PISIT' S THAI NATURAL LANGUAGE PROCESSING LABORATORY
This lab is formed since August 26, 1998
e-mail: pisitp@yahoo.com
For C7 members, please check this C7 address list.

KEYWORDS
Thai Natural Language Processing Lab., words segmentation, dictionaries, algorithms, Thai text-to-speech.
หินก้อนเดียว
พิสิทธิ์ พรมจันทร์
บริษัทเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

กล่าวนำ

ผมเชื่อว่าทุกท่านมีโอกาสเป็น หรือเคยเป็นพนักงานใหม่ขององค์กรด้วยกันทุกคน ถ้า ลองนึกถึงความรู้สึกในตอนนั้น หลายท่านอาจรู้สึกตื่นเต้น มีไฟแรงที่จะทำงานให้ดีที่สุด แต่ก็ ประหม่าไม่รู้จะเริ่มจากอะไรดี โดยเฉพาะเมื่อถึงเทศกาลสังสรรค์ประจำปี พวกรุ่นพี่ต่างพากัน ลาพักร้อนปล่อยให้น้องใหม่เฝ้าหน่วยงานอย่างโดดดี่ยว เนื่องจากยังไม่มีสิทธิลาพักร้อน ผมขอ แนะนำให้น้อง ๆ เพื่อน ๆ ลองวิธีของคุณลุงแจ็ค คิลบี้ ดู ท่านอาจจะประสบความสำเร็จใน อนาคตอย่างน่าสยดสยองแบบคุณลุงก็เป็นได้

เมื่อปี พ.ศ. 2501 แจ็คเริ่มงานกับบริษัทเทกซัสอินทรูเม้นท์ในอเมริกา เนื่องจากเป็น พนักงานใหม่ เขาจึงไม่สามารถลาพักร้อนได้ในช่วงนั้น แต่ด้วยความอัจฉริยะบวกกับความมุ่ง มั่น ได้ทำให้ช่วงที่ใครต่อใครพักผ่อนฤดูร้อนของปีนั้นเกิดการค้นพบสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ปฏิวัติ โลกในปัจจุบันไปอย่างสิ้นเชิงนั่นคือ “หินก้อนเดียว”

หินก้อนเดียว

พวกฝรั่งก็คล้าย ๆ กับคนไทยและคนชาติอื่น ๆ ในโลกที่นิยมใช้ภาษาต่างชาติมาตั้งชื่อ สิ่งค้นพบใหม่ ๆ เพื่อให้ฟังแล้วน่าตื่นเต้น คำว่า ”โมโนลิธิค” (Monolithic) มาจากภาษากรีก โบราณแปลว่า “หินก้อนเดียว” นักค้นคว้าคิดค้นฝรั่งได้รับอิทธิพลจากกรีกค่อนข้างมากจวบจน ในปัจจุบัน ซึ่งพบได้จากคำศัพท์ภาษากรีกในงานเขียนเชิงวิชาการจำนวนมาก

สำหรับบ้านเราในอดีตเราได้รับอิทธิพลจากปรัชญาพุทธค่อนข้างมาก สังเกตจากการ ใช้คำศัพท์ที่มีต้นตอมาจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่ในปัจจุบันเราได้รับอิทธิพลจากกระแสโลกา ภิวัตน์สูงมาก ทำให้มีการใช้คำศัพท์ภาษาฝรั่งอย่างกว้างขวางรวดเร็ว ในความคิดเห็นส่วนตัว แล้วผมเห็นว่า ถ้าเราจะเอาอย่างกระแสโลกแล้วเราน่าจะเลือกใช้คำศัพท์ภาษาที่มีรากเหง้าทาง ปรัชญา ประวัติศาสตร์ ที่ยาวไกลและลึกซึ้งกว่านี้สักหน่อย

มนุษย์มีความรู้ว่าในสสารมีอนุภาคเล็ก ๆ เรียกว่าอะตอม (มาจากภาษากรีกเช่นกัน) ซึ่งประกอบด้วยนิวเคลียสและอิเล็คตรอนมายาวนานแล้ว ถ้าควบคุมให้อิเล็คตรอนไหลได้ สสารนั้นก็เป็นวัสดุนำไฟฟ้าถ้าไม่ได้ก็เป็นฉนวน แต่ถ้าควบคุมให้อิเล็คตรอนไหล ๆ หยุด ๆ ได้ ก็จะเป็นวัสดุสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) เช่นกรวดทรายซิลิกอนเป็นต้น

ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่

โลกในยุคของคุณลุงแจ็คกำลังชื่นชมยินดีกับผลงานการคิดค้นอันยิ่งใหญ่ในตอนนั้นคือ การยกย่องการค้นพบทรานซิสเตอร์ โดยสามนักวิทยาศาสตร์จากห้องวิจัยเบลแลป ในปี พ.ศ. 2499 ปัญหาใหญ่ของวงการอิเล็กทรอนิกส์ คือ อุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ กินพลังงานมาก ทำงาน ช้า ปล่อยความร้อนออกมาสูง และเสียหายได้ง่าย ได้รับการแก้ไขลงอย่างสิ้นเชิงจากการค้นพ บทรานซีสเตอร์นี้

อย่างไรก็ตาม ลำพังการค้นพบทรานซีสเตอร์เพียงอย่างเดียวคงไม่สามารถทำให้โลก พัฒนาก้าวไกลมาสู่ยุคอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันได้ ถ้าปราศจากคุณลุงแจ็ค คิลบี้ ผู้ยิ่งใหญ่ที่ แสนสมถะ เมื่อโลกก้าวข้ามยุคหลอดสูญญากาศสู่ยุคทรานซีสเตอร์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ก็เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วขึ้นมาทันที วงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ก่อกำเนิดขึ้นมามากมายเพื่อ ช่วยให้ชีวิตมนุษย์สุขสบายขึ้น จากวงจรอิเล็กทรอนิกส์ง่าย ๆ ที่ประกอบขึ้นมาจากทรานซีส เตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ทั้งหมดไม่กี่สิบตัว ไปจนถึงวงจรที่ซับซ้อนยุ่งยากโดยใช้ทรานซีสเตอร์ นับร้อยตัว สายเชื่อมต่อเริ่มมีความยุ่งเหยิง และแผงวงจรมีขนาดใหญ่ขึ้นทุกที อิเล็กทรอนิกส์ก็ เริ่มชะลอตัวลงเพราะปัญหาความใหญ่และยุ่งเหยิง ที่ไร้เสถียรภาพของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ดัง กล่าว

นักคิดค้นพัฒนายุคนั้นต่างลองผิดลองถูก ล้มลุกคลุกคลานกับปัญหานี้ จนกระทั้งแจ็ค คิลบี้ สังเกตเห็นว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบเดียวกันแทบทั้ง หมด แล้วทำไมไม่ผลิตลงบนแผ่นหินผลึกซิลิกอนก้อนเดียวกันเสียเลย นี่คือที่มาของวงจรรวม บนหินก้อนเดียว (Monolithic Integrated Circuit) หรือที่เรียกว่าไมโครชิพในปัจจุบัน

การปฏิวัติโลกเมื่อสี่สิบปีกว่าให้หลัง

แจ็คทำการทดลองสร้างวงจรรวมต้นแบบเพื่อยืนยันแนวความคิดของเขา โดยใช้เครื่อง มือเท่าที่มีอยู่กับบางชิ้นที่หยิบยืมเขามา จนกระทั่งสำเร็จลงได้ เป็นวงจรรวมที่มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ผลิตรวมกันอยู่บนแผ่นวัสดุสารกึ่งตัวนำชิ้นเล็ก ๆ ขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของกระดาษโน้ต ไม โครชิพชิ้นแรกของโลกได้สร้างประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2501 เขาไม่เคยคิด เลยว่าผลงานชิ้นเล็ก ๆ ของเขาได้ปฏิวัติโลกในสี่สิบกว่าปีให้หลังลงอย่างสิ้นเชิง หินก้อนเดียว ในปัจจุบันมีทรานซีสเตอร์บรรจุอยู่หลายล้านตัวเลยทีเดียว อิเล็คตรอนถูกบังคบให้ไหล ๆ หยุด ๆ นับล้านล้านครั้งต่อวินาทีในหินก้อนเดียวกันนี้ หินก้อนเดียวแบบนี้มนุษย์มีใช้อยู่ทุกหนทุก แห่ง ไม่ว่าจะเป็นในบ้านนอกบ้าน ในรถนอกรถ ในที่ทำงานนอกที่ทำงาน องค์กรในปัจจุบัน ต่างพยามยามบอกให้ใครต่อใครรู้ว่าพวกเขาก็ใช้หินก้อนเดียวแบบนี้เช่นกัน โดยความพยายาม ใช้คำนำหน้าชื่อองค์กรว่า “อี” ซึ่งหมายถึงอิเล็กทรอนิกส์

จากผลกระทบอันยิ่งใหญ่ของการคิดค้นวงจรรวมบนแผ่นผลึกของแจ็คเมื่อประมาณสี่ สิบกว่าปีที่ผ่านมาทำให้เขาเป็นหนึ่งในผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2543 นี้ นอก จากเขาแล้ว รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์อีกครึ่งหนึ่งที่เหลือประจำปีนี้เป็นของ โซเรส อัลเฟอร์รอฟ นักฟิสิกส์ชาวรัสเซีย กับเฮอร์เบอร์ต โครอีเมอร์ นักฟิสิกส์ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน จากผล งานการพัฒนาโครงสร้างพิเศษของสารกึ่งตัวนำที่ใช้ในอุปกรณ์ความเร็วสูงและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ที่เปล่งแสงได้

ชีวะประวัติโดยสังเขปของคุณลุงแจ็ค

แจ็ค คิลบี้ (Jack S. Kilby) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2466 ที่เมืองเจฟเฟอร์สัน มลรัฐมีสซูรี อเมริกา เติบโตในแคนซัส บิดาของเขาทำธุรกิจผลิตไฟฟ้าเล็ก ๆ ในตอนแรก แต่ต่อมาประสป ภายุหิมะครั้งใหญ่ที่ทำลายสายส่งไฟฟ้าและสายโทรศัพท์เป็นจำนวนมาก จึงเริ่มหันเหไปทำ ธุรกิจสถานีวิทยุเพื่อให้บริการการสื่อสารแทน จุดนี้เองทำให้แจ็คเริ่มสนใจอิเล็กทรอนิกส์อย่าง จริงจัง

ได้รับปริญญาตรีและโทสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยอิลลินอย และวิซคอนซิน ตามลำดับ เป็นพนักงานของบริษัทเทกซัสอินทรูเมนท์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 เป็นศาสตราจารย์ ของมหาวิทยาลัยเท็กซัสเอแอนด์เอ็มระหว่างปี พ.ศ. 2521 ถึงปี พ.ศ. 2528 ในปัจจุบันเขาเดินทางและทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับภาครัฐและเอกชนทั่วโลก รวมทั้ง เป็นผู้อำนวยการองค์กรต่าง ๆ บ้าง และยังคงเฝ้ามองความสับสนอลหม่านของโลก อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันเนื่องจากหินก้อนเดียวของเขาในอดีตอย่างเงียบ ๆ แจ็คทำนายอนาคตอีกยี่สิบปีข้างหน้าว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันจะยังคงอยู่อีกหลายปีและ ในระหว่างนั้นคาดว่าอาจมีแนวทางพื้นฐานใหม่ที่จะทำให้คนเริ่มเปลี่ยนเข้าไปหา แต่คงใช้เวลา นานพอสมควร

สรุป

โอกาสเป็นสิ่งสำคัญของมนุษย์ ความคิดอ่านและผลงานเล็ก ๆ ของพนักงานใหม่หรือ แม้แต่นักศึกษาฝึกงานคนหนึ่ง อาจปฏิวัติโลกในอนาคตเหมือนอย่างกรณีของแจ็ค คิลบี้ก็เป็น ได้


This page hosted by   Get your own Free Home Page 1