เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กาเบอร์เดียว ครั้งแรก 4 มีนาคม 2543 รอบสอง 29 เมษายน 2543
ผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และมิได้แจ้งเหตุอันควรจะเสียสิทธิดังนี้
- การเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา (สว.)
- ที่จริง ส.ว. มีมานานแล้ว เหตุที่เรายังไม่คุ้นเคยเพราะเดิม ส.ว. มาจากการแต่งตั้ง วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม 2543 มีเลือกตั้ง ส.ว. เป็นครั้งแรก แต่ละจังหวัดจะมี ส.ว. ของตนเอง รวมทั่วประเทศมี ส.ว. 200 คน อยู่ในตำแหน่ง 6 ปี ไม่มีการยุบสภาเหมือน ส.ส.เมื่อเป็น ส.ว. ครบ 6 ปี จะเป็นต่ออีกไม่ได้ ต้องเว้นระยะอย่างน้อย 6 ปี จึงจะสมัครใหม่ได้
- หน้าที่ สมาชิกวุฒิสภา (สว.)
- เดิม ส.ว. มีหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย ร่างกฎหมายที่ผ่าน ส.ส. แล้วต้องมาผ่าน ส.ว. ก่อนจึงจะใช้บังคับได้ เดิม ส.ว. มีหน้าที่ควบคุมรัฐบาล โดยการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี หรือตั้งคณะกรรมาธิการไปศึกษาและมีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล
- สำหรับ ส.ว.ใหม่ นอกจากมีหน้าที่เดิมแล้ว ยังมีหน้าที่เพิ่มขึ้นคือ เรียกรัฐบาลมาซักฟอกแต่ไม่มีการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลเหมือนพวก ส.ส. แต่ ส.ว. ใหม่ก็ค้ำจุนรัฐบาลได้เหมือนกัน เมื่อร่างกฎหมายสำคัญที่รัฐบาลเสนอไม่ผ่าน ส.ส. รัฐบาลอาจขอให้ ส.ว. มาประชุมร่วมกับ ส.ส. ซึ่งที่ประชุมสามารถผ่านร่างกฎหมายนั้นให้รัฐบาลก็ได้
- หน้าที่ใหม่ของ ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้ง ที่สำคัญ คือ คัดเลือกคนไปรักษาความเที่ยงธรรม เช่น เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง หรือตุลาการในศาลปกครองสูงสุด คัดเลือกคนไปทำหน้าที่ตรวจสอบ เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
- นอกจากคัดเลือกแล้วยังสามารถคัดออก หรือถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญได้ ตั้งแต่ นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ไปจนถึงอธิบดีกรมต่างๆ หากพบว่ามีพฤติกรรมส่อทุจริต
- จะรู้จักผู้สมัครได้อย่างไร
- ศึกษาจากเอกสารที่ผู้สมัครหรือผู้สนับสนุนผู้สมัครจัดพิมพ์ขึ้น ได้แก่ แผ่นปลิว/แผ่นพับ ป้ายประกาศ เอกสารเป็นรูปเล่ม ศึกษาประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน หรือประสบการณ์ในการทำงานของผู้สมัครได้จากเอกสารดังกล่าว
- รู้จักผู้สมัครจากการดำเนินการ โดยหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
- ศึกษาประกาศเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่ปิดประกาศในสถานที่ราชการ
- ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับผู้สมัครที่ส่งไปถึงเจ้าบ้าน
- เข้าฟังการแนะนำตัวผู้สมัครที่จัดขึ้นตามอำเภอหรือเขตของ กทม.
- ฟังการแนะนำตัวผู้สมัครทางวิทยุและทางโทรทัศน์
- หน้าที่ไปเลือกตั้ง
รัฐธรรมนูญกำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป (เกิดวันที่ 2 มกราคม 2525 หรือก่อนหน้านั้น) ต้องปฏิบัติโดยถือเป็นการทดแทนคุณของแผ่นดิน- ทำหน้าที่ได้อย่างไร
- มีชื่อในบัญชี
เพื่อให้แน่ใจว่าเรามีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ทำดังนี้
- ตั้งแต่ 28 ม.ค. 43 ไปตรวจชื่อ ณ ที่เลือกตั้ง ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน อบต. ฯลฯ
- 17 ก.พ. 43 ตรวจชื่อจากเอกสารที่ส่งทางไปรษณีย์ถึงเจ้าบ้าน
- ภายใน 23 ก.พ. 43 ขอเพิ่ม/ถอนชื่อที่ อำเภอ เขต กทม. เทศบาล
- ในวันที่ 4 มี.ค. 43 เจ้าบ้านนำทะเบียนบ้านไปถอนชื่อ (เพิ่มไม่ได้) ณ ที่เลือกตั้ง
- มีบัตรประชาชน
บัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุก็ใช้ได้- ทุกคนต้องคิดเอง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องตัดสินใจด้วยตนเอง คัดผู้สมัครที่จะเลือกให้เหลือเพียงคนเดียว
- กาตรงเผงในช่องเดียว
4 มีนาคม 2543 เวลา 8.00 - 15.00 น. พกบัตรประจำตัวประชาชนไปยังที่เลือกตั้ง จำหมายเลขผู้สมัครเพียงคนเดียว ที่ต้องการเลือกให้แม่นยำ แล้วเข้าคูหาลงคะแนน ทำเครื่องหมายกากบาท (X) ลงในช่องทำเครื่องหมายเพียงช่องเดียว ถ้าไม่ต้องการเลือกผู้สมัครคนใดเลยก็กากบาทใน"ช่องไม่ลงคะแนน"- ลงคะแนนล่วงหน้า (25 - 29 กุมภาพันธ์)
จังหวัดที่เรามีทะเบียนบ้านอยู่ คือเขตเลือกตั้งของเรา เราต้องลงคะแนนผู้สมัครของจังหวัดนั้น แต่ถ้าเราไปทำงาน ไปเรียนหนังสือ หรือไปอยู่อาศัยนอกจังหวัดที่เรามีทะเบียนบ้าน เราก็คือผู้ที่อยู่นอกเขตเลือกตั้ง ซึ่งต้องเดินทางกลับไปยังจังหวัดที่ตนมีทะเบียนบ้าน เพื่อลงคะแนน โดยมีทางเลือก ดังนี้
- ไปลงคะแนนในวันเลือกตั้ง (4 มี.ค. 43 ) ณ ที่เลือกตั้ง (ปกติ) หรือ
- ไปลงคะแนนล่วงหน้า ในระหว่างวันที่ 25 - 29 กุมภาพันธ์ 2543 ณ ที่เลือกตั้งกลาง ของเขตเลือกตั้ง ส.ส. (มี 400 เขตทั่วประเทศ) ซึ่งตนมีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตเลือกตั้ง ส.ส.นั้น
- แจ้งเหตุเมื่อไม่อาจไปใช้สิทธิ
ผู้ที่มีธุระสำคัญต้องเดินทางไกล หรืออาศัยอยู่ไกลเกิน 100 กม. ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ให้แจ้งต่อนายอำเภอหรือปลัดเทศบาล ด้วยตนเองหรือทำหนังสือมอบหมาย หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายในวันที่ 26 ก.พ.43 โดยแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิให้ชัดเจนด้วย ทั้งนี้ภายในวันที่ 3 เมษายน 2543 จะมีการประกาศชื่อผู้ที่ไม่ลงคะแนนและไม่แจ้งเหตุล่วงหน้าไว้ ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน อบต. ฯลฯ เพื่อให้โอกาสมาแจ้งเหตุอีกครั้งหนึ่ง ถ้าครั้งนี้ไม่มาแจ้งเหตุอีก ก็จะประกาศชื่อเป็นครั้งที่สองแล้วตัดสิทธิ ผู้ที่ไม่ไปทำหน้าที่เลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุจนกว่าผู้นั้นจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. หรือ ส.ว. ในโอกาสถัดไป- ผู้ไม่ไปทำหน้าที่เลือกตั้ง ต้องถูกตัดสิทธิทางการเมือง คือ สิทธิสมัครสิทธิคัดค้านการเลือกตั้ง สิทธิเสนอร่างกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น และสิทธิเสนอถอดถอนผู้ส่อทุจริต
- แบบทดสอบก่อนไปลงคะแนน
- มีชื่อในบัญชีรายชื่อ มีบัตรประจำตัวประชาชน
- รู้ว่าที่เลือกตั้งอยู่ที่ไหน
- มีหลักเกณฑ์ของตนเองในการคัดเลือกผู้สมัคร
- ต้องไปลงคะแนนล่วงหน้า (25 - 29 ก.พ. )
- ต้องแจ้งเหตุเนื่องจากไปเลือกตั้งไม่ได้ (ภายใน 26 ก.พ.)
- สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น
- สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
- สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น
- สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
- สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
- สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายบัญญัติท้องถิ่น
- สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคล ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
- สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียง เพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
bCentralcounter |
Send mail to sup2000@fcmail.com.
with question or comments about this web. Copyright @ 1995-2000 Data computer's House. 2123-2125 Suebsiri Rd. Muang, Nakorn-Rachasima. 30000 Thailand. Last |