ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2541 เป็นปีที่ 53 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ เรียกว่า "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541" มาตรา 2* พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2541/35ก/25/ 9 มิถุนายน 2541] มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2540 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา 5 ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ หมวด 1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 6 คณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ได้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งมีองค์ประกอบคุณสมบัติและ ลักษณะต้องห้ามวิธีการสรรหา และการเลือกตั้งวาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ให้กรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่เข้าดำรงตำแหน่ง และภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง และต้องยื่น บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอีกครั้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวเป็นเวลาหนึ่งปี
มาตรา 8 การประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมีกรรมการการเลือกตั้งมาประชุมไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการการเลือกตั้งทั้งหมด
เท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่กรรมการการเลือกตั้งคนใดไม่อาจมาประชุมได้ให้จดแจ้งเหตุนั้นไว้ในรายงานการประชุม
มาตรา 9 ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการการเลือกตั้ง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการการเลือกตั้ง เลือกกรรมการการเลือกตั้งคนหนึ่งทำหน้าที่แทนประธานกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 10 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
มาตรา 11 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
บุคคลคณะบุคคลหรือผู้แทนองค์การเอกชนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายได้
มาตรา 12 คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดตามมาตรา 11ให้มีจำนวนจังหวัดละไม่เกิน11คนประกอบด้วยบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่งตั้งโดยใช้วิธีสรรหาจากผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 137(1)(2)(4)(5)(6)และ(7)ของรัฐธรรมนูญโดยให้สรรหาจากผู้มีภูมิลำเนาใน จังหวัดนั้นเป็นหลักกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว มาตรา 13 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมอบหมายให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้
มาตรา 14 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ มอบหมายได้ มาตรา 15 ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งเกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจสั่งให้
หน่วยราชการราชการส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามอำนาจหน้าที่หรือให้หน่วยงานดังกล่าวมีคำสั่งให้ข้าราชการ
พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการราชการส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐปฏิบัติการอันจำเป็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือการออกเสียง
ประชามติได้ตามที่เห็นสมควร
มาตรา 16 ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าผู้ใดกระทำความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และสมาชิกวุฒิสภากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติหรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นให้มีอำนาจแจ้งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการสอบสวนและให้มีอำนาจดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลไม่ว่าจะเป็นเรื่องในทาง
แพ่งทางอาญาหรือทางปกครองโดยให้ถือว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้เสียหาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 17 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการทำทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งจากหลักฐานทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียน
ราษฎรแยกเป็นรายจังหวัดไว้เป็นประจำ
มาตรา 18 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งไว้ทุกจังหวัดเพื่อให้ประชาชนได้
ทราบล่วงหน้า
มาตรา 19 ในกรณีที่มีเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ
การปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองกฎหมาย
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติหรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการโดยพลัน
มาตรา 20 องค์การเอกชนใดที่มีความประสงค์จะช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการตรวจสอบการเลือกตั้งให้ยื่นคำขอ
ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งและเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าองค์การเอกชนที่ยื่นคำขอมีความเป็นกลางในทางการเมืองคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจรับรองให้องค์การเอกชนนั้นช่วยเหลือในการตรวจสอบการเลือกตั้งได้
มาตรา 21ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจดังต่อไปนี้
มาตรา 22 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้กรรมการการเลือกตั้งกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดผู้อำนวยการการ เลือกตั้งประจำจังหวัดและอนุกรรมการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 23 เงินเดือนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการการเลือกตั้งและกรรมการการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น มาตรา 24 ห้ามมิให้กรรมการการเลือกตั้งกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและอนุกรรมการที่
คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใดหรือกระทำการหรือละเว้นกระทำการโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบในการปฏิบัติหน้าที่
หมวด 2 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 25 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการ การเลือกตั้งโดยมีประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดกิจการของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่อยู่ภายใต้บังคับ แห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน มาตรา 26 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทั่วไปของคณะกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมือง
และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
มาตรา 27 ในการกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจออกระเบียบหรือประกาศเพื่อดำเนินการ
เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลการงบประมาณการเงินและทรัพย์สินและการดำเนินการอื่นในเรื่องดังต่อไปนี้
มาตรา 28 ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีเลขาธิการคนหนึ่งซึ่งประธานกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
การเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสำนักงานคณะกรรมการ
มาตรา 29 เลขาธิการต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์มีสัญชาติไทยโดยการเกิดมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์และมีคุณวุฒิประสบการณ์ และความสำเร็จด้านการบริหารตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดเลขาธิการมีวาระการดำรงตำแหน่งห้าปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งและ อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน มาตรา 30 เลขาธิการมีหน้าที่ควบคุมดูแลงานโดยทั่วไปของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบประกาศและมติของ
มาตรา 31 ในกิจการของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของสำนักงานคณะกรรมการการ เลือกตั้งเพื่อการนี้เลขาธิการจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา 32 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจขอให้ข้าราชการพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการราชการส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่น
ของรัฐมาปฏิบัติงานเป็นพนักงานหรือลูกจ้างในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวได้ทั้งนี้เมื่อได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างของ
ผู้นั้นแล้วแต่กรณี
มาตรา 33 ในกรณีที่ข้าราชการพนักงานหรือลูกจ้างตามมาตรา 32ขอกลับเข้ารับราชการหรือปฏิบัติงานในสังกัดเดิมภายในกำหนดเวลาที่อนุมัติให้ผู้นั้น มีสิทธิได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนตามข้อตกลงที่ทำไว้ในการอนุมัติตามมาตรา 32 มาตรา 34 ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนองบประมาณรายจ่ายตามมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดสรรเป็นเงิน
อุดหนุนของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ
รายจ่ายเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี
มาตรา 35 รายได้และทรัพย์สินในการดำเนินกิจการของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วย
มาตรา 36 รายได้ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกฎหมายอื่น
มาตรา 37 ทรัพย์สินของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาตรา 38 ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจัดทำงบดุลงบการเงินและบัญชีทำการส่งผู้สอบบัญชีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและให้ทำการตรวจสอบรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของสำนักงาน
มาตรา 39 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณารายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งจัดทำขึ้นตามมาตรา 10(10)สภาผู้แทน ราษฎรหรือวุฒิสภาอาจมีมติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งชี้แจงเป็นหนังสือหรือมาชี้แจงด้วยวาจาหรือส่งเอกสารหลักฐาน เกี่ยวกับการพิจารณารายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือการปฏิบัติงานใดๆของคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือสำนักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้งได้และในกรณีที่มีเหตุอันควรจะมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการปฏิบัติงานก็ได้ หมวด 3 บทกำหนดโทษ มาตรา 40 ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งกรรมการการเลือกตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกรรมการ การเลือกตั้งประจำจังหวัดผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดคณะอนุกรรมการ หรืออนุกรรมการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งในการปฏิบัติตามกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการขัดขวางการปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่งได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 41 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21(2)ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 42 กรรมการการเลือกตั้งกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดหรืออนุกรรมการที่คณะกรรมการ การเลือกตั้งแต่งตั้งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 24ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมี กำหนดสิบปี บทเฉพาะกาล มาตรา 43 เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 327(9)ของรัฐธรรมนูญให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา ท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับทั้งนี้กฎหมาย ดังกล่าวจะต้องกำหนดระยะเวลาการยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นทุกฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่กฎหมาย ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นที่ตราขึ้นใหม่ประกาศใช้บังคับซึ่งจะกำหนดระยะเวลาให้แตกต่างกันตามสภาพความพร้อมที่คณะกรรมการ การเลือกตั้งจะควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นแต่ละแห่งก็ได้แต่ต้องมิให้เกินห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ มาตรา 44 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรา 18ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ
มาตรา 45 ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งร้องขอให้หน่วยราชการ
ราชการส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐสนับสนุนข้าราชการพนักงานหรือลูกจ้างมาช่วยปฏิบัติงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้
เป็นการชั่วคราวโดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมแต่อยู่ในบังคับบัญชาของประธานกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา 46 ในวาระเริ่มแรกก่อนที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจะได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดทำ
แผนการดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และแผนการจัดตั้งและการบริหารงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอรับเงินอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและการบริหารงานตามแผนดังกล่าว
มาตรา 47 ให้ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้งซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับยื่น บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตนคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะพร้อมทั้งเอกสาร ตามมาตรา 7 ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือเนื่องจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
|