฝอยในผังเมือง

(2) กำหนดเกณฑ์การปฏิบัติการจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่เหมาะสมตั้งแต่การเก็บขน การขน ส่ง และการกำจัดอย่างถูกสุขลักษณะ รวมทั้งให้มีการลดปริมาณกากของเสียและการใช้ประโยชน์ของเสีย ตลอดจนการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างเหมาะสม

2.4 ลดและควบคุมสารอันตรายจากแหล่งกำเนิด โดยกำหนดให้อุตสาหกรรมที่ผลิตหรือใช้สารอัน ตรายร้ายแรงในปริมาณมาก ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและประเมินความเสี่ยง อันตราย และให้มีการควบคุมอย่างเข้มงวด

3. สนับสนุนให้มีระบบบำบัดและกำจัดของเสียรวม ได้แก่ ระบบบำบัดน้ำเสียรวม และการกำจัดขยะมูลฝอย

3.1 สนับสนุนให้มีการลงทุนในระบบบำบัดน้ำเสียรวม และระบบกำจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่ศูนย์ กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ เขตปริมณฑล 5 จังหวัด พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกบริเวณจังหวัดชล บุรีและระยอง เมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาค เมืองชายฝั่งทะเลและแหล่งท่องเที่ยว

3.2 สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์กำจัดของเสียส่วนกลางและศูนย์กำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่สามารถใช้ร่วม กันได้ระหว่างชุมชนหรือกลุ่มจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงกัน

4. ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการบำบัดของเสีย และเทคโนโลยีสีเขียวในขบวนการผลิตที่เกิดผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เพื่อเป็นต้นแบบในการผลิตเชิงพาณิชย์ รวมทั้งการวิเคราะห์และประเมิน เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำมาถ่ายทอดใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทที่ 3
การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน

เพื่อสนับสนุนประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมและสามารถบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้การมีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายในกระบวนการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นระบบอย่างต่อเนื่องและส่งผลให้การพัฒนาเป็นไปโดยยั่งยืน

ดังนี้

1. ปรับปรุงบทบาทของภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน ในการบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย

1.1 ปรับทัศนคติและปรับปรุงขีดความสามารถของหน่วยงานของรัฐให้สามารถร่วมมือและเกื้อ หนุนชุมชนในท้องถิ่น เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้ เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง

1.2 รณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนและองค์กรชุมชนให้ ตระหนักถึงผลกระทบจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้ความร่วมมือ ในการป้องกันติดตามเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2. พัฒนาเครือข่ายสารสนเทศทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน โดยถือเป็นสิทธิในการรับรู้และใช้ประโยชน์ของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจอย่างเท่าเทียมกัน

3. สร้างโอกาสให้ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

3.1 เปิดโอกาสให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน ตัดสินใจ และติดตามประเมินผลในโครงการพัฒนาของรัฐที่จะมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยรัฐจัดให้มีขั้นตอนประชาพิจารณ์โครงการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การริเริ่มแนวคิดโครงการ จัดเตรียม โครงการ และการดำเนินโครงการ

3.2 ออกพระราชบัญญัติป่าชุมชนซึ่งเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย เพื่อให้ชุมชนมีสิทธิตามกฎหมาย ในการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน

3.3 สนับสนุนให้มีกฎหมายรองรับสิทธิของชุมชนท้องถิ่นและชาวประมงขนาดเล็กให้มีส่วนร่วมใน การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล ทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และดูแลรักษาป่าชายเลน หญ้าทะเล และปะการัง เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชายฝั่งโดยเฉพาะทรัพยากรประมงได้อย่างยั่งยืน

3.4 ส่งเสริมองค์กรชุมชนและท้องถิ่นในการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อเสริมสร้าง เศรษฐกิจของชุมชน และการจัดทำแผนงานและโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนแหล่งเงินทุนหรืองบประมาณ หรือกองทุนสำหรับใช้ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ

บทที่ 4 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโดยให้ความสำคัญต่อการจัดการที่ครบวงจร และการใช้กฎหมาย เป็นเครื่องมือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

1. บริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบ ทั้งการจัดหาแหล่งน้ำ เพื่อสนองความต้องการ ของประชาชน การดูแลคุณภาพน้ำและมลพิษทางน้ำ และการระบายน้ำ

1.1 ให้มีกลไกในการกำกับ ดูแล และประสานการพัฒนาทรัพยากรน้ำทั้งในระดับชาติและระดับลุ่ม น้ำโดยมีกฎหมายรองรับ เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการประสานงานเป็นไปในทิศทาง เดียวกันและสอดคล้องกันอย่างต่อเนื่อง

1.2 จัดระบบการจัดสรรและแบ่งปันทรัพยากรน้ำระหว่างการใช้น้ำในกิจการต่าง ๆ อย่างเหมาะสม โดยยึดหลักความจำเป็น ลำดับความสำคัญ และเป็นธรรม โดยมีองค์กรที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมรับผิด ชอบในการบริหารจัดการ

1.3 ให้มีการจัดเก็บค่าน้ำดิบทั้งเพื่อการอุตสาหกรรม เกษตรกรรม อุปโภคบริโภค รวมทั้งปรับปรุง โครงสร้างและระดับราคาค่าน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรม ให้สะท้อนถึงต้นทุนการจัดหา การ ผลิต การแจกจ่าย และการบำบัดน้ำเสีย

1.4 ปรับปรุงระบบส่งและจ่ายน้ำเพื่อการชลประทานและการอุปโภคบริโภคในชุมชนเพื่อลดการรั่ว ไหลของน้ำ

1.5 รณรงค์และเผยแพร่ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการแนะนำวิธี การใช้น้ำอย่างประหยัด ส่งเสริมให้มีการใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำในชุมชน การนำน้ำหล่อเย็นและน้ำทิ้งที่ผ่าน การบำบัดแล้วมาใช้ใหม่ในอุตสาหกรรมบางประเภท

2. ให้มีการประสานนโยบายและการจัดการด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและเหมาะ สมกับศักยภาพของพื้นที่ รวมทั้งเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเป็นประโยชน์ต่อคนและชุมชนอย่างแท้จริง โดย

2.1 จัดทำและกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาตินอกเขตป่าอนุรักษ์ให้ชัด เจนเหมาะสมกับสภาพทรัพยากรดิน เขตการใช้ประโยชน์ที่ดินชายฝั่งทะเลให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชายฝั่ง รักษาพื้นที่ชลประทานไว้เพื่อการผลิตทางด้านการเกษตร รวมทั้ง พิจารณาด้านกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรการจูงใจ เพื่อให้การกำหนดเขตบรรลุผลในทางปฏิบัติ

2.2 กำหนดและวางแนวเขตนิเวศน์ท้องถิ่น โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมและประเพณีที่มีอยู่หลากหลาย ของชุมชนเพื่อให้การดำเนินวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนมีส่วนสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

2.3 ปรับระบบการจัดการด้านการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้สามารถแก้ไขปัญหาเกษตรกรไร้ที่ ทำกินทั้งในเรื่องออกเอกสารสิทธิ รวมทั้งการจัดระบบการติดตามตรวจสอบ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำกินในเขตปฏิรูปเกษตรกรรมอย่างจริงจัง

3. จัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่สีเขียว โดยกำหนดนโยบายและจัดทำแนวทางที่ชัดเจนเพื่อการรักษา สภาพแวดล้อมธรรมชาติ พื้นที่สีเขียว พื้นที่โล่ง และสวนสาธารณะในเมือง ให้ได้สัดส่วนกับจำนวนคนและ การเจริญเติบโตของชุมชน รวมทั้งเพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิทัศน์

4. รักษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม โดยกำหนดให้มีการจัดการ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติและศิลปกรรม เช่น การขึ้นทะเบียนและประกาศเขตคุ้มครองแหล่งธรรมชาติ โบราณสถานและศิลป กรรมเพื่อให้มีศักยภาพสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ได้อย่างยั่งยืน และเป็นมรดกทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติ

5. สนับสนุนให้มีการจัดการทรัพยากรแร่ที่ครบวงจร โดย

5.1 เร่งรัดการสำรวจและประเมินปริมาณสำรองทรัพยากรธรณีวัตถุดิบทั่วประเทศ โดยคำนึงถึงผล กระทบต่อระบบนิเวศน์ของพื้นที่และสงวนแหล่งแร่ในเขตอนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งสุดท้ายที่จะนำมาพัฒนาและ ใช้ประโยชน์ในอนาคต

5.2 สนับสนุนการนำทรัพยากรแร่มาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการอนุรักษ์ โดยคำ นึงถึงความสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการประสานการใช้ประโยชน์ร่วมกับทรัพยากรธรรม ชาติอื่น

6. สนับสนุนให้มีการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอันเกิดจากธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ โดย

6.1 เพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานที่รับผิดชอบการป้องกันและฟื้นฟูความเสียหายจากภัยธรรม ชาติ ด้วยการให้ความสำคัญกับการเตือนภัยและการป้องกันสาธารณภัยเบื้องต้น

6.2 สร้างระบบประสานงานในระดับพื้นที่ตามประเภทของสาธารณภัยจากธรรมชาติ โดยใช้กลไก การจัดการสาธารณภัยที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ

6.3 จัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติในระดับจังหวัดและภาค เพื่อเป็นข้อมูลในการเตือนภัย การป้องกันและควบคุมภัยธรรมชาติ

6.4 กำหนดมาตรการในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชนในการป้องกันตนเอง ทั้ง การใช้ข้อกฎหมายในการบังคับและการฝึกอบรมให้มีความตระหนักถึงภัยธรรมชาติ

7. เสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของภาครัฐ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งควบ คุมและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดย

7.1 ปรับเปลี่ยนวิธีการวางแผนและการจัดงบประมาณเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จากที่ เคยยึดหน่วยงานเป็นหลักมาเป็นการยึดพื้นที่ในลักษณะกลุ่มจังหวัด สถานการณ์ และศักยภาพของทรัพยากร แต่ละประเภทเป็นหลัก โดยมีขบวนการและเครือข่ายการทำงานร่วมกันหลายฝ่ายที่มุ่งวัตถุประสงค์เดียวกัน

7.2 พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบติดตาม ตรวจสอบ และควบคุมมลพิษ โดยจัดให้มีระบบติด ตาม ตรวจสอบ และบันทึกผลมลพิษ โดยผู้เป็นเจ้าของสถานประกอบการเป็นผู้จัดทำขึ้นเพื่อให้ภาครัฐทำการ ตรวจสอบ ซึ่งจะช่วยให้การเฝ้าระวังเป็นไปอย่างมีระบบ

7.3 สนับสนุนการออกกฎหมายยกเลิกเครื่องมือประมงทะเลที่ทำลายระบบนิเวศน์ชายฝั่ง โดยเฉพาะ อวนรุนอวนลาก และสนับสนุนการเปลี่ยนเครื่องมือประมงที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

7.4 กำกับและควบคุมมิให้การกระจายอุตสาหกรรมออกสู่ชนบทส่งผลกระทบในเชิงทำลายสภาวะ แวดล้อม ตลอดจนดูแลอาชีวอนามัยแวดล้อมของคนในโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนใกล้เคียง

7.5 กำหนดและปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ และช่วยป้องกันผลกระทบที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจัดการมูลฝอยให้ สามารถเพิ่มค่าธรรมเนียมได้ตามความเหมาะสม การใช้ระบบประกันภัยในเรื่องการจัดการของเสียอันตราย เป็นต้น

8. เพิ่มบทบาทความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ โดย

กำหนดท่าทีจุดยืนของประเทศในการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจน รวมทั้งเพิ่มความเข้มแข็งขององค์กรและพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในการเจรจาด้านสิ่งแวดล้อม ในเวทีระดับโลก ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อรักษาผลประโยชน์และป้องกันการเสียเปรียบของ ประเทศในการเจรจาต่อรอง ตลอดจนพิจารณาเพิ่มความร่วมมือทางด้านวิชาการในลักษณะโครงการร่วม กันเพื่อแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศ เช่น การลดลงของชั้นโอโซน และการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก

CONTACT
Email me at pisitp@yahoo.com for your comment and/or discussions.

This page hosted by   Get your own Free Home Page 1