PISIT' S THAI NATURAL LANGUAGE PROCESSING LABORATORY
This lab is formed since August 26, 1998
e-mail: pisitp@yahoo.com
For C7 members, please check this C7 address list.
KEYWORDS
Thai Natural Language Processing Lab., words
segmentation, dictionaries, algorithms, Thai text-to-speech.
ลินุกส์ (Linux) ทางเลือกระบบปฏิบัติการที่น่าจับตามอง
พิสิทธิ์ พรมจันทร์
นักวิเคราะห์ระบบ
บริษัท เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
กล่าวนำ
ระยะเวลา 4 ถึง 5 ปีที่ผ่านมาหลายท่านอาจไม่ทันได้สังเกตว่ามีระบบปฏิบัติการใหม่
ของเครื่องคอมพิวเตอร์ "ลินุกส์" ค่อย ๆ แทรกซึม แพร่กระจาย และเริ่มร้อนแรงจนทุกคนในวง
การสารสนเทศเฝ้าจับตามอง รวมไปถึงบางรายที่หยิบฉวยโอกาสที่เกิดจากความเหนือชั้นกว่า
ของระบบปฏิบัตการตัวนี้ให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่ทำธุรกิจพาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์ ยกตัวอย่างเช่นรายใหญ่อย่าง "ยาฮู" (Yahoo) ซึ่งมีมูลค่าเงินลงทุนในตลาด
หลักทรัพย์สูงถึงมากกว่าสองหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ได้ใช้ลินุกส์เป็นเครื่องมือในการพัฒนา
ระบบหลายเครื่องทีเดียว ลินุกส์คือระบบปฏิบัตการยูนิกซ์ที่แจกฟรี เริ่มต้นพัฒนาโดยนักศึกษา
ชื่อ "ลินัส ทอร์วาลส์" (Linus Torvalds) ที่มหาวิทยาลัยเฮลซินกี (Helsinki) ในฟินแลนด์ ลินัส
สนใจระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เล็ก ๆ ชื่อ มินิกซ์ (Minix) และตัดสินใจที่จะพัฒนาระบบที่มีมาตร
ฐานสูงกว่า มินิกซ์ เขาเริ่มพัฒนาตั้งแต่ปี 1991 จนถึง ปี 1994 ก็ได้ปล่อยสินุกซ์รุ่น 1.0 ออก
สู่สาธารณชน โดยที่ในปัจจุบันเป็นรุ่น 2.0 ขึ้นไป โดยได้รับความช่วยเหลือจากมืออาชีพทั่วโลก
มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเทียบเท่ามาตรฐานพอสซิก (POSIX) ลินุกส์ทำงานบนเครื่อง
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้ตัวประมวลผลของอินเทลเป็นหลัก แต่ก็มีรุ่นที่ทำงานบนตัว
ประมวลผลสปาร์ก (Sparc) ของซัน และ อัลฟา (Alpha) ของดิจิตอล
ลินุกส์มีความสามารถอะไรบ้าง
ลินุกส์เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกส์แบบเปิดที่พร้อมสมบูรณ์แบบซึ่งรวมเอ็กซ์วินโดว์ (X
Window) การสื่อสารแบบอินเตอร์เน็ต (TCP/IP) อีกทั้งการสื่อสารผ่านโมเด็มคือสลิป (SLIP)
และพีพีพี (PPP) ด้วย โดยแถมฟรีซอร์สโค้ดให้แก่ผู้ใช้งาน มีความสามารถทำงานแบบพร้อม ๆ
กันอย่างแท้จริง (true multitasking) มีการจัดการหน่วยความจำเสมือน (virtual memory)
และความสามารถอื่น ๆ ซึ่งพบในระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ ในปัจจุบันมีโปรแกรมประยุกต์
มากมายที่สามารถทำงานบนลินุกซ์ ตั้งแต่โรงพิมพ์ตั้งโต๊ะเช่นคอเรียลเวิอร์ดเพอร์เฟ็ค (Corel
WordPerfect) อะโดบีอะโครแบท (Adobe Acrobat) การออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งสองและ
สามมิติ เช่น แวรีแคด (VaryCAD) ระบบหลายสื่อ เช่นเอ็มเพ็กทีวี (MpegTV Player) การ
ประมวลผลรายการทางธุรกิจ ระบบจัดการฐานข้อมูล โดยที่รายใหญ่อย่าง ออราเคิลและอิน
ฟอร์มิกซ์ได้เปิดตัวระบบจัดการฐานข้อมูลของตนรุ่นสำหรับลินุกส์ตั้งแต่ปีที่แล้ว งานวิเคระห์
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ระบบโทรคมนาคม เช่นโทรศัพท์อินเตอร์เน็ต สำหรับที่เป็น
ที่นิยมแพร่หลายมากก็เป็นแม่ข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต โดยมีซอฟท์แวร์แม่ข่ายสำหรับโครง
ข่ายใยแมงมุม (HTTP หรือ WWW Server) ที่มีชื่อเสียงคืออาปาเช่ (Apache Web Server) มี
ระบบแม่ข่ายจดหมายอิเล็คทรอนิกส์เช่น ป้อป (POP) หรือมีม (MIME) รวมไปถึงบริการอื่น ๆ
บนอินเทอร์เน็ตเช่นโกเฟอร์ (Gopher) ข่าวสาร (News) และ แม่ข่ายการรับส่งข้อมูล (FTP
Server) สำหรับธุรกิจพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์เต็มรูปแบบ หรือแม้แต่เครื่องประมวลผลแบบ
ขนานประสิทธิภาพสูงเช่นระบบเอ็มพีไอ (MPI) และอื่น ๆ อีกมากมาย มีเครื่องมือพัฒนาระบบ
งานหลายตัวเช่นภาษาซีพลัสพลัส ภาษาฟอร์แทรน ภาษาจาวา ภาษาปาสคาล ภาษาเพิร์ล
(Perl) ซึ่งนิยมใช้สำหรับแม่ข่ายอินเตอร์เน็ต
จะสามารถหาลินุกส์มาใช้งานจากที่ใดได้บ้าง
ลินุกส์มีให้สำรองไปใช้งานได้โดยเก็บไว้บนแม่ข่ายรับส่งแฟ้มข้อมูลเช่นที่เอ็มไอที
(ftp://tsk-11.mit.edu/pub/linux) ที่ซันไซท์ (ftp://sunsite.unc.edu/pub/Linux) ในฟิล
แลนด์ (ftp.funet.fi) ที่ที่ดีที่สุดที่จะสำรองแก่นของลินุกส์ (Linux Kernel) คือที่มหาวิทยาลัย
เฮลซินกี (ftp.cs.helsinki.fi/pub/Software/Linux/Kernel) เนื่องจากลินัสสำรองแก่นของลิ
นุกส์รุ่นล่าสุดไปไว้ให้ใช้ได้จากที่นี่ หรือในบ้านเราก็มีที่เน็คเท็คเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่
ทำธุรกิจจัดจำหน่ายลินุกซ์ในรูปแบบของซีดีรอมเช่นดีเบียน (Debian) เรดเฮ็ท (Red Hat)
และ สแลกแวร์ (Slackware) สำหรับรายการโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถทำงานบนลินุกส์ได้
นั้นหาได้จากสารานุกรมลินุกส์ซอฟท์แวร์ที่เว็ปไซท์ http://stommel.tamu.edu โดยนายสตีเวน
บาอูมที่มหาวิทยาลัยเทกซัสเอแอนด์เอ็ม (Texas A&M University)
ทดลองติดตั้งลินุกส์
สำหรับการทดลองใช้งานลินุกส์จะต้องมีหน่วยความจำอย่างน้อย 2 เมกกาไบท์ มี
เครื่อง 386 486 หรือ Pentium ต้องการแผ่นดีสก์หนึ่งแผ่น กรณีที่ต้องการระบบอื่น ๆ เช่น
เอ็กซ์วินโดวส์ควรมีพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ 80 เมกกาไบท์และหน่วยความจำ 8 เมกกาไบท์ขึ้นไป ลิ
นุกส์จะให้โปรแกรมเครื่องมือมีชื่อว่าฟิปส์ (FIPS) ช่วยในการตัดแบ่งส่วนบนฮาร์ดดิสก์ในกรณี
ที่ต้องการติดตั้งร่วมกับระบบปฏิบัติการเดิมเช่นดอสหรือไมโครซอฟท์วินโดวส์ ใช้โปรแกรม
เครื่องมือที่ให้มาคือรอว์ไรท์ (RAWRITE) สร้างแผ่นเริ่มต้นระบบปฏิบัติการกล่าวคือเขียน
โปรแกรมเริ่มการทำงาน (Boot Image) ลงบนแผ่นดิสก์ ปิดและเปิดเครื่อง เริ่มต้นการทำงาน
ด้วยแผ่นที่สร้างมาใหม่นี้ รอจนถึงเครื่องหมายพร้อมการทำงาน (LILO boot:) ทำตามขั้นตอน
การติดตั้งไปจนถึงเครื่องหมายพร้อมการทำงานของลินุกส์ (เครื่องหมาย # หรือ $) สร้างส่วน
บนฮาร์ดดิสก์สำหรับระบบแฟ้มข้อมูล ติดตั้งเอ็กซ์วินโดว์ ฯลฯ สำหรับขั้นตอนการติดตั้งโดย
ละเอียดรวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับลินุกส์ สามารถหาได้ที่เวปไซท์ (www.linux.org) หรือจาก
แผ่นซีด๊รอมที่ได้จากบริษัทจัดจำหน่ายลินุกส์
สรุป
ลินุกส์คือทางเลือกของระบบปฏิบัติการสำหรับมือสมัครเล่นไปจนถึงมืออาชีพโดย
เฉพาะรายที่สนใจทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์ หรือต้องการนำระบบอินเตอร์เน็ตหรือ
อินทราเน็ตมาใช้ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพในราคาที่ประหยัดกว่า มีโปรแกรมประยุกต์รองรับ
การทำงานสำหรับทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นระบบขนาดเล็ก ๆ ไปจนถึงระบบประมวลผล
แบบขนานที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอนาคตไกลน่า
จับตามองทีเดียว
This page hosted by
Get your own Free Home Page