PISIT' S THAI NATURAL LANGUAGE PROCESSING LABORATORY
This lab is formed since August 26, 1998
e-mail: pisitp@yahoo.com
For C7 members, please check this C7 address list.
KEYWORDS
Thai Natural Language Processing Lab., words
segmentation, dictionaries, algorithms, Thai text-to-speech.
การศึกษาวิจัยไมโครอิเล็คทรอนิกส์ในประเทศไทย
พิสิทธิ์ พรมจันทร์
บริษัท เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
กล่าวนำ
ถ้าลองสังเกตการเปลี่ยนแปลงในบ้านเราช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีศูนย์การค้า
ทางด้านไอทีขนาดใหญ่ทยอยเกิดขึ้นมา ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีขนาดเล็กลง และมีความเร็วเพิ่ม
ขึ้นต่างปรากฏออกสู่ท้องตลาดแทบไม่เว้นแต่ละวัน ผู้บริโภคที่แวะเวียนเยี่ยมชมจับจ่ายมีแนว
โน้มที่จะมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าปรากฏการณ์นี้จะมีสาเหตุมาจากกระแสอินเตอร์เน็ต หรืออย่าง
อื่นไดก็ตามแต่ ปรากฎการณ์นี้คือดัชนีชี้วัดแนวโน้มการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมไมโครอิ
เล็คทรอนิกส์ที่สำคัญในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ได้เป็นอย่างดี โอกาสของเยาวชนที่จะทำการ
ศึกษาและวางแผนชีวิตเข้าสู่อุตสาหกรรมไมโครอิเล็คทรอนิกส์จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็น
ตัวเด็กเองหรือผู้ปกครองที่มองหาอนาคตให้บุตรหลาน บทความนี้ขอนำเสนอการสำรวจการ
ศึกษาวิจัยไมโครอิเล็คทรอนิกส์ในบ้านเราอย่างสังเขป
การเรียนการสอนและความรู้พื้นฐาน
ความรู้พื้นฐานทางด้านฟิสิกส์ประยุกต์คือสิ่งจำเป็นในการศึกษาวิจัยไมโครอิเล็คทรอ
นิกส์ที่ลึกซึ้งในระดับสูงขึ้นไป มหาวิทยาลัยชั้นนำทุกแห่งที่เปิดสอนคณะวิทยาศาสตร์หรือ
วิศวกรรมศาสตร์ต่างมีการเปิดสอนในส่วนความรู้พื้นฐานด้านนี้อยู่แล้ว ท่านที่วางแผนอนาคตสู่
อุตสาหกรรมไมโครอิเล็คทรอนิกส์สามารถเลือกศึกษาเล่าเรียนได้จากทุกมหาวิทยาลัยดังกล่าว
โดยเพียงเลือกคณะ สาขาวิชาให้ถูกต้องและเอาใจใส่ในวิชาที่เกี่ยวข้องเป็นพิเศษเท่านั้นเองก็
สามารถที่จะสร้างพื้นฐานไปสู่การวิจัยที่ลึกซึ้งต่อไปได้ สำหรับท่านที่ต้องการศึกษาวิจัยทางด้าน
นี้ในแง่มุมที่ลึกซึ้งลงไป โดยเฉพาะในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรีผมขอแนะนำให้เลือกเรียนที่พระ
จอมเกล้าลาดกระบัง เนื่องจากที่นั่นได้เปิดแผนกไมโครอิเล็คทรอนิกส์โดยตรงตั้งแต่ปี พ.ศ.
2519 ที่นั่นมีการจัดตั้งศูนย์วิจัยไมโครอิเล็คทรอนิกส์ตั้งแต่ปีนั้นโดยในเบื้องต้นได้รับการ
สนับสนุนในรูปของอุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานในห้องปฎิบัติการไมโคร
อิเล็กทรอนิกส์จากรัฐบาลญี่ปุ่นรวมมูลค่ากว่า 40 ล้านบาท พร้อมทั้งได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาประจำ
เพื่อคอยให้คำปรึกษาในช่วงแรกของการก่อตั้งอีกด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 แผนกไมโครอิเล็กทรอนิกส์ได้พัฒนาขึ้นเป็นหน่วยงานอิสระ
เทียบเท่าภาควิชา ขึ้นตรงต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์เช่นเดียวกับภาควิชาอื่นๆ และได้รับอนุมัติ
ให้จัดตั้งเป็นศูนย์วิจัยอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา
ศูนย์วิจัยอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่สนับสนุนการศึกษาและการวิจัยทางด้านวิศวกรรมไม
โครอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยมีส่วนช่วยในการบรรยาย เช่นทฤษฎี
ทางฟิสิกส์ ทฤษฎีสารกึ่งตัวนำ สิ่งประดิษฐ์สารกึ่งตัวนำ และวิชาที่เกี่ยวข้อง ทางศูนย์ ฯ ยังได้
ร่วมกับภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดำเนินการในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไม
โครอิเล็กทรอนิกส์ และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
ผลงานของศูนย์วิจัยอิเล็คทรอนิกส์
นอกจากการบรรยายและผลงานตำราทางวิชาการทางด้านไมโครอิเล็คทรอนิกส์ที่เป็น
ภาษาไทยหลายเล่มแล้วศูนย์วิจัยอิเล็กทรอนิกส์ที่ลาดกระบังยังเน้นการวิเคราะห์และวิจัย เกี่ยว
กับสิ่งประดิษฐ์สารกึ่งตัวนำชนิดต่างๆ เช่น อุปกรณ์ประเภทไบโพลาร์ อุปกรณ์ประเภทมอส ทั้ง
ที่เป็นอุปกรณ์เดี่ยวและลักษณะของวงจรรวม ในระดับต่าง ๆ เช่น วงจรรวมขนาดใหญ่มาก วง
จรรวมซิลิกอนเซ็นเซอร์ รวมทั้งการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวัสดุศาสตร์ เช่น เซลแสงอาทิตย์ การ
สังเคราะห์ฟิล์มเพชร ตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวดและสิ่งประดิษฐ์สารกึ่งตัวนำอื่น ๆ ต่อไปจะยกตัวอย่าง
ผลงานการวิจัยที่น่าสนใจของที่นั่น
อุปกรณ์สวิทช์ใหม่ ๆ เช่นอุปกรณ์พลานาร์ไดโอดซึ่งใช้เทคนิคการโดปสารเจือประเภท
ทองคำลงบนแผ่นซิลิกอน ได้รับการวิจัยจนประสบผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2521
อุปกรณ์ประเภทเซนเซอร์และอุปกรณ์ทางด้านกลไกขนาดเล็กมากเช่นอุปกรณ์ตรวจจับ
แรงดัน ความเร็ว และการไหล อุปกรณ์มอเตอร์ขนาดเล็กมากที่ใช้เทคนิคโดยการสร้างชิ้นของซิ
ลิกอนที่มีความบางมาก ๆ ผ่านกระบวนการแพร่กระจายสารเจือประเภทต่าง ๆ เพื่อสร้างขั้ว
บวกและลบ จัดวางภายใต้สนามไฟฟ้าที่เหมาะสม จะทำให้ชิ้นซิลิกอนบาง ๆ นี้ สามารถหมุนได้
ดังมอเตอร์ทั่ว ๆ ไป
การสังเคราะห์ฟิล์มเพชรได้เริ่มทำการวิจัยในปี พ.ศ. 2535 โดยความช่วยเหลือจาก
มหาวิทยาลัยโตไกในญี่ปุ่น ฟิล์มเพชรที่ได้รับการโดปสารสามารถทำให้เกิดรอยต่อที่มีคุณสมบัติ
ทางไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ได้ จุดเด่นของอุปกรณ์ที่สร้างจากฟิล์มเพชรคือการทนทาน
ต่อความร้อนที่ดีกว่าอุปกรณ์ที่สร้างจากวัสดุอื่น ๆ เป็นอันมาก
การผลิตเซลแสงอาทิตย์ซึ่งได้ทำต่อเนื่องมากว่าสิบปี ซึ่งนอกจากการผลิตแล้ว การ
ประยุกต์ใช้ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ รถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์คือตัวอย่างการประยุกต์ใช้ที่สำคัญ
ซึ่งได้รับการออกแบบและสร้างต้นแบบขึ้นมา
นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยอื่น ๆ เช่น กระบวนการผลิตอุปกรณ์ซีมอส การจำลอง
กระบวนการผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ การออกแบบและจัดวางสถาปัตยกรรมของวงจรรวมขนาด
ใหญ่มาก การสร้างต้นแบบต่าง ๆ เป็นต้น
นอกจากพระจอมเกล้าลาดกระบังแล้ว สถาบันการศึกษาอื่น ๆ ในบ้านเราก็มีแนวโน้มที่
จะพัฒนาวิชาการด้านนี้เช่นกัน เช่นสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) มีแผนที่จะร่วมมือกับ
เนคเทคที่จะเปิดหลักสูตรปริญญาโททางด้านไมโครอิเล็คทรอนิกส์โดยเน้นไปทางการออกแบ
บวงจรรวมเป็นหลัก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาทางด้านการออกแบ
บวงจรรวมโดยตรงจากต่างประเทศและมีผลงานการวิจัยที่ตีพิมพ์ออกไปบ้างส่วนหนึ่ง
สรุป
อุตสาหกรรมไมโครอิเล็คทรอนิกส์มีแนวโน้มที่เจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ ตามกระแส
อินเตอร์เน็ต พาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ถ้าอุตสาหกรรมนี้สามารถเกิด
ขึ้นได้จริงในบ้านเราก็จะเกิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับเยาวชนในการที่จะสร้างสรรผลงานและธุรกิจ
ใหม่ ๆ ในอนาคตต่อไป ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรมนี้สามารถเกิดขึ้นได้คือความรู้ความ
สามารถของบุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนของชาติ การส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยในสาขา
นี้เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในเวทีสากลเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังคำกล่าวของผู้
เชี่ยวชาญท่านหนึ่งที่ว่า คิดการ 1 ปีให้ ปลูก ข้าว คิดการ 10 ปีให้ ปลูก ป่า คิดการ 100
ปีให้ ปลูก คน
This page hosted by
Get your own Free Home Page