๑.๒ คณะเทศมนตรี
ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีคนหนึ่งและเทศมนตรีอื่นมีจำนวนตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย (เทศบาลนครมีนายกเทศมนตรีคนหนึ่ง และเทศมนตรีอื่นอีกสี่คน)
คณะเทศมนตรีมีอำนาจควบคุม และรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า
ในการปฎิบัติหน้าที่ กฎหมายได้บัญญัติให้นายกเทศมนตรี และพนักงานเทศบาล มีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน
ตามความแห่งกฎหมายลักษณะอาญา
๒.หน้าที่ของเทศบาล
เทศบาลนครมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้
(๑) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(๒) ให้มี และบำรุงทางบกและทางน้ำ
(๓) รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฎิกูล
(๔) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
(๕) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
(๖) ให้ราษฎรได้รับศึกษาอบรม
(๗) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(๘) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(๙) ให้มีน้ำสะอาด หรือการประปา
(๑๐) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
(๑๑) ให้มี และบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
(๑๒) ให้มี และบำรุงทางระบายน้ำ
(๑๓) ให้มี และบำรุงส้วมสาธารณะ
(๑๔) ให้มี และบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(๑๕) ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น
(๑๖) ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
(๑๗) กิจการอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
(๑๘) การควบคุมสุขลักษณะและอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการอื่น
(๑๙) จัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม
(๒๐) จัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
(๒๑) การวางผังเมืองและการควบคุมการก่อสร้าง
(๒๒) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
(๒๓) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
๓.รายได้ของเทศบาล
เทศบาลอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้
(๑) ภาษีอากร
(๒) ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาติและค่าปรับ
(๓) รายได้จากทรัพย์สินของเทศบาล
(๔) รายได้จากการสาธารณูปโภคและเทศพาณิชย์
(๕) พันธบัตรหรือเงินกู้
(๖) เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคลต่างๆ
(๗) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๘) เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
(๙) รายได้อื่นใดตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
๔.การทำการนอกเขตเทศบาลและการทำการร่วมกับบุคคลอื่น
เทศบาลอาจทำกิจการนอกเขตเมื่อ การนั้นจำเป็นต้องทำและเป็นการเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินตามอำนาจหน้าที่อยู่ภายในเขตของตน และอาจทำการร่วมกับ
บุคคลอื่นโดยก่อตั้งบริษัทจำกัด หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัด เมื่อบริษัทจำกัดนั้น มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค
๕.รายจ่ายของเทศบาล
เทศบาลอาจมีรายจ่ายดังต่อไปนี้
(๑) เงินเดือน
(๒) ค่าจ้าง
(๓) เงินตอบแทนอื่นๆ
(๔) ค่าใช้สอย
(๕) ค่าวัสดุ
(๖) ค่าครุภัณฑ์
(๗) ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้างและทรัพย์สินอื่นๆ
(๘) เงินอุดหนุน
(๙) รายจ่ายอื่นใดตามข้อผูกพัน หรือตามที่มีกฎหมายหรือระเบียบของกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้
๖.การควบคุมเทศบาล
ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดนั้นให้ปฎิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมายมีอำนาจหน้าที่ชี้แจงแนะนำ ตักเตือน
เทศบาล และตรวจสอบกิจการ เรียกรายงานและเอกสารหรือสถิติใดๆจากเทศบาลมาตรวจ ตลอดจนเรียกสมาชิกสภาเทศบาลหรือ พนักงานเทศบาล
มาชี้แจงหรือสอบสวนได้