PsTNLP

Pisit' s Thai Natural Language Processing Laboratory
This lab is formed since 26-August-1998
e-mail pisitp@yahoo.com
Back to PsTNLP home page

ส่วนที่ 8
การบริหารจัดการเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังไม่บังเกิด ผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินที่ เป็นอยู่ทำให้หน่วยงานของรัฐมีการบริหารจัดการในลักษณะรวมศูนย์ ขาดการกระจายอำนาจไปยังหน่วยงาน ระดับล่างหรือผู้ปฏิบัติ ลักษณะการแบ่งอำนาจหน้าที่เป็นไปในแนวดิ่งเป็นลำดับชั้น อีกทั้งหน่วยงานของรัฐที่ มีหน้าที่รับผิดชอบคล้ายคลึงกัน ต่างมีแผนงานและจัดทำคำของบประมาณเป็นของตนเองทั้ง ๆ ที่ลักษณะงาน เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน หน่วยงานในแต่ละระดับตั้งแต่กระทรวง กรม กอง ขาดการประสานงานและร่วมมือกัน อย่างใกล้ชิดทำให้การดำเนินแผนงานโครงการไม่สามารถเกิดผลตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาประเทศ

รัฐได้พยายามแก้ไขปัญหาข้างต้นโดยกำหนดกลไกการบริหารนโยบายเฉพาะด้านขึ้นมารองรับงาน พัฒนาที่รัฐให้ความสำคัญในช่วงเวลาต่าง ๆ เช่น งานพัฒนาชนบท โดยมีโครงสร้างการบริหารการพัฒนาที่ ดำเนินการร่วมกันโดย 8 กระทรวงหลัก และงานพัฒนาพื้นที่พิเศษ เช่น คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล ตะวันออก การดำเนินงานลักษณะดังกล่าว แม้ว่าได้ช่วยให้การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติดีขึ้นในระดับหนึ่ง แต่ ก็ยังคงมีปัญหาในทางปฏิบัติ คือหน่วยงานในระดับพื้นที่ยังคงดำเนินการในลักษณะเอกเทศ ขาดการประสาน กันของช่วงเวลาดำเนินการและเกิดการทำงานซ้ำซ้อนในพื้นที่เดียวกัน

ปัญหาพื้นฐานในการดำเนินงานพัฒนาของภาครัฐ คือ การที่แผนงาน แงิน และแผนคนขาดความสัม พันธ์เชื่อมโยงกัน ซึ่งเกิดขึ้นทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ ทำให้โครงการพัฒนาไม่ได้รับการดำเนิน การให้เกิดผลในทางปฏิบัติตามแผนที่กำหนด นอกจากนี้ยังมีปัญหาอำนาจบริหารจัดการด้านงบประมาณใน หน่วยราชการเอง ซึ่งขาดความอิสระและคล่องตัวในการจัดการงบประมาณของตนเอง ในหลายกรณีได้ก่อให้ เกิดความล่าช้าและส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนา นอก จากนี้สังคมไทยในปัจจุบันปรากฏว่าการเติบโตของพลังนอกระบบราชการเพิ่มมากขึ้น พลังเหล่านี้ได้แก่องค์ กรทางการเมือง กลุ่มการเมือง และองค์กรประชาชนซึ่งต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอน มากขึ้น การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 นั้น จำเป็นจะต้องมี การปรับโครงสร้างและระบบบริหารการพัฒนาของรัฐ แต่เนื่องจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวจำเป็นจะต้องมี การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องจำนวนมากซึ่งต้องใช้เวลาและขั้นตอนในการดำเนิน การ ดังนั้นเพื่อให้การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติเกิดประสิทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องดำเนินการภาย ใต้ข้อจำกัดและโครงสร้างเดิมของระบบราชการที่มีอยู่แล้วไปก่อน โดยการปรับกระบวนการและกลไกใน การบริหารจัดการงบประมาณ และบุคลากรให้คล่องตัวขึ้น โดยยึดหลักการประสานงานภายใต้ระบบการจัด การพื้นที่กับภารกิจของหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแผนงานโครงการตามยุทธ ศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8

บทที่ 1
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์
1. วัตถุประสงค์

1.1 เพื่อปรับกระบวนการและกลไกการบริหารจัดการงานพัฒนาให้สามารถแปลงแผนไปสู่การ ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล

1.2 เพื่อเสริมสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารงานพัฒนา และ เสริมสร้างสมรรถนะการพัฒนาในลักษณะเน้นคนเป็นศูนย์กลาง การพัฒนาแบบองค์รวมและการมีส่วน ร่วมของภาคี

1.3 เพื่อให้มีการติดตามและประเมินผลแผนงานโครงการการพัฒนาในทุกระดับ โดยการจัดทำ ดัชนีเครื่องชี้วัดเป็นเครื่องมือ

2. เป้าหมาย

2.1 สร้างระบบการบริหารจัดการเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่

2.2 สร้างภาคีและชุมชนให้มีศักยภาพในการมีส่วนร่วมของการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติในทุก ขั้นตอน

2.3 สร้างดัชนีเครื่องชี้วัดผลสำเร็จของการพัฒนา 5 ระดับ

3. ยุทธศาสตร์การแปลงแผนสู่การปฏิบัติ

เพื่อให้เป็นตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ การดำเนินการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การปรับเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานกลางในการแปลงแผนไปสู่ การปฏิบัติ การปรับกระบวนการบริหารจัดการการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของประชาชน การพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผล

ในการแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติที่ได้ผลจะต้องเน้นการทำงาน การเรียนรู้และเสริมสร้างความ สามารถร่วมกันทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผน การกำหนดเป้าหมายแต่ละด้าน การร่วมกันปฏิบัติตามแผน และการติดตามประเมินผล โดยมีดัชนีชี้วัดร่วมกัน ตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับท้องถิ่น ทั้งนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยว ข้อง ภาครัฐ และนอกภาครัฐ จะต้องร่วมกันกำหนดแนวทางขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน โดย มีการแบ่งอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบที่ตกลงร่วมกัน

บทที่ 2
การปรับเพิ่มประสิทธิภาพ ของหน่วยงานกลางในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ

หน่วยงานกลางที่มีบทบาทสำคัญในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำ นักงานตรวจเงินแผ่นดินและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งต้องร่วมกันประสานแผนงาน แผนเงิน และแผนคน พร้อมทั้งการติดตามประเมินผลแผนงานโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ รวมทั้งการปรับแผนต่าง ๆ ให้เกิดเป็นกลไกในการบังคับให้เกิดผลอย่างแท้ จริงด้วยการสร้างกฎหมายแต่ละเรื่องให้เป็นระบบที่สอดคล้องทั้งการพัฒนาประเทศ การบริหารงานภาค รัฐฯ และการให้ความคุ้มครองต่อประโยชน์สาธารณะ ในทางปฏิบัติหน่วยงานทั้งห้ายังมีข้อจำกัดในด้าน ปัจจัยการสนับสนุน การประสานงาน อีกทั้งยังขาดการปรับปรุงบทบาทของหน่วยงานให้ทันกับการเปลี่ยน แปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้หน่วยงานเหล่านี้ไม่ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลในฐานะเป็นผู้กำกับ ส่งเสริม สนับสนุน และดูแลให้กระทรวง ทบวง กรม ใช้ทรัพยากรที่มีไปในทิศทางเดียวกับแนวทางที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ดังนั้นจึงควรปรับ ปรุงบทบาทหน่วยงานทั้ง 5 ดังนี้

1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

1.1 ปรับปรุงบทบาทการปฏิบัติงานให้เอื้อต่อการวางแผนในลักษณะที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของ การพัฒนาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งในระดับชาติสู่ระดับพื้นที่คืออนุภาคและกลุ่มจังหวัด โดยการเปิดโอกาส ให้ประชาชนทุกส่วนมีส่วนร่วมดำเนินการ การวางแผน การประเมินผลและการสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จ ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในทุกระดับ

1.2 ริเริ่มการประสานงานการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ทั้งฝ่ายภาครัฐ และนอกภาครัฐ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม องค์กรประชาชน และองค์กรพัฒนาเอกชน โดยใช้ระบบการจัดการพื้นที่กับภารกิจ ของหน่วยงาน และการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นตัวกำหนด

1.3 วางกรอบหรือเกณฑ์การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้แผนงานและแผนเงินเป็นไปในทิศ ทางเดียวกันภายใต้ยุทธศาสตร์และแผนงานพัฒนา ตลอดจนการติดตามประเมินผลการดำเนินงานภายใต้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2. สำนักงบประมาณ

2.1 ปรับบทบาทการจัดสรรงบประมาณให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจัดสรรงบประมาณตามหลัก ประสิทธิผลและประสิทธิภาพให้กระทรวง ทบวง กรม ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ซึ่งอาศัยระบบการจัด การพื้นที่กับภารกิจของหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของประชาชน การวิเคราะห์โครงการให้คำนึงถึงกระ บวนการทำงานและผลกระทบที่เกิดขึ้นมากกว่าปัจจัยที่ใช้และผลผลิตในเชิงปริมาณ

2.2 เชื่อมโยงกิจกรรมตามแผนงานในการจัดสรรงบประมาณให้ตรงกับแผนงานตามยุทธศาสตร์ ในแผนพัฒนาฯ และแผนงานโครงการของกระทรวง ทบวง กรม ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

2.3 กระจายอำนาจในการบริหารจัดการด้านงบประมาณให้กระทรวง ทบวง กรม มีอิสระและคล่อง ตัวในการบริหารจัดการภายใต้การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

2.4 ปรับกระบวนการ กลไก วิธีการ และขั้นตอนของงบประมาณให้สั้น และลดความซ้ำซ้อนของ การปฏิบัติงาน โดยเน้นบทบาทผู้กำหนดนโยบายวางแผนด้านงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ มากกว่าเน้นการ ควบคุมการปฏิบัติในรายละเอียด

2.5 วางระบบและทำการติดตามประเมินผลให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงในการจัดสรรและการ ใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน รวมทั้งการบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ

3. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

3.1 ปรับปรุงบทบาทการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เพื่อมุ่งเน้น การเป็นผู้วางแผน กำหนดนโยบายกำลังคนภาครัฐในภาพรวม โดยอาศัยแนวทางการใช้ระบบการจัดการ ทรัพยากรตามพื้นที่กับภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเกณฑ์ ตลอดจน ให้คำปรึกษาและแนะนำด้านเทคนิคในการจัดองค์การ การจัดการ และการบริหารงานบุคคลแก่หน่วยงาน ภาครัฐ

3.2 ส่งเสริม สนับสนุนและผลักดันให้กระทรวง ทบวง กรม ปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจหลัก โครงสร้าง ระบบการบริหารจัดการในภาพรวมไปสู่สมัยใหม่และเป็นสากล ให้สอดคล้องกับกระแสการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศและของโลกในยุคโลกาภิวัตน์

3.3 เร่งรัดการปรับปรุงระบบบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐให้สามารถเป็นเครื่องมือที่สนับสนุน การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพด้วยการปรับปรุงโครงสร้างเงินเดือนให้สอดคล้อง กับภาวะค่าครองชีพและการจ้างงานในตลาดแรงงาน การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกำลังคนในสาขาวิชา ชีพที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ และการพัฒนาคุณภาพกำลังคนในทุกระดับอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและ ทั่วถึง

3.4 สร้างระบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่สามารถวัดผลได้อย่างเที่ยงตรงและสมเหตุผลเพื่อเป็น พื้นฐานในการประเมินความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริการ ของรัฐ

3.5 กระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลให้ส่วนราชการสามารถบริหารทรัพยากรบุคคลได้อย่าง คล่องตัว มีมาตรฐานและคุณธรรม

4. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

4.1 ปรับบทบาทการตรวจสอบการดำเนินงานของส่วนราชการจากการมุ่งการปฏิบัติตามกฎ ระ เบียบ มาสู่การตรวจสอบประเมินผลตามผลงาน

4.2 สร้างกลไกการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ โดยเน้นการให้ ความสำคัญที่ผลงานเป็นหลัก และกฎระเบียบเป็นรองเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการทำงาน

4.3 กระจายอำนาจการบริหารจัดการการดำเนินงานของส่วนราชการ ให้มีอิสระในการบริหารจัด การทรัพยากรของตนเองอย่างเหมาะสม โดยลดการควบคุมและแก้ไขกฎระเบียบให้ทันสมัย

4.4 วางระบบการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการให้เป็นระบบและต่อเนื่อง

สามารถนำมาเป็นข้อมูลในการเชื่อมโยงแผนงาน แผนเงิน และแผนคน อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่และทุกปี

5. สำนักงานคณะกรรมการกฎษฎีกา

5.1 เพิ่มบทบาทให้เป็นองค์กรกลางในด้านกฎหมายภาครัฐได้อย่างแท้จริง ด้วยการปรับปรุงกระ บวนการตรากฎหมายและการให้ความเห็นทางกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐโดยคำนึงถึงความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน เพื่อให้สามารถสร้างกฎหมายที่สอดคล้องกับแนวทางตามแผนพัฒนาฯ โดยมีการประสานและ แลกเปลี่ยนข้อมูลในระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด รวมทั้งการวางกรอบหรือแนวทาง ของกฎหมายให้เป็นไปโดยมีระบบและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

5.2 ติดตามการใช้บังคับกฎหมายและริเริ่มเสนอแนะการปรับปรุงกฎหมายที่ล้าสมัยหรือไม่เอื้อ อำนวยต่อการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการศึกษาวิจัยในด้านกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและระบบ ของสากล และติดตามการพัฒนากฎหมายของต่างประเทศเพื่อนำมาปรับใช้กับประเทศไทยให้ได้อย่าง เหมาะสม

5.3 พัฒนากระบวนการวินิจฉัยคดีปกครองเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐและจะทำให้สามารถกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ของ รัฐให้เป็นไปโดยถูกต้อง ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ปรัชญากฎหมายมหาชนเพื่อ ประโยชน์สาธารณะและคุ้มครองประชาชน

5.4 ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบกฎหมายของประเทศและ หลักกฎหมายมหาชน เพื่อให้มีแนวความคิดพื้นฐานทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินอย่าง ถูกต้องและสามารถนำกฎหมายไปใช้เป็นกลไปในการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกัน

บทที่ 3
การปรับกระบวนการบริหารจัดการการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ

การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติต้องอาศัยกระบวนการและกลไกการผนึกกำลังในหลายมิติ กล่าวคือ การประสานแผนงาน แผนเงิน และแผนคน กับพื้นที่และหน้าที่ของหน่วยงานปฏิบัติให้เป็นเอกภาพ การ กำหนดแผนงานหรือโครงการพัฒนาตามระบบบริหารจัดการนี้จะใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนเป็น กรอบสำหรับกำหนดภารกิจ หน่วยงาน พื้นที่ และการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับวัตถุประ สงค์และเป้าหมายของแผนพัฒนาประเทศ การปรับกระบวนการและกลไกบริหารจัดการดังกล่าวมีแนวทาง ดังต่อไปนี้

1. การแปลงแผนสู่การปฏิบัติด้วยระบบการจัดการพื้นที่กับภารกิจของหน่วยงานและการมีส่วนร่วม

1.1 กำหนดบทบาทตลอดจนกิจกรรมการจัดการงานพัฒนารวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ

ภาคธุรกิจเอกชนและองค์กรประชาชนให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม

1.2 จัดให้มีการทบทวนภารกิจของหน่วยงานส่วนกลางเพื่อกำหนดกิจกรรมหลักที่ควรดำเนินการ ภายใต้ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยใช้แนวทางการบริหารจัดการพื้น ที่กับหน้าที่และการมีส่วนร่วมเป็นหลัก

1.3 ใช้แนวทางการประสานการวิเคราะห์ใน 3 มิติ คือ ด้านพื้นที่ ภารกิจหลักของหน่วยงาน และ การมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน เป็นกรอบในการวางแผนงานและโครงการ

1.4 ปรับเปลี่ยนการจัดทำแผนงานและแผนเงินที่เน้นกรมเป็นหน่วยหลัก มาเป็นพื้นที่และชุมชน คือ จังหวัด อำเภอและตำบล

1.5 พัฒนาระบบการประสานงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานกลาง ตลอดจนพัฒนาระบบข้อมูลที่ ใช้เชื่อมโยงหน่วยงานกลางที่ทำงานด้านแผนงาน แผนเงิน แผนคน และหน่วยงานตรวจสอบ ติดตามและ ประเมินผล

2. การเชื่อมโยงระหว่างแผนงาน แผนเงิน และแผนคน

2.1 พัฒนากรอบและหลักเกณฑ์การพิจารณาแผนงานและโครงการของส่วนราชการตามลำดับ ความสำคัญร่วมกันระหว่างสำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ให้เป็นไปตามกรอบยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาของชาติ

2.2 สร้างกรอบแนวคิดและหลักการในการกำหนดแผนงาน โครงการของกระทรวง ทบวง กรม ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเปิดโอกาสให้แต่ละหน่วยงานทำ ความตกลงและมีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบและหลักการในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ

2.3 สร้างระบบติดตามประเมินผลและสร้างตัวชี้วัดประสิทธิผลประสิทธิภาพในระดับโครงการ โดยองค์กรกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดตัวชี้วัด

2.4 ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนงานงบประมาณ การบริหารบุคคล และการติด ตามและประเมินผลของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ให้มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะ ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดระบบแผนงานและแผนเงินในแนวทางใหม่ให้ไปในทิศทางเดียวกัน

3. การกระจายอำนาจในระบบกลไกการบริหารงานของรัฐ

3.1 กระจายอำนาจในการบริหารจัดการด้านงบประมาณ การคลัง และการบริหารงานบุคคลจาก หน่วยงานกลางไปสู่กระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานในระดับพื้นที่อย่างครบวงจรและเป็นเอกภาพ โดยการปรับกระบวนการและวิธีการให้มีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณและบุคลากรมากขึ้น

3.2 พิจารณาให้หน่วยราชการระดับพื้นที่ คือ จังหวัด ให้มีสถานภาพเป็นส่วนราชการหรือสามารถ เข้ามาอยู่ในกระบวนการการจัดสรรทรัพยากรของรัฐได้ ตลอดจนให้มีการรวมกลุ่มจังหวัดในการดำเนินงาน แผนงานและโครงการร่วมกัน

3.3 ลดขั้นตอนการทำงานโดยการมอบอำนาจ โดยเฉพาะกระบวนการอนุมัติ การจัดระเบียบและ วิธีการทำงานให้สามารถดำเนินการได้สั้นและรวดเร็ว ทั้งด้านงบประมาณการคลัง และด้านบุคคล เพื่อให้ การดำเนินงานของส่วนราชการรวดเร็วขึ้น โดยการปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่ไม่เอื้ออำ นวยต่อการกระจายและมอบอำนาจให้หน่วยงานระดับพื้นที่

บทที่ 4
การมีส่วนร่วมของประชาชน

โดยเหตุที่ในปัจจุบันปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมมีความซับซ้อน และการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้อง อาศัยกระบวนการความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของหลายฝ่ายในสังคม ในขณะที่การพัฒนาในระยะเวลา ที่ผ่านมาได้ทำให้ภาคประชาชนเติบโตและมีศักยภาพและมีความต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการของรัฐและบริหารจัดการชุมชน อีกทั้งภาครัฐเองมีขีดความสามารถจำกัด จำเป็นต้องเปิด โอกาสและส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนและสังคมได้มีส่วนเข้ามาแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี แนวทางสำคัญ ดังนี้

1. จัดกระบวนการหรือกลไกการบริหารจัดการของรัฐที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา การจัดทำแผน และดำเนินการแก้ไขปัญหาของชุมชน

2. สนับสนุนให้มีคณะกรรมการของประชาชนในชุมชนและท้องถิ่นให้ร่วมคิด ร่วมทำงาน และ เรียนรู้ประสบการณ์ความรู้ความสามารถซึ่งกันและกัน

3. ส่งเสริมให้มีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชนหรือท้องถิ่นในการแลกเปลี่ยนความรู้ความ เข้าใจในการพัฒนาด้านต่าง ๆ และผลกระทบจากการพัฒนา

4. จัดให้มีกระบวนการและช่องทางของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการพัฒนาเป็น 2 ระบบควบ คู่กันไป คือ ระบบการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการพัฒนาร่วมกับภาครัฐซึ่งเป็นระบบที่มีการปฏิบัติอยู่ใน ปัจจุบัน และระบบการจัดการกิจกรรมการพัฒนาใหม่ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างสมบูรณ์ ซึ่งภาครัฐ เป็นฝ่ายสนับสนุนในด้านนโยบาย มาตรการ และงบประมาณสนับสนุน

5. เสริมสร้างวิสัยทัศน์ และสร้างขีดความสามารถในการจัดการหรือการมีส่วนร่วมให้แก่องค์กร ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน สาธารณชน ภาคธุรกิจเอกชน เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการ ดำเนินแผนงานโครงการของรัฐหรือของชุมชน เช่น การใช้มาตรการจูงใจทางภาษี การสนับสนุนการฝึก อบรมด้านการจัดการ และการส่งเสริมความร่วมมือกับฝ่ายอื่น ๆ ในสังคม

6. พัฒนาศักยภาพการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของรัฐและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานประ ชาสัมพันธ์ ภาครัฐและภาคเอกชนในการให้บริการข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาประเทศ แก่ข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรม และประชาชนอย่างเพียงพอให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ

บทที่ 5
การพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผล

โดยที่การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย ทั้งองค์กรภาครัฐ ตั้งแต่กระทรวง ทบวง กรม จนถึงระดับท้องถิ่น องค์กรนอกภาครัฐ ได้แก่ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรประชาชน นอกจากนี้ยุทธศาสตร์การพัฒนาจะมีผลกระทบถึงประชาชน กลุ่มต่าง ๆ ทั้งในเมืองและชนบท การที่จะวัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของแผนพัฒนาประเทศ จำเป็น ต้องพัฒนาระบบการติดตามประเมินผล ซึ่งจะต้องเป็นระบบที่ได้รับการยอมรับและเป็นระบบที่สามารถจะ วัดผลของการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบการติดตามประเมินผลมีความสำคัญในการดำเนินงานของทุกองค์กรทั้งในภาครัฐและนอก ภาครัฐ เพื่อช่วยให้ทราบถึงความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค ผลกระทบที่เกิดขึ้น อันจะช่วยให้ผู้รับผิดชอบใช้ เป็นเครื่องมือในการวางแผน ค้นหาวิธีปรับปรุงงาน และบริหารจัดการแผนงานโครงการให้ได้ผลในระยะ ต่อไป ดังนั้นระบบการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิผลประสิทธิภาพจะต้องอาศัยดัชนีชี้วัดความสำเร็จใน หลายมิติและหลายระดับ เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการบริหารการจัดการพัฒนาตามแนวทางใหม่ และ กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้

1. การจัดทำระบบฐานข้อมูล

1.1 จัดทำระบบฐานข้อมูลทุกระดับตั้งแต่ระดับท้องถิ่น จังหวัด และระดับชาติ เนื่องจากการดำเนิน แผนงานโครงการเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายอย่าง กว้างขวาง จึงต้องพัฒนาระบบและรูปแบบข้อมูลที่มีการ จำแนกเพศให้ได้มาตรฐานประชากรที่สมบูรณ์ให้ทันสมัยต่อเนื่องและสามารถสร้างความเข้าใจในระหว่าง ผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกันได้

1.2 สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงฐานข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยีในการจัดทำฐานข้อมูล และให้หน่วยงาน กลางได้แก่ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะ กรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและกระทรวงการคลัง ร่วมกันจัดวางระบบดังกล่าวให้ เป็นเกณฑ์และมีมาตรฐานเดียวกัน

1.3 สนับสนุนให้มีการนำข้อมูลที่ได้จากการติดตามและประเมินผลมาใช้ประโยชน์และปรับปรุง แผนงานและโครงการประจำปีโดยต่อเนื่อง

1.4 จัดให้มีกลไกหรือองค์กรที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายทำหน้าที่ติดตามและประเมินผลอย่างเป็น อิสระโดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด

1.5 จัดประชุมสัมมนาเพื่อระดมความคิดการวางแผน การปฏิบัติตามแผนพัฒนา การติดตามประเมิน ผลในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับชาติ พร้อมทั้งให้มีการจัดประชุมติดตามประเมินผลประจำปี โดยเปิด โอกาสให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง

1.6 ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศให้ประชาชนโดยทั่วไปมีความรู้ ความเข้าใจที่ สอดคล้องกันเพื่อสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8

1.7 สำรวจความคิดของประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ทราบความก้าวหน้าและอุปสรรคการ ดำเนินงานแผนงานและโครงการที่กำหนดไว้ในทุกระดับและทุกพื้นที่ดำเนินการ

2. การสร้างดัชนีชี้วัด

วัตถุประสงค์ของการสร้างดัชนีชี้วัดเพื่อเป็นเครื่องมือบ่งบอกถึงความสำเร็จและผลกระทบของการ ดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการติดตามประเมินผล และการปรับปรุงแผน ให้บรรลุเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้น โดยการสร้างตัวชี้วัดนั้น จะต้องครอบคลุมทั้งด้านปัจจัยเหตุ กระบวนการ ดำเนินงาน ผลสำเร็จ และผลกระทบของการพัฒนา ทั้งนี้หน่วยงานรับผิดชอบ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้มี ส่วนร่วมในการพัฒนาควรมีบทบาทสำคัญในการกำหนดตัวชี้วัด และเปิดเผยต่อสาธารณชน ให้มีส่วนร่วม ในการติดตามประเมินผลและปรับปรุงการดำเนินงาน การกำหนดตัวชี้วัดจะต้องทำในหลายมิติและหลาย ระดับ การพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้กำหนดกรอบตัวชี้วัดเบื้องต้นไว้ 5 ระดับ คือ

2.1 การวัดผลกระทบขั้นสุดท้ายของการพัฒนา เป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดในการติดตามประเมินผล ความก้าวหน้าที่แท้จริงของการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวมในทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านการพัฒนาคน สังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าสามารถดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาประ เทศที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาได้มากน้อยแค่ไหนเพียงใด

2.2 การวัดประสิทธิผลของการพัฒนาเฉพาะด้าน สร้างขึ้นเพื่อติดตามประเมินผลการพัฒนาในแต่ ละด้านที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงความสำเร็จและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการ พัฒนาในลักษณะผสมผสานระหว่างภารกิจกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย เพื่อจะนำไปใช้ในการปรับปรุงและ กำหนดแนวทางพัฒนาและแผนงานโครงการในแต่ละด้านให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2.3 การวัดประสิทธิผลของยุทธศาสตร์การพัฒนา สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามประเมิน ผลความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของยุทธศาสตร์การพัฒนาที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8

2.4 การวัดประสิทธิผลขององค์กร สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องชี้วัดขีดความสามารถขององค์กรที่รับผิด ชอบในการดำเนินงานแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติทุกระดับตามแนวทางการประสานแผนงาน แผนเงินและ แผนคน ที่เน้นการกระจายอำนาจสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นและการประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพและผลงานขององค์กร ทั้งในด้านการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้กับคนในองค์กร การเพิ่มพูนประสิทธิภาพการดำเนินงาน การสร้างระบบการติดตามประเมินผลเพื่อนำมา ปรับปรุงการทำงานขององค์กรต่อไป

2.5 การวัดสถานการณ์ที่เป็นจริงในด้านต่าง ๆ คือ การรวบรวมข้อมูลเชิงสถิติหรือข้อมูลพื้นฐาน ของการพัฒนาด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือประสิทธิผลของการพัฒนาใน ระดับต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น

3. การพัฒนาดัชนีชี้วัดที่กำหนดข้างต้นให้มีความยืดหยุ่นและปรับให้สอดคล้องกับสภาพที่เปลี่ยนแปลง ได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

4. การมีส่วนร่วมในการกำหนดและจัดทำดัชนีชี้วัดของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละองค์กรและชุมชน

5. การเผยแพร่ให้ความรู้ วิธีการ ความเข้าใจ ความสำคัญ ของการประเมินผลการดำเนินงานแก่หน่วยงาน ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการติดตาม ประเมินผลและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

CONTACT
Email me at pisitp@yahoo.com for your comment and/or discussions.

This page hosted by   Get your own Free Home Page 1