PsTNLP
Pisit' s Thai Natural Language Processing Laboratory
This lab is formed since 26-August-1998
e-mail pisitp@yahoo.com
Back to PsTNLP home page
ส่วนที่ 7
การพัฒนาประชารัฐ
การพัฒนาประชารัฐคือการพัฒนาให้รัฐและประชาชนมีความเข้าใจที่ดี
มีความรับผิดชอบและมีความ
เอื้ออาทรต่อกัน
ทั้งนี้เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและประชาชนดำเนินไปในเชิงสร้างสรรค์และเสริมสร้าง
สมรรถนะซึ่งกันและกัน
และเนื่องจากภาครัฐเป็นสถาบันของประเทศที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการพัฒนา
จึงเป็นองค์กรที่มีเอกสิทธิ์ในการกำหนดกรอบ กลไก
กระบวนการติดต่อและการสร้างสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ของคนทุกคนในสังคม
ภาครัฐมีทรัพยากรและบุคลากรจำนวนมากที่จะสามารถผลักดันการเปลี่ยนแปลงและ
แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของสังคมได้
อย่างไรก็ตามโครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการของภาครัฐยังมีข้อจำกัด
หลายประการ อาทิ การรวมศูนย์อำนาจ ประสิทธิภาพของการบริหาร
การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มแข็ง การ
มีส่วนร่วมจากเอกชนและประชาชน
ความชอบธรรมและเป็นธรรมของการใช้อำนาจการบริหาร ความรับผิด
ชอบทางการบริหาร
ความไม่ต่อเนื่องด้านนโยบายรวมทั้งการดำเนินงานตามแนวทางของแผนพัฒนาประเทศ
ในช่วงของการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา
โดยเฉพาะในระยะของการดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ ฉบับ
ที่ 7 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น รัฐประหาร การยุบสภา
ซึ่งมีส่วนทำให้การพัฒนาประเทศชงัก
งันและล่าช้า สำหรับด้านการบริหารการพัฒนา
ได้เกิดข้อขัดแย้งทั้งระหว่างประชาชนกลุ่มต่าง ๆ กันเอง และ
ระหว่างประชาชนกลุ่มต่าง ๆ กับภาครัฐ
ภาครัฐยังขาดกลไกกระบวนการในการจัดการประสานประโยชน์รับ
ฟังความคิดเห็น และจัดการข้อขัดแย้งระหว่างกลุ่มพลังทางสังคมต่าง ๆ
ปัญหานี้มีความสัมพันธ์กับเรื่องของ
สิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน
การขาดความโปร่งใสและโครงสร้างกระบวนการแบบรวมศูนย์
ในการดำเนินการบริหารงานของภาครัฐก็มีส่วนสำคัญทำให้กลไกและสถาบันต่าง
ๆ ไม่สามารถตอบสนอง
ความต้องการและความจำเป็นของประชาชนได้ทันท่วงที
ทำให้เกิดปัญหาวิกฤตศรัทธา และเป็นอุปสรรคในการ
พัฒนาประเทศ
ทิศทางการพัฒนาประชารัฐ
การพัฒนาประชารัฐให้มีลักษณะข้างต้นจำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาแบบองค์รวม
โดยการพัฒนา
ให้ภาครัฐมีสมรรถนะและพันธกิจหลักในการเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถนะของคน
ทำให้คนในสังคม
เป็นพันธมิตรกับเจ้าหน้าที่ของรัฐและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม
และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนดังต่อไปนี้
1. การสนับสนุนศักยภาพและโอกาสการพัฒนาของคน
1.1 การให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลและสิทธิเสรีภาพของชุมชน
ให้ความสำคัญกับหลัก
มนุษยธรรม เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคน
รวมทั้งหลักประกันการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันภายใต้
กฎหมาย
1.2 การให้หลักประกันในด้านโอกาสและช่องทางในการมีส่วนร่วมในส่วนของการกำหนดนโยบาย
และการบริหารจัดการการพัฒนาทั้งทางตรงและทางอ้อม
เพื่อตอบสนองความจำเป็นและความต้องการของคน
กลุ่มต่าง ๆ ในสังคม
2. การพัฒนาสภาพแวดล้อมทางสังคม
2.1 การสร้างสังคมเปิดที่มีความสมานฉันท์
ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและเห็นคุณค่าของความแตก
ต่างหลากหลายและการสร้างความเท่าเทียมเสมอภาคระหว่างคนกลุ่มต่าง ๆ
ในสังคม
2.2 การสร้างจริยธรรมและวัฒนธรรมของการใช้อำนาจที่เป็นธรรม
2.3 การสร้างกติกาสังคมและแบบอย่างทางการเมืองและการบริหารที่ให้ความสำคัญกับการประนี
ประนอม สันติธรรม เมตตาธรรม การยอมรับบังคับใช้กฎหมาย
2.4 การสร้างวัฒนธรรมประชาสังคมที่คนในสังคมมีความสำนึกถึงสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบร่วม
กันในฐานะพลเมืองและความรับผิดชอบที่มีต่ออนุชนรุ่นหลัง
3. การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบท
3.1 การสร้างช่องทางให้คนส่วนใหญ่ที่อาศัยในส่วนภูมิภาคและชนบทได้รับประโยชน์จากการ
พัฒนาประเทศที่เท่าเทียมกันและเสมอภาคเพิ่มขึ้น
3.2 การสร้างขีดความสามารถให้คนในภูมิภาคและชนบทได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถ
การ
พัฒนาทักษะและโอกาสในการรับบริการจากรัฐ
เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองและเสริมสร้างโอกาส
การพัฒนาเพื่อสร้างอาชีพและการมีงานทำ
3.3 การให้คนในภูมิภาคและชนบทตระหนักถึงความสำคัญของการดูแล
รักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟูและ
บูรณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่ออนุชนรุ่นหลังชุมชนของตนเองและประเทศชาติโดยรวม
3.4 การสร้างระบบและกลไกการบริหารเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายในสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนา
ภูมิภาคและชนบท
4. การพัฒนาสมรรถนะและประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ
4.1 การสร้างผู้นำที่มีความรู้ความเข้าใจและมีวิสัยทัศน์กว้างไกลในด้านการแก้ไขปัญหาและพัฒนา
เศรษฐกิจ
4.2 การสร้างระบบการบริหารที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
รวมทั้งการให้หลักประกันความ
เสมอภาคและเสรีภาพในการแข่งขันและการสนับสนุนให้เกิดความโปร่งใส
ตลอดจนการยึดหลักการและ
เหตุผลในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับสาธารณชน
4.3 การสร้างระบบการบริหารที่สามารถตอบสนองและจัดการการเปลี่ยนแปลงและสร้างความต่อ
เนื่องด้านนโยบายและแนวทางการบริหารจัดการการพัฒนาประเทศ
5. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.1 การให้คนทุกฝ่ายในสังคมสามารถร่วมกันกำหนดควบคุมการใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างสมดุล
5.2 การสร้างมาตรฐานหรือเกณฑ์วัดระบบสากลเพื่อควบคุมดูแลสภาวะแวดล้อมทั้งกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล เขตเมือง ชุมชนชนบท
ที่เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคม
5.3 การสร้างระบบการบริหารจัดการให้ชุมชนในพื้นที่ซึ่งใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้มี
ส่วนร่วมในการตัดสินใจและการกำหนดแนวทางการดำเนินงานของภาครัฐ
ที่จะส่งผลกระทบต่อสภาวะแวด
ล้อม และคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่
6. การพัฒนาระบบบริหารจัดการ
6.1 การสร้างระบบการเมืองการบริหารที่มีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายต่าง
ๆ ทั้ง
ภายในภาครัฐ และระหว่างรัฐกับเอกชนและประชาชน
6.2 การสร้างระบบการบริหารที่ทำให้เกิดดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของคนในแต่ละชุมชน
และ
ประโยชน์ของชาติ
ระหว่างประโยชน์ของประชาชาติและประโยชน์ของมนุษยชาติ
ที่ทำให้เกิดดุลยภาพ
ระหว่างประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในอนาคต
6.3 การสร้างระบบการบริหารจัดการที่มีกระบวนการและกลไกของรัฐในการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย
ในสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
บทที่ 1
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์
1. วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาประชารัฐ คือ
1.1 เพื่อเสริมสร้างการใช้หลักนิติธรรมในการบริหารรัฐกิจ
การจัดการการพัฒนาและการดำเนินกิจ
กรรมต่าง ๆ ของทุกภาคส่วนของสังคมให้มากยิ่งขึ้น
1.2 เพื่อสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในกิจกรรมของรัฐ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
การจัดการการพัฒนาประเทศ
1.3 เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิผลและประสิทธิภาพของภาครัฐในการบริหาร
รัฐกิจและการจัดการการ
พัฒนาประเทศ
1.4 เพื่อสนับสนุนให้เกิดความต่อเนื่องในงานบริหารรัฐกิจและการจัดการพัฒนาประเทศทั้งในด้าน
นโยบายและการปฏิบัติ
2. เป้าหมาย
2.1 ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับเข้าใจในหลักปรัชญากฎหมายมหาชน
ซึ่งเป็นกฎหมายหลักในการ
ปกครองประเทศ และเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ
เพื่อให้มีการใช้กฎหมายโดยยึดหลักความถูกต้องตาม
เจตนารมณ์ของกฎหมายและความถูกต้องในการตัดสินใจและการบริหาร
เคารพและบังคับใช้กฎหมายอย่าง
เสมอภาค ไม่มีการเลือกปฏิบัติ
มีความรับผิด-ชอบต่อการตัดสินใจและการดำเนินการบริหารงานสาธารณะ
รวมทั้งให้มีการสร้างกลไก
กระบวนการในการจัดการความขัดแย้งในสังคมอย่างสันติวิธี
2.2 ให้ประชาชนมีหลักประกันในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของรัฐ
สังคมและชุมชนให้มากขึ้น
เป็นการเพิ่มพูนโอกาสและช่องทางการมีส่วนร่วมอย่างมีดุลย ภาพ
และให้เกิดระบบการตรวจสอบถ่วงดุล
ในการบริหารรัฐกิจทั้งภายในระบบราชการ
และการตรวจสอบถ่วงดุลจากสังคมนอกระบบราชการ
2.3 ให้เกิดความฉับไว
เกิดความคล่องตัวของภาครัฐในการปรับตัวและจัดการอย่างเหมาะสมตาม
การเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์
เพื่อให้การตัดสินใจและการดำเนินการสาธารณะของภาครัฐเกิด
ความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
2.4 ส่งเสริมให้เกิดความต่อเนื่องในงานบริหารรัฐกิจและการบริหารจัดการการพัฒนาโดยการสร้าง
พันธมิตรเพื่อกำหนดพันธกิจและระเบียบวาระแห่งชาติเพื่อพัฒนาคน ชุมชน
สังคม และประเทศชาติร่วมกัน
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประชารัฐ ประกอบด้วย
การเสริมสร้างหลักการใช้บังคับกฎหมายที่ถูกต้องตาม
เจตนารมณ์และปรัชญากฎหมาย
โอกาสและสภาวะแวดล้อมให้สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน การ
มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาของทุกภาคส่วน
การส่งเสริมการเพิ่มพูนประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
และความรับผิดชอบทางการบริหารของภาครัฐ
และการสร้างความต่อเนื่องในงานบริหารรัฐกิจ
บทที่ 2
การเสริมสร้างโอกาสและสภาวะแวดล้อมในการพัฒนาประชารัฐ
ภายใต้โครงสร้างการบริหารจัดการที่ผ่านมา
ภาครัฐเป็นผู้กำหนดแนวทางในการดำเนินงานที่เชื่อว่า
เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
โดยปราศจากการเปิดโอกาสและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ทำให้
การดำเนินงานของภาครัฐขาดประสิทธิภาพ
ตลอดจนขาดการยอมรับและสนับสนุนจากประชาชน ในหลาย
ครั้งได้นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง
และการเผชิญหน้าระหว่างประชาชนกับภาครัฐ ซึ่งเป็นการบั่นทอน
พลังในการพัฒนาของสังคมไทย
เพื่อให้กระบวนการพัฒนาของชาติในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
เป็นไปอย่างมีประสิทธิผลตามแนว
ทางที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วม
การดำเนินบทบาทของภาครัฐที่จะได้
รับการยอมรับย่อมต้องอาศัยความชอบธรรมที่เกิดจากการสร้างหลักประกัน
โอกาส และสภาวะแวดล้อมที่เสริม
สร้างโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชน
โดยการกำหนดหลักการและบรรทัดฐานของความสัมพันธ์ระหว่าง
รัฐกับประชาชน
ทั้งนี้การพัฒนาประชารัฐจะประกอบด้วยยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 4
ยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้
1. การเสริมสร้างหลักการใช้บังคับกฎหมายที่ถูกต้องตามเจตนารมณ์และปรัชญากฎหมาย
โอกาสและสภาวะ
แวดล้อมให้สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน
เพื่อให้เกิดหลักประกันด้านสิทธิทางการเมืองและสิทธิของ
ประชาชน การจัดการลดปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มชนต่าง ๆ
ในสังคมกับภาครัฐ และการสนับสนุนสมรรถนะ
ของประชาชน ดังนี้
1.1 การให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพ
(1) รับรองและให้หลักประกันสิทธิทางการเมือง
สิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคระหว่างหญิง
ชายให้ทัดเทียมกับบรรทัดฐานนานาอารยะประเทศ
(2) ให้มีกฎหมายรับรองสิทธิประชาชนในการรับรู้ข่าวสารข้อมูลโดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวสารข้อมูล
ของราชการ
(3) ส่งเสริมให้มีการพิทักษ์สิทธิและควบคุมตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐในทางการบริหาร
เช่น รองรับสิทธิประชาชนในการร้องขอให้รัฐจัดประชาพิจารณ์
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย
การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ.2539
(4) สนับสนุนการพัฒนาระบบศาลปกครองเพื่อพิทักษ์สิทธิประชาชน
ซึ่งอาจถูกละเมิดจากการ
ดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ
1.2 การจัดการแก้ไขความขัดแย้งในสังคมด้วยสันติวิธี
(1) สนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติ
โดยยอมรับพื้น
ฐานของความเสมอภาคและเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
ให้มีการสร้างหรือปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างคู่
กรณี การทำความเข้าใจร่วมกัน
การคำนึงถึงสิทธิของทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาให้เข้ามามีส่วน
ร่วมโดยตรงในการแก้ไขความขัดแย้ง
(2) สนับสนุนให้มีบุคคลคณะบุคคลหรือสถาบันที่มีความชำนาญในการป้องกันและแก้ไขข้อขัด
แย้งในสังคมทั้งในและนอกภาครัฐกระจายไปทั่วทุกพื้นที่
พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายข้อมูลข่าวสาร เครือข่าย
การดำเนินการและส่งต่อปัญหาให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
ร่วมมือและประสานงานกันในการแก้ไขปัญหา
ข้อขัดแย้งในสังคม
(3) สนับสนุนให้มีสถาบันท้องถิ่นและสถาบันวิชาการเพื่อทำหน้าที่ศึกษาค้นคว้ารวบรวมและเผย
แพร่ แนวทางการป้องกันและแก้ไขข้อขัดแย้งเพื่อนำมาซึ่งวิสัยทัศน์
ทัศนคติที่ถูกต้อง และความเข้าใจร่วม
กันของคนในชุมชนและสังคมในวงกว้าง
การเจรจาต่อรองประนีประนอมอันนำมาซึ่งข้อตกลงร่วมกันด้วย
เหตุผล
(4) ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีทัศนคติความเข้าใจและมีทักษะเกี่ยวกับกลไกกระบวนการต่าง
ๆ
ในการจัดการความขัดแย้งในสังคมด้วยสันติวิธี เช่น
การไกล่เกลี่ยประนีประนอม การเจรจาต่อรอง การใช้
อนุญาโตตุลาการ
(5) ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติงาน
โดยให้ความสำคัญกับการป้องกันการเกิดข้อขัดแย้งมากกว่าการ
แก้ไข
ดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ด้วยการให้ข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้อง
มีความจริงใจและให้ความร่วมมือ
แก่ทุกฝ่าย
รวมทั้งเปิดโอกาสและสนับสนุนให้มีการปรึกษาหารือร่วมกันโดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในระยะแรก
เมื่อเกิดข้อขัดแย้งขึ้น
1.3 การสร้างเสริมสมรรถนะของประชาชนและพลังทางสังคม
(1) สนับสนุนงบประมาณแก่องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรอื่น ๆ
ที่ให้ความช่วยเหลือประชาชน
ในด้านต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การเพิ่มสมรรถนะของประชาชน
(2) ปลูกฝังวัฒนธรรมการเคารพกฎระเบียบและเผยแพร่ความรู้เรื่องกฏหมายให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ
และประชาชนทราบอย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสิทธิและหน้าที่ของประชาชน
(3) สนับสนุนการเผยแพร่และบังคับใช้ระเบียบการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนอย่างจริงจัง
(4) ส่งเสริมเสรีภาพของสื่อมวลชนและสนับสนุนการพัฒนาสื่อเสรี
ตลอดจนโอกาสในการเข้าถึง
สื่อและเครื่องมือการสื่อสารของรัฐโดยประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เช่น
การให้คนในชุมชนมีสิทธิใช้หอกระจาย
ข่าวหมู่บ้าน ให้มีวิทยุชุมชน วิทยุท้องถิ่น
(5) สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในสิทธิหน้าที่
สภาพเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองทั้งภายใน
และภายนอกประเทศแก่ประชาชน โดยใช้สื่อของรัฐและภาคเอกชน
ทางวิทยุและโทรทัศน์ ประชาสัมพันธ์
และเผยแพร่การดำเนินการของรัฐ ภาคเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชน
ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เป็น
ประโยชน์แก่ชุมชนหรือประเทศ
2. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาของทุกภาคส่วน
เพื่อให้เอกชนและประชาชนได้มีส่วน
ร่วมในการพัฒนาในฐานะผู้ตัดสินใจและผู้ดำเนินการ
มิใช่ในฐานะกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับผลการพัฒนาตาม
นโยบายของรัฐ ซึ่งจะเป็นการเปิดระบบการกำหนดนโยบาย การวางแผน
การตัดสินใจ การปฏิบัติการ การติด
ตามประเมินผลของรัฐ โดยให้เอกชนและประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ ร่วมคิด
ร่วมตัดสินใจและร่วมดำเนินการ
ตลอดจนร่วมติดตามประเมินผลและปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งทำให้ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาค
ประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำความเข้าใจกัน
อันจะเป็นแรงผลักดันให้ภาครัฐและเจ้าหน้าที่
ของรัฐเห็นและเข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างวิธีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับความ
ต้องการและแนวทางของภาคเอกชนและประชาชน
และยังช่วยเสริมสร้างความสมานฉันท์และการรวมพลัง
สร้างสรรค์ในสังคมอีกด้วย
2.1 การสร้างภาคีเพื่อการพัฒนา
(1) สนับสนุนการสร้างภาคีเพื่อการพัฒนาที่ไม่เป็นฝักฝ่ายในทางการเมือง
รวมทั้งการให้ความ
สำคัญกับการสร้างภาคีเพื่อการพัฒนาในระดับภูมิภาคท้องถิ่นและชุมชน
เช่น ประชาคมจังหวัด
(2) กำหนดให้การพัฒนาแบบภาคีเป็นเงื่อนไขในการจัดสรรทรัพยากร
คือ กำหนดให้หน่วยงาน
ของรัฐระบุภาคีเพื่อการพัฒนาในการวางแผนการดำเนินการโครงการต่าง ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่
เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.2 การปรับดุลยภาพการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
(1) เพิ่มดุลการมีส่วนร่วมให้กับประชาคมและกลุ่มคนที่ยังขาดดุลการมีส่วนร่วม
เช่น เกษตรกรราย
ย่อย ชาวประมงพื้นบ้านชายฝั่ง คนจนในเมือง
(2) เพิ่มสัดส่วนตัวแทนภาคเอกชนและภาคประชาชนในคณะกรรมการ
คณะอนุกรรมการ คณะทำ
งานต่าง ๆ ของระบบบริหารการพัฒนา เช่น คณะกรรมการพัฒนาจังหวัด
คณะทำงานบริหารและจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(3) เปิดโอกาสให้องค์กรพัฒนาเอกชน
และองค์กรประชาชนได้รับการสนับสนุนงบประมาณโดย
ตรงเพื่อดำเนินกิจกรรมพัฒนาร่วมกับภาครัฐหรือ
สนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาของภาครัฐ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในกิจกรรมที่กำหนดให้ประชาชนเป็นฝ่ายนำและภาครัฐสนับสนุน
(4) สนับสนุนให้องค์กรประชาชนที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพื้นที่และชุมชนนั้น
มีส่วนร่วม
บริหารท้องถิ่นของตนและดำเนินงานการพัฒนาผ่านช่องทางองค์กรการบริหารส่วนท้องถิ่น
เช่นองค์การ
บริหารส่วนตำบล สภาตำบล เทศบาล สุขาภิบาล และช่องทางอื่นๆ
2.3 การส่งเสริมท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา
(1) รับรองสิทธิชุมชนและท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม และการมีส่วน
ร่วมในกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ
อาทิให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการ
พัฒนาของรัฐมีส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และติดตามตรวจสอบประเมินผลการดำเนิน
การโครงการ
(2) จัดสรรงบประมาณให้ท้องถิ่นในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปให้มากขึ้น
และลดการจัดสรรเงิน
อุดหนุนเฉพาะกิจ
เพื่อให้ท้องถิ่นมีอิสระในการกำหนดแผนงานรวมทั้งบริหารกิจกรรมให้สอดคล้องกับ
ความต้องการและสภาพการณ์ของท้องถิ่น
2.4 การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรประชาชน
(1) ส่งเสริมการจัดตั้งองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรประชาชนทั้งที่เป็นนิติบุคคลและไม่เป็นนิติ
บุคคล
(2) สนับสนุนให้องค์กรพัฒนาเอกชนได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและการสนับสนุนงบประมาณ
จากภาครัฐ
(3) ส่งเสริมให้องค์กรธุรกิจเอกชนสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาเพื่อชุมชนและสังคมขององค์
กรพัฒนาเอกชนและองค์กรประชาชนด้วยมาตรการทางภาษี
(4) สนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายองค์กรประชาชนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
และ
เสริมสร้างทักษะในการบริหารจัดการ
3. การเพิ่มพูนประสิทธิผลและประสิทธิภาพของภาครัฐ
เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิผลและประสิทธิภาพของภาค
รัฐโดยการปรับเปลี่ยนบทบาท จุดเน้น
การเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินงาน ตลอดจนขั้นตอน ระเบียบและ
วิธีการของหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้ภาครัฐสามารถรองรับและเสริมสร้างการพัฒนาของภาคอื่น
ๆ ดังนี้
3.1 การปรับปรุงบทบาทการบริหารจัดการของส่วนราชการ
(1) ปรับบทบาทของระบบราชการจากการตรวจสอบ ควบคุม
เป็นการกำกับดูแล ส่งเสริม พร้อมทั้ง
ลดบทบาทในการดำเนินกิจกรรมของภาครัฐ
เพื่อส่งเสริมให้ภาคประชาชนและภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทมาก
ขึ้น
(2) ลดขนาดระบบราชการ
โดยจำกัดการขยายตัวของหน่วยราชการและตรึงกำลังคนภาครัฐ พร้อม
ทั้งเร่งรัดการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรทั้งภารกิจ
บุคลากรและขั้นตอนการทำงานให้สอดคล้องกับสภาพ
เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่เป็นอยู่อย่างจริงจัง
(3) ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการงานของหน่วยงานกลางและกระทรวง
ทบวง กรม ด้านการวาง
แผน ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และด้านการให้บริการ
ให้มีความอิสระและการจัดการแบบสมัยใหม่และ
เป็นสากลมากขึ้น
(4) การกระจายอำนาจตามระดับการบังคับบัญชาหรือการมอบอำนาจการตัดสินใจ
ในหน่วยราชการ
กลาง กระทรวง ทบวง กรม
สู่หน่วยงานปฏิบัติและผู้ปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับระดับงานแต่ละระดับมากยิ่ง
ขึ้น โดยให้สามารถใช้
ดุลยพินิจตัดสินใจแบบเบ็ดเสร็จและทันต่อเหตุการณ์
(5) เร่งรัดระบบตรวจสอบและถ่วงดุลการปฏิบัติงานของส่วนราชการและข้าราชการ
เพื่อให้เกิดความ
รับผิดชอบต่อประชาชน สังคมและชุมชน
(6) ปรับปรุงประสิทธิภาพระบบราชการและระบบข้าราชการ ดังนี้
(6.1) เพิ่มบทบาทของส่วนราชการในพื้นที่ เช่น จังหวัด
พร้อมทั้งลดบทบาทของการบริหารราชการ
ส่วนกลาง
อีกทั้งลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในการบริหารจัดการในด้านแผนงาน
ด้านงบประมาณ ด้านการคลัง
และด้านบุคคลเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและอิสระในการจัดการของหน่วยงานของพื้นที่ไปสู่ส่วนภูมิภาคและ
ท้องถิ่นอย่างผสมผสานครบวงจร
(6.2) เพิ่มบุคลากรในการดำเนินงานของส่วนราชการในพื้นที่พร้อมทั้งกระจายหรือลดกำลังคนภาค
รัฐในการบริหารราชการส่วนกลาง เพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของประชาชนใน
ภูมิภาคและชนบทอย่างทั่วถึง
(6.3) ปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการบริหารงานบุคคลภาครัฐเพื่อจูงใจและธำรงรักษาคนที่มีความ
รู้พร้อมคุณธรรมไว้ในระบบราชการ
โดยการปรับปรุงค่าตอบแทนให้ใกล้เคียงหรือเท่าเทียมกับภาคเอกชน
โดยมีขั้นตอนที่ชัดเจนและแน่นอน
และการส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพอย่างเป็นธรรม
(7) ปรับปรุงการดำเนินงานบริหารรัฐกิจเป็นระบบการจัดการโดยเน้นทั้งพื้นที่กับภารกิจของหน่วย
งานและการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างได้สมดุล
(8) ยกระดับความสำคัญของหน่วยการบริหารส่วนจังหวัด
โดยกำหนดให้จังหวัดเป็นหน่วยงานจัด
การหลักเพื่อการพัฒนาทุกด้านของพื้นที่ในความรับผิดชอบ
พร้อมทั้งกระจายอำนาจหน้าที่และความรับผิด
ชอบในการวางแผนงาน งบประมาณและการบริหารบุคลากร
ตลอดจนการติดตามประเมินผลการพัฒนาโดย
รวมอย่างเป็นเอกภาพและต่อเนื่องให้มีความคล่องตัวและอิสระในการบริหารจัดการ
ภารกิจของตนอย่างแท้
จริง
(9) ปรับบทบาทของหน่วยงานกลาง
และหน่วยราชการในส่วนกลางให้มีหน้าที่วางแผนกำหนด
นโยบายในเชิงยุทธศาสตร์ ประสานงาน
และให้ความสนับสนุนทางเทคนิคและอื่น ๆ เช่น ทรัพยากร ขวัญ
กำลังใจ ให้แก่ส่วนราชการในภูมิภาคและท้องถิ่นเป็นสำคัญ
(10) เพิ่มบทบาทของหน่วยงานในส่วนจังหวัด
พร้อมกับสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพให้มีความ
สามารถในการวางแผน การบริหารงบประมาณและบุคลากร ฯลฯ
อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 การปรับปรุงกระบวนการทางงบประมาณ เพื่อให้ส่วนราชการต่าง
ๆ มีความอิสระและยืดหยุ่น
ในการบริหารเงินงบประมาณ
และจังหวัดสามารถตั้งและรับการจัดสรรงบประมาณได้เอง
3.3 การกำหนดให้จังหวัดมีบุคลากรที่มีความสามารถมากขึ้น
พร้อมทั้งลดอัตรากำลังของหน่วยงาน
บริหารราชการส่วนกลาง
ตลอดจนสร้างเครือข่ายการหมุนเวียนหน้าที่การงาน
โอกาสความก้าวหน้าด้านอาชีพ
เกียรติภูมิ
และค่าตอบแทนให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นไม่น้อยกว่าใน
ส่วนกลาง
3.4 การสร้างเกณฑ์ชี้วัดและระบบประเมินผลงาน
เพื่อวัดประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการ
บริหารงานในความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐทุกประเภทและทุกระดับ
3.5 การสร้างความรับผิดชอบทางการบริหาร
ด้วยการเปิดโอกาสให้องค์กรเอกชนและประชาชนมี
ส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบแผนและผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการต่าง
ๆ และขจัดการทุจริตและ
ประพฤติมิชอบในวงราชการ
3.6 การสร้างความโปร่งใส ด้วยการส่งเสริมให้องค์การต่าง ๆ
มีส่วนร่วมให้ความคิดเห็น ท้วงติง
ตรวจสอบโครงการพัฒนาขนาดใหญ่หรือแผนงานสำคัญ ๆ
ของภาครัฐก่อนการดำเนินการ
3.7 การปรับการบริหารจัดการนโยบายสาธารณะ
(1) สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการลงทุนด้านบริการการศึกษา
ด้านสาธารณสุข
ด้านบริการโครงสร้างพื้นฐานอย่างเต็มศักยภาพ ฯลฯ
โดยให้เป็นการแข่งขันโดยเสรีที่คำนึงถึงประโยชน์
ด้านคุณภาพและราคาค่าบริการที่เหมาะสมต่อผู้ใช้บริการเป็นหลักแทนผลประโยชน์ตอบแทนที่เอกชนจะ
ให้แก่รัฐหรือองค์กรของรัฐ
(2) ให้มีกลไกระดับชาติที่มีความเป็นกลาง
เพื่อกำกับดูแลบริการ สาธารณะให้มีประสิทธิภาพ คล่อง
ตัว และมีคุณภาพบริการที่ดี ได้มาตรฐาน
รวมทั้งกำหนดอัตราค่าบริการที่เป็นธรรมต่อผู้ให้และผู้ใช้บริการ
(3) ทบทวนปัญหาและข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและระเบียบที่เปิดโอกาสหรือเพิ่มบทบาท
ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินแผนงาน โดยการปรับกฎ ระเบียบ
และกฎเกณฑ์ที่ล้าสมัย ให้สนับ
สนุนส่งเสริมการจัดการนโยบายสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ
3.8 การพัฒนาด้านกฎหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ
โดยที่ตามแผนพัฒนาฯ ได้กำหนด
แนวทางการพัฒนาทั้งในด้านคน สังคม สิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจและการบริหารการจัดการ โดยใช้กลไกทาง
กฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดันให้การพัฒนาตามแผนดังกล่าวบรรลุผลในการปฏิบัติได้อย่าง
จริงจัง
จึงจำเป็นต้องปรับองค์กรกลางทางกฎหมายของประเทศให้สามารถเป็นศูนย์กลางในการสร้างกฎ
หมายให้สอดคล้องกับแนวทางในแผนพัฒนาฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งการวางระบบการตรวจสอบ
การปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถปฏิบัติการตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง
ตามเป้าหมายของกฎหมายในแต่ละเรื่องที่กำหนดขึ้น
4. การสร้างความต่อเนื่องในงานบริหารรัฐกิจ
เพื่อสร้างความต่อเนื่องและเสถียรภาพของการบริหารรัฐกิจ
โดยการผนึกกำลังของกลุ่มพลังต่าง ๆ
ในสังคมและให้มีข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ
และระเบียบวาระแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายซึ่งจะทำให้ฝ่ายต่าง
ๆ สามารถมีจินตภาพในแนวทาง
การพัฒนาประเทศได้
ตลอดจนมีพันธะความรับผิดชอบที่สนับสนุนแนวทางดังกล่าว ดังนี้
4.1 การสร้างพันธมิตรเพื่อกำหนดระเบียบวาระแห่งชาติ
(1) ให้มีการจัดการประชุมระหว่างพรรคการเมือง หน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ องค์การเอกชน
องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรประชาชน และตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ
เพื่อกำหนดและทบทวนวิสัยทัศน์
พันธกิจ และระเบียบวาระแห่งชาติเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
(2) สนับสนุนให้มีการจัดการฝึกอบรม การประชุม ให้บุคลากรทุก
ระดับขององค์กรต่าง ๆ ข้าง
ต้นได้มีโอกาสดูงาน
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กันอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อเสริมสร้างความเข้า
ใจซึ่งกันและกัน
(3) เผยแพร่ประสบการณ์และเทคนิคในการสร้างพันธมิตรที่ประสบความสำเร็จ
ตลอดจนการกำ
หนดระเบียบวาระแห่งชาติ
ที่มีความเห็นสอดคล้องต้องกันเพื่อสร้างจุดมุ่งหมายร่วมกัน
(4) กำหนดให้มีการวัดผลสำเร็จในการประสานกลุ่มพลังต่าง ๆ
ในสังคม โดยการสร้างดัชนีชี้วัด
ที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันของกลุ่ม
เพื่อนำมาเพิ่มพูนศักยภาพในการบริหารจัดการที่อยู่ในความรับผิดชอบของ
กลุ่มและองค์กรของตนเอง
4.2 การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะเพื่อเสริมสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน
(1) สนับสนุนให้มีการเผยแพร่นโยบายของรัฐบาล
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผน
งานของส่วนราชการ และองค์กรต่าง ๆ
ในรูปแบบที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใจได้
(2) สนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยเชิงนโยบาย
เพื่อประโยชน์ในการกำหนดนโยบายระยะยาว และ
ลำดับความสำคัญหรือความเร่งด่วนของปัญหาหลัก ๆ ของสังคมหรือประเทศ
(3) สนับสนุนการวิจัย สัมมนา เผยแพร่วิธีการต่าง ๆ
ที่จะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ และสาธารณชนมี
ความรู้ ความคิดกว้างไกล เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์
รวมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบ
รมบุคลากรของภาครัฐ การจัดการฝึกอบรม การประชุม
ให้บุคลากรทุกระดับขององค์กรต่าง ๆ ข้างต้น ได้มี
โอกาสดูงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์กันอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ ความ
สมานฉันท์ และการรวมพลังสร้างสรรค์ซึ่งกันและกัน
การที่จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาประชารัฐได้นั้นจำเป็นจะต้องมีการบริหาร
การจัดการเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติที่ระดมสรรพกำลังจากทุกส่วนของสังคมให้เกิดการผนึกกำลังเป็น
ภาคีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยจะต้องมีการคำนึงถึงเงื่อนไข
ข้อจำกัดและแนวโน้มพัฒนาการของสังคม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาแนวทางและมาตรการในการประสานสัมพันธ์บทบาทและภารกิจที่ภาครัฐ
ภาคเอก
ชน และภาคประชาชน เพื่อร่วมกันปฏิบัติงาน
เพื่อสร้างความสุขและสันติสุข แก่ปัจเจกบุคคล ชุมชน สังคม
และประเทศชาติ
CONTACT
Email me at pisitp@yahoo.com for your comment and/or discussions.
This page hosted by
Get your own Free Home Page