PISIT' S THAI NATURAL LANGUAGE PROCESSING LABORATORY
This lab is formed since August 26, 1998
e-mail: pisitp@yahoo.com
For C7 members, please check this C7 address list.
KEYWORDS
Thai Natural Language Processing Lab., words
segmentation, dictionaries, algorithms, Thai text-to-speech.
ตรรกแห่งความคลุมเครือ
(ตอนทลายกำแพงเบอร์ลิน)
พิสิทธิ์ พรมจันทร์
บริษัท เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
กล่าวนำ
ถ้าหากในอดีตกำแพงเบอร์ลินเคยแบ่งเยอรมันออกเป็นสองฝ่ายคือเยอรมันตะวันออก
และเยอรมันตะวันตกแล้ว ทฤษฎีตรรกวิทยาที่ผ่านมาก็เคยแบ่งโลกออกเป็นสองซีกเช่นเดียว
กันคือ จริง หรือ เท็จ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ศูนย์ หรือ หนึ่ง ทฤษฎีนี้ได้ถูกใช้มายา
วนานในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของมวลมนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่แก้ไขด้วย
คอมพิวเตอร์ ตรรกวิทยาสามารถใช้แก้ปัญหาได้ดีและรวดเร็วสำหรับปัญหาที่มีความแจ่มแจ้ง
ชัดเจน การแก้ปัญหาต่าง ๆ จะอาศัยหลักทางตรรกวิทยาเช่น ถ้าเหตุการณ์นี้เป็นจริงและ/
หรือเหตุการณ์โน้นเป็นเท็จให้ทำงานอย่างนั้น ถ้าไม่ ให้ทำงานอีกอย่างหนึ่ง เป็นต้น ยกตัว
อย่างเช่น ถ้าวันนี้ฝนตกก็ให้หยิบร่มติดมือก่อนออกจากบ้าน ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์หยุดการ
ทำงาน โครงข่ายล่ม หรือโปรแกรมคอมพืวเตอร์ตายให้แจ้งผู้ใช้งานว่าไม่สามารถใช้ระบบได้
เป็นต้น
แต่ในชีวิตประจำวันแล้วเราพบว่าปัญหาต่าง ๆ ในโลกนี้ไม่ได้ชัดเจนแจ่มแจ้งตรงไปตรง
มาเสมอไป ความคลุมเครือมีอยู่ทุกหนทุกแห่งทุกวงการในสังคมมนุษย์ เช่นวันนี้ลมพัดแรง
ท้องฟ้ามืดครึ้ม ฝนยังไม่ตก แต่ดินฟ้าอากาศมีความคลุมเครือสูง ในวงการแพทย์เมื่อคนไข้
บอกคุณหมอว่าปวดท้องก็จะพบกับความคลุมเครือที่ว่าอาจจะเป็นโรคกระเพาะ ไส้ติ่งอักเสบ
หรือลำไส้ก็ได้ ในวงการเมืองคณะกรรมการเลือกตั้งอาจพบความคลุมเครือของการเลือกตั้งวุฒิ
สมาชิกที่ว่า อะไรคือเส้นแบ่งระหว่าง การแนะนำตัว กับ การหาเสียง ของผู้สมัคร ในวง
การเศรษฐกิจนักเศรษฐศาสตร์ได้ประสบกับความคลุมเครือของปัญหาเศรษฐกิจในบ้านเรา
ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา นักคอมพิวเตอร์พบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ยังไม่หยุดการทำงาน โครง
ข่ายยังไม่ล่ม และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยังไม่ตาย แต่ทำไมผู้ใช้งานจึงบอกว่าระบบช้า ฯลฯ
การก่อกำเนิด
เมื่อมนุษย์มีความต้องการที่จะแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและคลุมเครือมากขึ้น พบว่า
ทฤษฎีตรรกวิทยามีข้อจำกัดเป็นอันมาก วิธีการอมตะวิธีหนึ่งในอดีตที่ใช้ในการแก้ปัญหาเหล่า
นี้คือการใช้ศิลปแห่งการเดา (Heuristics) ในปี ค.ศ. 1964 ศาตราจารย์ล็อตฟิ ซาดาห์ (Lotfi
Zadeh) แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตเบิร์กเล่ย์ ได้คิดค้นและเผยแพร่ทฤษฎีใหม่คือ
ทฤษฎีตรรกแห่งความคลุมเครือ (Fuzzy Logic) ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะใช้ในการแก้ปัญหาที่
คลุมเครือซับซ้อนนี้ได้ดีกว่า โดยหลักปรัชญาของทฤษฎีนี้แล้วสิ่งต่าง ๆ สามารถมีสถานะได้
มากกว่าสองสถานะนอกจากเท็จกับจริงแล้ว เช่น อาจจะจริง ค่อนข้างที่จะจริง คงจะ
จริง เป็นต้น
ยกตัวอย่างเรื่องคนสูงกับคนเตี้ย ถ้าสมศรี สมชาย สมควร และสมศักดิ์ สูง ห้าฟุต ห้า
ฟุตครึ่ง หกฟุต และหกฟุตครึ่ง แล้ว ถ้าเรามองโดยใช้แนวคิดแบบตรรกวิทยาเราอาจบอกว่า
สมศรีกับสมชายตัวเตี้ย และสมควรกับสมศักดิ์ตัวสูง แต่ถ้ามีสมปองเพิ่มเข้ามาอีกคนโดยที่เขา
มีความสูง ห้าฟุตเจ็ดนิ้ว ก็จะเกิดความคลุมเครือที่ว่า สมปองควรจะจัดอยู่ในกลุ่มพวกที่สูงหรือ
เตี้ยดี ลองมองปัญหาโดยใช้แนวคิดตรรกแห่งความคลุมเครือบ้าง จะเห็นว่าทุกคนเป็นสมาชิก
ของกลุ่มคนที่มีความสูงทั้งหมดโดยแต่ละคนมีสัดส่วนความเป็นสมาชิกที่แตกต่างกันไปเช่น สม
ศรีมีสัดส่วนเป็น 0.35 สมชาย 0.55 สมปอง 0.6 สมควร 0.75 และสมศักดิ์มีสัดส่วนเป็น
0.95 ศาสตราจารย์ซาดาห์เรียกกลุ่มของสมาชิกใด ๆ ว่า เซ็ตของความคลุมเครือ (Fuzzy Set)
และเรียกสัดส่วนของความเป็นสมาชิกว่าค่าของความคลุมเครือ (Fuzzy Values)
ในทางตรรกวิทยาแล้วถ้าสมศรีเป็นสมาชิกของคนตัวเตี้ยแล้ว เธอก็จะไม่ใช่สมาชิกของ
คนตัวสูง แต่ในทางตรรกแห่งความคลุมเครือแล้วถ้าสมชายมีสัดส่วนเป็นสมาชิกของชมรม
วิทยาศาสตร์ 0.75 แล้ว อีก 0.25 ที่เหลือในชีวิตเขาอาจมีสัดส่วนของความเป็นสมาชิกของ
ชมรมประวัติศาสตร์ก็ได้ นี่คือแก่นหลักที่บ่งชี้ว่าในปัญหาที่มีความคลุมเครือ ตรรกวิทยามี
ความจำกัดในการแก้ปัญหาเป็นอย่างมาก และตรรกแห่งความคลุมเครือสามารถแก้ปัญาได้
อย่างกว้างขวางและแม่นยำกว่า แต่มีข้อระวังว่าในปัญหาที่มีความชัดแจ้ง การแก้ไขโดยใช้ตรรก
แห่งความคลุมเครืออาจใช้ต้นทุนในการแก้ไขปัญหาสูงกว่า
ลองมาพิจารณาประชาชนชาวเยอรมันบ้าง ถ้าใช้หลักตรรกวิทยาแล้วประชาชนที่อยู่
ทางตะวันออกของกำแพงเบอร์ลินเป็นคนเยอรมันตะวันออกและอีกฝั่งหนึ่งเป็นคนเยอรมัน
ตะวันตก แต่ถ้าใช้ตรรกแห่งความคลุมเครือแล้วทุกคนเป็นคนเยอรมันทั้งหมดโดยบางคนอาจมี
สัดส่วนความเป็นเยอรมันตะวันออกมากกว่าอีกคนที่มีสัดส่วนความเป็นเยอรมันตะวันตกมาก
กว่า ถ้าพูดให้หนักลงไปอาจพูดได้ว่าทุกคนเป็นคนเยอรมันหมดโดยที่แต่ละคนมีความ ฟัซซี่
ของความเป็นเยอรมันตะวันออกและตะวันตกไม่เท่ากัน อาจมีคนถามว่าแล้วจะวัดค่าความ
ฟัซซี่ นี้ได้อย่างไร เดเนียล แมกนีล กับ พอล ฟรีเบอร์เกอร์เขียนไว้ในหนังสือของพวกเขาว่า
ถ้าเราเดินทางจากด้านหนึ่งของเยอรมันไปเรื่อย ๆ แวะเยี่ยมชมและฟังคนเยอรมันท้องถิ่นพูด
คุยไปตลอดทางจะสังเกตได้ว่าสำเนียงภาษาเยอรมันจะค่อย ๆ แตกต่างผิดเพี้ยนขึ้นเรื่อย ๆ
เมื่อเดินทางห่างออกไปจนในที่สุดก็จะต่างกันมากจนทำให้คนที่อยู่ห่างไกลคนละสุดด้านของ
เยอรมันไม่สามารถสื่อสารกันรู้เรื่อง ความแตกต่างทางสำเนียงอาจสามารถใช้เป็นเครื่องวัดค่า
ความ ฟัซซี่ ของคนในชาติใด ๆ ได้
การปฏิวัติทางตรรก
ตรรกแห่งความคลุมเครืออาจถือได้ว่าเป็นการปฎิวัติทางความคิดและนำไปสู่การ
ประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ซึ่งจะมีผลกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์เป็นอันมาก
วิศวกรเคยอกกแบบรถยนต์ที่สมารถทำความเร็วจากศูนย์ถึงร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมงภายในเวลา
น้อยกว่าสิบวินาที แต่วิศกรรุ่นใหม่สามารถออกแบบรถไฟฟ้าที่สามารถทำความเร็วจากศูนย์ถึง
สี่ร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยที่ผู้โดยสารสามารถเดินไปมาหรือยืนอ่านหนังสือพิมพ์โดยไม่มี
ความรู้สึกใด ๆ แม้ว่าเขาจะไม่ได้จับยึดราวเอาไว้ และถ้วยเต็ม ๆ ของกาแฟที่วางอยู่บนโต็ะ
หน้าผู้โดยสารอีกคนหนึ่งยังวางนิ่งสนิทเหมือนเดิมแม้ว่ารถไฟจะลดความเร็วจากความเร็วสูง
สุดและจอดสนิทแล้วที่ชานชาลา สิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นแล้วในโลกปัจจุบัน ถ้าท่านมีโอกาสได้นั่ง
รถไฟใต้ดินที่ทันสมัยที่สุดของโลกที่เมืองเซ็นไดประเทศญี่ปุ่นและได้อ่านบทความฉบับนี้ท่านก็
จะไม่แปลกใจเลยกับทฤษฎีตรรกแห่งความคลุมเครือที่ว่านี้
ผลกระทบกับมวลมนุษย์
แนวความคิดตรรกแห่งความคลุมเครือ (Fuzzy Logic) ได้ถูกคิดค้นขึ้นในอเมริกาและ
ได้รับการศึกษาค้นคว้าพัฒนาเป็นผลิตภัณท์ในชิวิตประจำวันมากมายโดยประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่า
จะเป็นรถไฟฟ้าที่ออกตัวและเข้าเทียบจอดอย่างนิ่มนวล เครื่องควบคุมการปรับอากาศที่มีความ
สบายดั่งควบคุมด้วยความรู้สึก ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมระบบเกียร์อัตโนมัติของรถยนต์
สมัยใหม่ที่มีความเรียบนุ่ม ตู้เย็นที่รู้ว่าในเวลากลางคืนอัตราการเปิดปิดประตูใช้งานต่ำจึงควบ
คุมการทำงานให้ประหยัดไฟฟ้ามากขึ้น เครื่องซักผ้าที่ทำงานทุกอย่างด้วยปุ่มควบคุมเดียว
ระบบคอมพิวเตอร์ที่รู้จำเสียงพูด รู้จำตัวเขียน ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถสังเคราะห์ อ่าน พูด
ออกเสียงได้แม้จะเป็นชื่อเฉพาะ คำทับศัพท์ใหม่ ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน หรือแม้แต่รถยนต์อนาคต
ที่สามารถขับไปได้ด้วยตัวมันเอง ผลิตภัณท์เหล่านี้ล้วนเป็นผลจากการพัฒนาออกแบบมาโดย
อาศัยหลักปรัชญาของตรรกแห่งความคลุมเครือ
สรุป
ตรรกแห่งความคลุมเครือคือความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งของเทคโนโลยีซึ่งนักวิทยา
ศาสตร์ผู้มีวิสัยทัศน์ได้คิดค้นขึ้นมาเพื่อปฏิวัติโลกในอนาคตที่มนุษย์และเครื่องจักรอยู่ร่วมกันได้
อย่างเป็นธรรมชาติและมีสันติภาพ
This page hosted by
Get your own Free Home Page