ตราประจำจังหวัดนครราชสีมา [โคราช]
   รูปท้าวสุรนารียืนหน้าประตูชุมพล คือ สัญลักษณ์ของโคราช เมืองโบราณแห่งนี้    สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี [ย่าโม]
หรือคุณหญิงโม เป็นภริยาพระยาปลัดเมืองนครราชสีมา เป็นที่เคารพสักการะ

ชาวนครราชสีมา ขอต้อนรับท่าน ด้วยความยินดียิ่ง
" นครราชสีมา เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน เหรียญหลวงพ่อคูณ"

ระยะทาง จากกรุงเทพฯ 256 กิโลเมตร พื้นที่ 20,493.964 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,808,728 ไร่
ทิศเหนือ ติดต่อ จังหวัดขอนแก่น และ จังหวัดชัยภูมิ         ทิศใต้ ติดต่อ จังหวัดปราจีนบุรี และ จ.นครนายก
ทิศตะวันออก ติดต่อ จังหวัดบุรีรัมย์ ทิศตะวันตก ติดต่อ จังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี และจังหวัดหนองบัวลำภู

การปกครอง แบ่งออกเป็น 26 อำเภอ และ 6 กิ่งอำเภอ 287 ตำบล 3,398 หมู่บ้าน 46 เทศบาล

มีคำกล่าวถึง ชื่อเมืองโคราชกันมาแต่ก่อน อ้างเรื่องพงศาวดารว่า ขุนสิงสาคร ซึ่งพระเจ้าโคตมะ กรุงอินทปัฐ แต่งให้ไปค้าขาย เรือสินค้าเกิดแตกอับปาง ขุนสิงสาคร รอดชีวิตขึ้นฝั่ง พบราชสีห์ยืนตายอยู่ใต้ต้นไม้ ก็ถลกหนังหาบใส่บ่า รอนแรมมาถึงเมืองนี้ ชาวเมืองร้องบอกกันว่า คอนราชสีห์มา จึงเลยกลายเป็นชื่อเมืองอย่างหนึ่ง
นครราชสีมา เป็นเมืองโบราณหนึ่งในอาณาจักรไทย เดิมทีเดียวตัวเมืองตั้ง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในท้องที่อำเภอสูงเนินห่าง จากตัวเมืองปัจจุบัน ประมาณ 30 ก.ม. เมืองนี้ มี 2 แห่ง คือเมืองเสมา (ตั้งอยู่ทางฝั่งใต้ลำตะคอง) กับ เมืองโครามปุระ (ตั้งอยู่ทางฝั่งเหนือลำตะคอง)

จังหวัดนครราชสีมา เป็นเสมือนประตูเมืองหน้าด่านสู่ภาคอีสาน เป็นเมืองที่ใหญ่และสำคัญยิ่งตั้งแต่อดีตกาลจวบจนปัจจุบัน มีฐานะเป็นเมือง "เจ้าพระยามหานคร" เช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราชของภาคใต้ มีอำนาจปกครองหัวเมืองใหญ่น้อยในอีสานหลายแห่ง มีโบราณสถานสมัยขอมอันใหญ่โต มีโบราณวัตถุและและโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นเมืองแห่งวีรกรรมอันกล้าหาญของวีรสตรีไทย คือ ท่านท้าวสุรนารี หรือ คุณหญิงโม [ย่าโม] ซึ่งมีอนุสาวรีย์ตั้งอยู่กลางเมือง เป็นที่เคารพและสักการะของชาวเมืองนครราชสีมา และประชาชนทั่วไป



ประตูชุมพล คือ สัญลักษณ์ของเมืองโบราณแห่งนี้ ซึ่งสร้างขึ้น ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี คือคุณหญิงโม ภริยา ปลัดเมืองนครราชสีมา ซึ่งรวบรวมชาวเมืองสู้รบกับกองทัพ ส่วนหนึ่งของเจ้าอนุวงศ์จนได้ชัยชนะ จากกบฏซึ่งยกกองทัพ จะ มายึดเมือง เมื่อ พ.ศ.2369 ในสมัยแรกสร้าง นายช่างฝรั่งเศสวางแบบตัวเมืองไว้ ให้มี 4 ประตู คือ
ทางทิศเหนือ ชื่อ ประตูพลแสน นัยหนึ่งเรียก ประตูน้ำ
ทางทิศใต้ ชื่อ ประตูไชยณรงค์ นัยหนึ่งเรียก ประตูผี
ทางทิศตะวันออก ชื่อ ประตูพลล้าน นัยหนึ่งเรียก ประตูตะวันออก
ทางทิศตะวันตก ชื่อ ประตูชุมพล นัยหนึ่งเรียก ประตูตะวันตก

การปกครอง แบ่งออกเป็น ๒๖ อำเภอ และ ๖ กิ่งอำเภอ   คือ
๑. อำเภอเมือง ๒. อำเภอสีคิ้ว ๓. อำเภอประทาย ๔. อำเภอขามทะเลสอ ๕. อำเภอบัวใหญ่ ๖. อำเภอสูงเนิน ๗. อำเภอแก้งสนามนาง
๘. อำเภอด่านขุนทด ๙. อำเภอคง ๑๐. อำเภอโนนสูง ๑๑. อำเภอโนนไทย ๑๒. อำเภอเสิงสาง ๑๓. อำเภอโชคชัย ๑๔. อำเภอขามสะแกแสง
๑๕. อำเภอบ้านเหลื่อม ๑๖. อำเภอพิมาย ๑๗. อำเภอห้วยแถลง ๑๘. อำเภอครบุรี ๑๙. อำเภอจักราช ๒๐. อำเภอหนองบุนนาค ๒๑. อำเภอปักธงชัย ๒๒. อำเภอชุมพวง ๒๓. อำเภอปากช่อง ๒๔. อำเภอโนนแดง ๒๕. อำเภอวังน้ำเขียว ๒๖. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
และอีก ๖ กิ่งอำเภอ ๑. กิ่งอำเภอเมืองยาง ๒. กิ่งอำเภอเทพารักษ์ ๓. กิ่งอำเภอลำทะเมนไชย
๔. กิ่งอำเภอพระทองคำ ๕. กิ่งอำเภอสีดา ๖. กิ่งอำเภอบัวลาย

ประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541 รวมทั้งสิ้น 2,579,286 คน เป็นชาย 1,315,424 คน หญิง 1,263,862 คน
  • สำหรับอำเภอที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่อำเภอเมืองมีจำนวน 483,191 คน
  • รองลงมาได้แก่ อำเภอปากช่อง มีจำนวน 174,342 คน และอำเภอพิมาย มีจำนวน 129,424 คน
  • อำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด คือ อำเภอเมือง 554 คน/ตารางกิโลเมตร
    รองลงมาได้แก่ อำเภอโชคชัย 172 คน/ตาราง กิโลเมตร อำเภอบัวใหญ่ 149 คน/ตารางกิโลเมตร

  • ประชากรของจังหวัดยังสามารถแยกออกเป็นวัยต่าง ๆ และคิดเป็นร้อยละ ของประชากรรวม* ของจังหวัด ดังนี้

    วัยของประชากร
     เพศชาย  เพศหญิง  จำนวนรวมคิดเป็นร้อยละ
    วัยเด็ก อายุ 0-12 ปี255,890242,300498,19020.77
    วัยการศึกษาภาคบังคับ 8-15 ปี158,544151,738310,28212.94
    วัยเยาวชน 15-24 ปี238,750231,701468,45119.53
    วัยเจริญพันธุ์ 15-49 ปี723,835724,9291,448,76460.41
    วัยแรงงาน 13-60 ปี858,428862,3901,720,81571.75
    วัยสูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป80,48598,452179,2977.47
    อัตราส่วนการเป็นภาระ   39.37

  • ข้อมูลเพิ่มเคิม: จากเมืองโคราชในอดีต จนถึง จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบัน

  • ที่มา : ศูนย์ประมวลผลการทะเบียน ภาค 3 นม
  • หมายเหตุ : *จำนวนประชากรในที่นี้ไม่รวมประชากรสัญชาติไทยที่ไม่ระบุวันเกิด หรือระบุปีเกิดทาง จันทรคติ และไม่รวมประชากรที่ไม่ใช่สัญชาติไทย


    การเดินทาง สู่ จังหวัดนครราชสีมา
    ทางรถยนต์
  • 1. จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แยกเข้าทาง หลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ที่สระบุรี ตรงไปจนถึงนครราชสีมา
    รวมระยะทาง 259 กิโลเมตร
  • 2. จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านมีนบุรี ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม กบินทร์บุรี ปักธงชัย ถึงนครราชสีมา รวมระยะทาง 273 ก.ม.
    รถโดยสารประจำทาง
  • มีรถโดยสาร บริษัทขนส่งจำกัด ทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่ง สายตะวันออก เฉียงเหนือ ไปนครราชสีมา ตลอด 24 ช.ม.
  • สอบถามรายละเอียด ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บขส. โทร. 2725761-5 (รถธรรมดา) และโทร. 2725241
    ทางรถไฟ
  • มีขบวนรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ไปนครราชสีมาโดยตรง และขบวนรถไฟที่ผ่าน จ.นครราชสีมา ทุกวัน หลายขบวน
  • สอบถามรายละเอียด ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 223-7010. 223-7020
    ทางเครื่องบิน
  • บริษัท การบินไทย จำกัด มีเที่ยวบินไปจังหวัดนครราชสีมา ทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร.2800070, 2800080

  • สถานที่ท่องเที่ยว   I อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี I อนุสรณ์สถาน นส.บุญเหลือ I ศาลหลักเมือง I วัดศาลาลอย I วัดป่าสาละวัน I
    I พิพิธภัณฑ์สถาน I ศูนย์วัฒนธรรม I ด่านเกวียน I ปราสาทหินพนมวัน I สวนสัตว์เปิด I วนอุทยานเขาใหญ่ I
    ต่างอำเภอ   I อ.ปากช่อง I อ.สีคิ้ว I อ.สูงเนิน I ปักธงชัย I อ.โนนสูง I อ.จักราช I อ.พิมาย I อ.ประทาย I อ.บัวใหญ่ I <= กลับสู่เมนูหลัก I

    bCentral Counter      
    Send mail to sup2000@fcmail.com.with question or comments about this web.
    Copyright @ 1995-2000 Data computer's House. 2123-2125 Suebsiri Rd. Muang,
    Nakorn-Rachasima. 30000 Thailand.   Last  

     

    1